ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

#ขอทวงคืนผืนป่า..ด้วยหยดน้ำตาของคนเชียงใหม่
งานเขียนฉบับนี้เขียนขึ้นจากความรู้สึกในใจ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็น “ลูกแม่ระมิงค์” ลูกหลานพญามังราย
หมู่บ้านป่าแหว่ง (ชื่อที่เพจขอคืนพื้นที่ดอยสุเทพตั้งให้) คือ บ้านพักศาลตุลาการ ตั้งอยู่บริเวณตีนดอยสุเทพ ด้านหลังสนามกีฬา ๗๐๐ ปี เป็น ๔ โปรเจกต์ ๑,๐๑๗ ล้าน บ้านพัก และแฟลต ๖๖๕ ล้าน
บ้านตีนดอยของท่านผู้พิพากษากับอาคารศาลที่กำลังประเด็น มีโครงการเกี่ยวข้อง ๔ โครงการ จัดซื้อจัดจ้างช่วงปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ ราคากลางโครงการรวม ๙๕๖,๓๙๑,๐๐๐ บาท เฉพาะบ้านพักกับแฟลตราคารวมกัน ๖๖๕ ล้านบาท เป็นบ้านพักระดับประธานศาล ๙ หลัง ผู้พิพากษากับผู้อำนวยการ ๓๙ หลัง แฟลตของข้าราชการตุลาการกับข้าราชการศาล รวม ๑๑๖ ยูนิต อาคารศาลอุทธรณ์ภาค ๕ และสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๕
โครงการแรกสุดคือการสร้างบ้านพักระดับบิ๊กของศาลและแฟลตตุลาการ งบประมาณ ๓๔๓,๔๖๑,๐๐๐ บาท มีบ้านพักระดับประธานศาลรวม ๙ หลัง เป็นของประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๕ รองประธานฯ ประธานแผนกคดีเยาวชน แผนกคดีผู้บริโภค แผนกคดีสิ่งแวดลอม แผนกคดีเลือกตั้ง อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค ๕ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และอาคารชุดข้าราชการตุลาการ ๖๔ ยูนิต ประกาศประกวดราคาเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ทำสัญญาก่อสร้างเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน วงเงิน ๓๔๒,๙๐๐,๐๐๐ บาท
โครงการที่สอง สร้างบ้านพักผู้พิพากษาและแฟลตศาล งบประมาณ ๓๒๑,๙๕๐,๐๐๐ บาท มีบ้านพักผู้พิพากษา ๓๘ หลัง บ้านพักผู้อำนวยการ ๑ หลัง อาคารชุดข้าราชการตุลาการ ๑๖ ยูนิต และอาคารชุดข้าราชการศาลยุติธรรม ๓๖ ยูนิต ประกาศประกวดราคาเดือนกันยายน ๒๕๕๖ ทำสัญญาวงเงิน ๓๒๑,๖๗๐,๐๐๐ บาท
โครงการที่สาม สร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค ๕ งบประมาณ ๒๙๐,๙๘๐,๐๐๐ บาท ประกาศประกวดราคาเดือนมกราคม ๒๕๕๗ ทำสัญญาวงเงิน ๒๙๐,๘๘๕,๐๐๐ บาท
โครงการที่สี่ ใหม่สุดเกิดขึ้นช่วงปี ๒๕๕๙ สร้างอาคารที่ทำการสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๕ วงเงินสัญญา ๖๑,๙๐๐,๐๐๐ บาท
เอกชนรายเดียวนามสกุลนักการเมืองเชียงใหม่ได้งานไปทั้งหมด ๔ สัญญา วงเงินรวม ๑,๐๑๗,๓๕๕,๐๐๐ บาท (ข้อมูลจากเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน)
โครงการนี้มีการอนุมัติโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ แต่ถูกคนเชียงใหม่คัดค้าน ทุกอย่างจึงเงียบไป ภายหลังมีการก่อสร้างเพราะได้รับอนุมัติงบประมาณเมื่อปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗ ทำให้มีกลุ่มคนเชียงใหม่ยื่นคัดค้านในปี ๒๕๕๘ แต่ยังไม่มีการรวมตัวชัดเจน ติดขัดในเรื่องการชุมนุม เพราะการเมืองยังคุกรุ่นอยู่ แต่ทุกคนก็ยังจับตามองจนมีภาพแชร์กันในโลกโซเชียล ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๙ หากผู้ใดขับรถไปทางสนามกีฬา ๗๐๐ ปี และหันไปมองทางทิศตะวันตกจะเห็นหมู่บ้านแห่งนี้เด่นหรา ขัดสายตายิ่งนัก ข้าพเจ้าหงุดหงิดตนเองเหมือนกัน ทั้งๆที่ตนเองมีเพจที่มีแฟนเพจหลักแสน แต่ในช่วงแรกๆที่เห็นข่าวนี้กลับเพียงแค่อ่าน คิดว่าคงมีหลายภาคส่วนที่จะช่วยกันทวงคืน ซึ่งก็คงสำเร็จได้ไม่ยาก ทว่าเหตุการณ์ก็ดำเนินมาถึงวันนี้ ประชาชนต่อสู้ลำบากขึ้น เพราะบ้านพักใกล้เสร็จแล้ว อีกทั้งโครงการนี้เป็นโครงการที่ถูกต้องตามกฎหมาย แน่นอนสิ บ้านพักตุลาการนี่ ก่อนทำเขาย่อมต้องศึกษากฎหมายมาอย่างดี จะพลาดได้อย่างไรในเมื่อเขาเป็นตุลาการ
จุดที่ตั้งบ้านพักดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลัง ซึ่งอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของกองทัพบกตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ล่าสุดแม่ทัพภาคที่ ๓ แจงว่า พื้นที่ก่อสร้างอาคารศาลอุทธรณ์ภาค ๕ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ ทบ.แล้ว เนื่องจากส่งคืนไปกว่า ๑๐ ปีแล้ว) เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ๑๒๗๓ แปลงหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ที่ ๓๙๔/๒๕๐๐ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ ๑๔๗ ไร่ ๓ งาน ๔๑ ตารางวา แม้ภายหลังจะมีประกาศ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ปี ๒๕๐๗ แต่ไม่ได้กระทบสิทธิการครอบครองใช้ประโยชน์ของกองทัพบกแต่อย่างใด ต่อมาในปี ๒๕๔๙ กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรม ใช้พื้นที่ก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค ๕ บ้านพักและอาคารชุดสำหรับข้าราชการตุลาการ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ เพิ่งได้รับงบประมาณ และเริ่มก่อสร้างในปี ๒๕๕๗ โดยในช่วงที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้พื้นที่ตีนดอยสุเทพนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ของทางราชการ ทำให้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินซึ่งปัจจุบันมีราคาสูง คงใช้งบประมาณเฉพาะการก่อสร้างเท่านั้น ทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก
เขาขอจัดสรรที่ดินอย่างถูกกฎหมาย แต่ข้าพเจ้าก็มีคำถามในใจว่า ที่ราชพัสดุไม่ได้มีแห่งเดียว เหตุใดจึงเลือกบริเวณนี้ ที่ที่มีผืนป่าอย่างหนาแน่น มีคนเคยถามว่า “ถ้ายกเลิกโครงการแล้วใครจะรับผิดชอบ” ข้าพเจ้ามองเป็น ๒ แบบ แบบแรก ไม่จำเป็นต้องโทษใคร เมื่อประชาชนชาวเชียงใหม่ และคนไทยทั้งชาติไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง และแสดงถึงพลังอย่างจริงจัง หากต้องทุบหมู่บ้านแห่งนี้จริง เชื่อว่าทุกคนยินดีสูญเสียภาษีพันล้านของพวกเขา เพื่อผลประโยชน์สืบไปภายภาคหน้า แต่ถ้าจะเค้นเอาคนมารับผิดจริงๆ ท่านก็คงต้องหาคำตอบเอาเอง..?
ถ้าท่านมองภาพถ่ายทางอากาศ จะพบว่าบริเวณแนวเดียวกันกับหมู่บ้านป่าแหว่งเป็นป่าเพียวๆ ถึงจะไม่ใช่เขตป่าสงวน เป็นเพียงเขตติดต่อ แต่มันเหมาะสมไหม ที่ต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างที่พักให้คน ๒๐๐ คน หากปล่อยโครงการนี้เอาไว้ นับร้อยๆปี..ผืนป่าบริเวณนี้ก็จะกลายเป็นบ้านพักไปตลอดกาล นี่แหละหนามนุษย์ เราเป็นเพียงเศษธุลีเล็กๆบนโลก เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีสิทธิ์ใช้พื้นที่บนโลกนี้เพียงชั่วคราว เช่นเดียวกับพืช และสัตว์ทั้งหลาย แต่มนุษย์กลับใช้อภิสิทธิ์ตีตราจองว่าที่ตรงนั้นตรงนี้เป็นของตน ทั้งๆที่อีกไม่กี่ปีทุกคนก็ต้องตาย สูญสลายหลอมรวมกับธรรมชาติเช่นเดียวกับตอนก่อนเกิดมา
ข้าพเจ้าเป็นคนบ้านนอกที่มาเติบโตในเมืองใหญ่ ทุกๆก้าวของชีวิต ข้าพเจ้าสังเกตเห็นมาตลอด ท่านเห็นเหมือนกันไหม บ้านพักครูเก่าๆ จะล่มมิล่มแหล่ บ้านพักป่าไม้โทรมๆ โรงพยาบาลที่ต้องรองบจากการบริจาค ฯลฯ แล้วเหตุใดหน่วยงานบางหน่วยจึงมีการอนุมัติงบสร้างบ้านพักสุดหรูหรา เวลานี้ประเทศของเราร่ำรวยนักหรือ(อย่าบอกว่าคนละหน่วยงาน งบใครงบมัน เรากำลังพูดถึงวิธีคิด และการให้ความสำคัญต่อปัญหาต่างๆภายในประเทศ) ท่านเหล่านั้นทำคุณประโยชน์มากกว่าข้าราชการตัวเล็กๆที่ทุ่มเทเพื่องาน และประชาชนผู้เสียภาษีอย่างไร บางเรื่องมันใช้กฎหมายตัดสินความเหมาะสมไม่ได้หรอก มันต้องใช้จริยธรรม ในทุกๆคำถามมีคำตอบในตนเองเสมอ แน่นอนเราอ้างว่าเราทำถูกต้องได้ หากเราพบช่องโหว่ที่จะเอื้อผลอันพึงพอใจ ข้าพเจ้าเห็นตัวอย่างจาก "บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน" สมุทรปราการ งบประมาณเกือบหมื่นล้าน ตอนนี้ถูกทิ้งร้าง ไม่มีการดำเนินการต่อ เพราะประชาชนต่อต้าน แล้วเมืองเชียงใหม่ล่ะ ประชาชนคิดเห็นอย่างไร...อยากฟังคำตอบ...
การแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าครั้งนี้มาจากแรงขับภายใน ที่อยากบอกเล่าให้คนอื่นฟัง ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับพื้นที่อื่นๆอีก อยากให้ข้าราชการไตร่ตรองให้ดีก่อนทำ บวกลบข้อดีข้อเสีย อย่าอ้างข้างๆคูๆ ตัดไม้ทำหมู่บ้านไปร้อยกว่าไร่ บอกจะปลูกป่าทดแทน ฟังแล้วร้อง เฮ้อ! มันไม่เหมือนกันหรอกนะ มันมีผลพวงต่อยอดไปอีกหลายอย่าง ข้าพเจ้าไม่รู้หรอกว่าการแสดงพลังของชาวเชียงใหม่ครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ แต่ข้าพเจ้าก็ติดตามเพจ ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ อยู่ตลอด และร่วมแสดงออกอย่างสันติ อ้อ! ลืมบอกไป
กลุ่มขอคืนพื้นที่ดอยสุเทพ เราทำเพื่อลูกหลานชาวเชียงใหม่ ใครอยากก้าวไปด้วยกัน เชิญกดสมัครเข้าไปในกลุ่มได้เลยค่ะ https://www.facebook.com/groups/1964082183920017/
มีการลงชื่อขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพในลิงก์นี้นะคะ
https://goo.gl/N2cnns
หรือจะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านกลุ่มไลน์ได้ที่
http://line.me/R/ti/g/VmTUbUyikQ
ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมแสดงเจตนารมณ์ เพื่อรักษาพื้นที่ ๑๔๗ ไร่ ๓ งาน ๔๑ ตารางวาให้เกิดประโยชน์แก่แผ่นดินอย่างสูงสุด
ทุกผืนดิน ผืนป่า ผืนน้ำ และทุกลมหายใจ นั่นคือมรดกของบรรพบุรุษ ใครจะถือสิทธิ์ครอบครองอย่างไร แต่ความจริงเนื้อแท้“เป็นสมบัติของแผ่นดิน” ที่ต้องหวงแหนรักษาเอาไว้ นี่ไม่ใช่การเอาชนะคะคาน เป็นการปกป้องรักษาสมบัติที่ตกทอดมาตั้งแต่โบราณ จำได้ไหม ก่อนนั้นชนชาติอื่นต้องการครอบครองแผ่นดินนี้เพราะมีป่าไม้อันสมบูรณ์ ในอดีตกาลเราร่มเย็น อากาศดี เรามีความสุขเพราะมีป่าไม้ เราคือแผ่นดินต้นน้ำหล่อเลี้ยงคนทั้งชาติ มาเถอะ มาช่วยกันแสดงจุดยืน พลังมดอันน้อยนิดเมื่อรวมกันแล้ว สามารถสร้างความทรงจำอันยิ่งใหญ่ได้ ขอมือของคุณมาจับจูงมือเรา แล้วก้าวไปด้วยกัน ชาวเชียงใหม่ ภาคเหนือ และคนไทยทั้งประเทศ #เราต้องการมือคุณ
น้ำฟ้า
งานเขียนฉบับนี้เขียนขึ้นจากความรู้สึกในใจ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็น “ลูกแม่ระมิงค์” ลูกหลานพญามังราย
หมู่บ้านป่าแหว่ง (ชื่อที่เพจขอคืนพื้นที่ดอยสุเทพตั้งให้) คือ บ้านพักศาลตุลาการ ตั้งอยู่บริเวณตีนดอยสุเทพ ด้านหลังสนามกีฬา ๗๐๐ ปี เป็น ๔ โปรเจกต์ ๑,๐๑๗ ล้าน บ้านพัก และแฟลต ๖๖๕ ล้าน
บ้านตีนดอยของท่านผู้พิพากษากับอาคารศาลที่กำลังประเด็น มีโครงการเกี่ยวข้อง ๔ โครงการ จัดซื้อจัดจ้างช่วงปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ ราคากลางโครงการรวม ๙๕๖,๓๙๑,๐๐๐ บาท เฉพาะบ้านพักกับแฟลตราคารวมกัน ๖๖๕ ล้านบาท เป็นบ้านพักระดับประธานศาล ๙ หลัง ผู้พิพากษากับผู้อำนวยการ ๓๙ หลัง แฟลตของข้าราชการตุลาการกับข้าราชการศาล รวม ๑๑๖ ยูนิต อาคารศาลอุทธรณ์ภาค ๕ และสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๕
โครงการแรกสุดคือการสร้างบ้านพักระดับบิ๊กของศาลและแฟลตตุลาการ งบประมาณ ๓๔๓,๔๖๑,๐๐๐ บาท มีบ้านพักระดับประธานศาลรวม ๙ หลัง เป็นของประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๕ รองประธานฯ ประธานแผนกคดีเยาวชน แผนกคดีผู้บริโภค แผนกคดีสิ่งแวดลอม แผนกคดีเลือกตั้ง อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค ๕ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และอาคารชุดข้าราชการตุลาการ ๖๔ ยูนิต ประกาศประกวดราคาเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ทำสัญญาก่อสร้างเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน วงเงิน ๓๔๒,๙๐๐,๐๐๐ บาท
โครงการที่สอง สร้างบ้านพักผู้พิพากษาและแฟลตศาล งบประมาณ ๓๒๑,๙๕๐,๐๐๐ บาท มีบ้านพักผู้พิพากษา ๓๘ หลัง บ้านพักผู้อำนวยการ ๑ หลัง อาคารชุดข้าราชการตุลาการ ๑๖ ยูนิต และอาคารชุดข้าราชการศาลยุติธรรม ๓๖ ยูนิต ประกาศประกวดราคาเดือนกันยายน ๒๕๕๖ ทำสัญญาวงเงิน ๓๒๑,๖๗๐,๐๐๐ บาท
โครงการที่สาม สร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค ๕ งบประมาณ ๒๙๐,๙๘๐,๐๐๐ บาท ประกาศประกวดราคาเดือนมกราคม ๒๕๕๗ ทำสัญญาวงเงิน ๒๙๐,๘๘๕,๐๐๐ บาท
โครงการที่สี่ ใหม่สุดเกิดขึ้นช่วงปี ๒๕๕๙ สร้างอาคารที่ทำการสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๕ วงเงินสัญญา ๖๑,๙๐๐,๐๐๐ บาท
เอกชนรายเดียวนามสกุลนักการเมืองเชียงใหม่ได้งานไปทั้งหมด ๔ สัญญา วงเงินรวม ๑,๐๑๗,๓๕๕,๐๐๐ บาท (ข้อมูลจากเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน)
โครงการนี้มีการอนุมัติโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ แต่ถูกคนเชียงใหม่คัดค้าน ทุกอย่างจึงเงียบไป ภายหลังมีการก่อสร้างเพราะได้รับอนุมัติงบประมาณเมื่อปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗ ทำให้มีกลุ่มคนเชียงใหม่ยื่นคัดค้านในปี ๒๕๕๘ แต่ยังไม่มีการรวมตัวชัดเจน ติดขัดในเรื่องการชุมนุม เพราะการเมืองยังคุกรุ่นอยู่ แต่ทุกคนก็ยังจับตามองจนมีภาพแชร์กันในโลกโซเชียล ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๙ หากผู้ใดขับรถไปทางสนามกีฬา ๗๐๐ ปี และหันไปมองทางทิศตะวันตกจะเห็นหมู่บ้านแห่งนี้เด่นหรา ขัดสายตายิ่งนัก ข้าพเจ้าหงุดหงิดตนเองเหมือนกัน ทั้งๆที่ตนเองมีเพจที่มีแฟนเพจหลักแสน แต่ในช่วงแรกๆที่เห็นข่าวนี้กลับเพียงแค่อ่าน คิดว่าคงมีหลายภาคส่วนที่จะช่วยกันทวงคืน ซึ่งก็คงสำเร็จได้ไม่ยาก ทว่าเหตุการณ์ก็ดำเนินมาถึงวันนี้ ประชาชนต่อสู้ลำบากขึ้น เพราะบ้านพักใกล้เสร็จแล้ว อีกทั้งโครงการนี้เป็นโครงการที่ถูกต้องตามกฎหมาย แน่นอนสิ บ้านพักตุลาการนี่ ก่อนทำเขาย่อมต้องศึกษากฎหมายมาอย่างดี จะพลาดได้อย่างไรในเมื่อเขาเป็นตุลาการ
จุดที่ตั้งบ้านพักดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลัง ซึ่งอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของกองทัพบกตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ล่าสุดแม่ทัพภาคที่ ๓ แจงว่า พื้นที่ก่อสร้างอาคารศาลอุทธรณ์ภาค ๕ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ ทบ.แล้ว เนื่องจากส่งคืนไปกว่า ๑๐ ปีแล้ว) เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ๑๒๗๓ แปลงหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ที่ ๓๙๔/๒๕๐๐ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ ๑๔๗ ไร่ ๓ งาน ๔๑ ตารางวา แม้ภายหลังจะมีประกาศ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ปี ๒๕๐๗ แต่ไม่ได้กระทบสิทธิการครอบครองใช้ประโยชน์ของกองทัพบกแต่อย่างใด ต่อมาในปี ๒๕๔๙ กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรม ใช้พื้นที่ก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค ๕ บ้านพักและอาคารชุดสำหรับข้าราชการตุลาการ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ เพิ่งได้รับงบประมาณ และเริ่มก่อสร้างในปี ๒๕๕๗ โดยในช่วงที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้พื้นที่ตีนดอยสุเทพนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ของทางราชการ ทำให้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินซึ่งปัจจุบันมีราคาสูง คงใช้งบประมาณเฉพาะการก่อสร้างเท่านั้น ทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก
เขาขอจัดสรรที่ดินอย่างถูกกฎหมาย แต่ข้าพเจ้าก็มีคำถามในใจว่า ที่ราชพัสดุไม่ได้มีแห่งเดียว เหตุใดจึงเลือกบริเวณนี้ ที่ที่มีผืนป่าอย่างหนาแน่น มีคนเคยถามว่า “ถ้ายกเลิกโครงการแล้วใครจะรับผิดชอบ” ข้าพเจ้ามองเป็น ๒ แบบ แบบแรก ไม่จำเป็นต้องโทษใคร เมื่อประชาชนชาวเชียงใหม่ และคนไทยทั้งชาติไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง และแสดงถึงพลังอย่างจริงจัง หากต้องทุบหมู่บ้านแห่งนี้จริง เชื่อว่าทุกคนยินดีสูญเสียภาษีพันล้านของพวกเขา เพื่อผลประโยชน์สืบไปภายภาคหน้า แต่ถ้าจะเค้นเอาคนมารับผิดจริงๆ ท่านก็คงต้องหาคำตอบเอาเอง..?
ถ้าท่านมองภาพถ่ายทางอากาศ จะพบว่าบริเวณแนวเดียวกันกับหมู่บ้านป่าแหว่งเป็นป่าเพียวๆ ถึงจะไม่ใช่เขตป่าสงวน เป็นเพียงเขตติดต่อ แต่มันเหมาะสมไหม ที่ต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างที่พักให้คน ๒๐๐ คน หากปล่อยโครงการนี้เอาไว้ นับร้อยๆปี..ผืนป่าบริเวณนี้ก็จะกลายเป็นบ้านพักไปตลอดกาล นี่แหละหนามนุษย์ เราเป็นเพียงเศษธุลีเล็กๆบนโลก เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีสิทธิ์ใช้พื้นที่บนโลกนี้เพียงชั่วคราว เช่นเดียวกับพืช และสัตว์ทั้งหลาย แต่มนุษย์กลับใช้อภิสิทธิ์ตีตราจองว่าที่ตรงนั้นตรงนี้เป็นของตน ทั้งๆที่อีกไม่กี่ปีทุกคนก็ต้องตาย สูญสลายหลอมรวมกับธรรมชาติเช่นเดียวกับตอนก่อนเกิดมา
ข้าพเจ้าเป็นคนบ้านนอกที่มาเติบโตในเมืองใหญ่ ทุกๆก้าวของชีวิต ข้าพเจ้าสังเกตเห็นมาตลอด ท่านเห็นเหมือนกันไหม บ้านพักครูเก่าๆ จะล่มมิล่มแหล่ บ้านพักป่าไม้โทรมๆ โรงพยาบาลที่ต้องรองบจากการบริจาค ฯลฯ แล้วเหตุใดหน่วยงานบางหน่วยจึงมีการอนุมัติงบสร้างบ้านพักสุดหรูหรา เวลานี้ประเทศของเราร่ำรวยนักหรือ(อย่าบอกว่าคนละหน่วยงาน งบใครงบมัน เรากำลังพูดถึงวิธีคิด และการให้ความสำคัญต่อปัญหาต่างๆภายในประเทศ) ท่านเหล่านั้นทำคุณประโยชน์มากกว่าข้าราชการตัวเล็กๆที่ทุ่มเทเพื่องาน และประชาชนผู้เสียภาษีอย่างไร บางเรื่องมันใช้กฎหมายตัดสินความเหมาะสมไม่ได้หรอก มันต้องใช้จริยธรรม ในทุกๆคำถามมีคำตอบในตนเองเสมอ แน่นอนเราอ้างว่าเราทำถูกต้องได้ หากเราพบช่องโหว่ที่จะเอื้อผลอันพึงพอใจ ข้าพเจ้าเห็นตัวอย่างจาก "บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน" สมุทรปราการ งบประมาณเกือบหมื่นล้าน ตอนนี้ถูกทิ้งร้าง ไม่มีการดำเนินการต่อ เพราะประชาชนต่อต้าน แล้วเมืองเชียงใหม่ล่ะ ประชาชนคิดเห็นอย่างไร...อยากฟังคำตอบ...
การแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าครั้งนี้มาจากแรงขับภายใน ที่อยากบอกเล่าให้คนอื่นฟัง ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับพื้นที่อื่นๆอีก อยากให้ข้าราชการไตร่ตรองให้ดีก่อนทำ บวกลบข้อดีข้อเสีย อย่าอ้างข้างๆคูๆ ตัดไม้ทำหมู่บ้านไปร้อยกว่าไร่ บอกจะปลูกป่าทดแทน ฟังแล้วร้อง เฮ้อ! มันไม่เหมือนกันหรอกนะ มันมีผลพวงต่อยอดไปอีกหลายอย่าง ข้าพเจ้าไม่รู้หรอกว่าการแสดงพลังของชาวเชียงใหม่ครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ แต่ข้าพเจ้าก็ติดตามเพจ ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ อยู่ตลอด และร่วมแสดงออกอย่างสันติ อ้อ! ลืมบอกไป
กลุ่มขอคืนพื้นที่ดอยสุเทพ เราทำเพื่อลูกหลานชาวเชียงใหม่ ใครอยากก้าวไปด้วยกัน เชิญกดสมัครเข้าไปในกลุ่มได้เลยค่ะ https://www.facebook.com/groups/1964082183920017/
มีการลงชื่อขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพในลิงก์นี้นะคะ
https://goo.gl/N2cnns
หรือจะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านกลุ่มไลน์ได้ที่
http://line.me/R/ti/g/VmTUbUyikQ
ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมแสดงเจตนารมณ์ เพื่อรักษาพื้นที่ ๑๔๗ ไร่ ๓ งาน ๔๑ ตารางวาให้เกิดประโยชน์แก่แผ่นดินอย่างสูงสุด
ทุกผืนดิน ผืนป่า ผืนน้ำ และทุกลมหายใจ นั่นคือมรดกของบรรพบุรุษ ใครจะถือสิทธิ์ครอบครองอย่างไร แต่ความจริงเนื้อแท้“เป็นสมบัติของแผ่นดิน” ที่ต้องหวงแหนรักษาเอาไว้ นี่ไม่ใช่การเอาชนะคะคาน เป็นการปกป้องรักษาสมบัติที่ตกทอดมาตั้งแต่โบราณ จำได้ไหม ก่อนนั้นชนชาติอื่นต้องการครอบครองแผ่นดินนี้เพราะมีป่าไม้อันสมบูรณ์ ในอดีตกาลเราร่มเย็น อากาศดี เรามีความสุขเพราะมีป่าไม้ เราคือแผ่นดินต้นน้ำหล่อเลี้ยงคนทั้งชาติ มาเถอะ มาช่วยกันแสดงจุดยืน พลังมดอันน้อยนิดเมื่อรวมกันแล้ว สามารถสร้างความทรงจำอันยิ่งใหญ่ได้ ขอมือของคุณมาจับจูงมือเรา แล้วก้าวไปด้วยกัน ชาวเชียงใหม่ ภาคเหนือ และคนไทยทั้งประเทศ #เราต้องการมือคุณ
น้ำฟ้า