"เจ้านางแว่นทิพย์" เจ้าหญิงแสนหวี ในโลกแห่งความเป็นจริง

- เจ้าแว่นทิพย์แสนหวี.jpg (31.46 KiB) เปิดดู 11084 ครั้ง
หลังจาก เจ้านางแว่นทิพย์ ต้องออกจากโรงเรียนคอนแวนต์ ที่ กะลอว์ อย่างอาลัย และ ไม่ทันได้ตั้งตัว เพราะถูกเรียกตัวจากหอเชียงตุง ให้ไปเป็นชายารองของ เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวี เวลานั้นเจ้านางแว่นทิพย์ อายุเพียง ๑๖ ปีและ กำลังตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือเพื่อที่จะสอบในระดับ ๗ เมื่อมีข่าวสารที่ไม่คาดฝัน เจ้าแว่นทิพย์เศร้าเสียใจมาก เพราะเจ้านางไม่สนใจ ที่จะแต่งงาน กับเจ้าห่มฟ้า เพราะเจ้าห่มฟ้านั้นมีมหาเทวี และบุตรถึงสองคน และอายุก็แก่กว่าเจ้านางมาก
งานแต่งงาน ถูกจัดขึ้นอย่างสุดอลังการสามวันสามคืน สมเกียรติเจ้าฟ้าเฒ่าที่ หอคำหลวงเชียงตุง จากนั้น เจ้านางแว่นทิพย์ ก็ต้องเดินทางไปพำนัก ที่เมืองแสนหวี ของ พระสวามี เมื่อไม่ได้ไปโรงเรียน เจ้านางแว่นทิพย์ จึงใช้เวลาทั้งหมดที่แสนหวี ไปกับการอ่านหนังสือไปเที่ยวตลาด เที่ยวงานปอย หรือไม่ก็ต้อนรับแขกที่สนิทสนม เมื่อมีพิธีกั่นต๊อคารวะเจ้าฟ้าแสนหวี บรรดาผู้ดูแลหมู่บ้านพร้อมครอบครัวจะมาร่วมพิธีในตัวเมือง บางครั้งเจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษก็มาร่วมพิธีคารวะ ในหอหลวงเมืองแสนหวีด้วย พวกเขาไม่ต้องนั่งคุกเข่าเหมือนผู้เฒ่าผู้แก่แสนหวี แต่นั่งสังเกตการณ์บน เก้าอี้ ที่ตั้งเป็นแถวอยู่บนพื้นลดระดับด้านขวามือของ เจ้าฟ้า พวกกะลาอังกฤษ เข้ามายืนค้ำศีรษะเจ้าฟ้า และไม่ถอดรองเท้า เมื่อเข้าในท้องพระโรงอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าฟ้าไม่อยากให้ชาวอังกฤษ เห็นว่าตนเองล้าสมัยจึงไม่แยแส และยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งสื่อให้เห็นถึง กาารศึกษาที่ดี และ มีโลกทัศน์กว้าง
ถนนสายเมืองจีน ตัดผ่าน แสนหวี จึงมีนักเดินทางมากมายแวะมาดื่มน้ำชา หรือ รับประทานอาหารกลางวันที่หอหลวงอยู่เสมอ เจ้าแว่นทิพย์ ต้อนรับอาคันตุกะเหล่านั้นในนามชาวแสนหวี ได้อย่างดีเยี่ยมเจ้าฟ้าแสนหวี แต่งงาน กับ เจ้าแว่นทิพย์ แห่งเชียงตุงเพราะว่าเธอทันสมัย พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ฉาดฉานส่วนมหาเทวีนั้นมักโอ้อวดเรื่องที่นางเคยไปลอนดอนสมัยเป็นเด็กด้วยความภูมิใจ แต่เมื่อถูกเชิญ มาพบแขกต่างชาติมหาเทวีกลับหลบหายไปในกลุ่มสาวใช้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าแสนหวีแต่งงานกับหญิงสาวที่มีการศึกษาและทันสมัย
เจ้าแว่นทิพย์ทำความคุ้นเคยกับชีวิตในแสนหวีอย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม แสนหวี เป็นเมืองที่น่าเบื่อ เมื่อเทียบกับ เชียงตุง บ้านเกิดที่เจ้านางจากมา เชียงตุงเป็นเมืองที่ใหญ่ และร่ำรวยที่สุดในฉาน มีพื้นที่ ๒๐,๐๐๐ ตร. ไมล์ ยื่นยาวไปจรดพรมแดนประเทศไทย ลาว และจีน ตัวเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ภายใต้กำแพง ที่ล้อมรอบอย่างแน่นหนา และ มีคูเมือง เป็นปราการชั้นนอก เมืองล้อมรอบด้วย ทิวเขาสลับซับซ้อน สิ่งก่อสร้างภายในเมือง มักจะประดับประดาไปด้วยนกยูง และ สิงห์
เชียงตุง ตั้งอยู่ริมฝั่งทางด้านทิศตะวันออก ของแม่น้ำสาละวิน เหมือนกับ โกก้าง เจ้าฟ้าเชียงตุงปฎิเสธกฏหมายค้าฝิ่นของอังกฤษ หากปราศจากฝิ่นแล้วเชียงตุงจะไม่สามารถจ่ายค่าบรรณาการ แก่อังกฤษที่กำหนดไว้ปีละ ๓๐,๐๐๐ รูปีได้เลย
เจ้าฟ้าเชียงตุง มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจนสามารถสร้างหอหลวง สถาปัตยกรรมอินเดียอันสง่างาม ยิ่งใหญ่ที่สุดในฉานได้ ไม่น่าแปลกใจเลย ที่เจ้าแว่นทิพย์ เริ่มเบื่อหน่ายเมืองที่มีเพียง ถนนลูกรังเพียงเส้นเดียว เจ้าแว่นทิพย์จึงพาญาติผู้น้องมาอยู่ด้วยเพื่อเยียวยาจิตใจ รวมทั้งเด็กชายตัวเล็กแสนซุกซนที่เล่นกับเจ้าได้ ตลอดเวลา แต่เมื่อถึงช่วงเปิดเรียนเด็กๆทุกคนก็ไปโรงเรียน และ ละทิ้งเจ้าอยู่เบื้องหลัง ที่เมืองแสนหวี อันเงียบเหงาตามลำพัง เจ้าคิดถึง โรงเรียน เเต่เจ้าแว่นทิพย์ไม่เคยเบื่อหน่ายชีวิต รอบหอแสนหวีเจ้าแว่นทิพย์มีสนามเทนนิส ม้า ที่ฝึกฝนมาอย่างดี รถพร้อมคนขับ และ เบี้ยเลี้ยง บางครั้งเธอก็นั่งรถไปในป่า เพื่อเยี่ยมช้าง ที่เป็นของขวัญวันแต่งงานจาก เชียงตุง ช้างตัวใหญ่มาก จึงไม่สามารถเลี้ยงไว้ที่หอได้ บางโอกาสพวกเขาก็ขับรถไปเยี่ยมเยียนเมืองใกล้ๆเช่น สีป่อ และ พักผ่อนยามบ่าย ริมสระน้ำคอนกรีตท่ามกลางสวนกุหลาบสวยงาม บางคราวก็ไปเยี่ยมเจ้าฟ้าเมืองไหญ่ที่ยังพำนักอยู่ในหอไม้สักเก่าแก่ และ มืดสลัว พร้อมด้วยชายาหลายองค์ บรรยากาศราวกับย้อนกลับไปในอดีตอันไกลโพ้นทีเดียว
วันเวลาผ่านไปอย่างเรียบง่าย และ สงบสุข ถึงกระนั้นเจ้าตระหนักว่า โลกกำลังสั่นไหวด้วยพายุลูกใหม่ที่โหมกระหน่ำอยู่เบื้องหลังแสนหวี โชคดีที่รัฐฉานยังคงพึ่งพาตนเองได้ ความอุดมสมบูรณ์ปกป้องชาวไต ให้พ้นจากความอดอยาก แม้แต่หลังเหตุการณ์ตลาดข้าวโลกล่มสลายก็ตาม ในที่ราบลุ่มพม่าข้าวส่วนใหญ่ส่งออกสู่ตลาดโลกจึงทำให้ในตลาดท้องถิ่น ขาดแคลนข้าวและราคาก็ขึ้นฮวบฮาบตามตลาดสากล แต่ที่แสนหวีทุกคนกินข้าวที่ปลูกเองพวกเขาไม่เดือดร้อน หรือ ขาดแคลนอะไรเลย
มีอาคันตุกะทั้งที่คุ้นเคยและแปลกหน้ามานั่งบนโซฟาในห้องรับแขก ที่แขวนโคมระย้าอยู่ไม่ขาดสายเจ้าฟ้า และบรรดาสหายต่างถกกันเรื่องทิศทางของการปกครองตนเอง ประเด็นแรก ขณะนี้ราคาสินค้าทั่วโลกตกต่ำซึ่งหมายความว่า เมืองในอาณานิคมอังกฤษคงสามารถจ่ายเงินให้กับอังกฤษ ได้อีกไม่นาน ประเด็นที่สอง ไม่มีการแข่งขันทางการค้า กับ ฝรั่งเศสอีกแล้ว ประเด็นที่สาม อังกฤษตกอยู่ภายใต้แรงกดดันเรื่องสิทธิมนุษยชน เมื่อกองกำลังอาณานิคมถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมทำสงครามโลกครั้งที่ ๑ อำนาจแห่ง ลอนดอน ก็ง่อนแง่นเต็มที พวกเขาคาดเดาว่า สงครามโลกครั้งที่ ๒ จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และแหล่งทรัพยากรของมหาอำนาจทั้งหลายก็คือเมืองอาณานิคมนี่เอง เจ้ายิ้ม และ ฟังเรื่องราวที่ล้อมรอบตัวเจ้าอย่างเกียจคร้าน เหมือนดังพัดลมเพดานที่กำลังหมุนอย่าง เชื่องช้า
วันหนึ่งมีชายแปลกหน้าชาวไต วัยกลางคนมาที่ห้องรับแขกบุคลิกของเขาเข้มแข็งแบบทหาร ถึงไม่บอกก็รู้ได้ว่าชายผู้นี้คือเจ้าฟ้าหยองห้วย เจ้ายังจำความประทับใจ หอหยองห้วย ในขณะไปทัศนศึกษาที่หนองอินเลได้ดี เจ้าได้ยินมาว่า เจ้าส่วยไต้ก์ผู้นี้ได้มรดกเป็นหอหลวงหยองห้วยอย่างไม่คาดฝันจากลุงของเขาที่เสียชีวิตไป อดีตเจ้าฟ้าลุงของเขา เคยให้ ฮิลเดอบราหนด์ยืมเรือหงสาทองคำ ล่องหนองอินเลใน ปี ๑๘๙๐
ก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ นั้นราชสำนักหยองห้วย ใกล้ชิดกับราชสำนักมัณฑะเลย์มาก อดีตเจ้าฟ้าองค์นี้เป็นบุตรบุญธรรม ของ พระเจ้าสีป่อเมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าสีป่อ บรรดาเจ้าฟ้า เริ่มทำสงครามรบพุ่งกันเอง ทำให้อังกฤษฉวยโอกาสเข้าครอบครอง รัฐฉานอังกฤษสนับสนุน เจ้าฟ้าหยองห้วย ทำสงครามเพื่อต่อต้าน และ รุกรานศัตรูซึ่งแลกกับสัมปทาน และ ผลประโยชน์อีกมากมาย อังกฤษปกครองเมืองหยองห้วย จากเมืองตองจีที่อยู่เหนือขึ้นไป
ในปี ๑๙๑๗ มีชาวบ้านพบกาเผือกในบริเวณหนองน้ำที่เชิงเขา ชาวบ้านนำกาเผือกไปถวายแด่เจ้าฟ้าที่หอ เจ้าฟ้าแต่งตั้งชายผู้นั้นเป็น ผู้พิทักษ์กาเผือก อดีตเจ้าฟ้าหลวงหยองห้วยตั้งใจจะกอบกูความรุ่งโรจน์ให้กลับคืนมาหลังจากที่หอเก่าถูกเผาจนสิ้นซาก
เจ้าฟ้าว่าจ้างช่างฝีมือชั้นเยี่ยมมาสร้างหอใหม่ที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างใหม่และเก่า ไว้ด้วยกัน ชั้นล่างของหอก่ออิฐถือปูนสีแดงชั้นบน เป็นอาคารไม้ตามจารีตโบราณมีสามหลังเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ยังสั่งให้ก่อสร้างกรงนกกาเผือกขนาดใหญ่ไว้ที่ สวน ด้วย หอหลวงขนาดใหญ่นี้ ใช้เวลาก่อสร้างแรมปี แต่เจ้าฟ้าก็สิ้นใจ ไปก่อนที่จะยกปราสาท ๗ ชั้นอันเป็นสัญลักษณ์กษัตริย์ ตามแบบมัณฑะเลย์เหนือหอหลวงหลังใหม่เจ้าฟ้าจากไป ละทิ้งภาระกิจสำคัญอยู่เบื้องหลัง ท่านยังไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาทเลย ในปี ๑๙๒๗ อังกฤษ ถือโอกาสเข้าควบคุมสถานการณ์ และ ประกาศการเสียชีวิตของเจ้าฟ้าให้สาธารณชนได้รับทราบ และแจ้งว่าก่อนที่เจ้าฟ้าจะสิ้นใจท่านได้เอ่ยชื่อหลานชายห่างๆ คนหนึ่งซึ่งรับราชการทหารในกองพลตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า เเละ ประจำการอยู่ที่ตองจี
ที่มา - จากเรื่อง เศวตฉัตร -ซึ่ง-จายเคอเเสง , เพจ รักเชียงตุง
เจ้านาง สุคันธา ธิดา เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง อภิเษกกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ณ หอคำเชียงตุง

- 68226-attachment.jpg (115.57 KiB) เปิดดู 11083 ครั้ง
เจ้าสุคันธาตอนชรา ท่านพิราลัยเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๖ อายุ ๙๓ ปี

- 68227-attachment.jpg (88.54 KiB) เปิดดู 11083 ครั้ง