เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 8:05 am

โรงเรียนชายวังสิงห์คำ (ก่อนไฟไหม้)

670804554183.jpg
670804554183.jpg (72.93 KiB) เปิดดู 10061 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 8:06 am

เด็กชายในโรงเรียนวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่

670802616800.jpg
670802616800.jpg (122.52 KiB) เปิดดู 10061 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 8:07 am

โรงเรียนปริ๊นส์รอยแยลล์วิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๙๕ ภาพโดย นายบุญเสริม ศาสตราภัย

670810350100.jpg
670810350100.jpg (88.13 KiB) เปิดดู 10061 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 8:08 am

โรงเรียนมงฟอร์ต ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ โดยนายบุญเสริม ศาสตราภัย

mong.jpg
mong.jpg (118.55 KiB) เปิดดู 10061 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 8:10 am

ครูและนักเรียนโรงเรียนสตรีวัฒโนทัยพายัพ ถนนปกเกล้า ก่อนย้ายไปถนนบุญเรืองฤทธิ์

ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดย นายเอ็ม ทานาคา

670805830802.jpg
670805830802.jpg (100.7 KiB) เปิดดู 10061 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 9:10 am

สถานีตำรวจภูธรแม่แตง จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๗๐ เศษ
ภาพโดย นายเอ็ม ทานาคา ช่างภาพญี่ปุ่น

75514_544528305624975_1299229488_n.jpg
75514_544528305624975_1299229488_n.jpg (102.58 KiB) เปิดดู 10058 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 9:11 am

สถานีต๋ำรวจภูธรเมืองเจียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๒ ก่อนถูกรื้อ

ภาพโดย คุณลุงบุญเสริม ศาสตราภัย

1384198_544529845624821_1255499831_n.jpg
1384198_544529845624821_1255499831_n.jpg (102.46 KiB) เปิดดู 10427 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 10:28 am

ตำนานรักสาวบัวตอง ( สาวงามแห่ง...หนองช้างคืน..)

lver.jpg
lver.jpg (37.86 KiB) เปิดดู 10423 ครั้ง


.....เมื่อประมาณ ๑๐๐ กว่าปีผ่านมาแล้ว ที่บ้านหนองช้างคืน มีหญิงสาวสวย ผิวพรรณผุดผ่อง กิริยาอ่อนโยน อรชรอ้อนแอ้น สมเป็นหญิงสวย ชื่อว่า “บัวตอง” ทำนาทำสวน ใช้ชีวิตตามแบบอย่างสตรีชาวเหนือโบราณ ต้องตำข้าวโดยใช้ครกกระเดื่อง และใช้หูกทอผ้าใช้เอง บางครั้งก็มีบ่าว(ผู้ชายที่ยังไม่แต่งงาน) มาเที่ยวหาสาว เพื่อเกี้ยวพาราสี เสมอๆ ในบรรดาหนุ่มๆ ที่มาเที่ยว นอกจากจะเป็นคนในละแวกบ้านเดียวกัน ยังปรากฏว่ามีหนุ่มเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำพูน มีชื่อว่า “เจ้าคุ้ม” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าน้อยพรหม” เพราะตอนที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณร มีฉายาว่า “พรหมปญโญ” เมื่อลาสิกขาบทแล้ว จึงนิยมใช้คำว่า “น้อย” นำหน้าชื่อ เป็น”เจ้าน้อยพรหม” ถ้าลาสิกขาบท จากพระภิกษุ จะเรียกนาม “หนาน” นำหน้าชื่อ ตามธรรมเนียมของชาวเหนือ เจ้าน้อยพรหม เป็น ราชบุตรของเจ้าชัยลังกา พิศาลโสภาคยคุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๖ กับ เจ้าแม่หมอกแก้ว และ เป็นอนุชาต่างมารดาของเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ในการเที่ยวหา สาวบัวตอง ของเจ้าน้อยพรหม ปรากฏว่าทั้งสองคนเกิดชอบพอกัน จนกลายเป็น " ตัวพ่อตัวแม่"(คู่รัก) ของกัน และ กัน เจ้าน้อยพรหมจึงเป็นแขกประจำ บ้านสาวบัวตอง ตั้งแต่นั้นมา บัวตองก็ให้การต้อนรับ เจ้าน้อยพรหม ด้วยกิริยาอันอ่อนน้อม จนเป็นที่ต้องใจ ของ เจ้าน้อยพรหมเป็นอย่างยิ่ง ส่วน เจ้าน้อยพรหม ก็มีน้ำใจดีงาม ให้การช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ สาวบัวตอง เป็นอย่างดี ทั้งสองผูกสมัครรักใคร่ กันอย่างดูดดื่มแน่นแฟ้น ต่างก็ตั้งใจไว้อย่างแม่นมั่น ว่า จะครองรักกัน และ อยู่ร่วมกันจนแก่ จนเฒ่า วันหนึ่ง มี ช้างพัง ตัวหนึ่งเข้ามาอาละวาด ใน เขตนครลำพูน ด้านทิศเหนือ และ ล่องมาเรื่อยๆ จนถึง หมู่บ้าน หนองช้างคืน ช้างได้ทำลายครกกระเดื่อง ฉางข้าว เรือกสวนไร่นา ของ ชาวบ้าน จนได้รับความเสียหาย วันนั้น เจ้าน้อยพรหม ก็ได้มา บ้านสาวบัวตอง เมื่อทราบข่าวของ ช้างทำลายข้าวของเสียหาย เจ้าน้อยพรหม มิรอช้า ก็คว้าดาบ กระโดดออกจากบ้านสาวคนรัก ไปไล่ช้างตัวนั้น ความประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน เจ้าน้อยพรหม เมื่อประจันหน้า กับ ช้างดุร้ายนั้น จึงยกดาบขึ้นฟันช้างเชือกนั้น เพื่อป้องกันตนเอง ปรากฏว่า ช้างวิ่งเตลิดไป อย่างไม่คิดชีวิต จนพ้นเขตบ้านหนองช้างคืน และ ได้ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา.... โดยท่านไม่ทราบว่าช้างเชือกนั้น เป็นของเจ้าหลวงอินทวิชทยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ การฆ่าช้าง มีความผิดใหญ่หลวงเพราะหมิ่นเกียรติเจ้าเมืองเชียงใหม่...ทางเจ้าราชสำพันธวงค์ ( อนุชาของพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์) เมื่อทราบข่าว ก็เรียกเจ้าน้อยพรหมไปตักเตือน... แต่ทาง เชียงใหม่... เจ้านางทิพย์ไกรสรกลับผูกใจแค้น ไม่ยินยอมเพราะถือเป็นการดูถูกเจ้านายเมืองเชียงใหม่... ต่อมาเมื่อ เจ้าราชสัมพันธวงค์ ได้ออกนอกเมืองไปพักผ่อนที่บ้านภรรยา ณ บ้านเมืองเลน แคว้นสันทราย (อ.สันทรายปัจจุบัน)เจ้าแม่ทิพย์ไกสรก็รับสั่งให้เจ้าราชสัมพันธวงค์ (อนุชาของพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์) ให้มีสาส์นในนามของ พ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์ ถึง เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์เจ้าเมืองลำพูน ความว่า ขอส่งตัวเจ้าน้อยพรหม ไปเชียงใหม่ เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตายของช้างอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ทรงคิดว่าไม่มีเรื่องอะไรอีก เพราะได้จัดการลงโทษเจ้าน้อยพรหมดั่งเจ้าราชสัมพันธวงค์ทูลไว้แล้ว จึงส่งตัวเจ้าน้อยพรหมไปเชียงใหม่ พร้อมกับคนเดินหนังสือคนนั้น หวังจะให้เข้าเฝ้าพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์ตามข้อความในสาส์นฉบับนั้น

การเดินทางจากลำพูนไปเชียงใหม่สมัยนั้น ใช้เส้นทางผ่านหมู่บ้านหนองช้างคืนด้วย และ ผ่านบ้านหัวฝายน้ำโจ้ไปทางสุสานช้างคลาน แล้วจึงถึงเชียงใหม่ ก่อนจะผ่านหมู่บ้านหนองช้างคืนไปนั้น เจ้าน้อยพรหมก็ขอแวะบ้านบัวตองสาวคนรัก เพื่อเป็นการบอกข่าวเดินทางไปเชียงใหม่ให้คนรักทราบ ฝ่ายสาวบัวตองก็ได้อวยชัยให้แก่เจ้าน้อยพรหม โดยมีพวงมาลัยดอกมะลิอันหอมกรุ่นมอบให้เจ้าน้อยพรหม ติดตัวยามเดินทาง และทั้งสองก็ได้ร่ำลากันอย่างสุดซึ้ง เหมือนจะเป็นการบอกลางร้าย และเก็บมาลัยดอกมะลิแนบใจไว้ที่กระเป๋าเสื้ออกซ้าย เจ้าน้อยพรหมได้มอบแหวนวงงามให้กับบัวตองไว้เช่นกัน เมื่อถึงเชียงใหม่เจ้าแม่ทิพย์ไกสรเป็นธิดาเจ้าหลวงกาวิโรรสสุริยะวงศ์ และเจ้าอุปราชบุญทวงศ์กลับออกมาดักขบวนคุมเจ้าน้อยพรหมจากลำพูนที่ท่าวังตาล แล้วสั่งประหารเจ้าน้อยพรหมทันใดนั้นเลย ก่อนที่จะเข้า เวียงเชียงใหม่โดยงดการสอบสวน ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบ เจ้าน้อยพรหมได้เรียกนายหนังสือซึ่งเดินทางมาร่วมกันให้เข้ามาหา แล้วมอบพวงมาลัยดอกมะลิไปให้สาวบัวตองแห่งบ้านหนองช้างคืน เจ้าอุปราชบุญทวงค์พร้อมกับหนุ่มคนหาญจึงจัดการประหารชีวิต เจ้าน้อยพรหม ณ ทุ่งหัวคน หรือ หนองปลาสะเด็ด ตำบลท่าวังตาล อันเป็นดินแดนทหารของนครพิงค์นั่นเอง ทั้งนี้โดยมีหนานปัญญาเป็นเพชฌฆาตตัดคอเจ้าน้อยพรหมต่อหน้าเจ้าแม่ทิพย์ไกสร ในความผิดฐานฆ่า"พังแม่คำปิ๋ว"ดังกล่าว

เจ้าดาราดิเรกไพโรจน์ เป็นเจ้าครองนครลำพูน ทรงเสียพระทัยอย่างสุดซึ้งถึงกับไม่ยอมไปรับศพของเจ้าน้อยพรหม เจ้าแม่ทิพย์ไกสรจึงรับสั่งให้ฝังไว้ ณ ที่ประหารนั้น และการณ์นั้นได้ทราบถึงเจ้าสัมพันธวงค์ก็ทรงเศร้าพระทัยอย่างสุดซึ้งเช่นกัน ที่เจ้ามีส่วนแห่งการสิ้นชีวิตของเจ้าน้อยพรหม ทั้งเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ และเจ้าสัมพันธวงค์ต่างบาดหมางไม่ไปเยือนคุ้มเจ้าแม่ทิพย์ไกสร และได้เหินห่างจากกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บัวตองสาวคนรักของเจ้าน้อยพรหม เมื่อทราบข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของเจ้าหนุ่มคนรัก และเมื่อได้รับพวงมาลัยดอกมะลิแห้งของเจ้าน้อยพรหมจากคนส่งหนังสือ บัวตองก็ร้องไห้กลิ้งเกลือก พลางคร่ำครวญอย่างน่าเวทนายิ่งนัก บัวตองสาวน้อยผู้ต่ำต้อยแห่งบ้านหนองช้างคืน คงคิดว่าถ้ามีชีวิตในโลกนี้จะมีประโยชน์อะไร ถ้าไม่มีเจ้าพรหมผู้เป็นที่รัก หรือบัวตองจะเกิดมาเพื่อรักเดียวใจเดียว และถือความรักเป็นสรณะ ในรุ่งของวันต่อมา มีผู้พบบัวตองผูกคอตายกับกิ่งไม้อย่างน่าสังเวชใจ ในมือกำพวงมาลัยดอกมะลิแห้งพวงหนึ่ง ที่นิ้วนางข้างซ้ายสอดสวมแหวนวงงาม สิ้นชีวิตตามเจ้าน้อยพรหมอันเป็นที่รักไป

ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยไปหลายชั่วอายุคนแล้วก็ตาม ทุกวันนี้ที่หมู่บ้านหนองช้างคืน นิยายรักอันแสนเศร้าจากชีวิตจริงของหญิงสาวชาวไร่ชาวนา กับ เจ้าน้อยพรหมผู้อาภัพแห่งหริภุญไชยนคร เรื่องนี้ยังคงถูกเล่าขานสืบต่อไป ถึงความรักแท้อันเป็นตำนานรักอมตะ...

ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ.เพ็ญศรี บุญทวีและอ.ธเนศวร์ เจริญเมือง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 10:50 am

ตำนานรักวังบัวบาน

5250e5135ce92.jpg
5250e5135ce92.jpg (186.55 KiB) เปิดดู 10347 ครั้ง


วังน้ำนี้เดิมเรียกว่า "วังคูลวา" หรือ "วังกุลา" ด้วย มีเรื่องเล่ามาก่อนว่ามี "คูลวา-กุลา"ซึ่งหมายถึงแขกคนหนึ่งพลัดตกลงไปตายในวังน้ำแห่งนี้ คำว่า "คูลวา-กุลา" ในภาษาล้านนาหมายถึงแขกหรือฝรั่งชาวต่างชาติซึ่งถือว่าไม่เป็นที่พึงต้อนรับ วังน้ำที่เกิดเหตุจึงได้ชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักเขียนสารคดีเชิงบันทึกเหตุการณ์กล่าวไว้ว่ามีการเปลี่ยนชื่อ เป็น "วังบัวบาน" เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๗ โดยเหตุที่มีหญิงชื่อ "บัวบาน" ตกลงไปตายในวังน้ำนี้อีก วังน้ำอาถรรพ์นี้จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อว่า "วังบัวบาน"


เรื่องราวการตายของบัวบานมีการโจษจันกันอยู่สองกระแส บ้างเชื่อว่าเป็นการฆ่าตัวตาย บ้างว่าเป็นเพราะหญิงคนงามดังกล่าว พลัดตกโดยอุบัติเหตุ แต่ก็มีสาเหตุมาจากเรื่องชู้สาว

ที่ตั้งบ้านของบัวบาน ปัจจุบันอยู่ฟากถนนตรงกันข้ามกับอาคารอำนวยการหลังเก่าของโรงเรียนปรินส์รอย แยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ มีอาชีพเป็นครูสอนในโรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนซินเซิง โรงเรียนฮั่วเคี้ยวและโรงเรียนฮั่วเอง ครูบัวบานมีคนรักเป็นนายทหารรักษาพระองค์ ต่อมาถูกทหารดังกล่าวสลัดรัก บัวบานจึงเสียใจมากและได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยการกระโดดลงไปในวังน้ำแห่ง นั้น

ครูบัวบานเป็นคนสวยจนเป็นที่เล่าลือกันทั่วไป ในช่วงที่เกิดเหตุนั้นอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘) ครูบัวบานคนสวยเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัดฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง เชียงใหม่ ครั้งนั้นได้มีทหารหน่วยราบจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาตั้งอยู่ที่วัดฟ้าฮ่ามด้วย นายร้อยตรีหนุ่มรูปงามในกองทหารนั้นได้พบกับครูบัวบานคนสวยบ่อยครั้งเข้าก็ สนิทสนมแล้วกลายเป็นคู่รักและได้เสียกันขึ้น ต่อมานายร้อยตรีผู้นั้นกลับลงไปกรุงเทพฯ

ตามคำสั่งพร้อมกับคำสัญญาว่าจะขึ้นมาแต่งงานกับครูบัวบานคนงาม แต่คำสัญญานั้นลงท้ายก็กลายเป็นคำลวงเพราะนายร้อยตรีนั้นมีภรรยาอยู่แล้ว ครูบัวบานรออยู่นานจนผิดสังเกตและเห็นว่าครรภ์โตมากขึ้น เมื่อแน่ใจว่าตนถูกหลอกแน่แล้วจึงตัดสินใจไปกระโดดน้ำตาย


บัวบานเทวีผู้มีความช้ำ

“ ร้อนลมหน้าแล้ง ใบไม้แห้งร่วงลอย หล่นทยอยเกลื่อนตา ไหลตามกระแสน้ำพา ลอยมาทั้งกลีบดอกไม้ จากหุบผาไหลมาสู่ในวังน้ำ สุสานเทวีผู้มีความช้ำเหนือใคร ดอกไม้ใบไม้ไหลมา คล้ายพวงหรีดร้อยมาลา ไหลมาบูชาบัวบาน “

ปัจจุบันร่างของบัวบานถูกฝังไว้ ณ สุสานเด่นดำรงธรรม บ้านเด่น ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง เชียงใหม่

ข้อมูลโดย เทศบาลตำบลสุเทพ ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://travel.thaiza.com/



ต่อไปนี้คือ..คำชี้แจง ตามรอยตำนานรักที่ น้ำตกวังบัวบาน
จากคุณ ศรัญญาไชยวงศ์แก้ว หลานสาวของ คุณบัวบาน ไชยวงศ์แก้ว

ดิฉัน เป็นหลานสาว คุณบัวบาน ตามตำนานวังบัวบานโดยคุณปู่ของดิฉันเป็นพี่ชายของคุณบัวบาน จะขอเรียนชี้แจงเรื่องราวของ คุณบัวบานที่เสียชีวิต ณ วังบัวบาน เหนือน้ำตกห้วยแก้ว เชิงดอยสุเทพว่าบทความในคอลัมภ์นี้มีความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้นซึ่งที่ผ่านมามีหลายกระแสที่พูดหรืออ้างถึง คุณบัวบานว่าสาเหตุการเสียชีวิตนั้นเกิดจากการผิดหวังจากความรัก ซึ่งขอเรียนชี้แจงความจริงดังนี้



คุณบัวบาน เป็นลูกสาวของคุณคำมูลและคุณขันแก้ว ไชยวงศ์แก้ว เป็นลูกสาวคนที่ ๕ จากพี่น้องทั้งหมด ๖ คน มีบ้านพักอยู่ถนนตรงข้ามกับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยในเชียงใหม่ ถนนแก้วนวรัฐ คุณบัวบานมีอาชีพเป็นครูประชาบาลที่อำเภอดอยสะเก็ดและได้ย้ายไปอาศัยบ้านญาติของครูชายหนุ่มคนหนึ่ง ระหว่างสอนด้วยเหตุนี้ทำให้ทั้งสองสนิทสนมกัน และเป็นเหตุที่ทำให้ครูชายหนุ่มตกหลุมรักครูบัวบานตั้งแต่นั้นโดยที่ครูชายหนุ่มแสดงตนออกนอกหน้าว่าตนหมายปองครูบัวบานและด้วยเหตุนี้ครูบัวบานจึงย้ายที่พัก และพยายามตัดสัมพันธ์กับครูชายหนุ่มซึ่งความเป็นจริงไม่เคยมีชายหนุ่มจากกรุงเทพฯหรือนายทหารคนใดมาพัวพันกับครูบัวบานตามที่ถูกกล่าวอ้างเลยครูบัวบานเป็นครูประชาบาลได้เพียงปีเดียวก็ลาออกและได้ไปช่วยสอนภาษาไทยที่โรงเรียนฮั่วเอง เนื่องจากพี่ชายคนที่ ๓ ได้รับมอบหมายให้ไปเป็นครูใหญ่ที่นั่น จากนั้นได้ย้ายมาเป็นครูโรงเรียนพระราชชายา(โรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน) จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (หรือสงครามเอเชียบูรพา พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘


ประมาณเดือนพฤศจิกายน ๒๔๘๘ ครูบัวบานได้ร่วมหุ้นเปิดร้านขายยากับเพื่อนสาว คนสนิทซึ่งมีอาชีพเป็นพยาบาล เคยเรียนที่โรงเรียนดาราวิทยาลัยด้วยกันจากคำบอกเล่าของญาติสนิท ได้ทราบว่าครูบัวบานประสบปัญหาในการร่วมลงทุนในครั้งนี้

ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙ ครูบัวบาน ได้เข้ามาที่บ้านก่อนที่จะเรียกสามล้อรับจ้างออกไปทำธุระส่วนตัวนับแต่นั้นก็ไม่ได้กลับมาที่บ้านอีกเลย จนกระทั่งวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙ ได้มีชาวบ้านไปแจ้งความนายอำเภอเมืองว่าพบศพ หญิงสาว ซึ่งนายอำเภอเมืองพร้อมศึกษาธิการอำเภอเมือง (อดีตศึกษาธิการอำเภอดอยสะเก็ด) ได้ไปยังสถานที่เกิดเหตุเมื่อพบศพ อดีตศึกษาธิการอำเภอดอยสะเก็ดได้ยืนยันว่าคือศพของครูบัวบานอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาจากนั้นนายอำเภอจึงได้เขียนหนังสือเพื่อแจ้งข่าวให้กับคนในครอบครัวครูบัว บานทราบ


เมื่อทราบข่าว บิดา พร้อมกับพี่ชายอีก ๒ คนเดินทางเพื่อมาดูการชันสูตรศพ ทั้งนี้การ ชันสูตรศพไม่พบร่องรอยที่ทำให้สงสัยว่าถูกทำร้าย ไม่มีร่องรอยของการกระแทกกับของแข็ง ไม่มีการตั้งครรภ์และไม่มีร่องรอยของการต่อสู้หรือถูกข่มขืนแต่อย่างใด ดังนั้น บิดาพร้อมกับพี่ชายอีก ๒ คนจึงลงนามในบันทึกการชันสูตรว่าได้เสียชีวิตมาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการฆ่าตัวตาย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 10:53 am

เจ้าชายรูปงามผู้มีหัวใจคงมั่น
'เจ้าอุตรการโกศล น้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่'
--รักแท้ที่ไม่ได้มีแค่ในนิยาย--

เจ้าน้อยศุขเกษม.jpg
เจ้าน้อยศุขเกษม.jpg (42.56 KiB) เปิดดู 8998 ครั้ง


12364_resize.jpg
12364_resize.jpg (74.48 KiB) เปิดดู 9633 ครั้ง


เจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะ เป็นตำนานรักอมตะที่จบลงอย่างโศกสลด และได้รับการกล่าวขานมาถึงปัจจุบัน ถูกถ่ายทอดโดย เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ (ชายาของเจ้าน้อยศุขเกษม) แม้ว่ามะเมียะจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ล้านนาโดยตรง แต่สำหรับเจ้าน้อยศุขเกษม ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๘๒) กับแม่เจ้าจามรีแล้ว มะเมียะเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของเจ้าน้อยฯ ก็ว่าได้

เมื่อเจริญวัยเจ้าน้อยถูกส่งไปเรียนที่ รร.เซนต์แพทริก รร.แคธอลิกของฝรั่งที่ประเทศพม่า เพราะขณะนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ มะเมียะเป็นแม่ค้าสาวชาวพม่า ได้พบกับเจ้าน้อยศุขเกษมครั้งแรก เมื่ออายุเพียง ๑๖ ปี ขณะนั้นมะเมียะเป็นเพียงแม่ค้าขายบุหรี่ซะเล็กที่อยู่ตลาดใกล้บ้านในเมืองมะละแหม่ง

วันหนึ่งเมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมได้ออกเดินเที่ยวตามห้างร้านในตลาด จึงได้พบกับมะเมียะ ทั้งคู่เกิดถูกใจในกันและกัน จึงได้คบหากันเรื่อยมา และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ และในวันพระ ทั้งสองจะพากันไปทำบุญตักบาตรและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุตามสถานที่ต่างๆในเมืองมะละแหม่งอยู่เสมอ วันหนึ่ง ณ ลานกว้างหน้าพระธาตุใจ้ตะหลั่น ทั้งสองได้กล่าวคำสาบานต่อกันว่าจะรักกันตลอดไป และจะไม่ทอดทิ้งกัน หากผู้ใดทรยศต่อความรักที่มีให้กัน ก็ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น

เมื่อถึงกำหนดการเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าน้อยฯ เพิ่งจะมีอายุครบ ๒๐ ปี จึงให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายติดตามขบวนเพื่อกลับไปยังเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า โดยไม่รู้เลยว่าเจ้าพ่อและเจ้าแม่ของตนได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้าสุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยฯ เป็นการภายในตั้งแต่ปีที่เจ้าน้อยเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองพม่า

หลังจากที่ต้องแอบซ่อนมะเมียะไว้ในบ้านหลังเล็ก ที่เจ้าพ่อและเจ้าแม่จัดเตรียมไว้ให้เป็นที่พักมาแล้วหลายวัน เจ้าน้อยศุขเกษมได้ใช้เวลาคิดใคร่ครวญและตัดสินใจเล่าความจริงให้ท่านทั้งสองฟัง แม้ว่าจะไม่มีคำใดเอื้อนเอ่ยออกมาในขณะนั้น แต่เจ้าน้อยก็พอจะทราบได้ว่าทั้งสองไม่ยอมรับมะเมียะเป็นศรีสะใภ้อย่างแน่นอนเนื่องจากปัญหาใหญ่ในขณะนั้น คือเจ้าน้อยเป็นผู้ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ถัดไปจากเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ซึ่งเป็นพระเจ้าลุง หากเจ้าน้อยเลือกมะเมียะมาเป็นศรีภรรยา ประชาชนย่อมต้องเกิดความอึดอัดใจในการยอมรับมะเมียะผู้เป็นหญิงต่างชาติมาดำรงฐานะศรีภรรยาของเจ้าเมืองอย่างแน่นอน

ในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนั้นน่าวิตกมาก เนื่องจากมหาอำนาจอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนในคาบสมุทรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มะเมียะซึ่งเป็นคนในบังคับของอังกฤษและกำลังอาศัยอยู่ในคุ้มของอุปราช (ขณะนั้นเจ้าแก้วนวรัฐดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองเชียงใหม่) อาจเป็นชนวนของปัญหาทางการเมืองที่ใหญ่โตได้ในภายหลัง ในที่สุดเจ้าพ่อและเจ้าแม่จึงเรียกตัวเจ้าน้อยไปพบ และยื่นคำขาดให้เจ้าน้อยส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง ในยามเย็นวันนั้นเอง เจ้าน้อยได้เข้าพิธีเรียกขวัญและรดน้ำมนต์ที่เจ้าพ่อกับเจ้าแม่จัดขึ้น เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายที่ท่านทั้งสองเชื่อว่ามะเมียะได้กระทำแก่เจ้าน้อยอันเป็นเหตุให้เจ้าน้อยหลงใหลในตัวนาง หลังจากพิธีรดน้ำมนต์ผ่านพ้นไป ช้างพาหนะและไพร่พลที่จะใช้ในการส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่งก็ถูกจัดเตรียมทันทีตามคำสั่งของเจ้าแก้วนวรัฐ

เมื่อเจ้าน้อยกลับไปถึงที่พักในคืนนั้น มะเมียะได้รับการเกลี้ยกล่อมโดยหญิง-ชาย ชาวพม่าฝ่ายละคน ให้นางกลับไปรอเจ้าน้อยที่เมืองมะละแหม่ง มิฉะนั้นบ้านเมืองอาจเดือดร้อน นางได้เอ่ยขึ้นด้วยความเสียใจและยินยอมจากไปเพื่อมิให้ผู้ใดได้รับความเดือดร้อน แม้ตัวนางจะจากไกล แต่ความรักอันมั่นคงยังคงอยู่ดังคำสาบานที่เคยให้ไว้แก่กันและกัน ฝ่ายเจ้าน้อยยังคงยืนยันในความรักที่มีต่อมะเมียะ และขอให้นางกลับไปรอที่บ้านก่อน หากมีวาสนาจะกลับไปรับนางมาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่ให้ได้

ในเช้าวันหนึ่งของเดือนเมษายน นับเป็นวันเดินทางกลับเมืองมะละแหม่งของมะเมียะที่ดูเหมือนจะเป็นการจากลาชั่วนิรันดร์ ณ ประตูหายยาที่เนืองแน่นไปด้วยประชาชนที่ใคร่เห็นโฉมหน้าของมะเมียะ ที่ลือกันว่างามนักงามหนา บรรยากาศเต็มไปด้วยความหดหู่และเศร้าหมอง เมื่อเจ้าน้อยพูดภาษาพม่ากับมะเมียะได้เพียงไม่กี่คำ นางผู้มีใจรักมั่นได้ร่ำไห้ด้วยความอัดอั้นตันใจ ในอ้อมแขนที่ยากจะแยกจากกันได้ เวลานั้นก็ล่วงเลยไปมากแล้ว เจ้าน้อยได้รับปากกับมะเมียะว่าตนจะยึดมั่นในคำปฏิญาณที่ให้ไว้ต่อหน้าพระพุทธรูปวัดใจ้ตะหลั่นจนกว่าชีวิตจะหาไม่ หากท่านนอกใจมะเมียะโดยสมรสกับหญิงอื่น ขอให้ชีวิตของตนประสบแต่ความทุกข์ทรมานใจ แม้แต่อายุก็จะไม่ยืนยาว เจ้าน้อยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าภายในไม่กี่เดือนจะกลับไปหามะเมียะให้จงได้ นางจึงคุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้า สยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยด้วยความอาลัยรัก ก่อนที่เธอจะขึ้นไปบนกูบช้าง

เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้มอบเงินทองจำนวนหนึ่งซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีมอบให้นางก่อนเดินทางกลับเป็นการปลอบขวัญแก่พ่อแม่และน้อง จากนั้นนางได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อยจนครบกำหนดเวลาที่ท่านได้รับปากไว้ แต่กลับไร้วี่แววใดๆ มะเมียะจึงตัดสินใจเข้าพึ่งใต้ร่มพุทธจักร ครองตนเป็นแม่ชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังซื่อสัตย์ ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม

หลังจากที่มะเมียะทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรส ระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อยฯ ในขณะนั้น) กับเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ องค์อดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่ตนจะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต แต่เจ้าน้อยศุขเกษมผู้ยึดสุราเป็นที่พึ่งดับความกลัดกลุ้มอันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ ชีวิตที่ไม่เคยมีความสุขในชีวิตสมรส ท่านไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้อง เพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูง พี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน ๘๐๐ บาท ไปมอบให้กับแม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าน้อยฯ ให้กับแม่ชีมะเมียะ ทางด้านแม่ชีบอกว่าไม่มาขอรักคืน เพียงแต่มาถอนคำสาบานให้ เจ้าน้อยฝากมาบอกแม่ชีว่า เงินนี่ทำบุญตามแต่แม่ชีจะใช้สอย ส่วนแหวนให้แทนใจ ว่าหัวใจอยู่กับมะเมียะเสมอ แม่ชีเสียใจมาก รับไปแต่แหวนไม่รับเงิน เจ้าน้อยหลังจากกับแม่ชีคราวนั้น ก็เอาแต่ดื่มเหล้าไม่มีใจรักเจ้าบัวชุม ในที่สุดก็ตรอมใจตายหลังจากแต่งงานได้ไม่นาน ขณะที่อายุเพียง ๓๐ ปี (ในบันทึกบอกว่าสิ้นพระชนม์ด้วยโรคพิษสุรา อีก ๖ ปีต่อมาหลังจากพบแม่ชีมะเมียะครั้งสุดท้าย

เจ้าน้อยศุขเกษม ตรอมใจกับเหตการณ์ครั้งนี้มาก และสิ้นชีพิตักษัยในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยมีพิธีปลงพระศพ ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๓



ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย





รองศาสตราจารย์จีริจันทร์ ประทีปะเสน ลงทุนตามหามะเมียะที่เมืองเมาะละแหม่ง ประเทศพม่า ได้สัมภาษณ์เจ้าอาวาสวัดไจ้ตะหลั่น วัดที่เชื่อกันว่าเจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะเคยสาบานว่าจะรักกันมั่นยืนยาว เจ้าอาวาสเล่าว่าเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ตอนท่านบวชเณร ที่วัดแห่งนี้มีแม่ชีรูปหนึ่งอายุประมาณ ๗๐ ปี ชื่อ ด่อนางเหลี่ยน เล่ากันว่าแม่ชีชอบมวนบุหรี่มีคนรับไปขายเป็นประจำ ทุกวันนี้ข้าวของเครื่องใช้เดิมที่แม่ชีเคยใช้ยังมีอยู่ อาจารย์จีริจันทร์คาดว่าแม่ชีรูปนี้น่าจะเป็นคนเดียวกับมะเมียะ เพราะด้วยช่วงยามและเหตุการณ์อีกหลายอย่างพ้องกันมาก ตามเรื่องเล่ากล่าวว่า มะเมียเคยกลับไปหาเจ้าน้อยศุขเกษมที่เชียงใหม่แต่ไม่ได้พบกัน เจ้าน้อยจึงฝากของที่ระลึกมาให้เป็นแหวนทับทิมวงหนึ่งและเงินอีก ๘๐๐ บาท และเมื่อมะเมียะกลับมาเมาะละแหม่งก็บวชชี หากแม่ชีรูปนั้นเป็นมะเมียะจริง เหตุใดจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ด่อนางเหลี่ยน



มะเมียะมีจริงหรือ

ประเด็นนี้เกิดจากจดหมายจากผู้อ่านนาม เหนือฟ้า ปัญญาดี ส่งถึงบรรณาธิการหนังสือพลเมืองเหนือ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๘ หลังจาก อาจารย์จีริจันทร์ ประทีปะเสน ตีพิมพ์หนังสือ ชื่อมะเมียะ ได้ ๑ ปี เนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงการตามหาแม่ชีชื่อมะเมียะ ที่เมืองเมาะละแหม่ง ประเทศพม่า แต่พบเรื่องของแม่ชีด่อนางเหลี่ยน แทน

เหนือฟ้า ปัญญาดี พยายามไขปริศนานี้ โดยเขียนเล่าในจดหมายฉบับดังกล่าว ผู้เขียนใคร่ขออนุญาตนำเนื้อหาในจดหมาย (เกือบทั้งหมด) มาเล่าต่อ ขอกราบขอบพระคุณนักเขียนปริศนาท่านนี้ มา ณ ที่นี้ เนื้อความตามจดหมาย คือ



จดหมายถึงมะเมียะฉบับแรก

“เมื่อต้นปี ๒๕๒๓ คุณปราณีได้เขียนหนังสือเรื่อง ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่ใกล้จะเสร็จ จึงเขียนชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ ควบคู่กันไปด้วย คุณปราณีว่า เรื่องมะเมียะ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นภายในคุ้มเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวต่าง ๆ จึงรู้กันแต่ภายใน คนภายนอกไม่เคยได้เห็นหน้า หรือรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของสาวพม่าคนนั้น เพราะอาจถูกห้ามไม่ให้พูดถึง จนกระทั่งนางถูกส่งกลับเมืองพม่า เรื่องราวต่าง ๆ จึงเงียบสงบลง ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย คุณปราณี เล่าต่ออีกว่า เมื่อพี่ (คุณปราณีชอบให้เรียกตัวเองว่าพี่) ลงมือจะเขียนเรื่องนี้ก็ติดอยู่ที่ว่าไม่รู้ชื่อสาวพม่าคนรักของเจ้าน้อยจึงจำเป็นต้องสมมติชื่อขึ้น ให้ชื่อว่ามะเมียะ ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงไทใหญ่ที่พี่รู้จักดีและมีบ้านอยู่ใกล้กัน ที่ใช้ชื่อนี้เพราะจำง่ายสะดุดหู

จากคำพูดของคุณปราณีเมื่อยี่สิบห้าปีต่อมา มันจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่ความลับว่า ทำไมการตามหามะเมียะจึงพบทางตัน ไม่พบแม่ชีมะเมียะที่เมาะละแหม่ง กลับพบแต่แม่ชีชื่อด่อนางเหลี่ยน

ต้นตอของชื่อมะเมียะเกิดขึ้นที่ปากซอยศิริธร (ซอยนี้ชื่อเดียวกับนามสกุลคุณปราณี อยู่ติดกับวัดป่าเป้าด้านทิศตะวันตก ถนนมณีนพรัตน์ เมืองเชียงใหม่) ตรงปากซอยแต่เดิมเป็นห้องแถวเรือนไม้หลายห้อง ห้องแรกเป็นร้านซ่อมนาฬิกาถัดมาเป็นเรือนพัก ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ สุดท้ายเป็นร้านขายผลไม้ดอง ปัจจุบันรื้อปลูกเป็นตึกแถว ห้องที่ซ่อมนาฬิกาเป็นครอบครัวชาวไทใหญ่มีอยู่ ๓ คน พ่อแม่และลูกสาว พ่อชื่อส่างอ่อง แม่ชื่อแม่นางเหม่ ส่วนลูกสาวเป็นครู จำชื่อไม่ได้ ครอบครัวนี้คุณปราณีรู้จักและสนิทสนมอย่างดี จึงน่าคิดว่าว่า คุณปราณีน่าจะนำชื่อของแม่นางเหม่มาใช้ เพราะชื่อจริงของแม่นางเหม่คือ แม่นางเมียะ ส่วนคำว่า “มะ” ในภาษาพม่าคือคำนำหน้าของผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนเป็นสาว จึงไม่แปลกที่จะเรียกตัวละครนี้ว่า นางมะเมียะ ส่วนคำว่า “ด่อ” ใช้นำหน้าชื่อ ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป เช่น ด่อนางเหลี่ยนณ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก มีกู่อยู่องค์หนึ่งศิลปะการก่อสร้างต่างไปจากกู่องค์อื่น คือมีรูปแบบอย่างพม่า ทำให้ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจว่านี่คือกู่อัฐิของมะเมียะ ต่อข้อสงสัยนี้ ทางทายาทของเจ้าแก้วนวรัฐ จึงทำหนังสือชี้แจงว่า การนำพระอัฐิและอัฐิของผู้ใดไปประดิษฐานในบริเวณกู่แห่งนี้ นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ดูแลรับผิดชอบ ๒ ฝ่ายคือ (หนึ่ง) ฝ่ายสายตระกูล ณ เชียงใหม่ มีผู้ดูแลรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง (สอง) ฝ่ายวัดสวนดอก โดยความเห็นชอบของเจ้าอาวาส จะถือหลักปฏิบัติว่าต้องเป็นอัฐิบุคคลที่เป็นลูกหลานและเครือญาติของเจ้าหลวง และทั้งสองฝ่ายไม่เคยอนุญาตให้มีการนำอัฐิของบุคคลภายนอกเข้าไปไว้เลย แม้กระทั่งบุคคลใกล้ชิด เช่น หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ ชายาเจ้าแก้วนวรัฐ หรือคุณหญิงหม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ต้องนำไปบรรจุไว้ ณ ที่แห่งอื่น จึงไม่เคยปรากฏหลักฐานว่า มีการนำอัฐิของมะเมียะมาไว้ในบริเวณกู่ดังกล่าว


และกู่ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นของมะเมียะนั้นทางคณะทายาทเจ้าแก้วนวรัฐได้ขออนุญาตกรมศิลปากรดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในกู่ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ พบว่าเป็นกู่บรรจุอัฐิของเจ้าแม่ทิพโสม ธิดาของเจ้าราชบุตรธนันชัย โอรสในเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าหลวงองค์ที่ ๔ ..”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.compasscm.com/default.asp?lang=TH
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 20 พ.ย. 2013 5:39 pm

โรงแรมน่านฟ้า จ.น่านในอดีต ปัจจุบันเปลี่ยนจื้อเป๋น "ภูคาน่านฟ้า"

1185307_519899204754552_1576949062_n.jpg
1185307_519899204754552_1576949062_n.jpg (152.12 KiB) เปิดดู 9878 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 20 พ.ย. 2013 5:40 pm

อาคารเรียนหลังแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (วิทยาลัยครูเชียงใหม่) ขณะนั้นใช้ชื่อ "โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ" มีลักษณะเป็นเรือนไม้ไผ่ ถ่าย พ.ศ.๒๔๖๗ ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งสถาบัน
40329.jpg
40329.jpg (56.22 KiB) เปิดดู 6079 ครั้ง



ภาพอดีตของ วิทยาลัยครูเจียงใหม่ ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏเชียงใหม่

300PX-~1.JPG
300PX-~1.JPG (30.24 KiB) เปิดดู 9878 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน

cron