น้ำฟ้า..ปัณณ์รัก..นวนิยายไทย..นวนิยายเสียง..ข่าวสารการเขียน

เสวนาภาษาไทย

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 19 มิ.ย. 2016 12:18 pm

ตอนนี้ที่ทุ่งนามีกระต๊อบหลังเล็กๆพอกันแดดกันฝน รอสักพักจะสร้างใหม่ให้น่ารักๆน่าอยู่

029_resize.jpg
029_resize.jpg (79.19 KiB) เปิดดู 102631 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 19 มิ.ย. 2016 12:18 pm

ถ้าสำเร็จเมื่อไรจะพาไปเที่ยว...เป็นกำลังใจให้เค้าด้วยนะ

030_resize.jpg
030_resize.jpg (76.04 KiB) เปิดดู 102631 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 04 ก.ย. 2016 12:21 pm

ครูนงลักษณ์ ชะนูดหอม ผู้ประพันธ์กลอนสำนวนนี้ เป็นแฟนเพจที่คาดว่าน่าจะติดตามมานานพอสมควร จึงรู้รายละเอียดของเราหลายด้าน ครูนงลักษณ์เป็นสาวใต้ที่ใจบุญ มักจะโอนเงินมาร่วมทำบุญเสมอๆ จากคนที่ไม่เคยพบหน้า ไม่เคยได้ยินเสียง แต่กลับลึกซึ่งในความรู้สึก ขอบคุณจากใจจริงๆค่ะ กลอนสำนวนนี้ประทับใจมาก

9999999.jpg
9999999.jpg (180.07 KiB) เปิดดู 102039 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 04 ก.ย. 2016 12:23 pm

เมืองพร้าวแห่งความทรงจำ ....น้ำฟ้า (น้ำฝน ทะกลกิจ)

1111.jpg
1111.jpg (114.33 KiB) เปิดดู 102039 ครั้ง


อดีตมักจะฝังรากลึกอยู่ในซอกหลืบความทรงจำของมนุษย์ทุกคน ยามใดที่ได้เห็นภาพเก่าๆ บุคคลเก่าๆ หรือได้ยินเรื่องราวเก่าๆ ความทรงจำเหล่านั้นก็จะหวนคืนกลับมา และฉายชัดให้เกิดความรู้สึกดีๆอยู่เสมอ เช่นเดียวกับข้าพเจ้าที่มีความรู้สึกผูกพันต่อบ้านเกิดอย่างยากจะลืมเลือน ดังนั้นไม่ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ที่ใด เรื่องราวความหลังก็ยังกระจ่างชัดราวกับเหตุการณ์ในอดีตมาปรากฏอยู่ตรงหน้า “เมืองพร้าว” บ้านเกิดของข้าพเจ้า บ้าน...ที่มีภูเขาโอบล้อมโดยมีทุ่งนาเขียวขจีโอบกอดอยู่อีกชั้นหนึ่ง บ้าน...อันเงียบสงบแต่กลับมีเรื่องราวน่าพิศวงอย่างมากมาย ซึ่งข้าพเจ้าจะค่อยๆเล่าสอดแทรกไปกับการเล่าเรื่องราววัยเยาว์เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น


ความทรงจำของข้าพเจ้าเริ่มต้นเมื่อประมาณสามสิบกว่าปีก่อน ข้าพเจ้าเป็นลูกสาวคนโตของพ่อและแม่ซึ่งเป็นคนเชื้อสายล้านนาแท้ๆ เกิดในหมู่บ้านสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ วีถีชีวิตจึงถูกบ่มเพาะด้วยวัฒนธรรมประเพณีล้านนาอยู่ตลอดเวลา จวบจนทุกอย่างแทรกซึมเข้ามาอยู่ในทุกความรู้สึกนึกคิดและการกระทำมาจนถึงปัจจุบัน


ในความทรงจำอันงดงาม บ้านหลังแรกในชีวิตของข้าพเจ้าเป็นบ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของบ้านอุ๊ย หรือตามภาษาไทยนั้นหมายถึงปู่ ย่าตา ยาย โดยในที่นี้ คือบ้านปู่กับย่า ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านแม่ต๋าซึ่งเป็นน้องสาวคนเล็กของปู่ ถัดจากบ้านจะเป็นป่าละเมาะกินเนื้อที่ไปจนถึงแนวกอไผ่ซึ่งขึ้นอยู่ตามแนวคลองเล็กๆที่เราเรียกกันว่าน้ำเหมือง ลำน้ำสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงคนในหมู่บ้านมาตั้งแต่โบราณกาล


ครอบครัวของข้าพเจ้าเป็นครอบครัวใหญ่ ครอบครัวที่ว่าประกอบด้วยพ่อแม่ ปู่ย่า ป้า และน้าๆอีก ๕ คน นอกจากนี้ยังมีครอบครัวแม่ต๋าที่มีสมาชิกอีก ๗ คน อันได้แก่ อุ๊ยหม่อน พ่อของปู่ผู้มีอายุประมาณเก้าสิบกว่าปี พ่อปัน น้องชายของปู่และเป็นพี่ของแม่ต๋า แม่ต๋ากับสามี และลูกๆอีก ๓ คน พวกเราทั้ง ๓ ครอบครัวอาศัยอยู่ภายในรั้วเดียวกัน รั้วที่ว่าก็เป็นการปลูกไม้ดอกและไม้ประดับเป็นแนวให้รู้อาณาเขตเท่านั้นเอง ไม่ได้มีความแน่นหนาใดๆ เช่นเดียวกับประตูรั้วที่ปล่อยเอาไว้เป็นช่องว่าง ใครจะเดินเข้าเดินออกก็สะดวก แต่ก็ระวังมะพร้าวหล่นใส่หัวด้วยก็แล้วกัน เพราะตรงประตูทางเข้าบ้านนั้นจะปลูกต้นมะพร้าวขนาบไว้ทั้งสองฝั่ง


สมัยที่ยังเด็กนั้นข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าอาณาจักร เหตุเพราะเป็นหลานสาวคนแรกของครอบครัว และยังเป็นเด็กสาวหนึ่งในไม่กี่คนในละแวกบ้าน ที่สำคัญพวกพี่ๆมักจะชวนกันมาเล่นที่กลางข่วงบ้านข้าพเจ้าอยู่เสมอ เพราะมีพื้นที่กว้างขวาง ทำเลเหมาะสม มีหน้าบ้านติดถนน หลังบ้านบ้านติด
น้ำเหมือง ช่วงเวลาปกติเราก็จะชวนกันเล่นเบี้ย อีโป้ง ซ่อนหา อีจ้ง เป่ากบฯลฯ แต่ถ้าช่วงน้ำนองพวกเราก็จะแอบไปเล่นน้ำเหมืองหลังบ้านโดยการตัดต้นกล้วยแล้วเอามาขี่ให้ไหลตามน้ำไปถึง “ปุม” หรือฝายซึ่งอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก ชีวิตในวัยเด็กของข้าพเจ้าจึงค่อนข้างซนประหนึ่งเป็นเด็กผู้ชาย เนื่องจากได้เล่นกับเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ประกอบกับพ่อชอบให้ใส่กางเกงมากกว่ากระโปรง แถมยังทำกระสอบทรายให้ฝึกมวยอีก แต่กระนั้นแม่ก็ไม่ยอมให้ตัดผม ปล่อยผมข้าพเจ้าให้ยาวสลวยลงมาถึงบั้นเอว พ่อคงไม่ชอบเท่าไรนักแต่ก็ทำอะไรไม่ได้


ก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ นั้น ข้าพเจ้าไม่ยอมไปอยู่ศูนย์เด็กเล็กที่โบสถ์คริสต์เหมือนเพื่อนคนอื่น จริงๆพ่อแม่ก็พยายามพาไปอยู่เหมือนกัน แต่ข้าพเจ้านั้นร้องไห้ไม่หยุด ครูที่ศูนย์เด็กถึงขั้นพาซ้อนท้ายจักรยานออกไปเที่ยวตามบ้านคนแต่ข้าพเจ้าก็ไม่ยอมหยุดร้อง เป็นเช่นนั้นอยู่นานพ่อจึงตัดสินใจว่าค่อยรอไปเรียนชั้นประถมฯเลยก็แล้วกัน ระหว่างที่พ่อแม่ไปทำงานข้าพเจ้าก็จะอยู่กับปู่ ย่า หรือน้าๆ บางวันถึงได้ติดสอยห้อยตามพ่อแม่ไปบ้าง
ครอบครัวของข้าพเจ้าเป็นครอบครัวเกษตรกรโดยแท้ จำได้ว่าตอนยังเล็กๆ เราจะเลี้ยงควายเอาไว้ใต้ถุนหลองข้าว มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มันคลอดลูกแล้วลูกควายน้อยไม่แข็งแรง พ่อต้องซื้อนมมาใส่ขวดนมให้มันกิน ข้าพเจ้าเป็นคนดูแลมันอยู่หลายวันแต่สุดท้ายมันก็ตาย เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าแอบร้องไห้อยู่นานทีเดียว นอกจากควายแล้วครอบครัวเรายังเลี้ยงสุนัขพันธุ์ไทยไว้สองตัวมันชื่อดิ๊กกับมุม มันทั้งสองทำตัวน่ารักไม่เคยกัดคนหรือแม้แต่ไก่ที่พ่อกับปู่เลี้ยงเอาไว้เต็มบ้าน มีเห่าคนแปลกหน้าอยู่บ้างแต่พอห้ามก็หยุด มันอยู่กับครอบครัวเราไปจนอายุประมาณ ๑๐ ปีจึงตายตามอายุขัย ข้าพเจ้าแอบร้องไห้อีกเช่นเคย หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าคนในครอบครัวจะนำสุนัขมาเลี้ยงอีกเลย


ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าครอบครัวของเราเป็นเกษตรกร แต่น้าคนที่ ๔ กลับประกอบอาชีพแตกต่างจากคนอื่นๆ นั่นคือมีอาชีพเป็นช่างซอ โดยคนจะรู้จักในนาม บัวคำเมืองพร้าว น้าบัวคำเป็นศิษย์ของแม่ครูคำปัน บ้านทุ่งหลวง และเป็นรุ่นน้องของแม่ครูบัวซอนศิลปินแห่งชาติ ยามน้าไปซอตามงานต่างๆที่มีคนว่าจ้าง ปู่ก็จะตามไปเป็นช่างปี่ คอยเป่าปี่เพื่อให้จังหวะช่างซอบนเวที ไม่เพียงแต่งานที่ถูกว่าจ้างเท่านั้น หลายครั้งที่น้าไปช่วยซอการกุศลตามวัดต่างๆ น่าเสียดายที่น้าบัวคำอายุสั้นนัก อายุเพียงสามสิบต้นๆก็จากครอบครัวไปอย่างไม่มีวันกลับ ผลงานสุดท้ายของน้า คือการแสดงละครซอของโทรทัศน์ช่อง ๘ อสมท. หากน้าบัวคำยังมีชีวิตอยู่ ท่านคงเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะช่วยรักษาศิลปะการซอเอาไว้ตราบจนชั่วลูกชั่วหลาน
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 04 ก.ย. 2016 12:25 pm

22222.jpg
22222.jpg (181.4 KiB) เปิดดู 102039 ครั้ง


ชีวิตของคนชนบทเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและความสุข ในช่วงต้นๆของชีวิตนั้น ด้วยความที่ข้าพเจ้าเป็นหลานคนเดียว พวกน้าๆจึงอยากให้ไปนอนด้วย ทว่าพอได้ครึ่งคืนข้าพเจ้าก็จะร้องไห้หาแม่ แต่พอนานไปก็ชิน จึงเปลี่ยนที่นอนเป็นว่าเล่น แต่ถึงจะไม่ได้ไปนอนกับน้าๆ ตอนเช้าก็จะมีคนมาปลุกให้ข้าพเจ้าตื่นอยู่ดี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่น้าๆจะตื่นแต่เช้ามืดเพื่อกวาดเศษใบไม้ ทำความสะอาดบ้าน แต่ข้าพเจ้าว่าคงนอนไม่หลับมากกว่า เพราะพอย่างเข้าเที่ยงคืนวันที่ ๑๒ เมษายน ก็จะมีเสียงประทัด เสียงเคาะเกราะ หรือแม้แต่เสียงปืนดังอยู่ตลอดเวลา แม่บอกว่าเขาทำเสียงดังแบบนั้นเพื่อไล่ขุนสังขานต์ ในขณะที่น้าๆบอกว่าให้รีบตื่นมาดูสังขานต์ตอนเช้าวันที่ ๑๓ เมษายน เพราะสังขานต์จะเดินทางมาปีละครั้งโดยเดินจากทิศเหนือไปทิศใต้ สังขานต์ จะตัวสูงใหญ่มีตะกร้าแบกไว้ที่หลังเพื่อเก็บขยะที่แต่ละบ้านกวาดไปรวมๆไว้ พอถึงตอนเช้าน้าๆก็จะตะโกนโหวกเหวกปลุกข้าพเจ้าให้ตื่นมาดูสังขานต์ แต่ลงมาทีไรสังขานต์ก็ไปเสียแล้วทุกที เพิ่งจะมารู้ตอนโตว่า แท้จริงแล้ว “ขุนสังขานต์” คือ สุริยเทพ ซึ่งเป็นบุคลาธิษฐานของพระอาทิตย์ดังตำราโบราณล้านนาชื่อ คัมภีร์สุริยาตร์ ได้กล่าวถึงการใช้การโคจรของ ดวงอาทิตย์เป็นหลักในการคำนวณและกำหนดวันเปลี่ยนศักราชใหม่ คือ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันแรก หรือประมาณช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกปี


วันสังขานต์ล่อง คือ วันแรกของวันสงกรานต์ ครอบครัวของเราจะช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ตัดใบตองมาตากแดดเตรียมไว้สำหรับที่จะห่อขนมและทำห่อนึ่ง สำหรับข้าพเจ้านั้นไม่มีหน้าที่ใดมากนัก จึงออกไปเล่นน้ำสงกรานต์กับเพื่อนๆพอตกเย็นก็กลับมาสระเกล้าดำหัว ซึ่งก็คือการสระผมนั่นเอง ทุกๆปีหนังสือปีใหม่เมืองจะระบุให้ทราบว่าจะต้องสระผมไปทางทิศใด เมื่อสระผม อาบน้ำ แต่งตัว ใส่เสื้อผ้าใหม่แล้วจะต้องนำดอกไม้ชนิดใดมาเหน็บมวยผม สงกรานต์เป็นช่วงเวลาความสุขของข้าพเจ้า เพราะนอกจากจะเป็นประเพณีที่สนุกสนานแล้ว ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลๆยังกลับมาบ้านพร้อมหน้าพร้อมตาอีกด้วย


ถัดจากวันสงขานต์ล่องเป็น วันเนาว์ หรือ วันเน่า แม่สอนว่าในวันนี้ห้ามพูดจาไม่ดี ห้ามด่าทอคนอื่น ในวันเนาว์นี้เป็นวันขนทรายเข้าวัด ซึ่งเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าโดยตรง ข้าพเจ้าจะเป็นตัวแทนของครอบครัวไปขนทรายทุกปี โดยเราจะไม่ใช้ทรายจากลำคลองเพราะถือว่าไม่สะอาดพอ ทรายที่ใช้จะเป็นทรายในนา ข้าพเจ้าจะถือน้ำคุ ถังน้ำเล็กๆไปขนจนครบจำนวนคนในบ้าน ตักทรายได้ก็วิ่งแข่งกับเพื่อนแต่ก็ต้องระวังคันนาให้ดี มิเช่นนั้นอาจจะหกคะเมนตีลังกาได้ ทรายที่ขนมานั้นทางวัดจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เอาไว้ปัก ตุงตั๋วเปิ้ง หรือ ตุงนักษัตรในวันพญาวันนั่นเอง เมื่อขนทรายเสร็จแล้วข้าพเจ้าก็จะรีบกลับบ้านเพื่อไปกินขนมจ็อกหรือขนมเทียน กับห่อนึ่งที่แม่ทำเตรียมไว้ไปวัดและเผื่อแผ่ถึงทุกคนในบ้านด้วย คนทางภาคเหนือจะทำเช่นนี้ทุกบ้าน สำหรับข้าพเจ้านั้นถ้าครั้งไหนกลับมาทันแม่ทำขนมก็จะช่วยนวดแป้งและห่อขนม แรกๆก็ห่อขนมไม่ค่อยสวยเนื่องจากไม่มีมุม แต่ทุกอย่างก็พัฒนาไปตามวัย พอโตขึ้นการห่อขนมหรือห่อนึ่งก็พัฒนาตาม ทว่าข้าพเจ้ากลับไม่ค่อยได้ทำ เหตุเพราะรับราชการอยู่ไกลบ้าน


วันที่สามของปีใหม่เมือง คือ วันพญาวัน ข้าพเจ้าจะถูกจับแต่งตัวแต่เช้าเพื่อไปวัดกับพ่อแม่ โดยพ่อจะแยกไปตานขันข้าวให้ญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนแม่จะไปตักบาตรบนวิหาร ส่วนเด็กๆอย่างข้าพเจ้าก็วิ่งไปทางนั้นทีทางนี้ที จนเบื่อก็กลับบ้านไปทำหน้าที่แท้จริงของตนเอง นั่นคือ การดำหัวญาติผู้ใหญ่ การดำหัวของครอบครัวเรานั้นใช้เวลาเกือบทั้งวัน ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นโดยไปดำหัวอุ๊ยหม่อนก่อน แล้วตามด้วยการดำหัวปู่ จากนั้นจึงตามป้ากับน้าๆออกจากบ้านไปดำหัวพี่ๆน้องๆของปู่กับย่า นับจำนวนแล้วสิบกว่าท่าน เมื่อกลับมาก็ต้องนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่พวกเราเรียกว่า “รถเอ็นตาโร่”เพื่อไปดำหัวตากับยายที่ต่างหมู่บ้านอีก จวบจนหมดวันข้าพเจ้าจะมีด้ายไหมมือ หรือสายสิญจน์มัดอยู่เต็มข้อมือราวกับเพิ่งผ่านพิธีเรียกขวัญมาหยกๆ
วันที่สี่ของวันสงกรานต์ คือ วันปากปี วันนี้จะมีกิจกรรมสำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่เช้าแม่จะนำเสื้อผ้าของทุกคนในบ้านไปสะเดาะเคราะห์ที่วัด หลังจากนั้นช่วงสายๆจะเป็นพิธีส่งเคราะห์บ้าน ช่วงบ่ายก็พากันไปแห่ไม้ค้ำ และดำหัววัด คือ การดำหัววัดต่างๆในละแวกใกล้เคียง ในวันนี้ทุกบ้านจะแกงขนุนตามความเชื่อที่ว่าจะได้มีสิ่งดีๆมาหนุนนำตลอดปี นอกจากนี้ในช่วงกลางคืนยังมีการจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย และเทียนที่เขียนชื่อ วันเดือนปีเกิดของคนในบ้านเพื่อเป็นการต่ออายุและเสริมดวงให้แก่ทุกคนอีกด้วย


ประเพณีสงกรานต์นั้นเป็นประเพณีแห่งการเริ่มต้นจึงมีความละเอียดอ่อนและพิถีพิถัน นอกจากวันปากปีแล้ว วันที่ห้าของสงกรานต์ยังเป็นวันปากเดือน วันที่หกเป็นวันปากวัน แต่สองวันหลังนี้จะไม่มีพิธีการใดๆ เป็นการพักผ่อนหย่อนใจและอยู่กับครอบครัวเสียมากกว่า กระนั้นก็ยังมีญาติพี่น้องจากต่างอำเภอทยอยมาดำหัวอุ๊ยหม่อน และปู่อยู่ประปราย เนื่องจากในวันพญาวันและวันปากปีเหล่าญาติๆก็ล้วนแต่มีกิจกรรมในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน
เนื่องจากครอบครัวของเราเป็นครอบครัวเกษตรกร หลังสงกรานต์ยังไม่มีการเพาะปลูกใดๆจึงค่อนข้างว่าง ข้าพเจ้าวิเคราะห์เอาเองว่าน่าจะเป็นเพราะช่วงนี้มักจะมีพายุเข้า ทุกครัวเรือนจึงรอให้ผ่านพ้นช่วงมรสุมไปก่อน ข้าพเจ้าจำได้ว่า ช่วงหลังสงกรานต์จะมีพายุรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง พอตกบ่ายท้องฟ้าจะมืดครึ้มเป็นสีดำทะมึน พ่อแม่จะห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าลงจากบ้านไปไหน แต่กระนั้นก็ยังไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก เพราะลมพายุนั้นพัดแรงจนข้าพเจ้ารู้สึกว่าเสาเรือนโอนเอน และหลายครั้งที่กระเบื้องถึงกับปลิวหลุดออกไปจากหลังคา แต่ข้าพเจ้าจะอยู่ในบ้านแค่ช่วงที่พ่อกับแม่อยู่บ้านเท่านั้น หากท่านไม่อยู่ข้าพเจ้าก็มักจะวิ่งตากฝนในข่วงบ้านจนสาแกใจแล้วก็ไปเล่นน้ำรางรินที่บ้านปู่ จนฝนหยุดตกค่อยวิ่งไปหลังบ้านบริเวณที่เป็นป่าละเมาะบ้านแม่ต๋า ซึ่งบริเวณนั้นจะมีมะม่วงแก้มแดงอยู่ต้นหนึ่ง ลำต้นของมันสูงมากจนยากที่จะเอาไม้ส้าวสอยผลสุกลงมาได้ ก็ต้องรอจังหวะมีลมพายุนี่แหละที่มันจะร่วงลงมาเอง อันที่จริงใกล้ๆกันก็มีมะม่วงน้ำตาลอยู่ต้นหนึ่งแต่ข้าพเจ้าไม่ชอบรสชาติของมันเท่าใดนัก เพราะหวานเกินไป สู้มะม่วงแก้มแดงที่มีรสชาติหวานซ่อนเปรี้ยวไม่ได้ ที่สำคัญการได้ช่วงชิงกับเพื่อนๆที่มักจะวิ่งมาเก็บมะม่วงเป็นเรื่องที่สนุกมาก อันที่จริงพอใครเก็บได้ก็เอามาแบ่งกันกิน แต่การได้วิ่งไปถึงก่อนนั้นเป็นเรื่องที่พวกเราภูมิใจราวกับได้รับรางวัลจากการวิ่งระดับโลกก็ไม่ปาน


มัวแต่บรรยายเรื่องลมพายุเสียนาน ทำให้ข้าพเจ้าลืมกล่าวถึงช่วงเวลากลางวันหลังสงกรานต์ซึ่งเป็นเวลาที่ข้าพเจ้าประทับใจมาก เนื่องจากญาติพี่น้องจะวนเวียนมาพบกันและสถานที่อันเป็นที่ชุมนุมคือใต้ถุนบ้านของปู่ ภาพบ้านไม้ทรงโบราณยังประทับในความทรงจำของข้าพเจ้าเสมอ บ้านไม้ใต้ถุนสูงขนาดกลาง แต่ไม่ได้มีการเลี้ยงวัวควายเหมือนบ้านอื่น ส่วนด้านล่างที่ติดพื้นดินเยื้องไปทางทิศเหนือของตัวบ้านมีการต่อเติมเพื่อทำเป็นลานกิจกรรมของครอบครัว ห้องครัว และชานเรือนที่ไม่มีหลังคา สำหรับวางโอ่งมังกร และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้น้ำ แต่ส่วนที่เป็นใต้ถุนจริงๆนั้นปล่อยให้เป็นลานโล่ง บริเวณนั้นเป็นดินเหนียวและแข็งมาก ปู่จะนำแคร่ไม้ขนาดใหญ่ไปตั้งไว้ ๒ ตัว พอกลางวันแดดร้อนๆก็ตักน้ำใส่ฝักบัวมารดพื้นทำให้บริเวณนั้นเย็นสบาย พอตกบ่ายพวกน้าๆก็มักจะพากันตำส้มตำ ฝานมะม่วงกินกับน้ำพริกน้ำอ้อย หรือช่วงไหนที่มีคนขึ้นมะพร้าวก็จะขูดเอามะพร้าวอ่อนใส่กะละมัง เทน้ำมะพร้าวลงไป ใส่ข้าวเหนียว แล้วเติมน้ำอ้อยให้รสหวานขึ้น ก่อนที่จะใส่น้ำแข็งลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย เราเรียกมันว่ามะพร้าวจ๋าวน้ำอ้อย ซึ่งเป็นอาหารที่อร่อย กินแล้วสดใส เย็นชื่นใจจริงๆ

ชีวิตของคนชนบทเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและความสุข ในช่วงต้นๆของชีวิตนั้น ด้วยความที่ข้าพเจ้าเป็นหลานคนเดียว พวกน้าๆจึงอยากให้ไปนอนด้วย ทว่าพอได้ครึ่งคืนข้าพเจ้าก็จะร้องไห้หาแม่ แต่พอนานไปก็ชิน จึงเปลี่ยนที่นอนเป็นว่าเล่น แต่ถึงจะไม่ได้ไปนอนกับน้าๆ ตอนเช้าก็จะมีคนมาปลุกให้ข้าพเจ้าตื่นอยู่ดี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่น้าๆจะตื่นแต่เช้ามืดเพื่อกวาดเศษใบไม้ ทำความสะอาดบ้าน แต่ข้าพเจ้าว่าคงนอนไม่หลับมากกว่า เพราะพอย่างเข้าเที่ยงคืนวันที่ ๑๒ เมษายน ก็จะมีเสียงประทัด เสียงเคาะเกราะ หรือแม้แต่เสียงปืนดังอยู่ตลอดเวลา แม่บอกว่าเขาทำเสียงดังแบบนั้นเพื่อไล่ขุนสังขานต์ ในขณะที่น้าๆบอกว่าให้รีบตื่นมาดูสังขานต์ตอนเช้าวันที่ ๑๓ เมษายน เพราะสังขานต์จะเดินทางมาปีละครั้งโดยเดินจากทิศเหนือไปทิศใต้ สังขานต์ จะตัวสูงใหญ่มีตะกร้าแบกไว้ที่หลังเพื่อเก็บขยะที่แต่ละบ้านกวาดไปรวมๆไว้ พอถึงตอนเช้าน้าๆก็จะตะโกนโหวกเหวกปลุกข้าพเจ้าให้ตื่นมาดูสังขานต์ แต่ลงมาทีไรสังขานต์ก็ไปเสียแล้วทุกที เพิ่งจะมารู้ตอนโตว่า แท้จริงแล้ว “ขุนสังขานต์” คือ สุริยเทพ ซึ่งเป็นบุคลาธิษฐานของพระอาทิตย์ดังตำราโบราณล้านนาชื่อ คัมภีร์สุริยาตร์ ได้กล่าวถึงการใช้การโคจรของ ดวงอาทิตย์เป็นหลักในการคำนวณและกำหนดวันเปลี่ยนศักราชใหม่ คือ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันแรก หรือประมาณช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกปี


วันสังขานต์ล่อง คือ วันแรกของวันสงกรานต์ ครอบครัวของเราจะช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ตัดใบตองมาตากแดดเตรียมไว้สำหรับที่จะห่อขนมและทำห่อนึ่ง สำหรับข้าพเจ้านั้นไม่มีหน้าที่ใดมากนัก จึงออกไปเล่นน้ำสงกรานต์กับเพื่อนๆพอตกเย็นก็กลับมาสระเกล้าดำหัว ซึ่งก็คือการสระผมนั่นเอง ทุกๆปีหนังสือปีใหม่เมืองจะระบุให้ทราบว่าจะต้องสระผมไปทางทิศใด เมื่อสระผม อาบน้ำ แต่งตัว ใส่เสื้อผ้าใหม่แล้วจะต้องนำดอกไม้ชนิดใดมาเหน็บมวยผม สงกรานต์เป็นช่วงเวลาความสุขของข้าพเจ้า เพราะนอกจากจะเป็นประเพณีที่สนุกสนานแล้ว ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลๆยังกลับมาบ้านพร้อมหน้าพร้อมตาอีกด้วย


ถัดจากวันสงขานต์ล่องเป็น วันเนาว์ หรือ วันเน่า แม่สอนว่าในวันนี้ห้ามพูดจาไม่ดี ห้ามด่าทอคนอื่น ในวันเนาว์นี้เป็นวันขนทรายเข้าวัด ซึ่งเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าโดยตรง ข้าพเจ้าจะเป็นตัวแทนของครอบครัวไปขนทรายทุกปี โดยเราจะไม่ใช้ทรายจากลำคลองเพราะถือว่าไม่สะอาดพอ ทรายที่ใช้จะเป็นทรายในนา ข้าพเจ้าจะถือน้ำคุ ถังน้ำเล็กๆไปขนจนครบจำนวนคนในบ้าน ตักทรายได้ก็วิ่งแข่งกับเพื่อนแต่ก็ต้องระวังคันนาให้ดี มิเช่นนั้นอาจจะหกคะเมนตีลังกาได้ ทรายที่ขนมานั้นทางวัดจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เอาไว้ปัก ตุงตั๋วเปิ้ง หรือ ตุงนักษัตรในวันพญาวันนั่นเอง เมื่อขนทรายเสร็จแล้วข้าพเจ้าก็จะรีบกลับบ้านเพื่อไปกินขนมจ็อกหรือขนมเทียน กับห่อนึ่งที่แม่ทำเตรียมไว้ไปวัดและเผื่อแผ่ถึงทุกคนในบ้านด้วย คนทางภาคเหนือจะทำเช่นนี้ทุกบ้าน สำหรับข้าพเจ้านั้นถ้าครั้งไหนกลับมาทันแม่ทำขนมก็จะช่วยนวดแป้งและห่อขนม แรกๆก็ห่อขนมไม่ค่อยสวยเนื่องจากไม่มีมุม แต่ทุกอย่างก็พัฒนาไปตามวัย พอโตขึ้นการห่อขนมหรือห่อนึ่งก็พัฒนาตาม ทว่าข้าพเจ้ากลับไม่ค่อยได้ทำ เหตุเพราะรับราชการอยู่ไกลบ้าน


วันที่สามของปีใหม่เมือง คือ วันพญาวัน ข้าพเจ้าจะถูกจับแต่งตัวแต่เช้าเพื่อไปวัดกับพ่อแม่ โดยพ่อจะแยกไปตานขันข้าวให้ญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนแม่จะไปตักบาตรบนวิหาร ส่วนเด็กๆอย่างข้าพเจ้าก็วิ่งไปทางนั้นทีทางนี้ที จนเบื่อก็กลับบ้านไปทำหน้าที่แท้จริงของตนเอง นั่นคือ การดำหัวญาติผู้ใหญ่ การดำหัวของครอบครัวเรานั้นใช้เวลาเกือบทั้งวัน ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นโดยไปดำหัวอุ๊ยหม่อนก่อน แล้วตามด้วยการดำหัวปู่ จากนั้นจึงตามป้ากับน้าๆออกจากบ้านไปดำหัวพี่ๆน้องๆของปู่กับย่า นับจำนวนแล้วสิบกว่าท่าน เมื่อกลับมาก็ต้องนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่พวกเราเรียกว่า “รถเอ็นตาโร่”เพื่อไปดำหัวตากับยายที่ต่างหมู่บ้านอีก จวบจนหมดวันข้าพเจ้าจะมีด้ายไหมมือ หรือสายสิญจน์มัดอยู่เต็มข้อมือราวกับเพิ่งผ่านพิธีเรียกขวัญมาหยกๆ
วันที่สี่ของวันสงกรานต์ คือ วันปากปี วันนี้จะมีกิจกรรมสำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่เช้าแม่จะนำเสื้อผ้าของทุกคนในบ้านไปสะเดาะเคราะห์ที่วัด หลังจากนั้นช่วงสายๆจะเป็นพิธีส่งเคราะห์บ้าน ช่วงบ่ายก็พากันไปแห่ไม้ค้ำ และดำหัววัด คือ การดำหัววัดต่างๆในละแวกใกล้เคียง ในวันนี้ทุกบ้านจะแกงขนุนตามความเชื่อที่ว่าจะได้มีสิ่งดีๆมาหนุนนำตลอดปี นอกจากนี้ในช่วงกลางคืนยังมีการจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย และเทียนที่เขียนชื่อ วันเดือนปีเกิดของคนในบ้านเพื่อเป็นการต่ออายุและเสริมดวงให้แก่ทุกคนอีกด้วย


ประเพณีสงกรานต์นั้นเป็นประเพณีแห่งการเริ่มต้นจึงมีความละเอียดอ่อนและพิถีพิถัน นอกจากวันปากปีแล้ว วันที่ห้าของสงกรานต์ยังเป็นวันปากเดือน วันที่หกเป็นวันปากวัน แต่สองวันหลังนี้จะไม่มีพิธีการใดๆ เป็นการพักผ่อนหย่อนใจและอยู่กับครอบครัวเสียมากกว่า กระนั้นก็ยังมีญาติพี่น้องจากต่างอำเภอทยอยมาดำหัวอุ๊ยหม่อน และปู่อยู่ประปราย เนื่องจากในวันพญาวันและวันปากปีเหล่าญาติๆก็ล้วนแต่มีกิจกรรมในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน
เนื่องจากครอบครัวของเราเป็นครอบครัวเกษตรกร หลังสงกรานต์ยังไม่มีการเพาะปลูกใดๆจึงค่อนข้างว่าง ข้าพเจ้าวิเคราะห์เอาเองว่าน่าจะเป็นเพราะช่วงนี้มักจะมีพายุเข้า ทุกครัวเรือนจึงรอให้ผ่านพ้นช่วงมรสุมไปก่อน ข้าพเจ้าจำได้ว่า ช่วงหลังสงกรานต์จะมีพายุรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง พอตกบ่ายท้องฟ้าจะมืดครึ้มเป็นสีดำทะมึน พ่อแม่จะห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าลงจากบ้านไปไหน แต่กระนั้นก็ยังไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก เพราะลมพายุนั้นพัดแรงจนข้าพเจ้ารู้สึกว่าเสาเรือนโอนเอน และหลายครั้งที่กระเบื้องถึงกับปลิวหลุดออกไปจากหลังคา แต่ข้าพเจ้าจะอยู่ในบ้านแค่ช่วงที่พ่อกับแม่อยู่บ้านเท่านั้น หากท่านไม่อยู่ข้าพเจ้าก็มักจะวิ่งตากฝนในข่วงบ้านจนสาแกใจแล้วก็ไปเล่นน้ำรางรินที่บ้านปู่ จนฝนหยุดตกค่อยวิ่งไปหลังบ้านบริเวณที่เป็นป่าละเมาะบ้านแม่ต๋า ซึ่งบริเวณนั้นจะมีมะม่วงแก้มแดงอยู่ต้นหนึ่ง ลำต้นของมันสูงมากจนยากที่จะเอาไม้ส้าวสอยผลสุกลงมาได้ ก็ต้องรอจังหวะมีลมพายุนี่แหละที่มันจะร่วงลงมาเอง อันที่จริงใกล้ๆกันก็มีมะม่วงน้ำตาลอยู่ต้นหนึ่งแต่ข้าพเจ้าไม่ชอบรสชาติของมันเท่าใดนัก เพราะหวานเกินไป สู้มะม่วงแก้มแดงที่มีรสชาติหวานซ่อนเปรี้ยวไม่ได้ ที่สำคัญการได้ช่วงชิงกับเพื่อนๆที่มักจะวิ่งมาเก็บมะม่วงเป็นเรื่องที่สนุกมาก อันที่จริงพอใครเก็บได้ก็เอามาแบ่งกันกิน แต่การได้วิ่งไปถึงก่อนนั้นเป็นเรื่องที่พวกเราภูมิใจราวกับได้รับรางวัลจากการวิ่งระดับโลกก็ไม่ปาน


มัวแต่บรรยายเรื่องลมพายุเสียนาน ทำให้ข้าพเจ้าลืมกล่าวถึงช่วงเวลากลางวันหลังสงกรานต์ซึ่งเป็นเวลาที่ข้าพเจ้าประทับใจมาก เนื่องจากญาติพี่น้องจะวนเวียนมาพบกันและสถานที่อันเป็นที่ชุมนุมคือใต้ถุนบ้านของปู่ ภาพบ้านไม้ทรงโบราณยังประทับในความทรงจำของข้าพเจ้าเสมอ บ้านไม้ใต้ถุนสูงขนาดกลาง แต่ไม่ได้มีการเลี้ยงวัวควายเหมือนบ้านอื่น ส่วนด้านล่างที่ติดพื้นดินเยื้องไปทางทิศเหนือของตัวบ้านมีการต่อเติมเพื่อทำเป็นลานกิจกรรมของครอบครัว ห้องครัว และชานเรือนที่ไม่มีหลังคา สำหรับวางโอ่งมังกร และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้น้ำ แต่ส่วนที่เป็นใต้ถุนจริงๆนั้นปล่อยให้เป็นลานโล่ง บริเวณนั้นเป็นดินเหนียวและแข็งมาก ปู่จะนำแคร่ไม้ขนาดใหญ่ไปตั้งไว้ ๒ ตัว พอกลางวันแดดร้อนๆก็ตักน้ำใส่ฝักบัวมารดพื้นทำให้บริเวณนั้นเย็นสบาย พอตกบ่ายพวกน้าๆก็มักจะพากันตำส้มตำ ฝานมะม่วงกินกับน้ำพริกน้ำอ้อย หรือช่วงไหนที่มีคนขึ้นมะพร้าวก็จะขูดเอามะพร้าวอ่อนใส่กะละมัง เทน้ำมะพร้าวลงไป ใส่ข้าวเหนียว แล้วเติมน้ำอ้อยให้รสหวานขึ้น ก่อนที่จะใส่น้ำแข็งลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย เราเรียกมันว่ามะพร้าวจ๋าวน้ำอ้อย ซึ่งเป็นอาหารที่อร่อย กินแล้วสดใส เย็นชื่นใจจริงๆ
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 04 ก.ย. 2016 12:27 pm

333333.jpg
333333.jpg (173.89 KiB) เปิดดู 102039 ครั้ง


เมื่อกล่าวถึงโรงเรียนบ้านสันทราย ข้าพเจ้าเข้าเรียนที่นี่ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่๑ – ๖ โรงเรียนแห่งนี้มีครูเพียง ๗ คน เป็นโรงเรียนเล็กๆที่มีนักเรียนไม่ถึงร้อยคน บริเวณโรงเรียนเป็นพื้นที่ของป่าช้าเก่า ในสายตาของข้าพเจ้าโรงเรียนเล็กๆนี้น่าอยู่และร่มรื่นมาก ประตูทางเข้าของโรงเรียนติดกับถนนใหญ่ในหมู่บ้าน ทุกเช้าคุณครูจะมายืนอยู่บนสะพานข้ามคลองหน้าโรงเรียน เพื่อให้ทุกคนสวัสดีและตรวจเครื่องแต่งกายก่อน แล้วจึงปล่อยให้นักเรียนแต่ละคนเดินเข้าไปตามถนนโรยกรวดซึ่งสองข้างทางขนาบด้วยต้นซาฮกเกี้ยนที่เจ้าของบ้านแถวนั้นปลูกเป็นรั้ว เมื่อไปถึงโรงเรียนหากยืนมองอยู่ตรงทางเดินจะเห็นสนามหญ้าเขียวขจี มีเสาธงเก่าตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นขึ้นมาประมาณครึ่งเมตร มีบันไดที่เตี้ยแต่กว้างอยู่กึ่งกลางอาคาร ใกล้ๆกันเป็นซุ้มม้านั่งที่มีดอกเฟื่องฟ้าหลากสีเลื้อยคลุมอยู่ทำให้บริเวณนั้นดูสดใสอยู่กระจ่างตา ส่วนด้านซ้ายของสนามคืออาคารก่อด้วยปูนที่มีเสาธงใหม่ที่ใช้ทำพิธีทุกเช้าตั้งอยู่ด้านหน้า อาคารดังกล่าวมีห้องเรียนอยู่เพียง ๒ ห้อง นอกนั้นเป็นห้องร้านค้าสหกรณ์ ห้องพักครู ห้องพยาบาลและห้องสมุด ถัดจากอาคารตึกมาทางทิศใต้เป็นบ้านพักครูที่ไม่มีครูพัก ทางโรงเรียนจึงใช้ด้านล่างเป็นห้องครัวที่ครูและนักเรียนแต่ละชั้นจะสลับกันมาทำอาหารและล้างจานทุกวัน โดยนักเรียนทุกคนจะจ่ายค่าอาหารเพียงแค่มื้อละ ๒ บาท ส่วนข้าวนั้นให้นำมาเอง ถัดจากบ้านพักครูเป็นต้นฉำฉาใหญ่ขนาดหลายคนโอบ อันที่จริงโรงเรียนมีต้นฉำฉาอยู่หลายต้น แต่ข้าพเจ้าชอบต้นที่อยู่หน้าโรงเรียนมากที่สุดเพราะมีโพรงให้เข้าไปเล่นได้ บนต้นฉำฉาจะมีครั่งที่สามารถเก็บไปขายได้และยังเป็นที่อาศัยของกระรอกตัวเล็กๆที่วิ่งเร็วจนไม่เคยไล่จับมันทันสักครั้ง


ทุกๆเช้าเมื่อไปถึงโรงเรียนข้าพเจ้าจะมีหน้าที่พาน้องๆทำเวรและตรวจเวร เวรที่ว่าคือการเก็บเศษขยะตามจุดต่างๆในบริเวณโรงเรียน ข้าพเจ้าชอบเวรอาคารไม้มากที่สุดเพราะแอบลอดเข้าไปเล่นใต้อาคารได้โดยไม่เป็นที่สะดุดตา ที่ไม่ชอบที่สุดคือเวรทำความสะอาดห้องน้ำซึ่งตั้งอยู่หลังอาคารไม้ เพราะทำเวรทีไรต้องถอดถุงเท้าเนื่องจากเปียกน้ำ ใกล้ห้องน้ำด้านซ้ายจะมีเรือนเพาะชำ ส่วนด้านขวาเป็นแปลงเกษตร สำหรับให้พวกเราฝึกขุดดินและขึ้นแปลงเพื่อปลูกผักสวนครัว ดังนั้นทุกวันนักเรียนตัวน้อยๆจะต้องไปดูแลแปลงผักของกลุ่มตนเองรวมทั้งรดน้ำโดยใช้น้ำจากสระใกล้ๆ ในสระจะมีดอกบัวสีชมพูและสีขาวขึ้นอยู่ประปราย ส่วนในน้ำก็มีการเลี้ยงปลานิลเอาไว้ พอถึงปลายปีการศึกษาคุณครูจะปล่อยน้ำออกจากสระ เพื่อให้นักเรียนชายช่วยกันลงไปงม แต่นักเรียนหญิงอย่างข้าพเจ้าไม่ได้รับอนุญาตให้ลงไปจับปลาด้วย ทั้งๆที่ข้าพเจ้านั้นเป็นนักจับปลาตัวยง เนื่องจากน้ำเหมืองข้างบ้านของข้าพเจ้านั้นมีการนำไม้ไปปักเอาไว้ไม่ให้ดินพังทลาย ทำให้ด้านในเป็นโพรงจึงมีปลาหลายชนิดเข้าไปอาศัยอยู่ ช่วงน้ำแห้งทีไรข้าพเจ้าและเพื่อนๆจะลงไปเดินช้าๆ แล้วใช้สองมือยื่นเข้าไปในโพรง ตีโอบมือเข้ามาหากัน ทำให้ได้ปลาไปให้แม่ทำอาหารอยู่เป็นประจำ แต่วิธีการโปรดของข้าพเจ้าคือการ ตกจ๋ำ หรือยกยอ โดยช่วงน้ำแห้งฝูงปลาซิวจะพากันว่ายทวนน้ำขึ้นมาที่ฝาย ข้าพเจ้าก็จะนำยอไปวางดักไว้ พอเห็นมันขึ้นมาก็ใช้เท้ากวาดต้อนให้มันเข้าไปในยอก่อนจะยกขึ้น จึงได้ปลาซิวมาทำปลาแอ็บซึ่งเป็นอาหารโปรดอยู่เนืองๆ


ชีวิตในวัยเด็กของข้าพเจ้านั้นก็เหมือนเด็กบ้านนอกทั่วไป ที่เวลาพ่อแม่ไม่อยู่ก็อาจจะแอบซนบ้าง บางทีก็ไปส้อนจับเอาลูกอ๊อด ลงไปจับแมงจอนเวลาที่มีการไถนา หรือแอบตามผู้ใหญ่ไปหาเห็ดบนดอย แต่ถ้าพ่อแม่อยู่บ้านก็จะเล่นแบบเด็กผู้หญิงทั่วไป คือนำเอาใบอ่องล็อดมาบีบน้ำสีเขียวผสมน้ำแล้วนำไปตากแดดเพื่อทำเป็นแกงกระด้าง และเอาผักปั๋งมาบี้ผสมน้ำเป็นน้ำหวาน ขายให้กับเพื่อนๆที่มาเล่นด้วย ถ้าวันไหนโชคดีหน่อยก็จะได้ติดตามพ่อกับแม่ไปเก็บใบยาสูบที่แพะ ซึ่งหมายถึงบริเวณดอยก้อม ก็จะได้เล่นพวกของป่า แต่การเดินทางนั้นเหนื่อยมาก เพราะเราต้องเดินเท้าผ่านทุ่งนาไปยังดอยก้อม แต่ที่ข้าพเจ้าชอบที่สุดคือเวลาเดินผ่านถ้ำหมาจั๊กวอ ซึ่งปากถ้ำจะมีดอกไม้ป่าสีสวยห้อยย้อยลงมาเป็นภาพความงามตามธรรมชาติอันน่าประทับใจ เช่นเดียวกับในช่วงฤดูกาลทำนา ถ้าข้าพเจ้าได้ตามพ่อกับแม่ไปนา ข้าพเจ้าจะไปเล่นที่น้ำเหมืองเล็กๆ ๒ สายซึ่งตัดกันเป็นรูปกากบาท โดยสายที่น้ำไหลจากทิศเหนือไปทางทิศใต้นั้นจะมีการนำเอาต้นมะพร้าวผ่าครึ่งแล้วขุดเอาเนื้อไม้ออก ก่อนจะนำไปวางพาดไว้ให้น้ำไหลผ่านไปยังอีกฝั่งหนึ่งของน้ำเหมือง ข้าพเจ้าจึงมักจะเล่นอยู่บนต้นมะพร้าวซึ่งน้ำใสและเย็นมาก ประกอบบริเวณใกล้ๆกันเป็นห้างนาและมีต้นมะม่วงขึ้นอยู่ ทำให้มีอะไรเล่นหลายอย่าง แต่พ่อแม่จะห้ามไม่ให้ไปเล่นบริเวณเนินดิน เหตุเพราะบริเวณนั้นเคยเป็นที่เผาศพของ พ่อเลี้ยงหม่องแก้ว พ่อบุญธรรมของย่า ข้อนี้ข้าพเจ้าทำตามอย่างเคร่งครัด ทว่าปัจจุบันเนินดินดังกล่าวถูกไถหลบให้หน้าดินเสมอกับพื้นที่อื่นๆเรียบร้อยแล้ว


หลังฤดูกาลทำนาข้าพเจ้าจะไม่มีโอกาสไปที่ทุ่งนาอีกเลย เพราะเกรงจะไปเหยียบย่ำต้นข้าวเสียหาย จวบจนในฤดูเกี่ยวข้าวจึงได้ตามพ่อกับแม่ไปทุ่งนาอีกครั้งในช่วงตีข้าว ซึ่งเมื่อเกี่ยวและมัดข้าวด้วยตอกเป็นฟ่อนๆแล้ว พ่อกับแม่จะนำต้นข้าวไปวางเรียงกันเป็นวงกลมเพื่อรอตี ข้าพเจ้าก็จะไปรอท่านอยู่ที่ห้างนา พอตกเย็นก็จับตั๊กแตนหรือเล่นว่าว แต่ความสนุกมักจะหมดลงขณะอาบน้ำ เหตุเพราะการวิ่งผ่านตอข้าวไปมาทำให้โดนน้ำแล้วแสบขาเหลือประมาณ
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 04 ก.ย. 2016 12:29 pm

วางแผนชีวิตไว้ว่า...

6789.jpg
6789.jpg (324.77 KiB) เปิดดู 102039 ครั้ง


ถ้าอายุสี่สิบหรือห้าสิบกว่าๆจะย้ายกลับเชียงใหม่ ปูพื้นฐานไว้ด้วยการเกษตร กำลังพยายามเพาะพันธุ์ต้นไม้..กล้วย มะม่วง ลำไย กระท้อน มะละกอแขกนวลดำเนิน มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ ผัก..ส่งเมล็ดพันธุ์ไป มีผักกาด ถั่วฝักยาว แตงกวา มันญี่ปุ่น เมลอน มะเขือเทศหวาน แตงโม ข้าวโพด แก้วมังกร กะหล่ำกุหลาบดรากอน องุ่น ดอกไม้..ปลูกเพื่อปรับทัศนียภาพ ขายได้ด้วยนะ ทานตะวัน ทิวลิป แกลดิโอลัส เหลืองปรีดียาธร นางพญาเสือโคร่ง ชวนชม กุหลาบเลื้อย บานชื่น สร้อยไก่ บานไม่รู้โรย หงอนไก่ แอสเตอร์ ดาวกระจาย ดาวเรือง บานชื่น สัตว์เลี้ยง กุ้งก้ามแดง เดสทรัคเตอร์ ออเรนจ์ สโนว์ ไก่ กบ ปลาช่อน ปลาดุก

ตั้งใจไว้ว่า ถ้ากลับไปอยู่บ้านจะสร้างกระต๊อบเล็กๆปลายนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตชาวล้านนา หาน้ำต้น น้ำหม้อ มาวางไว้ นอกจากนี้จะทำเป็นห้องสมุดเก็บหนังสือประวัติศาสตร์ สารคดี และนวนิยาย รวมถึงทำห้องความทรงจำ จะอัดรูปที่เป็นทุกๆความทรงจำแปะบอร์ดไว้ ถ้ามีเงินจะทำเป็นตู้กระจก ทำไว้ให้ลูกหลานดู บางทีถ้ามีแรงจะรับสอนพิเศษด้วย..และจะพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่ไม่เก็บเงิน วาดไว้นะ..ทำได้แค่ไหนก็ไม่รู้ แต่ตั้งใจและเชื่อในพลังของตนเอง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 04 ก.ย. 2016 12:30 pm

ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงหน้านี้...จบการบ่นค่ะ !!

899999.jpg
899999.jpg (225.4 KiB) เปิดดู 102039 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ..น้ำฟ้า..

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 22 ต.ค. 2016 12:18 pm

ปากทางเข้าบ้าน พ.ศ.๒๕๕๕

Untitled1.png
Untitled1.png (872.82 KiB) เปิดดู 101689 ครั้ง


Untitled.png
Untitled.png (1.01 MiB) เปิดดู 101689 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 25 ก.พ. 2018 8:21 am

ชีวิตแบบนี้นี่ไง...ที่ใจฝัน
BeautyPlus_20180218144156_save.jpg
BeautyPlus_20180218144156_save.jpg (625.41 KiB) เปิดดู 97764 ครั้ง


BeautyPlus_20180215105738_fast.jpg
BeautyPlus_20180215105738_fast.jpg (585.9 KiB) เปิดดู 97764 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 7:46 pm

เก็บข้อมูลเขียนนิยาย "ม่านรักนิรมิต"
ขอบคุณภาพและข้อมูลจากคอลัมน์ “พระปรางค์วัดอรุณฯ” โฉมใหม่ งดงามโดดเด่นริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดย: ผู้จัดการออนไลน์
560000008345301.jpg
560000008345301.jpg (83.24 KiB) เปิดดู 50221 ครั้ง


สำหรับ “วัดอรุณราชวราราม” มีชื่อเดิมว่า “วัดมะกอกนอก” แต่ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เปลี่ยนชื่อจากวัดมะกอกนอกมาเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพระองค์ได้เสด็จมาถึงที่นี่ในยามแจ้ง ในสมัยกรุงธนบุรี วัดอรุณฯ หรือวัดแจ้งในขณะนั้นถือเป็นวัดประจำวัง เพราะอยู่ในเขตของพระราชวังเดิม จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา และในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินนั้น วัดแจ้งแห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตและพระบางอีกด้วย โดยได้อัญเชิญมายังประเทศไทยเมื่อครั้งที่เราไปตีเมืองเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.๒๓๒๒ในครั้งนั้นได้มีการจัดงานสมโภชพระแก้วและพระบางถึง ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน

วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๑ นั้น พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมแห่งนี้ และได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่ มีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง ๗ วัน ๗ คืน และพระองค์ยังได้เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดแจ้งมาเป็น "วัดอรุณราชธาราม" และเปลี่ยนเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
560000008345304.jpg
560000008345304.jpg (86.9 KiB) เปิดดู 50221 ครั้ง

ในส่วนของ “พระปรางค์” ที่เห็นในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่พระปรางค์องค์เดิมที่มีมาตั้งแต่แรก พระปรางค์องค์เดิมนั้นสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสูงเพียง ๘ วา หรือ ประมาณ ๑๖ เมตร เท่านั้น แต่พระปรางค์ที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ได้มีการต่อเติมขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อคราวที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณใหม่หมดทั้งวัด พระปรางค์องค์ที่บูรณะใหม่นี้มีขนาดความสูงจากฐานถึงยอด ๘๑.๘๕ เมตร ที่น่าทึ่งก็คือ การที่จะสร้างพระปรางค์องค์สูงใหญ่อยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ และยังคงแข็งแรงมาจนถึงทุกวันนี้ได้นี้แสดงว่าฝีมือของช่างในสมัยนั้นไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 7:52 pm

กลุ่มพระปรางค์ประกอบด้วยของปรางค์ประธานซึ่งมีความสูง ๘๑.๘๕ เมตร และปรางค์ทิศจำนวน ๔ ปรางค์ เป็นปรางค์องค์เล็กก่ออิฐถือปูนประดับกระจกเคลือบสีแบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่ ปรางค์ทิศตั้งอยู่มุมทักษิณชั้นล่างของปรางค์องค์ใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ ทิศละองค์
560000008345305.jpg
560000008345305.jpg (100.46 KiB) เปิดดู 50221 ครั้ง

แม้ว่าพระปรางค์จะสร้างมานานแล้ว แต่ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เป็นระยะ ครั้งล่าสุดนี้เริ่มบูรณะเมื่อเดือนกันยายน๒๕๕๖ มาแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๐ นี้ โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และสามารถเปิดไฟแสดงได้ในเดือนกันยายน ๒๕๖๐ ส่วนในช่วงปลายปี ๒๕๖๐ – ต้นปี ๒๕๖๑ จะจัดงานสมโภชพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม

นอกจากองค์พระปรางค์ ที่เป็นจุดเด่นของวัดอรุณฯ แล้ว ใครที่มาถึงวัดนี้ก็ต้องมาดูยักษ์วัดอรุณ หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ยักษ์วัดแจ้ง" ที่มีเรื่องเล่าว่ายักษ์วัดโพธิ์มาตีกับยักษ์วัดแจ้ง ตีกันจนบ้านเมืองแถวนั้นราบเป็นหน้ากลอง เลยเรียกกันต่อมาว่าท่าเตียน
560000008345306.jpg
560000008345306.jpg (101.47 KiB) เปิดดู 50221 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สนทนากับคนภาษาไทย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน

cron