กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 25 ก.ย. 2011 8:31 am

Praya.jpg
Praya.jpg (53.98 KiB) เปิดดู 23972 ครั้ง

พระบรมรูปพญามังราย

dsc00549_resize_resize.jpg
dsc00549_resize_resize.jpg (39.9 KiB) เปิดดู 23972 ครั้ง

พระเจ้ากือนา ( ภาพวาดจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ )

รายพระนามกษัตริย์และเจ้าเมืองเชียงใหม่

๑. พระญามังราย (พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔)
๒. พระญาไชยสงคราม (พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๘)
๓. พระญาแสนภู (พ.ศ.๑๘๖๘-๑๘๗๗)
๔. พระญาคำฟู (พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙)
๕. พระญาผายู (พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘)
๖. พระญากือนา (พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘)
๗. พระญาแสนเมืองมา (พ.ศ.๑๙๒๘-๑๙๔๔)
๘. พระญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.๑๙๔๕-๑๙๘๔)
๙. พระญาติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๓๐)
๑๐. พระญายอดเชียงราย (พ.ศ.๒๐๓๐-๒๐๓๘)
๑๑. พระญาเมืองแก้ว (พ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘)
๑๒. พระญาเมืองเกษเกล้า ครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๐๖๘-๒๐๘๑) ครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๘๖-๒๐๘๘)
๑๓. ท้าวซายคำ (พ.ศ.๒๐๘๑-๒๐๘๖)
๑๔. พระนางจิรประภา (พ.ศ.๒๐๘๘-๒๐๘๙)
๑๕. พระไชยเชษฐา (พ.ศ.๒๐๘๙-๒๐๙๐)
๑๖. ท้าวแม่กุ (พระเมกุฎิ) (พ.ศ.๒๐๙๔-๒๑๐๗)
๑๗. พระนางวิสุทธเทวี (พ.ศ.๒๑๐๗-๒๑๒๑)

สมัยพม่าปกครอง
๑. นรธาเมงสอ
๒.พระช้อย ( มองซวยเทา )
๓.พระชัยทิพ ( มองกอยต่อ )
๔. พระช้อย ( ครั้งที่ ๒ )
๕.เจ้าเมืองนาน
๖.พญาหลวงเนตรทิพย์
๗.พระแสนเมือง
๘.เจ้าเมืองแพร่
๙.อุปราชอึ้งแซะ ( กรุงอังวะ )
๑๐. บุตรเจ้าเจกุตรา ( เจพูตราย )
๑๑. มังแรนร่า
๑๒.เทพสิงห์
๑๓.องค์คำ
๑๔.เจ้าจันทร์
๑๕.อดีตภิกษุวัดดวงดี ) เจ้าขี้หุด)
๑๖.โป่อภัยคามินี
๑๗.โป่มะยุง่วน

เจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยราชวงศ์กาวิละ (เจ้าเจ็ดตน)
๑. พระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๖)
๒. พระยาธรรมลังกา(เจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก) (พ.ศ.๒๓๕๙-๒๓๖๕)
๓. พระยาคำฝั้น(เจ้าหลวงเศรษฐี) (พ.ศ.๒๓๖๖-๒๓๖๘)
๔. พระยาพุทธวงศ์ (เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น) (พ.ศ.๒๓๖๙-๒๓๘๙)
๕. พระเจ้ามโหตรประเทศ (พ.ศ.๒๓๙๐-๒๓๙๗)
๖. พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) (พ.ศ.๒๓๙๙-๒๔๑๓)
๗. พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ (พ.ศ.๒๔๑๖-๒๔๓๙)
๘. พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ (พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒)
๙. เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ.๒๔๕๔-๒๔๘๒)

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ประวัติศาสตร์ล้านนา
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 25 ก.ย. 2011 8:40 am

เจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยราชวงศ์กาวิละ (เจ้าเจ็ดตน)
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จาก เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

lannakhadee012_0.jpg
lannakhadee012_0.jpg (5.06 KiB) เปิดดู 23970 ครั้ง

พระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2325 – 2356)

lannakhadee017.jpg
lannakhadee017.jpg (9.86 KiB) เปิดดู 23970 ครั้ง

พระญาธัมมลังกา (เจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก) (พ.ศ. 2359 – 2365)

lannakhadee018.jpg
lannakhadee018.jpg (9.78 KiB) เปิดดู 23970 ครั้ง

พระญาคำฝั้น (เจ้าหลวงเศรษฐี) (พ.ศ. 2366 – 2368)

lannakhadee019.jpg
lannakhadee019.jpg (9.37 KiB) เปิดดู 23968 ครั้ง

พระญาพุทธวงศ์ (เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น) (พ.ศ. 2369 – 2389)
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 25 ก.ย. 2011 8:42 am

lannakhadee020.jpg
lannakhadee020.jpg (8.9 KiB) เปิดดู 23969 ครั้ง

พระเจ้ามโหตรประเทศ (พ.ศ. 2390 – 2397)

NcnM20080711004721.jpg
NcnM20080711004721.jpg (10.21 KiB) เปิดดู 23969 ครั้ง

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) (พ.ศ. 2399 – 2413)

lannakhadee022.jpg
lannakhadee022.jpg (10.74 KiB) เปิดดู 23969 ครั้ง

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) (พ.ศ. 2399 – 2413)
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 25 ก.ย. 2011 8:44 am

lannakhadee023.jpg
lannakhadee023.jpg (10.79 KiB) เปิดดู 23969 ครั้ง

พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2444 – 2452)

lannakhadee024.jpg
lannakhadee024.jpg (12.48 KiB) เปิดดู 23969 ครั้ง

เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ. 2454 – 2482)
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 25 ก.ย. 2011 8:52 am

ID_60738_13.jpg
ID_60738_13.jpg (18.6 KiB) เปิดดู 23967 ครั้ง

พระราชชายาดารารัศมี

JaoNoi.jpg
JaoNoi.jpg (82.7 KiB) เปิดดู 23967 ครั้ง

เจ้าน้อยศุขเกษม
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 25 ก.ย. 2011 8:55 am

1207111003.jpg
1207111003.jpg (74.77 KiB) เปิดดู 23967 ครั้ง

เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่

เจ้าดวงเดือน.jpg
เจ้าดวงเดือน.jpg (68.23 KiB) เปิดดู 23967 ครั้ง

เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 25 ก.ย. 2011 10:15 am

เจ้าสุไร สิโรรส

12378999.jpg
12378999.jpg (111.24 KiB) เปิดดู 19896 ครั้ง


เจ้าสุไร ศุกระจันทร์ (สกุลเดิมสิโรรส)ธิดาเจ้าชื่น สิโรรส (สกุลเดิม ณ เชียงตุง สืบเชื้อสายมาจากเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง) และเจ้าสุริยฉาย อิศรางกูร ณ อยุธยา ธิดาในเจ้ากาบคำ ณ เชียงใหม่ และพระยาวิเศษฤๅชัย (ราชวงศ์จักรี)



เจ้าสุไร เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่ยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันท่านอาศัยอยู่ที่คุ้มบ้านวังน้ำปิง สันผีเสื้อ เชียงใหม่ ท่านดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายด้วยการทำคุ้มให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม บรรยากาศภายในคุ้มน่าอยู่ยิ่งนัก เป็นคุ้มพื้นที่กว้างใหญ่ติดริมน้ำปิง มีสนามกอล์ฟ สถานปฏิบัติธรรม และร้านอาหารบรรยากาศคลาสสิค อยู่ในอาณาบริเวณ เจ้าสุไร เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีสายเลือดของเจ้านายฝ่ายเชียงตุง เชียงใหม่ และราชวงศ์จักรีรวมอยู่ด้วยกัน ท่านอยู่ในที่สูงแต่กลับชื่นชอบการใช้ชีวิตอย่างสมถะจวบจนถึงทุกวันนี้ แอดมินเคยเข้าไปไหว้ท่าน ท่านวางตัวธรรมดาแต่ยังคงความสง่างามเอาไว้เสมอ แม้จะล่วงเลยมาสู่ปัจฉิมวัยแล้ว
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เจ้านายฝ่ายเหนือ( เชียงใหม่ )

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 23 พ.ย. 2014 2:34 pm

เหตุการณ์ขณะที่พระเจ้ากาวิละฟื้นม่าน

เจ้ากาวิละ หรือ พระญากาวิละ หรือ พระเจ้ากาวิละ เป็นบุตรคนแรกในจำนวน ๑๐ คน ของเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งขณะนั้นเป็น เจ้าเมืองลำปาง กับนางจันทาเทวี สมภพเมื่อ จ.ศ.๑๑๐๔ (พ.ศ.๒๒๘๕) เมื่อบวชอยู่นั้นอาจารย์ให้ชื่อว่า "เจ้าขนาน กาวิละ" ในครั้งนั้น พระเจ้าตากสินย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยาไปตั้งที่กรุงธนบุรี โป่เจียกหรือแม่ทัพใหญ่ของพม่าผู้ชื่อว่าโป่ พสุลา ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเนเมียวสีหบดีที่เพิ่งกลับจากการศึกที่ลาวกลับมาถึงเชียงใหม่ ก็เตรียมเรือจำนวนหนึ่งเพื่อจะยกพล ไปตีกรุงธนบุรี พระญาจ่าบ้านได้ให้คนถือหนังสือลอบไปบอกข่าวแก่เจ้ากาวิละที่ลำปางว่าตนจะ "ฟื้นม่าน" หรือเป็นขบถต่อ พม่า เจ้ากาวิละได้เข้าร่วมเป็นพวกด้วยและบอกว่าจะคิดการณ์อยู่ทางลำปาง และทางเชียงใหม่ เพียงแต่ให้พระญาจ่าบ้าน ลงไปนำกองทัพของกรุงธนบุรีขึ้นมาเท่านั้น พระญาจ่าบ้านจึงไปอาสากับโป่เจียกหรือโป่สุพลาดังกล่าวเพื่อพาคนไป ชำระเส้นทางตามลำน้ำปิง เพื่อให้ทัพที่จะยกไปตีอยุธยานั้นเดินทางด้วยเรือได้สะดวก โป่เจียกก็เกณฑ์ชาวพม่า ไทใหญ่ ไท-ยวน ให้พระญาจ่าบ้านไปทำการ ครั้นเมื่อถึงเมืองฮอด (อ.ฮอดในปัจจุบัน) แล้วเมื่อถึงเวลาดึก พระญาจ่าบ้านก็พาพวก เข้าทำร้ายชาวพม่าและไทใหญ่เหล่านั้นจนแตกกระจัดกระจายไปแล้วก็รีบไปขอกองทัพของกรุงธนบุรีซึ่งขณะนั้นพักอยู่ที่ กำแพงเพชร เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงทราบแล้ว จึงทรงจัดกองทัพโดยพระเจ้าตากสินเองคุมทัพหลวงและ เจ้าพระยาจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯคุมทัพหน้ายกขึ้นมาอย่างรวดเร็วใช้เวลาเพียง ๒๑ วันก็ถึงเมืองเถิน ขณะที่ทัพหน้าของเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯยกพลขึ้นมาทางเมืองลำปางนั้น เจ้ากาวิละและน้องชายทั้งหก ก็หารือกันว่า หากเข้ากับทางกรุงธนบุรี พระบิดาคือเจ้าฟ้าชายแก้วก็ยังคงอยู่กับพม่าที่เชียงใหม่ แต่หากจะอยู่กับฝ่าย พม่าต่อไปก็คงจะทนต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เจ้าพี่น้องทั้งเจ็ดก็ตัดใจว่าให้ถือเอาบุญของพ่อและลูกเป็นเครื่องกำหนด จากนั้น จึงให้เจ้าคำสมเป็นแม่ทัพคุมไพร่พลชาวพม่า ไทใหญ่และไท-ยวน ไปต้านทานกองทัพกรุงธนบุรี โดยให้เหลือไพร่พล ชาวพม่า ไทใหญ่ในเมืองลำปางแต่น้อย เจ้าคำสมก็เข้ารบกับกองทัพกรุงธนบุรีแล้วถอยคืนพอให้พม่าไว้ใจ ฝ่ายเจ้ากาวิละก็ฟื้นม่าน คือเข้าโจมดีเช็กคายอสิริจอสูและฆ่าพม่ากับไทใหญ่ที่อยู่ในเมืองลำปางตายไปหลายคน ไพร่พล ชาวพม่าและไทใหญ่ก็พากันหนีไปบอกพรรคพวกที่อยู่ในกองทัพของเจ้าคำสมว่า เจ้ากาวิละเป็นขบถเจ้าคำสมก็ว่า เจ้ากาวิละไม่น่าจะตั้งใจฟื้นม่าน เพราะเจ้ากาวิละบางครั้งก็เกิดคลุ้มคลั่งทำลายสิ่งของและทำร้ายผู้คน และหากเจ้ากาวิละ ฟื้นม่านจริงแล้ว พวกน้องทั้งหมดก็ไม่เข้าสมทบด้วย พวกพม่าก็ฟังแต่เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พอตกกลางคืนพวกพม่า ก็พากันหนีกลับไปเชียงใหม่และบอกพฤติกรรมของเจ้ากาวิละให้โป่มะยุง่วนซึ่งเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น โป่มะยุง่วนที่ชาวเมืองเรียกว่าโป่หัวขาวจึงนำเอาเจ้าฟ้าชายแก้วไปคุมขังในคุกไว้ก่อน เพราะหากจะประหารแล้ว ก็เกรงว่าจะเสียใจภายหลัง เมื่อเจ้าคำสมยกทัพกลับคืนสู่นครลำปางแล้ว ก็เกรงว่าบิดาคือเจ้าฟ้าชายแก้วจะถูกพม่าทำร้าย จึงได้จัดเครื่องบรรณาการ และมีหนังสือถึงโป่มะยุง่วนที่เชียงใหม่ว่า ที่เจ้ากาวิละทำร้ายเช็กคายสิริจอสูและทหารพม่าไปนั้นเพราะความคลุ้มคลั่ง ที่พี่น้องทั้ง ๖ คนไม่มีผู้ใดรู้เห็นด้วยและขออย่าทำร้ายบิดาของพวกตน โป่มะยุง่วนได้รับหนังสือแล้วก็งดรอไว้ไม่ฆ่า เจ้าฟ้าชายแก้ว เพียงแต่ให้ขังไว้ต่อไปฝ่ายเจ้ากาวิละเห็นว่าพม่าทางเชียงใหม่มิได้ดำเนินเรื่องประการใดกับตนแล้ว จึงได้ให้เจ้าดวงทิพผู้น้องนำบรรณาการและ หนังสือไปต้อนรับกองทัพจากธนบุรี และขอเข้าพึ่งร่มโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ก็ได้ยกทัพมาถึงลำปาง ซึ่งเจ้ากาวิละได้นำเอาเสบียงอาหารไปต้อนรับกองทัพแล้ว จึงนำทัพกรุงธนบุรีขึ้นมาเชียงใหม่ โป่มะยุง่วนเกณฑ์คนออกต้านทานกองทัพของเจ้ากาวิละและกรุงธนบุรีแต่ก็พ่ายแพ้ เจ้ากาวิละจึงยกพลไล่ติดตามทหาร พม่าที่แตกทัพไปยังเมืองเชียงใหม่ โป่มะยุง่วนเห็นเหตุการณ์โกลาหลเช่นนั้นจึงพาพวกหนีจากเชียงใหม่ โดยออกไปทาง ประตูช้างเผือก เมื่อเจ้ากาวิละเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว จึงไปเชิญเจ้าฟ้าชายแก้วจากคุกไปสู่ทัพหลวง เมื่อยึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงตั้งพระญาจ่าบ้านเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ โดยมี เจ้าน้อยก้อนแก้วผู้หลานเป็นอุปราชา ตั้งเช็กคายแดงเป็นเจ้าเมืองลำพูน ตั้งเจ้าน้อยตอนต้อผู้น้องเป็นอุปราชาเมืองลำพูน แล้วจึงยกทัพกลับไปทางลำปางและแวะพักนมัสการพระธาตุลำปางหลวงระยะหนึ่ง ฝ่ายเจ้ากาวิละเมื่อนำบิดาออกจากคุกเชียงใหม่กลับไปยังลำปางแล้ว ก็พาน้องทั้ง ๖ เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งพระเจ้าตากสินก็ทรงตั้งเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปาง โดยมีเจ้าธัมมลังกาผู้น้องลำดับที่ ๓ เป็นอุปราชา จากนั้น พระเจ้าตากสินก็ยกทัพ กลับไปทางเมืองเถินแล้วเดินทางกลับโดยทางเรือ ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เมื่อพบนางสรีอโนชา ผู้น้องของเจ้ากาวิละแล้วก็มีความพึงพอใจจึงได้ให้ขุนนางมาขอ ซึ่งเจ้าพี่น้อง ทั้ง ๗ คนโดยมีเจ้าฟ้าชายแก้วเป็นประธาน ก็ได้ยกนางสรีอโนชาให้แก่เจ้าพระยาสุรสีห์ฯตามที่ขอนั้น หลังจากนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ก็ยกทัพกลับไปทางเมืองสวรรคโลก ในจุลศักราช ๑๑๔๔ (พ.ศ.๒๓๒๕) นั้นมีการผลัดแผ่นดิน คือ เจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี และมีเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อเจ้ากาวิละนำข้าวของและเชลยไปถวาย เช่นนั้น พระเจ้าอยู่หัวก็ถือเป็นความชอบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้ากาวิละ ซึ่งขณะนั้นอายุ ๔๐ ปีเป็น พระยามังราวชิรปราการกำแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละ (ยศในขณะนั้น) ได้รวบรวมผู้คนได้ประมาณพันคนยกไปตั้งเวียงป่าซาง และระหว่างนั้นได้สะสมพลเมือง และสู้รบกับพม่า จน พ.ศ.๒๓๓๙ พระยากาวิละจึงไปตั้งเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ หลังจากที่เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง ไปประมาณ ๒๐ ปี พระยากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ให้มีสภาพเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของล้านนาเช่นเดียวกับ ในสมัยราชวงศ์มังราย พระยากาวิละขยายอาณาเขตเมืองเชียงใหม่ออกไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองปันนา และยังได้ ทำนุบำรุงด้านศาสนา โดยปฏิสังขรณ์วัดสำคัญ ๆ และตั้งสมณศักดิ์พระภิกษุโดยกระทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม ใน พ.ศ.๒๓๔๕ พระยากาวิละได้เลื่อนยศเป็นพระเจ้ากาวิละ หลังจากนั้นพระเจ้ากาวิละได้ขับไล่พม่าออกไปจาก เชียงแสนสำเร็จใน พ.ศ. ๒๓๔๗ นับแต่นั้นมาพระเจ้ากาวิละได้สร้างความเข้มแข็งแก่เชียงใหม่จนเป็นปึกแผ่นมั่นคง จนกระทั่งถึงแก่พิราลัย ยามแตรบอกเวลาเข้าสู่เที่ยงคืน วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ จุลศักราช ๑๑๗๗ (พ.ศ.๒๓๕๘) สิริรวมพระชนม์ชันษาได้ ๗๔ ปี
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 12 ม.ค. 2015 8:15 pm

พระราชประวัติพระนางจามเทวี ฉบับที่ ๑

พระราชประวัติ ปฐมกษัตรีย์แห่งนครหริภุญชัย (๑)


ประวัติพระนามจามเทวี กำเนิดหญิง ? วี ?

พระ นางจามเทวี ตอนกำเนิดเป็นเด็กหญิง ? วี ? ที่ ท่านพระฤๅษีวาสุเทพได้บันทึกไว้ในสุพรรณบัฏ เราสุเทพฤๅษีแห่งอุจฉุตบรรพต (เขาไร่อ้อยหรือดอยสุเทพ) ณ ระมิงค์นคร ขอจารึกกำเนิดของกุมารีนามว่า ? วี ? มาให้มวลนิกรทั้งหลายได้รู้แจ้งดังนี้

กุมารน้อยนี้ พญาปักษีพามาจากบุรพนคร เราจึงช่วงชิงเอาไว้ ณ สุวรรณบรรพต (ดอยคำ) ใกล้อาศรมแห่งปู่ย่าผู้บรรพบุรุษ พญาปักษีได้ปล่อยกุมารีตกลงมาท่ามกลางต้นปทุมสระหลวง เราจึงได้สักการะอธิษฐาน กุมารีนี้จึงลอยขึ้นบน ? วี ? วันนี้ ก็เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง ปีมะโรง พุทธศก ๑๑๗๖ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๕ วันพฤหัสบดี ปีมะโรง ตรงกับเดือน ๗ เหนือ ออก ๑๕ ค่ำ ปีสีฯ

ดวงชะตาเจ้าแม่แปลกประหลาด

ตาม เกณฑ์ดวงชะตาเจ้าแม่จามเทวีแปลกประหลาด จึงได้ให้นักพยากรณ์ลองผูกดวงดู ตามทัศนของพระฤๅษีกล่าวว่า เกณฑ์เลขชะตาเจ็ดตัว วันกำเนิดก็ ๕ เดือนก็ ๕ ปีก็ ๕ ยังขึ้น ๑๕ ค่ำอีก ด้วย กุมารนี้ประมาณชันษาได้ ๓ เดือนแล้ว ด้วยเหตุฉะนี้เราจึงกระทำพิธีมงคลนามตามกำเนิดเพื่อความเป็นสิริมงคล เราได้ทราบด้วยญาณว่า ? กุมารีนี้เป็นบุตรีของชาวบ้านหนองดู่ ในบุรพนคร (ต่อมาเปลี่ยนเป็นหริภุญชัย) เราจึงมอบให้ กากะวานรและบริวารเลี้ยงกุมารีน้อยนี้ ณ สุวรรณบรรพต และได้สอนศิลปวิทยาให้จวนจบชนมายุได้ ๑๓ ปี เป็นเวลาที่กุมารีนี้จักได้มาช่วยอุปถัมภ์กำราบ อริราชศัตรู ณ แคว้นเขมรัฐ อันกุมารีนี้ยังจักเป็นคู่เสน่หาของเจ้าชายเขมรัฐ ซึ่งเดินหลงทางพนาเวศไปยังเราเมื่อ ๔ ปีโน้น จึงได้ทำพิธีประกอบนาวายนต์ให้กุมารี พร้อมทั้งกากะวานร และบริวารรวม ๓๕ ตัว เดินทางโดยลำน้ำระมิงค์ถึงกรุงละโว้ฯ

ตามตำนานกล่าวว่า พระนางจามเทวี เกิดที่ บ้านหนองดู่ ไปเติบโตที่ละโว้ (ลพบุรี) ได้มาครองเมืองลำพูนตามคำเชิญของพระฤๅษี จึงได้เป็นกษัตริย์องค์แรกของเมืองลำพูน พระนางจามเทวี เป็นบุตรีของท่านเศรษฐี นามว่า อินตา มารดา..ไม่ปรากฏนาม เป็นชาวเม็ง (มอญ) ราษฎรบ้านหนองดู่ (อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน) พระนางจามเทวีเกิดเวลาจวนจะค่ำ วันพฤหัสบดี เดือน ๕ ปีมะโรง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พุทธศักราช ๑๑๗๖ ในระหว่างอายุได้ประมาณ ๓ เดือน กำลังนอนเบาะ ได้มีนกใหญ่ตัวหนึ่งบินเข้ามาโฉบเอา พระนางจามเทวี ขณะที่พ่อแม่ไปธุระขึ้นบนท้องฟ้า พระนางจามเทวี ได้ร่วงหล่นลงมายังกลางสระบัวหลวง ร่างของพระนางก็ค้างอยู่บนกอบัวเป็นที่น่าอัศจรรย์

พระฤๅษีเกิดไปพบ เข้าจึงนึกในใจว่า ทารกนี้มีเหตุการณ์อย่างประหลาด ชะรอยจักไม่ใช่ทารกธรรมดาสามัญ เห็นทีจะมีบุญญาธิการสูงส่ง จึงได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า ผิว่าทารกหญิงคนนี้ ประกอบด้วยบุญญาธิการ จะได้เป็นใหญ่ในเบื้องหน้าแล้วไซร้ ขอให้ ? วี ? ของเรานี้รองรับร่างของทารกไว้ได้โดยมิต้องร่วงหล่นเถิด และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักเมื่อเราเอา ? วี ? (วี แปลว่า พัด) ยื่นไปช้อนร่างทารกน้อยวัย ๓ เดือน ก็สามารถอยู่บน ? วี ? อย่างอัศจรรย์ จึงเลยให้นามทารกนี้ว่า ? หญิงวี ?

ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี พระฤๅษีได้จัดส่งพระนางไปตามลำน้ำปิงพร้อมกับมีวานรจำนวน ๓๕ ตัว ติดตามไปด้วย เมื่อพระนางไปถึงท่าฉนวนหน้าวัด (เชิงท่าตลาดลพบุรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) นาวายนต์ก็ลอยวนไม่เคลื่อนที่ไปทางใดจนกระทั่งรุ่งแจ้ง ประชาชนพลเมืองเมื่อได้เห็นต่างโจษขานกันอึงคะนึง บ้างก็เข้าไปพยายามดึงนาวาเข้าฝั่ง แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงได้รีบแจ้งแก่เสนาบดี และก็ได้รับทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระเจ้ากรุงละโว้ดังกล่าว กษัตริย์ทั้งสองแห่งกรุงละโว้ ก็ทรงตื้นตันด้วยความเวทนาในธิดายิ่งนัก เสด็จมารับเอาไปเป็นบุตรี อยู่ได้ ๓ วัน ก็จัดให้มีงานฉลอง และเจิมพระขวัญพระราชธิดา ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชธิดาเอก แห่งนครละโว้ และให้ปุโรหิตจารึกพระนามลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า ? เจ้าหญิงจามเทวี ศรีสุริยะวงศ์ บรมราชขัติยะนารีรัตนกัญญาละวะบุรี ราเมศวร ? เป็นรัชทายาทแห่งนครละโว้

ในวารดิถีอาทิตยวาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๑๑๙๐ เมื่อสิ้นพระกระแสพระราชดำรัสก็ได้ยินเสียงถวายพระพรพระธิดากันเซ็งแซ่ พระนางจามเทวี มีพระราชดำรัสตอบว่า ข้าฯ ขอกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันพิทักษ์รักษากรุงละโว้ว่า ข้าฯ จะเป็นมิตรที่ดีต่อท่านทั้งหลาย จะขอปกปักษ์พิทักษ์รักษาอาณาจักรละโว้ด้วยชีวิต จะปฏิบัติทุกอย่างที่จะหาความสุขให้ทั่วพระราชอาณาจักรแห่งนี้ เมื่อกระแสพระราชดำรัสจบลง เสียงปี่พากย์มโหรีก็บรรเลงขึ้น ชาวประชาก็ถวายพระพร ขอให้เจ้าหญิงจงทรงพระเจริญๆ ๆ แล้วข้าวตอกดอกไม้ของหอมก็ถูกโปรยทั่วบริเวณ พระพิรุณก็โปรยปรายความชุ่มเย็นจากฟากฟ้าเป็นละอองทั่วกรุงละโว้ เป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง

เมื่อพระนางจามเทวี อายุได้ ๒๐ ปี ในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้น เดือน ๖ พุทธศักราช ๑๑๙๖ ชาวกรุงละโว้ (ลพบุรี) ก็มีพระราชพิธีสำคัญคือ พระราชพิธีหมั้นระหว่างเจ้าชายรามราชกับเจ้าหญิงจามเทวี ในวันรับหมั้นก็มีมหรสพสมโภชเอิกเกริก บรรดาเจ้าเมืองทั้งหลายก็ส่งเครื่องบรรณาการกันอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง

อัน ความงามของเจ้าหญิงเลื่องลือไปทุกแคว้น จนกระทั่งเจ้าชายผู้เป็นพระราชโอรสพระเจ้ากรุงโกสัมภี (พม่า) เกิดลุ่มหลงไม่เป็นอันกินอันนอน จนพระราชบิดาต้องแต่งเครื่องบรรณาการให้อำมาตย์เชิญพระราชสาส์นมาสู่ขอพระ ราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ ในปี ๑๑๙๖ ขณะนั้นเจ้าหญิงทรงรับหมั้นแล้ว จึงได้ปฏิเสธการรับหมั้น ทางฝ่ายกรุงโกสัมภีเมื่อผิดหวังก็กล่าวหาว่าละโว้บ่ายเบี่ยงก็เคืองแค้นอยู่ ในใจ

พม่าเสียใจความรักไม่สมหวัง

ใน ราวเดือนอ้าย ปลายปีพุทธศักราช ๑๑๙๖ เมืองโกสัมภีก็ยกทัพใหญ่ เพียบพร้อมด้วยพระประยูรญาติ ทางกาลิงครัฐก็รวมกำลังเป็นกษัตริย์เข้าบุกละโว้

ทางนครรามบุรี (ทัพกษัตริย์) คือ แม่ทัพล้วนแต่เป็นราชโอรส ราชนัตตา หรือเจ้าผู้ครองทั้งนั้น ทุกกองจะมีกองหน้า กองหลวง กองหลัง เต็มอัตราศึก แสนยานุภาพของโกสัมภีและกาลิงครัฐก็พุ่งเข้าบดขยี้นครรามบุรีอย่างบ้าคลั่ง น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ นครรามบุรีรีบแจ้งข่าวศึกใหญ่มายังกรุงละโว้ กษัตริย์ละโว้ทรงทราบก็ตกพระทัยนั่งอึ้งมิอาจตรัสสิ่งใดได้ ทั่วท้องพระโรงเงียบกริบ

พระนางจามเทวีอาสาออกศึกสงครามกับพม่า

ใน การออกสงครามกับพม่าครั้งนี้ ทางฝ่ายพระบิดาพระมารดาและพระนางต่างปรึกษาหารือกันอยู่เป็นเวลานาน กว่าจะตกลงกันได้ ในที่สุดก็ตกลงมอบหน้าที่ให้พระนางจามเทวีเป็นแม่ทัพออกศึกสงครามกับพม่า เพราะพระฤๅษีสั่งว่า พระราชธิดานี้จะมาช่วยบำราบอริราชศัตรู และจากเหตุการณ์ที่ล่วงมาก็แสดงว่า พระราชธิดานี้มีบุญญาธิการแก่กล้านักเห็นทีศัตรูจะทำอันตรายมิได้เป็นแน่ จึงตกลงอนุญาตและถามเจ้าหญิงว่าจะเดินทัพเมื่อไร เจ้าหญิงทูลว่าจะไปวันนี้ เจ้ากรุงละโว้ก็ให้อำมาตย์ไปอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเข้ามายังพระอาราม หลวงโดยพร้อมเพรียงกัน

เมื่อพิธีเจิมเฉลิมชัยเจ้าหญิงเสร็จแล้ว เจ้าหญิงทรงรับสั่งให้ขุนศึกทั้งหลายเตรียมทัพ และให้พี่เลี้ยงทั้งสองจัดทัพหน้าหญิง ๕๐๐ คน ชาย ๑,๐๐๐ คน กับกากะวานรและวานรที่ติดตามมาตั้งแต่ระมิงค์นครทั้ง ๓๕ ตัว เมื่อทำพิธีทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย พระนางตรัสว่าเพื่อปิตุภูมิเราจะขอทำหน้าที่และยอมสละชีวิตก่อนท่านทั้งหลาย และศึกครั้งนี้หนักนัก เป็นศึกกษัตริย์อันมิควรจะพบกันบ่อยครั้ง บรรดาแม่ทัพของเขาล้วนแต่เป็นพระโอรสและราชนัดดาของนครต่างๆ ทั้งโกสัมภี และกาลิงครัฐ พระนางประกาศว่าถ้าผู้ใดมิเต็มใจไปราชการด้วยครั้งนี้ เราจะมิเอาโทษทัณฑ์ประการใด จะปลดปล่อยทันที เมื่อรับสั่งจบบรรดาเหล่าทหารก็โห่ร้องถวายพระพรกันเซ็งแซ่ ทุกคนขอปฏิญาณว่าจะขอตายเพื่อประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ทั้งนั้น

ทันที นั้นท้องฟ้าก็แจ่มใสเป็นศุภนิมิตอันดี กษัตริย์กรุงละโว้ก็ทรงมอบพระแสงอาญาสิทธิ์แก่เจ้าหญิง ทันใดนั้นธงชัยประจำตัวแม่ทัพก็สะบัดชายให้เห็นพื้นธงสีฟ้าริมขาว ส่วนกลางของธงซึ่งมีรูปมงกุฎราชกุมารีลอยอยู่เหนือดวงอาทิตย์โบกสะบัดอยู่ไป มาติดตามแม่ทัพอย่างกระชั้นชิด เมื่อเดินทัพมาใกล้นครเขื่อนขัณฑ์ (กำแพงเพชร) เจ้าหญิงจึงทรงอักษรไปยังเจ้ารามฯ ว่า เจ้าหญิงจามเทวีแห่งกรุงละโว้มาช่วยแล้วขอให้เจ้าพี่ทิ้งเมืองเสียเถิด ให้อพยพชาวเมืองลงมาก่อน แล้วเจ้าพี่รับทำหน้าที่นำทัพมาพ้นเทือกเขาขุนกาฬบรรพต ในระหว่างที่มีการสู้รบกันอยู่นั้นพลเมืองต่างก็พากันหนีออกจากเมือง เมื่อทัพโกสัมภียึดนครได้ก็กลายเป็นนครร้างเสียแล้ว เพราะราษฎรอพยพกันหมดสิ้น ต่อมาแม่ทัพทั้งสองก็ได้สู้รบกันอีก จนต่างฝ่ายมีอาหารการกินร่อยหรอลงไป

เจ้าหญิงก็ทรงพระอักษรขึ้น ๑ ฉบับ ส่งให้โอรสแห่งโกสัมภีว่าอันสงครามครั้งนี้เหตุก็เกิดจากเรื่องส่วนตัว ระหว่างเจ้าพี่กับหม่อมฉัน มิควรที่จะให้ชีวิตของทวยราษฎร์ทั้งหลายจักต้องมาล้มตายกัน จะเป็นที่ครหานินทาแก่หมู่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายเปล่าๆ ขอเชิญเจ้าพี่แต่งกายทหารมาทำการสู้รบกันตัวต่อตัวให้เป็นขวัญตาแก่ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินเถิด จอมทัพแห่งโกสัมภีเมื่อรับพระราชสาส์นจากเจ้าหญิง จึงได้ทรงทราบว่าสตรีที่ตนรักเป็นจอมโยธาจะต้องมาประหัตประหารกัน ก็ทรงวิตกไปหลายประการและก็แว่วว่าเจ้าหญิงทรงเป็นศิษย์พระฤๅษี คาถาอาคมก็คงจะเชี่ยวชาญ มิฉะนั้นไหนเลยจะกล้าหาญมาเป็นแม่ทัพ

ต่อ จากนั้นอีกสองวันทั้งสองฝ่ายก็จัดแม่ทัพออกสู้กันตัวต่อตัว ล่วงไปได้ ๖ วันในการต่อสู้ขุนศึกโกสัมภีตาย ๒ คน ละโว้ตาย ๑ คน วันที่ ๗ จอมทัพโกสัมภีจะต้องต่อสู้กันตัวต่อตัว เจ้าหญิงก็นึกถึงบิดา พระฤๅษีวาสุเทพ เสี่ยงสัจจะอธิษฐานในบุญกรรม และแล้ววันรุ่งขึ้นก็ย่างมาถึง วันนี้เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ กลองศึกถูกรัวเร้าจังหวะ กองทัพทั้งสองก็มาประจันหน้ากัน ณ สนามรบ ขณะที่ทางโกสัมภีตกตลึงเมื่อได้เห็นความงามของพระนางจามเทวี พระนางจึงตรัสว่า เจ้าพี่มัวยืนเหม่ออยู่ด้วยเหตุอันใด หม่อมฉันขอเชิญเจ้าพี่มาประลองฝีมือกัน อย่าให้ทหารทั้งหลายต้องพลอยยากลำบากด้วยเราเลย เจ้าชายได้สติจึงเอ่ยขึ้นว่า การศึกครั้งนี้ใยพระนางต้องทำพระวรกายมาให้เปรอะเปื้อนโลหิตอันมิบังควร สำหรับสตรีเพศ หรือว่าละโว้นั้นสิ้นแล้วหรือซึ่งผู้ชายชาตรี

เจ้า หญิงตรัสว่า อันละโว้จะสิ้นซึ่งชายชาตรีนั้นหามิได้ แต่ว่าหม่อมฉันเป็นราชธิดาแห่งเสด็จพ่อเสด็จแม่ เป็นเอกธิดาภายใต้เศวตฉัตร อันสตรีก็มีใจ บุรุษก็มีใจ ผิว์ว่าหม่อมฉันพลาดพลั้งเจ้าพี่ก็เอาชีวิตหม่อมฉันไปเถิด ถ้าเจ้าพี่พลาดพลั้งก็ขอได้โปรดอภัยให้แก่หม่อมฉันด้วย เมื่อต่างฝ่ายต่างโต้คารมกันไปมานานพอสมควรก็ใกล้เที่ยงวัน เจ้าชายโกสัมภีก็ตรัสขอเชิญเจ้าหญิงพักเหนื่อยกันก่อนเถิด บ่ายอ่อนเราจึงมาต่อสู้กันใหม่ เจ้าหญิงก็ทรงเห็นด้วย

ครั้นแล้วเวลา นั้นก็มาถึง ทั้งสองเจ้าก็เริ่มประดาบกันใหม่ภายใต้ร่มโพธิ์อันร่มรื่น เจ้าหญิงทรงยืนเป็นสง่า ทั้งคู่ต้องมาประหัตประหารกันด้วยหน้าที่ เมื่อปี่ชะวาครางขึ้น ทั้งคู่ก็เริ่มเข้าประหารกันอีก เมื่อดาบทั้งสี่เริ่มกระทบกันจากช้าเป็นเร็ว ต่างฝ่ายผลัดกันรับและรุกเป็นเวลานาน คนดูต่างใจหายใจคว่ำ ครั้นแล้วเจ้าชายก็เสียเชิงถูกพระแสงดาบเจ้าหญิงเฉี่ยวเข้าที่พระกรก็ตกใจ ชักม้าเบนห่าง กากะวานรเห็นดังนั้นก็พุ่งเข้าคว้าธงไชย จอมทัพโกสัมภีเข้าหักยับด้วยกำลัง ทหารทั้งปวงก็อลหม่านทั้งไพร่และนายแตกตื่นกันชุลมุน กองทัพโกสัมภีก็แตกร่นไม่เป็นขบวน ต่างชิงหนีเอาตัวรอด ทหารละโว้ตามตีไม่ลดละจึงต้องหนีทั้งกลางวันและกลางคืน

เจ้าชายแห่ง โกสัมภีแค้นพระทัยที่เสียรู้ เสียพระทัย เสียทัพยับเยิน จะอยู่ไปใยให้ขายหน้าและสุดที่ผู้ใดจะช่วยทัน ด้วยทิฐิมานะแห่งขัติยะก็ทรงเอาพระแสงดาบเชือดเฉือนพระศอของตนเองจนสิ้น ชีพิตักษัย ทันใดก็มีเสียงร้องต่อๆ กันว่า เจ้าชายโกสัมภีสิ้นพระชนม์ฯ ขอให้ทหารทุกคนยอมอ่อนน้อมต่อละโว้เถิด มีเสียงบอกต่อๆ กันจนฟังให้อึงคะนึงไปหมด เจ้าหญิงจึงประกาศให้ทัพฝ่ายกรุงละโว้ปลดอาวุธทางโกสัมภี แล้วเจ้าหญิงก็ยุติการสู้รบและให้ทั้งสองฝ่ายตรวจตราความเสียหาย เจ้าหญิงทรงพระบัญชาให้ทหารรีบไปเอาปรอทยังนครสุวรรณบรรพต และให้ต่อพระศอเจ้าชายโกสัมภีแล้วกรอกปรอทบรรจุพระศพเจ้าชายโกสัมภีเป็นที่ เรียบร้อยแล้วให้ทหารนำศพกลับเมืองโกสัมภี เป็นอันว่าสงครามรักสะเทือนใจทั้งสองนครก็ยุติฯ

เสร็จสงครามเจ้าจามเทวีก็อภิเษกสมรส

เมื่อ เหตุการณ์ทั้งหลายสงบเรียบร้อย พระเจ้ากรุงละโว้และพระมเหสีก็ทรงดำริว่า สมควรจัดให้ราชธิดากับเจ้าชายรามราชทรงอภิเษกสมรส ทางเจ้ากรุงละโว้ทรงให้เขียนประกาศแจ้งไปยังหัวเมืองต่างๆ อย่าให้เมืองใดขาดได้ เมื่อได้ฤกษ์งามยามดีตรงกับวันข้างขึ้นเดือน ๖ ปีขาล พุทธศักราช ๑๑๙๘ พระนางจามเทวีกับเจ้าชายรามฯ ก็ได้อภิเษกสมรสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็มีพระราชพิธีมอบราชสมบัติ อัญเชิญเจ้ารามฯ ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครองนครกรุงละโว้เพื่อเป็นมิ่งขวัญชาวละโว้ต่อไป
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 12 ม.ค. 2015 8:18 pm

พระราชประวัติ ปฐมกษัตรีย์แห่งนครหริภุญชัย (๒)

untitled-7.jpg
untitled-7.jpg (24.89 KiB) เปิดดู 22571 ครั้ง


ดินแดนล้านนา มีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยกันเป็นเวลานานมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีพบร่องรอยการมีผู้คนอาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะได้ขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย นาย ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญวิชาก่อนประวัติศาสตร์ระบุว่าเป็นสมัยหินใหม่ แต่เรื่องราวในยุคหินใหม่ยังไม่มีการศึกษากัน

ส่วนจังหวัดลำพูนเดิม มีชื่อว่า หริภุญชัย หรือ หริภุญไชย "หริ" แปลว่า สมอ "ภุญชัย" แปลว่า ฉัน เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดในล้านนา จากการค้นคว้าทางด้านโบราณคดีในภาคเหนือ ตามโครงการโบราณคดีประเทศไทยของกรมศิลปากรนั้น มีการขุดพบหลักฐานหลายอย่าง เช่น โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบผสมลายเขียนสีแดงที่ส่วนคอและขอบปาก กำไลสำริด กำไลหิน กำไลแก้ว ลูกปัดแก้ว ขวานหินขัด เครื่องมือเหล็กและเตาเผา ที่บ้านวังไฮ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน บ้านสันป่าคา และบ้านยางทองใต้ จังหวัดเชียงใหม

ทูลเชิญพระนางจามเทวีมาครองเมืองหริภุญชัย

เมือง หริภุญชัย สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๑๒๐๔ โดยวาสุเทพ ฤาษี (สุเทวฤาษี) เป็นผู้สร้างเพราะเห็นว่ามีชัยภูมิดี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับ และได้รวบรวมชาวบ้านผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกนั้น ให้อยู่รวมกันและปรึกษากับสุกกทันตฤาษีผู้เป็นสหาย ให้หาผู้ที่เหมาะสมมาครองเมือง ในที่สุด จึงตกลงขอพระนางจามเทวี พระธิดาของพระยาจักกวัติแห่งกรุงละโว้ (ลพบุรี) และเป็นพระมเหสีของเจ้าเมืองรามบูรณ์ (หรือรามราช อยู่ใกล้เมืองละโว้) มาครองเมืองหริภุญชัย ซึ่งขณะนั้น พระนางจามเทวีทรงมีพระครรภ์ได้ ๓ เดือน ระหว่างการเดินทาง พระนางจามเทวีทรงสร้างพระอาราม ณ บริเวณบ้านระมักและสร้างวัดกู่ระมักขึ้นเป็นแห่งแรก

พระนางจามเทวี พร้อมด้วยบริวารได้เดินทางมาหริภุญชัย ใช้เวลานาน ๗ เดือน พระนางทรงนำเอาพระแก้วขาว (เสตังคมณี) ซึ่งสร้างขึ้นที่เมืองละโว้ประมาณ พ.ศ. ๗๐๐ มาด้วย (ปัจจุบันพระแก้วขาวองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่) วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษี พร้อมด้วยชาวเมืองได้อัญเชิญพระนางจามเทวีนั่งบนกองทองคำ (กองหญ้าแพรก) แล้วทำพิธีราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๖

ประสูติพระโอรส

หลัง จากพระนางจามเทวีครองเมืองได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด ๒ พระองค์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ พระโอรสองค์พี่มีพระนามว่า "มหันตยศ" องค์น้องพระนามว่า "อนันตยศ" หรือ "อินทวระ" พระนางจามเทวีได้นำขนบธรรมเนียมประเพณีอารยธรรมต่างๆ ของละโว้เข้ามาเผยแพร่ และได้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ให้ชาวเมืองดำรงตนยึดมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ด้วยอำนาจบุญบารมีของพระนาง จึงได้ช้างเผือกดั่งสีเงินยวง (ใสบริสุทธิ์) งาทั้งสองข้างมีสีเขียวเรียกว่า "ผู้ก่ำงาเขียว" (ช้างพลายผู้มีผิวกายเปล่งปลั่งและมีงาสีเขียว ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า ปู๊ก่ำงาเขียว ) จากเชิงเขาอ่างสลุง (อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่) มาเป็นช้างพระที่นั่งคู่บารมี

ต่อมาขุนวิลังคราช เจ้าเมืองลัวะ ยกทัพมาตีเมืองหริภุญชัย เพื่อชิงพระนางจามเทวีไปเป็นมเหสี เจ้ามหันตยศ และเจ้าอนันตยศ ได้ทรงช้างบารมีของพระนางนำไพร่พลออกสู้รบ ขุนวิลังคราชเห็นรัศมีสีแดงลุกโพลงอยู่ปลายงาช้างเผือก ก็ตกใจกลัวตายหนีไป เมื่อช้างเผือกคู่บารมีได้ล้มลง (ตายลง) พระนางจึงนำซากช้างฝังไว้พร้อมซากม้าพระที่นั่งของพระโอรส ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "กู่ช้าง กู่ม้า"

พระนางจามเทวีเสด็จสวรรคต

เมื่อ พระราชโอรสทั้ง ๒ พระองค์ เจริญวัยขึ้น พระนางจามเทวี จึงสละราชสมบัติให้เจ้ามหันตยศครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) ให้เจ้าอนันตยศไปครอง ส่วนพระนางก็บำเพ็ญศีลเจริญภาวนาปวารณาอยู่ในร่มพระพุทธศาสนาตลอดมา จนมีพระชนมายุได้ ๙๒ พรรษา จึงเสด็จสวรรคต พระเจ้ามหันตยศ ทรงจัดการพระบรมศพพระมารดาด้วยการสร้างพระเมรุในป่าไม้ยางแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับอารามวัดมาลุวาราม (วัดสันป่ายางหลวงที่พระนางจามเทวีทรงสร้างไว้) แล้วถวายพระเพลิง และสร้างสุวรรณจังโกฏิเจดีย์ บรรจุพระอัฐิหุ้มด้วยแผ่นทองคำ พร้อมทั้งเครื่องประดับของพระราชมารดา ตลอดจนสร้างวัดขึ้นและขนานนามว่า "วัดจามเทวี" ต่อมายอดพระเจดีย์หักพังลงมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า "วัดกู่กุด"

วัด กู่กุด ซึ่งเป็นวัดคู่บารมีของพระนางจามเทวี ได้สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๑๓ เมืองหริภุญชัยมีพระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์องค์แรกปกครองสืบๆ กันมาจนถึง ๔๙ พระองค์ มีพระยายีบาเป็นองค์สุดท้าย รวมอายุเมือง ๖๑๘ ปี พระยายีบาก็ได้เสียเมืองให้แก่พญามังรายเมื่อจุลศักราช ๖๔๓ (พุทธศักราช ๑๘๒๔) ปีมะโรง เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ

รายนามกษัตริย์ ครองเมืองหริภุญชัย

๑ . พระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์
๒ . พระมหันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๑ ครองเมืองลำพูน
พระอนันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๒ ครองเมืองลำปาง
๓ . พระยากูมัญญาราช
๔ . พระยาสุทันตะ
๕ . พระยาสุวรรณมัญชุ
๖ . พระยาสังสาระ
๗ . พระยาปทุมราช
๘ . พระยากุลเทวะ
๙ . พระยาธรรมมิกราช
๑๐ . พระยามิลักขะมหาราช
๑๑ . พระยาโนการาช
๑๒ . พระยาพาลราช
๑๓ . พระยากุตตะราช
๑๔ . พระยาเสละราช
๑๕ . พระยาอุตตราช
๑๖ . พระยาโยจะราช
๑๗ . พระพรหมทัตราช
๑๘ . พระยามุกขะราช
๑๙ . พระยาตระ
๒๐ . พระยาโยวราช
๒๑ . พระยากมะละราช
๒๒ . พระยาจุเลระ
๒๓ . พระยาพินไตย
๒๔ . พระยาสุเทวราช
๒๕ . พระยาเตโว
๒๖ . พระยาไชยะละราช
๒๗ . พระยาเสละ
๒๘ . พระยาตาญะราช
๒๙ . พระยาสักกีราช
๓๐ . พระยานันทะสะ
๓๑ . พระยาอินทวระ
๓๒ . พระยารักนะคะราช
๓๓ . พระยาอิทตยราช
๓๔ . พระยาสัพพสิทธิ์
๓๕ . พระยาเชษฐะราช
๓๖ . พระยาจักกะยะราช
๓๗ . พระยาถวิลยะราช

สมัยของพระนางจามเทวี ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองทั้งด้านการปกครองและการศาสนาดังนี้

ด้านการปกครอง

พระนางจามเทวีวางระเบียบการปกครองเป็นแบบ เวียง วัง คลัง นา ดังนี้

๑ . แต่งตั้งพระพี่เลี้ยง พระนาง เกษวดี เป็นผู้รักษาพระนคร และเป็นแม่กองบูรณะพระนคร

๒ . แต่งตั้งพระพี่เลี้ยง พระนางปทุมวดี เป็นผู้รักษากิจการต่างๆ ภายในพระราชวัง

๓ . แต่งตั้งพระยาโชติกราชเศรษฐี เป็นขุนคลัง

๔ . แต่งตั้งนักองค์อินทร์ เป็นพระยาโพสพ รักษาที่ดิน ไร่นาเกษตร

ด้านการศาสนา

พระ นางจามเทวี ทรงสร้างพระอาราม ๔ ทิศ ขึ้น ประจำจตุรทิศของพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้เจริญรุ่งเรืองปราศจากภัยพิบัติ ต่างๆ ดังนี้

๑ . วัดอาพัทธราม (วัดพระคงฤาษี) เป็นพุทธปราการประจำทิศเหนือ
๒ . วัดอรัญญิกรัมนการาม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการประจำทิศตะวันออก
๓ . วัดมหาสัตตาราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการประจำทิศใต้
๔ . วัดมหาวนาราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการประจำทิศตะวันตก
ส่วน กำแพงเมืองหริภุญชัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว พระองค์ทรงเห็นว่า ตัวเมืองลำพูนนั้นกว้างขวางมาก เวลามีข้าศึกศัตรูมาติดเมือง ยากจะป้องกันไว้ได้ จึงให้รื้อกำแพงเมืองเก่าออก แล้วก่อกำแพงขุดคูเมืองใหม่ให้แคบกว่าเดิม หลังจากนั้น มีกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญชัยอีกหลายพระองค์รวมทั้งสิ้น ๔๗ พระองค์


ที่มา :
๑ . ชินกาลมาลีปกรณ์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ
๒ . สังคีติยวงศ์
๓ . จามเทวีวงศ์
๔. http://www.monlamphun.ob.tc
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 01 ก.พ. 2015 4:03 pm

พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงปล่อยเส้นพระเกศายาวตามแบบประเพณีสตรีล้านนา

428806_10151033054859350_760723542_n.jpeg
428806_10151033054859350_760723542_n.jpeg (92.33 KiB) เปิดดู 25498 ครั้ง



คณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ ได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการทำผมและการแต่งกายของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า


๑.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ

๒. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ

๓. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาด
ที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด

๔. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: กษัตริย์และเจ้านายฝ่ายเหนือ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 01 ก.พ. 2015 6:58 pm

เจ้าศรีพรหมา ผู้กล้าปฏิเสธ"ความรักจาก ร.๕"

220px-หม่อมศรีพรหมา_กฤดากร_ณ_อยุธยา01.jpg
220px-หม่อมศรีพรหมา_กฤดากร_ณ_อยุธยา01.jpg (13.68 KiB) เปิดดู 25496 ครั้ง


เจ้าศรีพรหมา เป็นธิดาของเจ้าผู้ครองนครน่าน เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๑ เมื่อเจ้าศรีพรหมาอายุได้ ๓ ขวบเศษ พระยามหิบาลบริรักษ์ ข้าหลวงในรัชกาลที่ ๕ และคุณหญิงอุ๊น ภรรยา ได้ขอเจ้าศรีพรหมา ไปเป็นบุตรบุญธรรม เจ้าศรีพรหมาจึงได้ไปอยู่กับพระยามหิบาลฯ ที่กรุงเทพฯ

เจ้าศรีพรหมาใช้ชีวิตและเรียนหนังสืออยู่ในวังร่วมกับเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เป็นเวลา ๓ ปี จึงได้ตามครอบครัวพระยามหิบาลบริรักษ์ไปอยู่ที่ประเทศรัสเซียและประเทศอังกฤษ ตามลำดับ ทำให้ได้มีโอกาสฝึกฝนภาษาอังกฤษไปด้วย

เมื่อเจ้าศรีพรหมากลับจากต่างประเทศ ก็ได้เข้าไปรับราชการเป็นคุณข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ซึ่งบางคราวก็ทำหน้าที่เป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างประเทศ

ในช่วงนั้นเจ้าศรีพรหมากำลังเป็นสาวเต็มตัว มีทั้งความสวย และอุปนิสัยโอบอ้อมอารี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ผิดจากสตรีชาววังทั่วไป เนื่องจากได้ไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งที่ต่างประเทศ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากถึงกับจะโปรดให้รับราชการเป็นเจ้าจอม จนมีขุนนางบางท่านได้พูดถึงเรื่องนี้กันว่า ถึงกับจะให้เป็นพระสนมเอกเลยทีเดียว แต่เจ้าศรีพรหมาก็ได้กราบทูลปฏิเสธโดยเลี่ยงที่จะทูลเป็นภาษาไทย จึงทูลเป็นภาษาอังกฤษแทนเมื่่อแปลเป็นไทยความว่า"ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้าเคารพพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ มิได้รักใคร่พระองค์ท่านในทางชู้สาว" ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าศรีพรหมา และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอ ถึงกับฉายรูปเจ้าศรีพรหมาด้วยพระองค์เอง และเก็บไว้ในห้องบรรทมตลอดมา

เจ้าศรีพรหมาได้เษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เจ้าศรีพรหมาจึงมีฐานะเป็น “หม่อมศรีพรหมา” ตั้งแต่นั้น

ที่มา:คลังประวัติศาสตร์ไทย
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน

cron