รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิช,ล็อบสเตอร์)

ทำสวนผสมผสานทั้งปลูกพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม

รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิช,ล็อบสเตอร์)

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 08 พ.ค. 2016 8:50 pm

กุ้งก้ามแดง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

78866_resize.jpg
78866_resize.jpg (64.89 KiB) เปิดดู 30750 ครั้ง


กุ้งเครย์ฟิชคุณภาพจากฟาร์ม บ้านน้ำฟ้า

☎ 080-6758030 , 063-1695391

Line id : dang1877

บ้านไร่ในฝัน"บ้านเพียงพอ"

ตั้งอยู่ หมู่ ๗ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

"บ้านเพียงพอ" เริ่มต้นจากความรักธรรมชาติผสมผสานความรักในวิถีชาวบ้าน วิถีล้านนา ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ทีละนิดทีละหน่อย สร้างและทำให้งดงาม น่าอยู่ ทำทุกอย่างด้วยมือ รังสรรค์ด้วยใจ

จำหน่าย กุ้งเครย์ฟิช (Crayfish) กุ้งก้ามแดง เดรสทรัคเตอร์ และสโนว์ ปลาดุก ปลาช่อน มะละกอแขกนวลดำเนิน มันหวานญี่ปุ่น (ม่วงโอกินาวา และเหลืองมงกุฏ) ผักกาด ถั่วฝักยาว ลำไย กล้วย สตรอว์เบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน ๘๐ มะม่วง ลำไย กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ ชวนชม ทานตะวัน แกลดิโอลัส ฯลฯ

ชมความงดงามตามธรรมชาติ ติดตามเพจ บ้านไร่ในฝัน บ้านเพียงพอ https://www.facebook.com/banrainaifunbanpiangpor/
เพจ กุ้งก้ามแดง https://www.facebook.com/namfarcrayfishchiangmai/





สำหรับผู้สนใจติดตามได้ที่กลุ่มfacebook "ศูนย์เลี้ยงกุ้งก้ามแดง" ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ


https://web.facebook.com/groups/587296104751100/


แฟนเพจ Chiangmai Crayfish กุ้งก้ามแดง เมืองพร้าว เชียงใหม่ ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ


https://web.facebook.com/Chiangmai-Cray ... 478322803/



Astacoidea (หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งสาย P ) ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก ๒ วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือมีการค้นพบเครฟิชมากกว่า ๓๓๐ ชนิด ใน ๙ สกุล ทั้งหมดอยู่ในวงศ์ Cambaridae ส่วนวงศ์ Astacidae พบในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ เครฟิชจำนวนมากพบในที่ราบต่ำที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและออกซิเจนที่ผุดออกมาจากน้ำพุใต้ดิน เครฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือ Procambarus clarkii โดยรวมแล้วเครฟิชในวงศ์นี้มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร

เช่น สโนว์,ออเรนท์




กลุ่มวงศ์ที่ ๒ Parastacoidea (หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งสาย C )ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายามีการค้นพบเครฟิชมากกว่า ๑๐๐ ชนิดในภูมิภาคนี้ เครฟิชที่เป็นที่รู้จักได้แก่สกุล Cherax หรือในบ้านเรานิยมเรียกว่ากุ้งสาย C ได้แก่ Cherax tenuimanus, Cherax quadricarinatus, Cherax destructor, Cherax preissii ฯลฯ เครฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์Astacoideaแต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร


เช่น กุ้งก้ามแดง เดส ฯลฯ
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ อาทิตย์ 18 ก.ย. 2016 11:04 am, แก้ไขแล้ว 14 ครั้ง.
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร์)

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 10:42 am

รู้จักกับกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิช,ล็อบสเตอร์)

800px-Cherax_Blue_moon.jpg
800px-Cherax_Blue_moon.jpg (99.22 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง


เครย์ฟิช หรือ ครอว์ฟิช (อังกฤษ: Crayfish, Crawfish) เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่แลดูแข็งแรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป, โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียนจายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครย์ฟิชไปแล้วกว่า ๕๐๐ ชนิด ซึ่งกว่าครึ่งนั้นเป็นเครย์ฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธาน อีกทั้งหลายชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย

สำหรับในประเทศไทยไม่มีกุ้งในลักษณะเครย์ฟิช ซึ่งกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่สุดที่พบในประเทศไทย คือ กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ซึ่งในลักษณะกุ้งก้ามกรามนี้ ไม่จัดว่าเป็นเครย์ฟิช

โครงสร้างของร่างกาย

ร่างกายเครย์ฟิชนั้นแบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง หรือ ทอแร็ก คือส่วนที่มีขาใช้สำหรับเดิน ส่วนสุดท้ายคือ ส่วนท้องซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อเยอะมากที่สุด ซึ่งส่วนหัวกับส่วนกลางนั้นเชื่อมติดรวมกันเป็นชิ้นเดียว เรียกว่า เซฟาโลทอแร็ก (ข้อมูลบางแหล่งอาจระบุว่าเครย์ฟิชนั้นมีลำตัวเพียง ๒ ส่วนก็ได้) ทั้งตัวนั้นจะถูกหุ้มด้วยเปลือก หรือ คาราเพซ ซึ่งทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ ใช้สำหรับปกป้องลำตัว และเป็นที่ตั้งของอวัยวะหายใจ คือ เหงือกที่มีลักษณะคล้ายขนนกอยู่ใกล้บริเวณปาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบบหายใจ คือเป็นทางผ่างของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือกนั่นเอง

ในส่วนของขานั้นแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ขาเดิน ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด ๕ คู่ โดยคู่แรกนั้นถูกพัฒนาจนกลายเป็นก้าม ใช้สำหรับหยิบจับอาหารและใช้ต่อสู้ และ ขาว่ายน้ำ จะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อหายใจ รวมทั้งโบกพัดแพลงก์ตอนเข้าหาตัวเพื่อกินเป็นอาหารอีก ในเครย์ฟิชตัวเมีย ขาว่ายน้ำยังใช้เป็นที่อุ้มไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิอีกแล้วต่างหาก

การแบ่งวงศ์และสกุล

เครย์ฟิชนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ วงศ์ใหญ่ ๆ คือ Astacoidea ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก ๒ วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยเครย์ฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือ Procambarus clarkii โดยรวมแล้วเครย์ฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และวงศ์ใหญ่ Parastacoidea ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายา เครย์ฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์ Astacoidea แต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร ชนิดของเครย์ฟิชในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จัก คือ Cherax quadricarinatus

การแบ่งเพศและวงจรชีวิต

เครย์ฟิชนั้นในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีลักษณะน้ำใสสะอาด มีออกซิเจนสูง โดยจะซ่อนตัวอยู่ตามขอนไม้หรือหินใต้น้ำ เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งซากพืชซากสัตว์ด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะไม่หากินทุกวัน แต่จะเว้นระยะไปราว ๑-๒ วัน จึงออกหากินอีกครั้ง มีอาณาเขตของตัวเองประมาณ ๔๐ เซนติเมตร

เครย์ฟิชในวัยเล็กจะมีระยะการลอกคราบบ่อยกว่าตัวที่โตแล้ว โดยจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่หนึ่งครั้งต่อหนึ่งเดือน เมื่ออายุได้ ๑ ปี การลอกคราบจะเหลือเพียงปีละครั้งเท่านั้น การลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลานานราว ๒-๓ วัน กว่าเปลือกใหม่ที่ได้นั้นจะแข็งแรงเท่าเดิม ในบางครั้งอาจมีพฤติกรรมกินเปลือกตัวเองที่ลอกออกหรือของตัวอื่นก็ได้ เพราะร่างกายของเครย์ฟิชในช่วงลอกคราบต้องการแคลเซี่ยมเพื่อสร้างเปลือกใหม่ให้แข็งแรง

การจำแนกเพศนั้น ในวงศ์ Astacoidea เครย์ฟิชตัวผู้จะมีอวัยวะคล้ายตะขออยู่บริเวณขาเดินคู่ที่ ๒ และ ๓ ใช้สำหรับเกาะเกี่ยวตัวเมียในการผสมพันธุ์ และจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า ปาปิลเล บริเวณโคนขาคู่สุดท้าย ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า แอนนูลลัส เวนทราลิส ลักษณะเป็นแผ่นวงรีสีขาว ขนาดประมาณ ๑-๒ มิลลิเมตร บริเวณขาเดินคู่ที่ ๓ นอกจากนี้แล้วในตัวผู้ขาว่ายน้ำคู่แรกและคู่ที่ ๒ จะถูกพัฒนาเป็นแขนเล็ก ๆ เรียกว่า เพทาสมา สำหรับผ่านน้ำเชื้อไปยังตัวเมียอีกด้วย

แต่ร่างกายโดยรวมแล้ว เครย์ฟิชตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งก้ามที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า

ส่วนในวงศ์ Parastacoidea นั้น ตัวผู้จะมีอวัยวะเป็นรูปวงรีบริเวณโคนขาคู่ที่ ๓ ซึ่งตัวเมียไม่มี และอวัยวะส่วนนี้จะแตกต่างไปจากในวงศ์ Astacoide

การผสมพันธุ์นั้น เครย์ฟิชตัวผู้จะประกบตัวเมียจากด้านหลัง และพลิกท้องตัวเมียให้หงายแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้อวัยวะที่คล้ายตะขอนั้นจับตัวเมียในลักษณะท้องชนท้อง หันหัวไปในทางเดียวกัน ตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้กับท้องของตัวเมีย ซึ่งพฤติกรรมนี้เครย์ฟิชในวงศ์ Astacoidea จะใช้เวลานานราว ๑๐ นาที ขณะที่ในสกุล Cherax ในวงศ์ Parastacidae กินเวลาเพียง ๑-๒ นาที เท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิจากน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาราว ๓-๔ สัปดาห์ โดยตัวเมียจะอุ้มไข่ไว้ในช่องท้อง ไข่มีลักษณะวงกลมสีดำคล้ายเมล็ดพริกไทยดำ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งอาจได้ลูกเครย์ฟิชมากถึง ๓๐๐ ตัว ซึ่งเครย์ฟิชในวัยเล็กจะยังอาศัยอยู่กับแม่ โดยกินเศษอาหารที่แม่กินเหลือ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยแยกจากไป


เครย์ฟิชมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาแต่อดีต โดยใช้เป็นอาหารมานาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย โดยมักเป็นอาหารราคาแพงในภัตตาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครย์ฟิชในชนิด Cherax quadricarinatus มีการเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงเป็นการเกษตรกรรมในประเทศออสเตรเลียด้วย สำหรับในประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันที่โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการนำเข้ามาจากออสเตรเลีย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘

นอกจากนี้แล้วในปัจจุบัน ยังมีการนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลาเป็นสัตว์น้ำสวยงามอีกด้วย ทั้งวงศ์ Astacoidea และวงศ์ Parastacoidea โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด Procambarus clarkii ที่มีรูปร่างดูบึกบึน แข็งแกร่ง มีการพัฒนาสายพันธุ์จนมีสีสันที่หลากหลาย จากเดิมที่สีตามธรรมชาติ คือ สีแดง กลายมามีสีที่หลากหลาย เช่น สีฟ้า, สีน้ำเงิน, สีน้ำเงินเข้ม, สีขาว หรือ สีส้มและ สีแดงเข้ม เป็นต้น ซึ่งสำหรับในประเทศไทย เครย์ฟิชชนิดนี้มีการเลี้ยงกันมานานแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี ในชื่อของ "กุ้งแดง" หรือ "กุ้งญี่ปุ่น" สำหรับในตัวที่มีสีสันหลากหลายออกไปตามที่ได้กล่าวมา ก็เรียกชื่อต่าง ๆ กันไปตามสี เช่น "ไบร์ออเรนจ์", "อิเล็คทริคบลู", "กุ้งฟ้า" หรือ "สโนว์ไวท์" เป็นต้น

สำหรับในวงศ์ Parastacoidea สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันก็ได้แก่ Cherax quadricarinatus และ C. tenuimanus เพราะมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียวกัน ทั้งสีฟ้า, สีน้ำตาลอมเขียว หรือ สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ในประเทศไทยนิยมเรียกว่า "กุ้งเรนโบว์" และชนิด C. sp. "zebra" ซึ่งเป็นชนิดที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์ มีสีสันลำตัวที่สวยงาม มีสีดำเป็นเงาสลับกับลายปล้องสีขาวอมส้ม ก้ามสีขาว ในบางตัวอาจมีก้ามสีน้ำเงินหรือสีม่วงสวยงาม ซึ่งนิยมเรียกว่า "กุ้งม้าลาย" หรือ "กุ้งซีบร้า"

ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ จันทร์ 09 พ.ค. 2016 2:36 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร์)

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 10:52 am

แนะนำสายพันธุ์กุ้งเครย์ฟิช : Cherax tenuimanus ( Hairy Marron ) และ Cherax cainii ( Smooth Marron )

800px-Procambarus_clarkii9284490.jpg
800px-Procambarus_clarkii9284490.jpg (104.74 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง


กุ้งเครย์ฟิช ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีชื่อสามัญนามว่า Marron นี้ มีอยู่สองพันธุ์ก็คือ Cherax tenuimanus ( Hairy Marron ) และ Cherax cainii ( Smooth Marron ) เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก จนเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันมาก่อน แต่ในปัจจุบันนั้น ได้มีการแยกเป็นสองชนิด โดยที่ Cherax tenuimanus มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์มากว่า Cherax cainii ที่ในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงในระบบฟาร์มได้ในออสเตรเลียตะวันตก และ พื้นที่อื่นๆ ของประเทศออสเตรเลีย

กุ้ง Cherax cainii จะสามารถพบได้ตลอดแนวยาวของแม่น้ำ Hutt ซึ่งทอดยาวเป็นระยะทางไกลอยู่ทางออสเตรเลียตะวันตกเฉียงใต้ แต่กุ้ง Cherax tenuimanus นั้น จะพบอยู่แค่บริเวณแนวแม่น้ำสายสั้นๆ ชื่อ Margaret ทางตะวันตกเฉียงใต้ เกือบสุดขอบพื้นดิน และเป็นทางลงสู่ท้องทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศออสเตรเลียเท่านั้นครับ

Cherax tenuimanus ( Hairy Marron ) และ Cherax cainii ( Smooth Marron ) นั้นมีความแตกต่างในส่วนของรายละเอียดบางส่วนของร่างกาย ที่แสดงถึงความเป็น Sub species กัน ก็คือ ส่วนหัวของ Hairy Marron จะมีขนปกคลุม และลักษณะของส่วนสันที่ดูเป็นร่องบนส่วนหัวของกุ้งนั้น , Hairy Marron จะมีแนวสันที่ลากต่อยาวยาวไปจนถึงสุดส่วนที่เป็น Carapace ซึ่งในส่วนของ Smooth Marron แนวสันที่ส่วนหัวนี้ จะมีระยะที่สั้นกว่าครับ และ ส่วนหัว , ก้าม และ ปลายหาง จะแตกต่างกันเล็กน้อย

กุ้ง Marron สามารถเติบโตได้ถึง ๓๘๐ มิลลิเมตร ( ความยาวลำตัว ) โดยที่อาจจะเทียบขนาดความใหญ่ของกุ้งได้จาก การวัดขนาดของส่วนหัวกุ้งจากปลายแหลมของกรี ไปจนถึงด้านหลังของส่วนหัว เพื่อใช้ในการกะขนาดคร่าวๆ โดยไม่ต้องใช้การชั่งน้ำหนักก็ได้ว่า กุ้งตัวใหน จะมีขนาดใหญ่กว่ากัน หากมีการจับกุ้งมาหลายๆตัว และต้องการเปรียบเทียบด้านขนาด และ ปริมาณน้ำหนัก แบบคร่าวๆ

สีสันของกุ้ง Marron นั้นก็มีความหลากหลายสูง สีสันของกุ้งในธรรมชาตินั้น ส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลอมเขียว ( สีมะกอก ) นานๆครั้งจะพบสีน้ำเงินเข้มสวยงาม ในธรรมชาติซักครั้ง ( มักพบสีสันนี้ ในกุ้งที่เลี้ยงเพื่อความสวยงามใน Aquarium มากกว่า นั้นก็คือ สีสันที่บ้านเราจะเรียกกันว่า Electric Blue นั่นเองครับ แต่สำหรับในต่างประเทศ อาจจะเรียกสีสันแบบนี้ว่า Cobalt blue ครับ นอกจากนี้ ยังมีสีสันลวดลาย ที่เรียกกันว่า tiger และ สีดำสนิท ที่เรียกกันว่า jet-black ด้วยเช่นกันครับ

เมื่อกุ้ง Marron อายุได้ประมาณ ๒ – ๓ ปี ลูกกุ้งวัยอ่อน ก็จะเริ่มจะเข้าสู่วัฏจักรของการเจริญพันธุ์ของกุ้ง โดยกุ้งจะเริ่มทำการผสมพันธุ์และเริ่มวางไข่ ในช่วง ฤดูใบไม้ผลิ ที่อากาศเริ่มจะเข้าสู่ความอบอุ่น และ อุณหภูมิเหมาะสม กุ้งตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้แล้ว จะทำการวางไข่ซึ่งจะมีปริมาณอยู่ที่ระหว่าง ๒๐๐ – ๔๐๐ ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาด และ ความสมบูรณ์ของตัวเมีย โดยที่จากสถิติกุ้งตัวเมียที่มีขนาด และ ความสมบูรณ์เพศสูงสุด จะสามารถให้ผลผลิตไข่ได้ถึง ๘๐๐ ฟองเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามกุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้ เป็นกุ้งที่อัตราการให้ผลผลิตไม่มากรอบต่อปีนัก เนื่องจากตัวเมียจะใช้เวลาในการพัฒนาไข่อยู่ในตัวค่อนข้างนาน เกือบครึ่งปี ต่อครอกเลยทีเดียว โดยตัวเมียสามารถเก็บถุงน้ำเชื้อจากตัวผู้ ที่ฝากเอาไว้ได้นาน และ สามารถนำออกมาผสมกับไข่ที่พร้อมจะปล่อยออกมาในภายหลังได้เสมอ

พอช่วงหน้าร้อนมาถึง ลูกกุ้ง Marron ก็จะเจริญเติบโต เตรียมออกจากท้องของแม่กุ้งแล้ว ในระยะนี้ลูกกุ้งจะพร้อมสำหรับการออกหากินอาหาร และ จะกินอาหารต่างๆได้ดีแล้ว และ จะทยอยออกมาจากช่วงท้องของแม่ และไหลปะปนกับสายน้ำในแหล่งกำเนิด เพื่อไปเจริญเติบโตในที่ต่างๆต่อไปตามธรรมชาติ และแม่กุ้งก็จะลอกคราบ และ ออกหากินอาหาร ที่มีอย่างสมบูรณ์ตามฤดูกาล เพื่อเข้าสู่วัฏจักรตามธรรมชาติเหมือนกับในทุกๆปีต่อไป

ลูกกุ้ง Marron ที่ผ่านขั้นตอนการเจริญเติบโตตามที่ได้กล่าวมานี้นั้น ก็จะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายมาเป็น กุ้งเครย์ฟิชน้ำจืด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลียได้ และ เป็นหนึ่งในกุ้งเครย์ฟิชน้ำจืด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกใบนี้อีกชนิดหนึ่ง

กุ้ง Marron ที่โตเต็มวัยนั้น จะชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีพื้นเป็นทราย ตามแม่น้ำ และ ร่องสันเขื่อนต่างๆ โดยที่พื้นที่เหล่านั้น อาจจะอุดมไปด้วย วัสดุตามธรรมชาติที่จมน้ำอยู่เช่น ต้นไม้ ใบไม้ต่างๆ และก้อนหินต่างๆ ที่จมน้ำระเกะระกะอยู่ กุ้ง Marron จะชอบพื้นที่ในลักษณะนี้มาก เนื่องจากวัสดุตามธรรมชาติที่ตกหล่นอยู่ตามพื้นน้ำพวกนี้ จัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหาร และ ที่หลบซ่อนตัวชั้นยอด สำหรับพวกมัน

การทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง Marron ได้รับความนิยมในประเทศออสเตรเลียพอสมควร และ มีการทำฟาร์มเลี้ยงกันในหลายพื้นที่ เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และก็จะมีกุ้งบางส่วน ได้นำไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามในประเทศต่างๆ ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับฟาร์มเลี้ยงกุ้ง Cherax destructor และ กุ้ง Cherax quadricarinatus แล้ว ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง Marron ก็ยังถือว่ามีน้อยกว่าครับ

สำหรับวิธีการทำฟาร์มกุ้ง Marron นั้น ผู้สนใจทำฟาร์ม ก็สามารถขุดบ่อที่มีความลึก ๑ – ๒ เมตรได้ ความกว้างของบ่อแต่ละด้าน ก็ได้ตั้งแต่ประมาณ ๕๐๐ เมตรขึ้นไป ถ้าเป็นบ่อดินนะครับ ส่วนบ่อปูน หรือ อ่างตู้กระจกใหญ่ๆ ก็ขอให้มีขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อการเลี้ยงกุ้งรวมกันได้หลายตัว โดยแต่ละบ่อนั้นถ้าเป็นบ่อดิน ขอให้ก่อเป็นเนินดินที่ สามารถเดินเชื่อมถึงกันได้ เพื่อความสะดวกในการดูแล และ ให้อาหารแก่กุ้ง Marron ในบ่อ ผู้เลี้ยงสามารถที่จะใช้ท่อ PVC ขนาดกลาง หรือ ใหญ่ ขึ้นอยู่กับ ขนาดของกุ้งในบ่อ ว่าเป็นกุ้งที่อยู่ในช่วงวัยใด ตัวขนาดเล็ก กลาง หรือ ขนาดใหญ่ที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือบางครั้ง การใช้ยางรถยนต์เก่าๆ มาผ่าครึ่ง หรือ ผ่าสี่ส่วนแล้วโยนลงไปในบ่อ อย่างเป็นระเบียบ ก็สามารถใช้เป็นที่หลบซ่อนของกุ้ง Marron ในวัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การปล่อยกุ้ง Marron ก็อย่าให้หนาแน่นมากนัก เพราะกุ้งจะมีปัญหาการกระทบกระทั่ง หรือ กินกัน ทำให้ได้ผลผลิตที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการเลี้ยงกุ้ง Marron นั้น จะเป็นผู้กำหนดว่า กุ้งจะมีอัตราการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร โดยขึ้นอยู่กับ แสงสว่าง , อุณหภูมิ และ อาหารที่มี โดยการจับคู่ผสมพันธุ์ของกุ้ง Marron นั้น จะเริ่มตั้งแต่ช่วงอุณหภูมิ ๑๑ องศาเซลเซียส และ มีแสงสว่างยืนยาวขึ้นในเวลากลางวัน โดยขนาดของพ่อและแม่พันธุ์ของกุ้ง Marron นั้น ควรจะใช้ขนาดอายุตั้งแต่ ๒ – ๓ ปีขึ้นไป จะเหมาะสมมาก ยิ่งถ้าพ่อและแม่พันธุ์มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสได้ผลผลิตลูกกุ้งมากขึ้นไปด้วย โดยที่ส่วนใหญ่แล้วการจับคู่ จะมีก่อนช่วงฤดูใบไม้ผลิ ( บ้านเราไม่มี ฤดูใบไม้ผลิ เอาเป็นว่าพอหมดช่วงอากาศเย็นมากๆ เริ่มอุ่นขึ้นแทน ก็แล้วกันนะครับ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ใช้การปรับเครื่องทำความเย็นเอาแทนก็แล้วกันเด้อครับ อิอิอิ ) ตัวเมียที่ผ่านการจับคู่แล้ว ก็จะให้ไข่ประมาณ ๒๐๐ – ๓๐๐ ฟอง โดยจะทำการเก็บไข่ไว้ที่ส่วนหาง ประมาณ ๑๒ – ๑๖ สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ที่จะมีผลต่อการพัฒนาตัวอ่อนจากไข่ของแม่กุ้งครับ

สำหรับในหน้าที่ไม่ใช่หน้าผสมพันธุ์ เช่น ช่วงหน้าร้อน การเลี้ยงดู และ ขุนกุ้งนั้น ก็ควรจะใช้หลักสัดส่วน ตัวเมีย ๓ ต่อ ตัวผู้ ๑ ตัว จะเป็นสัดส่วนทีเหมาะสมที่สุดครับ สำหรับการเตรียมการขุนกุ้ง Marron ครับ พอกุ้งจับคู่ผสมพันธุ์กันตามฤดูกาลดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว พอมีตัวเมียตัวใหนเริ่มตกไข่ ก็ขอให้ทางผู้เลี้ยงทำการจับคัดแยก ตัวเมียที่มีไข่แล้ว เอาไปไว้ที่บ่อเตรียมอนุบาลลูกกุ้งต่อไปครับ เพื่อที่เวลาลูกกุ้งออกมาเป็นตัวแล้ว จะได้ทำการจัดเตรียมการอนุบาลได้ง่ายครับ

กุ้ง Marron ค่อนข้างจะง่ายต่อการดูแล มากกว่าญาติๆกลุ่มกุ้งด้วยกันหลายๆชนิด เพราะกุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้นั้น ไม่ค่อยจะขุดรูหนีไปไหน ทำให้ค่อนข้างง่ายต่อการดูแลมากกว่ากุ้งเครย์ฟิช ที่เลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆครับ สำหรับค่าต่างๆในน้ำที่ควรจะต้องดูแลนั้น กุ้ง Marron จะเติบโตได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิประมาณ ๒๔ องศาเซลเซียส และ จะหยุดการเจริญเติบโต ที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๑๒.๕ องศาเซลเซียส แต่ถ้าอุณหภูมิมากกว่า ๒๔ องศา เป็นต้นไป กุ้งจะเจริญเติบโตได้ช้าลง และค่าความกระด้างของน้ำ ไม่ควรเกิน ๑๕ ppt ( parts per thousand ) แต่ค่าความกระด้างของน้ำที่เหมาะสมที่สุด จะอยู่ที่ประมาณ ๖ – ๘ ptt ครับ

โดยปกติแล้ว กุ้ง Marron จะชอบค่า pH ที่ประมาณ ๗.๐ ถึง ๘.๕ แต่ในสภาพของฟาร์มที่มักจะอยู่กลางแจ้ง และ ถูกแสงแดด ก็จะทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นมาได้ นอกจากนี้แสงแดดที่แรง บวกกับสารอินทรีย์ในน้ำ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ตะไคร่บูม ได้ ซึ่งมีผลทำให้ เกิดภาวะขาดแคลนอ็อกซิเจนในน้ำได้ ดังนั้น ผู้เพาะเลี้ยงก็ควรที่จะต้องระวังในจุดนี้ด้วย อาจจะใช้การเติมอากาศ ในน้ำ โดยการใช้เครื่องจักรปั่นน้ำ มาช่วย ก็สามารถทำได้ครับ

สำหรับการให้อาหารในบ่อนั้น บ่อในธรรมชาติ ก็จะมีพวกอาหารธรรมชาติ สำหรับกุ้งเครย์ฟิชอยู่บ้างแล้ว แต่ผู้เพาะเลี้ยงก็สามารถให้อาหารสำเร็จรูปจมน้ำ สำหรับกุ้ง เพื่อให้กุ้งมีขนาดและน้ำหนักที่ดีมากขึ้นได้ แต่ผู้เพาะเลี้ยงไม่ควรให้อาหารมาก เพราะว่า จะทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย และ เป็นการลดปริมาณอ็อกซิเจนในน้ำได้ครับ

อันตัวของกุ้ง Marron นั้น ถ้าได้รับการดูแลอย่างดีแล้ว จะสามารถเติบโตได้ถึง ๖๐– ๑๕๐ กรัม ภายใน ๑ ปี และ จะเติบโตได้ถึง ๑๐๐ และ ๓๐๐ กรัม ภายในสองปี เลยทีเดียว

ปัญหาเกี่ยวกับโรคภัยต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่ ถ้ากุ้งได้รับการดูแล ในเรื่องของคุณภาพน้ำ และ อุณหภูมิต่างๆ เป็นอย่างดีแล้วนั้น ก็ไม่ค่อยจะพบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคภัยนัก แต่อาจจะมีพวกสัตว์เล็ก ๆ หรือ ปรสิต ที่จะแอบอาศัยอยู่ตามร่องเปลือก และเหงือกของกุ้งอยู่บ้าง ซึ่งถ้ามีการระบาดมากๆ ก็จะทำให้กุ้งโตช้าได้เหมือนกันครับ ซึ่งพวกนี้ จะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำที่ต่ำ ซึ่งจะเป็นปัญหาหลักๆ เลยในการสูญเสียปริมาณของกุ้ง Marron ที่เลี้ยงอยู่ เนื่องจากจะมีพวกโปรโตซัวต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อกุ้งเกิดขึ้นในระบบครับ

ปัจจุบันนี้ กุ้ง Marron ได้มีการนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยแล้วครับ โดยมีความพยายามในการที่จะเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิช ชนิดนี้ให้ได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องใช้เวลาซักระยะ เนื่องจากองค์ความรู้ต่างๆ ที่มี ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม ในส่วนของการปฏิบัติการจริง อย่างไรก็ตาม ก็ขอเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุน และ เป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ต้องการเพาะพันธุ์กุ้งชนิดนี้ ในบ้านเราต่อไปนะครับ

เรียบเรียง : กษิดิศ วรรณุรักษ์

ภาพ : วิกิพีเดีย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิช,ล็อบสเตอร์)

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:05 am

สายพันธุ์กุ้งเครย์ฟิช

เขียนโดย คุณ SongOn จาก http://aqua.c1ub.net/

ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงเครฟิชกันเกือบ ๑๐ ปี แล้ว เอาเป็นว่าระยะที่เริ่มมีขายกันเป็นล่ำเป็นสัน หาซื้อได้ง่าย คนเลี้ยงก็มีอยู่เยอะนั่นละ สมัยนั้นจะหาซื้อเครฟิชก็มีเครฟิชในสกุล Cherax กับ Procambarus ส่วนสกุลอื่นๆ หาซื้อยากมาก สำหรับคนที่อยากเลี้ยงเครฟิชในสกุลอื่นๆ ก็ต้องหอบหิ้วกันมาเองจากต่างประเทศ ราคาก็สูงอยู่ ไม่เหมือนพวก Cherax กับ Procambarus ที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูงนัก ใครๆ ก็ซื้อหามาเลี้ยงได้ เพาะพันธุ์ก็ไม่ยาก และมีสีสันสวยงาม แล้วเจ้าเครย์ฟิชใน ๒ สกุลนี้ ไม่มีชื่อไทย เรียกชื่อวิทยาศาสตร์ก็เรียกยาก จำก็ยาก ทำให้ในตลาดจึงตั้งชื่อเรียกเสียใหม่ให้สั้น จดจำได้ง่ายขึ้น ก็เรียกสกุล Cherax ว่า เครฟิชสาย C ส่วนสกุล Procambarus ก็เรียกกันว่า เครฟิชสาย P



เดี๋ยวนี้ในตลาดในบ้านเรามีเครฟิชสายพันธุ์ต่างๆ มากมาย มีผู้ค้าทั้งรายเล็กรายใหญ่นำเครฟิชสายพันธุ์ต่างๆ เข้ามาขายในประเทศกันเสียจนคนเลี้ยงเล่นๆ ทั่วๆ ไป แยกกันไม่ออกแล้วว่า พันธุ์ไหนหน้าตาเป็นอย่างไร และเดี่ยวนี้ในตลาดก็ไม่ได้มีแต่เครฟิชสาย C (Cherax) กับสาย P (Procambarus) แล้วนะครับ ลองดูในห้องซื้อ-ขาย ก็จะพบว่ามีขายอีกหลายสกุลเลยทีเดียว แต่ที่แน่ๆ ยังไงเครฟิชสาย C กับเครฟิชสาย P ก็ยังเป็นเจ้าตลาดอยู่เสมอมา

เอาละ เรามาทำความรู้จักเครฟิชกันในแต่ละวงศ์กันดีกว่า

เริ่มด้วยวงศ์ Astacidae

วงศ์นี้พบกระจายอยู่แถบเถือกเขาร็อกกี้ ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐบริติสโคลัมเบีย ประเทศคานาดา และพบทั่วไปในยุโรป Astacidae มี ๓ สกุล ๑๖ สปีชีส์

Astacus astacus

astacus_astacus_ff6987.jpg
astacus_astacus_ff6987.jpg (154.1 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ จันทร์ 09 พ.ค. 2016 2:37 pm, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร์)

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:09 am

Astacus leptodactylus

astacus_leptodactylus_fd0372.jpg
astacus_leptodactylus_fd0372.jpg (93.75 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร์)

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:12 am

วงศ์ Cambaridae

วงศ์นี้พบในภาคตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา กับทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก มี ๑๒ สกุล ๔๔๐ สปีชีส์

ในวงศ์นี้มีเลี้ยงกันในประเทศไทยอยู่หลายสกุลอยู่เหมือนกัน มี Procambarus เป็นสกุลที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ส่วนอีกสกุลหนึ่งที่เริ่มนิยมเลี้ยงกัน แต่ก็ยังไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากยังมีราคาสูง คือ Cambarus

Cambarus (Tubericambarus) polychromatus (Paintedhand Mudbug Crayfish)

[attachment=0]polychromatus.jpg[/attachment]
ไฟล์แนป
polychromatus.jpg
polychromatus.jpg (35.84 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิช,ล็อบสเตอร

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:18 am

Cambarus diogenes หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Devil Crayfish

Cambarus_diogenes.jpg
Cambarus_diogenes.jpg (480.71 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ จันทร์ 09 พ.ค. 2016 2:39 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:20 am

Cambarus Pyronotus หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Fireback crayfish

6517172965_a2847716be_z.jpg
6517172965_a2847716be_z.jpg (262.02 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:21 am

Procambarus Rogersi มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Seepage Crayfish

6809302929_694100f51c_z.jpg
6809302929_694100f51c_z.jpg (204.88 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:22 am

Procambarus Pygmaeus หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Christmas Tree Crayfish

procambarus_pygmaeus.jpg
procambarus_pygmaeus.jpg (38.83 KiB) เปิดดู 31544 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:23 am

Procambarus Fallax มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Marble Crayfish

marbledCrayfish1.jpg
marbledCrayfish1.jpg (49.97 KiB) เปิดดู 27867 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: รวมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิซ,ล็อบสเตอร

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 09 พ.ค. 2016 11:24 am

Procambarus clarkii สปีชีส์นี้อยู่ในสกุลย่อย Scapulicambarus (Red Swamp Crayfish)

เป็นสปีชีส์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย มีชื่อทางการค้าให้เรียกกันง่ายๆ ตามสีที่ปรากฏหรือภูมิลำเนาเดิม เช่น Blue Spot, Snow White, Red Japan, Bright Orange เป็นต้น

สีสันดั้งเดิมของสายพันธุ์นี้ จึงได้ชื่อว่า Red Swamp Crayfish ต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนมีหลากสีสัน

4923944597_0897b0264f.jpg
4923944597_0897b0264f.jpg (177.82 KiB) เปิดดู 27867 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง บ้านเพียงพอ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน

cron