ประวัติศาสตร์ล้านนา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2015 7:55 am

เมืองฮอด ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงก่อนสร้างเขื่อนภูมิพล

‘ฮอด’ คือเส้นทางผ่านของทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒

พ่อครูจงกล นามเทพ ปราชญ์ท้องถิ่นของฮอด ได้บอกเล่าเอาไว้ว่า มีผู้เฒ่าเคยเล่าให้ฟังว่า ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีพ่อค้าชาวญี่ปุ่นเข้ามาค้าขายและทำแผนที่ไปประเทศพม่า พอเกิดสงครามจริงก็เห็นทหารญี่ปุ่นลอยเรือมาตามลำน้ำแม่ปิง แล้วมาขึ้นวังในเขตพื้นที่ตำบลฮอด เดินทางขึ้นเขาไปทางดอยเหลี่ยม ผ่านไปอำเภออมก๋อย มุ่งสู่ประเทศพม่า ต่อมา พอญี่ปุ่นแพ้สงคราม ทหารญี่ปุ่นก็แตกทัพลงมาทางอำเภอฮอด แล้วล้มตายจำนวนมาก

ว่ากันว่า บริเวณทางทิศใต้ของวัดพระเจ้าโท้ของฮอดนั้น เคยเป็นป่าช้าของทหารญี่ปุ่นมาก่อน

เช่นเดียวกับ พ่อหนานนาค ใจเขียว ชาวบ้านจากฮอด บอกเล่าให้ฟังว่า “สมัยเมื่อตนเองอายุสิบกว่าปี มีทหารญี่ปุ่นเข้ามาพักบ้านของเราเป็นหลังๆ ซึ่งบริเวณที่พัก คือ บ้านหลวงเก่า ตอนที่ทหารญี่ปุ่นเข้ามานั้น เขาก็ไม่ทำอะไร แต่เรากลับมีรายได้จากการขายอาหารให้กับทหารญี่ปุ่น เดินทางผ่านบ้านวังลุง ขึ้นมาพักที่บ้าน พวกเขามาอยู่บ้านเราประมาณครึ่งเดือนแล้วก็เดินทางต่อ บ้านของเราเป็นเพียงทางผ่านของทหารญี่ปุ่น ต่อมา ทหารญี่ปุ่นก็เกิดการล้มตาย ก็ได้นำมาฝังไว้ที่โรงเรียน ซึ่งสาเหตุการตายของทหารญี่ปุ่น คือ ตายเพราะเป็นพยาธิ ตายเพราะความหิวโหย ไม่ได้กินอะไรนั่นเอง”

“ตอนนั้น ทหารญี่ปุ่นจะมาพร้อมๆ กัน เดินทัพกันมาเป็นกองทัพ และวังลุงก็จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ ผมอยู่กับแม่ ซึ่งตอนนี้แม่ก็อายุ ๙๑ ปีแล้ว แม่ก็ได้ช่วยเหลือทหารญี่ปุ่น พ่อก็ได้ของจากทหารญี่ปุ่น จากการบอกเล่ามา ญี่ปุ่นจะเอาปืนมาแลกข้าว มาแลกกล้วย หรืออะไรที่สามารถเป็นอาหาร เพราะว่าข้างบนดอยไม่มีอะไรกิน เวลานอนมดไต่เต็มหน้าตาก็มี ซึ่งตอนนั้นเองแม่ได้เข้าไปช่วย ซึ่งตอนกลางคืน ฝนก็ตก ตอนนั้นเองก็ได้ชวนแม่ไปอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วย เพราะแม่เองก็ยังเป็นสาว มีป้าปุ๋น ที่สมัยนั้นเป็นคนที่งาม หน้าตาดี แม่ทัพญี่ปุ่นก็จะพาแกไปทุกที่เลย ฉะนั้น สถานที่ที่วังลุง จึงเป็นสถานที่เดินทัพของทหารญี่ปุ่น แล้วก็มาตายที่วังลุงกันเป็นจำนวนมาก ฮอดเราจึงเป็นเมืองผ่านของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ นอกจากนี้ก็ขึ้นไปทางเส้นสายปาย สายห้วยน้ำดัง ซึ่งสามารถข้ามไปพม่า” นายพิชิต อุดธิ สมาชิก อบต.วังลุง ตำบลฮอด เล่าให้ฟัง

มีหลักฐานที่ยืนยันมากมายว่า ทหารญี่ปุ่นได้เดินทัพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ อาทิ การขุดพบซากของมีด ปืน ของทหารญี่ปุ่น แม้ในปัจจุบัน ชาวบ้านบอกว่าจะไม่ค่อยพบเห็นกันแล้วก็ ตาม

“เพราะสุดท้าย เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นก็กลับมาเอาศพ คือมาเอากระดูก ส่วนเรื่องปืน หรือว่าอาวุธ คนที่รวยๆ ก็จะได้มาก สุดท้ายเขาก็เอาไปขายให้คนรวย” พ่อหนานนาค ใจเขียว บอกเล่าให้ฟัง

ฮอด เป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์ แผ่นดิน แม่น้ำและป่าไม้

903070.jpg
903070.jpg (115.36 KiB) เปิดดู 10228 ครั้ง


ฮอด ยังถือว่าเป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์มาอาศัยอยู่ รวมกัน ซึ่งมีทั้งคนพื้นเมือง หรือไทยวน และคนกะเหรี่ยง หรือปกาเกอะญอ ต่างมีวิถีชีวิตสงบและเรียบง่าย อยู่ร่วมกับผืนดิน ผืนป่าและสายน้ำมาอย่างยาว นาน

พ่อครูจงกล นามเทพ เขียนบันทึกคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ชุมชนตำบลฮอด ในยุคหลัง ช่วงคาบเกี่ยวปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ เป็นต้นมา ผู้คนประกอบสัมมาชีพด้วยการหาปลา ทำนา ทำไร่ ไปตามอัตภาพ การทำนาอาศัยน้ำจากลำน้ำแม่ฮอด เข้าสู่ลำเหมือง มีเนื้อที่ทำนาประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ ลำน้ำแม่ฮอดเดิมมีน้ำไหลตลอดปี ต้นน้ำอยู่บริเวณดอยคำเป็นป่าทึบ ลำน้ำแม่ปิง เมื่อก่อนนี้ในฤดูฝน น้ำจะเจิ่งนองเต็มฝั่ง ต่อมา บริษัทฝรั่งเข้ามาสัมปทานไม้สัก แล้วชักลากให้ไหลไปตามน้ำปิง แล้วบริษัทไปดักเอาไม้สักที่ปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์

ฮอด คือเมืองท่า แลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญ

นายจงกล โนจา รองนายก อบต.ฮอด เล่าให้ฟังว่า “เมื่อก่อนนั้นมีการเดินทางด้วยทางน้ำ การค้าขายก็ทางน้ำ ซึ่งฮอดเองก็เป็นจุดที่เป็นเมืองท่า มีการเอาสินค้าจากเชียงใหม่หรือจากแม่แจ่ม ผ่านทางลำน้ำแจ่มมาพัก ณ จุดนี้ ถ้ามาถึงที่เจดีย์สูง ก็รู้แล้วว่ามาถึงเมืองฮอดแล้ว” แต่เดิมนั้น ตำบลฮอด แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นหมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านแควมะกอก หมู่ที่ ๑ ,บ้านหลวงฮอด หมู่ที่ ๒,บ้านวังลุง หมู่ที่ ๓, บ้านห้วยทราย หมู่ที่ ๔ โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ๕๑ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๑,๘๗๕ ไร่ และมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ทิศตะวันออก ติดติดต่อกับตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ทิศตะวันตก ติดติดต่อกับตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ตัวอำเภอฮอด ตั้งอยู่ที่บริเวณ หมู่ที่ ๒ บ้านหลวงฮอด ตำบลฮอด มีสถานที่ราชการตั้งอยู่ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ เป็นต้น จึงถือว่าพื้นที่ตำบลฮอด เป็นศูนย์กลางของราชการและเป็นศูนย์รวมของความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ วิถีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมในการสืบทอดดำรงอยู่ของคนฮอดมาช้านาน พ่อหนานไล อุ่นใจ ได้ร่วมกันรื้อฟื้นและบอกเล่าถึงชุมชนบ้านหลวงฮอดในอดีตให้ฟังว่า หลวงฮอดนั้นเป็นบ้านเก่า เรียกว่า มีมาตั้งแต่เดิม ผังบ้าน ผังเมืองอยู่กลางหมู่บ้าน วัดตั้งอยู่ใต้ผังเมือง โรงเรียนตั้งอยู่ทางตะวันตก วัดหลวงฮอดนั้น เมื่อก่อนเป็นที่ว่าการอำเภอฮอดมาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว

พ่อนาค ใจเขียว บอกเล่าให้ฟังว่า “พ่อหลวงบ้านหรือผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายปวน โกฏิธิ อาชีพที่ทำมาตั้งแต่อดีตนั้น ก็คือ ทำนา ไถนา โดยการใช้ควายไถนา และหาปลา คนสมัยก่อนมีความสามัคคีช่วยเหลือกัน ประเพณีสมัยดั้งเดิม ที่จำได้ก็มีการเก็บผักตบชวา เอามาแกงใส่ปลาแห้งเลี้ยงกัน เวลามีการบอกบุญ งานบวช ก็มีการทำขนมปาดมาเลี้ยงกันทั้งหมู่บ้าน”

เช่นเดียวกับหมู่บ้านแควมะกอก ก็เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่และยาวนาน

ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าว่า เมื่อก่อนจะเรียกกันว่า “แคภูทอก” พอผู้คนพากันมาสร้างบ้าน ชื่อ “แคภูทอก” ก็เลยเปลี่ยนมาเป็น “แควมะกอก” เนื่องจากการพูดคุยการสื่อสารนั้นผิดเพี้ยนไป

หมู่บ้านแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในสมัยพ่อหลวงแก้ว ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมา สมัยพ่อหลวงชุ่มเป็นผู้ใหญ่บ้านแทน มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมา ๖๐-๗๐ หลังคาเรือน พร้อมทั้งมีการก่อสร้างวัดวาอารามขึ้นมาในช่วงสมัยนั้น แต่ไม่มีพระมากราบไหว้บูชา ชาวบ้านก็เลยหาถาวรวัตถุมาปั้น คือ ดินกี่ จนมีมาถึงปัจจุบันนี้ จากนั้น ชาวบ้านก็ไปนิมนต์หนานคำ เข้ามาอยู่ที่วัด และมีการตั้งชื่อวัด คือ วัดคัมภีราราม ซึ่งเป็นที่มาจากนามขอพระครูคัมภีรธรรม

เมื่อสืบค้นข้อมูลก็พบว่า ในพื้นที่บริเวณนี้ มีการสร้างวัดวาอาราม โบราณสถานเก่าแก่ให้เห็นร่องรอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอยู่ ๓ วัด คือ วัดพระบาทแก้วข้าว มีอายุหลายร้อยปี ถือว่าเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สร้างขึ้นตั้งแต่บ้านแควมะกอกยังไม่มาก่อตั้งเสียอีก

“วัดเจดีย์หน้อย มีการใส่บาตรที่นั่น เมื่อก่อนก็มีพระมาเดินดง มีขะโยม (เด็กวัด) ติดตามมาด้วย ๑ คน มาถึงดอยซ้อม จะเป็นที่ที่พระได้มากินข้าว นำเอาผ้ามาตักน้ำเพื่อรองบาตรมาตักน้ำไปกิน” คนเฒ่าคนแก่บ้านแควมะกอก บอกเล่าให้ฟัง

บริเวณบ้านวังลุงในอดีตนั้น ก็ถือเป็นอีกศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญของฮอด มีการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ขนส่งสินค้าทางน้ำระหว่างฮอดไปจนถึงปากน้ำโพ นครสวรรค์เลยทีเดียว

“กลุ่มที่อยู่บนดอยก็ลงมาซื้อของที่วังลุง ของสินค้าที่มาจากปากน้ำโพก็มาถึงที่นี่ สมัยนั้นสินค้าจะขึ้นมาทางเส้นน้ำ และวังลุงเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการค้าขาย คือ หันหลังชนฝา หันหน้าเข้าหาน้ำ วังลุงจึงมีความหลากหลาย มีแขก หรือคนฮอดบ้านเราเรียกกันว่า กุลา มีคะฉิ่น และอีกหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาอยู่ในวังลุง คนจีนก็มีมากในตอนนั้น ส่วนเชื้อสายของผมเองเป็นขมุ ผมเองยังเป็นลูกครึ่งระหว่างหลวงฮอดกับวังลุง เพราะว่าวังลุงมีการแยกจากหลวงฮอดไป นาคอเรือก็แยกจากวังลุงไป แต่พื้นที่ก็ยังอยู่พื้นที่เดียวกัน”

นั่นเป็นการบอกเล่าของชาวบ้านเก่าแก่ดั้งเดิมของฮอด ที่บ่งบอกว่า ฮอด มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยน และเชื้อชาติเผ่า พันธุ์

ฮอด ยังขึ้นชื่อในเรื่อง ‘คนหาปลา’

แน่นอน อาชีพหาปลา เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สำคัญของผู้คนฮอดเมื่อนานมาแล้ว เป็นที่รับรู้กันว่า ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลฮอด ก่อนนั้นจะมีอาชีพทำนา ครั้นเมื่อว่างจากฤดูทำนา ชาวบ้านส่วนใหญ่จะหันมาหาปลากันเป็นอาชีพเสริม คนฮอดสมัยก่อน จะเริ่มออกหาปลาตั้งแต่ตอนยังเด็ก ไปกับพ่อแม่ วิธีหาปลาก็ได้เรียนรู้มาจากพ่อแม่ เนื่องจากแต่ละชุมชนนั้นตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำปิง แม่น้ำและสัตว์น้ำจึงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก

นายนิวัฒน์ แสงสุวรรณ์ สมาชิก อบต.หมู่ ๒ บ้านแพะดินแดง บอกเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เด็กจนเป็นหนุ่มและแต่งงานในช่วงอายุ ๒๑ ปี ก็ยึดอาชีพการหาปลามาตลอด ส่วนการทำนาก็ยังทำอยู่ เพราะส่วนมากจะทำนาปลูกข้าวเอาไว้กิน ไม่ได้ทำไว้ขาย ส่วนการหาปลานั้นก็จะดีกว่าการที่จะต้องไปรับจ้างข้างนอก

“รายได้จากการขายปลานั้นจะได้มากกว่า เมื่อก่อนนั้น การรับจ้างรายวันจะได้ประมาณ ๗๐ บาท แต่การหาปลาจะได้มากกว่า วันหนึ่งขายปลาได้หลายร้อยบาท บางวันหาปลาได้เยอะ ก็ขายปลาได้เงินหนึ่งพันสองพันกว่าบาทก็มี” การหาปลาของคนฮอดสมัยก่อนนั้น พอว่างจากการงานก็จะออกไปหาปลากันทุกวัน โดยส่วนใหญ่จะไปหาปลากันในหลายๆ พื้นที่ เช่น บริเวณบ้านแพะดินแดง บ้านแควมะกอก วังลุง ซึ่งเมื่อก่อนเคนหาปลาแต่ละคน จะใช้เรือพาย เรือถ่อ

“เราจะใช้เรือพาย แต่ก็จะไปถึงแค่วังลุง จะไปไกลไม่ได้ เพราะเรือนั้นเป็นเรือพาย ต้องถ่อไป จะทำให้เหนื่อย ไปไกลก็ไม่ได้ พอตอนใกล้จะค่ำก็ต้องรีบกลับ” ที่น่าสนใจก็คือ คนฮอดสมัยก่อน รู้จักคิดพลิกแพลง ค้นหาวิธีการในการหาปลาหลายวิธีด้วยกัน “มีการตึดแค ทอดแห ลากหงาย คือ การเอาใบลานมามัดเป็นสร้อยอย่างสวยงาม คนเมืองฮอดเขาเรียกว่า หงาย แล้วเอาแหเข้าเขิ้ง และเอาหงายเข้าตบ ลากปลา ปลาก็กลัวหงาย ปลาก็ว่ายหนี ผลสุดท้ายก็เข้าไปติดร่างแห” หงาย เป็นตัวล่อปลา เมื่อนำไปแกว่งในน้ำ จะให้ปลาเกิดความกลัว

“เหมือนกับที่คำโบราณบอกว่า จะใช้หงายก็เฉพาะเวลาช่วงฤดูแล้ง จะเอาไปหลอกปลา ยามพรรษาก็จะเอาไปหลอกคนเฒ่า เพราะว่ามันขาว คนเฒ่าชอบสะดุ้งเข้าใส่ คือพอหน้าแล้งต้องเอาไปลงที่น้ำใส ถ้าเป็นน้ำขุ่นก็ไม่ได้ ทีนี้ปลาไปเห็นเข้า ก็ว่ายหนี สุดท้ายก็เข้าไปในแหที่เขิงไว้” นายนิวัฒน์ บอกเล่า

ว่ากันว่า การใช้หงายล่อปลาเช่นนี้ วันหนึ่งสามารถหาปลาได้มากถึง ๑๐๐ กิโลกรัมเลยทีเดียว

แน่นอนว่า ปลาในสมัยก่อนนั้นมีมากกว่าเงินทองเสียอีก โดยดูได้จากวัฒนธรรมคนฮอดเวลาช่วยเหลืองานบุญก็ทำด้วยการลงแรงหาปลามาช่วย เหลือชาวบ้านที่ขัดสนในยามยาก “ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นงานศพของคนยากคนจน คนที่ไม่มีเงิน หรือคนที่มีเงินก็ตาม หากญาติๆ เขาขอให้ชาวบ้านไปช่วยกันสุ่มแห เราก็พากันไป เอาคนที่เก่งไป เอาเรือออกไป ๑๐ ลำ แต่ถ้ามีการขอจากเจ้าภาพก็จะมีทุกงานทุกศพ ที่เราจะพากันออกไปหาปลามาให้เจ้าภาพเขา” ชาวบ้านบอกว่า เมื่อก่อน ปลาในแม่น้ำปิงนั้นมีมากมายหลายชนิด อาทิ ปลาปวน ปลาสวายหมู ปลายาง ปลาเริง ปลาสะบ๊ากเหมือง ปลากลม(ตัวเท่าแขน แต่หางดำ) รวมไปถึง ปลาแค้ ซึ่งลำตัวลายเหมือนเสือ แต่เป็นปลาหนัง ชาวบ้านบอกว่า ปลาแค้ เป็นปลาที่มีความอร่อยมากที่สุด เนื้อเหลือง เอามาลาบ แกงได้สารพัด ครั้นเมื่อหาปลามาได้เยอะจนกินขายยังไม่หมด ชาวบ้านก็นำมาถนอมอาหาร อย่างเช่น เอามาย่างไฟ เอามาดองไว้ทำปลาร้า ส่วนใหญ่เป็นประเภทปลาสร้อย ส่วนขี้ของมันก็เอามาดองเก็บไว้ได้อีก ว่ากันว่า หมู่บ้านแพะดินแดง จะเป็นชุมชนคนหาปลามากที่สุด เฉลี่ยก็แทบจะทุกหลังคาเรือนที่ยึดอาชีพในการหาปลา

นั่นถือว่า ชุมชนในตำบลฮอดนั้นมีอาชีพทำนา ทำสวน และการหาปลามาเพื่อยังชีพและเพื่อค้าขายกันนานหลายชั่วอายุคนมาแล้ว ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่สงบ ปกติสุข เป็นสังคมแห่งสันติสุข รักใคร่กลมเกลียวกันมาโดยตลอด

ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงในชีวิตของคนฮอดในเวลาต่อมา...นั่นคือ การสร้างเขื่อนภูมิพล
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2015 7:58 am

เมืองฮอด ช่วงสร้างเขื่อนภูมิพล จนถึงการโยกย้ายถิ่นฐานหนีน้ำที่หนุนสูง เป็นผลกระทบมาจากการสร้างเขื่อนภูมิพล? ชุมชนฮอดใกล้ล่มสลายแล้ว... จริงหรือ??? แล้วเรา ลูก หลาน ควรจะทำอย่างไร เพื่อให้ประวัติศาสตร์ ยังคงเป็นเหมือนเมื่อวาน...

ฮอดเปลี่ยนเมื่อเกิดเขื่อนภูมิพล

ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นต้นมา ถือว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในพื้นที่อำเภอฮอดครั้งใหญ่และ รุนแรง เมื่อรัฐบาลในสมัยนั้น ได้มีการสร้างเขื่อนยันฮี โดยกั้นแม่น้ำปิง ตรงบริเวณช่องเขายันฮี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า ‘เขื่อนภูมิพล’ ลักษณะ ของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ ๘ ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณ เขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง ๒๕๐ เมตร สูง ๑๕๔ เมตร ยาว ๔๘๖ เมตรความกว้างของสันเขื่อน ๖ เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด ๓,๔๖๒ ล้านลูกบาศก์เมตร

วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๑-๒ กำลังผลิตเครื่อง ละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์

ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ เริ่มมีการเริ่มปิดเขื่อนกั้นน้ำ และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคมและ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๗ ตามลำดับ ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนภูมิพล เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗

จากข้อมูลของเขื่อนภูมิพล ระบุว่า อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน สามารถจุน้ำได้ ๑๓,๔๖๒ ล้าน ลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ ๓๐๐ ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง ๒๐๗ กิโลเมตร นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้า และ ชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด

ในขณะที่ชะตากรรมของชาวบ้านในหลายพื้นที่ทางตอนเหนือของเขื่อนภูมิพล รวมไปถึงชาวบ้านในชุมชนฮอดต่างเริ่มสั่นคลอนนับตั้งแต่นั้นมา

“มีครูบาทำนายเอาไว้ว่า จะมีเครือเถาวัลย์ตายตั้งแต่ฝั่งนี้จนถึงอีกฝั่ง”

“แม่น้ำปิงมูนขึ้นมาประมาณ ๒๐ กว่าศอก”

“สมัยก่อน สองฝั่งลำน้ำปิง มีต้นดอกงิ้ว ต้นไม้ฉำฉา จากนั้นชาวบ้านก็จะมีการทำแพ ตีฆ้องตีกลอง ล่องขึ้นมาเป็นวัดๆ แต่พอหลังจากที่มีการสร้างเขื่อนก็เกิดน้ำท่วม ทำให้เกิดการสูญเสียของต้นไม้ เป็นจำนวนมหาศาล และยังมาว่าประชาชน เป็นคนตัดไม้ทำลายป่าอีก”

นั่นเป็นเสียงครวญของคนฮอด ที่บอกเล่าถึงเหตุการณ์หลังมีการสร้างเขื่อนภูมิพล

จากข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของ อบต.ฮอด ระบุว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ทาง เขื่อนภูมิพล ได้ทำการเวนคืนที่ดินในเขตน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลฮอดเดิม ซึ่งประกอบด้วย บ้านแควมะกอก หมู่ที่ ๑, บ้านหลวงฮอด หมู่ที่ ๒, บ้านวังลุง หมู่ที่ ๓, บ้านห้วยทราย หมู่ที่ ๔ เนื่องจากจะต้องได้รับผลกระทบ จนต้องมีการอพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่ที่ทางราชการได้เตรียมพื้นที่ รองรับไว้ในพื้นที่บ้านวังลุง ตำบลหางดง อำเภอฮอดและอำเภอดอยหล่อเป็นที่รองรับ แต่ชาวบ้านได้ปฏิเสธที่จะโยกย้ายไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะทุกคนเห็นว่าพื้นที่ที่ทางการเตรียมไว้ให้นั้น ยังขาดสาธารณูปโภคด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน และอาชีพหลักของชาวบ้านซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพในพื้นที่นั้นได้ ทำให้ชาวบ้านได้ย้ายกลับมาที่เดิม

ในปี ๒๕๐๕ ให้มีการย้ายสถานที่ราชการที่สำคัญ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ โรงเรียน ฯลฯ ให้ย้ายไปอยู่ในเขตพื้นที่บ้านท่าข้าม ตำบลหางดง อำเภอฮอด ซึ่งอยู่บริเวณสันดอนของแม่น้ำแจ่มไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำปิง

จากนั้นไม่นาน น้ำเหนือเขื่อนภูมิพล ก็เริ่มเอ่อหนุนท่วมขึ้นไปทางเหนืออย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งน้ำเริ่มแผ่ขยายเข้าท่วมพื้นที่ตำบลมืดกา ตำบลท่าเดื่อ และตำบลบ้านแอ่น และในปี พ.ศ.๒๕๐๗ น้ำก็เริ่มเข้าท่วมพื้นที่ของตำบลฮอด ตำบลหางดง อำเภอฮอด และบ้านแปะ เขตอำเภอจอมทอง อย่างต่อเนื่อง

ในเขตพื้นที่ตำบลฮอด หมู่บ้านที่เจอน้ำท่วมบ้านแรก คือ หมู่บ้านห้วยทราย หมู่ที่ ๔ ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ถัดมาน้ำได้เข้าท่วมหมู่บ้านวังลุง หมู่ ๓ หมู่บ้านแพะดินแดง หมู่ที่ ๒ และหมู่บ้านหลวงฮอด หมู่ ๑ ตามลำดับ

แน่นอนว่า ถึงแม้ว่าจะมีการอพยพย้ายหมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายไปจากชุมชนเดิมได้ นั่นก็คือ โบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และการสร้างเขื่อน ซึ่งได้แก่ ร่องรอยวัดโบราณ เช่น วัดเจดีย์สูง วัดหลวงฮอด วัดศรีโขง วัดสันหนอง วัดดอกเงิน วัดดอกคำ เป็นต้น

หลังจากน้ำเริ่มหนุนท่วมเข้ามา ชาวบ้านในตำบลฮอด จึงพากันย้ายอพยพขึ้นไปอยู่บนที่สูง โดยได้มีการแผ้วถางป่าเพื่อสร้างชุมชนใหม่ พร้อมกับมีการบุกเบิกพื้นที่ทำมาหากิน

หมู่บ้านแรก ที่ย้ายขึ้นมา คือ บ้านแควมะกอก ย้ายมาตั้งที่บ้านแพะดินแดงในปัจจุบัน และบ้านวังลุงได้ย้ายมารวมอยู่ที่เดียวกับบ้านหลวงฮอดที่แพะดินแดง ก่อนจะย้ายไปที่ตั้งปัจจุบัน ส่วนบ้านห้วยทราย ก็ย้ายตามขึ้นไป ณ ที่ตั้งปัจจุบัน และบ้านดงดำ ซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำปิง มีพื้นที่สูง ซึ่งมีสภาพเป็นป่า และทางราชการได้จัดเป็นพื้นที่นิคม จึงได้พากันย้ายไปอยู่ในพื้นที่แห่งนั้น


ที่มา : เอกสารข้อมูลประวัติศาสตร์ โครงการสำรวจชุมชนโบราณท่าเชียงทอง ยุคก่อนหริภุญไชย ‘ย้อนรอยพระนางจามเทวี ตามหาท่าเรือเชียงทอง’ ของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่

ที่มาภาพ : นิตยสารเสรีภาพ สำนักข่าวอเมริกัน กรุงเทพฯ

เมืองฮอด ช่วงสร้างเขื่อนภูมิพล จนถึงการโยกย้ายถิ่นฐานหนีน้ำที่หนุนสูง เป็นผลกระทบมาจากการสร้างเขื่อนภูมิพล? ชุมชนฮอดใกล้ล่มสลายแล้ว... จริงหรือ??? แล้วเรา ลูก หลาน ควรจะทำอย่างไร เพื่อให้ประวัติศาสตร์ ยังคงเป็นเหมือนเมื่อวาน...

ฮอดเปลี่ยนเมื่อเกิดเขื่อนภูมิพล

ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นต้นมา ถือว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในพื้นที่อำเภอฮอดครั้งใหญ่และ รุนแรง เมื่อรัฐบาลในสมัยนั้น ได้มีการสร้างเขื่อนยันฮี โดยกั้นแม่น้ำปิง ตรงบริเวณช่องเขายันฮี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า ‘เขื่อนภูมิพล’ ลักษณะ ของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ ๘ ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณ เขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง ๒๕๐ เมตร สูง ๑๕๔ เมตร ยาว ๔๘๖ เมตรความกว้างของสันเขื่อน ๖ เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด ๓,๔๖๒ ล้านลูกบาศก์เมตร

วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๑-๒ กำลังผลิตเครื่อง ละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์

ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ เริ่มมีการเริ่มปิดเขื่อนกั้นน้ำ และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคมและ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๗ ตามลำดับ ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนภูมิพล เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗

จากข้อมูลของเขื่อนภูมิพล ระบุว่า อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน สามารถจุน้ำได้ ๑๓,๔๖๒ ล้าน ลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ ๓๐๐ ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง ๒๐๗ กิโลเมตร นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้า และ ชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด

ในขณะที่ชะตากรรมของชาวบ้านในหลายพื้นที่ทางตอนเหนือของเขื่อนภูมิพล รวมไปถึงชาวบ้านในชุมชนฮอดต่างเริ่มสั่นคลอนนับตั้งแต่นั้นมา

“มีครูบาทำนายเอาไว้ว่า จะมีเครือเถาวัลย์ตายตั้งแต่ฝั่งนี้จนถึงอีกฝั่ง”

“แม่น้ำปิงมูนขึ้นมาประมาณ ๒๐ กว่าศอก”

“สมัยก่อน สองฝั่งลำน้ำปิง มีต้นดอกงิ้ว ต้นไม้ฉำฉา จากนั้นชาวบ้านก็จะมีการทำแพ ตีฆ้องตีกลอง ล่องขึ้นมาเป็นวัดๆ แต่พอหลังจากที่มีการสร้างเขื่อนก็เกิดน้ำท่วม ทำให้เกิดการสูญเสียของต้นไม้ เป็นจำนวนมหาศาล และยังมาว่าประชาชน เป็นคนตัดไม้ทำลายป่าอีก”

นั่นเป็นเสียงครวญของคนฮอด ที่บอกเล่าถึงเหตุการณ์หลังมีการสร้างเขื่อนภูมิพล

จากข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของ อบต.ฮอด ระบุว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ทาง เขื่อนภูมิพล ได้ทำการเวนคืนที่ดินในเขตน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลฮอดเดิม ซึ่งประกอบด้วย บ้านแควมะกอก หมู่ที่ ๑, บ้านหลวงฮอด หมู่ที่ ๒, บ้านวังลุง หมู่ที่ ๓, บ้านห้วยทราย หมู่ที่ ๔ เนื่องจากจะต้องได้รับผลกระทบ จนต้องมีการอพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่ที่ทางราชการได้เตรียมพื้นที่ รองรับไว้ในพื้นที่บ้านวังลุง ตำบลหางดง อำเภอฮอดและอำเภอดอยหล่อเป็นที่รองรับ แต่ชาวบ้านได้ปฏิเสธที่จะโยกย้ายไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะทุกคนเห็นว่าพื้นที่ที่ทางการเตรียมไว้ให้นั้น ยังขาดสาธารณูปโภคด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน และอาชีพหลักของชาวบ้านซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพในพื้นที่นั้นได้ ทำให้ชาวบ้านได้ย้ายกลับมาที่เดิม

ในปี ๒๕๐๕ ให้มีการย้ายสถานที่ราชการที่สำคัญ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ โรงเรียน ฯลฯ ให้ย้ายไปอยู่ในเขตพื้นที่บ้านท่าข้าม ตำบลหางดง อำเภอฮอด ซึ่งอยู่บริเวณสันดอนของแม่น้ำแจ่มไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำปิง

จากนั้นไม่นาน น้ำเหนือเขื่อนภูมิพล ก็เริ่มเอ่อหนุนท่วมขึ้นไปทางเหนืออย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งน้ำเริ่มแผ่ขยายเข้าท่วมพื้นที่ตำบลมืดกา ตำบลท่าเดื่อ และตำบลบ้านแอ่น และในปี พ.ศ.๒๕๐๗ น้ำก็เริ่มเข้าท่วมพื้นที่ของตำบลฮอด ตำบลหางดง อำเภอฮอด และบ้านแปะ เขตอำเภอจอมทอง อย่างต่อเนื่อง

ในเขตพื้นที่ตำบลฮอด หมู่บ้านที่เจอน้ำท่วมบ้านแรก คือ หมู่บ้านห้วยทราย หมู่ที่ ๔ ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ถัดมาน้ำได้เข้าท่วมหมู่บ้านวังลุง หมู่ ๓ หมู่บ้านแพะดินแดง หมู่ที่ ๒ และหมู่บ้านหลวงฮอด หมู่ ๑ ตามลำดับ

แน่นอนว่า ถึงแม้ว่าจะมีการอพยพย้ายหมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายไปจากชุมชนเดิมได้ นั่นก็คือ โบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และการสร้างเขื่อน ซึ่งได้แก่ ร่องรอยวัดโบราณ เช่น วัดเจดีย์สูง วัดหลวงฮอด วัดศรีโขง วัดสันหนอง วัดดอกเงิน วัดดอกคำ เป็นต้น

หลังจากน้ำเริ่มหนุนท่วมเข้ามา ชาวบ้านในตำบลฮอด จึงพากันย้ายอพยพขึ้นไปอยู่บนที่สูง โดยได้มีการแผ้วถางป่าเพื่อสร้างชุมชนใหม่ พร้อมกับมีการบุกเบิกพื้นที่ทำมาหากิน

หมู่บ้านแรก ที่ย้ายขึ้นมา คือ บ้านแควมะกอก ย้ายมาตั้งที่บ้านแพะดินแดงในปัจจุบัน และบ้านวังลุงได้ย้ายมารวมอยู่ที่เดียวกับบ้านหลวงฮอดที่แพะดินแดง ก่อนจะย้ายไปที่ตั้งปัจจุบัน ส่วนบ้านห้วยทราย ก็ย้ายตามขึ้นไป ณ ที่ตั้งปัจจุบัน และบ้านดงดำ ซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำปิง มีพื้นที่สูง ซึ่งมีสภาพเป็นป่า และทางราชการได้จัดเป็นพื้นที่นิคม จึงได้พากันย้ายไปอยู่ในพื้นที่แห่งนั้น

903071.jpg
903071.jpg (51.33 KiB) เปิดดู 10228 ครั้ง

ผาม่าน ตำนานแห่งสายน้ำปิงที่ปัจจุบันเป็นเพียงผาหินโสโครกใต้ท้องเขื่อนยักษ์ ที่จะไม่มีวันได้กลับมาเห็นมันอีกแล้ว


ที่มา : เอกสารข้อมูลประวัติศาสตร์ โครงการสำรวจชุมชนโบราณท่าเชียงทอง ยุคก่อนหริภุญไชย ‘ย้อนรอยพระนางจามเทวี ตามหาท่าเรือเชียงทอง’ ของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่

ที่มาภาพ : นิตยสารเสรีภาพ สำนักข่าวอเมริกัน กรุงเทพฯ , บุญเสริม ศาสตราภัย
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2015 8:00 am

1012750.jpg
1012750.jpg (31.15 KiB) เปิดดู 10228 ครั้ง

พระบฏที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ได้มาจากการขุดกรุพระเจดีย์ วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมศิลปากร ในโครงการสำรวจทางโบราณคดีเหนือเขื่อนภูมิพล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ Cr.จารุณี อินเฉิดฉาย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

903078.jpg
903078.jpg (60.92 KiB) เปิดดู 10228 ครั้ง

การอพยพหนีน้ำท่วมหลังจากสร้างเขื่อนภูมิพล
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2015 8:19 am

ประวัติศาสตร์ เมืองพร้าววังหิน ปัจจุบัน คือ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

65669_561496730569034_1077361447_n.jpg
65669_561496730569034_1077361447_n.jpg (38.82 KiB) เปิดดู 10228 ครั้ง


เมืองพร้าววังหินเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน สร้างขึ้นในปีพ.ศ. ๑๘๒๔ โดย "พระญามังราย"(พญามังราย) ณ ตำบลแจ้สัก หรือเดิมเรียกว่า เวียงหวาย


พระญามังราย มีทหารผู้ซื่อสัตย์ผู้หนึ่งชื่อว่า ขุนฟ้าเป็นชนเชื้อสาย ละว้า แต่มีความเฉลียวฉลาดและซื่อสัตย์มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ยิ่งนัก ได้รับอาสาไปทำกลอุบายต่าง ๆ นานา ต่อพระยายีบา ผู้ครองเมืองหริภุญชัย เป็นเวลานานถึง ๗ ปี เช่นในฤดูร้อน แผ่นดินแห้งผากได้เกณฑ์ชาวบ้านชาวเมือง ไปขุดเหมืองส่งน้ำ ชาวบ้านสอบถามก็บอกว่าเป็นคำสั่งของเจ้าเหนือหัว พอถึงฤดูฝนข้าวเต็มนาก็เกณฑ์ชาวบ้านชาวเมืองไปปลูกบ้านสร้างเมือง ชาวบ้านแบกไม้หามเสาผ่านทุ่งนาอย่างทุลักทุเลทำให้ไร่นาเสียหายมาก ครั้นชาวบ้านชาวเมือง สอบถามก็ตอบอย่างเดิม จึงทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนจงเกลียดจงชังท่านพระยายีบา เป็นที่ยิ่ง ในขณะที่ท่านพระญามังรายได้ส่งขุนฟ้าไปเมืองหริภุญชัยแล้ว จึงรับสั่ง ให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่าขุนเครือง ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษาให้ไป ครองเมืองเชียงราย ส่วนพระญามังรายครองราชย์สมบัติ ณ เมืองฝาง ฝ่ายขุนเครื่อง ราชโอรส เสด็จไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนักอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีชื่อว่าขุนใสเวียง ได้กราบทูลยุยงให้คิดกบฎต่อพระบิดา โดยให้ชิงเอาราชสมบัติเมืองเชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมืองฝ่ายพระญามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่าขุนเครื่องผู้มีบุญน้อยจะมาคิดแย่งราชสมบัติกูผู้เป็นพ่อเช่นนี้ จักละไว้มิได้ จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัยผู้หนึ่ง ไปเชิญขุนเครื่องผู้ โอรสให้มาเฝ้าที่เมืองฝาง ในขณะที่ราชโอรสเดินทางจากเมืองเชียงราย จะมาเฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระญามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ ทำให้ขุนเครื่องสิ้นพระชนม์ระหว่างทางณ ที่แห่งหนึ่งในเขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระญามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรสและทรงให้สถาปนา บริเวณ ที่ขุนเครืองถูกปลงพระชนม์นั้นเป็นอารามเรียกว่า วัดเวียงยิง มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเชียงยิง หรือวัดกู่ยิง(วัดสันป่าเหียง) ครั้นแล้วก็โปรดให้อัญเชิญพระศพไปฌาปนกิจเสียที่เมืองเชียงรายและในวัดแห่งนี้ต่อมาเป็นวัดร้าง และมีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ ๒ องค์มีลักษณะสวยงามมาก ขณะนี้เก็บไว้ที่ วัดป่าลัน ตำบลบ้านโป่ง และที่วัดหนองอ้อ ตำบลเวียง เรียกว่า พระฝนแสนห่า

พุทธศักราช ๑๘๒๓ พระญามังรายทรงให้ขุนคราม โอรสองค์ที่สองไปครองเมืองเชียงราย จากนั้น ตามหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับหอสมุด แห่งชาติเล่มที่ ๒ กรุงเทพ ฯ หน้า ๕๕๑ มีความว่า "ส่วนพระญามังรายเมื่อทรง ทราบข่าวตามหนังสือขุนฟ้ามีมานั้น ก็มีความยินดียิ่งนัก จึงได้เกณฑ์จตุรงค์พล โยธาเป็นทัพใหญ่ยกออกจากนครเมืองฝางมาทางเมืองแจ้สัก แล้วประชุมผลที่นั้นและได้สร้างเวียงเวียงหนึ่ง ให้ชี่อว่า เวียงพร้าววังหิน เดิมนั้นเรียก เวียงหวายเวียงพร้าว เดิมเข้าใจว่าเดิมคงจะเป็น เวียงป่าว มาจากคำว่า ป่าวร้องกะเกณฑ์ ไพร่พล เนื่องจาก เวียงพร้าวเป็นเมืองสะสมนักรบและไพร่พล และเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ ก่อนจะสร้างเมืองพร้าววังหิน มีนามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เวียงหวาย" เข้าใจว่าคงจะมีหวายขึ้นแถวนั้นเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันยังมีหมู่บ้านชื่อว่า บ้านโละป่าหวายอยู่ไม่ไกลจากเมืองเก่า ในขณะที่พระองค์มาพักและสร้างเวียงพร้าววังหินยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ท่านก็เดินทัพต่อไป โดยมอบให้ขุนเครือราชโอรสองค์ที่ ๓ของพระองค์อยู่สร้างเมืองต่อ และครองเมืองพร้าวขุนเครือครองเมืองพร้าวได้ไม่นานก็ทำความผิดโดยทางชู้สาวกับพี่สะใภ้ คือพระมเหสีขุนคราม ณ เวียงเชียงดาว ความทราบไปถึงพระญามังราย จึงคิดว่าถ้าหากปล่อยละไว้ ลูกทั้งสองจะรบราฆ่าฟันกันขึ้น จึงเนรเทศขุนเครือให้ไปครองเมืองนาย (เข้าใจว่าน่าจะเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน) ส่วนพระมังรายหลังจากเดินทัพจากเมืองพร้าวไป ก็ได้ยกทัพปล้นเอา เมืองลำพูนได้ ในวันขึ้น ๔ค่ำ เดือน ๕ จุลศักราช ๖๓๙ ปีมะเส็ง ตรีศก (ประมาณ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๒๔) ซึ่งขณะนั้นพระมังรายมีพระชนมายุ๔๓ ปี พระญามังราย ย้ายจากเมืองลำพูนมาสร้างเวียงกุมกามขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๖ -๑๘๓๗ ซึ่งอยู่ในเขตตำบลท่าศาลา อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และมักมีน้ำท่วมในฤดูฝน ต่อมาเนื่องจากมีน้ำ ปิงไหลผ่านและเปลี่ยนทิศทางเดิน พระญามังรายจึงย้ายจากเมืองกุมกาม มาสร้าง เมืองเชียงใหม่ในปีวอก อัฐศก วันพฤหัสบดี เดือน ๓ เหนือขึ้น ๕ ค่ำจุลศักราช ๖๕๘(พ.ศ. ๑๘๓๙) ทรงสร้างนาน ๔ เดือน จึงเสร็จสมบูรณ์ มีการจัดงานมหรสพสมโภช ฉลองเมืองเชียงใหม่เป็นการใหญ่ โดยให้ขนานนามว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ส่วนพระยายีบาผู้ครองเมืองลำพูนเดิมนั้น หนีไปอยู่กับพระยาเบิกผู้เป็นบุตรที่นครเขลางค์ เพื่อคบคิดซ่องสุมประชุมพล จะยกมาชิงเมืองลำพูนคืน พระญามังรายทรงทราบ จึงได้ให้ขุนครามราชบุตรองค์ที่ ๒ รวมพลไปตีเมืองเขลางค์ ขุนครามรบชนะ จึงได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยาไชยสงคราม เมื่อทำศึกเรียบร้อยแล้วเจ้าพระยาไชยสงครามก็กราบบังคมลากลับเมืองเชียงราย พอถึงเมืองเชียงรายแล้ว จึงแต่งตั้งขุนช่างไปแผ้วถางเมืองเชียงดาว สร้างคูวังที่ประทับพร้อมด้วยโรงพลช้าง ม้า ฉางข้าว ฯลฯ หลังจากนั้นชายาของพระยาไชยสงครามก็มาประทับที่วังเชียงดาวพระองค์ทรงมีราชบุตร ๓ พระองค์ คือ

๑. ท้าวแสนภู

๒. ท้าวพ่อน้ำท่วม

๓. ท้าวพ่องั่ว

จนถึงปีจุลศักราช ๖๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๖๐ พระญามังรายมีพระชนมายุ ๘๐ พระชันษา พระองค์ได้เสด็จประพาสตลาดกลางเมืองเชียงใหม่ อสนีบาตตกพระองค์ถึงทิวงคตที่นั่น หมู่เสนาอำมาตย์จึงได้อันเชิญพระเจ้าไชยสงครามมาจัดการพระศพและครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าพระยาไชยสงครามจึงอภิเษกโอรสองค์ใหญ่ชื่อท้าวแสนภู ซึ่งมีพระชนมายุ ๒๑ ชันษา ครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าพระยาไชยสงคราม กลับไปครองเมืองเชียงรายต่อไป เมื่อขุนเครือทรงทราบข่าวพระราชบิดาทิวงคตแล้วเจ้าแสนภูครองเมืองแทน จึงออกอุบายว่าจะมาถวายบังคมพระศพ แล้วยกพลโยธา มาล้อมเมืองเชียงใหม่ ท้าวแสนภูจะออกรบก็กลัวว่าจะเป็นอันตราย จึงได้หลบหนี ออกจากเวียงไป ขุนเครือจึงได้ครอบครองเมืองเชียงใหม่แทน ในปีจุลศักราช ๖๘๑(พ.ศ. ๑๘๖๒) เจ้าพระยาไชยสงครามทรงทราบว่าขุนเครือชิงราชสมบัติโอรสของตนจึงทรงพิโรธ ได้ส่งพ่อท้าวน้ำท่วม ราชบุตรองค์ที่ ๒ ผู้ครองเมืองฝาง ให้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ จนล้อมจับขุนเครือได้ เจ้าพระยาไชยสงครามทรงทราบว่าราชบุตรทรงรบชนะ ก็พลโยธามาเชียงใหม่ ขณะนั้นเจ้าน้ำท่วมมีพระชนมายุ ๓๐ปี ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ในปีจุลศักราช ๖๘๔ (พ.ศ. ๑๘๖๕) ฝ่ายขุนเครือได้ถูกคุมขังไว้ตำบลทับคันได (เข้าใจว่าน่าเป็นตำบลโหล่งขอดปัจจุบัน เนื่องจากมีชื่อลูกดอยลูกหนึ่งชื่อใกล้เคียง) ขุนเครือถูกกักขังนาน ๔ ปี ก็สิ้นพระชนม์ ราวพ.ศ. ๑๘๗๒ คำนวณอายุ ได้ ๓๗ พรรษา ในการควบคุมขุนเครือนั้นเจ้าพระยาไชยสงครามทรงแต่งตั้งท้าวบุญเรืองเป็นหัวหน้าผู้ควบคุม จนกระทั่งท้าวบุญเรืองชราภาพและเสียชีวิตจึงได้สร้างกู่ไว้เป็นที่เก็บอัฏฐิให้ชื่อว่า กู่ท้าวบุญเรืองไว้ตรงแจ่งของเมืองชั้นนอก (เข้าใจว่าน่าจะเป็นที่บริเวณโรงเรียนบ้านบ้านแจ่งกู่เรืองในปัจจุบัน)
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 13 ธ.ค. 2015 8:20 am

34771.jpg
34771.jpg (168.36 KiB) เปิดดู 10228 ครั้ง


เวียงพร้าววังหิน เป็นเวียงที่รุ่งเรืองมากมีคนอยู่หนาแน่น เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านเป็นที่สร้างนักรบและประชุมพล สังเกตได้จากตัวเวียงชั้นใน (พร้าววังหิน)มีขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ ๒๐๐ กว่าไร่ และมีวัดร้างโดยรอบหลายวัด เช่น ที่บริเวณโรงเรียนบ้านหนองปลามันและทางทิศตะวันตกของโรงเรียน อีก ๒๐๐ เมตร และที่ใกล้เคียงอีกหลายแห่งต่างก็เป็นวัดร้าง ซึ่งวัดร้างดังกล่าวหมายรวมถึงวัดพระเจ้า ล้านทองด้วย ปัจจุบันก็อยู่ห่างกันไม่มากนัก และหัวเมืองชั้นนอก (เวียงพร้าวปัจจุบัน) ก็มีวัดร้างหลายแห่ง เช่น วัดดงต้นกลาง วัดดงต้นปอ วัดดงอาทิตย์ วัดศรีชมภู วัดศรีชุม วัดต้นแก้ว วัดสุพรรณ เป็นต้น ซึ่งวัดร้างเหล่านี้ก็อยู่ห่างกันไม่มาก จำนวนวัดก็ดูมากกว่าวัดในเวียงพร้าวในปัจจุบันนี้เสียอีก ซึ่งเป็นสิ่งแสดงถึงความหนาแน่นของคนในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังสันนิษฐานได้จากหนังสือพงศาวดารว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมืองเชียงใหม่จะต้องแต่งตั้งผู้ที่ไว้วางใจได้มาครองเวียงพร้าววังหิน ดังปรากฏในสมัยพระสามฝั่งแกน กษัตริย์เมือง เชียงใหม่มราชบุตร ๑๐ พระองค์ ทรงพระนามตามลำดับดังนี้ คือ ท้าวอ้าย ท้าวยี่ ท้าวสาม ท้าวใส ท้าวงั่ว ท้าวลก ท้าวเจ็ด ท้าวแปด ท้าวเก้า ท้าวสิบ ราชบุตรผู้ทรงนามท้าวอ้ายนั้นเมื่อพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พระราชบิดาตั้งไว้ในที่อุปราช ผู้ซึ่งรับราชสมบัติสืบต่อพระองค์ ให้ประทับอยู่ในเวียงเจ็ดลิน ( เวียงเจ็ดลินตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพบริเวณถนนห้วยแก้ว ยังมีซากเมืองปรากฎอยู่จนปัจจุบัน) ทรงมีพระชนม์ ชีพอยู่อีก ๒ ปี จนพระชนมายุ๙ พรรษาก็เสด็จสวรรคต แต่ท้าวงั่วผู้ถ้วนห้านั้นพระบิดาให้ไปกินเมืองเชียงเรือ เรียกว่า เชียงลานท้าวลก ผู้ถ้วนหก พระบิดาให้ไปครองเวียงพร้าว ในที่แดนชาวพร้าววังหินห้าร้อยนา ท้าวเจ็ด ให้ไปครองเมือง เชียงราย ท้าวสิบผู้น้องให้ไปครองเมืองฝาง เรียกว่า ท้าวซ้อย (มาจากคำพื้นเมืองว่าสุดซ้อย) ส่วนราชบุตรอีก ๕ พระองค์ ท้าวยี่ ท้าวสาม ท้าวใส ท้าวแปด ท้าวเก้า หมู่นี้ได้ไปตามกรรม (ตาย) ส่วนท้าวลกผู้ถ้วนหกนั้น เกิดปีฉลู ศักราช ๗๗๑ (ประมาณพ.ศ. ๑๙๗๒) เมื่อครองเวียงพร้าววังหิน อยู่ได้ไม่นานเท่าไรก็ได้กระทำความผิดพระราชบิดาทรงพิโรธ จึงเนรเทศไปไว้ ณ เมืองยวมใต้ (อ. แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ในปัจจุบัน) ต่อมามีพญาสามเด็กน้อย อำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ผู้หนึ่งก็คิดอ่านจะทำการกบฏต่อพระยาสามฝั่งแกนและได้เชิญท้าวลกมาเป็นหัวหน้า เจ้าท้าวลกซึ่งมีความน้อยพระทัยในพระราชบิดาอยู่แล้วจึงรับคำ และเมื่อ พระพญาสามเด็กน้อยซ่องสุ่มผู้คนพร้อมแล้ว จึงได้ให้คนสนิทมาเชิญเจ้าลก และได้ยกพลล้อมเมืองเชียงใหม่ในเวลากลางคืน ขณะนั้นพระเจ้าสามฝั่งแกน ทรงแปรพระราชฐานไปประทับอยู่ที่เวียงเจ็ดลิน พญาสามเด็กน้อยจึงแต่งไพร่พลลอบไปจุดไฟเผาเวียงเจ็ดลินในเวลาเที่ยงคืน พระเจ้าสามฝั่งแกนตกพระทัยจึงทรงม้าพระที่นั่งกลับเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ พอไปถึงคุ้มหลวงก็ถูกไพร่พลของเจ้าลก ควบคุมตัวไว้ ครั้นรุ่งเช้าก็นิมนต์พระสงค์เจ้าเข้าไปในราชมนเทียรบังคับให้เจ้าสามฝั่งแกนเวนราชสมบัติให้แก่พระองค์ พระเจ้าสามฝั่งแกนก็ทรงเวนราชสมบัติ และหลั่งน้ำให้แก่เจ้าท้าวลกสมความปรารถนาครั้นทำพิธีแล้ว เจ้าท้าวลกก็ได้ส่งพระราชบิดาไปอยู่ ณ เมืองสาด (อยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่าในปัจจุบัน)แล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา ขนานพระนามว่า พระมหาศรีสุธรรมติโลกราช และเรียกกันในสมัยต่อมาว่า "พระเจ้าติโลกราช"


ในรัชสมัยของ พระเจ้าติโลกราชนี้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองมากและการทหารก็เข้มแข็ง พระองค์ก็ยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ คือ เมืองแพร่ เมืองนาย เมืองสุไลค่า เมืองงึดเมืองจาง เมืองกึง เมืองลอกจอก เมืองจำค่า เมืองกุน เมืองยองห้วย เมืองหนองบอน เมืองสีป๊อ ได้เลยครอบครัวเงี้ยวมา ๑๒,๓๒๘ คน ซึ่งได้แบ่งครัวไทยเงี้ยวนี้ไปอยู่ที่พระทะการเก้าช่อง และเวียงพร้าว เป็นการสะสมพลเมืองเพื่อไว้เป็นกำลังรบต่อไป ในสมัยของพระองค์ได้ส่งหมื่นมอกลองมาครองเวียงพร้าว ท่านหมื่นคนนี้มีความกล้าหาญมาก จนกระทั่งตัวเองตายในที่รบ และได้รับคำชมเชยจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา กาลต่อมาพระเจ้าติโลกราชได้ส่งราชบริวารที่ไว้วางใจได้ขึ้นมาครองเมืองพร้าวตามปรากฏนามดังนี้ หมื่นแพง เจ้ายอดเมืองซึ่งเป็นราชนัดดา หมื่นแก่งพร้าว หมื่นเงิน หมื่นเวียงพร้าว พันล่ามบุญ ทั้ง ๖ ท่านที่ได้กล่าวมานี้ได้ขึ้นมาปกครองเวียงพร้าว ล้วนแต่มีความใกล้ชิดสนิทชิดเชื้อนอกจากนั้น แต่ละท่านยังมีความเก่งกล้าสามารถในด้านการรบเป็นอย่างยิ่ง ดังความ ในหนังสือความดีเมืองเหนือ ของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า ๗๗ มีความว่า"กองทัพหลวงพระบางยกทัพมาตีเมืองน่าน จึงโปรดให้หมื่นเงิน เจ้าเมืองพร้าวเป็นแม่ทัพยกทัพไปช่วยเมืองน่าน และได้สู้รบกับกองทัพหลวงพระบางปรากฏว่ากองทัพหลวงพระบางแตกพ่ายไป" จะเห็นว่าเจ้าเวียงพร้าวมีความสามารถในการรบทุกท่าน ตามหนังสือพงศาวดารโยนกก็ได้กล่าวไว้โดยละเอียดว่า "พระเจ้าติโลกราชตอนจัดทัพใหญ่เพื่อสู้รบกับกองทัพแห่งกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระไตรโลกนาถไว้ดังนี้ พระองค์ได้จัดกองทัพไว้เป็น ๕ ทัพ คือ ทัพท้าวบุญเรือง ราชบุตรของพระองค์ เจ้าเมืองเชียงราย ทัพเจ้ายอดเมือง พระนัดดาของพระองค์ ซึ่งครองเมือง แจ้สัก (เวียงพร้าววังหิน) ทัพหมื่นกึ่งตีนเมือง ทัพหมื่นหาญแต่ท้อง เจ้าเมืองลำปางทัพพระยาสองแคว เจ้าเมืองพะเยา ทั้ง ๕ ทัพนี้ ได้สู้รบจนทัพหลวงของกรุงศรีอยุธยาล้มตายเป็นจำนวนมากและแตกพ่ายไป

จะเห็นได้ว่าเจ้าเวียงพร้าวเป็นนักรบที่มีความสามารถในการรบยิ่งจนกระทั่งมาถึงสมัยของพระยอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่ ท่านได้ส่งเพลาสลงเชื้อสายจีนฮ่อ ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ขึ้นมาครองเมืองพร้าวอันเป็นการผิดราชประเพณี ทำให้พระองค์เป็นที่รังเกียจของไพร่พลเมือง หมู่เสนาอำมาตย์จึงพร้อมกันโค่นราชบัลลังก์ ตามหลักฐานจากหนังสือชินกาลบาลีปกรณ์กรุงเทพ ฯ หน้า ๑๓๔ มีความว่า "พระองค์ทรงครองราชย์นาน ๘ ปี ก็ทรงมอบราชสมบัติให้ราชบุตรของพระองค์ในปีเถาะ" ครั้นต่อมาในสมัยพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นราชโอรสของพระยอดเชียงราย ผู้ประสูติกับอัครมเหสีศิริยสวดี ได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ส่งท้าวเชียงตงมาครองเวียงพร้าว ๖ ปี ไม่ทราบว่าได้ย้ายไปที่ อื่น ๆ หรือตายในที่รบก็ไม่ปรากฏหลักฐาน จนมาถึงสมัยของพระนางเจ้ามหาเทวีจีรประภาได้ครองเมืองเชียงใหม่ ปรากฏว่ามีผู้ครองเวียงพร้าวอยู่แล้ว ชื่อ พระยาเวียงพร้าว และไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้ส่งมาท่านได้ครองเวียงพร้าวอยู่นานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๗๓-๒๑๐๑ เป็นเวลานาน ๒๙ ปี ก็ได้ พาครอบครัวและไพร่พลหลบหนีจากเวียงพร้าว ไปอยู่ที่นครเขลางค์ เนื่องด้วยมีกองทัพมหึมาของนักรบผู้เก่งกล้าผู้ลือนามจากหงสาวดีได้ยกเข้ามาเพื่อช่วงชิงอาณาจักรล้านนา จึงเป็นอันว่าเมืองที่ท่านพระญามังรายได้สร้างไว้ เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านและสะสมกำลังพลอันได้ชื่อว่า เวียงพร้าววังหิน หรือแต่เดิมเรียกว่าเวียงหวาย ได้สิ้นสภาพการเป็นเวียงณ บัดนั้นเป็นต้นมา ดังหลักฐานในศิลาจารึกของวัดเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่ ความว่า

" ในปีเปิกสง้า ศักราช ๙๒๐ ปี มะเมีย สัมฤทธิ์ศก พ.ศ. ๒๑๐๑ เมืองเชียงใหม่เป็นขัณธสีมาของสมเด็จพระมหาธรรมมิกราชาธิราชเจ้าแล้ว ซึ่งเป็นกษัตริย์ของพม่า" และไม่มีหลักฐานใด ๆ กล่าวถึงเวียงพร้าวอีกเลย

34769.jpg
34769.jpg (53.76 KiB) เปิดดู 10228 ครั้ง


ที่มา หนังสือเวียงพร้าววังหิน
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 17 ม.ค. 2016 9:03 am

ประวัติอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าพรหมมหาราช

วัดเจ้าพรหมมหาราช(ป่าไม้แดง).jpg
วัดเจ้าพรหมมหาราช(ป่าไม้แดง).jpg (45.95 KiB) เปิดดู 10145 ครั้ง



ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองไชยปราการเคยเป็นราชธานีของ อาณาจักรโยนกเชียงแสน (ล้านนา) มาก่อน ตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าพรหมกุมาร หรือพระเจ้าพรหมมหาราช พระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างเมืองขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๙๙ ตรงบริเวณลำแม่น้ำฝาง ฟากฝั่งด้านทิศตะวันออก ได้ขนานนามเมืองว่า “นครเวียงไชยปราการราชธานี ”และพระเจ้าพรหมราชกุมาร ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ. ๑๖๐๐ เมืองไชยปราการนี้อยู่ห่างเมืองโยนกเชียงแสน หรือ เมืองเวียงไชยบุรีศรีเชียงแสน เป็นระยะทางประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร (คือเมืองเชียงแสนกับเมืองฝาง ในปัจจุบัน)

เมืองไชยปราการที่กล่าวถึงนี้ ศาสตราจารย์แคมแมน นักสำรวจโบราณวัตถุแห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า เมืองไชยปราการที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงสร้างขึ้นนั้น มิใช่ตัวเมืองฝางในปัจจุบัน แต่เป็นริมแม่น้ำฝางด้านทิศตะวันออก อยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ข่า ทางทิศใต้ของอำเภอฝาง (เขตติดต่ออำเภอฝาง -อำเภอไชยปราการ) เมืองไชยปราการตั้งอยู่ห่างอำเภอฝาง เป็นระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายหัวใจ เมืองไชยปราการเป็นเมืองร้างซึ่งปรากฏซากกำแพงเมือง ซุ้มประตู และซากพระราชวังอยู่โดยชัดแจ้งส่วนตัวเมืองฝางนั้น เป็นเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ภายหลัง

ต่อมาเมืองไชยปราการได้เสื่อมอำนาจลงเมื่อปี พ.ศ.๑๗๐๒ พญามังราย ผู้สร้างเมืองเชียงราย ได้ขยายอำนาจ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ตรงบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง (ระมิงค์) เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความมั่นคงแข็งแรงกว่าเมืองอื่นๆ และพระองค์ได้ขนานเมืองว่า เมืองเชียงใหม่ ดังนั้นเมืองไชยปราการจึงได้ถูกรวมเข้ากับเมืองฝางและอยู่ในเขตอำเภอฝางในที่สุด

กระทรวงมหาดไทยได้เล็งเห็นความเจริญและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น

ในภายหน้า เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครองและเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้แบ่งท้องที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอไชยปราการ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นต้นไป ท่างกลางความปิติยินดีของราษฎร ๔ ตำบล คือ ตำบลปงตำ ตำบลศรีดงเย็น ตำบลหนองบัว และตำบลแม่ทะลบ มีประชากรประมาณ ๓๘,๙๘๒ คน ที่ได้รับของขวัญปีใหม่ชิ้นสำคัญจากรัฐบาลในครั้งนั้น โดยมีที่ว่าการกิ่งอำเภอไชยปราการ (ชั่วคราว) ตั้งอยู่ ณ บริเวณโรงเรียนไชยปราการ หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองบัว สำหรับที่ตั้ง กิ่งอำเภอไชยปราการถาวรนั้นได้ทำการก่อสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ ๒ ตำบลปงตำ ริมถนนสายเชียงใหม่ -ฝาง และได้ทำการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย โดยได้ทำพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอไชยปราการ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๑

เส้นทางสู่กิ่งอำเภอไชยปราการ เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗ เชียงใหม่ -ฝาง ไปตามถนนอันคดเคี้ยวจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว ท่ามกลางภูมิประเทศสองข้างทางที่เขียวชอุ่มไปด้วยหมู่แมกไม้นานาพันธ์ มีเส้นทางคมนาคมลัดเลาะเลี้ยวไปตามไหล่เขาอันสวยงามสลับกับพื้นที่ราบท้องทุ่งนาบางตอน ผ่านดอยหลวงเชียงดาวที่สูงเสียดฟ้าเข้าสู่ขุนเขาในตำบลศรีดงเย็น ที่คดเคี้ยวไปตลอดทางจวบจนเข้าสู่พื้นที่กิ่งอำเภอไชยปราการ รวมระยะทางได้ประมาณ ๑๒๘ กิโลเมตร กิ่งอำเภอไชยปราการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอไชยปราการ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗

ประวัติย่อพระเจ้าพรหมมหาราช

แผ่นดินไทยในอดีต ทิศเหนือจดแม่น้ำฮวงโห ทิศไต้จดประเทศมาลายูและทะเลอินเดีย ชนชาติไทย ถูกรบกวนและรุกราน จากประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดมาโดยตลอด จนไม่สามารถ ที่จะทนอยู่ได้ จึงได้ส่งผู้คนให้อพยพหลบภัย เพื่อหาที่อยู่ใหม่ในทางใต้ ตามสายของแม่น้ำลงมาโดยลำดับ โดยการนำของรี้พลขุนศึกแห่งนักรบไทย ได้ทำการรบพุ่งกับเจ้าของถิ่นเดิม มีพวกละว้า(ลัวะ) และพวกขอมเป็นต้น มีแพ้บ้าง ชนะบ้างตามลำดับ

ลุถึงสมัย ๒๐๐ ปีก่อนพุทธศักราช ชนชาติไทย ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในผืนแผ่นดินใหญ่คู่กับจีน ในท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ ระหว่างลุ่มแม่น้ำฮวงโห เป็นเวลานับพันปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นอาณาจักรอันใหญ่หลวง มีระเบียบการปกครองอันมั่นคง เป็นปึกแผ่น ส่วนชนชาติจีนนั้น ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบเหนือขึ้นไปอีกมาก ภายหลังชนชาติจีนได้อพยพเข้ามา อยู่ใกล้ชิดกับไทยได้เกิดประจันหน้ากัน แย่งชิงถิ่นฐานกันนับเป็นเวลา ๒๐๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ในสมัยพระเจ้าฮ่วงตี้ ๒๑๕๘-๒๐๕๕ ก่อนพุทธศักราช ชนชาติจีนเรียกชนชาติไทยว่า มุง, ต้ามุง, ปา, ลุง และอ้ายลาวบ้าง และชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ แต่ว่าชนชาติไทยเรียกตัวเองว่า ไต หรือ ไทยมาโดยตลอด

สมัย ๑๕๐ ปีก่อนพุทธศักราช ชนชาติไทย ไม่สามารถที่จะทนต่อการรบกวนของชนชาติจีน จึงได้พากันอพยพเป็นการใหญ่ ไหลเลื่อนลงมาทางทิศใต้ของแม่น้ำแยงซึเกียง จึงได้ละทิ้งผืนแผ่นใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ ให้แก่ชนชาติจีน (ในสมัยพระเจ้าตวงหว่าง กษัตริย์จีน ๑๓๙-๑๕๓)

พ.ศ.๓๐๐ ในสมัยพระเจ้าจีนซีหว่องตี้ (พ.ศ.๒๙๖-๓๓๔) ชนชาติไทยได้ทำศึกกับชนชาติจีน ซึ่งเป็นข้าศึกที่ใหญ่มาก และในที่สุดชนชาติไทย ก็ได้อพยพลงมาทางทิศใต้อีกครั้งหนึ่ง ชนชาติไทย ได้แยกย้ายกันไปหลายก๊ก หลายเหล่า ที่อยู่ต่อสู้ไม่ยอมหนี ก็มีจำนวนมาก แล้วรวบรวมกัน ตั้งนครขึ้น ในมณฑลเสฉวน ยังมีชนชาติเผ่าอื่นที่ได้อพยพลงมากับชนชาติไทย เช่น ฮกเกี้ยน กับกองทัพของ “ขงเบ้ง” ทำให้ต้องหนีลงทางใต้ อีกเป็นจำนวนมาก ในพวกที่ทนสู้กับกองทัพจีน มีผู้นำไทยที่สามารถผู้หนึ่งคือ “สินุโล” สามารถรวบรวมอาณาจักรไทยขึ้น แล้วตั้งเป็นรัฐอิสระเรียกว่า “อาณาจักรน่านเจ้า” เป็นอาณาจักร ที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงอยู่จนมีอายุ ๕๐๐ ปี (พ.ศ.๑๒๘๑-๑๗๖๙)

ในสมัยเดียวกับสมัยน่านเจ้า ชนชาติไทยจำนวนมาก ซึ่งได้อพยพลงสู่แหลมสุวรรณภูมิ ได้ช่วยกันสร้างเมืองขึ้น มีจำนวนหลายเมือง บางเมืองได้แทรกอยู่ในเขตของอาณาจักรของพวกขอม ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นเดิม ในสมัยนั้นได้แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคเหนือมี “เมืองสยาม” เป็นเมืองสำคัญ ภาคใต้มี “เมืองละโว้” ชนชาติไทยที่อยู่เหนือขึ้นไปจากอาณาจักรของขอม พยายามตั้งตัวเป็นอิสระคือ อาณาจักรไทย “โยนก” มีเมืองเชียงแสน เป็นเมืองสำคัญ หรือเป็นเมืองหลวงของไทย

อาณาจักรไทยโยนก มีกษัตริย์ไทยครอบครองติดต่อกันมาหลายสิบพระองค์ กษัตริย์องค์ที่ ๒๕ มีพระนามว่า “พระเจ้าพังคราช” มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ซึ่งมีบุญญาธิการมาก ทรงพระนามว่า “พระเจ้าพรหมมหาราช” พระเจ้าพรหมมหาราชองค์นี้แหละที่ทรงสร้างวัดพระธาตุสบฝาง ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียด ในโอกาสต่อไป ณ ที่นี้จะได้กล่าวถึงการอพยพของชนชาติไทย ให้จบเสียก่อน

ในปี พ.ศ.๑๗๙๖ ปี กุบไลข่านตีจีนได้ทั้งหมด แล้วได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์จีน หลังจากนั้น ได้ส่งกองทัพมาตีอาณาจักรน่านเจ้า ของไทยในปี พ.ศ.๑๗๙๖ ชนชาติไทยส่วนใหญ่ จึงได้พากันอพยพหนีภัย ลงมาทางใต้เป็นครั้งที่ ๓ ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของการอพยพ ตั้งแต่บัดนั้นชนชาติไทย ไม่มีแผ่นดินเหลืออยู่เป็นอิสระ ตกเป็นเมืองส่วยของชาติอื่นมาตลอด

ในผืนแผ่นดินจีน

ในสมัยพระเจ้าพังคราชนี้ พวกขอมที่เมืองอุโมงค์เสลา เกิดแข็งเมืองต่อไทย พระเจ้าพังคราชไม่สามารถที่จะปราบปรามขอม ให้อ่อนน้อมได้ เมื่อพวกขอมเห็นว่า พวกไทยอ่อนกำลังกำลังลงเช่นนี้ ขอมจึงได้ยอกองทัพ มาตีเมืองเชียงแสน พวกขอมได้รับชัยชนะ แล้วได้เนรเทศ พระเจ้าพังคราช ไปอยู่ที่เมือง “สี่ตวง” ในปัจจุบัน คือเวียงแก้ว ตำบลป่าสักน้อย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของเมืองเชียงแสนเก่า ซึ่งยังมีซากเมืองปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

พระเจ้าพังคราช จำต้องได้ส่งส่วยเป็นทองคำ ปั้นเป็นลูกกลม มีขนาดเท่าผลมะตูม ส่งไปถวายพวกขอม ปีละ ๔ ลูกเป็นประจำทุกปี (ตำนานบางแห่งก็ว่า ๓ ปีต่อครั้ง) ในฐานะที่เป็นเมืองขึ้นหรือเมืองส่วย ส่วนพวกขอม เมื่อได้ขับไล่กษัตริย์ไทยออกไปจากเมืองเชียงแสนแล้ว ก็เข้ามาอาศัย ปกครองคนไทยในเมืองเชียงแสนต่อไป

ในสมัยที่คนไทยตกอยู่ใต้อำนาจของพญาขอมเมืองเชียงแสนนี้ ได้รับความกดขี่ข่มเหง จากเจ้านายขอมต่างๆ นานา ทั้งดูถูก ดูหมิ่นเหยียดหยามคนไทย เป็นการบีบคั้น ทางจิตใจ คนไทยอย่างรุนแรง ตามตำนานสิงหนวัติได้กล่าวไว้ว่า ได้มีสามเณรเมืองสี่ตวงองค์หนึ่ง ซึ่งมีอายุได้ ๑๙ ปี พักอาศัยอยู่วัดแห่งหนึ่ง ในเวียงโยนก เช้าวันหนึ่งสามเณรองค์นี้ได้ออกบิณฑบาต ได้เข้าไปในคุ้มของพญาขอม สามเณรได้ไปยืนหยุดอยู่ เมื่อพญาขอมได้เห็นสามเณรเข้าถึงในคุ้มของตน ก็ได้สอบถามพวกไพร่ฟ้าที่เฝ้าประตู พวกไพร่ของพญาขอมก็ตอบว่า สามเณรองค์นี้เป็นพวกไทย จากเวียงสี่ตวงพญาขอมได้ฟังดังนั้นก็โกรธเป็นอันมาก และได้กล่าวบริภาษ ด้วยคำหยาบช้า ว่า “เณรเป็นคนเมืองไพร่เท่านั้น หาควรที่จะเข้ามารับบิณฑบาตในบ้านของท้าวพญาขอมอันยิ่งใหญ่ไม่” แล้วจึงร้องบอกให้ไพร่ทั้งหลายว่า “สามเณรเป็นลูกคนเมืองส่วย พวกสูทั้งหลาย อย่าเอาข้าวของกูไปใส่บาตรให้มันเลย”

สามเณรได้ฟังพญาขอม ว่าดังนั้นแล้ว ก็เกิดความน้อยอกน้อยใจเป็นอันมาก และพร้อมกันนั้น ก็เกิดทิฐิมานะ คิดหาหนทางที่จะตอบแทน ความหยาบช้าของพญาขอมให้จงได้

คิดแล้วก็เดินออกจากคุ้มพญาขอม เมื่อเดินถึงกู่แก้ว จึงยกเอาอาหารบิณฑบาต ที่ตนได้มาจากบ้านอื่น ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระธาตุ แล้วก็ได้ตั้งจิตสัจจะอธิษฐานว่า “ด้วยเดชบุญกุศล ที่ข้าได้ประพฤติปฏิบัติ ในธรรม ของพระพุทธเจ้า จะเป็นด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ภาวนากุศล จงดลบันดาลให้ข้าจงจุติ (ตาย) จากโลกนี้ ภายใน ๗ วันเถิด แล้วขอให้ข้า จงได้ไปเกิดในครรภ์ ของนางเทวีมเหสีเจ้าเมืองเวียงสี่ตวง (พระเจ้าพังคราช) และเมื่อหากว่าข้าได้เกิดมาแล้ว ขอให้ผู้ข้ามีรูปอันงาม มีกำลังอันกล้าแข็งมีอายุยั่งยืนนาน เป็นที่รักของเจ้าเมืองเวียงสี่ตวง ผู้เป็นพระบิดา เมื่ออายุข้าได้ ๑๖ ปี ขอให้ข้าได้รับชัยชนะ ในการปราบพญาขอมดำผู้โอหัง ด้วยเหตุว่า พญาขอมผู้นี้ ไม่รู้คุณของพระรัตนตรัยแก้วสามประการ”

เมื่อสามเณร ได้ตั้งสัจจะอธิษฐาน ต่อพระบรมธาตุดอยกู่แก้วแล้ว ก็นั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ไม่ยอมฉันข้าวและน้ำ ครั้นล่วง ๗ วัน สามเณรองค์นี้ก็ได้ถึงแก่มรณภาพ ด้วยสัจจะวาจา ดวงวิญญาณ ของสามเณร ก็ได้ไปถือปฏิสนธิ ในครรภ์ของพระนางเทวี มเหสีของพระเจ้าพังคราช

ส่วนพระนางเทวี ในราตรีนั้นกาลคืนนั้น ขณะที่พระนางทรงบรรทมอยู่ พอใกล้สว่าง ก็ทรงสุบินนิมิตรว่าได้เห็นช้างเผือกตัวหนึ่ง มายืนอยู่ใกล้พระองค์ แล้วเดินผ่านเข้าไปในเวียงทางทิศใต้ เมื่อพ้นเวียงออกไปแล้ว ได้วิ่งไล่คนทั้งหลาย ฝูงชนได้แตกตื่นหนีกันเป็นวุ่นวาย เมื่อพระนางสะดุ้งตื่นขึ้น จึงได้ทรงเล่านิมิตนี้ ให้พระราชสวามีฟัง พระเจ้าพังคราชทรงทำนายว่า จะมีผู้มีบุญมาเกิดในครรภ์ของพระนาง ตั้งแต่นี้ต่อไปขอให้พระนางจงรักษาพระครรภ์ไว้ให้ดีเถิด เมื่อพระนางทรงครรภ์ได้เป็นเวลา ๓ เดือน พระนางทรงต้องการอาวุธต่างๆ พระเจ้าพังคราช ก็ทรงหาให้ตามความประสงค์

ครั้นพระครรภ์ครบถ้วนทศมาส พระนางก็ประสูติพระกุมาร มีวรรณะผุดผ่อง ศิริโฉมงดงาม ดังพรหม พระบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า “เจ้าพรหมราชกุมาร” เมื่อทรงเจริญวัย พระบิดา ได้ทรงให้เข้ารับการศึกษา จากครูอาจารย์ที่มีวิชาความรู้ ทางศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม พระเจ้าพรหมกุมาร เป็นผู้มีจิตใจกล้าหาญสามารถเรียนศิลปศาสตร์ จากครูบาอาจารย์ได้อย่างว่องไว สามารถใช้อาวุธ และตำรับตำราพิชัยสงคราม ได้เป็นอย่างดี พระเจ้าพังคราชพระราชบิดา ได้ทรงค้นหาครูบาอาจารย์ ผู้ทรงความรู้ทางพิชัยสงคราม และพระฤๅษีผู้ทรงวิชาด้วยอิทธิฤทธิ์ ให้พระกุมารได้ศึกษาอบรม จนพระราชกุมารได้ศึกษาจนจบ ทรงมีฝีพระหัตถ์อันเข้มแข็งยากที่จะหาผู้ที่เสมอเหมือน ตามตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า พระเจ้าพรหมกุมาร จับช้างเผือกได้เชือกหนึ่ง จากกลางแม่น้ำโขง ชื่อว่า “ช้างเผือกพวงคำ” เมื่อได้ช้าเผือกคู่บารมีแล้ว พระเจ้าพรหมกุมาร ได้ทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นเมืองหนึ่ง ริมฝั่งแม่น้ำสาย ให้ประชาราษฎร์ ชาวบ้านชาวเมือง ช่วยกันขุดคูทดน้ำ จากแม่น้ำสายเข้ามาเป็นคูเมือง ทรงตั้งเมืองนี้ว่า “เมืองพวงคำ” เหมือนกับชื่อช้างเผือกคู่บารมี ปัจจุบันเมืองนี้เป็นที่ตั้งตัวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

พระเจ้าพรหมกุมาร ทรงใช้เมือง “พวงคำ” นี้เป็นค่ายฝึกไพร่พล ให้เกิดความชำนิชำนาญ วิชาการใช้อาวุธ ทั้งหัดไพร่พลให้รู้จักการยิงปืนไฟ ให้ได้คล่องแคล่ว เมื่อไพร่พลทั้งหลาย มีความชำนาญจนจบวิชาการรบแล้ว ก็ประกาศแข็งเมือง เลิกการส่งส่วยให้แก่ขอมต่อไป ในเวลาเดียวกันนั้น พระเจ้าพรหมกุมาร ก็ทรงแต่งตั้งไพร่พล ปลอมตัวเข้าไปสืบหาความลับ ข่าวสารในเมืองเชียงแสน อยู่เป็นประจำเพื่อต้องการทราบความเคลื่อนไหวของพวกขอม ที่จะมีการเตรียมรี้พล ออกมาปราบปรามคนไทยอย่างไรต่อไป

พญาขอมรอส่วยจากพระเจ้าพังคราชมาได้ ๒-๓ปี ไม่เห็นนำส่วยที่เป็นทองคำไปถวาย พญาขอมก็บันดาลโทสะ คิดจะสั่งสอนพระเจ้าพังคราชให้หัวอ่อนลงเสียบ้าง จึงเตรียมยกทัพที่จะมาเหยียบย่ำให้แหลกไปอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายผู้ที่ปลอมตัวอยู่กับฝ่ายขอมในเมืองเชียงแสน เมื่อสืบข่าวได้เรื่องแน่ชัดแล้ว ก็รีบกลับนำข้อความ และเรื่องราวที่ได้รู้เห็นมากราบทูลพระเจ้าพรหมกุมารทรงทราบ พระเจ้าพรหมกุมารจึงทรงให้แม่ทัพนายกอง ได้เตรียมกองทัพผู้กล้าหาญที่ได้ฝึกฝนมาดีแล้วออกไปตั้งรับ และสู้รบกับทหารของพวกขอม ทั้งสองฝ่ายได้ทำการสู้รบกันที่ทุ่งสันทราย ฝ่ายเมืองพวงคำซึ่งได้ฝึกมาดีกว่าก็มีชัยชนะได้อย่างง่ายดาย ทัพของขอมได้แตกพ่ายไม่เป็นส่ำ หนีเข้าเมืองเชียงแสน แล้วปิดประตูเมืองไว้ทุกด้าน ไม่ยอมออกมาสู้กับกองทัพเจ้าพรหมอีก เพราะเกรงกลัวฝีมือ จากนั้นกองทัพของเจ้าพรหมกุมาร ก็เข้าล้อมเมืองเชียงแสนไว้ ส่งทหารเข้าประชิดกำแพงเมือง

พระเจ้าพรหมกุมารทรงช้างคู่บารมีชื่อ “พวงคำ” นำพลเข้าบุกประตูเมือง ช้างคู่บารมี เข้าแทงประตูเมืองพังทะลายลง ทหารทั้งหลายก็ได้กรูกันเข้าเมืองได้สมกับที่คับแค้นมานานแสนนาน ถึงทีแล้วจึงห้ำหั่นทหารขอมล้มตายลงอย่างมากมาย สาสมกับที่พญาขอมได้ข่มเหงชาวเมืองของตนมาเป็นเวลานาน ๑๗ ปี พวกขอมที่รอดตาย ก็พากันหนีลงทางใต้เพื่อเอาชีวิตรอด ทหารพระเจ้าพรหมกุมารได้ขับไล่พวกขอมไปอย่างกระชั้นชิด ริบทรัพย์ และที่จับเป็นเชลยได้ก็ให้เอาไปทำการงาน ที่ขัดขืนก็ได้ฆ่าเสียให้ตาย เพื่อกวาดล้างพวกขอม ให้สิ้นซากจากเมืองเชียงแสน ทหารพระเจ้าพรหมกุมาร ได้ยกทัพขับไล่พวกขอม ลงไปทางทิศใต้เป็นเวลา ๑ เดือน จึงทรงยับยั้ง เมื่อเห็นว่าพวกขอมได้หนีลงไปอยู่เรื่อยๆ จึงทรงให้กองทัพเดินทางกลับเมืองเชียงแสน ปรับปรุงซ่อมแซมเมือง ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงได้อัญเชิญ พระเจ้าพังคราชพระราชบิดามาครองเมืองเชียงแสนต่อไป พระเจ้าพังคราชทรงรักใคร่พระเจ้าพรหมกุมารเป็นอย่างมาก แล้วทรงยกเมืองเชียงแสน ให้พระเจ้าพรหมกุมาร ทรงครอบครองต่อไป แต่พระเจ้าพรหมกุมารไม่ทรงรับ พระเจ้าพังคราชจะทรงตั้งให้เป็นมหาอุปราช พระเจ้าพรหมกุมารก็ไม่ทรงรับอีก กราบบังคมพระราชบิดาว่า ขอให้ยกพระเชษฐาธิราช คือ เจ้าฟ้า “ทุกขิตกุมาร” ขึ้นเป็นมหาอุปราชเถิด พระเจ้าพังคราชในเมื่อเห็นว่า ความตั้งพระทัยของพระราชโอรสน้อยเป็นอย่างนั้น จึงทรงได้ปฏิบัติตามความประสงค์ ของพระเจ้าพรหมกุมาร คือ ทรงตั้งเจ้าฟ้าทุกขิตกุมาร เป็นมหาอุปราช
ฝ่ายพระเจ้าพรหมกุมาร เมื่อทรงปราบพวกขอมสงบราบคาบแล้ว ทรงคิดถึงกาลอนาคตว่า เมื่อพวกขอมได้ปราชัยไปแล้ว ภายหลังอาจจะคิดการแก้แค้นอีกก็เป็นได้ พระเจ้าพรหม จึงได้กราบถวายเรื่องราวให้พระราชบิดาทรงทราบ แล้วกราบลาพาเอาไพร่พล พร้อมทั้งช่างทั้งหลาย มีช่างตีเหล็ก ช่างทอง ช่างไม้ บัณฑิตผู้มีปัญญา พร้อมทั้ง พระสังฆมหาเถร อพยพไปทรงตั้งเมืองใหม่ขึ้น ทางทิศตะวันตก ของเมืองเชียงแสน เมืองนี้ตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำฝางตอนบน ทรงสถาปนาเมืองนี้ว่า “เมืองไชยปราการ ” ซึ่งได้มีซากเมือง ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ การที่พระองค์ทรงสร้างเมืองไชยปราการนี้ขึ้นก็เพื่อจะให้เป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อป้องกันข้าศึก ที่จะมาทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงแสน

พญาขอมได้ครองเมืองเชียงแสน นานได้ ๑๗ ปีก็หมดอำนาจแล้วก็หนีลงทางใต้ไม่กลับมารุกรานไทยอีก ตลอดสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช ครั้นทรงสร้างเมืองไชยปราการเสร็จเรียบร้อยแล้วประมาณ ๓ ปี พระพุทธศักราชล่วงได้ ๙๔๙ ปี (ตามบันทึกของกรมศิลปากร ว่า พ.ศ.๑๔๘๓) มีพระมหาเถระองค์หนึ่ง ชื่อว่า พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาติมอญ มีบ้านเดิมอยู่เมืองสะเทิม (พม่าเรียกว่า ตะโถ่ง) อยู่ใกล้กับเมืองเมาะลำเลิง ประเทศพม่า พระพุทธโฆษาจารย์นี้ ท่านได้ออกจากเมืองมอญ ลงสำเภาไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา มีความรู้พระพุทธศาสนา จบพระไตรปิฏกอย่างแตกฉาน ก็ได้กลับมาสู่ประเทศของตน ท่านได้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศมอญ และประเทศพม่าตามลำดับ แล้วได้เดินทางเข้ามาในเมืองสุโขทัย ลำดับมา จนถึงเมืองโยนก ถึงเมืองเชียงแสน ในสมัยพระเจ้าพังคราช นอกจากพระพุทธโฆษาจารย์ จะนำพุทธศาสนา มาเผยแผ่ในนครโยนกแล้ว ท่านยังได้อัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาด้วย ๑๖ องค์ เป็นอัฐิหน้าผาก มีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ได้แบ่งพระบรมธาตุขนาดใหญ่ ๑ องค์ ขนาดกลาง ๒ องค์ และขนาดเล็ก อีก ๒ องค์ ถวายแก่พระญาเรือนแก้ว ส่วนที่เหลือได้ถวายแก่พระเจ้าพังคราช พระเจ้าพังคราชได้นำพระโกศเงิน พระโกศทอง และพระโกศแก้ว มารองรับพระบรมธาตุทั้ง ๑๑ องค์นั้น ทรงมอบให้พระเจ้าพรหมมหาราช นำไปประดิษฐาน ก่อพระเจดีย์ไว้ที่บนดอยน้อยหรือจอมกิตติ ซึ่งเป็นดอยที่พระพุทธเจ้าทรงประทานเกศาธาตุบรรจุไว้ก่อนแล้ว

พระเจ้าพรหมราชให้ช่างก่อพระเจดีย์ขึ้น กว้าง ๓ วา สูง ๖ วา ๒ ศอก บนดอยจอมกิตติพระเจดีย์แล้วเสร็จ ในวันจันทร์ เดือน ๖ เพ็ญ พ.ศ.๑๔๘๓ โดยบริบูรณ์ ได้ให้มีการทำบุญฉลองอย่างมโหฬาร ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายมหาทานแก่ประชาราษฎร์ เป็นการมหาปางอันยิ่งใหญ่ พระพุทธศาสนาก็ได้เจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงแสน โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชนี้ ได้เกิดศิลปกรรมในสร้างพระพุทธรูปด้วยทองสำริด ซึ่งเรียกว่า ศิลปกรรมสมัยเชียงแสน เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชได้สร้างเจดีย์จอมกิตติสำเร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์เสด็จกลับนครไชยปราการ พระองค์ได้ให้ช่างก่อพระเจดีย์ขึ้น ณ บนดอยพระธาตุสบฝาง หลังจากได้สร้าง เมืองไชยปราการเสร็จแล้ว ๔ ปี พระองค์ได้นำเอาพระบรมธาตุที่ทรงแบ่งไว้จากการสร้างพระธาตุดอยกิตติ ได้นำมาบรรจุไว้ที่เจดีย์วัดพระธาตุสบฝางนี้ นอกจากนี้พระองค์ยังได้ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปขึ้นด้วยทองสำริด เป็นจำนวนมาก ได้นำไปถวายไว้ตามวัดที่พระองค์ทรงสร้าง มีวัดส้มสุก วัดเก้าตื้อ วัดป่าแดง วัดดอกบุญนาคเป็นต้น ประชาชนที่นับถือพุทธศาสนาก็พากันสร้างพระพุทธรูปตามเจตนาของแต่ละคนเป็นจำนวนหลายองค์ ถวายไว้ที่บนพระธาตุสบฝางนั้น
พระเจ้าพรหมมหาราชทรงเสวยราชสมบัติ ณ เมืองไชยปราการจนพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ประวัติศาสตร์ ของเมืองไชยปราการก็เป็นอันยุติลง ต่อจากพระเจ้าพรหมมหาราชก็ได้มีพระมหากษัตริย์ อีกหลายพระองค์ ที่ได้ทำการขับเคี่ยวกับพวกขอมมาโดยตลอด จนถึงสมัยราชวงศ์ของพ่อขุนรามคำแหงเป็นที่สุด

ที่มา ศูนย์ข้อมูล กระทรวงวัฒนธรรม
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย Namfar » พุธ 22 มิ.ย. 2016 5:43 am

วิหารล้านนา ตอนที่ ๑/๑ เล่าเรื่องเมืองล้านนา

ล้านนา หมายถึงดินแดนที่มีนานับล้าน คือมีที่นาจำนวนมากเป็นมาคู่กับล้านช้าง คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว (สรัสวดี อ๋องสกุล, ๒๕๓๙) อาณาจักรล้านนามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยเมืองสำคัญกระจัดกระจายตามเขตที่ราบลุ่ม แม่น้ำสายสำคัญต่างๆ จึงประกอบด้วยกลุ่มคนหลายเชื้อชาติเช่น ลัวะ ลื้อ ยอง มอญ ม่าน หรือ พม่า เงี้ยวหรือไทยใหญ่ เขินหรือขึน ครงหรือคง ยางหรือกะเหรี่ยง ถิ่นหรือขมุเป็นต้น (สุรพล ดำริห์กุล, ๒๕๔๒)

คำว่า “ล้านนา”ปรากฏขึ้นในสมัยพญากือนา (พ.ศ. ๑๘๙๘-๑๙๒๘) เนื่องจากความหมายของพระนาม “กือนา” หมายถึงร้อยล้านนา (กือ หมายถึง ร้อยล้าน) ต่อมาคา ว่าล้านนาใช้เรียกกษัตริย์ผู้ครองดินแดนล้านนา โดยใช้ “ท้าวล้านนา” หรือ “ท้าวพญาล้านนา” และเรียกประชาชนของรัฐว่า “ชาวล้านนา” ลักษณะคำ ดังกล่าวใช้กันแพร่หลายในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐) นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมการใช้คำ “ล้านนา” นำหน้าชื่อเมือง ซึ่งพบหลักฐานในสมัยพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๘๔) เช่น ล้านนาเชียงแสน, ล้านนาเชียงใหม่ โดยเน้นว่าเมืองนั้นอยู่ในอาณาจักรล้านนา (สรัสวดีอ๋องสกุล, ๒๕๓๙)

ดินแดนล้านนาอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองต่างๆ แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตกซึ่งเป็นส่วนสำคัญมีเมืองเชียงใหม่,ลำพูน, ลำปาง, เชียงราย, พะเยา เนื่องจากถูกผนวกเข้าด้วยกัน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น จึงมีประวัติความเป็นมาร่วมกัน ในสมัยฟื้นฟูล้านนาเมืองดังกล่าวมีเจ้านายเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน แยกย้ายกันเข้าปกครอง จึงมีความสัมพันธ์กันเรื่อยมา และกลุ่มเมืองล้านนาตะวันออก มีเมืองแพร่, น่าน ทั้งสองเมืองตั้งอยู่บนที่ราบขนาดเล็ก ในสมัยแรกต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระมีราชวงศ์ของตน ซึ่งความใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัยและถูกผนวกดินแดนได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราช จึงไม่ค่อยผูกพันกับล้านนาเชียงใหม่

ปัจจุบันล้านนาหมายถึง ดินแดน ๘ จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่,
ลำพูน, ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน และแม่ฮ่องสอน ซึ่งศูนย์กลางทางการเมืองและ
วัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คือ เมืองเชียงใหม่


ประวัติศาสตร์ล้านนามีความซับซ้อนและเกิดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มากมายซึ่ง
ประกอบด้วย ๔ ช่วงเวลาคือ
๒.๑.๑ ล้านนายุคต้น (พ.ศ.๑๘๓๙-๑๘๙๘)
๒.๑.๒ ล้านนายุครุ่งเรือง (พ.ศ.๑๘๙๘-๒๐๖๘)
๒.๑.๓ ล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า (พ.ศ.๒๐๖๘-๒๑๐๑)
๒.๑.๔ ล้านนากับการเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม


๒.๑.๑ ล้านนายุคต้น (พ.ศ.๑๘๓๙-๑๘๙๘)
ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พญามังราย ทรงรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อย ในเขตลุ่มแม่น้ำ กก
ไว้ในอำนาจของเมืองเงินยางทั้งหมด พญามังรายมีดำริขยายอำนาจลงมาทางด้านใต้ และย้าย
ศูนย์กลางอำนาจลงมาสู่เมืองเชียงราย ในพ.ศ.๑๘๐๕ รวมตัวกันเป็นกลุ่มแคว้นโยนก รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ในแอ่งเชียงราย และขยายอา นาจสู่แอ่งเชียงใหม่-ลา พูน เมืองในอาณาจักรที่รวบรวมได้ในสมัยนี้ได้แก่ เชียงราย เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา

พ.ศ. ๑๘๓๕ พญามังรายทรงนา ทัพจากเมืองฝางเข้ายึดเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงประทับที่
เมืองหริภุญชัยเพียง ๒ ปีเนื่องจากเมืองมีขนาดเล็กและทรงดำริให้เมืองหริภุญชัยเป็นเมืองพุทธ
ศาสนา และทรงย้ายมาสร้างเวียงกุมกาม ใน พ.ศ. ๑๘๓๗ หลังจากนั้นทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในพ.ศ. ๑๘๓๙ ซึ่งในการสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายทรงเชิญ พญางำเมืองและพ่อขุนรามคาแหง มาร่วมพิจารณาถึงชัยภูมิและการวางผังเมืองเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรอย่างแท้จริง ส่วนเมืองลำพูนอยู่ในฐานะเมืองบริวารของเชียงใหม่ ลำพูนเป็นศูนย์กลางของศาสนา ขณะที่เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง ส่วนเมืองเชียงรายมีความสำคัญรองจากเมืองเชียงใหม่


๒.๑.๒ ล้านนายุครุ่งเรือง (พ.ศ. ๑๘๙๘-๒๐๖๘)
ความเจริญของอาณาจักรล้านนาเริ่มพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในสมัยพญากือนา (พ.ศ.
๑๘๙๘-๑๙๒๘) จนถึงสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘) สมัยรุ่งเรื่องเป็นเวลา ๑๗๐ ปี ความเจริญสูงสุดจะอยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐) ซึ่งเป็นยุคทองของล้านนาในสมัยนี้อาณาจักรล้านนาแผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวางไปถึงเมืองต่างๆ เช่น เชียงตุง เมืองนาย เมืองสีป้อ เมืองยอง และเมืองเชียงรุ่งในเขตสิบสองพันนา ตลอดจนลาวหลวงพระบาง

สมัยพญามังรายดินแดนล้านนาแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ตอนบน (แคว้นโยน) มีเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลาง ส่วนตอนล่างมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร
ล้านนาได้เด่นชัดตั้งแต่สมัย พญากือนา พระองค์ได้ส่งราชทูตไปอาราธนาพระสุมนเถระ มาจากสุโขทัยเพื่อสืบศาสนาในเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๑๙๑๒ เรียกพุทธศาสนาสมัยนี้ว่า รามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่า ซึ่งรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช ที่มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นเป็นจำนวนมาก จนสามารถดำเนินการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดเจ็ดยอด ในปีพ.ศ. ๒๐๒๐ (ซึ่งเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๘ ของโลก ครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน) หลังจากนั้นในสมัยพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นยุคที่วรรณกรรมล้านนามีความรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งอย่างยิ่ง พระสงฆ์ซึ่งทรงความรู้ก็ได้รจนาคัมภีร์เป็นภาษาบาลีไว้หลายเรื่อง เช่น ชินกาลมาลี


๒.๑.๓ ล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า (พ.ศ.๒๐๖๘-๒๑๐๑)
ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในปลายสมัยราชวงศ์มังราย ตั้งแต่สมัยพญาเกศ
เชษฐราช (พ.ศ. ๒๐๖๘-๒๐๘๑) จนกระทั่งตกเป็ นเมืองขึ้นของพม่า ในพ.ศ. ๒๑๐๑ สมัยเสื่อมและ
สลายตัวเป็นช่วงเวลา ๓๓ ปี สภาพบ้านเมืองแตกวุ่นวายอย่างหนัก เมื่อสิ้นสมัยพระเมืองแก้ว เมืองเชียงใหม่ก็ได้เริ่มเสื่อมลง อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่ในมือขุนนาง ยุคของพระเจ้าเมกุฏิฯ เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเชียงใหม่ ต่อมาในฐานะเจ้าประเทศราช เมื่อราชวงศ์มังรายสิ้นอิสรภาพเกิดการแยกตัวกันเป็นอิสระเป็นกลุ่มการเมืองใหญ่น้อยจำนวนมาก เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครอง กษัตริย์พม่าทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าเมืองต่างๆ แต่ผู้ที่ได้มาครองเมืองเชียงใหม่มักมีความสาคัญมากกว่าผู้ที่ไปครองเมืองอื่นๆ
พม่ายังได้ส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกในระหว่างหัวเมือง จึงไม่อาจรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวได้ ประกอบกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของล้านนาที่ทำให้แต่ละเมืองแยกออกจากกันอีกด้วย

การขยายอำนาจของฝ่ายสยามเข้ามาแทนที่พม่าที่มีแต่เดิม ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่ออำนาจพม่าค่อยๆ ลดลง ผู้นำล้านนาที่เหลืออยู่จึงหันมาสวามิภักดิ์กับฝ่ายสยามอย่างแท้จริง (สรัสวดี อ๋องสกุล, ๒๕๓๙)


๒.๑.๔ ล้านนากับการเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม


ฟื้นฟูอาณาจักรล้านนา
พระเจ้าตากสินย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยาไปตั้งที่กรุงธนบุรีได้รวบรวมกำลังผู้คน หมายจะขึ้นมาโจมตีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้นพม่าแต่งตั้งโป่มะยุง่วน หรือโป่หัวขาว เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ กดขี่ข่มเหงเอาเปรียบชาวล้านนาสร้างความไม่พอใจต่อพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) พระยาจ่าบ้านจึงส่งคนถือหนังสือลักลอบไปบอกข่าวแก่พระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางว่าตนจะกบฏต่อพม่า ครั้นเสร็จสงครามเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๗ พระเจ้าตากสินทรงตอบแทนความดีความชอบโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาจ่าบ้านเป็น “พระยาหลวงวชิรปราการกา แพงเพชร”ครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง ส่วนน้องของพระเจ้ากาวิละอีก ๖ คน ให้ช่วยราชการที่เมืองลาปางโดยมีเจ้าน้อยธรรมลังกาเป็นอุปราช เจ้าบุญมาเป็นราชวงศ์ และผลจากการตัดสินใจเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรี ของพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละ ทำให้ฝ่ายธนบุรีสามารถขยายอำนาจสู่เมืองอื่นๆ ของล้านนา โดยผ่านชักชวนของเจ้ากาวิละ ซึ่งผู้นำเมืองต่างๆ ทางตอนบนของล้านนาเริ่มให้ความสนใจหันมาสวามิภักดิ์ต่อสยามด้วย

หลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรียึดเชียงใหม่ได้แล้ว ได้ทำพิธีมอบอาญาสิทธิ์ให้พระยาจ่าบ้านเป็น “เจ้าแผ่นดินเชียงใหม่” มีอำนาจปกครองตนเอง ในฐานะเมืองประเทศราช สภาพเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระยาวชิรปราการปกครองมีปัญหาด้านกำลังคนอย่างยิ่ง เนื่องจากบ้านเมืองมีศึกสงครามต่อเนื่องเป็นเวลานาน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า กำลังคนในเมืองเชียงใหม่มีเพียง ๑,๙๐๐ คนไม่อาจรักษาเมืองได้ พระยาวชิรปราการจึงทิ้งเมืองเชียงใหม่ โดยปล่อยให้เป็นเมืองร้าง ผู้คนที่เหลืออยู่เล็กน้อยต่างแยกย้ายกันไปตามที่ต่างๆ พระยาวชิรปราการจึงทิ้งเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๑๙ โดยพาครอบครัวไปอาศัยอยู่ที่เมืองลำปางเพื่อขอความช่วยเหลือจากกลุ่มเจ้าเจ็ดตน พระยาวชิรปราการในฐานะเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้เคลื่อนไหวจากลำปางมาที่ท่าวังพร้าว ใน พ.ศ. ๒๓๒๐ ต่อมาตั้งมั่นที่เวียงหนองล่อง จากนั้นย้ายไปวังสะแกงสบลี้ ในราว พ.ศ. ๒๓๒๒ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯสั่งให้ข้าหลวงยกพล ๓๐๐ คน จากเวียงจันทน์เพื่อมาตรวจหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งข้าหลวงดังกล่าวได้ปฏิบัติมิชอบต่อชาวล้านนา ทำให้เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่าง พระยาวชิรปราการและพระเจ้ากาวิละกับข้าหลวงกลุ่มดังกล่าว จนเป็นเหตุให้พระยาวชิรปราการและพระเจ้ากาวิละถูกลงโทษโดยการถูกเฆี่ยนตีคนละ ๑๐๐ ครั้ง และพระเจ้ากาวิละยังถูกลงโทษโดยการถูกปาดขอบหูทั้งสองข้าง เพราะเคยถูกเรียกตัวให้เข้าเฝ้าแต่ไม่ได้ปฏิบัติตาม หลังจากถูกลงโทษทั้งสองพระองค์ถูกจำคุกในกรุงธนบุรี ภายหลังพระเจ้ากาวิละจึงทูลขอไปตีเชียงแสนเพื่อแก้โทษของตนเอง ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีก็โปรดให้คืนฐานันดรศักดิ์ และขึ้นมาทำราชการเช่นเดิม แต่พระยาจ่าบ้านไม่ได้กลับมาด้วย เนื่องจากล้มป่วยและเสียชีวิตในคุกธนบุรี เจ้ากาวิละเมื่อขึ้นมาถึงลำปางแล้วคุมกองกำลัง ๓๐๐ คนขึ้นไปรบเชียงแสนได้ชาวเชียงแสนกับชาวจีนและชาวไทลื้อลงมายังเมืองลำปาง พ.ศ. ๒๓๒๕ นั้นมีการผลัดแผ่นดินคือ เจ้าพระยาจักรีปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และมีพระยาสุรสีห์ฯ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อเจ้ากาวิละนำข้าวของและเชลยไปถวายเช่นนั้นพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงถือเป็นความชอบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แต่งตั้งตำแหน่งต่างๆให้กับกลุ่มเชื้อสายตระกูลเจ้าเจ็ดตนดังนี้

เจ้ากาวิละเป็นพระยามังราวชิรปราการกำแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่
เจ้าธัมมลังกา ผู้น้องลำดับที่ ๓ เป็น อุปราชเมืองเชียงใหม่
เจ้าคา สม ผู้น้องลำดับที่ ๒ เป็น พระยานครลำปาง
เจ้าดวงทิพ ผู้น้องลำดับที่ ๔ เป็น อุปราชเมืองลำปาง
เจ้าหมูหล้า ผู้น้องลำดับที่ ๕ เป็น เจ้าราชวงศ์เมืองลำปาง
เจ้าคำฝั้น ผู้น้องลำดับที่ ๖ เป็น พระยานครลำพูน
เจ้าบุญมา ผู้น้องลำดับที่ ๗ เป็น อุปราชเมืองลำพูน

พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าประเทศราช ทุกประการ “เจ้ากาวิละ” และน้องทั้งหลายพักอยู่ในกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แล้วจึงขึ้นมาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ แต่เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นมีสภาพเป็นเมืองร้าง การฟื้นฟูเชียงใหม่เป็นปัญหาอย่างมาก เนื่องจากกำลังคนขาดแคลนอย่างหนัก
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 25 มิ.ย. 2016 3:18 pm

พระเจ้ากาวิละเริ่มต้นด้วยวิธีขอกาลังไพร่จากเมืองลำปาง ๓๐๐ คน แล้วมารวบรวมไพร่เดิมของพระยาวชิรปราการจ่าบ้านบริเวณสะแกงอีก ๗๐๐ คน เป็นหนึ่งพันคนเข้าไปตั้งมั่นที่ป่าซาง สร้างเวียงป่าซางใน พ.ศ.๒๓๒๕ ให้เป็นเมืองชั่วคราว ภายในเวียงมีวัดเพียง ๒ แห่ง เพราะเป็นที่มั่นชั่วคราวจึงไม่คิดสร้างถาวรวัตถุ สาเหตุที่เลือกสร้างเวียงป่าซางเป็นที่มั่น ด้วยเหตุผล ๒ ประการ ประการแรกบริเวณป่าซางเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มาก และสองหากเกิดสงครามกับพม่าก็สามารถขอความช่วยเหลือไปยังลำปางได้สะดวก เพราะป่าซางอยู่ระหว่างลำปางกับเชียงใหม่

พระเจ้ากาวิละตั้งมั่นที่เวียงป่าซางโดยใช้เป็นที่ “เก็บฮอมตอมไพร่” นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๙ รวม ๑๔ ปี จึงเข้าไปฟื้นฟูและตั้งเมืองเชียงใหม่ได้ พระเจ้ากาวิละจึงมีบทบาทความสำคัญในการฟื้นฟูล้านนา เพราะได้รวบรวมพลเมืองเข้ามาไว้ในเมืองเชียงใหม่ เรียกสมัยพระเจ้ากาวิละว่ายุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” (ไกรศรี นิมมานเหมินท์, ๒๕๒๕)โดยพระเจ้ากาวิละทำการกวาดต้อนชาวเมืองเชียงใหม่ที่หลบหนีเข้าป่าให้กลับสู่เมืองเชียงใหม่ และเริ่มกวาดต้อนผู้คนจากแค้วนสิบสองปันนา ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน และยอง ซึ่งผู้คนที่กวาดต้อนมา ถ้าเป็นไพร่ชั้นดีประเภทช่างฝี มือต่างๆ จะให้ตั้งถิ่นฐานในตัวเมือง ส่วนที่เหลือจะให้ตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองเป็นแรงงานภาคการเกษตร

ในสมัยเจ้าเจ็ดตนฟื้นฟูบ้านเมืองนั้น เจ้านายทั้งเจ็ดคนพี่น้องแยกย้ายกันครองเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ต่างให้ความช่วยเหลือกัน ในสภาวะบ้านเมืองทุกข์ยาก ในเมืองลำปางการฟื้นฟูเมืองช่วง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗ ส่วนเมืองลำพูนได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ พ.ศ. ๒๓๔๘ ส่วนเมืองอื่นๆในล้านนาก็ได้รับการฟื้นฟูในเวลาต่อมาตามลำดับ เช่น เมืองน่านนั้นใน พ.ศ. ๒๓๓๑ เมืองเชียงรายได้รับการฟื้นฟูเช่นกันใน พ.ศ. ๒๓๔๖ สำหรับเมืองพะเยานั้นก็ได้รับการฟื้นฟูในช่วงเวลาเดียวกันกับเมืองเชียงราย คือ ใน พ.ศ. ๒๓๔๖

เชียงใหม่ถูกรวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุง ประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมืองมีการยกเลิกระบบการปกครองเมืองประเทศราชซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลที่รัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลภิบาลที่๑๕ จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติรัฐ ซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์ (สรัสวดี ประยูรเสถียร, ๒๕๒๒)

การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงผู้เดียว (เชียงใหม่สมัยปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๗๖) ซึ่งมูลเหตุของการปฏิรูปการปกครองคือ

๑. ปัญหาเกี่ยวกับกิจการป่าไม้ เมื่ออังกฤษเข้ามาทำการค้าขายในล้านนาช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ ป่าไม้ซึ่งเดิมทีไม่มีมูลค่า กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่ามหาศาล มีการทำสัมปทานซ้ำซ้อนเกิดข้อพิพาทระหว่างเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่กับกงสุลอังกฤษจนรัฐบาลกลางต้องเข้ามาแก้ปัญหา (สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๑๕)

๒. ปัญหาความวุ่นวายหัวเมืองชายแดนด้านตะวันออกของแม่น้าสาละวิน ซึ่งเดิมทีหัวเมืองชายแดนเหล่านี้อยู่ภายใต้การปกครองของล้านนา ในสมัยพระเจ้ากาวิละสมัยฟื้นฟูบ้านเมืองโดยให้ปกครองตนเอง ภายหลังเกิดปัญหาขึ้นเมื่ออังกฤษเข้ามาครอบครองพม่า หัวเมืองชายแดนพยายามแยกตัวเป็นอิสระ เกิดความวุ่นวายและส่งผลกระทบกระเทือนต่อรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเจ้าเมือเชียงใหม่ไม่สามารถจัดการปัญหาต่างๆได้ จากปัญหาทั้งสองประการเป็นมูลเหตุสำคัญที่รัฐบาลกลางต้องเข้ามาจัดการและเกิดการปฏิรูปการปกครองในมณฑลพายัพในเวลาต่อมา หลังจากนั้นรัฐบาลไทยและรัฐบาลอังกฤษได้ทำสนธิสัญญากัน ๒ ฉบับ และยินยอมให้รัฐบาลอังกฤษตั้งกงสุลประจา เชียงใหม่ และจากการทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของชาติตะวันตกที่เข้ามามากขึ้นโดยเฉพาะอังกฤษที่มีผลประโยชน์ผูกพันเป็นอันมาก จนรัฐบาลไทยต้องเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ การปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ ซึ่งพร้อมกับเมืองลำปางและลำพูนรวมเรียกว่าหัวเมืองลาวเฉียง

การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ ซึ่งเป็นกระบวนการรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทยเข้ากับส่วนกลาง มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว ในการดำเนินการจะต้องกระทำสิ่งสำคัญ ๒ ประการ คือ ประการแรกยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลางลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป ประการที่สอง การผสมกลมกลืนชาวพื้นเมืองให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ กล่าวคือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาในล้านนาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยซึ่งเป็นระบบการศึกษาแบบใหม่เข้าแทนที่การเรียนในวัดและกำหนดให้เรียนภาษาไทยกลางแทนภาษาไทยยวนการปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่ใช้เวลานานถึง ๔๙ ปี (พ.ศ.๒๔๒๗ – ๒๔๗๖) โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษาและอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ รัฐบาลไม่ยกเลิกในทันที ยังคงให้ดำรงตำแหน่งอย่างมีเกียรติ ขณะเดียวกัน ก็พยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ของเจ้าเมืองเชียงใหม่ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังจะเห็นว่าในช่วงแรกที่รัฐบาลกลางส่งข้าหลวงสามหัวเมืองขึ้นมาแก้ไขปัญหาที่เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๖ ยังไม่ควบคุมเจ้าเมืองเชียงใหม่โดยตรง เพียงแต่ส่งข้าหลวงขึ้นไปแนะนำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสนธิสัญญาเชียงใหม่และตามคำสั่งของรัฐบาลเท่านั้น ครั้นต่อมาในช่วง พ.ศ. ๒๔๒๗ – ๒๔๔๒ รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปการปกครองซึ่งเริ่มเข้าควบคุมอำนาจและผลประโยชน์บางอย่าง และเป็นการวางรากฐานก่อนการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เพราะเมื่อจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นเวลาที่รัฐบาลสามารถดำเนินการขั้นตอนยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช พร้อมกับเข้าควบคุมอำนาจทางการปกครองและผลประโยชน์จากเจ้าเมืองเหนือได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะหลังกบฏเงี้ยว พ.ศ. ๒๔๔๕ ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ (ปี พ.ศ. ๒๔๕๑) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่(พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๕๒) ขอรับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนประจำ จึงเริ่มมีฐานะเหมือนข้าราชการทั่วไป และสมัยรัชกาลที่ ๖ เจ้าเมืองเหนือที่เหลือยู่ก็ขอรับพระราชทานเงินเดือนเช่นเดียวกันหมด ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระองค์ทรงดำเนินการในขั้นต่อมาคือ ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง โดยกำหนดว่าหากเจ้าเมืององค์ใดถึงแก่พิราลัยแล้วจะไม่โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองอีก เท่ากับยกเลิกตำแหน่งไปโดยปริยาย สัญลักษณ์ของเมืองประเทศราชจึงค่อยสลายตัวลง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 30 มิ.ย. 2016 8:25 pm

วิหารล้านนา ตอนที่ ๒ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวิหาร

ครั้นเมื่อคณะราษฎร์ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ. ๒๔๗๖ มณฑลพายัพจึงถูกยุบ แต่ผลของการเปลี่ยนแปลงในช่วงการปฏิรูปการปกครองเป็นรากฐานสืบมาถึงปัจจุบันผลกระทบของการปฏิรูปการปกครองที่มีต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมวิหารล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางไปตรวจราชการทางจังหวัดทางภาคใต้ ท่านได้ปรารภว่าการออกแบบวัดวาอารามต่างๆ ตามระยะทางที่ผ่านไปนั้นมีลักษณะทรวดทรงไม่สวยงาม ไม่เหมาะที่จะเป็นเครื่องแสดงวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มอบหมายงานมายังกรมศิลปากร เพื่อทำการออกแบบพระอุโบสถที่ได้มาตรฐานทางสถาปัตยกรรมไทยขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๓ ขนาด ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการก่อสร้างเพื่อจัดส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ประชาชนได้เห็นเป็นตัวอย่างในการนำไปใช้ก่อสร้างต่อไป

กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบพระอุโบสถทั้งสามแบบดังกล่าว ซึ่งรู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อว่า “พระอุโบสถแบบ ก.ข.ค.” รูปแบบพระอุโบสถดังกล่าวทั้งสามถูกคิดขึ้นจากรูปทรงพระอุโบสถแบบภาคกลางเพียงอย่างเดียวและทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่เป็นงานสถาปัตยกรรมไทยเครื่องคอนกรีตทั้งสิ้น รูปแบบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดชาตินิยมทางศิลปะ ณ ขณะนั้นที่นิยมยกย่องศิลปะแบบภาคกลางเพียงแบบเดียวเท่านั้นว่ามีความเป็นไทยและสร้างทัศนะคติต่องานท้องถิ่นทั้งหมดว่าไม่สวยงามและไม่มีคุณค่าทางศิลปะเพียงพอรูปแบบมาตรฐานดังกล่าวได้กลายเป็นต้นเหตุสำคัญให้เกิดการรื้อถอนทำลายพระอุโบสถแบบดั้งเดิมที่ถูกออกแบบด้วยศิลปะแบบท้องถิ่นลงไปอย่างมากมาย รูปแบบพระอุโบสถฉบับมาตรฐานภาคกลางจากกรุงเทพฯ ของพระพรหมพิจิตร ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความทันสมัยและสวยงามแบบใหม่ในสายตาของชนชั้นนำท้องถิ่น โดยเฉพาะเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การปฏิรูปการปกครองในเชียงใหม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบของสถาปัตยกรรมวิหารล้านนาเชียงใหม่คือ

๑. ภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการจัดทำแบบพระอุโบสถเพื่อก่อสร้างต่างจังหวัดขึ้นจำนวน ๓ แบบ คือ พระอุโบสถ ก. ข. ค. ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแพร่รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย

๒. ด้านการเผยแพร่รูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยจากหน่วยงานของรัฐสู่ท้องถิ่นในลักษณะของแบบแปลนเอกสารทำให้เกิดความสะดวกในการนำมาเป็นแบบก่อสร้าง

๓. การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างจากอาคารไม้ เป็นอาคารที่ใช้วัสดุประเภทคอนกรีตเสริมเหล็กในการก่อสร้าง เนื่องจากความสะดวก รวดเร็ว ได้อาคารที่มีขนาดใหญ่

๔. การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง มีการสร้างอาคารที่ปิดล้อมทุกด้าน มีการเจาะช่องประตู หน้าต่างที่ใหญ่ขึ้น โครงสร้างแบบม้าต่างไหมหายไป ส่วนอาคารที่สร้างขึ้นโดยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ไม่มีรูปแบบของโครงสร้างหลังคาที่ชัดเจน

๕. การเปลี่ยนแปลงขนาดอาคาร ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าอุโบสถและวิหารล้านนาเดิม ส่งผลต่อการจัดวางผังวัดที่ไม่มีการแบ่งเขตพุทธาวาส สังฆาวาส เป็นการใช้พื้นที่ร่วมกัน อาคารที่มีขนาดใหญ่ทำให้ใช้เวลาในการระดมทุนซึ่งเป็นปัจจัยในการสร้างมาก

๖. การเปลี่ยนแปลงส่วนประดับตกแต่งองค์ประกอบต่างๆ ของอาคาร ได้แก่ เครื่องบนหน้าบันและลวดลาย ซุ้มประตูและหน้าต่าง

๗. การเปลี่ยนแปลงด้านหน้าที่ใช้สอย จากการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนระหว่างอุโบสถและวิหารล้านนา ต่อมาเมืองเปลี่ยนเป็นอุโบสถวิหารเป็นการกำหนดหน้าที่ใช้สอยใหม่โดยใช้พื้นทีร่วมกัน

๗. ด้านความรู้ ความเข้าใจ และข้อกำหนดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมภายในวัดที่ลดลงเนื่องจากวัดไม่ได้เป็นศูนย์กลางหรือแหล่งเรียนรู้ดังเช่นอดีต
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 02 ก.ค. 2016 8:04 am

วิหารล้านนา ตอนที่ ๓ พุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา


๒.๒ พุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา
ตามคัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกา การสังคยานาครั้งที่ ๓ ได้กระทำขึ้นที่เมืองปาฏีบุตรด้วยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช จากผลการสังคยานาคราวนั้น ได้มีการส่งศาสนทูตไปประกาศพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ หลายคณะ พระเถระสององค์คือ พระโสณะและพระอุตตระได้มาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ (คือดินแดนส่วนที่เป็นพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน) ตอนแรกพระเถระทั้งสอง ได้เผยแพร่พุทธศาสนาในระหว่างชาวอินเดีย ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วต่อจากนั้นจึงเผยแพร่ให้แก่พวกมอญและละว้าโดยอาศัยล่ามชาวอินเดีย ซึ่งในสมัยนั้นชาวมอญมีวัฒนธรรมและอารยธรรมสูงกว่าชาวละว้าอยู่แล้ว เพราะอาจอาศัยอยู่ในเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ ที่พ่อค้าชาวอินเดียชอบตั้งหลักแหล่ง ดังนั้นพวกมอญจึงได้รับทั้งพุทธศาสนาเถรวาทและศิลปะวิทยการอื่นๆ จากชาวอินเดีย อารยธรรมและอิทธิพลของมอญเจริญรุ่งเรืองอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำปิง จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก่อนที่ศาสนาพุทธลังกาวงศ์จะเข้ามามีบทบาทในเขตนี้ พบว่าได้มีความเจริญของแนวความเชื่ออื่นๆ อยู่แล้ว คือ แนวความเชื่อพื้นเมือง ซึ่งเป็นแนวความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แนวความเชื่อในศาสนาฮินดู และพุทธมหายาน ทั้งศาสนาฮินดูและพุทธมหายานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศูนย์กลางความเจริญท่ามกลางความเจริญอยู่ที่เขมร และเมื่อพุทธศาสนาลังกาวงศ์ซึ่งเข้ามาหลังสุดก็ได้เข้ามาเจริญท่ามกลางแนวคิดต่างๆ เหล่านี้ พุทธศาสนาลังกาวงศ์จึงถูกนำเข้ามาเป็นศาสนาหลัก อาณาจักรหริภุญชัยตั้งอยู่ระหว่างอาญาจักรเงินยางของชนเผ่าไททางเหนือ และอาณาจักรสุโขทัยทางใต้ สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๒๐๔ โดยฤๅษีนามว่า วาสุเทวะ ในปี ต่อมาเมื่อมองไม่เห็นใครเหมาะสมที่จะปกครองนครใหม่ ฤๅษีจึงส่งคนไปเชิญนางจามเทวีแห่งปุระ ซึ่งเป็นอาณาจักรมอญอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในภาคกลางของไทยในปัจจุบัน นครหริภุญชัยก็เจริญรุ่งเรือง มีข้อความที่เขียนไว้ว่านครหริภุญชัยมีหมู่บ้าน ๕๐๐ ตำบล มีวัด ๒,๐๐๐ วัด มีพระสงฆ์ ๕,๐๐๐ รูป ประมาณ ๕๐๐ รูป ในจำนวนนี้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก


ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พญามังรายแห่งอาณาจักรเงินยาง มีอำนาจมากขึ้น พระองค์เริ่มขยายอาณาเขตไปทางใต้โดยการสร้างเชียงรายเป็นนครหลวงใหม่ ใน พ.ศ. ๑๘๐๖ ต่อจากนั้น ๑๑ ปี
พระองค์ก็ได้เสด็จไปทางตะวันตก และได้ตั้งเมืองฝางขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการขยายดินแดนลงทางใต้ ในปี พ.ศ. ๑๘๒๕ พระองค์ก็สามารถยึดหริภุญชัยได้ และได้ตั้งอาณาจักรล้านนาขึ้น พระองค์ได้สร้างนครเชียงใหม่ขึ้น ใน พ.ศ. ๑๘๔๓ และได้ประกาศเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรใหม่ พระองค์ประทับอยู่ที่เชียงใหม่ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ.๑๘๕๔ ศาสนาที่นับถือกันอยู่ในสมัยเริ่มแรกแห่งอาณาจักรล้านนานั้น เป็นศาสนาพุทธ ทั้ง ๒ นิกาย คือ เถรวาทและมหายาน ผสมกับศาสนาพราหมณ์ ศาสนาวิญญาณนิยม และความเชื่อถือทางไสยศาสตร์


พุทธศาสนาในล้านนาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจากการมาของพระเถระผู้มีชื่อเสียงนามว่า “สุมนะเถระ” จากอาณาจักรใกล้เคียง คือ สุโขทัย โดยการอาราธนาของพระเจ้ากือนาในปีพ.ศ. ๑๙๐๔ พระสุมนะเถระนั้นเคยไปศึกษาและได้รับการอุปสมบทใหม่ในสำนักของท่านอุทุมพร มหาเถระแห่งอาณาจักรมอญ (รามัญ) ในพม่าใต้ เพราะฉะนั้นการมาของท่านจึงเท่ากับนำนิกายใหม่เข้าสู่ล้านนา พระเจ้ากือนาทรงเคารพนับถือพระสุมนะอย่างสูง จนกระทั่งได้อุทิศสวนดอกไม้ของพระองค์ให้เป็นวัดที่อยู่ของท่าน วัดดังกล่าวได้เป็นหลักของพระสงฆ์นิกายรามัญ ปัจจุบันคือวัดสวนดอก นิกายใหม่มีความเจริญควบคู่ไปนิกายเดิม ภายใต้ราชูปถัมภ์ของพระเจ้ากือนา


ในปี พ.ศ. ๑๙๖๕ ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน มีพระชาวเชียงใหม่ ๒๕ รูป ไปศึกษาภาษาบาลีและพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งในระยะนั้นได้เจริญถึงขีดสุดเป็นที่เล่าลือกันทั่วไป พระจากดินแดนอื่นๆ ก็หลั่งไหลไปศึกษาเล่าเรียนในลังกาด้วย พระเชียงใหม่ ๒๕ รูปนั้นได้รับการอุปสมบทใหม่อีกที่แพลอยน้ำในแม่น้ำกัลป์ยานี เมื่อถึงเวลาอันสามควรพระทั้ง ๒๕ รูปก็กลับคืนสู่บ้านเกิดพร้อมด้วยพระเถระชาวลังกา (สีหล) ๒ รูปคือ พระมหาวิกรมพาหุ และพระมหาอุตตมปัญญา ทั้งหมดได้เข้าไปตั้งหลักอยู่ที่วัดป่าแดง พระคณะใหม่จากลังกาดูเหมือนจะเป็นที่เคารพนับถือกันอย่างแพร่หลายในล้านนา ต่อมาพระเถรชาวลังกาทั้งสอง ได้ทำการอุปสมบทให้แก่บุตรชาวล้านนา นิกายทั้ง ๓ นิกายขึ้นในล้านนา คือ นิกายสงฆ์ล้านนาเดิม นิกายรามัญแห่งวัดสวนดอกและนิกายลังกาหรือสีหลแห่งวัดป่าแดง ทั้ง ๓ นิกายต่างร่วมกันอยู่อย่างสันติ แม้ว่านิกายสีหลจะดูมีความรู้สูงและการปฏิบัติที่เคร่งครัดกว่า


เหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาอีกอย่างที่เกิดขึ้นยุคนี้ คือ การทำสังคายนาตรวจทางพระไตรปิฎก ที่วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ใน พ.ศ. ๑๙๙๐ ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าติโลกราช มีพระเถระผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก ๑๐๐ รูป มีพระธัมมทินนะมหาเถระ เป็นประธานร่วมประชุม และใช้เวลา ๑ ปี จึงสำเร็จ การสังคายนาคราวนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกในดินแดนไทยและเป็นครั้งที่ ๘ ของโลก


ยุคทองแห่งพุทธศาสนาในล้านนาเริ่มเสื่อมโทรมพร้อมกับเกิดความยุ่งยากทางการเมือง ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต้นเหตุของความยุ่งยากอยู่ที่ปัญหาการสืบราชสมบัติล้านนาในฐานะเป็นรัฐอิสระพร้อมด้วยวัฒนธรรม และถูกพม่าเข้ายึดครองได้ใน พ.ศ. ๒๑๐๑ ล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี ผู้ปกครองซึ่งเป็นชาวพม่าก็เป็นชาวพุทธเช่นเดียวกันชาวล้านนาจึงยังมีเสรีภาพในทางศาสนาอย่างเต็มที่


เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในล้านนา ซึ่งได้รวบรวมล้านนาเข้ากับอาณาจักรสยามในรัชกาลที่ ๕ การศาสนาก็ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ ตามนโยบายการปกครองสงฆ์ไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงนิมนต์คณะสงฆ์ของล้านนาให้ลงมาศึกษาวิชาการปกครองสงฆ์ที่กรุงเทพฯ และได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาเถรสามคมอยู่ภายใต้การปกครองของพระสังฆราช
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 03 ก.ค. 2016 2:14 pm

วิหารล้านนา ตอนที่ ๔ ความหมายและ แนวคิดในสร้างวิหารล้านนา

“วิหาร” มีที่มาจากภาษาบาลี หมายถึง การพักผ่อน การเที่ยว (มานิต มานิตเจริญ, ๒๕๒๐)และหมายถึง ที่อยู่ ที่อาศัยของพระสงฆ์ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับโบสถ์ การเป็นอยู่หรือการดำรงชีวิต (พระธรรมปิฎก, ๒๕๔๐) หรือหมายถึงความเป็นไป มีการเปลี่ยนอิริยาบถ (พระศิริมังคลาจารย์, ๒๕๒๓)


“วิหาร” ในสมัยพุทธกาล หมายถึง สถานที่ซึ่งพระสงฆ์ใช้กำบังฝนซึ่งจะสร้างด้วยไม้มุงหลังคาด้วยหญ้าคาในระยะแรก ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๓ วิหารหมายถึง ที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ คือ กุฏิ โดยเป็นหนึ่งใน ๕ แบบ ของอาคารที่พักของพระสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สามารถ ซึ่งเหมาะสมตามสภาพภูมิอากาศในแต่ละเขต ได้แก่ วิหาระ, อัทรโยคะ, ปราสาทะ, หิมมิยะ และคูหา โดยกำหนดวัสดุที่อนุญาตให้ใช้ได้ คือ อิฐ, ศิลา, ปูนปั้น, หญ้า และใบไม้ ผนังอาคารไม่ควรทำด้วยดินโคลนและเปลือกไม้ (พระโพธิรังสี, ๒๕๑๘)

การสร้างวิหารครั้งแรกปรากฏหลักฐานในอดีต จากความประสงค์ที่จะสร้างที่พำนักแก่ภิกษุสงฆ์ของอนาถบิณฑิกะเศรษฐี วิหารมีพัฒนาการควบคู่มากับสถูปหรือเจดีย์ในปัจจุบัน ในสมัยเริ่มแรกวิหารถูกสร้างขึ้นโดยเจาะถ้ำเป็นห้องโถงและมีสถูปอยู่ด้านหลัง ต่อมาสถูปด้านหลังหายไปเหลือเพียงแต่พระพุทธรูป ซึ่งเป็นแบบแผนที่พัฒนามาสู่ยุคปัจจุบัน ถ้าวิหารมีความเกี่ยวเนื่องกับวิหารทรงปราสาท เนื่องจากวิหารรูปแบบนี้มีการประดิษฐานเจดีย์ไว้ในตำแหน่งท้ายห้องของวิหาร เช่นเดียวกับวิหารทรงปราสาทที่มีการประดิษฐานปราสาทไว้ในตำแหน่งท้ายห้องวิหารเช่นเดียวกัน
ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, การศึกษารูปแบบวิหารทรงปราสาทในเขตภาคเหนือ, หน้า ๔๘


การวางผังในเขตพุทธาวาสของวัดในล้านนานั้นโดยทั่วไป เป็นที่แน่ชัดว่าพระเจดีย์ธาตุย่อมเป็ นประธานของวัดโดยอยู่ในตำแหน่งสาคัญ เช่น กึ่งกลาง บริเวณของวัด โดยสัมพันธ์กับตำแหน่งที่สร้างวิหาร โดยนิยมสร้างพระวิหารไว้ด้านหน้าเจดีย์ธาตุทางทิศตะวันออก ในแนวแกนเดียวกัน และนิยมต่อเนื่องมาจนถึงการวางผังวัดล้านนา คติแบบแผนผังของวัดที่ให้ความสาคัญแก่เจดีย์ธาตุเป็นประธานตามคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ซึ่งแพร่หลายในดินแดนล้านนา


ภูมิปัญญาของการออกแบบและก่อสร้างวิหารล้านนาถูกถ่ายทอดผ่านเส้นทางและลักษณะของการเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดนล้านนาพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีบทบาทมาตลอดเริ่มตั้งแต่การถ่ายทอดจากละโว้สู่หริภุญชัย ซึ่งอาณาจักรหริภุญชัยเผยแพร่ศาสนาไปยังเมืองต่างๆ โดยควบคู่กันไปกับการขยายอำนาจของหริภุญชัยในรูปแบบของการสร้างบ้านแปงเมือง (สรัสวดี อ๋องสกุล,๒๕๓๙)

เมื่อพญามังรายได้ครอบครอง หริภุญชัยและก่อสร้างเวียงกุมกามแล้วจึงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นจึงได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาลังกาวงศ์ แนวคิดของพุทธศาสนาแบบลังกาวงค์จึงมีผลต่อวัฒนธรรมและประเพณีสืบเนื่องมาความเชื่อเรื่องของอานิสงค์และผลบุญ การดำเนินชีวิตจึงอยู่ภายใต้ของการทำดีเพื่อสั่งสมบุญบารมีเพื่อชีวิตที่ดีในภพหน้า การสร้างวัดหรือวิหารจะได้บุญอันยิ่งใหญ่ สถาบันกษัตริย์ หรือผู้นามักจะทะนุบำรุงและสร้างศาสนสถานอยู่เสมอ ในอิทธิพลของพุทธศาสนาลังกาวงศ์การสร้างวัดหรือวิหารจะได้บุญอันยิ่งใหญ่ การวางตำแหน่งผังวัดในล้านนาจะให้ความสำคัญกับเจดีย์เป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่จะวางไว้บริเวณศูนย์กลางของวัด และจะวางตำแหน่งของวิหารไว้ด้านหน้าเจดีย์ วางในแนวแกนตะวันออก ตามคติทางพุทธศาสนาและจะให้ความสำคัญของอาคารอื่นรองลงมาเช่น หอไตร อุโบสถเป็นต้น (วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, ๒๕๔๔)

ในสมัยเริ่มแรกวิหารถูกสร้างขึ้นโดยเจาะถ้ำเป็นห้องโถงและมีสถูปอยู่ด้านหลัง ต่อมาสถูปด้านหลังหายไปเหลือเพียงแต่พระพุทธรูป ซึ่งเป็นแบบแผนที่พัฒนามาสูยุคปัจจุบัน วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นวัสดุในพื้นที่เช่นไม้สักเป็นส่วนใหญ่ วัสดุมุงหลังคาจะเป็นกระเบื้องดินขอเป็นต้นวิหารล้านนามีแบบแผนและลักษณะเฉพาะที่แสดงเอกลักษณ์ของล้านนา (วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, ๒๕๓๕) ลักษณะสถาปัตยกรรมโดยทั่วไปของวิหารและบ้านเรือนในล้านนาที่มีองค์ประกอบมาจากมรดกทางวัฒนธรรมและแสดงอุปนิสัยของคนในท้องถิ่นมีการแยกประเด็นด้วยคุณสมบัติ ๔ ประการ ประกอบด้วย (สามารถ สิริเวชพันธ์, ๒๕๓๒)

๑. วัสดุการก่อสร้างของท้องถิ่นตามลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน

๒. ลักษณะช่างฝี มือแต่ละแหล่งที่แสดงความแตกต่างของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เช่นสกุลช่างเชียงใหม่ สกุลช่างลำปาง ที่มีความแตกต่างกัน และมีช่างที่เรียกว่าช่างหลวงและช่างชาวบ้าน

๓. วัฒนธรรมประเพณีมีผลต่อการวางแบบแผนของวิหารเช่น ทรวดทรงแบบอ่อนตัว นิยมหลังคาโค้งอ่อน เป็นงานสกุลช่างเชียงใหม่ ส่วนสกุลช่างลำปางจะนิยมทรงแข็งใช้ระนาบหลังคาแบบหนักแน่นเป็นการจัดรูปทรงเรขาคณิตเป็นกลุ่มก้อน สกุลช่างลำปางนิยมลายเส้นใหญ่และใช้ไม้ขนาดใหญ่แกะเป็นแผงและไม่ค่อยนิยมตกแต่งหน้าบัน

๔. เอกลักษณ์แห่งสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นซึ่งมีความแตกต่างกัน เช่นงานสถาปัตยกรรมภาคเหนือมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด

การสร้างวิหารในแต่ละพื้นที่ในดินแดนล้านนาจึงมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่างกันทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แต่เนื่องจากอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันจึงใช้ลักษณะบางอย่างร่วมกันเช่นแบบแผนการย่อมุมของผังพื้น การใช้ระบบโครงสร้างไม้ แบบม้าต่างไหม เป็นต้น

ลักษณะและรูปแบบของวิหารล้านนาในแต่ละพื้นของอาณาจักรล้านนา โดยยึดเอาความกว้างของโครงสร้างขื่อหลวงเป็นหลักแล้วคำนวณองค์ประกอบอื่นๆ จนครบ โดยการนำไม้ขนาดเล็ก มาลองเป็นแบบวางกับพื้นก่อน จากนั้นจึงเตรียมไม้จริง โดยทำสลักและเดือยในตัวไม้แต่ละท่อน จากนั้นจึงยกขึ้นประกอบเป็นโครงสร้างวิหารจริง (สลิลทิพย์ตียาภรณ์, ๒๕๔๒) โดยเสาคู่แรกมักยกขึ้นเป็นเสาเอก คือเสาคู่หน้าของประประธานหรือเสาคู่ฐานชุกชี(วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, ๒๕๓๕)

หลักฐานที่แสดงถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบการถอดประกอบได้ปรากฏหลักฐานสมัยการก่อสร้างเวียงกุมกาม ซึ่งช่างกานโถมได้สร้างส่วนประกอบของวิหารที่เชียงแสนเสร็จแล้วนำมาประกอบที่วัดกานโถมในเวียงกุมกาม ดังปรากฏในเอกสารตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีเอกสารล้านนาโบราณที่มีการบันทึกไว้ (ภาคผนวก ข) เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับสัดส่วนขององค์ประกอบไม้เป็นหลัก ได้แก่ เอกสารการสร้างวิหารและลักษณะวิหารของวัดต่างๆที่ถูกบันทึกเป็น ไมโครฟิล์มปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตำราการสร้างวิหารล้านนาเรื่อง “ลักษณะวิหาร” โดยสงวน โชติสุขรัตน์ ซึ่งแปลและตีพิมพ์อยู่ในตำราพิธีส่งขึดและอุบาทว์แบบพื้นเมืองเหนือ เนื่องจากเอกสารที่พบในล้านนานอกเหนือจากคัมภีร์ทางศาสนาหรือตำนานต่างๆ ซึ่งมีความยาวมากพอที่จะบรรจุลงไปในสมุดเล่มหนึ่งแล้ว ชาวล้านนาจะจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เห็นว่าสำคัญ และมีความหมายต่อตนเองเขียนรวมต่อเนื่องลงไปในสมุดเล่มเดียว เมื่อสมุดถูกส่งผ่านกันต่อไปก็จะมีการบันทึกเพิ่มเติมอีกทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจ รวมถึงการกำหนดอายุที่แน่ชัดด้วย (ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ์ และภานุพงษ์ เลาหสม, ๒๕๔๓)
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 03 ก.ค. 2016 2:16 pm

วิหารล้านนา ตอนที่ ๕ รูปแบบของวิหารล้านนา

จากการศึกษาเรื่องลักษณะทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองล้านนาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔ ของ วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ทา ให้พบว่าวิหารที่มีการสร้างนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบตามลักษณะของวิหาร คือ


๑. วิหารโถงหรือวิหารป๋วยและวิหารไม่มีป๋างเอก
วิหารโถง หรือวิหารไม่มีป๋างเอก เป็นวิหารแบบแรกของล้านนา วิหารรูปแบบนี้มีการสร้างผนังเพียงครึ่งเดียวและเปิดแนวผนังให้โล่งตอนล่าง ลักษะเด่นของวิหารชนิดนี้จะไม่นิยมสร้างฝาผนัง (ป๋างเอก) ยกเว้นท้ายวิหารที่ประดิษฐานพระประธานที่มีการสร้างผนังทั้งสามด้าน ส่วนบริเวณโดยรอบจะมีการกั้นผนังที่มีการสร้างเพียงครึ่งเดียวของเสารับน้ำหนักด้านนอกสุดที่มีชื่อเฉพาะว่าฝาหยาบหรือฝาย้อย (วรลัญจก์ บุณสุรัตน์, ๒๕๔๐) วิหารกึ่งโถง เป็นวิหารที่แสดงการพัฒนาการการเชื่อมต่อระหว่างการสร้างวิหารแบบโถงและวิหารแบบปิดซึ่งวิหารรูปแบบนี้จะเป็นการสร้างตั้งแต่ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา วิหารโถงส่วนใหญ่จะเป็นวิหารของสกุลช่างลำปาง


๒. วิหารแบบปิดหรือวิหารปราการ
วิหารชนิดนี้มีการทำฝาหรือป๋างเอกตั้งแต่พื้นสูงจรดปลายเสาด้านนอกสุด วิหารรูปแบบนี้มีการสร้างอย่างกว้างขวางในล้านนายุคหลัง โดยมีลักษณะการใช้ฝาผนังเป็นเครื่องปิดล้อมรูปทรงอากาศของตัวสิ่งก่อสร้าง อันทำให้แตกต่างจากวิหารไม่มีป๋างเอก วิหารปิดที่มีลักษณะพิเศษคือวิหารทรงปราสาท เป็นวิหารทีให้ความสำคัญแก่ประดิษฐานของพระประธานโดยมีการสร้างมณฑปปราสาทในลักษณะของอาคารซ้อนชั้นเชื่อมมณฑปไว้ด้านหลังของวิหาร ซึ่งการสร้างวิหารในลักษณะนี้อาจจะมีความคิดที่ต่อเนื่องมาจากวิหารในกลุ่มสุโขทัยและพุกาม(วรลัญจก์บุณยสุรัตน์, ๒๕๔๓)


๒.๓.๔ องค์ประกอบทางโครงสร้างของวิหารล้านนา
โครงสร้างส่วนหลังคาและเสาของวิหารล้านนา ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ขื่อม้าต่างไหม” ซึ่งนำชื่อมาจากลักษณะการบรรทุกผ้าไหมบนหลังม้าไปขายของพ่อค้าม้าต่างบนเส้นทางสายไหม และลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะโครงสร้างรับน้ำหนักของวิหารล้านนา ที่มีการถ่ายน้ำหนักจากโครงหลังคาลงมาที่เสาและคานซึ่งคล้ายกับการถ่ายน้ำหนักบรรทุกสินค้าลงบนหลังม้า โครงสร้างชนิดนี้ปรากฏชื่อในตำนานตั้งแต่สมัยพญามังรายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นับว่าเป็นโครงสร้างที่สืบทอดกันมากว่า ๖๐๐ ปี (วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, ๒๕๔๔) ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, แบบแผนทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองล้านนาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔


ที่มา http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/๒๕๕๕/arc๓๐๓๕๕pp_ch๒.pdf
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน

cron