หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ภาษาคำเมืองวันละคำ..

โพสต์เมื่อ: พุธ 22 พ.ย. 2017 5:18 am
โดย ภาษาสยาม
คำว่า "เปี้ยด" หมายถึงกระบุง เครื่องจักสานที่มีลักษณะการสานถี่ๆจนไม่มีช่องว่าง ทรงกลม ปากและก้นมีขนาดเล็กกว่าตรงกลาง ใช้ต่อสายแล้วใส่ของเพื่อหาบ ลักษณะต่างจากก๋วยซึ่งมีลักษณะสานตาห่างมากกว่า

เปี้ยด
FB_IMG_1502756058913.jpg
FB_IMG_1502756058913.jpg (25.6 KiB) เปิดดู 7481 ครั้ง


ก๋วย
DSCF5151.JPG
DSCF5151.JPG (77.93 KiB) เปิดดู 7481 ครั้ง


ภาษาคำเมืองวันละคำ..จะมาวันที่ว่างเท่านั้นนะคะ ^^

Re: ภาษาคำเมืองวันละคำ..

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 31 ธ.ค. 2017 8:59 am
โดย บ้านเพียงพอ
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยทั่วไปคำนี้เราเขียนเป็นตัวเมือง หรือภาษาล้านนา แต่ถ้าเราจะเขียนเป็นภาษาไทย ก็ต้องดูรากศัพท์ว่าภาษาไทยนั้นเป็นอย่างไร

haripunchai_resize.jpg
haripunchai_resize.jpg (37.32 KiB) เปิดดู 7444 ครั้ง


ภาษาไทยนั้นมีทั้งคำไทยแท้ และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เนื่องจากมีการติดต่อและถ่ายทอดวัฒนธรรมกันผ่านการการเมือง การค้า ศาสนา ฯลฯ ภาษาไทยที่เป็นคำไทยแท้ๆนั้นสังเกตแบบคร่าวๆ ไม่ลงลึก คือ มักจะเขียนตรงตัว และอ่านแล้วเข้าใจความหมายเลย ไม่ต้องแปลให้ยุ่งยาก เช่น พ่อ แม่ หู ตา แห อวน ดิน น้ำลม ไฟ เดิน เขา มัน ดี เล็ก ฯลฯ แต่ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้นจึงทำให้มีการยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น บาลี สันสกฤต จีน ชวา อังกฤษ ฯลฯ ในสมัยโบราณนั้นคำยืมส่วนใหญ่มักจะมาจากศาสนาโดย ภาษาบาลี มาจากศาสนาพุทธ ภาษาสันสกฤต มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คำว่า หริภุญชัย มาจากภาษาบาลี หริภุญชยะ ส่วน หริภุญไชย มาจาก ภาษาสันสกฤต หริปุญเชยยะ ดังนั้นคำนี้เขียนได้ทั้ง ๒ แบบ แต่จากการสังเกตส่วนตัวคนล้านนาใกล้ชิดศาสนาพุทธมากที่สุด ใช้คำว่าแนบแน่น ฝังลึกเลยก็ได้ จึงนิยมใช้คำว่า หริภุญชัย มากกว่า

ป.ล.ลักษณะการสังเกตคำนี้มาจาก การที่สระสันสกฤต ต่างจากบาลี ๖ ตัว คือ คำใดประสมด้วยสระ ฤ ฤา ฦ ฦๅ ไอ เอา เป็นคำในภาษาสันสกฤต ไม่ใช่ภาษาบาลี

Re: ภาษาคำเมืองวันละคำ..

โพสต์เมื่อ: อาทิตย์ 17 พ.ค. 2020 6:39 pm
โดย admin
ชื่อเรียกสัตว์ต่างๆของล้านนา
manglanna.jpg
manglanna.jpg (93.73 KiB) เปิดดู 5653 ครั้ง

ขอบคุณเพจ ฉันอยู่เชียงใหม่จริงๆนะ