ครูบา พระอริยสงฆ์ ที่เกี่ยวข้องกับดินแดนล้านนา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

ครูบา พระอริยสงฆ์ ที่เกี่ยวข้องกับดินแดนล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พฤหัสฯ. 07 พ.ค. 2015 9:08 pm

รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

1.หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
2.หลวงปู่นพ ภูวริ วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ
3.พระอาจารย์โพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน กรุงเทพฯ
4.หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา มีนบุรี กรุงเทพฯ
5.หลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาส กรุงเทพฯ
6.ครูบาวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
7.ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม จ.ลำพูน
8.หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
9.หลวงปู่ปัญญา คันธิโย วัดนาคตหลวง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
10.หลวงพ่อบุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง จ.ลพบุรี
11.หลวงพ่อเภา วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
12.หลวงปู่หิน อาโสโก วัดหนองนา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
13.หลวงพ่อเจริญ ติสสวัณโณ วัดเขาวงกต ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
14.หลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี
15.หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
16.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.ลพบุรี
17.หลวงปู่เก๋ วัดแม่น้ำสมุทรสงคราม
18.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่
19.หลวงปู่ครูบาน้อย วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
20.หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
21.ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง จ. เชียงใหม่
22.ครูบาอินสม วัดทุ่งน้อย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
23.ครูบาธรรมชัย วัดท่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
24.หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง - วัดทุ่งปุย จ.เชียงใหม่
25.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
26.หลวงปู่พรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
27.หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
28.หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ จ.นครสวรรค์
29.หลวงปู่ทอง วัดถ้ำทอง ต.ชอนเดื่อ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
30.หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ จ.นครสวรรค์
31.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
32.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
33.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม
34.หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม นครปฐม
35.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
36.หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี
37.หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
38.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
39.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
40หลวงปู่มหาทอง วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
41.หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
42.หลวงพ่อทองใบ วัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
43.พระอาจารย์ใบ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี
44.หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
45.หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ ชัยนาท
46.หลวงพ่อทบ เพชรบูรณ์ วัดช้างเผือก เพชรบูรณ์
47.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะฯ จ.กาญจนบุรี
48.หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแฝด จ.กาญจนบุรี
49.พระอาจารย์โหพัฒน์ โรงเจชุ่นเทียนติ้ว อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
50.หลวงพ่อชื่น วัดถำ้เสือ จ.กาญจนบุรี
51.หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี
52.หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
53.หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี
54.หลวงพ่อนิพนธ์ อัตถกาโม วัดจั่นเจริญศรี อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท
55.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
56.หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงหบุรี
57.หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
58.หลวงปู่นิล อิสสโร วัดครบุรี จ.นครราชสีมา
59.หลวงปู่แจ้ง วัดใหม่สุนทร จ. นครราชสีมา
60.หลวงปู่เสน อาจารย์ของหลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน อยุธยา
61.หลวงปู่บุญเลิศ วัดหัวเขา ลพบุรี
62.หลวงปู่สด วัดโพธิ์แดงใต้ อยุธยา
63.หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ จ.นครศรีธรรมราช
64.หลวงปู่เขียว วัดหรงบน อ.ปากพนัง จ.นครศรธรรมราช
65.พ่อท่านเกลื่อม ฐานิสสโดร วัดคคาวดี อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
66.พ่อท่านคล้าย วาจาศิษย์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช
67.หลวงพ่อพัฒน์ นารโท วัดพัฒนารามอ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
68.หลวงปู่สุวัฒน์ วัดศรีทวีป จ.สุราษฏร์ธานี
69.หลวงพ่อแดง วัดคุณาราม(เขาโปะ) เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี
70.หลวงพ่อพรหม วัดนาราเจริญสุข อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี
71.หลวงปู่เมฆ วัดป่าขวางปางพระเลไลย์ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
72.หลวงปู่ทอง วัดป่ากอ จ.สงขลา
73.หลวงพ่อเปียกวัดนาสร้าง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
74.หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
75.หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน จ.ชุมพร
76.หลวงปู่ไสย์ วัดเทพเจริญ จ.ชุมพร
77.พ่อหลวงคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร
78.หลวงพ่อพันธ์ วัดบางสะพาน อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
79.หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง จ.พิษณุโลก
80.หลวงพ่อทองใบ วัดอบทม อำเภอวิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง
81.หลวงพ่อเกษม วัดม่วง จ.อ่างทอง
82.หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
83.หลวงปู่นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
84.หลวงปู่สาย วัดหนองสองห้อง จ.สมุทรสาคร
85.หลวงพ่อวัด ประชาโฆษิตาราม จ.สมุทรสาคร
86.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
87.หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี
88.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง แถวๆ ดอนพุด จ.สระบุรี
89.หลวงปู่ใจ ฐิตธัมโม วัดหนองหญ้าปล้องใต้ อ.หนองแซง จ.สระบุรี
90.หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี แห่งวัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.อุบลราชธานี
91.หลวงปู่พรหมมา สำนักสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี
92.หลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม จ.ระยอง
93.หลวงปู่ทองทิพย์ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์ จ.หนองคาย
94.หลวงพ่อยวง วัดทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
95.หลวงพ่อเริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ ศรีราชา จ.ชลบุรี
96.หลวงพ่อแหวง วัดคึกคัก จังหวัดพังงา
97.หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
98.ท่านพ่อ ลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
99.หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ อยู่ในโลงแก้ว
100.หลวงปู่เหมือน วัดคลองทรายใต้ จ.สระแก้ว
101.หลวงพ่อท้วมวัดเขาโบสถ์ อยู่ในโลงแก้ว
102.หลวงพ่อเม้ย วัดราชเมธีงกร ราชบุรี
103.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน นนทบุรี
104.หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก เพชบูรณ์
105.หลวงปู่สิงห์ วัดแก้วโกรวาราม จังหวัดกระบี่
106.หลวงปู่แดง วัดเชิงเขา จ. นราธิวาส
107.หลวงพ่อแดง วัดทองดีประชาราม สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
108.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
109.หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ ราชบุรี
110.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
111.หลวงปู่คลิ้ง วัดถลุงทอง จ.นครศรีธรรมราช
112.หลวงพ่อซวง อภโญ แห่งวัดชีปะขาว
113.หลวงพ่อผัน วัดพรุศรี ต.พรุไทย อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี
114.หลวงพ่อแดง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
115.หลวงตาเลื่อน วัดสายออ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา
116.ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ลำพูน
117.หลวงพ่อยวง วัดทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
118.หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
119.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
120.หลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต เชียงราย
122.หลวงพ่อสาลี วัดเขาวัง เพชรบุรี
123.พ่อท่านกล่ำ วัดศาลาบางปู อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
124.พ่อท่านเปียก วัดนาสร้าง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
125.หลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่พัฒนาราม อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
126.หลวงปู่พล ธมมปาโล วัดหนองคณฑี อ. พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
127.ครูบาอุ่น สันกำแพง เชียงใหม่
128.หลวงปู่สนธิ์ สุมโน วัดเขาคอก จ .นครนายก
129.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา จ.พระนครศรีอยุธยา
130.หลวงปู่มหาอำพัน อาภารโณ วัดเทพศิรินทราวาส
131.หลวงพ่ออุตตมะ อุตมรัมโภ วัดวังวิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
132.หลวงพ่อสรวง ปริสุทโธ วัดถ้ำขวัญเมือง อ.สวี ชุมพร
133.หลวงปู่สาย ปภาโส วัดบางรักใหญ่
134.หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค อยุธยา
135.หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี
136.หลวงปู่อ่ำ วัดกำแพงถม อ.พรหมคีรี นครศรีธรรมราช
137.หลวงปู่กล่ำ วัดศาลาบางปู อ.เมือง นครศรีธรรมราช
138.พ่อท่านกลาย วัดเขาขุนพนม อ.พรหมคีรี นครศรีธรรมราช
139.หลวงปู่กล่อม (พระธรรมวราลังการ วัดปุบผาราม) วัดเพ็ญญาติ อ.นาบอน นครศรีธรรมราช
140.พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ อ.เชียรใหญ่ นครศรีธรรมราช
141.หลวงพ่อเภา วัดชายเคือง อ.เชียรใหญ่ นครศรีธรรมราช
142หลวงพ่อถนอม วัดยางหมู่ อ.กาญจนดิษฐ์
143.หลวงพ่อโม วัดจันทาราม สรรค์บุรี ชัยนาท
144.หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก
145.หลวงปู่บุญมี วัดสระประศานสุข อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
146.ญาท่านสวน ฉนทโร วัดนาอุดม อุบล
147.หลวงพ่อผล วัดเชิงหวาย
148.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์
149.พระครูวิมลจันทรังสี วัดบน บ่อพุ จันทบุรี
150.ท่านอาจารย์สำเภา วัดบน บ่อพุ จันทบุรี
151.หลวงพ่อตั๋ง วัดโหพธิ์เอน อยุธยา
152.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
153.หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ นครปฐม
154.หลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต วัดสำนักขุนเณร อ.ดงเจริญ จ.พิจิตร
155.หลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา จ.ศรีษะเกศ
156.ท่านบ๋าวเอิง พระสงฆ์อานัมนิกาย วัดญวนสะพานขาว กรุงเทพฯ
157.หลวงจีนวังสมาธิวัตร วัดมังกรกมลาวาส เยาวราช กรุงเทพ
158.หลวงปู่อิเกสาโร ถ้ำเอราวัณ จ.กาญจนบุรี
159.หลวงปู่สาย วัดหนองสองห้อง จ.สมุทรสงคราม
160.หลวงปู่ธรรมรังษี วัดพระพุทธบาทพนมดิน อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
161.หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย อยุธยา
162.หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน อ. เส้าไห้ จ.สระบุรี
163.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
164.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
165.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวิเววังการาม จ.กาญจนบุรี
166.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
167.หลวงพ่อลอย วัดปากน้ำระนอง
168.หลวงปู่แสวง วัดสว่างภพ จ.ปทุมธานี
169.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม
170.หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อยุธยา
171.หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน อ่างทอง
172.ครูบาอินสม วัดเมืองราม
173.ครูบาคํา วัดศรีดอนตัน เชียงใหม่
174.ครูบาอินเพชร จนฺทสโร วัดป่าเหมือด อ.ดอยสะเก็ด เชียงใหม่
175.หลวงปู่นาค วัดแหลมสน ต.ปากน้ำหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร
176.หลวงพ่อสำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
177.หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
178.หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน
179.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อุตรดิถต์
180.หลวงปู่บุญมาก วัดท่าเดื่อ อ.เมือง จ.ลพบุรี
181.หลวงปู่ฮวด วัดหัวถนนใต้ จ.นครสวรรค์
182.หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
183.หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบฯ
184.หลวงปู่เฮง วัดบางมดโสธรวราราม กทม
185.หลวงปู่สนธิ์ วัดท่าดอกแก้ว
186.พ่อท่านกลาย วิปุโล วัดเขาขุนพนม อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
187.หลวงปู่อ่ำ จนฺทวํโส วัดกำแพงถม ต.นาเรียง อ.พรหมคีรี นครศรีธรรมราช
188.หลวงปู่นิล วัดครบุรี จ.นครราชสีมา
189.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว เสนา อยุธยา
190.ครูบาอินสม วัดนาเหลือง ต.นาเหลืองใน อ.เวียงสา จ.น่าน
191.หลวงตาสร้อย วัดเลียบราษฎร์บำรุง กทม
192.หลวงพ่อกร่าย วัดโพธิ์ศรี อ่างทอง
193.หลวงปู่ครึ้ม วัดคลองสวน พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
194.หลวงปู่เสาร์ วัดกุดเวียน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
195.หลวงพ่อพล วัดวังยายหุ่น
196.หลวงพ่อเเต้ม วัดพระลอย
197.หลวงพ่อแป้น ธัมธโรภิกขุ วัดไทรงาม จังหวัดสุพรรณบุรี
198.หลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว จังหวัด สระบุรี
199.หลวงพ่อชด วัดซับข่อย วังชมพู อ.เมือง เพชรบูรณ์
200.ครูบาอุ่น อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
201.หลวงปู่ครูบาคำ วัดศรีดอนตัน จ.ลำพูน
202.ครูบาอินตา ธนกฺขนฺโธ วัดวังทอง อ.เมือง จ.ลำพูน
203.ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ จ.ลำพูน
204.หลวงพ่อสุเทพ วัดแสงดาว จังหวัดพิษณุโลก
205.หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร นครปฐม
206.หลวงพ่อผัน วัดเทพวนาราม(วัดม่าหนิก) อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
207.หลวงพ่อผัน วัดแปดอา สระบุรี
208.หลวงพ่อสำลี วัดซับบอน ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
209.หลวงปู่บ๊ก วัดเนินพยอม จ.อุทัยธานี
210.หลวงพ่อเทพ วัดชะลอ นนทบุรี
211.ครูบาคำปัน วัดนาแส่ง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
212.หลวงปู่ทองพูล วัดแสงสรรค์ ปทุมธานี
213.หลวงพ่อแล วัดพระทรง เพชรบุรี
214.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
215.หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี
216.หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
217.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา
218.หลวงปู่คำดี จันโท วัดแสนสำราญ อำเภอเลิงนกทา จ.ยโสธร
219.พระครู สุมนวิศาล(หลวงพ่อชั้น)ต.ปากท่า อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
220.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จ.ราชบุรี
221.หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า สงขลา
222.หลวงพ่อเรือง วัดหัววัง สงขลา
223.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
224.หลวงพ่อบุญมาก วัดโพธิบางระมาด ตลิ่งชัน กรุงเทพ
225.หลวงพ่อทวี วัดโบสถ์สามัคคีธรรม ต.บางแก้ว อ.บรรพตพิสัย
226.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
227.หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ นครสวรรค์
228.หลวงพ่อทองดี วัดไทรเหนือ
229.หลวงปู่ท้าว สำนักวชิรกัลยา
230.หลวงปู่บุญศรี วัดใหม่ศรีสุทธารามวาส
231.ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
232.หลวงพ่อด่วน วัดบางนอน ระนอง
233.ท่านพ่อใย วัดมะขาม อ.มะขาม จ.จันทบุรี
234.พ่อท่านล่อง วัดสุขุม อ.ปากพนัง นครศรีธรรมราช

ที่มา พลังจิต
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 10 พ.ค. 2015 5:06 pm

พระราชพุทธิมงคล หรือหลวงปู่บัวทอง ตนฺติกโร อายุ 89 ปี มรณภาพ แต่สรีระไม่เน่าเปื่อย เผยหลวงปู่เป็นพระสายกรรมฐานสายเดียวกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิม หลวงปู่คำแสน หลวงปู่ตื้อ หลวงมหาตาบัว นั่นเอง

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 14 พ.ค. 2555 ได้มีลูกศิษย์และคณะกรรมการวัดโรงธรรมสามัคคี “บ้านกาดสามัคคี “เลขที่ 65 หมู่ 7 ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ จำนวนมาก ได้ทำการเปิดหีบศพโลงแก้วที่บรรจุศพร่างของพระเทพราชพุทธิมงคล หรือหลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร อายุ 89 ปี เกจิชื่อดังของล้านนาที่ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราอย่างสงบได้ 1 ปีเต็ม

หลังจากทำพิธีต่างๆแล้ว ทางลูกศิษย์จึงได้บรรจุศพของหลวงปู่ทองบัวลงไว้ในหีบศพโลงแก้ว โดยได้เอาผ้าขาวคุมเอาไว้ในศาลาโดยมีโต๊ะหมู่เครื่องสักการะเพื่อลูกศิษย์จะได้มากราบไหว้ เมื่อทางลูกศิษย์เมื่อเปิดโลงหีบศพแก้วของหลวงปู่ทองบัวออก ลูกศิษย์ต้องตะลึงพบว่าร่างกายของหลวงปู่ทองบัวยังอ่อนนิ่มเหมือนเดิม ที่สำคัญได้มีขนขึ้นเต็มตัวตามและร่างกายเต็มไปหมด ไม่ว่าขนตาเส้นผมได้ขึ้นยาวจำนวนมากและหลายเซ็น ร่างกายก็เต่งตึง ไม่เน่า ไม่มีกลิ่น ลูกศิษย์ต่างยกมือกราบไหว้ท่วมหัวกันยกใหญ่ต่างกล่าวคำว่าสาธุกันเป็นแถวต่างขนลุกไปตามๆกัน
ไฟล์แนป
1962868_616029485141523_240437552_n.jpg
1962868_616029485141523_240437552_n.jpg (86.6 KiB) เปิดดู 21641 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 10 พ.ค. 2015 5:07 pm

ครูบาอุ่น พระอริยสงฆ์แดนล้านนาที่มรณภาพแล้ว ๑๑ ปีสรีระไม่เน่าเปื่อยและศรีษะขึ้นรูปก้นหอย(เกศาพระเจ้า)

1394180_532821103462362_1217571138_n.jpg
1394180_532821103462362_1217571138_n.jpg (13.76 KiB) เปิดดู 21641 ครั้ง


ครูบาอุ่น วัดป่าแดง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๓ ธ.ค.๒๕๔๔ สิริรวมอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕ ในวันมรณภาพนั้น ได้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์คือ ขณะที่ศิษยานุศิษย์และแพทย์ได้ช่วยกันตกแต่งสรีระทำความสะอาดร่างและครองผ้าจีวรใหม่ให้กับท่าน ปรากฏว่าที่ศีรษะของครูบามีรอยนูนเล็กๆ เริ่มจากท้ายทอยและเพิ่มมากขึ้นๆลักษณะเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเท่าๆ กัน โดยรอยนูนนั้นชัดเจนมาก คล้ายๆ กับเศียรพระพุทธรูป อีกทั้งใบหูของท่านก็ยาวขึ้นด้วย เป็นที่ปลื้มปีติแก่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมาก ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๒๕๔๕ อันเป็นวันที่จะประกอบพิธีบรรจุสรีระของครูบาลงในหีบแก้วเหตุการณ์เดิมก็บังเกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ร่างกายของท่านยังอ่อนนุ่มเหมือนคนนอนหลับไปเฉยๆไม่แข็งกระด้างเหมือนคนที่เสียชีวิตทั่วไปและไม่มีกลิ่นเหม็น ทั้งๆ ที่มรณภาพมาแล้วถึง ๒๕ วันเป็นที่ประจักษ์ของชาวบ้านและศิษยานุศิษย์จำนวนมาก

บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 10 พ.ค. 2015 5:09 pm

หลวงปุ่หล้า.jpg
หลวงปุ่หล้า.jpg (93.23 KiB) เปิดดู 21641 ครั้ง


ประวัติพระครูจันทสมานคุณ หรือหลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง มรณภาพลงเมื่อวันที่ 16 ก.พ.36 มีอายุได้ 96 ปี เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดัง ของภาคเหนือ ทั้งนี้ในบรรดาพระเกจิชื่อดังของเชียงใหม่ นอกจากครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา หลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ชื่อของหลวงปู่หล้าวัดป่าตึง น่าจะถูกรวมอยู่ในบรรดาพระเกจิผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบด้วย ชื่อเสียงของหลวงปู่หล้า เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เนื่องด้วยท่านเป็นพระที่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักศีลธรรมอันงดงาม หลวงปู่หล้าท่านได้รับสมญานามจากศรัทธาญาติโยมว่า มีญาณวิเศษ ที่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ จนชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่หล้า ตาทิพย์”

หลวงปู่หล้า (พระครูจันทสมานคุณ) ท่านเกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งอยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียง ใหม่องค์ที่ 7 (พ.ศ. 2426-2439) กับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2442-2452) หลวงปู่หล้าเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำเดือน 11 ตรงกับวันที่ 22 กันยายน 2441 ที่บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โยมพ่อชื่อ นายเงินโยมแม่ชื่อ นางแก้ว นามสกุล บุญมาคำ

เมื่อหลวงปู่หล้าอายุได้ 8 ขวบ โยมแม่ก็นำไปฝากกับครูบาปินตา เจ้าอาวาสวัดป่าตึงให้เป็นเด็กวัด หลวงปู่หล้า จึงได้มีโอกาสเรียนหนังสือเป็นครั้งแรกกับครูบาอินตา ซึ่งสมัยนั้นจะเรียนหนังสือพื้นเมือง จนอายุได้ 11 ขวบ ก็ได้บวชเป็นสามเณรในช่วงเข้ารุกขมูล เข้ากรรมอยู่ในป่า การเข้ากรรม หรืออยู่กรรม เรียกว่าประเพณีเข้าโสสานกรรม ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาที่พระสงฆ์จะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งมักจะกระทำกันในบริเวณป่าช้าที่อยู่นอกวัด พระสงฆ์และผู้ที่เข้าบำเพ็ญโสสานกรรม จะต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดเพื่อต้องการบรรเทากิเลสตัณหา
จนกระทั่งอายุได้ 18ปีจึงเดินทางไปจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่เพื่อเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพน หลวงปู่หล้าเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพนเพียง 1 ปียังไม่ทันสำเร็จก็ต้องเดินทางกลับวัดป่าตึง เพื่อปรนนิบัติครูบาปินตาที่ชราภาพ หลวงปู่หล้าอยู่ปรนนิบัติครูบาปินตาจนกระทั่งล่วงเข้าปี พ.ศ.2467 ครูบาปินตาก็มรณภาพ ด้วยวัย 74 ปี ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่หล้าอายุ 27 ปีเท่านั้น หลวงปู่หล้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึงต่อจากครูบาปินตา เมื่อปี พ.ศ. 2467 และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้า คณะตำบลออนใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2476 จนเมื่อปี 2504 หลวงปู่หล้าได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูจันทสมานคุณ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 63 ปี

มีคนพากันยกย่องหลวงปู่หล้าว่า ท่านสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก หลวงปู่บอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าและทรุดโทรมมากและมีต้นลานขนาดใหญ่อยู่ข้างกุฏิ ปรากฏว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพัง พระเณรที่อยู่ในวัดทุกคนปลอดภัยและพากันสรรเสริญว่าท่านมีตาทิพย์ นอกจากนั้นพระพิชิต สมหิโต รองเจ้าอาวาสวัดป่าตึง (ในปัจุบัน 2554) เล่าให้ฟังว่า เช้าวันหนึ่งเวลาประมาณตี 5 หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารเพราะจะมีแขกมาหาที่วัด ครั้นพอถึงเวลา 6 โมงในหลวงทรงเสด็จมาที่วัดป่าตึงด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงพากันเรียกท่านว่า “หลวงปู่หล้า ตาทิพย์”

หลวงปู่หล้าเจริญอายุมาถึง 97 ปี ก็มรณภาพเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2536ปัจจุบันนี้ศพของหลวงปู่หล้าถูกบรรจุไว้ในโลงแก้วที่ประดับประดาด้วยดอกไม้ ตั้งอยู่บนกุฏิไม้สักที่งดงามในวัดป่าตึง หลวงปู่หล้า เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านถือปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงอาบศพ แม้ว่าหลวงปู่หล้าจะมรณภาพจากไปแล้ว ก็เป็นเพียงการจากไปแต่สรีระร่างกายเท่านั้น แต่คุณงามความดีที่ท่านได้สร้างเอาไว้หาได้ดับไปด้วยไม่ ใครได้มีโอกาสผ่านไปสันกำแพงอย่าลืมไป ไหว้หลวงปู่หล้าวัดป่าตึงเพื่อเป็นสิริมงคลวัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 10 พ.ค. 2015 5:11 pm

ครูบาชัยวงศ์

ประวัติ viewtopic.php?f=6&t=624

ครูบาชัยวง.jpg
ครูบาชัยวง.jpg (54.92 KiB) เปิดดู 21641 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 10 พ.ค. 2015 5:12 pm

ประวัติ ครูบาเจ้าอินสม สุมะโน วัดทุ่งน้อย เชียงใหม่


11181338_833121013432368_3460294693042536337_n.jpg
11181338_833121013432368_3460294693042536337_n.jpg (35.92 KiB) เปิดดู 21641 ครั้ง



ท่านครูบาอินสม สุมะโน เป็นพระเถระที่อุดมไปด้วยศีลและจริยวัตรที่งดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาจึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอพร้าวและจังหวัดเชียงใหม่ ท่านครูบาอินสมได้บรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่เด็กจนมรณภาพในเภทบรรพชิต สมกับเป็นพระอริยสงฆ์ในบวรพุทธศาสนา
ครูบาอินสม สุมโน เดิมชื่ออินสม เปราะนาค เกิดวันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับเดือนเกี๋ยงเหนือขึ้น ๑ ค่ำ ณ บ้านป่าหวาย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมสายโลหิต ๔ คน ท่านครูบาอินสมเป็นคนที่ ๑


เมื่ออายุได้ ๑๒ ปีได้เข้ามาอยู่เป็น ขะโยม(เด็กวัด) บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ อายได้ ๑๓ ปี โดยมีท่านครูบาสีธิวิชโยเป็นพระอุปชัณาย์และอาจารย์ ต่อมาได้บวรอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๖๔ มีท่านครูบาสีธิวิชโยเป็นพระอุปชณาย์ ท่านครูบาอินสม มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ด้วยโรคชราสิริอายุได้ ๙๖ ปี ๗๖ พรรษา (หลังมรณภาพสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย) พระราชทานเพลิงศพ พ.ศ.๒๕๔๒
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 10 พ.ค. 2015 5:15 pm

หลวงพ่อเกษม เขมโก


view_resizing_images.jpg
view_resizing_images.jpg (33 KiB) เปิดดู 21640 ครั้ง


กราบสักการะสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งล้านนาในอดีตอีกรูป คือ หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ ผู้เปี่ยมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา จนได้รับการยอมรับยกย่องให้เป็น "เนื้อนาบุญที่ยิ่งใหญ่ในพระ พุทธศาสนา"

หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นเครือญาติสายตรงของตระกูล ณ ลำปาง ซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ในจังหวัด เกิดที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่ น้ำวัง อำเภอเมือง เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๕ เมื่อวัยเด็กเป็นคนรูปร่างค่อนข้างบอบบาง ผิวขาว แต่ดูเข้มแข็ง คล่องแคล่ว และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๕ ได้ ๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรหน้าไฟในงานศพเจ้าอาวาสวัดบุญยืน (วัดป่าดั๊ว) เป็นเวลา ๗ วัน นับเป็นการสร้างพื้นฐานความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๐ ท่านจึงตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้ง

จากนั้นชีวิตท่านก็เริ่มเข้าสู่ร่มเงาพระบวรพุทธศาสนาอย่างแท้จริง สามเณรเกษมเริ่มฉายแววแห่งความเป็นเลิศในเส้นทางธรรม มุ่งมั่นและจริงจังที่จะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพระธรรมวินัย ศึกษาอักขระขอม ตลอดจนภาษาพื้นเมือง เพื่อจะได้ทำความเข้าใจในพระธรรมคัมภีร์ที่จารขึ้นด้วยอักขระโบราณในกลุ่มเมืองทางเหนือให้กระจ่างชัดขึ้น โดยฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาจันตาหรือพระครูพิชัยมงคล เจ้าอาวาสวัดพิชัยมงคล ผู้เชี่ยวชาญแตกฉานในด้านภาษาโบราณและวิทยาคมเร้นลับต่างๆ และในช่วงนี้เองที่ทำให้ท่านได้เริ่มฝึกวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าอันวิเวกท้ายวัดพิชัยมงคล และเริ่มรับรู้ถึงความสงบจากการเจริญภาวนาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของวัตรปฏิบัติที่มุ่งการปฏิบัติภาวนา เพื่อหาทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

ปี พ.ศ.๒๔๗๕ สามเณรเกษมได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดบุญยืน ได้รับฉายา "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม นับแต่นั้นมาเส้นทางตามรอยพระบรมศาสดาของท่านก็แจ่มชัดสว่างไสว ด้วยปณิธานอันแรงกล้าที่จะสืบทอดพระศาสนา และแสวงหาความหลุดพ้นจากอนิจจัง อันเป็นความไม่เที่ยงแท้ของโลก ท่านสนใจใฝ่ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง จึงหมั่นศึกษาภาษาบาลีเป็นพิเศษ สามารถสอบนักธรรมเอกได้ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ การลด ละ วาง ของท่านเริ่มแสดงให้เห็นจากการที่ท่านปฏิเสธการเข้าสอบเปรียญ ๓ ประโยค ซึ่งจะนำสู่การมีสมณศักดิ์ จุดประสงค์สำคัญของหลวงพ่อเกษมหาได้อยู่ที่สมณศักดิ์ไม่ ท่านต้องการตีความและเข้าใจในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ให้แจ่มแจ้งมากกว่า

หลวงพ่อเกษมให้ความสน ใจในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นพิเศษ จึงฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาแก่น สุมโน พระภิกษุ ฝ่ายอรัญวาสีผู้เจริญวิปัสสนาและถือธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติ เมื่อเจ้าอาวาสวัดบุญยืนมรณ ภาพ คณะสงฆ์และชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อเกษมให้รับตำแหน่งสืบต่อ ซึ่งตอนแรกท่านไม่สู้เต็มใจนักด้วยเห็นว่าเป็นเครื่องถ่วงต่อการแสวง หาความหลุดพ้น แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าการดูแลภารกิจของวัดก็เป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่งในฐานะผู้สืบทอดพระศาสนา ท่านจึงตกลงเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ปี พ.ศ.๒๔๙๒ ภารกิจของ วัดเริ่มเบาบางลง ท่านจึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่ถูกคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ยับยั้งเป็นเวลาหลายปี จนในที่สุดท่านจึงตัดสินใจหลบออกจากวัดบุญยืนเงียบๆ ทิ้งเพียงข้อความบอกลาชาวบ้าน ซึ่งตอนหนึ่งกล่าวถึงความตั้งใจของท่านไว้ดังนี้ "ทุกอย่างเราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้ว การเป็นเจ้าอาวาสเปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัวต้องรับภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการวิเวกไม่ขอกลับมาอีก"


จากนั้นหลวงพ่อเกษมเริ่มเจริญวิปัสสนาตามสถานที่วิเวกต่างๆ เช่น ป่าช้าของศาลาวังทาน ป่าช้าบนดอยแม่อาง ฯลฯ ก่อนที่จะปักหลักตั้งมั่นบำเพ็ญธรรมที่ป่าช้าประตูม้า ซึ่งก็คือ "สุสานไตรลักษณ์" และต่อมาก็กลายเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเกษม เขมโก จนชื่อเสียงและเกียรติคุณขจรขจายไปทั่วประเทศ ดังที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้เปรียบเทียบไว้ใน "หนังสืออนุสรณ์ครบรอบ ๘๐ พรรษา ของหลวงพ่อเกษม" ความว่า

"ชีวิตและปฏิปทาของหลวงพ่อเกษม เขมโก ย่อมเตือนใจให้ระลึกถึงพระพุทธพจน์ที่ว่า สีลคนโธ อนุตตโร กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งปวง"

หลวงพ่อเกษมละสังขารเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๙ นับเป็นการสูญเสียพระอริยสงฆ์ผู้มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด ตัดแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวง ลาภ ยศ ชื่อเสียง หลุดพ้นจากวัฏสงสารด้วยดวงจิตที่แน่วแน่ ประกอบด้วยการบำเพ็ญศีลอันบริสุทธิ์ มีสมาธิตั้งมั่น และปัญญาแห่งธรรมอันสว่างไสว ที่จะหาได้ยากยิ่งในโลกปัจจุบัน แม้กาลเวลาจะล่วงเลยไปนานเพียงใด ท่านยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาและยึดมั่นของพุทธศาสนิกชนไม่เสื่อมคลาย วัตถุมงคลต่างๆ ที่ท่านจัดสร้างหรือปลุกเสกก็ล้วนทรงคุณค่า เป็นที่นิยมสะสม และแสวงหาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ทุกวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน จะมีลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนจากทั่วทุกสารทิศมารวมกันที่สุสานไตรลักษณ์ เพื่อร่วมทำบุญและกราบสักการะหลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นประจำทุกปี
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อังคาร 09 มิ.ย. 2015 5:36 pm

ประวัติหลวงพ่อทวด

"เรื่องหลวงพ่อทวด"

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือกันมาว่า ทุกๆ สมัย เกิดมีพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จ ๔ องค์ด้วยกัน คือ
๑. สมเด็จเจ้าเกาะยอ
๒. สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
๓. สมเด็จเจ้าจอมทอง
๔. สมเด็จเจ้าพะโคะ

แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์"จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕ บิดาชื่อตาหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้วจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ในเวลานี้)

ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจนได้อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนาม สองสามีภรรยาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟเนื่องจากการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ได้อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กันให้ลูกนอน แล้วพากันลงนาเก็บเกี่ยวข้าวต่อไป ขณะที่สองผัวเมียกำลังเก็บเกี่ยวข้าวอยู่นั้น นางจันทร์ได้เป็นห่วงลูกและได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฎว่ามีงูบองตัวโตกว่าปกติได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน สองสามีภรรยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้นเพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครจะสามารถช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูงขึ้น ส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัวจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย

ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรน้อยของตนเลยจึงเกิดความสงสัยว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตรบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหาดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชาและกราบไหว้งูใหญ่พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐานขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปลอันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูทารกที่เปลปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ลูกกระเดือกแก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสีสองสามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้ คหบดีเจ้าของบ้านทราบความจึงขอแก้วดวงนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้นเมื่อได้แก้วพยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วต่อมาไม่นานก็เกิดวิปริตให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดีจนไม่มีทางแก้ไขได้ จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพราะยึดดวงแก้วพยางูนั้นไว้จึงให้โทษและเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภรรยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้นปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหาเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

เมื่อกาลล่วงมานานจนเจ้าปู่อายุ ๗ ปี บิดามารดาได้นำไปถวายสมภารจวงให้เรียนหนังสือ ณ วัดดีหลวง เด็กชายปู่ศึกษาเล่าเรียนมีความเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าเพื่อนคนใด ๆ เมื่อเด็กชายปู่มีอายุ ๑๕ ปี สมภารจวงผู้เป็นอาจารย์ได้บวชให้เป็นสามเณร ต่อมาท่านอาจารย์ได้นำไปฝากท่ารพระครูสัทธรรมรังสีให้เรียนหนังสือมูลกัจจายน์ ณ วัดสีหยัง (วัดสีคูยัง อ.ระโนด เวลานี้)

สามเณรปู่เรียนมูลกัจจายน์อยู่กับท่านพระครูสัทธรรมรังสี ซึ่งคณะสงฆ์ส่งท่านมาจากกรุงศรีอยุธยาให้เป็นครูสอนวิชามูล ฯ ทางหัวเมืองฝ่ายใต้ ในสมัยนั้นมีพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนกันมากสามเณรปู่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดส่อนิสัยปราชญ์มาแต่กำเนิด ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชามูล ฯ อยู่ไม่นานก็สำเร็จเป็นที่ชื่นชมของอาจารย์เป็นอย่างมาก เมื่อสามเณรปู่เรียนจบวิชามูล ฯ แล้วได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียนต่อยังสำนักพระครูกาเดิม ณ วัดสีเมือง เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อครบอายุบวชพระครูกาเดิมผู้เป็นอาจารย์จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธศาสนา ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า "สามีราโม" ณ สถานที่คลองแห่งหนึ่งโดยเอาเรือ ๔ ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพทำญัติ ต่อมาคลองแห่งนั้นมีชื่อเรียกกันว่าคลองท่าแพจนบัดนี้

พระภิกษุปู่เรียนธรรมอยู่สำนักพระครูกาเดิม ๓ ปี ก็เรียนจบชั้นธรรมบทบริบูรณ์พระภิกษุปู่ได้กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดสีมาเมืองกลับภูมิลำเนาเดิม ต่อมาได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระจะไปกรุงศรีอยุธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีกเรือสำเภาใช้ใบแล่นถึงเมืองนครศรีธรรมราช นายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบกไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีชาวเรือเดินทางไกลซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง ๓ วัน ๓ คืน วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ฝนตกมืดฟ้ามัวดินคลื่นคนองเป็นคลั่งเรือจะแล่นต่อไปไม่ได้จึงลดใบทอดสมอสู้คลื่นลมอยู่ถึง ๓ วัน ๓ คืน จนพายุสงบเงียบลงเป็นปกติ แต่เหตุการณืบนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมากเรพาะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารนายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้นในเหตุการณ์ครั้งนั้นหาว่าเป็นเพราะพระภิกษุปู่พลอยอาศัยมาจึงทำให้เกิดเหตุร้ายซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาแต่ก่อนเลย ผู้บันดาลโทสะย่อมไม่รู้จักผิดชอบฉันใดนายเรือคนนี้ก็ฉันนั้น เขาจึงได้ไล่ให้พระภิกษุปู่ลงเรือใช้ให้ลูกเรือนำไปขึ้นฝั่งหมายจะปล่อยให้ท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่พระภิกษุปู่ลงนั่งอยู่ในเรือเล็กท่านได้ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้วบอกให้ลูกเรือคนนั้นตักน้ำขึ้นดื่มกินดู ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้นจึงบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบพวกกะลาสีบนเรือใหญ่จึงพากันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหาย พากันอัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่มยิ่งนัก ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือจึงได้ดื่มน้ำพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่จืดนั้นมีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียนนอกนั้นเป็นน้ำเค็มตามธรรมชาติของทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้นขึ้นบรรจุภาชนะไว้บนเรือจนเต็ม นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านเป็นที่อัศจรรย์เช่นนั้นก็เกิดความหวาดวิตกภัยภิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่านจึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้นบนเรือใหญ่แล้วพากันการบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำหยาบต่อท่านมาแล้วและถอนสมอใช้ใบแล่นเรือต่อไปเป็นเวลาหลายวันหลายคืนโดยเรียบร้อย
ขณะเรือสำเภาถึงกรุงศรีอยุธยาเข้าจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้วนายอินทร์ได้นิมนต์ท่านให้เข้าไปในเมืองแต่ท่านไม่ยอมเข้าเมือง ท่านปรารถนาจะอยู่ ณ วัดนอกเมืองเพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบดีและได้ไปอาศัยอยู่ ณ วัดราชานุวาส ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองขณะนั้นพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยนั้นประเทศลังกาอันมีพระเจ้าวัฏฏะคามินีครองราชเป็นเจ้าแผ่นดินมีพระประสงค์จะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ แต่พระองค์ไม่มีประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดการรบราฆ่าฟันและกันให้ประชาชนข้าแผ่นดินเดือดร้อนจึงมีนโยบายอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะประเทศอื่นโดยการท้าพนัน พระองค์จึงตรัสสั่งให้พนักงานพระคลังเบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวงมอบให้แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อเป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด แล้วมอบให้แก่พราหนณ์ผู้เฒ่า ๗ คน พร้อมด้วยข้าวของอันมีค่าบรรทุกลงเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยพระราชสาส์นให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๗ นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุศรีอยุธยา เมื่อเรือสำเภาจอดท่ากรุศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๗ ได้พากันเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาและถวายสาส์น
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาส์นความว่า พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบเรียงลำดับให้เสร์จภายใน ๗ วัน ถ้าแปลแและเรียบเรียงได้ทันกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอภวายข้าวของอันมีค่าทั้ง ๗ ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนดให้พระเจ้ากรุงไทยจัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นราชบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปีตลอดไป

เมื่อพระองค์ทรงทราบพระราชสาส์นอันมีข้อความดังนั้น จึงทรงจัดสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนด เมื่อประกาศไปแล้ว ๖ วัน ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้ พระองค์ทรงปริวิตกยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่ามีพระยาช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตกขึ้นยืนอยู่บนพระแท่นในพระบรมมหาราชวังได้เปล่งเสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้นและทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่าประเทศชาติจะเสียอธิปไตยและเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพทรงพระวิตกกังวลไม่เป์นอันบรรทมจนรุ่งสาง

เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรงสั่งให้โหรหลวงเข้าเฝ้าโดยด่วนและทรงเล่าสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนายเพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดีประการใด เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมทูลว่าตามพระสุบินนิมิตนี้จะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศเมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง
ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้นบังเอิญศรีธนญชัยไปพบพระภิกษุปู่ที่วัดราชานุวาส ได้สนทนาปราศรัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ ) เพื่อศึกษาธรรม ศรีธนญชัยเล่าเรื่องกรุงลังกาท้าพนันให้แปลธรรม แล้วถามว่าท่านยังจะช่วยแปลได้หรือ พระภิกษุปู่ตอบว่าถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ท่านเข้าเฝ้า ณ ที่ประชุมสงฆ์ ขณะที่พระภิกษุปู่ถึงประตูหน้าวิหาร ท่านย่างก้าวขึ้นไปยืนเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง ทันทีนั้นศิลาแลงได้หักออกเป็นสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก เมื่อเข้าไปในพระวิหารพระทหากษัตริย์ตรัสสั่งพนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันสมควร แต่ก่อนที่ท่านจะเข้านั่งที่แปลพระธรรมนั้นท่านได้แสดงกิริยาอาการเป็นปัญหาธรรมต่อหน้าพราหมณ์ทั้ง ๗ กล่าวคือ ท่าแรกท่านนอนลงในท่าสีหะไสยาสน์ แล้วลุกขึ้นนั่งทรงกายตรงแล้วกะเถิบไปข้างหน้า ๕ ที แล้วลุกขึ้นเดินเข้าไปนั่งในที่อันสมควร พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง ๗ เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรมของพระบรมศาสดา อะไรจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลายครั้ง ท่านจึงหัวเราะ แล้วถามพรามณ์ว่า ประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาเช่นนี้บ้างหรือ ? พราหมณ์เฒ่าฉงนใจก็นิ่งอยู่ ต่างนำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที
เมื่อพระภิกษุปู่รับประเคนบาตรจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่งสงบจิตอธิษฐานแต่ในใจว่า ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนครตลอดถึงเทวาอารักษ์ศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบัลดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่มาขัดขวางขอให้แปลพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์สำเร็จสมปรารถนาเถิด ครั้นแล้วท่านคว่ำบาตเททองเรี่ยราดลงบนพรมและนั่งคุยกับพราหมณ์ตามปกติ
ด้วยอำนาจบารมีอภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาประกอบกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เทพยดาทั้งหลายจึงดลบันดาลเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับตัวอักษรโดยเรียบร้อยใน้วลานั้น ชั่วครู่นั้นท่านก็ได้เหลียวกลับมาลงมือเรียบเรียงและแปลอักษรในเมล็ดทองคำจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด เป็นลำดับโดยสะดวกและไม่ติดขัดประการใดเลย นับว่าโชคชะตาของประเทศชาติยังคงรุ่งเรืองสืบไป

ขณะที่พระภิกษุปู่เรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไป ๗ ตัว คือตัว สํ วิ ทา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์พราหมณ์ทั้ง ๗ คนยอมจำนน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้แก่ท่านโดยดี ปรากฏว่าพระภิกษุปู่แปลพระไตรปิฎกในเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์ เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้นและทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงปี่พาทย์ประโคมพร้อมเสียงประชาชนโห่ร้องต้อนรับชัยชนะเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทั่วพระนครศรีอยุธยาเป็นการฉลองชัย

สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่งจึงตรัสสั่งถวายราชสมบัติให้พระภิกษุปู่ครอง ๗ วัน แต่ท่านไม่ยอมรับโดยไห้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณเพศไม่สมควรที่จะครองราชสมบัติอันผิดกิจของสมณควรประพฤติ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงแต่งตั้งให้พระภิกษุปู่ดำรงสมณศักดิ์ ทรงพระราชทานนามว่า "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น
พระภิกษุปู่หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาหลายปีด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลนานมาปีหนึ่งในพระมหานครศรีอยุธยาเกิดโรคระบาดขึ้นร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรค
ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งนักสมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มีนิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมาก เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้และทรงระลึกถึงพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ขึ้นได้จึงตรัสสั่งให้ศรีธนญชัยไปนิมนต์ท่านมาเข้าเฝ้าทรงปรารภในเรื่องทุกข์ร้อนของพลเมืองที่ได้รับทุกข์ยุกเข็ญด้วยโรคระบาดอยู่ในขณะนี้ ท่านจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปพรมให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร ปรากฏว่าโรคระบาดได้ทุเลาเหือดหายไปในไม่ช้าประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ในหลวงทรงพระปรีดาปราโมทย์เป็นอันมาก ทรงเคารพเลื่อมใสในองค์ท่านอย่างยิ่ง วันหนึ่งได้ทรงตรัสปรารภกับท่านว่า ต่อไปนี้หากพระคุณเจ้ามีความปรารถนาสิ่งอันใดขอนิมนต์ให้ทราบความปรารถนานั้น ๆ จะทรงพระราชทานถวาย ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เกรงพระทัยเลย

การล่วงมานานประมาณว่า พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์มีวัยชราแล้ว วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงเกรงใจท่านไม่กล้านิมนต์ขอร้องแต่อย่างใด ได้พระราชทานอนุญาตตามความปรารถนาของท่าน เมื่อพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์กลับภูมิลำเนาเดิมแล้วครั้งนั้ยปรากฏมีหลักฐานว่าไว้ว่าท่านเดินกลับทางบกธุดงค์โปรดสัตว์เรื่อยมาเป็นเวลาช้านาน จนถึงวัดพระสิงห์บรรพตพะโคะตามแนวทางเดินที่ท่านเดินและพักแรมที่ใดต่อมาภายหลังสถานที่ที่ท่านพักแรมนั้นเกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพบูชามาถึงบัดนี้ คือปรากฏว่าขณะที่ท่านพักแรมอยู่ที่บ้านโกฏิในอำเภอปากพนัง เมื่อท่านเดินทางจากไปแล้วภายหลังประชาชนยังมีความเคารพเลื่อมใส่ท่านอยู่มากจึงได้ชักชวนกันขุดดินพูนขึ้นเป็นเนินตรงกับที่ท่านพักแรมไว้เป็นที่ระลึก รอบ ๆ เนินดินนั้นจึงเป็นคูน้ำล้อมรอบเนินและสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จนถึงบัดนี้

เมื่อท่านเดินทางมาถึงหัวลำภูใหญ่ในอำเภอหัวไทรในเวลานี้เป็นสถานที่ที่มีหาดทรายขาวสะอาดต้นลำภูแผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่นเย็นสบาย ท่านจึงอาศัยพักแรมอยู่ใต้ต้นลำภูนั้น ทำสมาธิวิปัสสนา ประชาชนในถิ่นนั้นได้พร้อมใจกันมากราบไหว้บูชาและฟังท่านแสดงธรรมอันเป็นหลักควรปฏิบัติของพระพุทธศาสนา ต่อมาประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแรงกล้าจึงพร้อมใจกันสร้างศาลาถวายขึ้นหนึ่งหลังและท่านได้จากสถานที่นี้ไปนี้ต่อมาภายหลังไม่นานศาลาหลังนี้เกิดเป็นศาลาศักดิ์สิทธิ์ประชาชนชาวบ้านถิ่นนั้นและใกล้เคียงจึงชักชวนกันมาทำพิธีสมโภชศาลาศักดิ์สิทธิ์หลังนั้นเป็นการระลึกถึงท่านถือเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันพิธีชักชวนกันทำขนมโคมาบวงสรวงสมโภชทุกๆ วันพฤหัสฯ เป็นประจำจนเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้

เมื่อท่านจากหัวลำภูใหญ่เดินทางมาถึงบางค้อนท่านได้หยุดพักแรมพอหายเมื่อยล้าแล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ หลังจากที่ท่านจากไปแล้วสถานที่บางค้อนก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏมาจนบัดนี้

พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือพระภิกษุปู่กลับถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ครั้งนี้ประชาชนชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ ประชาชนได้พร้อมใจกันขนานนามท่านขึ้นใหม่เรียกกันว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ต่อมาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะอันเป็นชื่อเดิมก็ถูกเรียกย่อ ๆ เสียใหม่ว่า "วัดพะโคะ"จนกระทั่งบัดนี้

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะนี้มีพระอรหันต์ ๓ องค์ เป็นผู้สร้างขึ้น คือ
๑. พระนาไรมุ้ย
๒. พระมหาอโนมทัสสี
๓. พระธรรมกาวา

ต่อมาพระมหาอโนมทัสสีได้เดินทางไปประเทศอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระบรมศาสลับมา พระยาธรรมรังคัลเจ้าเมือง "จะทิ้งพระ" ในสมัยนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธา จัดการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่สูงถึง ๒๐ วา ขึ้นถวายแล้วทำพิธีสมโภชบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเจดีย์องค์นั้นและคงมีปรากฏอยู่จนบัดนี้

ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้หยุดพักผ่อนนานพอสมควร ท่านได้ตรวจดูเห็นปูชนียสถานและกุฏิวิหารเก่าแก่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมากควรจะบูรณะซ่อมแซมเสียใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาอีกวาระหนึ่ง (ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าท่านไปทางบกหรือไปทางน้ำ) เมื่อได้สนทนาถามสุขทุกข์กันแล้ว ท่านก็ทูลถวายพระพรพระองค์ตามความปรารถนาที่จะบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดให้พระองค์ทรงทราบ ครั้นได้ทราบจุดประสงค์ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสร่วมอนุโมทนาด้วย จึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถพระเจ้าลูกยาเธอ จัดการเบิกเงินในท้องพระคลังหลวงมอบถวาย และจัดหาศิลาแลงบรรทุกเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยนายช่างหลวงหลายนาย มอบหมายให้ท่านนำกลับไปดำเนินงานตามความปรารถนาปรากฏว่าท่านได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและปลูกสร้าง (วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ) อยู่หลายปีจึงสำเร็จบริบูรณ์

สมเด็จพระเจ้าพะโคะ เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชายังกรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่งปรากฏว่าพระองค์ทรงเลื่อมใสเคารพต่อท่านเป็นยิ่งนัก ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระทานที่ดินนาถวายแก่ท่านเป็นกัลปนา ขึ้นแก่วัดพัทสิงห์บรรพตพะโคะ จำนวน ๙๐ ฟ้อน พร้อมด้วยประชาราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตที่ดินนั้น มีอาณาเขตติดต่อ โดยถือเอาวัดพัทธสีห์บรรพตพะโคะเป็นศูนย์กลางดังนี้

๑. ทางทิศเหนือ ตั้งแต่แหลมชุมพุกเข้ามา
๒. ทางทิศใต้ ตั้งแต่แหลมสนเข้ามา
๓. ทางทิศตะวันออก จดทะเลจีนเข้ามา
๔. ทางทิศตะวันตก จดทะเลสาบเข้ามา

ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะกลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ

ครั้งนี้คาดคะเนว่าท่านมีอายุกาลถึง ๘๐ ปีเศษอยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์ประจำตัว ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น ๓ คด ชาวบ้านเรียกว่าไม้เท้า ๓ คด ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังฝั่งทะเลจีน และขณะที่ท่านเดินเล่นรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลี่ยบชายฝั่งมา พวกโจรสลัดจีนเห็นสมเด็จเดินอยู่ คิดเห็นว่าเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเข้าขึ้นฝัง นำเอาท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือเรือลำนั้นจะแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนได้พยายามแก้ไขจนหมดความสามารถ เรือก็ยังไม่เคลื่อนจึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั่นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ที่สุดน้ำจืดที่ลำเลียงมาบริโภคในเรือก็ได้หมดสิ้นจึงขาดน้ำดื่มและหุงต้มอาหาร พากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยการกระหายน้ำเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จท่านสังเกตเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกเรือถึงขั้นที่สุดแล้วท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกจีนไปเมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากผิวน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรจีนตักน้ำตรงนั้นขึ้นมาดื่มชิมดู พวกจีนแม้ไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรสลัดจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้นก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก้พวกเขาต่อไปจึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วพาท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะขึ้นจากเรือเดินกลับวัดถึงที่แห่งหนึ่ง ท่านหยุดพักเหนื่อยได้เอาไม้เท้า ๓ คด พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้นลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนสภาพจากเดิมกลับคด ๆ งอ ๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่า ต้นยางไม้เท้า ยังมีปรากฏอยู่ถึงเวลานี้

สมเด็จพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ครองสมณเพศจำพรรษาอยู่วัดพะโคะเป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนได้ตลอดมา

ตอนนี้ได้รับความกรุณาจากพระอุปัชฌาย์ดำ ติสฺสโร สำนักวัดศิลาลอย อำเภอจะทิ้งพระเป็นผู้เล่าตามนิยายต่อกันมา โดยท่านพระครูวิริยานุรักษ์ วัดตานีสโมสรเป็นผู้บันทึกความดังต่อไปนี้
ในสมัยสมเด็จเจ้าพะโคะพำนักอยู่วัดพะโคะครั้งนั้นยังมีสามเณรน้อยรูปหนึ่งเข้าใจว่าคงอาศัยอยู่วัดใดวัดหนึ่งในท้องที่อำเภอหาดใหญ่เวลานี้ สามเณรรูปนี้ได้บวชมาแต่อายุน้อย ๆ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมีความขยันหมั่นเพียรก่อแต่การกุศลในพระพุทธศาสนาและตั้งจิตอธิษฐานจะขอพบพระศรีอริยะอย่างแรงกล้า อยู่มาคืนหนึ่งมีคนแก่ถือดอกไม้เดินเข้ามาหาแล้วประเคนดอกไม้ส่งให้แล้วบอกว่า นี่เป็นดอกไม้ทิพย์ไม่รู้จักร่วงโรยพร้อยกับกล่าวว่า พระศรีอริยะโพธิสัตว์นั้นขณะนี้ได้จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์เพื่อโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาสามเณรเจ้าจงถือดอกไม้ทิพย์นี้ออกค้นหาเถิดหากผู้ใดรู้จักกำเนิดของดอกไม้แล้วผู้นั้นแหละเป็นพระศรีอริยะที่จุติมา เจ้าจงพยายามเที่ยวค้นหาคงจะพบเมื่อกล่าวจบแล้วคนแก่นั้นก็อันตรธานหายไปทันที

สามเณรน้อยมีความปิติยินดีเป็นยิ่งนักวันรุ่งเช้าจึงกราบลาสมภารเจ้าอาวาสถือดอกไม้ทิพย์เดินออกจากวัดไป สามเณรเดินทางตรากตรำลำบากไปทั่วทุกหนทุกแห่งก็ไม่มีใครทักถามถึงดอกไม้ทิพย์ที่ตนถืออยู่นั้นเลยแต่สามเณรก็พยายามอดทนต่อความเหนื่อยยากต้องตากแดดกรำฝนไปเป็นเวลาช้านาน วันหนึ่งต่อมาสามเณรน้อยเดินทางเข้าเขตวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะในเวลาใกล้จะมืดค่ำเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจันทร์เต็มดวงส่องรัศมีจ้าไปทั่วท้องฟ้าและเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ลงทำสังฆกรรมในอุโบสถ สามเณรถือดอกไม้ทิพย์เดินเข้าไปยืนถือดอกไม้ทิพย์อยู่ริมอุโบสถรอคอยพระสงฆ์ที่จะลงมาอุโบสถ พอถึงเวลาพระภิกษุทั้งหลายก็เดินทะยอยกันเข้าอุโบสถผ่านหน้าสามเณรไปจนหมดไม่มีพระภิกษุองค์ใดทักสามเณรเลย เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งในอุโบสถเรียบร้อยแล้วสามเณรจึงเดินเข้าไปนมัสการถามพระสงฆ์เหล่านั้นว่า วันนี้พระมาลงอุโบสถหมดแล้วหรือ พระภิกษุตอบว่า ยังมีสมเด็จอยู่อีกองค์วันนี้ไม่มาลงอุโบสถ สามเณรทราบดังนั้นก็กราบลาพระสงฆ์เหล่านั้นเดินออกจากอุโบสถมุ่งตรงไปยังกุฏิของสมเด็จเจ้าฯ ทันที
ครั้นถึงสามเณรก็คลานเข้าไปใกล้ก้มกราบนมัสการท่านอยู่ตรงหน้าสมเด็จเจ้าฯ สมเด็จเจ้าฯ ได้ประสพดอกไม้ในมือสามเณรถืออยู่ จึงถามสามเณรว่า นั่นดอกไม้ทิพย์เป็นดอกไม้เมืองสวรรค์ผู้ใดให้เจ้ามา สามเณรรู้แจ้งใจตามที่นิมิตจึงคลานเข้าไปก้มลงกราบที่ฝ่าเท้าแล้วประเคนดอกไม้ทิพย์นั้นแก่สมเด็จเจ้าฯ ทันที เมื่อสมเด็จเจ้าฯ รับประเคนดอกไม้ทิพย์จาดสามเณรน้อยแล้วท่านได้สงบอารมณ์อยู่ชั่วครู่มิได้พูดจาประการใด แล้วลุกขึ้นเรียกสามเณรเดินตรงเข้าไปในกุฏิปิดประตูลงกลอนและเงียบหายไปในคืนนั้น มิได้มีร่องรอยแต่อย่างใดเหลือไว้ให้พิสูจน์จนเวลาล่วงเลยมาบัดนี้ประมาณสามร้อยปีเศษแล้ว

การหายตัวไปของสมเด็จเจ้าพะโคะครั้งนั้นประชาชนเล่าลือกันว่าท่านได้สำเร็จสู่สวรรค์ไปเสียแล้วด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารท่านแรงกล้า ตามที่กล่าวลือกันเช่นนี้เพราะมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้นในคืนนั้นว่าบนอากาศบริเวณวัดพะโคะ ได้มีดวงไฟโตขนาดเท่าดวงไต้ส่องรัศมีต่าง ๆ เป็นปริมณฑลดังพระจันทร์ทรงกลดลอยวนเวียนรอบบริเวณวัดพะโคะส่องรัศมีจ้าไปทั่วบริเวณวัดเมื่อดวงไฟดวงนั้นลอยวนเวียนอยู่ครบสามรอบแล้วลอยเคลื่อนไปทางทิศอาคเนย์เงียบหายมาจนกระทั่งบัดนี้

วันรุ่งเช้าประชาชนมาร่วมประชุมกันที่วัดและต่างคนต่างก็เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าฯ ท่านสำเร็จสู่สวรรค์ไปจึงได้พากันพนมมือขึ้นเหนือศรีษะพร้อมกับเปล่งเสียงว่าสมเด็จเจ้าพะโคะโล่ไปเสียแล้วเจ้าข้าเอย เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฯ ท่านได้ทิ้งของสำคัญไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตลอดมาคือ

๑. ดวงแก้วที่พระยางูใหญ่ให้ครั้งเป็นทารกอยู่ในเปล ๑ ดวง และสมภารทุกๆ องค์ของวัดพะโคะได้ เก็บรักษาไว้จนถึงบัดนี้ปรากฏว่า แก้วดวงนี้ไม่มีใครกล้านำออกจากบริเวณวัดพะโคะเพราะเกรงจะเกิดภัย

๒. ก่อนที่สมเด็จเจ้าฯ จะโล่หายไปปรากฏว่าท่านได้ขึ้นไปทำสมาธิอยู่บนชะง่อนผาภูเขาบาท ได้เอาเท้าซ้ายเหยียบลงบนลาดผาลึกเป็นรอยเท้าเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนมาจนกระทั่งบัดนี้ (ท่านพระครูวิสัยโสภณวัดช้างให้ได้ไปนมัสการมาแล้ว)
สมัยที่สมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งปรากฏตัวขึ้นที่เมืองรัฐไทรบุรีเวลานี้พระภิกษุรูปนี้เป็นปราชญ์ทางธรรมและเชี่ยวชาญทางอิทธิอภินิหารเป็นยอดเยี่ยมชาวเมืองไทรบุรีมีความเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่งสมัยนั้นคนมลายูในเมืองไทรบุรีนับถือศาสนาพุทธ ต่อมาท่านก็ได้เป็นสมภารเจ้าวัดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น
มีเรื่องชวนคิดอยู่ว่า พระภิกษุชรารูปนี้ไม่มีประชาชนคนใดจะทราบได้ว่า ท่านชื่ออย่างไร ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน ก็ไม่มีใครซักถาม จึงพากันขนานนาม เรียกกันว่า " ท่าน ลังกาองค์ดำ " ท่านปกครองวัดด้วยอำนาจธรรมและอภินิหารอย่างยอดเยี่ยม เป็นที่พึ่งทางธรรมปฏิบัติและการเจ็บไข้ได้ทุกข์ของประชาชน ด้วยความเมตตาธรรม ประชาชนเพิ่มความเคารพเลื่อมใสท่านตลอดถึงพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีสมัยนั้น และท่านมีความสุขตลอดมา ( ท่านลังกาองค์นี้จะเป็นเจ้าพะโคะใช่หรือไม่ ขอให้อ่านต่อไป )
เมื่อข้าพเจ้าผู้เขียนยังหนุ่มๆ หรือประมาณ ๔๕ ปีมาแล้ว ได้อ่านหนังสือตำนานเมืองปัตตานี ซึ่งรวบรวมโดยคุณพระศรีบุรีรัฐ ( สิทธิ์ ณ สงขลา ) นายอำเภอชั้นลายครามของอำเภอยะหริ่ง เรียบเรียง มีข้อความตอนหนึ่งว่าสมัยนั้นพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมืองให้ เจ๊ะสิตีน้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดินป่าหรือเรียกว่าช้างอุปการ เพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง ( ที่วัดช้างให้เวลานี้ ) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น ๓ ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินรอนแรมหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวาร น้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ลอมจับกระจงตัวนั้น ได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( ที่ตำบล กือเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้น กระจงก็ได้อันตรธานหายไป นางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบที่ตรงนี้มาก จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้

เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า เมืองปะตานี ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า วัดช้างให้มาจนบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้แก่ท่านลังกาครอบครองอีกวัดหนึ่ง

พระภิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมาอยู่วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา ขณะที่ท่านลังกาพำนักอยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรีวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกา และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้าท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วยและขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่มาไม่นานท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราคณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้จัดการตามที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อทำการฌาปณกิจศพท่านเรียบร้อยแล้วคณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อยนำกลับไปทำสถูปที่วัด ณ เมืองไทรบุรีไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดจนบัดนี้สมเด็จเจ้าพะโคะกับท่านช้างให้หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดนี้สมัยท่านยังมีชีวิตมีชื่อที่ใช้เรียกท่านหลายชื่อเช่น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ท่านลังกา และท่านช้างให้ แต่เมื่อท่านมรณภาพแล้วเรียกเขื่อนหรือสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของท่านว่า "เขื่อนท่านช้างให้" แต่ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีการสร้างพระเครื่องต่างองค์ท่านให้ชื่อว่า ท่านช้างให้ แต่ท่านไม่เอาท่านบอกให้ชื่อว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ดังมีเรื่องกล่าวต่อไปนี้

๑. ก่อนที่เขื่อนหรือสถูปจะปรากฏความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นครั้งแรก เล่าต่อๆ กันมาว่ามีเด็กชายลูกชาวบ้านคนหนึ่งพ่อเขาไล่ตี เด็กคนนั้นวิ่หนีเข้าไปในบริเวณวัดช้างให้แล้หายตัวไปซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง เมื่อพ่อของเด็กไล่ตามเข้าไปในวัดก็มิได้เห็นตัวเด็ก เขาได้ค้นหาจนอ่อนใจก็ไม่พบจึงกลับบ้านชวนเพื่อนบ้านช่วยกันค้นหา ขณะที่พวกชาวบ้านผ่านเข้าเขตวัดก็เห็นเด็กนั้นเดินยิ้มเข้ามาหาและหัวเราะพูดขึ้นว่า พ่อของมันดุร้ายไล่ทุบตีลูกไม่มีความสงสารกูเห็นแล้วอดสงสารไม่ได้จึงเอามันไปซ่อนไว้ พวกชาวบ้านก็ตื่นตกงกงันเพราะเด็กนั้นพูดแปลกหูผู้ฟังเป็นเสียงของคนแก่แต่เด็กพูดต่อไปว่า พวกสูไม่รู้จักกูหรือ กูชื่อท่านเหยียบน้ำทะเลจืดผู้ศักดิ์สิทธิ์เจ้าของเขื่อนนี้ (สถูป) พวกสูจะลองดีก็จงเอาน้ำเกลือใส่อ่างมากูจะทำให้ดู มีชาวบ้านผู้หนึ่งปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เด็กชายนั้นก็ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำเกลือในอ่างทันทีและบอกให้ชาวบ้านชิมน้ำเกลือนั้นดู ได้ประจักษ์ว่าน้ำนั้นมีรสจืดเป็นน้ำบ่อเป็นที่อัศจรรย์นัก เด็กนั้นพูดอีกว่า พวกสูยังไม่เชื่อกูก็ให้ก่อไฟขึ้น ชาวบ้านก็ทำตาม ขณะกองไฟลุกโชนเป็นถ่านแดงดีแล้วเด็กประทับทรงท่านเหยียบน้ำทะเลจืดก็กระโดดเข้าไปยืนอยู่ในกลางกองไฟอันร้อนแรง ยิ้มแล้วถามว่าสูเชื่อหรือยัง พ่อของเด็กตกใจเกรงลูกจะเป็นอันตรายจึงก้มลงกราบไหว้ขอโทษเด็กนั้นจึงเดินออกจากกองไฟเป็นปกติ

๒. ครั้นท่านพระครูวิสัยโสภณ (ท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโร) เข้ามาครองวัดช้างให้ใหม่ๆ ท่านข้องใจเรื่องเขตวัดของเดิมเพราะถามชาวบ้านไม่มีใครรู้ คืนวันหนึ่งท่านฝันว่าพบคนแก่ยืนอยู่กลางลานวัดท่านถามถึงเขตวัดตามความข้องใจ คนแก่นั้นบอกว่า ให้ไปถามท่านเหยียบน้ำทะเลจืดในเขื่อน คนแก่จึงนำท่านพระครู ฯ ไปเห็นพระภิกษุเฒ่าเดินออกจากในเขื่อนสามองค์ปรากฏว่า ๑. หลวงพ่อสี ๒. หลวงพ่อทอง ๓. หลวงพ่อจันทร์ องค์หลังสุดถือไม้เท้าใหญ่ ๓ คด เดินยันออกมางกงันเพราะความชรามากกว่าองค์ใดๆ คนแก่จึงบอกว่าองค์นี้แหละ ท่านเหยียบน้ำทะเลจืดท่านจึงเอาแขนกอดคอท่านพระครู ฯ นำเดินชี้เขตวัดเก่าให้ทราบทั้ง ๔ ทิศ ตลอดถึงเนินดินซึ่งเป็นโบสถ์โบราณและบันดาลให้ท่านอาจารย์ฯได้เห็นวัตถุต่างๆในหลุมนิมิตซึ่งเป็นของไม่มีค่า เช่น พระพุทธรูปหล่อด้วยเงิน ๑ องค์ เมื่อจะกลับเข้าไปในเขื่อนท่านได้สั่งว่าต้องการอะไรให้บอกแล้วเข้าในเขื่อนหายไป

"คำว่าเอาอะไรให้บอก คำนี้สำคัญมาก คราวต่อมาโบสถ์ก็สำเร็จพระเครื่องก็ศักดิ์สิทธิ์"
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 16 ก.พ. 2016 12:31 pm

ครูบาชัยวงศา...จาก "เด็กขอทาน" สู่ "พระอริยสงฆ์ในดงกะเหรี่ยง"

444.jpg
444.jpg (124.79 KiB) เปิดดู 20904 ครั้ง


อดีตในวัยเยาว์ของ "ครูบาชัยวงศา" ท่านเกิดในครอบครัวชาวไร่ชาวนายากจนเคย "ขอทาน" เพื่อหาเงินเลี้ยงดูโยมบิดามารดาและน้องอีก ๙ คน พอโตขึ้นมาก็ถูกเพื่อนลูกศิษย์ด้วยกันกลั่นแกล้ง...เอาน้ำรักใส่ที่นอน จนหลังเน่าเปื่อยทนทุกข์เวทนาอย่างสาหัส... เมื่อเรียนหนังสือก็ถูกครูใช้สันขวานเคาะศีรษะและทุบตีจนเนื้อแตก...ในยามนอนก็ถูกเพื่อนเอาทรายกรอกปาก เอาน้ำราดหัว เอากระโถนน้ำมูตรคูถมาวางตรงหน้าขณะกินข้าว...

เมื่อครั้งที่ครูบาชัยวงศายังเป็นสามเณรน้อยได้เดินธุดงค์มากับครูบาก๋า มาพบ "วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม" สามเณรน้อย (ครูบาชัยวงศา) ได้เคยถามครูบาก๋าถึงการปฎิสังขรณ์วัดนี้ ได้รับคำตอบว่า "ไม่ใช่หน้าที่ของท่านเอง" และได้ชี้มือไปที่ตัวสามเณร (ครูบาชัยวงศา) แล้วบอกว่า "ต่อไปเณรน้อยจะได้มาเป็นผู้สร้างวัดนี้"

ซึ่งเรื่องนี้ได้ไปตรงกับข้อมูลที่ได้จากคำพูดของ "ครูบาศรีวิชัย" เช่นกัน...เมื่อครั้งที่ได้มีชาวบ้านไปนิมนต์ครูบาศรีวิชัยให้มาบูรณะวัดนี้ ท่านก็ได้ปฏิเสธกับชาวบ้านว่า "ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน เป็นหน้าที่ของครูบาชัยวงศา" จึงแนะให้ชาวบ้านไปนิมนต์มาซึ่งขณะนั้นครูบาชัยวงศายังเป็นสามเณรอยู่

ครูบาชัยวงศาท่านเป็น "พระพุทธเจ้าน้อยของชาวกะเหรี่ยง" เมื่อครั้งที่ชาวบ้านได้ขุดพบศิลาจารึก ที่มีตัวอักษรล้านนาไทยเขียนไว้ด้วยประโยคสั้นๆว่า "ผู้ที่จะสร้างวัดนี้คือพระพุทธเจ้าน้อย ซึ่งจะเริ่มมาสร้างปี.... ตอนนี้อยู่ที่.... เกิดที่.... จะเป็นผู้มาสร้าง" ซึ่งก็เป็นความจริงตามในศิลาจารึกแผ่นนั้นทุกประการ...ขณะนั้นครูบาชัยวงศาได้รับการยกย่องจากชาวเขา ให้เป็นพระพุทธเจ้าน้อยอยู่ก่อนแล้ว แม้แต่สถานที่อยู่ สถานที่เกิด ก็ตรงกับทิศทางที่ศิลาจารึกบอกทุกประการ...ด้วยเหตุนี้บรรดาชาวบ้าน ตลอดจนนายอำเภอจึงไปนิมนต์ครูบาชัยวงศามาสร้างและบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้มตั้งแต่นั้นมา

พระผู้เป็นที่พึ่งของ "ชาวกะเหรี่ยง"

ครูบาชัยวงศาได้มาจำพรรษาที่วัดพระบาทห้วยต้ม เมื่อมีอายุได้ ๓๓ ปี ระยะแรกที่มาอยู่ บรรดากะเหรี่ยงได้ติดตามท่านมาไม่มากนัก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ บรรดากะเหรี่ยงทั้งหมดจึงพากันอพยพมาอยู่เป็นหมู่บ้านถึง ๖๐๐ หลังคาเรือน ๓,๐๐๐ กว่าคน ทุกคนกินอาหารมังสวิรัติ ตามครูบาชัยวงศา ซึ่งได้ชี้ให้เห็นโทษการกินเนื้อสัตว์ หันมากินข้าวเหนียวจิ้มพริกกับเกลือและผักต้มแทน แต่เดิมชาวเขาเหล่านี้ไม่เคยเห็นพระสงฆ์ ต่างกลัวกันมากเมื่อเห็นครูบาชัยวงศาเดินมา ต่างรีบอุ้มลูกจูงหลานหนีเข้าบ้าน

พวกผู้ชายที่ใจกล้าก็เข้ามาพูดคุยกับท่านมาซักถาม บ้างก็เอามือลูบหัวท่านเล่น แล้วเรียกท่านว่า "เสี่ยว" เพราะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธจึงไม่รู้จักพระสงฆ์

ต่อมา ครูบาชัยวงศาได้ใช้กุศโลบาย ค่อยๆ ตะล่อมสอนชาวเขาเหล่านี้ ให้เลิกยึดถือประเพณีบูชาผีสางนางไม้ ให้หันมาเลื่อมใสในข้อธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยปูพื้นและวางหลักเกณฑ์ในการยึดถือพระพุทธศาสนาให้ถึงแก่นและกระพี้

ให้เลิกละการเบียดเบียนรังแกสัตว์ เพียงเพื่อสนองความสุขของตัว ชาวเขาถามครูบาชัยวงศาว่า โกนหัวและห่มผ้าเหลืองทำไม ท่านได้เมตตาอธิบายให้ฟังว่า ท่านเป็นพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล สมาธิ ปัญญาเป็นเครื่องซักฟอกชำระจิตใจ ไม่เบียดเบียนผู้ใด จึงต้องนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ปฏิบัติตัวอยู่ในพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดากำหนดไว้อย่างเคร่งครัด



พระผู้ทำให้ชาวกะเหรี่ยงกินอาหาร "มังสวิรัติ" ทั้งหมู่บ้าน

ชาวเขาได้ฟังคำสั่งสอนของครูบาชัยวงศาก็ศรัทธาเลื่อมใส ต่างพากันนำอาหารที่ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์มาถวาย ครูบาชัยวงศาก็หยิบเฉพาะผักฉันโดยไม่หยิบเนื้อสัตว์เลย ชาวเขาสงสัยจึงถาม ท่านครูบาชัยวงศาจึงถือโอกาสสั่งสอน ให้ชาวเขาสำนึกในกฎแห่งกรรม สำนึกในความมีเมตตาต่อสัตว์โลกว่า

"...ทุกคนย่อมรักตัวกลัวตาย สัตว์ที่เราล่ามาทำอาหาร ก็มีความกลัวตาย ถ้าเราไม่กินเนื้อสัตว์ ก็จะไม่มีการฆ่า ไม่มีการเบียดเบียนให้เป็นกรรมติดตัวไป...ที่เกิดมาเป็นชาวเขา ต้องพบความลำบากก็เนื่องจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนี่แหละจงอย่าสร้างกรรมเพิ่ม ด้วยการกินเนื้อเขาอีกเลย..."

ชาวเขาฟังแล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ตั้งใจมั่นเลิกกินเนื้อสัตว์ แต่นั้นมาหันมากินอาหารมังสวิรัติแทน โดยหาผักหาหญ้า หัวเผือกหัวมัน พริกกับเกลือแทนเนื้อสัตว์ จนเป็นที่โจษขานกันทั่วไป ถึงความสามารถของครูบาชัยวงศาในการขัดเกลาจิตใจชาวเขาเหล่านี้ ซึ่งแต่เดิมชอบประพฤติตัวเกเร ชอบกินเหล้าอาละวาด สร้างปัญหาให้กับประเทศชาติอย่างมาก

นับเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลอย่างมหาศาล เนื่องจากชาวเขาเหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อย ที่สร้างปัญหาให้กับบ้านเมืองตลอดมา ในการตกเป็นเครื่องมือของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่คอยซุ่มโจมตีทหารรัฐบาลในป่าลึก

ครูบาชัยวงศาได้ให้เหตุผลที่จะดึง และโน้มน้าวจิตใจชาวเขาเหล่านี้ว่า "ผู้ที่เกิดมาเป็นชาวเขานั้น แต่ชาติปางก่อนได้สร้างกุศลมาไม่ดี จึงต้องเกิดมาเป็นชาวเขา ถ้าทำให้เขาละการสร้างเวรให้กับตัวเขาก็จะได้กุศลที่ดีเป็นคนดีของประเทศชาติ ไม่มีปัญหาต่อชาติต่อไป..."

ด้วยขันติบารมีการวางเฉย ด้วยใจที่ให้อภัยต่อสัตว์โลก ครูบาชัยวงศา จึงได้รับการยกย่องจากชาวเขาเผ่าต่างๆ ให้เป็น ครูบา ผู้เปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง และด้วยอำนาจความเพียรพยายามทางจิต ท่านครูบาชัยวงศา คือผู้หนึ่งที่เทพยดาฟ้าดินให้ความเมตตาอภิบาลรักษาคุ้มครองป้องกันเพื่อให้ท่านได้กระทำความดี สร้างบารมีเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ด้วยจุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ในอนาคตข้างหน้า นั่นคือแทนแห่งพุทธภูมิ...


เป็นกำลังสำคัญสร้างทางขึ้น "ดอยสุเทพ"

ครูบาชัยวงศาได้ไปร่วมแรงร่วมใจกับครูบาขาวปี ช่วยครูบาศรีวิชัยทำงานในด้านต่างๆ ทั้งงานศาสนาและงานสาธารณประโยชน์ ทั้งที่ได้รับอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะอุปสรรคในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพร่วมกับครูบาศรีวิชัย โดยครูบาชัยวงศาและครูบาขาวปี เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมในการสร้างทางคนละครึ่ง ครูบาขาวปีรับผิดชอบควบคุมช่วงล่างตั้งแต่วัดศรีโสดาถึงวัดสกิทาคามี (วัดนี้ถูกรื้อไปแล้ว) ส่วนครูบาชัยวงศารับช่วงตั้งแต่วัดสกิทาคามี และสร้างวัดอนาคามี (ซึ่งขณะนี้ทรุดโทรมและถูกรื้อไปแล้ว) ไปจนถึงทางขึ้นดอยสุเทพ

ในขณะสร้างทางได้รับความลำบากทุกข์เวทนาอย่างสาหัส เนื่องจากถูกกลั่นแกล้งจากตำรวจหลวงและพระสงฆ์ที่ไม่เข้าใจในเจตนามุ่งมั่นอันแท้จริงของครูบาศรีวิชัย คอยจับสึกอยู่เสมอ การดำเนินการก่อสร้างจึงต้องลงมือเมื่อพระอาทิตย์ล่วงลับไปเสียก่อน และต้องหาที่หลบซ่อนเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าของวันใหม่ งานสร้างทางตอนเริ่มแรกมีชาวบ้านมาช่วยงานไม่มากเท่าไร แต่นานไปก็ได้มีพวกชาวกะเหรี่ยงและชาวบ้านในหลายตำบล หลายหมู่บ้าน พากันมาลงแรงร่วมใจอย่างมากมาย ด้วยความศรัทธาและเต็มใจ จนในที่สุดการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพก็สำเร็จลุล่วงได้

kb-chaiya-wongsa-99-01.jpg
kb-chaiya-wongsa-99-01.jpg (30.63 KiB) เปิดดู 20904 ครั้ง


ออกธุดงค์ในป่าลึก "บิณฑบาตข้าวเทวดา"

การออกธุดงค์ส่วนใหญ่จะเป็นป่าลึกปราศจากผู้คน จึงไม่มีใครมาใส่บาตร มีแต่ผีป่านางไม้เท่านั้นที่ลงมาใส่บาตร เรื่องนี้เป็นคำบอกเล่าของครูบาชัยวงศา ที่เคยเล่าไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า

"...การอยู่ในป่าลึกที่เต็มไปด้วยอมนุษย์และสิงสาราสัตว์น้อยใหญ่ การบำเพ็ญเพียรทางจิตให้กล้าแข็งเต็มไปด้วย พลังเมตตาต่อสัตว์โลกแล้วจะไม่อดตาย เพราะผีป่านางไม้จะนำเอาอาหารทิพย์มาให้และอภิบาลรักษา ครั้งหนึ่งขณะที่ครูบาชัยวงศากำลังทำความเพียรทางจิต ไม่มีเวลาไปหาพืชป่ามาฉัน ท่านจึงนำบาตรเปล่าไปตั้งไว้ที่โคนต้นไม้ จากนั้นได้มานั่งภาวนาพิจารณาธรรมต่อไปจนออกจากสมาธิ เมื่อได้เวลาฉันเพล เมื่อท่านได้เดินไปที่บาตร ปรากฏมีข้าวสีเหลืองมีกลิ่นหอมเต็มอยู่ในบาตร บางวันก็มีดอกไม้ป่าใส่มาด้วย..."

บ่อบครั้งที่ครูบาชัยวงศาต้องออกธุดงค์ไปถึงเทือกเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ เวลานั่งบำเพ็ญเพียรทางจิต ต้องก่อไฟไว้เพื่อสร้างความอบอุ่น มีอยู่ครั้งหนึ่งไฟที่ก่อได้ลุกลามมาติดจีวร ตั้งแต่ชายจีวรจนถึงหน้าอกแล้วท่านยังไม่รู้ตัวจนกระทั่งออกจากสมาธิ จึงได้พบว่าเปลวไฟกำลังเลียเนื้อหนังของท่านอยู่

ขณะที่มาปกครองวัดพระบาทห้วยต้มในระยะแรกๆ ครูบาชัยวงศาก็ยังออกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียรทางจิตในที่ต่างๆ อยู่เสมอ ทั้งที่หนทางก็กันดารลำบากยากเข็ญ ต้องผจญกับไข้ป่าและธรรมชาติ เครื่องอัฐบริขารก็มีไม่ครบ เวลาเจอพายุฝนก็ต้องภาวนากันใต้ต้นไม้ใหญ่ นั่งตากพายุจนเปียกปอนอยู่เสมอ การผจญกับความลำบากเป็นเสมือนหนึ่งหินลับมีด ยิ่งลำบากเท่าไร ก็เท่ากับได้มีโอกาสลับมีดให้คม พร้อมที่จะเชือดเฉือนสรรพสิ่งได้ทันท่วงทีฉันนั้น "ครูบาชัยวงศา" ท่านเป็นยอดแห่งความอดทนมาตั้งแต่เล็ก ยากที่จะหาใครเทียบเท่าได้...

ที่มา : ธัมมวิชชา ภิกษุณี
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย pasasiam » ศุกร์ 14 เม.ย. 2017 6:06 pm

ศุภจัยยะ มังก๊ะละดิถี ปี๋ใหม่ปี๋นี้ จุ่งสะหรี๋สุขสวัสดิ์

ลายมือหลวงพ่อเกษม เขมโก

184378.jpg
184378.jpg (69.9 KiB) เปิดดู 15724 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: รายนามพระคณาจารย์ที่มรณภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 9:53 pm

ภาพถ่ายสีของครูบาเจ้าอภิชัย (ขาวปี) ลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย ถ่ายที่วัดกิตติวงศ์ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๑

ครูบาขาวปี.jpg
ครูบาขาวปี.jpg (120.15 KiB) เปิดดู 14060 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ครูบา พระอริยสงฆ์ ที่เกี่ยวข้องกับดินแดนล้านา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 08 ก.ย. 2019 2:23 pm

เกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ คาถาอาคมนั้น ในช่วงแรกของชีวิตในสมณเพศ ครูบาศรีวิชัยก็เคยได้ศึกษาวิชาเหล่านี้มาก่อน ถึงได้สักหมึกดำทั้ง ๒ ขา ตามแบบความนิยมของผู้ชายชาวล้านนาในสมัยนั้น ต่อมาได้ศึกษาพระธรรมอย่างถี่ถ้วนลึกซึ้ง ท่านตระหนักถึงความไม่เป็นแก่นสารของไสยศาสตร์ จึงหันหลังให้วิชาเหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง เคยมีผู้เรียนถามครูบาศรีวิชัยเรื่องอภินิหารเรื่องหนึ่งว่า มีครั้งหนึ่งครูบาศรีวิชัยพร้อมกับศรัทธาทั้งหลายเข้าไปในป่าแห่งหนึ่ง บังเกิดฝนตกหนักมาก คนทั้งหลายเปียกกันหมด แต่ครูบาศรีวิชัยไม่เปียกเลยมีจริงหรือไม่ ท่านตอบว่า “เออเป็นความจริง ข้าไม่เปียกเลย เพราะข้ามีจ้อง (ร่ม)”

#ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย

155344.jpg
155344.jpg (40.69 KiB) เปิดดู 13647 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน

cron