เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 17 ส.ค. 2014 8:38 am

พระแก้วมรกตสร้างขึ้นที่ล้านนา ไม่ได้มาจากลังกา

10563099_1672869062939164_3574119383247245573_n.jpg
10563099_1672869062939164_3574119383247245573_n.jpg (108.13 KiB) เปิดดู 9730 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 17 ส.ค. 2014 8:40 am

1536670359078.jpg
1536670359078.jpg (69.18 KiB) เปิดดู 9730 ครั้ง


1536670861577.jpg
1536670861577.jpg (84.63 KiB) เปิดดู 9730 ครั้ง


1536671396456.jpg
1536671396456.jpg (67.04 KiB) เปิดดู 9730 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 17 ส.ค. 2014 8:41 am

1536671965598.jpg
1536671965598.jpg (72.25 KiB) เปิดดู 9634 ครั้ง
ไฟล์แนป
1536672315061.jpg
1536672315061.jpg (51.89 KiB) เปิดดู 9634 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พฤหัสฯ. 21 ส.ค. 2014 6:08 am

1001311931da78b83913b8da16.jpg
1001311931da78b83913b8da16.jpg (30.91 KiB) เปิดดู 9620 ครั้ง


ลาวพุงขาวกับลาวพุงดำ

นับตั้งแต่สมัยอยุธยามาแล้วเจ้า ตี้คนสยามฮ้องคนเหนือว่า “ลาว” แต่ข้าเจ้าบ่ได้มองว่าเป๋นก๋ารดูถูกแต่อย่างใด สมัยนั้นฮ้องเพื่อแยกเชื้อชาติบ่ดาย แหมอย่างลาวล้านนาหลายยุคหลายสมัยนั้นเก่งขนาดยกทัพไปตี๋เมืองอื่นจ๋นได้มาเป๋นเมืองขึ้นรอบทิศ บ่น่าจะมีไผมีดูแควนได้ แต่สมัยนี้โนคอมเมนท์เจ้า

คำเรียกชาวเหนือและอีสานว่าลาวนี้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แยกเป็นลาวพุงขาวหมายถึง พวกลาวศรีสัตนาคนหุต หรือประเทศลาวปัจจุบัน กับลาวพุงดำ หมายถึง ชาวโยนกหรือเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และหัวเมืองทางตอนเหนือที่ปัจจุบันรวมอยู่กับพม่า

เหตุที่ชาวเหนือได้ชื่อว่า ลาวพุงดำ เป็นเพราะในช่วงปลายสมัยที่พม่าปกครองหัวเมืองเหนือนั้นได้บังคับให้พลเมืองชายสักขาเริ่มตั้งแต่ท้องน้อยลงไปจนถึงเหนือหัวเข่า แต่มีบางคนสักตั้งแต่คอลงไปถึงข้อเท้า ส่วนพลเมืองสตรีก็ถูกบังคับให้ขวากหู(เจาะ)จนสามารถสอดม้วนลานในใบหูได้

การสักขานี้ต่อมาเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของคนกล้า และเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่ง เพราะในการสักขานั้นมีความเจ็บปวดมาก ก่อนจะเริ่มสักผู้ถูกสักจึงต้องเสพฝิ่นให้เคลิบเคลิ้มเสียก่อน บางคนจึงถึงแก่เสียชีวิตในระหว่างสักขาก็มี แต่ส่วนลาวศรีสัตนาคนหุตนั้นอำนาจพม่าไปไม่ถึงเลยไม่ถูกบังคับให้สักขาไปด้วย ต่อมาเมื่อมีข้าราชการสยามขึ้นไปประจำรับราชการที่เชียงใหม่ การสักขานี้จึงค่อยเสื่อมความนิยมลง จนเลิกไปในที่สุดเมื่อราวสงครามโลกครั้งที่ ๒

ในสมัยที่มีการส่งข้าราชการสยามขึ้นไปประจำตามหัวเมืองลาวในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ นั้น ข้าราชการไทยที่ไปประจำอยู่ตามหัวเมืองลาวมักจะดูหมิ่นดูแคลนชาวพื้นเมืองว่าเป็น "ลาว" เพราะคนพวกนี้ถึงแม้จะนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็งมงายกับเรื่องทรงเจ้าเข้าผี เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงได้มีพระราชบัณฑูรห้ามเรียกคนพื้นเมืองว่า "คนลาว" ก็เลยเกิดคำว่าคนเมืองขึ้นแทน

แต่คำว่า "ลาว" ในความเชื่อของชาวลาวศรีสัตนาคนหุตนั้น จิตร ภูมิศักดิ์ ได้อธิบายตามความเชื่อของชาวลาวในประเทศลาวว่า คำนี้มีที่มาจากคำว่า "ลัวะ" หรือ "ลาวจก" ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ของชนชาติลาวทางตอนเหนือของประเทศไทยทั้งหมด คำว่าลาวจึงมีความหมายว่า ชาวลาวนั้นเป็นชนชาติที่เจริญรุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรมมาแต่อดีตกาล
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » พุธ 27 ส.ค. 2014 6:40 am

ภาพซ้าย : เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่กับเจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุงเมื่อครั้งพิธีเษกสมรส ณ หอหลวงเมืองเชียงตุง

ภาพขวา : เจ้าอินทนนท์กับเจ้านางสุคันธาเมื่อครั้งมาพำนัก ณ นครเชียงใหม่

10636248_697046293706508_6898688389122495450_n.jpg
10636248_697046293706508_6898688389122495450_n.jpg (47.13 KiB) เปิดดู 9604 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 ก.ย. 2014 7:02 am

สลากภัต

sa1.jpg
sa1.jpg (167.94 KiB) เปิดดู 9560 ครั้ง


เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เรื่อง มีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารี แก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตใน พุทธศาสนา
ประ เพณีตานก๋วยสลาก เป็นการถวายทานโดยไม่เจาะจงผู้รับ จะทำกันตั้งแต่วันเพ็ญเดือน ๑๒ เหนือ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ใต้) จนถึงเกี๋ยงดับ (แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ใต้)
ความสำคัญ
ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นประเพณีในพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในล้านนาไทย ซึ่งสืบเนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดมาช้านานคือ

๑. ประชาชนว่างจากภารกิจการทำนา
๒. ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน
๓. พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อม
๔. ผลไม้มากและกำลังสุก เช่นส้มโอ ส้มเกลี้ยง กล้วย อ้อยฯลฯ
๕. ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจน เป็นสังฆทาน
๖. ถือว่ามีอานิสงส์แรง คนทำบุญจะมีโชคลาภ
๗. มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัดก๋วยสลากแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. สลากน้อย หรือก๋วยเล็ก ใช้อุทิศแด่ผู้ตาย หรือเป็นกุศลมากขึ้น

๒. สลากก๋วยใหญ่ หรือสลากโชค หรือเป็นสลากที่บรรจุในก๋วยใหญ่ใช้เป็นมหากุศลสำหรับบุคคลที่มีกำลังศรัทธา และมีเงินทองมาก ทำถวายเพื่อเป็นปัจจัยภายหน้า ให้มีบุญกุศลมากขึ้น
พิธีกรรม
พิธีกรรมในประเพณีตานก๋วยสลากมี ๒ วัน คือ

๑. ก่อนทำพิธี"ตานก๋วยสลาก" ๑ วัน เรียกว่าวันดาเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเพื่อใส่ในก๋วยสลาก ผู้ชายจะตัดไม้มาจักตอกสลากก๋วย (ชะลอม) ไว้หลายๆใบตามศรัทธาและกำลังทรัพย์ ฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมสิ่งของที่จะนำมาบรรจุในก๋วย เช่นข้าวสาร พริกแห้ง หอม กระเทียม เกลือ กะปิ น้ำปลา ขนม เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ เทียนไข สีย้อมผ้า ผลไม้ รวมทั้งเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วบรรจุลงในก๋วยสลากที่กรุด้วยใบตอง ใบหมากผู้หมากเมีย"ใส่ยอด" คือธนบัตร ผูกติดไม้ เสียบไว้ในก๋วยให้ส่วนยอดหรือธนบัตรโผล่มาแล้วรวบปากก๋วยสลากตกแต่งด้วย ดอกไม้ "ยอด" หรือธนบัตรที่ใส่นั้นไม่จำกัดว่าเป็นจำนวนเท่าใด ส่วน สลากโชคหรือสลากก๋วยใหญ่ ของที่นำบรรจุในก๋วยเช่นเดียวกับสลากน้อยแต่ปริมาณมากกว่าหรือพิเศษกว่า สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือหลังเล็กมีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หม้อข้าว หม้อแกง ถ้วยแกงถ้วยชาม เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม อาหารสำเร็จรูปใส่ไว้ด้วย มีต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกติดไว้ "ยอด" หรือธนบัตรจะใส่มากกว่าสลากน้อย

ก๋วย สลากทุกอันต้องมี "เส้นสลาก" ซึ่งทำจากใบลานหรือปัจจุบันใช้กระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ เขียนชื่อเจ้าของไว้ และยังบอกอีกว่าจะอุทิศไปให้ใคร เช่น " สลากข้างซองนี้ หมายมีผู้ข้า นาย... นาง ขอทานไปถึงกับตนภายหน้า " หมายถึงถวายทานเพื่อเป็นกุศลแก่ตนเองเมื่อล่วงลับไป และอีกแบบหนึ่ง คือ"สลากข้าวซองนี้ หมายมีผู้ข้านาย.....นาง.....ขอทานไปถึงยังนาย/นาง....(ชื่อผู้ตาย) ผู้เป็น.......(ความเกี่ยวข้องกับผู้ให้ทาน)ที่ล่วงลับ ขอให้ไปรอดไปถึงจิมเต่อ" หมายถึงอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันดาสลาก จะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงจากหมู่บ้านต่างๆ ที่รู้จักมาร่วมทำบุญ โดยนำเงินหรือผลไม้เช่น กล้วย อ้อย ฯลฯ มาร่วมด้วยและช่วยจัดเตรียมสิ่งของใส่ก๋วยสลาก เจ้าภาพต้องเลี้ยงดูอาหาร เหล้ายาและขนม

๒. วันทานสลาก ชาวบ้านนำก๋วยสลากที่จัดทำแล้วไปวัด และเอา"เส้นสลาก" ทั้งหมดไปรวมกันที่หน้าพระประธานในวิหาร จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย ๑ กัณฑ์ ผู้รวบรวมสลากมักจะเป็นมัคทายก (แก่วัด) นำเส้นสลากทั้งหมดมารวมกันแล้วแบ่งเส้นสลากทั้งหมด เป็น ๓ ส่วน(กอง) ส่วนหนึ่งเป็นของพระเจ้า (คือของวัด)อีก ๒ ส่วนเฉลี่ยไปตามจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มาร่วมในงานทำบุญ หากมีเศษเหลือมักเป็นของพระเจ้า (วัด) ทั้งหมดพระ ภิกษุสามเณรเมื่อได้ส่วนแบ่งแล้ว จะยึดเอาชัยภูมิแห่งหนึ่งในวัดและออกสลากคือ อ่านชื่อเส้นสลากดังๆ หรือให้ลูกศิษย์(ขะโยม) ที่ได้ตะโกนตามข้อความที่เขียนไว้ในเส้นสลาก หรือเปลี่ยนเป็นคำสั้นๆเช่น ศรัทธา นายแก้ว นามวงศ์ มีนี่เน้อ " บางรายจะหิ้ว "ก๋วย" ไปตามหาเส้นสลากของตนตามลานวัดเมื่อพบสลากของตนแล้วจะเอาสลากของตนถวายพระ พระจะอ่านข้อความในเส้นสลากและอนุโมทนาให้พรแล้วคืนเส้นสลากนั้นให้เจ้าของ สลากไป เจ้าของสลากจะนำเส้นสลากไปรวมในวิหาร เมื่อเสร็จแล้วมัคทายกหรือแก่วัด จะนำเอาเส้นสลากนั้นไปเผาหรือทิ้งเสีย

ขอบคุณข้อมูลดีจากทีมงาน http://www.jiaogulan4u.com
และข้อมูลหลักจาก http://www.m-culture.go.th
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 13 ต.ค. 2014 7:13 am

ภาพถ่ายบริเวณตลาดริมน้ำปิงเชียงใหม่ ข้างๆกงศุลสหรัฐ พ.ศ.๒๔๗๐ สังเกตเจดีย์ขาวหรือเจดีย์ปู่เปียง

1729794225674.jpg
1729794225674.jpg (60.38 KiB) เปิดดู 9516 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 22 พ.ย. 2014 6:20 am

วัดกู่ดินขาว

DSC09094.jpg
DSC09094.jpg (436.43 KiB) เปิดดู 9449 ครั้ง


ที่ตั้ง ของวัดกู่ดินขาว อยู่นอกเขตกำแพงเวียงเจ็ดลินทางทิศใต้ จัดเป็นโบราณสถานวัดเพียงแห่งเดียวของเมืองโบราณเวียงเจ็ดลิน ที่ เหลือฐานการก่อสร้าง ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดในเขตสวนสัตว์เชียงใหม่ กลุ่มโบราณสถานในบริเวณวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธานวิหาร เจดีย์ราย 8 เหลี่ยม และกำแพงแก้วเขตพุทธาวาส ความน่าสนใจทางด้านการก่อสร้างวัดนี้ คือเรื่องเทคโนโลยี และวิศวกรรมจากการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นอิฐก้อนใหญ่มาก และเผาแกร่ง และด้านโครงสร้าง รับน้ำหนักในส่วนของเจดีย์ประธานที่ขณะนี้ยังไม่พบหลักฐานอิฐขนาดใหญ่ และเทคนิคการทำโครงสร้างเช่นนี้ ในโบราณสถานที่อื่น
ประวัติ ความเป็นมาของวัดกู่ดินขาว มีความสัมพันธ์กับเวียงเจ็ดลินที่ ตามตำนานประวัติของล้านนา กล่าวถึงว่า เป็นการตั้งถิ่นฐานชุมชนในระยะก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ และเมืองหริภุญไชย สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 13 (พ.ศ.1201-1300) และมีพัฒนาการสืบเนื่องมาในระยะหลังเรื่อยมา โดยเฉพาะหลักฐานคันดินกำแพงเวียงรูปกลม 2 ชั้น ระหว่างคูเวียงนั้น แสดงถึงภูมิปัญญาการสร้างเวียงที่มีพื้นฐานความรู้ทางผังเมืองอย่างดี จาการรู้จักระบบชลประทานจัดการน้ำที่ไหลลงมา จากดอยสุเทพ โดยขุดคูก่อคันดินเพื่อป้องกันน้ำหลากท่วมขัง และเก็บกักระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำมากและน้ำน้อย เป็นประโยชน์ด้านเกษตรกรรม รวมถึงใช้เป็นแนวป้องกันด้านการศึกสงครามที่ใช้เป็นแหล่งฐานที่มั่นทางทหาร ดังปรากฎเหตุการณ์ในสมัยล้านนา กรณีทัพสุโขทัย ใช้เวียงเจ็ดลินเป็นฐานกำลังเตรียมต่อสู้กับทัพเมืองเชียงใหม่
เจดีย์ประธาน เข้าลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปรุ่นเก่า แม้จะไม่พบหลักฐานในส่วนของมณฑปและเครื่องยอด แต่จากระเบียบการทำชั้นฐานเชียงที่มีลานกว้างตอยบนชั้นกระดานสูง และระบบการวางโครงสร้างก่ออิฐภายในส่วนเรือนธาตุ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยม อันเป็นรูปแบบของเจดีย์ทรามณฑปโดยทั่วไป ซึ่งได้วิเคราะห์เปรียบเทียบกับรูปแบบเจดีย์ของเมืองเชียงใหม่ และเขตใกล้เคียง พบว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปรุ่นก่อนสมัยล้านนา ดังปรากฎที่ลักษณะส่วนฐานของเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี เมืองลำพูน และเจดีย์วัดสันกู่(ร้าง)บนดอยสุเทพ ประมาณอายุ สมัยอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.17.1-1800) สอดคล้องกับหลักฐานด้านโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ พระพิมพ์ดินเผาแบบหริภุญไชยที่พบระหว่างการดำเนินงานขุดแต่ง

วิหาร ด้านหน้าเจดีย์ประธาน ที่เป็นสถานที่ประชุมของพุทธศาสนิกชนฟังเทศนาธรรมจากพระภิกษุสงฆ์นั้น ลักษณะเป็นอาคารโถงฐานสี่เหลี่ยมสร้างยกพื้นสูงขึ้นมา หลังคาเดิมเป็นแบบหน้าจั่ว ภายในแต่เดิมประดิษฐานมณฑปพระประธาน ที่พบสมัยการก่อสร้างซ่อมแซมหลายสมัย

เจดีย์ราย 8 เหลี่ยม ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงแก้วเขตพุทธาวาส จากรูปแบบ การทำฐานปัทม์ แบบท้องไม้ลูกแก้วอกไก่คู่ โดยไม่มีฐานเขียงหน้ากระดาน รวมถึงชั้นปัทม์ก่อเก็จ ที่มักพบว่าเป็นเจดีย์ทรงระฆัง แบบล้านนาทั่วไป จึงทำให้พิจารณาว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงมณฑป 8 เหลี่ยม เช่นเจดีย์องค์หนึ่งของวัดสะดือเมือง ในเขตกลางเมืองเชียงใหม่

นอกจากนี้ หลักฐานโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ได้จากการดำเนินงานบูรณะ คือ อิฐก้อนใหญ่มีรอยขีดเขียนรูปใบหน้าบุคคลผู้ชาย ลักษณะวงหน้าสี่เหลี่ยม หวีผมแสกกลาง สวมตุ้มหูห่วงกลม และไว้หนวด ก็แสดงลักษณะหน้าตาของผู้ชายสมัยนั้น อีกทั้งตัวอักษรล้านนาที่ขีดเขียนบนอิฐก้อนหนึ่ง ข้อความ "นายดน" ซึ่งเป็นตัวฝักขามภาษาไทยเป็นรูปแบบอักษรล้านนารุ่นหลัง ราวพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ.2001-2100) อันอาจหมายถึงชื่อเจ้าศรัทธาผู้อุปถัมภ์วัด หรือคนปั้นอิฐเพื่อมาก่อสร้างซ่อมเสริมวัดแห่งนี้ในอดีต

ที่มา สวนสัตว์เชียงใหม่
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อังคาร 06 ม.ค. 2015 8:33 pm

ความเป็นมาของประเพณี “ยี่เป็ง” และ “โคมลอย”

999999.jpg
999999.jpg (321.64 KiB) เปิดดู 9373 ครั้ง


ประเพณีทางเหนือ ไม่มีประเพณี “ลอยกระทง” ทางเหนือมีแต่ประเพณี “ยี่เป็ง” แปลว่า วันเพ็ญเดือนยี่ (ตรงกันเพ็ญเดือน๑๒ของไทย) ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับศาสนาพุทธล้วนๆ คือการฟังเทศน์มหาชาติทั้งคืนโดยพระสงฆ์จะสลับกันขึ้นเทศน์ตั้งแต่หนึ่งทุ่มถึงสิบโมงเช้า


สำหรับการเทศน์มหาชาติ จะมีกัณฑ์ต่างๆ ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เทศน์มหาชาตินี้เองที่เเป็นต้นกำเนิดของซุ้มประตูป่า โดยประชาชนแต่ละบ้านจะทำซุ้มประตูด้วยต้นกล้วยกับก้านมะพร้าว เพื่อรำลึกถึงพระเวสสันดรที่ท่านเดินป่า นอกจากทำซุ้มแล้ว มีการจุดผางประทีป ซึ่งเป็นถ้วยไฟเล็กๆ ในท้องถิ่นเรียกว่า “ผางผะตี้บ” ตามจุดต่างๆ เพื่อแสดงความขอบคุณ เป็นการคารวะด้วยไฟ เป็นการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลบ้าน จึงมักจะวาง “ผางผะตี๊บ” ที่ประตู หน้าต่าง บ่อน้ำ ต้นไม้ ศาลพระภูมิ ซึ่งทางเหนือเรียกว่า “ธรณีเจ้าที่”


ในประเพณียี่เป็ง ยังมีการจุดโคม ประกอบด้วย “โคมลอย” จุดตอนกลางวัน และ ปล่อย “โคมไฟ” ตอนกลางคืน เพื่อคารวะต่อพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ การจุดโคมไฟและโคมลอย จะเกิดขึ้นโดยประชาชนรวมตัวกันนำกระดาษสีอะไรก็แล้วแต่ เอาไปรวมกันที่วัด แล้วก็ไปช่วยกันต้มแป้งเปียก เพื่อใช้เหมือนกาวติดกระดาษ ได้โคมกระดาษลูกกลมๆ โตๆ สูง ๖ ฟุต มีรูข้างล่าง เพื่อใช้จุดไฟอัดควันเข้าไป ระหว่างช่วยกันทำคนในชุมชนก็ได้พูดคุยกันไป เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน และยังประหยัดไม่ต้องซื้อหา


ส่วนกาลเทศะในการจุด “โคมลอย” นั้นจะจุดตอนเช้าก่อนหรือหลังจากพระฉันเพล ส่วนแต่ละวัดจะทำได้กี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธาของแต่ละวัด โดยทั่วไปจะจุดโคมลอยประมาณ ๖ ลูก และอีก ๖ ลูก จะไว้จุดกลางคืน เป็น “โคมไฟ” (เพิ่มเติมโดยแอดมิน ปกติคนเหนือจะเรียกว่าว่าวลม หรือบางท้องถิ่นเรียก ว่าวฮม และว่าวไฟ)


ลูกที่จุดกลางวันจะมีแต่ควันอย่างเดียว ส่วนลูกที่จุดกลางคืนจะใช้ “ไต้” แขวนด้านล่าง เมื่อลอยขึ้นฟ้าจะมีแสงสว่างด้วย ซึ่ง “โคมไฟ” นี้จะมีการจุดช่วงหัวค่ำ คือจุดก่อนจะมีการเทศน์มหาชาติที่จะเริ่มประมาณหนึ่งทุ่ม จนไปถึงสิบโมงเช้า


ประเพณียี่เป็ง สะท้อนประเพณีทางพุทธศาสนาวันเพ็ญเดือน๑๒ ที่เรียกเดือนยี่ เป็นการเคารพพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่สุดก่อนหรือหลังเกี่ยวข้าว เพราะขึ้นอยู่กับว่าวันขึ้น ๑๕ ค่ำของแต่ละปี ตรงกับวันไหน ก่อนหรือหลังวันเกี่ยวข้าวของแต่ละปี


ประเด็นหลักหัวใจของล้านนาในอดีตเป็นเรื่องชุมชน และวัดทำโคมเพื่อถวายพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี ไม่ได้ผลิตจากโรงงาน วัสดุในการทำโคมก็เป็นชนิดเดียวกับที่ทำตุง โคมไฟในสมัยก่อนมีลูกใหญ่มีกำลังแรงลอยไปไกล ไฟทำจาก “ไต้” พอลอยลับตาคนก็ดับแล้ว ไม่ใช่ร่วงลงมาดับบนพื้น


โคมอย่างที่เราเห็น แต่แตกต่างจากประเพณีโบราณ เพราะตัวโคมทำจากกระดาษก็มีลักษณะเหนียวเหมือนเคลือบพลาสติก ส่วนไฟก็ทำจากกระดาษชำระชุบขี้ผึ้ง ซึ่งจะเผาไหม้นานมากไฟไม่ได้ดับบนอากาศ เป็นโคมเล็กๆ จากต้นทุน ๖ บาท แล้วนำมาขาย ๓ ลูก ๑๐๐ บาท หรือลูกละ ๖๐ บาท วิธีการผลิตและวิธีใช้ แบบทุนนิยม ผลิตจำนวนเยอะๆ ซื้อมาจุดได้ง่ายๆ ไม่ต้องเกิดจากความร่วมมือของชุมชน


(เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ของดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการด้านท้องถิ่น และล้านนาศึกษา)


มรดกจากอดีตคือความทรงจำอันงดงามที่ควรค่าแก่การรักษา อย่าปล่อยให้กาลเวลา ความมักง่าย และความเห็นแก่เงินมาทำลาย ฝากชนรุ่นหลังให้รักษาวัฒนธรรม และประเพณีของชาวล้านนาด้วยนะคะ
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 04 พ.ค. 2015 8:11 am

เรื่องราวของ ข่วงสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

DSCF3336.jpg
DSCF3336.jpg (73.11 KiB) เปิดดู 9155 ครั้ง



“ข่วงสิงห์” นั้น แรกทีเดียวบริเวณข่วงสิงห์ คือ ข่วง หรือลานอเนกประสงค์ทางทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบัน “ข่วงสิงห์” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “คุ้มสิงห์” เป็นสิ่งก่อสร้าง เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ถ้าขับรถจากสี่แยกข่วงสิงห์ มุ่งหน้าเดินทางไปตามถนนเชียงใหม่แม่ริม (ถนนโชตนา) ประมาณ ๑๕๐ เมตรแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนโชตนา ซอย ๑ (ข้างโรงเรียนวัดข่วงสิงห์) ไปอีกประมาณ ๑๐๐ เมตร ก็จะเจอกับโบราณสถาน “ข่วงสิงห์” ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติไว้

แรกทีเดียวบริเวณข่วงสิงห์ คือ ข่วงหรือลานอเนกประสงค์ทางทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ “ข่วงสิงห์” เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะรูปสิงห์คู่ ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งอายุสมัยของการก่อสร้างข่วงสิงห์นั้น ถูกสร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔ ปีระกาตรีศกเดือน ๔ เหนือขึ้น ๑๒ ค่ำ พ่อเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ราชวงศ์ทิพย์จักรพระองค์แรก (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๖) ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้สร้างสิงห์ปูนปั้นสีขาวยืนขึ้นไว้คู่หนึ่ง ตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ อีกตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ ที่อันเป็นบริเวณโล่งเตียนกว้างขวางอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองเชียงใหม่

จากนั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงทำพิธีอันเชิญ เทพยดาอารักษ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาสิงสถิตย์ อยู่ ณ ที่นี้ ตาม คัมภีร์ลานทองของเมืองเชียงใหม่ เขียนไว้ว่า “พระยากาวิละสร้างรูปสิงห์คู่นี้ไว้เป็นสีหนาทแก่เมือง” คราวใดเมื่อจะยกทัพไปต่อสู้กับข้าศึกที่มารุกราน หรือเพื่อแผ่อานุภาพออกไป ก็ได้ยกทัพมาหยุด ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อกระทำอันเป็นมงคลต่างๆ แก่กองทัพเป็นประจำ ซึ่งต่อมาสถานที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ข่วงสิงห์ชัยมงคล” และต่อมาได้เรียกชื่อให้สั้นลง ว่า “ข่วงสิงห์” และในสมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๑๖-๒๔๓๙) ได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นไว้บริเวณใกล้กันหนึ่งวัด คือ “วัดข่วงสิงห์ชัยมงคล” ปัจจุบัน คือ “วัดข่วงสิงห์.”

ในส่วนของการสร้างประติมากรรมรูปสิงห์นั้น เรื่องนี้มีอิทธิพลในช่วงที่อาณาจักรล้านนาเสียเมืองให้แก่ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๑ โดยในช่วงนั้น พระพุทธศาสนา และลัทธิธรรมเนียมพม่า ได้เข้ามามีอิทธิพลในล้านนาไทย กอปรกับชาวล้านนาและชาวพม่าต่างนับถือศาสนาพุทธด้วยอยู่แล้ว จึงทำให้เกิดความผสมผสานกันทางวัฒนธรรมเป็นอย่างดี โดยสิ่งที่สะท้อนอิทธิพลของพม่าอย่างชัดเจน ได้แก่ การสร้างสิงห์ที่ประตูวัด พิธีฟ้อนผีมดผีเม็ง การบวชลูกแก้ว เป็นต้น


จะว่าไปแล้ว “ข่วงสิงห์” คงไม่ต่างจากสถานที่ปลุกขวัญและกำลังใจของกองทัพในสมัยก่อนเวลาทำศึกสงคราม อันเป็นกุศโลบายกลายๆ ให้นักรบได้ฮึกเหิมจนรบกับข้าศึกได้รับชัยชนะสำเร็จ

ที่มา เชียงใหม่ทัวริ่ง.คอม
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อังคาร 24 พ.ย. 2015 10:30 pm

ประเพณีเป็งปุ๊ด ตักบาตรเที่ยงคืน..."วันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ"

8hj6ddcig5987ck8ickb6.jpg
8hj6ddcig5987ck8ickb6.jpg (42.24 KiB) เปิดดู 14001 ครั้ง



"พิธีตักบาตรเที่ยงคืน" เป็นการใส่บาตรด้วยเวลาที่ผิดแผกแตกต่างไปจากการทำบุญตักบาตรโดยทั่วไป ทำให้ดูเป็นเรื่องแปลกสำหรับผู้ที่ได้พบเห็น แต่สำหรับพุทธบริษัทในภาคเหนือแล้ว การตักบาตรในยามเที่ยงคืนในวัน "เป็งปุ๊ด" ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญทางศาสนา ที่สืบทอดปฏิบัติมาหลายร้อยปี


ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน หรือพิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ ในทุกปีที่มีวันขึ้น ๑๕ ค่ำที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด พระภิกษุสามเณรในเมืองทุกรูปจะออกบิณฑบาตในตอนเที่ยงคืน โดยมีความแตกต่างของการนับเวลาคือ ที่ จ.เชียงใหม่ จะตักบาตรคืนวันอังคารหลังเวลา ๐๐.๐๐ น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่วันพุธ ในขณะที่ จ.เชียงราย ลำปาง และแม่ฮ่องสอน จะใส่ตักบาตรในคืนวันพุธเวลา ๒๔.๐๐ น. เป็นต้นไป

ทั้งนี้ บางปีอาจมีครั้งเดียว หลายครั้ง หรือไม่มีเลย ก็ได้ เป็นประเพณีนิยมที่มีเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น
สำหรับประวัติความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากพม่าอีกต่อหนึ่ง พม่ามีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ ๑ ปีจะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ

ชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุต โดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภ และความเป็นสิริมงคลในชีวิต คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ

พระครูพัฒนาธิมุต เจ้าอาวาสวัดอุปคุต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เป็นวัดเพียงหนึ่งเดียวในดินแดนล้านนา ที่สืบสานประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ดมาไม่ต่ำกว่า ๒๕๐ ปี จากหลักฐานประวัติของวัดที่มีการบูรณะฟื้นฟูครั้งใหญ่ใน พ.ศ.๒๓๐๐ พบว่ามีการสืบทอดประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเจ้าอาวาสวัดทุกยุคทุกสมัยได้จัดประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนถือปฏิบัติโดยทั่วไปในภาคเหนือ แต่พบมากใน จ.เชียงใหม่ และเชียงราย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพม่า ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในช่วง พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ กระทั่งวัฒนธรรมไทยลื้อได้หล่อหลอมผสมผสานกับวัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมของคนไทยใหญ่ในรัฐฉาน ของพม่า ปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

"พุทธศาสนิกชนล้านนา ผู้มีจิตศรัทธาจะทำบุญตักบาตรในคืนเป็งปุ๊ดจำนวนมาก และจะเป็นการทำพิเศษกว่าวันอื่น เพราะถือว่าได้อานิสงส์แรง โดยจะตระเตรียมสำรับข้าวสาร อาหารแห้ง คอยใส่บาตร ยามเที่ยงคืน ขณะที่ปัจจุบัน วัดอุปคุตได้ขอความร่วมมือประชาชนให้ใส่บาตรด้วยยารักษาโรค นอกเหนือไปจากข้าวสารอาหารแห้ง โดยปัจจัยเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังวัดในถิ่นทุรกันดาร" พระครูพัฒนาธิมุต กล่าว

ด้าน พระอธิการประพันธ์ อินฺทญาโณ เจ้าอาวาสวัดพุทธสันติวิเวก ต.บุญนาคพัฒนา อ.เมือง จ.ลำปาง บอกว่า การทำบุญตักบาตรเป็งปุ๊ด ไหว้สาพระมหาอุปคุตเถรเจ้า ของวัด เป็นแห่งเดียวใน จ.ลำปาง โดยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. จะทำพิธีอัญเชิญพระมหาอุปคุตเถรเจ้า ขึ้นประดิษฐานบนปราสาทจำลอง เวลา ๒๐.๐๐ น. ไหว้พระรับศีล เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต สมโภช พระมหาอุปคุตเถรเจ้า เทศนาเรื่องประวัติและอานิสงส์ใส่บาตรพระมหาอุปคุตเถรเจ้า และถวายทาน เมื่อใกล้ถึงเวลาเที่ยงคืน พระสงฆ์ ๕๐ รูปของวัดจะออกมารับบาตรข้าวสารอาหารแห้ง โดยผู้ที่ใส่บาตรมีความเชื่อว่า พระอุปคุตจะมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ ชาวบ้านจะตื่นแต่ดึก เตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุต เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตรุ่งเรืองด้วยโชคลาภ แคล้วคลาดจากอุบัติภัยทั้งปวง


มติคณะสงฆ์มิอาจขวางศรัทธา
อย่างไรก็ตาม โดยก่อนหน้านี้ ทางมติคณะสงฆ์หลายจังหวัดในภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.เชียงราย ได้มีการสั่งห้ามแล้ว แต่เนื่องจากประเพณีดังกล่าวเป็นประเพณีความเชื่อที่สืบทอดกันมานาน การห้ามความเชื่อแรงศัทธา ถือได้ว่าเป็นเรื่องยาก

พระราชสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร กล่าวว่า การตักบาตรกลางคืนเป็นประเพณีของชาวพม่ามาตั้งแต่โบราณกาล ส่วนชาวเหนือในพื้นที่ ๘ จังหวัด ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับพม่า จึงมีความกลมกลืนกันไป ซึ่งการออกมาบิณฑบาตในตอนกลางคืนของพระสงฆ์และสามเณรตามหลักของพระพุทธศาสนาถือว่าผิดวินัย เพราะเป็นยามวิกาล พระสงฆ์จะออกมาบิณฑบาตได้ในเวลาประมาณตีห้า หรือ ภาษาเหนือเรียกว่า "ตีนฟ้ายก" หรือ แบมือจนเห็นเส้นลายมือแล้ว จึงจะสามารถออกไปบิณฑบาตได้ ซึ่งเรื่องนี้ ทางคณะสงฆ์ได้มีการนำเอาเข้าที่ประชุมมาหลายครั้งแล้ว พร้อมกับได้ประกาศให้พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาตได้ตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ น. แต่พอมาถึงวันเป็งปุ๊ด จะพากันออกมาบิณฑบาตกันตั้งแต่เวลาห้าทุ่ม ไปจนถึงตีสี่ตีห้าของอีกวัน เรื่องนี้คงจะไปห้ามปรามไม่ได้

ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า คำว่า แสงเงินแสงทอง คือ การขึ้นไปแห่งอรุณ เป็นการเปรียบเทียบว่า แสงจากรุ่งอรุณเปรียบเป็นแสงเงินแสงทอง แต่ในสมัยโบราณยังไม่มีความเจริญทางเทคโนโลยี ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีนาฬิกาบอกเวลา ก่อนออกบิณฑบาตพระสงฆ์จึงต้องดูลายมือของตัวเอง หากไม่ปรากฏเส้นลายมือ ให้ถือว่ายังไม่รุ่งอรุณ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญแล้ว สถานที่ต่างๆ มีไฟฟ้าส่องสว่าง ทำให้กลางคืนเหมือนกลางวัน การดูลายมือจึงนำมาเป็นมาตรฐานไม่ได้ เมื่อกระแสสังคมเห็นว่า พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาตในย่านชุมชนยามวิกาล เป็นสถานที่ไม่เหมาะสม แต่เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามไว้ ก็สมควรที่จะปรับเปลี่ยนมาจัดพิธีในวัด ให้ชาวบ้านรวมตัวทำบุญตักบาตรเป็งปุ๊ดในวัด ก็ไม่น่าจะเสียหายแต่อย่างใด

"พุทธศาสนิกชนล้านนาผู้มีจิตศรัทธา จะทำบุญตักบาตรในคืนเป็งปุ๊ดจำนวนมาก และจะเป็นการทำพิเศษกว่าวันอื่น เพราะถือว่าได้อานิสงส์แรง โดยจะตระเตรียมสำรับข้าวสาร อาหารแห้งคอยใส่บาตรยามเที่ยงคืน"


ที่มา คมชัดลึก
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 29 พ.ย. 2015 7:26 am

...ตำนานเจ้าหลวงคำแดงแห่งถ้ำเชียงดาว...


large_002.jpg
large_002.jpg (76.09 KiB) เปิดดู 13999 ครั้ง



ขอบคุณภาพโดย ร้อยตะวัน



ในตำนานเชียงใหม่ปางเดิม ระบุการประกอบพิธีกรรมของบ้านเมืองไว้อย่างชัดเจนว่า---

(๖) “คันบุคคลผู้ใดจักกระทำมังคลกรรมด้วยประการต่าง ๆ จักสร้างแปงอันใดก็ดี จักไปทางใดก็ดี (ฯ/๑) (ฯ/๒) หื้อเจ้าและเสนาอามาตย์ทังหลาย หื้อได้พากันปูชาหื้อมีบุปผา เข้าตอก ดอกไม้ ลำเทียน มาตกแต่งพลีกรรมปูชาแกมเลี้ยง ยัง(ฯ/๓) และเทวดาอารักษ์ เชนเมืองเจ้าทังหลาย หมายมี ‘เจ้าหลวงคำแดง’ เป็นเค้าเป็นใหญ่กว่าอารักษ์เจ้าทังหลาย และ(ฯ/๔)”


เจ้าหลวงคำแดงคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งขุนเขา เป็นเจ้าแห่งผีทั้งหลาย เป็นที่เคารพ สักการะ ของชาวเหนือ อย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย และถ้ำเชียงดาวเป้นสถานที่ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นเมืองเทวาของเจ้าหลวงคำแดง ตั้งอยู่ด้านหน้าของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นขุนเขาที่ชาวเชียงใหม่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของผีเมืองเชียงใหม่ทุกองค์ตั้งแต่ก่อนพระญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ผีเมืองเชียงใหม่มีเจ้าหลวงคำแดงเป็นประธานใหญ่กว่าผีเมืองทั้งหมด

มีเรื่องเล่าว่าทุกวันพระผีทุกผีในเมืองเชียงใหม่จะต้องไปร่วมเฝ้าและประชุมที่ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งในถ้ำเชียงดาวจะมีห้องโถงขนาดใหญ่ที่เชื่อว่าเป็นห้องประชุม ในวันนั้นผีจะไม่เข้ามาหลอกหลอนชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ผีเมืองที่ดอยหลวงเชียงดาวได้เก็บข้าวจากชาวนาทุกคนที่วางไว้เซ่นไหว้พระแม่โพสพและเป็นค่าน้ำหัวนา ซึ่งจะนำข้าวไปวางไว้ที่หัวนาก่อนที่ชาวนาจะนำข้าวมาใส่ในยุ้งฉาง ข้าวเหล่านี้ผีดอยจะนำมากิน แล้วจะเหลือเพียงเปลือกหรือแกลบไว้ซึ่งจะเก็บเปลือกข้าวหรือแกลบไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งทางทิศใต้ไม่ไกลจากดอยหลวงเชียงดาวชื่อว่า "ถ้ำแกลบ"

ความศักดิ์สิทธิ์ของดอยหลวงมิเพียงแต่ชาวบ้านจะเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว พระสงฆ์ในเขตล้านนาก็ได้แต่งและคัดลอกคัมภีร์ใบลานชื่อ ตำนานถ้ำเชียงดาวไว้หลายสำนวน ทั้งที่พบในเชียงใหม่และเมืองอื่นๆที่ห่างไกลออกไป เช่น ที่เมืองน่าน เป็นต้น



...เจ้าหลวงคำแดงเจ้าตำนาน…แห่งอมตะนิยาย

มีหลายเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำแดงเป็นไปในลักษณะของ อมตะนิยายพิศวาส อาทิ เล่าเป็นนิยายปรัมปรายุคต้นพุทธกาล กล่าวถึง

สมเด็จองค์อัมรินทราธิราชเจ้า ประมุขแห่งปวงเทพเทวาได้ดำริให้จัดทำสิ่งวิเศษเพื่อองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าศรีอาริยะเมตตรัยที่จะมาตรัสรู้พระสัจธรรมในอนาคต ได้เล็งเห็นว่าถ้ำเชียงดาวเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การเก็บรักษาของวิเศษเหล่านั้น เพราะลึกเข้าไปในถ้ำจนสุดประมาณมิได้ เป็นเมืองแห่งพวกครึ่งอสูรกาย เรียกว่าเมืองลับแล มีความเป็นอยู่ล้วนแต่เป็นทิพย์ ผู้คนทั้งหลายในมนุษย์โลกธรรมดาที่เต็มไปด้วยกิเลสยากนักที่จะเข้าไปพบเห็นได้ เพราะมีด่านภยันตรายต่างๆมากมายหลายชั้นกั้นขวาง ไว้เป็นอุปสรรค

มียักษ์สองผัวเมียบำเพ็ญภาวนารักษาศีลเพราะได้ปฏิบัติตนเป็นผู้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีนางผู้เลอโฉมนามว่า "อินเหลา" อยู่ปรนนิบัติบิดามารดาผู้ทรงศีลทั้งสอง จนวันหนึ่งได้พบกับ เจ้าหลวงสุวรรณคำแดง ยุวราชหนุ่ม ซึ่งเสด็จมาประพาสป่าจากแค้วนแดนไกล ได้บังเกิดความหลงใหลในความงามของนาง ก็ได้พยายามติดตามนางไปจนถึงถ้ำเชียงดาว และทิ้งกองทหารของพระองค์ไว้เบื้องหลัง จากนั้นก็ไม่กลับออกมาอีกเลย ว่ากันว่าเจ้าหลวงสุวรรณคำแดงอยู่ครองรักกับเจ้าแม่อินเหลาที่ถ้ำเชียงดาวนั่นเอง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าจะมีเสียงดังสะเทือนจากดอยหลวงเชียงดาว ปรากฏเป็นลูกไฟ ขนาดลูกมะพร้าว สว่างจ้าพุ่งหายไปในดอยนางซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งมีความเชื่อว่า เจ้าหลวงสุวรรณคำแดงลั่นอะม็อกไปเยี่ยมเจ้าแม่อินเหลาที่ดอยนาง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน

cron