เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 7:34 am

พระตำหนักประทับร้อนบนดอยสุเทพของพระราชชายาดารารัศมี

K6915204-31.jpg
K6915204-31.jpg (196.85 KiB) เปิดดู 12699 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 7:35 am

ดอยหลวงเชียงดาว

K6915204-32.jpg
K6915204-32.jpg (133.56 KiB) เปิดดู 12699 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 03 พ.ย. 2013 7:36 am

สาวงามทอผ้า

1175020_526132720797867_2112935035_n.jpg
1175020_526132720797867_2112935035_n.jpg (60.67 KiB) เปิดดู 12699 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 25 พ.ค. 2014 2:01 pm

เจดีย์ขาว เยื้องเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๔


BS-CM-TP034b.jpg
BS-CM-TP034b.jpg (51.57 KiB) เปิดดู 12406 ครั้ง


ตำนานล้านนา “เจดีย์ขาวหรือเจดีย์กิ่ว..ปู่เปียงผู้เสียสละ"
เจดีย์กิ่ว หรือเจดีย์สีขาวซึ่งเป็นวงเวียนให้รถวนรอบ ตั้งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของเทศบาลนครเชียงใหม่ ใกล้กับสถานกงศุลอเมริกา อีกด้านหนึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำปิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของเชียงใหม่ เจดีย์ขาว.....หรือที่ชาวเขียงใหม่เรียก "เจดีย์กิ่ว" สร้างแต่สมัยไหนไม่มีใครทราบ แต่มีตำนานเล่าไว้ว่า


สมัยหนึ่งเมืองเชียงใหม่ ได้ถูกข้าศึกยกกองทัพมาประชิดเมือง แม่ทัพฝ่ายข้าศึกได้มาท้าประลองการแข่งขันดำน้ำในแม่น้ำปิง ถ้าฝ่ายไหนดำน้ำได้นานเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายไหนแพ้ต้องเสียเมือง(ตกเป็นเมืองขึ้น) ให้หาคนมาแข่งขันภายใน 3 วัน เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้ป่าวประกาศรับสมัครหาคนเป็นตัวแทนมาแข่งขันกับฝ่ายข้าศึก แต่ก็ไม่มีใครกล้ามาสมัครแข่งขัน เพราะเชียงใหม่อยู่ในภูมิประเทศที่ดอน คนเชียงใหม่จึงไม่ค่อยชำนาญเรื่องทางน้ำ เวลาผ่านไปสองวัน ก็ไม่มีใครมาสมัคร ท่านเจ้าเมืองจึงให้คนไปป่าวประกาศในพื้นที่รอบนอกเมืองบ้าง

จนมาถึงบ้านปู่เปียงซึ่งอาศัยอยู่ในห้างนานอกเมือง ปู่เปียงเป็นคนแก่อายุค่อนข้างมาก ไม่มีลูกหลาน อยู่ตัวคนเดียว เมื่อรู้ข่าวเมืองเชียงใหม่ถูกข้าศึกยกทัพมาประชิดเมือง และท้าให้คนเมืองเชียงใหม่แข่งกันดำน้ำ แกจึงคิดที่จะตอบแทนคุณของบ้านเมืองจึงเข้าไป รับอาสาเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้

เมื่อถึงเวลากำหนดนัดหมาย ต่างก็มาสู่สถานที่แข่งขัน ณ ที่ท่าแม่น้ำปิง...ตัวแทนทั้งสองฝ่ายต่างก็ดำลงไปในน้ำพร้อมกัน นับเป็นเวลานาน ปรากฎว่าตัวแทนฝ่ายข้าศึกโผล่ขึ้นมาก่อน...จึงถือว่าแพ้ ก็ได้ยกกองทัพกลับไป ฝ่ายปู่เปียงดำน้ำเป็นเวลานาน ก็ไม่โผล่ขึ้นมาสักที ท่านเจ้าเมืองจึงให้คนดำลงไปดู ปรากฎว่าปู่เปียงใช้ผ้าต่อง(ผ้าขะม้า)มัดมือตนเองติดกับเสาหลักใต้น้ำ ถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดีของปู่เปียง ที่สละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องบ้านเมืองเอาไว้

ทั้งนี้ เนื่องจากเจดีย์ขาวไม่มีลักษณะและความสูงเหมือนเจดีย์ที่เป็นปูชนียวัตถุทั่วไป จึงมีผู้คิดว่าเจดีย์กิ่วอาจเป็นสถูปบรรจุอัฐของบุคคลสำคัญชาวพม่าในครั้งที่มาครอบครองนครเชียงใหม่ในช่วง พ.ศ. ๒๑๐๑ - ๒๓๑๗ ก็ได้ และมีผู้เล่าอีกว่าเจดีย์กิ่วเป็นเครื่องหมายบอกว่าด้านล่างของเจดีย์ดังกล่าวเป็นปากอุโมงค์ที่ทอดยาวมาจากอุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์หลวงที่อยู่กลางเมือง

ใกล้กับเจดีย์กิ่วนี้ มีคุ้มของเจ้าเชียงใหม่อยู่แห่งหนึ่งชื่อว่า คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว ปัจจุบันเป็นสถานกงสุลอเมริกันประจำจังหวัดเชียงใหม่

อ้างอิง : อุดม รุ่งเรืองศรี.เจดีย์กิ่ว.สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ


ตำนาน คือ เรื่องเล่าปนนิยายถึงสถานที่ต่างๆ แต่ประวัติศาสตร์คือความจริงที่อ้างอิงได้

ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » จันทร์ 26 ม.ค. 2015 6:06 am

บรรยากาศหน้าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๑๕
ภาพ : Nick Derwolf

ยุพราช2515tum.so.jpg
ยุพราช2515tum.so.jpg (124.75 KiB) เปิดดู 11920 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 01 พ.ค. 2015 7:32 am

ขุนหลวงวิลังคะ เจ้าเมือง ระมิงค์นคร ก่อน จะเป๋นเมืองเชียงใหม่


10494751_843627589011006_4260962938867889684_n.jpg
10494751_843627589011006_4260962938867889684_n.jpg (118.6 KiB) เปิดดู 11855 ครั้ง



ชนเผ่าละเวอะ(ลัวะ) เดิมทีได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีชื่อเรียกว่า เมือง “ชวงไมย” อาจเป็นที่มาของการเพี้ยนมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีเจ้าเมืองชื่อขุนหลวงวิลังคะเป็นผู้ปกครองดูแลเมือง ซึ่งขุนหลวงวิลังคะเป็นผู้มีที่วิชาอาคมแก่งกล้า ขุนหลวงวิลังคะอยากได้เจ้านางจามเทวีซึ่งเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองหริภุญไชย (จ.ลำพูนในปัจจุบัน)มาเป็นภรรยา เจ้านางจามเวทีเองก็ต้องการได้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองของตนเช่นกัน จึงได้ทำเล่ห์กลโดยใช้หมาก ใบพลูสอดไว้ในช่องคลอดสตรีมาให้ขุนหลวงวิลังคะกิน และใช้ผ้าภูษา(ซิ่น)มาตัดเป็นหมวกให้ใส่ เวทมนตร์และอำนาจต่างๆของขุนหลวงวิลังคะจึงเสื่อมลง เมื่ออำนาจและเวทมนตร์ของขุนหลวงวิลังคะสิ้น เจ้านางจามเทวีก็ยกทัพมาตีเมือง “ชวงไมย” เมืองลัวะเลยถูกตีแตกพ่ายไป ชาวลัวะจึงหนีกระจายไปอยู่ยังที่ต่างๆ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงอยู่ที่เมือง “ชวงไมย” แต่ก็ไม่กล้าประกาศตนว่า ตนคือ ลัวะ ( ความเชื่อเรื่องใบพลู จากครั้นที่เจ้านางจามเทวี นำใบพลูทำให้เวทมนตร์ของขุนหลวงวิลังคะเสื่อม จึงเป็นที่มาของการที่ชาวลัวะจะฉีกใบพูลทิ้งนิดหนึ่งตรงปลายก่อนจะเคี้ยวหมาก เสมือนฉีกความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีออกไป )




หรืออีกตำนานว่าเล่า กันว่า ในสมัยที่พระนางจามเทวีปกครองเมืองหริภุญไชยราว พ.ศ. ๑๓๐๐ ในสมัยนั้นเล่ากันว่า นครหริภุญไชยเป็นนครของชนชาติมอญ หรือเม็ง และในขณะเดียวกันบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะมี ขุนหลวงวิรังคะเป็นเจ้าเมืองหรือหัวหน้า ขุนหลวงวิรังคะมีความรักในพระนางจามเทวี มีความประสงค์จะอภิเษกกับพระนาง แต่พระนางไม่ปรารถนาจะสมัครรักใคร่กับขุนหลวงลัวะ เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่ามอญในสมัยนั้น ขุนหลวงได้ส่งทูตมาเจริญไมตรีขอนางอภิเษกด้วย พระนางก็ผลัดผ่อนหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ได้แก่ ขอให้ขุนหลวงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดและลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย ให้ขุนหลวงพุ่งเสน้ามาตกที่ในเมือง พระนางจึงจะอภิเษกสมรสด้วย


ขุนหลวงวิรังคะ เป็นผู้ทรงพลังและชำนาญในการพุ่งเสน้า (เสน้า หมายถึง หอกด้ามยาวมีสองคม) ขุนหลวงพุ่งเสน้าครั้งแรกตกที่นอกกำแพงเมืองหริภุญไชยด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า หนองเสน้าพระนางจามเทวีเห็นว่าจะเป็นอันตรายยิ่ง ถ้าขุนหลวงวิรังคะพุ่งเสน้ามาตกในกำแพงเมืองตามสัญญา พระนางจึงใช้วิชาคุณไสยกับขุนหลวงวิรังคะ โดยการนำเอาเศษพระภูษาของพระนางมาทำเป็นหมวกสำหรับผู้ชาย นำเอาใบพลูมาทำหมากสำหรับเคี้ยวโดยเอาปลายใบพลูมาจิ้มเลือดประจำเดือนของพระ นาง แล้วให้ทูตนำของสองสิ่งนี้ไปถวายแด่ขุนหลวง ขุนหลวงได้รับของฝากจากพระนางเป็นที่ปลาบปลื้มอย่างยิ่ง นำหมวกใบนั้นมาสวมลงบนศีรษะ และกินหมากที่พระนางทำมาถวาย ซึ่งของทั้งสองสิ่งนี้ชาวล้านนาถือว่าเป็นของต่ำ ทำให้อำนาจและพลังของขุนหลวงเสื่อมลง เมื่อพุ่งเสน้าอีกครั้งต่อมาแรงพุ่งลดลงเสน้ามาตกที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ชาวบ้านเรียกว่า หนองสะเหน้า เช่นเดียวกัน ขุนหลวงเมื่อเสื่อมวิทยาคุณเช่นนั้น ก็หนีออกจากบ้านเมืองไป


ก่อนสิ้นชีวิต ขุนหลวงวิรังคะได้ขอให้เสนาอำมาตย์นำศพของท่านไปฝังไว้ ณ สถานที่ที่ขุนหลวงจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ทหารได้จัดขบวนศพของขุนหลวงจากเชิงดอยสุเทพขึ้นสู่บนดอยสุเทพเพื่อหาสถานที่ ฝังตามคำสั่ง ขบวนแห่ศพได้ลอดใต้เถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่งเรียกว่า เครือเขาหลง ซึ่งเชื่อว่าถ้าผู้ใดลอดผ่านจะทำให้พลัดหลงทางกันได้ ขบวนแห่ศพขุนหลวงได้พากันพลัดหลงกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง นักดนตรีบางคนพลัดหลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีของตน นิทานเล่าว่าภูเขาที่นักดนตรีผู้นั้นหลงจะปรากฏมีรูปร่างคล้ายเครื่องดนตรี นั้น ๆ บนยอดเขาสุเทพ-ปุย จะมีภูเขาชื่อต่าง ๆ ดังนี้ ดอยฆ้อง ดอยกลอง ดอยฉิ่ง ดอยสว่า บางแห่งเป็นที่แคบและฝาครอบโลงศพปลิวตก บริเวณนั้นเรียกว่า กิ่วแมวปลิว (คำว่า แมว หมายถึง ฝาครอบโลงศพที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ใช้ตกแต่งด้านบนของฝาโลงศพ)


เสนาอามาตย์ที่หามโลงศพของขุนหลวงได้เดินทางไต่ตีนเขาไปทางทิศเหนือ ถึงบริเวณแห่งหนึ่ง โลงศพได้คว่ำตกลงจากที่หาม เสนาอามาตย์จึงได้ฝังศพของขุนหลวงไว้ ณ สถานที่บนภูเขาแห่งนี้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ยอดภูเขานี้ชาวบ้านเรียกว่า ดอยคว่ำหล้อง (หล้อง หมายถึง โลงศพ)


ปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกชื่อภูเขาลูกนี้ว่า ดอยคว่ำหล้อง ตั้งอยู่บนภูเขาบริเวณเหนือน้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ยอดเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดลักษณะคล้ายโลงศพ บนยอดเขามีศาลของขุนหลวงวิรังคะตั้งอยู่ ชาวบ้านบริเวณเชิงเขาเล่าว่า กลางคืนเดือนเพ็ญบางครั้งจะได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงบนยอดเขา เชื่อกันว่าวิญญาณของขุนหลวงสถิตอยู่บนดอยคว่ำหล้อง


บริเวณเชิงเขา มีหมู่บ้านลัวะหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านเมืองก๊ะ มาจากชื่อของขุนหลวงวิรังคะ เชื่อกันว่า ชาวลัวะเหล่านี้เป็นเชื้อสายของขุนหลวงวิรังคะ ที่หมู่บ้านแห่ง นี้มีศาลที่สถิตวิญญาณของขุนหลวง และทหารซ้ายและขวาของขุนหลวงอีก ๒ ศาล ชาวบ้านจะเซ่นสรวงดวงวิญญาณขุนหลวงและทหารปีละครั้ง ชาวบ้านเล่าว่า ดวงวิญญาณของขุนหลวงจะสถิตอยู่ ๓ แห่งได้แก่ บนดอยคว่ำหล้อง ศาลที่บ้านเมืองก๊ะ อำเภอแม่ริมและอีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณดอยคำ อำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้ของดอยสุเทพ ปัจจุบันบนยอดดอยมีวัดชื่อว่า วัดพระธาตุดอยคำ บนวัดแห่งนี้มีอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะประดิษฐานที่ลานวัดใกล้เจดีย์ และที่ดอยคำแห่งนี้เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของหัวหน้าลัวะซึ่งเป็นบรรพบุรุษของขุนหลวงวิรังคะ ชื่อว่า ปู่แสะ ย่าแสะ ซึ่งจะมีการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ ด้วยควายทุกปี หรือ ๓ ปีครั้ง

"ตำนานนักรบเจนจบมหาเวท
เป็นใหญ่อยู่ยั้งเขตลุ่มน้ำระมิงค์
มีนามว่าขุนวิรังคะทรงฤทธิ์เดชเดชา
ปกป้องบ้านเมืองลุ่มฟ้าประชาร่มเย็นสืบมา
เมื่อเอ่ยเมื่อได้มาเห็น เชิงรบบ่เคยยากเข็ญ
แต่เชิงรักสิมันยากเย็น...บ่เป็นใจแท้
เมื่อมาต้องใจเจ้าแม่...จามเทวี
ขัตติยะนารี พระนามนี้ลือไกล
วิรังคะเปิงใจ ใคร่ได้มาเป็นคู่ข้าง
เจ้าแม่ชาติขัตติยะ จามเทวีบ่มีหมองหมาง
แต่คงยากที่จะเคียงข้าง เป็นนางคู่พระบารมีเจ้าลัวะ...แลเฮย
งามเจ้างามโอ้แม่เอ๋ย เลยอ่านเหตุการณ์งานเมือง
จำแต่งเครื่องไปคารวะ เป็นบรรณาการ ผลงานพี่เจ้า
แม้นมีมหาเวทฤทธิ์ไกร จูงพี่เจ้าแหลงสะเหน้ามา
ยังกลางใจเมือง แยบยลจนสนั่นธรณี
เจ้าแม่เทวีมีกลศึกแยบคาย
ใส่หมายไว้ที่ปลายใบปูผ้าหัวผืนงาม
ขุนศึกหุนหันบ่ทันคิด มนต์ฤทธิ์จึงเสื่อมสลาย
สะเหน้าที่พุ่งมาหมายจึงวายเสียที่นอกเมือง
เจ้าลัวะจึงตรอมใจตาย วายชนม์เสียที่บนดอย
เผ่าลัวะเลยล่มสลายแต่นั้นมา"


ภาพ : Phayon Aui Rattanakul

ผู้ให้ข้อมูล

นายพานแก้ว จันทร์แย
นายและ จันตา
นางแบ๊ะ จันตา
นายวิชาญ จันตา
พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าออนไลน์
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 9:16 am

ร7เสด็จเชียงใหม่2469.jpg
ร7เสด็จเชียงใหม่2469.jpg (232.48 KiB) เปิดดู 11793 ครั้ง


เมื่อครั้งที่ ร.๗ เสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ ใน พ.ศ.๒๔๖๙
ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ ในครั้งนั้นทางเชียงใหม่ก็ได้จัดพิธีถวายการต้อนรับอย่างมโหฬารสมพระเกียรติ ได้รับขบวนรับเสด็จตั้งแต่สถานีรถไฟเชียงใหม่จนถึงที่ประทับ ณ ศาลากลางจังหวัด

วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ ทางการได้จัดพิธีทูลพระขวัญขึ้น โดยปลูกพลับพลาทองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและฝ่ายในพร้อมด้วยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้านายในมณฑลพายัพตลอดจนอาณาประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระราชนกูล สมุหเทศาภิบาล กราบบังคมทูลเบิกกระบวนแห่พิธีทูลพระขวัญแล้วผ่านถวายตัว แล้วจึงถึงกระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีเจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เป็นผู้นำพานทองพระขวัญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าจามรี ภริยาเจ้าแก้วนวรัฐ นำพานทองพระขวัญทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระบรมราชินี บายศรีและโต๊ะเงิน เครื่องเสวย เจ้านาย ณ เชียงใหม่ยกขึ้นไปตั้งหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับทั้ง ๒ พระองค์ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี, เจ้าจามรี, เจ้ามหาพรหมสุรธาดา, เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ทำพิธีทูลพระขวัญขึ้นบนพลับพลานั่งหน้าพระที่นั่งตามลำดับ แล้วเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านซึ่งอาวุโสที่สุดอ่านคำกราบบังคมทูบเชิญพระขวัญ

ในกระบวนแห่เครื่องพระขวัญมีเจ้านายฝ่ายเหนือทั้งหญิงและชายเดินเรียงแถวเป็นคู่ ซึ่งแบ่งเป็นกระบวนแห่เครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มี ๗ คู่นำโดย เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่กับเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน การแต่งกายของเจ้านายฝ่ายเหนือเวลาฟ้อน นุ่งเกี้ยวสวมเสื้อเยียระบับ คาดสำรดประดับด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อจากแถวเจ้านายฟ้อน มีมโหรทึกคู่ ๑ กับกองแอว แล้วถึงพานพระขวัญและบายศรีเก้าชั้น ส่วนกระบวนแห่เครื่องพระขวัญของสมเด็จพระบรมราชินี มีเจ้านายผู้หญิงพื้นเมืองฟ้อน นำโดย เจ้าทิพวรรณ กฤษดากร ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้าบวรเดช กับเจ้าหญิงส่วนบุญ ภริยาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์



เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จลงจากช้างพระที่นั่งแล้ว หมอช้างพระที่นั่งกราบบังคม ๓ ครั้ง เสด็จฯ จากเกยขึ้นสู่พลับพลาทอง มีเจ้านายผู้หญิงโปรยข้าวตอกดอกไม้นำเสด็จเพื่อความเป็นสิริมงคล คือหม่อมเจ้าหญิงฉัตรสุดา ในพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธินกับเจ้าบุษบง ณ ลำปาง บุตรีเจ้าบุญวาทวงศ์มานิต โปรยนำเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนเจ้าวงศ์จันทร์ ณ เชียงใหม่ บุตรีเจ้าราชบุตรกับเจ้าแววดาว บุตรีเจ้าราชวงศ์ โปรยนำเสด็จสมเด็จพระบรมราชินี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ประทับพระที่นั่งบนพลับพลาทอง ทอดพระเนตรกระบวนแห่ช้างหลวงเดินผ่านถวายตัว เมื่อเดินผ่านหน้าพลับพลาแล้วเลี้ยวไปเข้าเกยศาลารัฐบาลทางด้านเหนือ ฝ่ายช่างฟ้อนสำหรับต้อนรับซึ่งจัดไว้ ๔ คน ก็ออกฟ้อนรับที่หน้าพลับพลา ได้แก่ หม่อมเจ้าฉัตรสุดา ในพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน,เด็กหญิงอรอวบ บุตรีพระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์,เจ้าแววดาว บุตรีเจ้าราชบุตรและเจ้าอุบลวรรณา บุตรีเจ้าบุรีรัตน์

เจ้านายชายหญิง เมื่อฟ้อนมาถึงหน้าพลับพลาแล้วจึงนั่งลงถวายบังคม เจ้านายผู้ชายเดินขึ้นนั่งบนพลับพลาที่พื้นลดทางขวาที่ประทับ เจ้านายผู้หญิงเดินขึ้นไปนั่งบนพลับพลาที่พื้นลดทางซ้ายที่ประทับ จากนั้นเจ้าแก้วนวรัฐนำพานทองพระขวัญขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าจามรีภริยาเจ้าแก้วนวรัฐนำพานทองพระขวัญทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระบรมราชินี แล้วเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านจึงเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูลเชิญพระขวัญ

ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่นั้น ทางราชการได้จัดเตรียมการรับเสด็จที่วัดพระสิงห์ ซึ่งสร้างปะรำพิธีขนาดใหญ่บริเวณด้านเหนือของวิหาร ส่วนด้านหน้าของพระวิหารจะปลูกปะรำไว้สำหรับข้าราชการนั่งเฝ้า ภายในวิหารหลวงยกอาสน์สำหรับให้พระสงฆ์นั่ง ๒๐๐ รูป ส่วนวัดต่าง ๆ ที่จะเสด็จประพาสรวมถึงกำแพงเมืองซึ่งมีหญ้ารกรุงรังอยู่นั้น ก็ให้มีการแผ้วถางโดยมีหลวงพิศาลอักษรกิจ นายอำเภอช่างเคิ่ง (แม่แจ่ม) เป็นเจ้าหน้าที่



ส่วนการทำถนนไปวัดเจ็ดยอด และวัดกู่เต้านั้น ก็ให้มีการแผ้วถางบริเวณข่วงสิงห์ ข่วงช้างเผือกตลอดจนปรับปรุงถนนห้วยแก้ว โดยมีเจ้าราชสัมพันธ์ นายอำเภอบ้านแม (สันป่าตอง) กับนายสนิท เจตนานนท์เป็นเจ้าหน้าที่ ในการทำถนนแยกจากถนนลำพูนไปยังโรงพยาบาลโรคเรื้อนแมคเคน มีนายอั๋น เขียนอาภรณ์ ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอสารภีเป็นเจ้าหน้าที่ ส่วนการแต่งพื้นที่บริเวณศาลารัฐบาล บริเวณโรงช้าง และโรงเรียนตัวอย่าง (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) มีนายแดง ลิลิต นายอำเภอสะเมิง เป็นเจ้าหน้าที่


เรียบเรียงจาก ข่าวร้อยเรื่องเมืองล้านนา
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 9:19 am

26568.jpg
26568.jpg (33.41 KiB) เปิดดู 11793 ครั้ง


ประชาชนนั่งรอรับเสด็จ ฯ และเฝ้าชมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่ศาลาที่พักคนเดินทาง ถนนพระปกเกล้า ใกล้สี่แยกกลางเวียงเชียงใหม่ โดยมีทหารรักษาการณ์ ๒ คนยืนอยู่ด้วย ในวโรกาสที่ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙

ด้านหลังคือ หอพระญามังราย ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระญามังรายต้องอสนีบาตสวรรคตบริเวณสี่แยกกลางเวียงครั้งเสด็จชมตลาด ถือว่าเป็น "เชนเมือง" ที่จะทำพิธีสักการะบริเวณหอพระญามังรายนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ หอพระญามังราย อยู่ในเขตพื้นที่ของเอกชน แม้แต่ปัจจุบันคนเชียงใหม่ก็ยังไม่ทราบว่าที่แห่งนั้นมีหอพระญามังรายอยู่
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 9:20 am

26565.jpg
26565.jpg (31.19 KiB) เปิดดู 11793 ครั้ง


แถวนักเรียนโรงเรียนชัวย่งเส็ง ขณะรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อครั้งเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ.๒๔๖๙ ที่หน้าร้านกิติพานิช ของนายเจี๊ยว กิติบุตร คหบดีชาวเชียงใหม่ แถวถนนท่าแพ
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 9:22 am

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงรอรับเสด็จรัชกาลที่๗ ณ วัดสวนดอก

เจ้าดารารอรับร7วัดสวนดอก.png
เจ้าดารารอรับร7วัดสวนดอก.png (253.13 KiB) เปิดดู 11793 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 9:26 am

untitled.png
untitled.png (72.04 KiB) เปิดดู 11793 ครั้ง



เจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ ได้แก่ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน และเจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำขบวนแห่เครื่องทูลพระขวัญ รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๗ ส่วนเด็กหญิง ๔ คนที่กำลังฟ้อนอยู่ คือ เจ้านายฝ่ายเหนือ ๓ ท่าน กับเด็กหญิงอรอวล วสันตสิงห์ ธิดาพระยาเพชรพิสัยศรีสวัสดิ์ (แม้น วสันตสิงห์) ปลัดมณฑลประจำนครเชียงใหม่ (ท่านผู้หญิงแรอวล อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างฟ้อนรุ่นเยาว์ทั้ง ๔ ท่านนี้เป็นช่างฟ้อนที่พระราชชายาฯ ทรงจัดถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สำหรับฟ้อนรับขบวนเชิญขันทูลพระขวัญเข้าสู่พลับพลาพิธี
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 03 พ.ค. 2015 9:28 am

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อครั้งเสด็จประพาสนครแพร่ ปี พ.ศ.๒๔๖๙

ร7เสด็จแพร่.jpg
ร7เสด็จแพร่.jpg (74.04 KiB) เปิดดู 11793 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน

cron