
- 22222.jpg (181.4 KiB) เปิดดู 93720 ครั้ง
ชีวิตของคนชนบทเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและความสุข ในช่วงต้นๆของชีวิตนั้น ด้วยความที่ข้าพเจ้าเป็นหลานคนเดียว พวกน้าๆจึงอยากให้ไปนอนด้วย ทว่าพอได้ครึ่งคืนข้าพเจ้าก็จะร้องไห้หาแม่ แต่พอนานไปก็ชิน จึงเปลี่ยนที่นอนเป็นว่าเล่น แต่ถึงจะไม่ได้ไปนอนกับน้าๆ ตอนเช้าก็จะมีคนมาปลุกให้ข้าพเจ้าตื่นอยู่ดี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่น้าๆจะตื่นแต่เช้ามืดเพื่อกวาดเศษใบไม้ ทำความสะอาดบ้าน แต่ข้าพเจ้าว่าคงนอนไม่หลับมากกว่า เพราะพอย่างเข้าเที่ยงคืนวันที่ ๑๒ เมษายน ก็จะมีเสียงประทัด เสียงเคาะเกราะ หรือแม้แต่เสียงปืนดังอยู่ตลอดเวลา แม่บอกว่าเขาทำเสียงดังแบบนั้นเพื่อไล่ขุนสังขานต์ ในขณะที่น้าๆบอกว่าให้รีบตื่นมาดูสังขานต์ตอนเช้าวันที่ ๑๓ เมษายน เพราะสังขานต์จะเดินทางมาปีละครั้งโดยเดินจากทิศเหนือไปทิศใต้ สังขานต์ จะตัวสูงใหญ่มีตะกร้าแบกไว้ที่หลังเพื่อเก็บขยะที่แต่ละบ้านกวาดไปรวมๆไว้ พอถึงตอนเช้าน้าๆก็จะตะโกนโหวกเหวกปลุกข้าพเจ้าให้ตื่นมาดูสังขานต์ แต่ลงมาทีไรสังขานต์ก็ไปเสียแล้วทุกที เพิ่งจะมารู้ตอนโตว่า แท้จริงแล้ว “ขุนสังขานต์” คือ สุริยเทพ ซึ่งเป็นบุคลาธิษฐานของพระอาทิตย์ดังตำราโบราณล้านนาชื่อ คัมภีร์สุริยาตร์ ได้กล่าวถึงการใช้การโคจรของ ดวงอาทิตย์เป็นหลักในการคำนวณและกำหนดวันเปลี่ยนศักราชใหม่ คือ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันแรก หรือประมาณช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกปี
วันสังขานต์ล่อง คือ วันแรกของวันสงกรานต์ ครอบครัวของเราจะช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ตัดใบตองมาตากแดดเตรียมไว้สำหรับที่จะห่อขนมและทำห่อนึ่ง สำหรับข้าพเจ้านั้นไม่มีหน้าที่ใดมากนัก จึงออกไปเล่นน้ำสงกรานต์กับเพื่อนๆพอตกเย็นก็กลับมาสระเกล้าดำหัว ซึ่งก็คือการสระผมนั่นเอง ทุกๆปีหนังสือปีใหม่เมืองจะระบุให้ทราบว่าจะต้องสระผมไปทางทิศใด เมื่อสระผม อาบน้ำ แต่งตัว ใส่เสื้อผ้าใหม่แล้วจะต้องนำดอกไม้ชนิดใดมาเหน็บมวยผม สงกรานต์เป็นช่วงเวลาความสุขของข้าพเจ้า เพราะนอกจากจะเป็นประเพณีที่สนุกสนานแล้ว ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลๆยังกลับมาบ้านพร้อมหน้าพร้อมตาอีกด้วย
ถัดจากวันสงขานต์ล่องเป็น วันเนาว์ หรือ วันเน่า แม่สอนว่าในวันนี้ห้ามพูดจาไม่ดี ห้ามด่าทอคนอื่น ในวันเนาว์นี้เป็นวันขนทรายเข้าวัด ซึ่งเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าโดยตรง ข้าพเจ้าจะเป็นตัวแทนของครอบครัวไปขนทรายทุกปี โดยเราจะไม่ใช้ทรายจากลำคลองเพราะถือว่าไม่สะอาดพอ ทรายที่ใช้จะเป็นทรายในนา ข้าพเจ้าจะถือน้ำคุ ถังน้ำเล็กๆไปขนจนครบจำนวนคนในบ้าน ตักทรายได้ก็วิ่งแข่งกับเพื่อนแต่ก็ต้องระวังคันนาให้ดี มิเช่นนั้นอาจจะหกคะเมนตีลังกาได้ ทรายที่ขนมานั้นทางวัดจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เอาไว้ปัก ตุงตั๋วเปิ้ง หรือ ตุงนักษัตรในวันพญาวันนั่นเอง เมื่อขนทรายเสร็จแล้วข้าพเจ้าก็จะรีบกลับบ้านเพื่อไปกินขนมจ็อกหรือขนมเทียน กับห่อนึ่งที่แม่ทำเตรียมไว้ไปวัดและเผื่อแผ่ถึงทุกคนในบ้านด้วย คนทางภาคเหนือจะทำเช่นนี้ทุกบ้าน สำหรับข้าพเจ้านั้นถ้าครั้งไหนกลับมาทันแม่ทำขนมก็จะช่วยนวดแป้งและห่อขนม แรกๆก็ห่อขนมไม่ค่อยสวยเนื่องจากไม่มีมุม แต่ทุกอย่างก็พัฒนาไปตามวัย พอโตขึ้นการห่อขนมหรือห่อนึ่งก็พัฒนาตาม ทว่าข้าพเจ้ากลับไม่ค่อยได้ทำ เหตุเพราะรับราชการอยู่ไกลบ้าน
วันที่สามของปีใหม่เมือง คือ วันพญาวัน ข้าพเจ้าจะถูกจับแต่งตัวแต่เช้าเพื่อไปวัดกับพ่อแม่ โดยพ่อจะแยกไปตานขันข้าวให้ญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนแม่จะไปตักบาตรบนวิหาร ส่วนเด็กๆอย่างข้าพเจ้าก็วิ่งไปทางนั้นทีทางนี้ที จนเบื่อก็กลับบ้านไปทำหน้าที่แท้จริงของตนเอง นั่นคือ การดำหัวญาติผู้ใหญ่ การดำหัวของครอบครัวเรานั้นใช้เวลาเกือบทั้งวัน ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นโดยไปดำหัวอุ๊ยหม่อนก่อน แล้วตามด้วยการดำหัวปู่ จากนั้นจึงตามป้ากับน้าๆออกจากบ้านไปดำหัวพี่ๆน้องๆของปู่กับย่า นับจำนวนแล้วสิบกว่าท่าน เมื่อกลับมาก็ต้องนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่พวกเราเรียกว่า “รถเอ็นตาโร่”เพื่อไปดำหัวตากับยายที่ต่างหมู่บ้านอีก จวบจนหมดวันข้าพเจ้าจะมีด้ายไหมมือ หรือสายสิญจน์มัดอยู่เต็มข้อมือราวกับเพิ่งผ่านพิธีเรียกขวัญมาหยกๆ
วันที่สี่ของวันสงกรานต์ คือ วันปากปี วันนี้จะมีกิจกรรมสำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่เช้าแม่จะนำเสื้อผ้าของทุกคนในบ้านไปสะเดาะเคราะห์ที่วัด หลังจากนั้นช่วงสายๆจะเป็นพิธีส่งเคราะห์บ้าน ช่วงบ่ายก็พากันไปแห่ไม้ค้ำ และดำหัววัด คือ การดำหัววัดต่างๆในละแวกใกล้เคียง ในวันนี้ทุกบ้านจะแกงขนุนตามความเชื่อที่ว่าจะได้มีสิ่งดีๆมาหนุนนำตลอดปี นอกจากนี้ในช่วงกลางคืนยังมีการจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย และเทียนที่เขียนชื่อ วันเดือนปีเกิดของคนในบ้านเพื่อเป็นการต่ออายุและเสริมดวงให้แก่ทุกคนอีกด้วย
ประเพณีสงกรานต์นั้นเป็นประเพณีแห่งการเริ่มต้นจึงมีความละเอียดอ่อนและพิถีพิถัน นอกจากวันปากปีแล้ว วันที่ห้าของสงกรานต์ยังเป็นวันปากเดือน วันที่หกเป็นวันปากวัน แต่สองวันหลังนี้จะไม่มีพิธีการใดๆ เป็นการพักผ่อนหย่อนใจและอยู่กับครอบครัวเสียมากกว่า กระนั้นก็ยังมีญาติพี่น้องจากต่างอำเภอทยอยมาดำหัวอุ๊ยหม่อน และปู่อยู่ประปราย เนื่องจากในวันพญาวันและวันปากปีเหล่าญาติๆก็ล้วนแต่มีกิจกรรมในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน
เนื่องจากครอบครัวของเราเป็นครอบครัวเกษตรกร หลังสงกรานต์ยังไม่มีการเพาะปลูกใดๆจึงค่อนข้างว่าง ข้าพเจ้าวิเคราะห์เอาเองว่าน่าจะเป็นเพราะช่วงนี้มักจะมีพายุเข้า ทุกครัวเรือนจึงรอให้ผ่านพ้นช่วงมรสุมไปก่อน ข้าพเจ้าจำได้ว่า ช่วงหลังสงกรานต์จะมีพายุรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง พอตกบ่ายท้องฟ้าจะมืดครึ้มเป็นสีดำทะมึน พ่อแม่จะห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าลงจากบ้านไปไหน แต่กระนั้นก็ยังไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก เพราะลมพายุนั้นพัดแรงจนข้าพเจ้ารู้สึกว่าเสาเรือนโอนเอน และหลายครั้งที่กระเบื้องถึงกับปลิวหลุดออกไปจากหลังคา แต่ข้าพเจ้าจะอยู่ในบ้านแค่ช่วงที่พ่อกับแม่อยู่บ้านเท่านั้น หากท่านไม่อยู่ข้าพเจ้าก็มักจะวิ่งตากฝนในข่วงบ้านจนสาแกใจแล้วก็ไปเล่นน้ำรางรินที่บ้านปู่ จนฝนหยุดตกค่อยวิ่งไปหลังบ้านบริเวณที่เป็นป่าละเมาะบ้านแม่ต๋า ซึ่งบริเวณนั้นจะมีมะม่วงแก้มแดงอยู่ต้นหนึ่ง ลำต้นของมันสูงมากจนยากที่จะเอาไม้ส้าวสอยผลสุกลงมาได้ ก็ต้องรอจังหวะมีลมพายุนี่แหละที่มันจะร่วงลงมาเอง อันที่จริงใกล้ๆกันก็มีมะม่วงน้ำตาลอยู่ต้นหนึ่งแต่ข้าพเจ้าไม่ชอบรสชาติของมันเท่าใดนัก เพราะหวานเกินไป สู้มะม่วงแก้มแดงที่มีรสชาติหวานซ่อนเปรี้ยวไม่ได้ ที่สำคัญการได้ช่วงชิงกับเพื่อนๆที่มักจะวิ่งมาเก็บมะม่วงเป็นเรื่องที่สนุกมาก อันที่จริงพอใครเก็บได้ก็เอามาแบ่งกันกิน แต่การได้วิ่งไปถึงก่อนนั้นเป็นเรื่องที่พวกเราภูมิใจราวกับได้รับรางวัลจากการวิ่งระดับโลกก็ไม่ปาน
มัวแต่บรรยายเรื่องลมพายุเสียนาน ทำให้ข้าพเจ้าลืมกล่าวถึงช่วงเวลากลางวันหลังสงกรานต์ซึ่งเป็นเวลาที่ข้าพเจ้าประทับใจมาก เนื่องจากญาติพี่น้องจะวนเวียนมาพบกันและสถานที่อันเป็นที่ชุมนุมคือใต้ถุนบ้านของปู่ ภาพบ้านไม้ทรงโบราณยังประทับในความทรงจำของข้าพเจ้าเสมอ บ้านไม้ใต้ถุนสูงขนาดกลาง แต่ไม่ได้มีการเลี้ยงวัวควายเหมือนบ้านอื่น ส่วนด้านล่างที่ติดพื้นดินเยื้องไปทางทิศเหนือของตัวบ้านมีการต่อเติมเพื่อทำเป็นลานกิจกรรมของครอบครัว ห้องครัว และชานเรือนที่ไม่มีหลังคา สำหรับวางโอ่งมังกร และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้น้ำ แต่ส่วนที่เป็นใต้ถุนจริงๆนั้นปล่อยให้เป็นลานโล่ง บริเวณนั้นเป็นดินเหนียวและแข็งมาก ปู่จะนำแคร่ไม้ขนาดใหญ่ไปตั้งไว้ ๒ ตัว พอกลางวันแดดร้อนๆก็ตักน้ำใส่ฝักบัวมารดพื้นทำให้บริเวณนั้นเย็นสบาย พอตกบ่ายพวกน้าๆก็มักจะพากันตำส้มตำ ฝานมะม่วงกินกับน้ำพริกน้ำอ้อย หรือช่วงไหนที่มีคนขึ้นมะพร้าวก็จะขูดเอามะพร้าวอ่อนใส่กะละมัง เทน้ำมะพร้าวลงไป ใส่ข้าวเหนียว แล้วเติมน้ำอ้อยให้รสหวานขึ้น ก่อนที่จะใส่น้ำแข็งลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย เราเรียกมันว่ามะพร้าวจ๋าวน้ำอ้อย ซึ่งเป็นอาหารที่อร่อย กินแล้วสดใส เย็นชื่นใจจริงๆ
ชีวิตของคนชนบทเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและความสุข ในช่วงต้นๆของชีวิตนั้น ด้วยความที่ข้าพเจ้าเป็นหลานคนเดียว พวกน้าๆจึงอยากให้ไปนอนด้วย ทว่าพอได้ครึ่งคืนข้าพเจ้าก็จะร้องไห้หาแม่ แต่พอนานไปก็ชิน จึงเปลี่ยนที่นอนเป็นว่าเล่น แต่ถึงจะไม่ได้ไปนอนกับน้าๆ ตอนเช้าก็จะมีคนมาปลุกให้ข้าพเจ้าตื่นอยู่ดี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่น้าๆจะตื่นแต่เช้ามืดเพื่อกวาดเศษใบไม้ ทำความสะอาดบ้าน แต่ข้าพเจ้าว่าคงนอนไม่หลับมากกว่า เพราะพอย่างเข้าเที่ยงคืนวันที่ ๑๒ เมษายน ก็จะมีเสียงประทัด เสียงเคาะเกราะ หรือแม้แต่เสียงปืนดังอยู่ตลอดเวลา แม่บอกว่าเขาทำเสียงดังแบบนั้นเพื่อไล่ขุนสังขานต์ ในขณะที่น้าๆบอกว่าให้รีบตื่นมาดูสังขานต์ตอนเช้าวันที่ ๑๓ เมษายน เพราะสังขานต์จะเดินทางมาปีละครั้งโดยเดินจากทิศเหนือไปทิศใต้ สังขานต์ จะตัวสูงใหญ่มีตะกร้าแบกไว้ที่หลังเพื่อเก็บขยะที่แต่ละบ้านกวาดไปรวมๆไว้ พอถึงตอนเช้าน้าๆก็จะตะโกนโหวกเหวกปลุกข้าพเจ้าให้ตื่นมาดูสังขานต์ แต่ลงมาทีไรสังขานต์ก็ไปเสียแล้วทุกที เพิ่งจะมารู้ตอนโตว่า แท้จริงแล้ว “ขุนสังขานต์” คือ สุริยเทพ ซึ่งเป็นบุคลาธิษฐานของพระอาทิตย์ดังตำราโบราณล้านนาชื่อ คัมภีร์สุริยาตร์ ได้กล่าวถึงการใช้การโคจรของ ดวงอาทิตย์เป็นหลักในการคำนวณและกำหนดวันเปลี่ยนศักราชใหม่ คือ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันแรก หรือประมาณช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกปี
วันสังขานต์ล่อง คือ วันแรกของวันสงกรานต์ ครอบครัวของเราจะช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ตัดใบตองมาตากแดดเตรียมไว้สำหรับที่จะห่อขนมและทำห่อนึ่ง สำหรับข้าพเจ้านั้นไม่มีหน้าที่ใดมากนัก จึงออกไปเล่นน้ำสงกรานต์กับเพื่อนๆพอตกเย็นก็กลับมาสระเกล้าดำหัว ซึ่งก็คือการสระผมนั่นเอง ทุกๆปีหนังสือปีใหม่เมืองจะระบุให้ทราบว่าจะต้องสระผมไปทางทิศใด เมื่อสระผม อาบน้ำ แต่งตัว ใส่เสื้อผ้าใหม่แล้วจะต้องนำดอกไม้ชนิดใดมาเหน็บมวยผม สงกรานต์เป็นช่วงเวลาความสุขของข้าพเจ้า เพราะนอกจากจะเป็นประเพณีที่สนุกสนานแล้ว ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลๆยังกลับมาบ้านพร้อมหน้าพร้อมตาอีกด้วย
ถัดจากวันสงขานต์ล่องเป็น วันเนาว์ หรือ วันเน่า แม่สอนว่าในวันนี้ห้ามพูดจาไม่ดี ห้ามด่าทอคนอื่น ในวันเนาว์นี้เป็นวันขนทรายเข้าวัด ซึ่งเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าโดยตรง ข้าพเจ้าจะเป็นตัวแทนของครอบครัวไปขนทรายทุกปี โดยเราจะไม่ใช้ทรายจากลำคลองเพราะถือว่าไม่สะอาดพอ ทรายที่ใช้จะเป็นทรายในนา ข้าพเจ้าจะถือน้ำคุ ถังน้ำเล็กๆไปขนจนครบจำนวนคนในบ้าน ตักทรายได้ก็วิ่งแข่งกับเพื่อนแต่ก็ต้องระวังคันนาให้ดี มิเช่นนั้นอาจจะหกคะเมนตีลังกาได้ ทรายที่ขนมานั้นทางวัดจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เอาไว้ปัก ตุงตั๋วเปิ้ง หรือ ตุงนักษัตรในวันพญาวันนั่นเอง เมื่อขนทรายเสร็จแล้วข้าพเจ้าก็จะรีบกลับบ้านเพื่อไปกินขนมจ็อกหรือขนมเทียน กับห่อนึ่งที่แม่ทำเตรียมไว้ไปวัดและเผื่อแผ่ถึงทุกคนในบ้านด้วย คนทางภาคเหนือจะทำเช่นนี้ทุกบ้าน สำหรับข้าพเจ้านั้นถ้าครั้งไหนกลับมาทันแม่ทำขนมก็จะช่วยนวดแป้งและห่อขนม แรกๆก็ห่อขนมไม่ค่อยสวยเนื่องจากไม่มีมุม แต่ทุกอย่างก็พัฒนาไปตามวัย พอโตขึ้นการห่อขนมหรือห่อนึ่งก็พัฒนาตาม ทว่าข้าพเจ้ากลับไม่ค่อยได้ทำ เหตุเพราะรับราชการอยู่ไกลบ้าน
วันที่สามของปีใหม่เมือง คือ วันพญาวัน ข้าพเจ้าจะถูกจับแต่งตัวแต่เช้าเพื่อไปวัดกับพ่อแม่ โดยพ่อจะแยกไปตานขันข้าวให้ญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนแม่จะไปตักบาตรบนวิหาร ส่วนเด็กๆอย่างข้าพเจ้าก็วิ่งไปทางนั้นทีทางนี้ที จนเบื่อก็กลับบ้านไปทำหน้าที่แท้จริงของตนเอง นั่นคือ การดำหัวญาติผู้ใหญ่ การดำหัวของครอบครัวเรานั้นใช้เวลาเกือบทั้งวัน ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นโดยไปดำหัวอุ๊ยหม่อนก่อน แล้วตามด้วยการดำหัวปู่ จากนั้นจึงตามป้ากับน้าๆออกจากบ้านไปดำหัวพี่ๆน้องๆของปู่กับย่า นับจำนวนแล้วสิบกว่าท่าน เมื่อกลับมาก็ต้องนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่พวกเราเรียกว่า “รถเอ็นตาโร่”เพื่อไปดำหัวตากับยายที่ต่างหมู่บ้านอีก จวบจนหมดวันข้าพเจ้าจะมีด้ายไหมมือ หรือสายสิญจน์มัดอยู่เต็มข้อมือราวกับเพิ่งผ่านพิธีเรียกขวัญมาหยกๆ
วันที่สี่ของวันสงกรานต์ คือ วันปากปี วันนี้จะมีกิจกรรมสำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่เช้าแม่จะนำเสื้อผ้าของทุกคนในบ้านไปสะเดาะเคราะห์ที่วัด หลังจากนั้นช่วงสายๆจะเป็นพิธีส่งเคราะห์บ้าน ช่วงบ่ายก็พากันไปแห่ไม้ค้ำ และดำหัววัด คือ การดำหัววัดต่างๆในละแวกใกล้เคียง ในวันนี้ทุกบ้านจะแกงขนุนตามความเชื่อที่ว่าจะได้มีสิ่งดีๆมาหนุนนำตลอดปี นอกจากนี้ในช่วงกลางคืนยังมีการจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย และเทียนที่เขียนชื่อ วันเดือนปีเกิดของคนในบ้านเพื่อเป็นการต่ออายุและเสริมดวงให้แก่ทุกคนอีกด้วย
ประเพณีสงกรานต์นั้นเป็นประเพณีแห่งการเริ่มต้นจึงมีความละเอียดอ่อนและพิถีพิถัน นอกจากวันปากปีแล้ว วันที่ห้าของสงกรานต์ยังเป็นวันปากเดือน วันที่หกเป็นวันปากวัน แต่สองวันหลังนี้จะไม่มีพิธีการใดๆ เป็นการพักผ่อนหย่อนใจและอยู่กับครอบครัวเสียมากกว่า กระนั้นก็ยังมีญาติพี่น้องจากต่างอำเภอทยอยมาดำหัวอุ๊ยหม่อน และปู่อยู่ประปราย เนื่องจากในวันพญาวันและวันปากปีเหล่าญาติๆก็ล้วนแต่มีกิจกรรมในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน
เนื่องจากครอบครัวของเราเป็นครอบครัวเกษตรกร หลังสงกรานต์ยังไม่มีการเพาะปลูกใดๆจึงค่อนข้างว่าง ข้าพเจ้าวิเคราะห์เอาเองว่าน่าจะเป็นเพราะช่วงนี้มักจะมีพายุเข้า ทุกครัวเรือนจึงรอให้ผ่านพ้นช่วงมรสุมไปก่อน ข้าพเจ้าจำได้ว่า ช่วงหลังสงกรานต์จะมีพายุรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง พอตกบ่ายท้องฟ้าจะมืดครึ้มเป็นสีดำทะมึน พ่อแม่จะห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าลงจากบ้านไปไหน แต่กระนั้นก็ยังไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก เพราะลมพายุนั้นพัดแรงจนข้าพเจ้ารู้สึกว่าเสาเรือนโอนเอน และหลายครั้งที่กระเบื้องถึงกับปลิวหลุดออกไปจากหลังคา แต่ข้าพเจ้าจะอยู่ในบ้านแค่ช่วงที่พ่อกับแม่อยู่บ้านเท่านั้น หากท่านไม่อยู่ข้าพเจ้าก็มักจะวิ่งตากฝนในข่วงบ้านจนสาแกใจแล้วก็ไปเล่นน้ำรางรินที่บ้านปู่ จนฝนหยุดตกค่อยวิ่งไปหลังบ้านบริเวณที่เป็นป่าละเมาะบ้านแม่ต๋า ซึ่งบริเวณนั้นจะมีมะม่วงแก้มแดงอยู่ต้นหนึ่ง ลำต้นของมันสูงมากจนยากที่จะเอาไม้ส้าวสอยผลสุกลงมาได้ ก็ต้องรอจังหวะมีลมพายุนี่แหละที่มันจะร่วงลงมาเอง อันที่จริงใกล้ๆกันก็มีมะม่วงน้ำตาลอยู่ต้นหนึ่งแต่ข้าพเจ้าไม่ชอบรสชาติของมันเท่าใดนัก เพราะหวานเกินไป สู้มะม่วงแก้มแดงที่มีรสชาติหวานซ่อนเปรี้ยวไม่ได้ ที่สำคัญการได้ช่วงชิงกับเพื่อนๆที่มักจะวิ่งมาเก็บมะม่วงเป็นเรื่องที่สนุกมาก อันที่จริงพอใครเก็บได้ก็เอามาแบ่งกันกิน แต่การได้วิ่งไปถึงก่อนนั้นเป็นเรื่องที่พวกเราภูมิใจราวกับได้รับรางวัลจากการวิ่งระดับโลกก็ไม่ปาน
มัวแต่บรรยายเรื่องลมพายุเสียนาน ทำให้ข้าพเจ้าลืมกล่าวถึงช่วงเวลากลางวันหลังสงกรานต์ซึ่งเป็นเวลาที่ข้าพเจ้าประทับใจมาก เนื่องจากญาติพี่น้องจะวนเวียนมาพบกันและสถานที่อันเป็นที่ชุมนุมคือใต้ถุนบ้านของปู่ ภาพบ้านไม้ทรงโบราณยังประทับในความทรงจำของข้าพเจ้าเสมอ บ้านไม้ใต้ถุนสูงขนาดกลาง แต่ไม่ได้มีการเลี้ยงวัวควายเหมือนบ้านอื่น ส่วนด้านล่างที่ติดพื้นดินเยื้องไปทางทิศเหนือของตัวบ้านมีการต่อเติมเพื่อทำเป็นลานกิจกรรมของครอบครัว ห้องครัว และชานเรือนที่ไม่มีหลังคา สำหรับวางโอ่งมังกร และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้น้ำ แต่ส่วนที่เป็นใต้ถุนจริงๆนั้นปล่อยให้เป็นลานโล่ง บริเวณนั้นเป็นดินเหนียวและแข็งมาก ปู่จะนำแคร่ไม้ขนาดใหญ่ไปตั้งไว้ ๒ ตัว พอกลางวันแดดร้อนๆก็ตักน้ำใส่ฝักบัวมารดพื้นทำให้บริเวณนั้นเย็นสบาย พอตกบ่ายพวกน้าๆก็มักจะพากันตำส้มตำ ฝานมะม่วงกินกับน้ำพริกน้ำอ้อย หรือช่วงไหนที่มีคนขึ้นมะพร้าวก็จะขูดเอามะพร้าวอ่อนใส่กะละมัง เทน้ำมะพร้าวลงไป ใส่ข้าวเหนียว แล้วเติมน้ำอ้อยให้รสหวานขึ้น ก่อนที่จะใส่น้ำแข็งลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย เราเรียกมันว่ามะพร้าวจ๋าวน้ำอ้อย ซึ่งเป็นอาหารที่อร่อย กินแล้วสดใส เย็นชื่นใจจริงๆ