ภาพเก่า และของดีเมืองพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 16 ส.ค. 2015 9:08 am

สะพานข้ามไปยังวัดป่าอัมพวัน ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


ภาพ : ความมืด สีขาว


11866267_1606455862939650_738527148543904734_n.jpg
11866267_1606455862939650_738527148543904734_n.jpg (126.81 KiB) เปิดดู 9979 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » อาทิตย์ 16 ส.ค. 2015 9:11 am

วัดพระธาตุกลางใจเมือง(สะดือเมือง) ศูนย์รวมจิตใจชาวเมืองพร้าว


WP_20150808_011_resize.jpg
WP_20150808_011_resize.jpg (160.04 KiB) เปิดดู 9979 ครั้ง


วัดพระธาตุกลางใจเมือง สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ แล้วได้ทรงประทานนามว่า “วัดสะดือเมือง” อันหมายถึงจุดศูนย์กลางของเวียงพร้าววังหิน แล้วก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงพุทธศักราช ๒๑๐๑ ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดพระธาตุสะดือเมืองก็ถูกปล่อยให้เป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นับเป็นเวลานานร่วม ๓๗๑ ปีทีเดียว

นานวันเข้าคนเดินผ่านไปผ่านมาก็จะมองเห็นองค์พระธาตุตระหง่านอยู่ จนมาถึงวันที่ ๒๔ ตุลาคม เดือนเกี๋ยงเหนือ ( เดือน ๑๑) แรม ๕ ค่ำ พ.ศ.๒๔๗๒ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย แห่งสำนักบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้เดินทางมาพักที่ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว คณะศรัทธาพี่น้องอำเภอพร้าวทราบข่าว ท่านครูบาเจ้ามาพักที่ถ้ำเชียงดาวก็ได้พากันไปนมัสการทำบุญร่วมกับท่านเป็นจำนวนมาก พ่ออุ้ยคำตัน จันทร์จรมานิตย์ ก็ได้อาราธนานิมนต์ท่านมาอำเภอพร้าวท่านก็รับนิมนต์ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ท่านก็ออกเดินทางจากถ้ำเชียงดาว สมัยนั้นทางเข้าสู่อำเภอพร้าวไม่มีทางรถยนต์ ท่านต้องย้อนล่องใต้สู่ทางเดินเข้าอำเภอแม่แตง ผ่านมาทางบ้านช่อแล อำเภอแม่แตง มาทางแม่วะ แม่จวน ห้วยหินฝน มานอนค้างที่วัดแม่แพง อำเภอพร้าว เพราะเดินทางโดยเท้าขึ้นเขาลงห้วย มาพักฉันอาหารเช้าที่วัดแม่แวนหลวง อำเภอพร้าว มาถึงวัดสันทรายเวลา ๑๗ นาฬิกาของวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๒ มาพักที่วัดสันทราย ๑ คืน ตอนกลางคืนท่านก็เข้าวิปัสสนา พอรุ่งเช้าท่านก็บอกแก่คณะศรัทธาที่มาทำบุญเป็นจำนวนมากพร้อมกันกับพ่ออุ้ยคำตัน จันทร์จรมานิตย์ ที่ปฏิบัติใกล้ชิดท่าน ว่า “อาตมาจะสร้างวัด วัดที่อาตมาจะสร้างนั้น ไม่ใช่วัดสันทราย เมื่อคืนนี้มีรุกขเทวดามาอาราธนาให้สร้างวัดที่สำคัญยิ่งมาแต่อดีต อยู่ห่างจากวัดนี้ไปทางทิศตะวันออก...”

เมื่อฉันอาหารเช้าเสร็จแล้ว ท่านก็ออกเดินทางนำหน้าคณะศรัทธามุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออก พอมาถึงวัดร้าง ( วัดพระธาตุ ) ท่านก็บอกว่า วัดนี้ตรงกับที่รุกขเทวดามาบอก ท่านก็พาคณะศรัทธาค้นตามกองอิฐ ตามองค์พระธาตุซึ่งพังลงมาตามกาลเวลาอันนานแสนนาน ประมาณ ๒ ชั่วโมง ท่านก็ได้พบศิลาจารึก เป็นหินสีดำนิล ปรากฏว่ามีตัวหนังสือของภาคเหนือมีใจความว่า “วันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีชวด พ.ศ.๑๙๒๘ กือนาธรรมมิกราชา ( ผู้สร้าง ) วัดนี้ชื่อว่าสะดือเมือง “ พบของจำนวนมาก ท่านจึงมีผอบบรรจุพระธาตุ เทียนเงินเทียนทอง ส่วนหินสีดำนิลนั้นท่านครูบาว่าเป็นของมีค่ามาก บรรจุไว้ในองค์พระธาตุ ให้รักษาไว้กับวัดมีระฆังทองปนเงิน ๑ อัน สลักอักษรขอมโดยรอบ เสียงกังวานมาก ท่านสร้างพระธาตุ โบสถ์ พร้อมๆกันเป็นเวลาสองเดือนก็เสร็จบริบูรณ์แล้ว ก็ได้ถวายทานและตั้งชื่อใหม่ว่า วัดพระธาตุกลางใจเมือง วัดนี้เป็นวัดวิเวกเพราะอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ๑ ถึง ๒ กิโลเมตร เมื่อท่านสร้างเสร็จแล้วก็เดินทางกลับไปวัดบ้านปางและได้สร้างวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน อีกเป็นจำนวนมากเมื่อท่านมรณภาพไป ทางคณะกรรมการก็ได้แบ่งอัฐิดูกแขนเบื้องขวา มาบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุกลางใจเมือง ให้เป็นที่สักการบูชาแก่ทุกๆ คน

พี่น้องชาวอำเภอพร้าว และอำเภอใกล้เคียงจะมาสรงน้ำพระธาตุ และอัฐิของครูบาเจ้าทุกเดือน ๙ เหนือ ( เดือน ๗ไทย) ขึ้น๑๕ ค่ำ เป็นประจำทุกปี เป็นประเพณีที่พี่น้องชาวอำเภอพร้าวจะลืมเสียไม่ได้ พอเดือน ๙ เหนือ มาถึง วันขึ้น ๑๔ ค่ำ จะมีการสมโภชน์ตลอดคืน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ จะมีการจุดบอกไฟเป็นพุทธบูชาตลอดวัน

ประวัติย่อของไม้ศรีมหาโพธิ์ ๓ ต้นของ วัดพระธาตุกลางใจเมือง ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อสมัยพุทธกาลก่อนโน้น มีพระอรหันต์เจ้าชื่อโมคคัลลานะ ได้เดินทางเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้ามาสู่ล้านนาประเทศคือแคว้นล้านนาไทย ได้ผ่านมาอำเภอพร้าว มาทางทิศใต้ถึงบ้านโหล่งขอด สายบาตรของท่านทำท่าจะขาด จึงให้ท้าวมหายักษ์ไปขอด้ายจากชาวบ้านมาเย็บต่อสายบาตรของท่าน ปรากฏว่าไม่ได้ชาวบ้านบอกไม่มี ท่านจึงขอดสายบาตรของท่านที่นั่นจนปรากฏได้นามชื่อว่าขอดมาจนทุกวันนี้ ( ที่น่าอัศจรรย์ว่าชาวบ้านโหล่งขอดปลูกฝ้ายไม่มีดอกฝ้ายจนเท่าทุกวันนี้ ) ท่านได้เดินทางสู่ทิศเหนือ มาพักที่ถ้ำ ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกของตัวอำเภอปัจจุบันห่างประมาณ ๗ กิโลเมตร จนได้ชื่อว่าถ้ำโมคคัลลานะมาจนทุกวันนี้ และท่านได้ผ่านมาทางวัดพระธาตุ ท่านได้ใช้ท้าวมหายักษ์เอากิ่งไม้ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งท้าวมหายักษ์ได้นำมาพร้อมกับท่าน ตัดออกเป็น ๓ ท่อน เอามาปลูกไว้เรียงไปทางทิศตะวันตก ๑ ๒ ๓ ตามลำดับจนปรากฏมาทุกวันนี้ ตามตำนานเมืองเหนือระบุว่าท่านได้เอาเสาอินทขิลมาฝังไว้ที่วัดพระธาตุ ท้าวมหายักษ์ก็เลยถวายดาบไว้ที่วัดพระธาตุด้วย ต่อจากนั้นท่านได้ไปสู่ดอยขุนโก๋น ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือตัวอำเภอพร้าวประมาณ ๘ กิโลเมตร ตำนานกล่าวมหายักษ์ได้กวนใจท่านจนท่านหนีมาอยู่ถ้ำดอกคำ ท้าวมหายักษ์ได้เอาดอกไม้คำมากับท่านที่ถ้ำจนได้ชื่อว่า ถ้ำดอกไม้คำ มาจนทุกวันนี้

ไม้ศรีมหาโพธิ์ต้นแรก ( ต้นที่ติดกับวัด ) เมื่อประมาณร้อยปีเศษ กลางคืนเกิดพายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนักทำให้ต้นไม่ศรีต้นแรก ซึ่งมีกิ่งก้านสาขางามนั้นล้มคลืนลงมาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นหลุมหนองน้ำ ตามคำบอกของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน บอกว่าสมัยวัดพระธาตุสร้างอยู่นั้นพอถึงฤดูฝนน้ำจะขัง ปลาชุมมาก ชาวบ้านใกล้เคียงชอบเอาไซ ( เครื่องดักปลา ) ไปดักไว้ตามกิ่งไม้ศรีมหาโพธิ์ซึ่งล้มลงมานั้นเป็นประจำ อยู่มาอีก ๒ ปี มีคืนหนึ่งเกิดฝนตกหนัก แผ่นดินไหว ฟ้าร้องฟ้าผ่าตลอดคืน พอรุ่งเช้าชาวบ้านไปยกไซเอาปลา แต่ปรากฏว่าไม้ศรีมหาโพธิ์ได้ลุกขึ้นตั้งต้นดังเดิม โดยมีไซเครื่องมือดักปลาของชาวบ้านไปติดบนยอดไม้ศรีมหาโพธิ์หมด ชาวบ้านพากันแตกตื่นไปดู บางคนก็หาไม้ไปค้ำไว้สมัยนั้นบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดคือบ้านสันศรี มีพ่อต๊าวอาจ แม่แก้ว เป็นนายบ้าน ได้นำลูกบ้านไปแผ้วถางเอาไม้ค้ำ กลัวไม้ศรีมหาโพธิ์จะล้มลงมาอีก พ่อต๊าวอาจก็เลยเปลี่ยนชื่อบ้านสันศรีมาเป็นศรีค้ำ จนทุกวันนี้ พอไม้ศรีมหาโพธิ์ลุกขึ้นเองได้พอวันต่อมาเวลาบ่าย ตามคำบอกของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุมากหลายคนในหมู่บ้านที่มีชีวิตอยู่ ท่านบอกว่าจะมีควันออกจากต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ สีขาวพุ่งพวยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นลำยาวอยู่ถึง ๗ วัน ๗ คืน ในขณะนั้นจะมีประชากรทั้งใกล้และไกล ก็พากันเอาน้ำอบ น้ำหอมมาสะสรงกราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก พอถึงสงกรานต์เมืองเหนือ จะมีชาวบ้านในอำเภอ ต่างอำเภอ ต่างจังหวัดมาเที่ยวอำเภอพร้าว จะมากราบไหว้บูชาเป็นประจำทุกปี
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 21 พ.ย. 2015 4:16 pm

ชาวบ้านตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่กำลังอีดอ้อย (หีบอ้อย)
ไฟล์แนป
1240133_618485841536789_2045386631_n.jpg
1240133_618485841536789_2045386631_n.jpg (50.65 KiB) เปิดดู 9881 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย Namfar » พฤหัสฯ. 03 ธ.ค. 2015 8:36 am

12112021_906369652788691_4754987723556533378_n.jpg
12112021_906369652788691_4754987723556533378_n.jpg (90.43 KiB) เปิดดู 9863 ครั้ง


ภาพเก่าตำรวจภูธรอำเภอพร้าว ประมาณ ๒๔๙๕ - ๒๕๑๐
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 28 ก.พ. 2016 11:06 am

ตำนานดอยนางแล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

10534748_818470681538303_6590871862532918986_n_resize.jpg
10534748_818470681538303_6590871862532918986_n_resize.jpg (66.73 KiB) เปิดดู 9687 ครั้ง


ดอยนางแลในอดีตกาล พุทธศตวรรษที่ ๑๗ แห่งอาณาจักรล้านนา
ดอยนางแลเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระเจ้าแสนคำลือ เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นที่เคารพนับถือของชุมชน ในท้องถิ่น มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยของพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้กอบกู้ชาติบ้านเมืองกลับคืนจากขอมที่ยึดครองอาณาจักรน่านเจ้าของไทย (พ.ศ.๑๕๙๙) ต่อพระเจ้าพรหมราชได้สร้างเมืองให้พระราชโอรสไปปกครองชื่อเมือง เวียงหินนคร พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าด้วยหลักทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ประชาราษฎร์มีความจงรักภักดีเคารพบูชาประดุจเทพเจ้า

หลังจากพระเจ้าพรหมมหาราชได้เสด็จสวรรคต เวียงหินนครเมืองลูกหลวงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าแสนคำลือ พระราชโอรสองค์ที่ ๗ (พระเจ้าพรหมมหาราชมีพระราชโอรส ๘ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์) พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ด้วยหลักทศพิธราชธรรม เจริญรอยตามพระราชบิดา บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็บังเกิดขึ้น คือดวงแก้วชะตาเมืองได้เกิดสูญหาย ค้นหาจนทั่วไม่พบที่ใดเลย พระเจ้าแสนคำลือทรงพิจารณาโทษของพระองค์ด้วยการสละราชสมบัติให้พระเจ้าแสนหวีผู้เป็นพระอนุชาน้องชายของพระองค์ปกครองสืบต่อไป

ส่วนพระองค์ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระดาบส นุ่งขาวห่มขาว อยู่บนภูเขาด้านทิศตะวันตกของเวียงหินนคร ก่อนเสด็จออกผนวชพระนางเจ้าศรีสุชาดาพระราชชายาของพระองค์ ขอติดตามเสด็จออกผนวชด้วย พระเจ้าแสนคำลือไม่ทรงอนุญาต ได้ตรัสห้าม กลัวพระชายาจะไปทุกข์ลำบาก และกลัวชาวเมืองจะครหานินทาจะทำให้การบำเพ็ญพรหมจรรย์ของพระองค์มัวหมอง พระนางเจ้าศรีสุชาดาทรงห่วงใยในพระสวามีมาก จึงตัดสินพระทัยไปอธิษฐานบวชศีลจาริณี บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี อยู่บนหอคอยกลางใจเมืองเวียงหินนคร บำเพ็ญพระราชกุศลเพื่อเสริมพระบารมีให้พระเจ้าแสนคำลือดาบสให้พ้นจากวิบากกรรม พระนางทรงบำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุด ปรมัตถะบารมี ไม่เสวยพระกระยาหารติดต่อกันนานถึง ๑๒ วัน จนในที่สุดพระหทัยวายสิ้นพระชนม์บนหอคอย พระเนตรทั้ง ๒ ไม่หลับ ยังจ้องมองไปที่ภูเขาซึ่งพระสวามีของพระนางทรงบวชอยู่

เวลาต่อมาพระเจ้าแสนหวีได้ถวายพระเพลิงบรมศพของพระนาง ปรากฎว่าพระอัฐิของพระนางเจ้ากลายเป็นพระธาตุ ได้อัญเชิญขึ้นไปถวายพระเจ้าแสนคำลือดาบส พร้อมกับได้กล่าวเล่าเรื่องราวของพระนางเจ้าฯ ให้ฟัง พระเจ้าแสนคำลือดาบสซาบซึ้งในความจงรักภักดีของพระนาง จึงรับสั่งให้สร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นบนยอดเขา เพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุของพระนางไว้เป็นอนุสรณ์ ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกพระนามสถูปเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุดอยนางแล” สถานที่ปฏิบัติธรรมของพระเจ้าแสนคำลือดาบสจึงเป็นสำนักปฏิบัติธรรมของพระธาตุดอยนางแล สืบมาจนถึงทุกวันนี้

ราวๆต้นฤดูฝนของทุกปีนั้นจะมีการจัดสรงน้ำพระธาตุ( ขึ้นธาตุ )ทุกปี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล แก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ซึ่งในงานนั้นจะจัดให้ มีการสรงน้ำพระธาตุ การแข่งขันจุดบั้งไฟ และมหรสพต่างๆอีกมากมาย


#มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า พญาแสนคำลือเป็นผู้สร้างวัดบนดอยนางแล และวัดพระธาตุกลางใจเมืองก่อนพญากือนากษัตริย์เชียงใหม่องค์ที่ ๖ สันนิษฐานว่าวัดคงจะกลายเป็นวัดร้างก่อนที่พญากือนาจะสร้าง เนื่องจากในอดีตวัดต่างๆจะสร้างด้วยไม้จึงผุพังได้ง่าย อีกทั้งไม่ได้ทำการจารึกไว้ คนทั่วไปจึงเข้าใจว่าผู้สร้างวัดพระธาตุกลางใจเมือง (สะดือเมือง) ครั้งแรก คือพญากือนา

ทั้งนี้วัดพระธาตุกลางใจเมืองถือเป็นใจบ้านใจเมืองของเมืองพร้าวมาแต่ครั้งอดีต จึงควรให้ความสำคัญให้อยู่เป็นศรีบ้านศรีเมืองสืบไป

อ้างอิง : เรื่องราวมุขปาฐะ,ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระธาตุกลางใจเมืองในปัจจุบัน
Google Sites พระเพลิน
0000-พระธาตุกลางใจเมือง อ.พร้าว จ (7)_resize.jpg
0000-พระธาตุกลางใจเมือง อ.พร้าว จ (7)_resize.jpg (96.21 KiB) เปิดดู 6069 ครั้ง


+1_resize.jpg
+1_resize.jpg (85.86 KiB) เปิดดู 6069 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 12 ก.ค. 2016 8:47 am

เมืองพร้าวกับพระอริยสงฆ์

13650487_263974487315615_1417814141_n.jpg
13650487_263974487315615_1417814141_n.jpg (162.45 KiB) เปิดดู 9533 ครั้ง


วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทัตโต) บ้านแม่กอย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งกุฏิและทางเดินจงกรมเดิมของท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านได้เคยจาริกผ่านมาบำเพ็ญเพียร เจริญสมณธรรมและพำนักจำพรรษา ๑ พรรษา มีหลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ขาว หลวงปู่เจี๊ยะ ได้เคยมาพัก ณ ที่นี้ ภายหลังหลวงปู่สิมได้มาสร้างศาลาบำเพ็ญบุญไว้ ๑ หลัง ปัจจุบันได้สร้าง “พระมหามณฑปอนุสรณ์บูรพาจารย์ สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต” เพื่อน้อมรำลึกบูชาพระคุณครูบาอาจารย์


วัดถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ท่านพระอาจารย์มั่นได้มาพักบำเพ็ญความเพียรที่ถ้ำดอกคำ ต่อมาได้มีศิษย์จากภาคอีสานได้ติดตามมาพบท่านเพื่อขออธิบายธรรมในการปฏิบัติ มีหลวงปู่สาร หลวงปู่แหวน หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อนสี มาพักอยู่ชั่วคราว


ป่าเมี่ยง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวว่า “สำหรับอำเภอพร้าวนี้ มีภูมิทำเลเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางใจ” ท่านได้แนะนำชาวบ้านแสดงตนเป็นพุทธมามกะและสอนให้เข้าใจในหลักเหตุผลแห่งความจริง โดยท่านสอนเน้นถึงว่า “คุณธรรมนั้นมีความสำคัญยิ่งนัก”


สำนักสงฆ์ป่าเมี่ยง แม่สาย ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินธุดงค์มาแสวงหาที่วิเวก ณ ที่นี้ พ.ศ. ๒๔๗๖ โยมสมได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินสวนเมี่ยง แด่ท่านพระอาจารย์มั่น มีหลวงปู่พรหม หลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่เทสก์ เป็นคณะสงฆ์รับถวายที่ดิน หลวงปู่ขาว ได้มาเจริญในธรรม ณ ป่าเมี่ยง โหล่งขอดที่นี้ด้วย


บ้านทุ่งบวกข้าว ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ในท้องที่อำเภอพร้าวนี้ มีที่วิเวกเหมาะสมกับการบำเพ็ญภาวนา มีพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นจากภาคอีสานได้เดินทางมาพบท่านที่จังหวัดเชียงใหม่ คือศิษย์ต้องการพบท่านเพื่อจะได้ศึกษาธรรมให้สูงยิ่งขึ้น ส่วนท่านต้องการพบศิษย์เพื่อจะแก้ไขปรับปรุงแนวทางปฏิบัติและคำสอนให้มีความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น




วัดพระธาตุดอยนะโม (น้ำมัว) ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
สถานที่ที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่นั้น คือที่ปักกลดธุดงค์กัมมัฏฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ขณะที่ท่านมาพักบำเพ็ญสมณธรรมที่ดอยนะโม ซึ่งต่อมามีหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่พร ได้มาพักอยู่วัดพระธาตุดอยนะโมนี้ด้วย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 20 ก.ค. 2016 8:11 am

พิพิธภัณฑ์ของเก่าโบราณล้านนา วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

13815177_1114826895238885_1246610209_n.jpg
13815177_1114826895238885_1246610209_n.jpg (164.93 KiB) เปิดดู 10557 ครั้ง


13735184_1114827538572154_345804975_n.jpg
13735184_1114827538572154_345804975_n.jpg (153.46 KiB) เปิดดู 10557 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 20 ก.ค. 2016 8:15 am

13659064_1114845571903684_4384799716287435512_n.jpg
13659064_1114845571903684_4384799716287435512_n.jpg (59.41 KiB) เปิดดู 10557 ครั้ง


13734549_1114826905238884_1415556735_n.jpg
13734549_1114826905238884_1415556735_n.jpg (93.06 KiB) เปิดดู 10557 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 20 ก.ค. 2016 8:20 am

13734829_1114826998572208_1449803226_n.jpg
13734829_1114826998572208_1449803226_n.jpg (105.28 KiB) เปิดดู 10497 ครั้ง


13814580_1114827238572184_1744471444_n.jpg
13814580_1114827238572184_1744471444_n.jpg (110.22 KiB) เปิดดู 10497 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 20 ก.ค. 2016 8:21 am

13815177_1114827165238858_1098009769_n.jpg
13815177_1114827165238858_1098009769_n.jpg (128.49 KiB) เปิดดู 10497 ครั้ง


13819574_1114827218572186_5411553_n.jpg
13819574_1114827218572186_5411553_n.jpg (93.94 KiB) เปิดดู 10497 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 20 ก.ค. 2016 8:25 am

13816998_1114827048572203_920611591_n.jpg
13816998_1114827048572203_920611591_n.jpg (76.07 KiB) เปิดดู 10497 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: ของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โพสต์โดย pasasiam » อาทิตย์ 18 ก.ย. 2016 6:54 pm

การย้ายพระเจ้าล้านทองไปยังวิหารหลังใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๑๓
พระเจ้าล้านทอง หรือพระเจ้าหลวง พระพุทธรูปโบราณประจำวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พระเจ้าล้านทอง นั้น พระเมืองเกษเกล้าได้ทรงดำริให้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก สมัยท้าวเชียงตงครองเมืองพร้าววังหิน พระเมืองเกษเกล้า ครองเมืองเชียงใหม่ ข้อมูลจากหลักฐานที่ฐานพระพุทธรูปซึ่งมีข้อความจารึกเป็น หนังสือลายฝักขามว่า " ศาสนาพระได ๒๐๖๙ วัสสาแล…๘๘๘ ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก"

พระเจ้าล้านทอง ( พระเจ้าล้านตอง ) ถูกขนานนามว่า " พระเจ้าหลวง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพร้าววังหินมาช้านาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก ๑๘๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๗๔ เซนติเมตร

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๒ ตอนที่ ๒ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

14264037_234420406956153_5999960027619919300_n.jpg
14264037_234420406956153_5999960027619919300_n.jpg (106.8 KiB) เปิดดู 10445 ครั้ง


14390964_234422106955983_8246102776318712626_n.jpg
14390964_234422106955983_8246102776318712626_n.jpg (35.43 KiB) เปิดดู 10445 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน

cron