เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

ทำสวนผสมผสานทั้งปลูกพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม

เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:31 pm

เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์ซึ่งทางบ้านเพียงพอได้รวบรวมไว้สำหรับผู้ต้องการศึกษา ขอขอบพระคุณนักวิชาการการเกษตรและปศุสัตว์รวมไปถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำให้เราได้ความรู้อย่างไม่จบสิ้นมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

pohpiang9999_resize.jpg
pohpiang9999_resize.jpg (105.47 KiB) เปิดดู 18364 ครั้ง


1411208911-85876attac-o.gif
1411208911-85876attac-o.gif (12.75 KiB) เปิดดู 18364 ครั้ง


บ้านในฝัน “บ้านเพียงพอ” ตั้งอยู่ หมู่ ๗ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

เป้าหมาย : ทำสวนผสมผสานทั้งปลูกพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม


"บ้านเพียงพอ" เริ่มต้นจากความรักธรรมชาติผสมผสานความรักในวิถีชาวบ้าน วิถีล้านนา ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ทีละนิดทีละหน่อย สร้างและทำให้งดงาม น่าอยู่ ทำทุกอย่างด้วยมือ รังสรรค์ด้วยใจ

#บ้านเพียงพอ เราอยู่อย่างพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงไม่จำเป็นต้องเป็นการเกษตรอย่างเดียว แต่เราเป็นครอบครัวเกษตรกรค่ะ เราจึงเลือกที่จะใช้พื้นที่มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษให้เกิดประโยชน์ เราวางแผน เราลงมือทำอย่างตั้งใจ เราไม่เอาเปรียบใคร และมีความสุขที่ได้ทำ

ผลผลิต : ปลาช่อน ปลาดุก ปลานิล กุ้งก้ามแดง มะละกอแขกนวลดำเนิน มันหวานญี่ปุ่น มันหวานไต้หวัน ผักกาด ผักกาดขาว ลำไย กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ กล้วย สตรอว์เบอร์รี่(พระราชทาน๘๐)แตงโม ข้าวโพด ทานตะวันเหลือง ทานตะวันแดง แกลดิโอลัส ไพรีทรัม บัวดิน ทองเศรษฐี พีทูเนียสีม่วง-ชมพู(ฟิปโตไลซี่) แอฟริกันเดซี โซลันนาโกลเดน พระจันทร์ทรงกลด ดาวกระจายฝรั่งเศส แอสเตอร์ฝรั่งเศส ผักเสี้ยนฝรั่งเศส สร้อยไก่ ดอกบัว ดาวเรือง ฮอลลี่ฮอค เบญจมาศรัศมี กัลปพฤกษ์(๔) ชมพูพันธุ์ทิพย์(๒) นางพญาเสือโคร่ง(๔) ประดู่แดง(๒) ราชพฤกษ์(๔) อินทนิล(๒) สุพรรณิการ์(๒) แตงโม ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ แพงพวยฝรั่งเศส แตงไทย(ทองสุข) รักเร่(รักแรกดินเนอร์แพลต) มะม่วง แอปเปิ้ล

พันธุ์ดอกบัว : บัวหลวง(สีขาว-ชมพู) , บัวฉัตร(สีขาว-ชมพู) , โอปอล(สีชมพู) , เลดี้บลู(สีน้ำเงินอมม่วง) , มาลิเอเชียเฟลมเมีย(สีชมพู) , มังคลอุบล(สีเหลืองเข้ม) , โคลอสเซีย(สีขาว) , อีฟลียแรนดิก(สีชมพูหวาน) , วันวิสาข์(สีส้ม) , เดนเวอร์(ขาวซ้อน) , พีชโกลว์(สีขาวอมชมพู)


ชมความงดงามตามธรรมชาติ ติดตามเพจ บ้านไร่ในฝัน บ้านเพียงพอ https://www.facebook.com/banrainaifunbanpiangpor/

เพจ กุ้งก้ามแดง https://www.facebook.com/namfarcrayfishchiangmai/
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:36 pm

เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้

๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ

๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้

เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้

เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม

การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้

แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง

๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต

๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต

๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง

๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ

๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภาย นอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก

ทฤษฎีใหม่

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ

พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอด ปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ


ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง

เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน

(๑) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)

- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก

(๒) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)

- เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย

(๓) การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)

- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง

(๔) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)

- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

(๕) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)

- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชมชนเอง

(๖) สังคมและศาสนา

- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว

โดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม

เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ

- เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)

- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)

- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)

- ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
แก้ไขล่าสุดโดย บ้านเพียงพอ เมื่อ จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:41 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:37 pm

หลักการและแนวทางสำคัญ

๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับ ที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วย

๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ

๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ ๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลง ประกอบด้วย

- นาข้าว ๕ ไร่

- พืชไร่ พืชสวน ๕ ไร่

- สระน้ำ ๓ ไร่ ขุดลึก ๔ เมตร จุน้ำได้ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง

- ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่

รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่

แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้

- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึก หรือตื้น และแคบ หรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อยๆ

การมีสระเก็บน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดี มีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อจะได้มีผลผลิตอื่นๆ ไว้บริโภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดทั้งปี

๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัว เฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ เป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
ร้อยละ ๓๐ ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) บนสระอาจสร้างเล้าไก่และบนขอบสระน้ำอาจปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ใช้น้ำมากโดยรอบ ได้

ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สอง ทำนา

ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)

ร้อยละ ๑๐ สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อ หรือสระเก็บน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไปได้

๕. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น เกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย และที่สำคัญ คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดสระน้ำ เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากส่วนราชการ มูลนิธิ และเอกชน

๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดี ควรนำไปกองไว้ต่างหากเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี หรืออาจนำมาถมทำขอบสระน้ำ หรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผลก็จะได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง
ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง

ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ฯลฯ

ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น

เห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น

สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไท บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น

ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น

พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง

พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้

หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ผลแทน เป็นต้น

สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่

สัตว์น้ำ : ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้

สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้

ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่

๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”

๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน

๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่า ใช้จ่ายต่างๆ

๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

ทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์

ทฤษฎีใหม่ที่ดำเนินการโดยอาศัยแหล่งน้ำ ธรรมชาติ น้ำฝน จะอยู่ในลักษณะ “หมิ่นเหม่” เพราะหากปีใดฝนน้อย น้ำอาจจะไม่เพียงพอ ฉะนั้น การที่จะทำให้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องมีสระเก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ โดยการมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเพิ่มเติมน้ำในสระเก็บกักน้ำให้เต็มอยู่ เสมอ ดังเช่น กรณีของการทดลองที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ จังหวัดสระบุรี

ที่มา เว็บไซต์มูลนิธิชัยพัฒนา
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:39 pm

การปลูกแกลดิโอลัส

14045754_1802216816692823_7282926447086775745_n_resize.jpg
14045754_1802216816692823_7282926447086775745_n_resize.jpg (42.91 KiB) เปิดดู 18363 ครั้ง


การปลูกแกลดิโอลัสโดยทั่วไปในปัจจุบัน มักปลูกจากหัว ความลึกในการปลูกมีผลต่อการออกดอก ตั้งแต่ 3-6 วัน ถ้าปลูกลึกเกินไปจะให้ช่อดอกช้าไป หรือถ้าปลูกตื้นเกินไป ช่อดอกก็ไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ แต่การปลูกตื้นจะให้หัวใหม่ที่ใหญ่ และมีปริมาณหัวย่อยมากกว่า การปลูกลึกปกติในดินทรายจะปลูกลึกประมาณ 4-5 นิ้ว ถ้าหัวใหญ่กว่าปกติก็ปลูกลึกถึง 6 นิ้ว ถ้าเล็กกว่าปกติก็ปลูกลึก 2-4 นิ้ว ในดินหมักควรปลูกตื้นกว่าดินทรายคือลึกประมาณ 3-4 นิ้ว สำหรับการปลูกด้วยหัวย่อยควรให้ลึกเพียง 1 นิ้ว สำหรับระยะในการปลูกขึ้นอยู่กับขนาดของหัว ถ้าหัวใหญ่ก็ควรปลูกห่างกันประมาณ 6 นิ้ว ถ้าหัวเล็กก็ห่างกันเพียง 4 นิ้วก็พอ โดยปลูกเป็นแถว แต่ละแถวห่างกันประมาณ 18-24 นิ้ว ในการปลูกด้วยหัวย่อย หลังจากปลูกควรให้น้ำอย่าให้ขาด เพราะความร้อนจากแสงแดดจัด ๆ เพียง 4-5 ชั่วโมง สามารถทำลายความงอกได้ในขณะที่ปลูกทางที่ดีควรแช่หัวย่อยไว้ในน้ำสัก 1 วัน ก่อนทำการปลูก จากนั้นเอาออกมาผึ่งไว้ในอากาศประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วจึงปลูก หลังการปลูกด้วยหัวย่อย ควรมีการให้น้ำอย่างพอเพียง

หลังปลูกแล้วควรมีการคลุมดินเมื่อต้นสูงประมาณ 1 ฟุต วิธีนี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในดินทราย เพราะจะช่วยป้องกันการระเหยน้ำของดิน รักษาความชื้น และยังควบคุมวัชพืชได้ด้วย

ในการปลูกแกลดิโอลัสโดยใช้หัวปลูก ก่อนปลูกควรทำการคัดขนาดของหัวเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การเจริญเติบโตของต้นมีความสม่ำเสมอกันตลอดทั้งแถว โดยปกติแล้วจะแบ่งขนาดของหัวออกเป็น 7 ขนาดด้วยกัน (ขนาด Jumbo มี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ corm มากกว่า 2 นิ้ว และ No.6 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ corm น้อยกว่า ½ ” )

หลังจากแบ่งขนาดแล้ว ต้องตรวจดูว่าหัวมีโรคทำลายหรือไม่ หัวที่ได้ขนาดควรจะมีลักษณะที่แน่น ผิวเรียบและเป็นมัน หัวที่แตกหรือเป็นจุดช้ำ แสดงถึงลักษณะการเข้าทำลายของโรค ควรทำลายเสียเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ปลูกพบอยู่เสมอนั้นคือหัวไม่งอก ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการฟักตัว ซึ่งทั้งหัวและหัวย่อยของแกลดิโอลัสจะมีระยะฟักตัวนานมาก ถ้าไม่มีการทำลายการฟักตัวก่อนที่จะนำไปปลูก หัวหรือหัวย่อยนั้น จะไม่งอกตามที่เราต้องการ มีข้อที่ควรพิจารณาในเรื่องการฟักตัวและการงอกของหัวและหัวย่อยของแกลดิโอลัสอยู่ 3 ทาง คือ

1. ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนงอก

2. ระยะเวลาการงอกของหัวแรกและหัวสุดท้ายที่งอกจากจำนวนที่ปลูกพร้อม ๆ กัน

3. เปอร์เซ็นต์ความงอกทั้งหมดของหัวที่ปลูก

ในปัจจุบันได้มีผู้พยายามที่จะทำลายการฟักตัวของซ่อนกลิ่นฝรั่ง ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 2 วิธี คือ

1. การใช้สารเคมี เท่าที่มีผู้ทดลองทำก็มีหลายอย่างด้วยกันเช่น
•การ treat ด้วย ethylene chlorhydrin ในอัตรา 0.5-4 ml. ต่อ 1 ลิตรของอากาศเป็น เวลา 2 วัน จะทำให้ย่นระยะเวลาการฟักตัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกอีกด้วย วิธีนี้แม้จะหมดเปลืองหากใช้ความเข้มข้นมากเกินไป แต่สามารถใช้ป้องกันโรคเท่าที่เกิดจากเชื้อ Fusarium ได้อีกด้วย
•แช่หัวในแอลกอฮอล์ 1 ชั่วโมง จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกและป้องกันโรคได้ แต่มีผลทำให้ใบของซ่อนกลิ่นฝรั่งเล็กลง และมี การเจริญเติบโตช้า แต่ต้นแข็งแรงดี
•Ethylene ether 1 ml. ต่อ 2 ลิตรของอากาศ

2. การควบคุมอุณหภูมิในที่เก็บหัว ในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิในโรงเก็บ ควรเก็บหัวในท้องที่มีอุณหภูมิต่ำ เป็นเวลาประมาณ 60-90 วัน แล้วจึงนำมาเก็บในอุณหภูมิธรรมดา 5-7 วัน จะสามารถทำลายการฟักตัว และได้ต้นแกลดิโอลัสที่แข็งแรง

การขยายพันธุ์แกลดิโอลัส


แกลดิโอลัสสามารถขยายพันธุ์ได้ 3 วิธี ด้วยกัน คือ

1. หัว คือส่วนหัวที่เจริญขึ้นมาจากการสะสมอาหารที่ส่วนฐานของใบ หัวจะมีเปลือกหุ้ม ป้องกันไม่ให้หัวได้รับอันตรายต่าง ๆ เช่น โรคต่างๆ ถ้าจะลอกเอาเปลือกนี้ออกควรทายากันราก่อนที่จะนำไปปลูก การปลูกจากหัวจะได้ต้นอ่อนซึ่งงอกจากตา ซึ่งเจริญมาจากฐานของหัว เมื่อปลูกได้ใบจริงยาวประมาณ 6-8 นิ้ว หัวเก่าก็จะเริ่มมีขนาดลดลงเพราะอาหารถูกใช้ไป ใน ขณะเดียวกันหัวใหม่ก็เกิดขึ้นที่โคนใบอยู่เหนือหัวเก่า และหัวใหม่นี้จะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนใบยาวประมาณ 12-15 นิ้ว ก็จะเกิดช่อดอกและหัวย่อยเล็ก ๆ ก็จะเริ่มเกิดขึ้นที่ฐานของหัวใหม่ไป เรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาที่ติดดอก หลังจากตัดดอกประมาณ 8 อาทิตย์ ก็สามารถเก็บหัวใหม่ และหัวย่อยที่เกิดขึ้นมาปลูกในฤดูต่อไป

2. หัวย่อย เป็นหัวเล็ก ๆ ที่เกิดมาพร้อม ๆ กับช่อดอกจาก corm ใต้ดิน เราสามารถนำไปปลูกขยายพันธุ์ได้ แต่ในฤดูแรกของการปลูกมันจะเกิดเป็นหัวก่อนระยะหนึ่ง และจะเกิดหัวย่อยขึ้นใหม่ด้วยพร้อม ๆ กันจากนั้นในฤดูการปลูกที่สองจึงจะให้ช่อดอกและเกิดหัวย่อยเพิ่มขึ้น หรือหัวย่อยที่เกิดขึ้นอาจจะเจริญเป็นหัวต่อไปอีก ถ้ามีอาหารเพียงพอ และสภาพแวดล้อมเหมาะสม จากการศึกษาการเจริญของซ่อนกลิ่นฝรั่งในปัจจุบันพบว่า ในบางครั้งจะไม่เกิดการฟักตัวของหัวและหัวย่อย เคยสามารถนำไปปลูกได้ทันที และเช่นเดียวกันหัวย่อยยังสามารถเจริญเป็นหัวที่มีขนาดใหญ่และเกิดหัวย่อยอีกด้วย พร้อมทั้งให้ดอกได้ โดยไม่ต้องรอฤดูปลูกที่สองก็มีให้เห็นอยู่เสมอ

3. เมล็ด เมล็ดของแกลดิโอลัสมีลักษณะกลม มีเยื่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งลักษณะคล้ายปีกบรรจุอยู่ในฝักเป็นแถว ๆ มี 3 แถวด้วยกัน การขยายพันธุ์จากเมล็ดนี้มักใช้ในด้านการหาพันธุ์ใหม่ หรือใช้ในด้านการคัดพันธุ์เก็บลักษณะที่ดีไว้เท่านั้น ไม่นิยมนำมาใช้ในการขยายพันธุ์เพื่อทำเป็นการค้า

การให้น้ำ

ในการให้น้ำควรให้อาทิตย์ละครั้งสองครั้ง ให้ลึกประมาณ ½ ” – 1” จะให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การให้น้ำไม่ควรให้มากเกินไป เพราะถ้าให้มากจะทำให้สีใบจางและมีผลกระทบกระเทือนต่อช่อดอก ถ้าอากาศแห้ง ควรรดน้ำเมื่อช่อดอกเริ่มแสดงอาการเหี่ยว

การให้ปุ๋ย

ก่อนนำหัวลงปลูกควรรองพื้นด้วยปุ๋ย N : P : K สูตร 5:7:4 ซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุด ในปุ๋ยควรจะมีเปอร์เซ็นต์ของเลือดแห้ง และกระดูกป่นเพื่อทดแทนปุ๋ยอนินทรีย์เคมีที่ถูกชะล้างไป วิธีการใส่ควรให้แบบ side dressing ระยะห่างประมาณ 6 นิ้ว จากต้นแล้วรดน้ำตาม ถ้าปลูกเป็นแถวใส่ให้ระหว่างแถวปลูกสำหรับ K ในปุ๋ยควรให้รูป sulphate มากกว่า muriate form ทั้งนี้เพราะ K ในรูปของ muriate form อาจเป็นอันตรายต่อต้นอ่อนได้ เมื่อเริ่มจะแทงช่อดอกควรให้ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง โดยให้สูตร 4 : 8 : 10 ในอัตรา 2-4 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ ¼ ไร่ การให้ปุ๋ยมากเกินไปจะทำให้ปลายใบไหม้ อาจทำให้เกิด neck rot และ fusarium wilt ได้ การให้ปุ๋ยแบบ side dressing เนื่องจากอาหารธาตุที่ให้เคลื่อนที่ช้าโดยเฉพาะในดิน red soil การให้ปุ๋ยแบบนี้จะให้ผลดีเมื่อใส่ในขณะที่เริ่มแทงช่อดอกและไม่ควรให้ปุ๋ย N มากเกินไป เนื่องจากทำให้ต้นอ่อนแอได้ง่าย และการเข้าทำลายของโรครามีมาก

การกำจัดวัชพืช

ยากำจัดวัชพืชที่ใช้กันอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งแบบสัมผัสตายและซึมซาบเข้าไปในทางเดินของอาหาร ชนิดที่ใช้ในการปลูกแกลดิโอลัสเป็นการค้าโดยทั่วไปมี :

Afalon อัตรา 2.5 ก.ก./6.25 ไร่

Hoe 2849 อัตรา 5 ก.ก./6.25 ไร่

Disoneb acetate 5 ก.ก./6.25 ไร่

Gasatop อัตรา 1.5 ก.ก./6.25 ไร่

สำหรับแห้วหมูที่เจริญในแปลงปลูกซ่อนกลิ่นฝรั่งนั้นมีผู้แนะนำให้ใช้ Dichobenil ซึ่งนับว่าได้ผลดี

การตัดดอกและเก็บหัว (corm)

การตัดดอกจะตัดได้เมื่อ 2 ดอกแรกถึง 4 ดอก เริ่มเห็นสีแต่ยังไม่แย้ม ในสภาพเช่นนี้ช่อดอกที่ได้จะไม่กระทบกระเทือนมากนักในการขนส่ง แต่ถ้ามีตลาดใกล้ ๆ อาจตัดในขณะที่เริ่มแย้มก็ได้ วิธีตัดก็โดยตัดในส่วนของลำต้นเฉียงเป็นเส้นทะแยงมุม โดยใช้มีดคมตัดเหลือใบที่สมบูรณ์ไว้บนต้นอย่างน้อย 4 ใบ เพื่อใช่ในการสร้างหัวใหม่ เมื่อตัดช่อดอกมาแล้วนำมาวางในภาชนะและควรรวบตั้ง ไม่ควรรวบนอน เพราะจะทำให้ยอดงอเนื่องจากการเบนโค้งเข้า หาแสง สำหรับเวลาในการตัดนั้นไม่ควรตัดในขณะที่มีอากาศร้อน จะทำให้ดอกเหี่ยวเร็ว แต่ถ้าจำเป็นต้องตัดในขณะที่มีอากาศร้อน ควรตัดแล้วแช่น้ำไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนส่งไปจำหน่ายจึงจะไม่เกิดการเสียก่อน

หลังจากตัดดอกแล้วควรให้ปุ๋ยแก่ต้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของหัวใหม่ หลังจากที่ตัดดอกแล้วประมาณ 30-50 วัน หรือบางพันธุ์อาจนานกว่านี้ หัวใหม่จะเจริญเต็มที่และพร้อมที่จะให้เก็บได้โดยหัวใหม่นี้จะเกิดส่วนล่างของลำต้นเหนือหัวเก่า หัวใหม่จะเจริญเต็มที่ และพร้อมที่จะให้เก็บได้โดยหัวใหม่นี้จะเกิดส่วนล่างของลำต้นเหนือหัวเก่าซึ่งฝ่อลงไป หัวใหม่ที่ได้จะได้หัวเล็ก (cormel) ติดมาด้วยมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับพันธุ์การขุดอาจใช้ซ่อมขุด หรือในกิจการใหญ่อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการขุด การขุดหัวถ้าทำล่าเกินไปจะเป็นโอกาสให้ เชื้อโรคเข้าทำลายได้มากขึ้น และ cormel จะหลุดจาก corm ได้ง่าย เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่อไป เนื่องจาก cormel ที่หล่นอยู่ในดินเหล่านี้ ในไม่ช้าจะเติบโตขึ้นทั่วไปไม่เป็นระเบียบ ยากแก่การ ดูแลรักษา ทำให้มีปัญหาในการกำจัดตามมาอีก การขุดควรขุดทั้งต้นและอย่าบิดต้นออกจากหัว อาจเกิดอันตรายกับหัวใหม่ได้ และควรระวังอย่างยิ่ง คืออย่าให้มีแผลเกิดขึ้นขณะทำการขุด มิฉะนั้นโรคจะเข้าทำลายทำให้หัวเน่าในภายหลังได้ หลังจากขุดมาแล้ว ใช้มีดตัดต้นเหนือหัว 1.25-2.5 ซม. เก็บหัวในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จากนั้นแยกเอาหัวเก่าออกจากหัวใหม่ ทำความสะอาด corm และ cormel แล้วจึงคลุกยากันราและแมลง เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายในระหว่างเก็บ ส่วนหัวเล็กแห้งเร็วกว่าหัวใหญ่ ควรหมักไว้ในทราย

ชื้นเล็กน้อย หรือใน peatmoss ในระหว่างที่หมัก ไว้ต้องคอยตรวจดูความชื้นให้เหมาะ

โรคและแมลง

ซ่อนกลิ่นฝรั่งมีโรคและแมลงทำลายหลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดก็ได้มีผู้พยายามค้นคว้า ทดลองเพื่อกำจัดโรคและแมลงเหล่านี้ ดังเช่น มีการทดลองใช้ยากันรา (fungicide) กับ corm หลังจากขุดขึ้นมา และก่อนนำไปปลูก โดยใช้ Dowicide B. Morsodren และ Phaltan เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum f. gladioli ใช้เปรียบเทียบ Postharvest และ Preplanting พบว่า Dowicide B. ใช้ในอัตรา 2.5 pints ต่อ 100 แกลลอน และ Phaltan ใน อัตรา 8 ปอนด์ต่อแกลลอน ซึ่งให้ผลน้อยที่สุด แต่การใช้ Phaltan ที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 อาทิตย์ จะช่วยให้มีจำนวนดอกมากขึ้น และขนาดดอกมากขึ้นด้วย

ต่อมาพบว่า การใช้ Ethephon และ Fungicide ร่วมกันจะควบคุมโรค fusarium อย่างได้ผล โรคที่สำคัญที่เป็นกับแกลดิโอลัส ได้แก่:-

1. Fusarium dry rot เกิดจากเชื้อ Solerotinia gladioli การติดโรคเริ่มในดิน เป็นที่โคนใบและทำให้ใบเป็นสีเหลืองอ่อน ที่หัวจะเป็นแผลสีน้ำตาลแดงเป็นจุดเล็ก ๆ เกิดขึ้น ในส่วนใต้ของหัว แผลจะใหญ่ขึ้นระหว่างเก็บ จะเป็นจุดน้ำตาลกลม ๆ อาจจะเป็นจุดสม่ำเสมอ หรือไม่สมํ่าเสมอก็ได้ เวลาขุดหัวต้องตรวจโรคนี้ ถ้าหัวใดเป็นควรทำลายเสียก่อนปลูกควรแช่หัวลงในน้ำยา new improved ceresan 30 ซี.ซี. ต่อน้ำ 10 ลิตร แช่นาน 4 นาที หรือเอาหัวจุ่มลงในน้ำยา lysol 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 11 ลิตร แช่ นาน 4 ชั่วโมง

2. Fusarium yellow เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum โรคนี้มักเกิดในแถบที่มีอากาศอบอุ่น ลักษณะอาการของโรค คือใบ จะเป็นจุดสีเหลืองที่ปลายใบ ซึ่งจะค่อย ๆ ลามไปจนกระทั่งต้นตาย

3. Fusarium rot เกิดจากเชื้อFusarium oxysporum var. dladioli ทำลายหัว โรคนี้ เกิดในดิน ฉะนั้นก่อนปลูกควรแช่หัวลงในยาฆ่าราเสียก่อน

4. Botrytis rot เกิดจากเชื้อ Botrytis gladioli ทำให้ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล มักเป็นในฤดูร้อนและฤดูฝน ป้องกันโดยพ่น pentachlo- ritrobenzene ผงที่หัวก่อนปลูก

5. Gladiolus mosaic virus เกิดจาก เชื้อ Myzus circum flexus และ Myzus persicae โรคนี้มีผลทำให้ซ่อนกลิ่นฝรั่งแคระ แกร็น ใบสั้นกว่าปกติ และมีรอยจุดด่างทั้งใน ดอกไม่สมบูรณ์ corm ที่เป็นโรคนี้ เมื่อนำไปปลูกจะแห้งตาย ไม่สามารถงอกเป็นต้นได้

6. Scab และ Nect rot มีผลเสียต่อ corm และต้นใหม่ อาการคือส่วนล่างของใบจะปรากฏเป็นจุดสีน้ำตาล โรคนี้แพร่ระบาดโดย การนำ corm ที่เป็นโรคไปปลูก เชื้ออาศัยอยู่ในดินได้ ป้องกันโดยการ treat corm ในสารละลาย Colomel ก่อนนำไปปลูก

7. Storage rot อาการที่เกิดคือ จะเป็นจุดสีน้ำตาล และมีรอยแผลบน corm ที่อยู่ในระหว่างการเก็บ สาเหตุเนื่องจากมีเชื้อราเข้าทำลาย โดยมันจะเจริญได้ดีบน corm ที่เก็บไว้ในที่ชื้น ป้องกันโดยการคลุกยากันราก่อนนำไป เก็บและก่อนการปลูก

8. โรคหน่อแห้ง ตาไม่เปิดทำให้ไม่สามารถเจริญเป็นต้นได้ แก้ได้ด้วยการเก็บหัวในอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ หรือใช้ D.D.T. ฉีดก่อนเก็บ และวิธีที่ดีที่สุดที่แนะนำให้ใช้คือใช้ Ceresan 5% D.D.T. Cyclohexonone, Methy- leted naphthalene 35% ของ autonc และ 50% Methyl chloride

นอกจากโรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีแมลงสำคัญที่ทำลายแกลดิโอลัสให้ได้รับความเสียหาย เช่น

1. Japanese beetle, หนอนกระทู้ (cut­worm), หนอนผีเสื้อกลางวัน (caterpillar) ซึ่งทำลายต้นอ่อน กำจัดโรคโดยใช้อาหารคลุกยาพิษอัตราส่วนดังนี้ คือ รำ 1 ส่วน สารหนูเขียว 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำหวาน 1 ช้อนโต๊ะ โปรยทั่ว แปลง

2. หนอนของด้วงดีด (wire worm) ทำลายหัว ควรกำจัดก่อนปลูก โดยใช้วิธีรมควัน หรือ ใช้ caminexane คลุกดิน หรือก่อนปลูกเอาหัวแช่ลงในน้ำยา ceresan เสียก่อน ประมาณ 5 นาที แล้วจึงนำไปปลูก หรือใช้ Lysol ในอัตราส่วน 450 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่หัวไว้ 6-7 ชั่วโมง ก่อนปลูกส่วนหัวเล็กควรเอาไปปลูกในขณะที่ยังเปียกอยู่

3. เพลี้ยไฟ (thrip) ทำลายใบ ตาดอกหรือ ช่อดอก โดยเฉพาะดอกที่กำลังบาน และบางครั้งก็ทำลายหัว โดยซ่อนอยู่ตามเปลือกของหัว ฉะนั้นก่อนจะเก็บหัวไว้ควรพ่นด้วย D.D.T. ผง 5% หรือแช่ในน้ำยา Mercury bichloride 1 : 100 เป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนที่จะนำไปปลูก

ที่มา ไทยเกษตรศาสตร์
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:40 pm

การปลูกทิวลิป

13925217_1794803910767447_4795089804325327657_n_resize.jpg
13925217_1794803910767447_4795089804325327657_n_resize.jpg (44.73 KiB) เปิดดู 18363 ครั้ง


ทิวลิปจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 18-20 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาในการปลูก 39 วัน ดอกจึงจะบาน เมื่อดอกบานแล้วจะสามารถอยู่ได้นานเพียง 7 ถึง 15 วัน....หากนำลงไปจากดอยดอกก็จะอยู่ได้เพียง 1 สัปดาห์ เท่านั้น สำหรับดอกทิวลิปบานที่ลานผาหม่นเต็มที่ในช่วงวันที่ 16 ธันวาคม และหากมีการควบคุมแสงอุณหภูมิได้อย่างเหมาะสมก็จะทนอยู่ในแปลงได้ 10 วัน ถึง 2 สัปดาห์ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ นายไชยณรงค์ สวยงาม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง ดอยผาหม่น ผู้เชี่ยวชาญการปลูกทิวลิปและลิลลี่ ซึ่งเคยผ่านการศึกษาจากประเทศฮอลแลนด์

ลักษณะของหัวพันธุ์ทิวลิป
หัวพันธุ์ทิวลิป ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น จะผ่านขบวนการเก็บรักษาหัวในอุณหภูมิต่างๆ กัน เพื่อทำให้หัวพร้อมที่จะปลูกและสามารถให้ดอกที่สมบูรณ์ได้ หัวทิวลิปได้รับการเก็บเกี่ยวในฤดูร้อนจากนั้นจะถูกเก็บในอุณหภูมิปานกลาง (~17-20 oC) เพื่อกระตุ้นให้หัวสร้างตาดอก (กลาง-ปลายสิงหาคม) จากนั้นจึงลดอุณหภูมิลงที่ 5-7 oC (pre-cooling) เพื่อให้ได้รับความเย็นเพียงพอสำหรับการยืดตัวของดอกเมื่อนำไปปลูก เป็นเวลาอย่างน้อย 12-13 สัปดาห์ จากนั้นจึงสามารถนำไปปลูกลงดินหรือกระถางได้

การปลูกและการดูแลรักษา:
วัสดุปลูก: ดินที่มีโครงสร้างที่ดี ดินร่วน การระบายน้ำดีปราศจากโรค ความเป็นกรดเป็นค่า pH 6-7 มีเกลือต่ำ หรือค่า EC < 1.5 mS(ไม่ควรใช้ปุ๋ยคอก)

สภาพปลูก: อากาศเย็น แสงแดดจัดหรือมีแสงแดดมาก

การปลูก: - ปลูก 200-300 หัว ต่อตารางเมตร หรือ

ปลูกระยะห่าง 15 x 15 ซม.

- ปลูกให้วัสดุปลูกกลบเหนือหัว 2 – 4 ซม.


หัวพันธุ์ทิวลิป
- หัวพันธุ์หากยังไม่ปลูกทันที ต้องเก็บในอุณหภูมิ 5 oC (เก็บได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์)
- เมื่อหัวงอกได้ 5 – 10 ซม. จะต้องตรวจสอบว่าหัวเน่าหรือไม่ โดยหัวที่ไม่งอกหรืองอกช้ามาก อาจเกิดจากการติดเชื้อรา ฟิวซาเรียม ต้องขุดหัวเหล่านี้ขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายหัวข้างเคียง

อุณหภูมิ: ควรให้วัสดุปลูกมีอุณหภูมิประมาณ 10 oC หรือต่ำกว่านี้ในช่วง 2 สัปดาห์แรก

หลังปลูก และหลังจาก 2 สัปดาห์ เครื่องปลูกควรมีอุณหภูมิ 15 oC อาจทำให้ดินเย็นโดยวิธีต่อไปนี้
1. คลุมดินด้วยฟางหรือวัสดุคลุมดิน
2. ให้อากาศภายในโรงเรือนถ่ายเทได้สะดวก
3. ก่อนและหลังปลูกควรรดด้วยน้ำเย็น
4. พรางแสง

การให้น้ำ: น้ำสำคัญมากในการปลูกทิวลิป หากแห้งเกินไป ใบและดอกจะเสียคุณภาพได้ ฉะนั้นจะต้องตรวจเชคระบบให้น้ำและปริมาณน้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังปลูกควรให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์เพื่อให้รากเดินได้ดีแต่หากน้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้

การให้ปุ๋ย: เริ่มให้ปุ๋ย 10-14 วัน หลังปลูก ให้ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตรทุกสัปดาห์

การเก็บเกี่ยว: ต้นทิวลิปจะให้ดอกประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ระยะที่เหมาะสมในการตัดดอก คือ เมื่อดอกยังตูมอยู่ และเห็นสีแล้วประมาณครึ่งดอก จากนั้นจึงเข้ากำ และแช่ในน้ำเย็น 5 oC ประมาร 30 – 60นาที หลังจากนั้น อาจเก็บได้หลายวิธี ทั้งนี้ ทั้ง 3 วิธี ควรเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 0-2 oC และความชื้นสัมพัทธ์เกิน 90% ดังนี้

1. ตัดดอกแช่น้ำ ใช้เก็บระยะสั้น

2. ตัดดอกเก็บแห่ง โดยห่อดอกให้แน่นและวางในแนวนอน

3. ถอนทั้งหัวและเก็บแห้ง


การใช้ประโยชน์: ไม้ตัดดอก ไม้กระถาง ไม้ประดับแปลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการผลิตทิวลิปเพื่อตัดดอกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ปัจจุบันมีการนำหัวพันธุ์ทิวลิปมาปลูกเพื่อปลูกเป็นไม้กระถาง ปลูกประดับตกแต่งสถานที่ และเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในหลายๆ ที่ โดยเฉพาะในจังหวัดภาคเหนือ และในช่วงปลายปีซึ่งเป็นฤดูหนาวของไทย เป็นช่วงที่ทิวลิปออกดอกบานสะพรั่งรับหน้าหนาวและรอรับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ จังหวัดต่างๆ ก็มีการจัดงานและประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวไปชมสวนทิวลิปกัน โดยไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ เช่น งานไม้ดอกไม้ประดับที่จังหวัดเชียงราย งานไม้ดอกไม้ประดับที่อำเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่ และที่ดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย เป็นต้นซึ่งมักจัดงานในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคมของทุกปี นอกจากนี้ อีกแห่งหนึ่งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เป็นการปลูกทิวลิปที่ใช้เทคโนโลยีการบังคับหัวและการปลูกจากอิสราเอล และนำเข้าหัวพันธุ์จากเนเธอร์แลนด์ก็มีทิวลิปจัดแสดงให้ชม ที่ “สวนทิวลิปนนท์”

ดอกทิวลิป หมายถึง การฝากรักให้อีกฝ่ายรับรู้ ทิวลิปสีแดง เป็นดอกไม้แห่งการสารภาพรัก หากได้ดอกทิวลิปสีแดงจากใครแสดงว่าคนผู้นั้นตกหลุมรักคุณแล้ว แต่สำหรับทิวลิปสีเหลือง จะมีความหมายที่ต่างไป คือ รักที่สิ้นหวัง
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:51 pm

การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)

1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน ( กระสอบ)
2. แกลบดิบ 1 ส่วน ( กระสอบ)
3. รำละเอียด 1 ส่วน ( กระสอบ)
4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง

วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ
ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ

นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
การ หมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้

การเก็บรักษา
เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา
ได้นานประมาณ 1 ปี

วิธีใช้
1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้
2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง , ฟางแห้ง
4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น
ข้อควรจำ
เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี

ที่มา http://www.kasedtakon.com/

วิธีการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพตัวขยาย
อัตราส่วนเริ่มต้น เหมาะสำหรับทำใช้ในครัวเรือน และพื้นที่น้อย
– ถังพลาสติกที่มีฝาปิดใส่น้ำสะอาด 8 ลิตร ถ้าเป็นน้ำประปาก็ขังไว้ให้หมดคลอรีน 3-4 วัน
– ใส่กากน้ำตาล 300 ซีซี (ครึ่งขวดเล็ก) คนให้กากน้ำตาลละลาย
– ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ 300 ซีซี คนให้เข้ากัน (หัวเชื้อแอ๊คติโนมัยซิท หรือหัวเชื้อบาซิลลัส )
– ปิดฝาซีนให้แน่น 3-4 วัน

เมื่อครบ 3-4 วัน พอเปิดฝาถังออกจะเกิดฝ้าขาวลอยอยู่ด้านบน
นั่นแสดงว่าขบวนการหมักสมบูรณ์ดี ประโยชน์การใช้ถ้านำไปใช้กับสิ่งแวดล้อม
ประมง การปศุสัตว์ใช้เวลาหมัก 3-7 วันก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว เพราะว่าเอาแค่จุลินทรีย์ไม่ได้เอาธาตุอาหาร
แต่ถ้าใช้กับต้นไม้ ให้หาธาตุอาหารมาใส่ และหมักไปถึง 3 เดือน ให้ความเป็นกรดลดลงเสียก่อน
แต่เนื่องจากความแตกต่างของพืชแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เช่น พืชบางชนิดต้องการดอก
บางชนิดต้องการผล บางชนิดต้องการต้นและใบ

ถ้าจะเร่งต้น เร่งใบ ก็เอา พืชประเภท ไนโตรเจน มาใส่ เช่น กระถิน กระเฉด คะน้า กวางตุ้ง ถั่วต่างๆ
เอามาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันให้ได้ 1 ก.ก.สับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ถุงตาข่าย นำไปหมัก 3 เดือน
ถ้าเร่งดอก ก็ใช้หนอ่ไม้ฝรั่ง ใบแก่ชะอม มูลค้างคาว หินฟอสเฟต เปลือกกุ้ง ฟักทอง บล๊อกโคลี่ เปลือกไข่
ถ้าเร่งผล ก็พวก ผลไม้สุก กล้วยหอมงอม พริกสด กระเจี๊ยบเขียว

อัตราการใช้ 1-2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด พ่น ราด รด วันเว้นวัน จะช่วยปรับปรุงดิน ธาตุอาหารจะช่วยบำรุงต้นไม้
ใช้กับสิ่งแวดล้อม นำไปใส่ท่อเพื่อขจัดไขมันอุดตัน ใส่แหล่งน้ำเพื่อขจัดน้ำเสีย ใส่ห้องน้ำดับกลิ่น
ใช้กับปศุสัตว์ 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 50 ลิตร ให้สัตว์กิน ผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อขจัดกลิ่น
ฮอร์โมนเร่งโต เร่งดอก เร่งใบ เร่งราก

วัสดุอุปกรณ์
1.ยอดกระถิน (เก็บตอนเช้ามืดยังไม่ถูกแสงแดด) 1 กก.
2.หัวไชเท้า 1 กก.
3.มะพร้าวขูด 1 กก.
4.น้ำมะพร้าวแก่ 19 ลิตร
5.จุลินทรีย์ 1 ลิตร

ขั้นตอนที่ 1
การขยายจุลินทรีย์ในน้ำมะพร้าว นำจุลินทรีย์ 1 ลิตร ผสมลงในน้ำมะพร้าวแก่ จำนวน 19 ลิตร คนให้เข้ากัน 1-3 วันแรกเปิดฝาระบายอาศวันละครั้งหมักไว้ 15 วัน

ขั้นตอนที่ 2
ก็บยอดกระถินตอนเช้ามืดสับหรือโขลกให้พอแตก หัวไซเท้าสับหรือโขลกให้พอแตก มะพร้าวขูดนำทั้ง 3 อย่างมาห่อผ้าเสื้อยึดอย่างหนา แช่ในน้ำมะพร้าวที่ขยายในจุลินทรีย์ หมักไว้ 15 วัน ยกถุงพืชออบีบน้ำ นำน้ำหมักที่ได้บรรจุใส่ขวดเก็บไว้ใช้ในการฉีดพ่นเป็นฮอร์โมน

ประโยชน์ : เป็นฮอร์โมนเร่งโต เร่งดอก เร่งใบ เร่งราก

อัตราการใช้ : 40 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร ควรฉีดพ่น 10-15 วันต่อครั้ง

ที่มา http://www.kasedtakon.com/

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร
เราสามารถใช้พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ เช่นหอยเชอรี่ ทำน้ำหมักชีวภาพได้

ส่วนผสม : พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วนต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน (ใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือนหรือนานกว่านั้น ได้เป็นน้ำหมักแล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้

วิธีใช้
สูตรบำรุงใบพืชผักผลไม้ ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก
สูตรเพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้ดินร่วนซุย ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
สูตรกำจัดวัชพืช ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน หากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า
หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น
ที่มา http://www.kasedtakon.com/
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:54 pm

องค์ความรู้สืบสานแนวพระราชดำริ เรื่อง ดิน

แนวพระราชดำริเรื่อง “ดิน””ดิน” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร ต่อให้มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีดินที่เลว กล่าวคือ โครงสร้างแน่น อัดตัวเป็นก้อน ปราศจากซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชไม่ว่าพืชชนิดใดๆ ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของดิน โดยเฉพาะการปรับปรุงบำรุงดินและการจัดสรรที่ดิน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศที่ทำการเกษตรเป็นหลักอย่างไทยเราจึงนำมาซึ่งแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินที่สำคัญดังนี้

1. การแก้ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา งานจัดและพัฒนาที่ดินเป็นงานแรกๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญ ทรงเริ่มโครงการพัฒนาที่ดินหุบกะพง ตามพระราชประสงค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสไว้ ณ สำนักงาน กปร. ในปี พ.ศ. 2531 ว่า

“มีความเดือดร้อนอย่างยิ่งว่าประชาชนในเมืองไทยจะไร้ที่ดิน และถ้าไร้ที่ดินแล้วก็จะทำงานเป็นทาสเขา ซึ่งเราไม่ปรารถนาที่จะให้ประชาชนเป็นทาสคนอื่น แต่ถ้าเราสามารถที่จะขจัดปัญหานี้ โดยเอาที่ดินจำแนกจัดสรรอย่างยุติธรรม อย่างมีการจัดตั้งจะเรียกว่านิคม หรือจะเรียกว่าหมู่หรือกลุ่ม หรือสหกรณ์ก็ตาม ก็จะทำให้คนที่มีชีวิตแร้นแค้นสามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้”

พระราชดำริแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน คือ ทรงนำเอาวิธีการปฏิรูปที่ดินมาใช้ในการจัดและพัฒนาที่ดินที่เป็นป่าเสื่อมโทรม รกร้าง ว่างเปล่า นำมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินได้ประกอบอาชีพในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ และโครงการจัดและพัฒนาที่ดินในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้โดยให้สิทธิทำกินชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขา สามารถดำรงชีพอยู่ได้เป็นหลักแหล่ง โดยไม่ต้องทำลายป่าอีกต่อไป

ในการจัดพื้นที่ต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหลักการว่าต้องมีการวางแผนการจัดการให้ดีเสียตั้งแต่ต้น โดยใช้แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศช่วย ไม่ควรทำแผนผังที่ทำกินเป็นลักษณะตารางสี่เหลี่ยมโดยไม่คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ แต่ควรจัดสรรพื้นที่ทำกินแนวพื้นที่รับน้ำจากโครงการชลประทาน นั่นคือ จะต้องดำเนินโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เช่น โครงการนิคมสหกรณ์หุบกะพงในพระบรมราชูปถัมภ์ อ.ชะอำ จ. เพชรบุรี โครงการจัดพัฒนาที่ดินทุ่งลุยลาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และโครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ 1) เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในด้านการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2) เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินสำหรับประกอบอาชีพและอยู่อาศัย 3) เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรรู้จักพึ่งตนเอง และช่วยเหลือส่วนรวม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม บางโครงการมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจในการบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องที่ทำกินของราษฎรที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่2. การอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและให้ความสำคัญมากขึ้นในงานอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน ที่มีสภาพธรรมชาติและปัญหาที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยเขียนไว้ในเอกสารพระราชทานว่า “ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม ต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้ มีแร่ธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย ส่วนประกอบสำคัญคือ 1) N (nitrogen) ในรูป nitrate 2) P (phosphorus) ในรูป phosphate 3) K (potassium) และแร่ธาตุ อื่นๆ O H Mg Fe มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7) มีความเค็มต่ำ มีจุลินทรีย์ มีความชื้นพอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ) มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง)” จึงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินพรุในภาคใต้ และที่ดินชายฝั่งทะเล รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงและฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมพังทลายจากการชะล้างหน้าดิน ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเสื่อมโทรม เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินจากหลายๆ สาเหตุ กลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีก ดังนั้น โครงการต่างๆ ในระยะหลัง จึงเป็นการรวบรวมความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจากหลากหลายสาขา มาใช้ร่วมกันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ แนวคิดและตัวอย่างการจัดการทรัพยากรดินในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง ที่ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืชเพื่ออนุรักษ์ดินและบำรุงดิน และสนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน สามารถนำไปปฏิบัติได้เอง ทรงมีพระราชดำริว่า “การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถ หรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้น ที่ยังเหลืออยู่ เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื่นของผืนดิน”

แนวพระราชดำริในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน ที่สำคัญแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
1) แบบจำลองการพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพขาดความสมบูรณ์ ดินปนทราย และปัญหาการชะล้างพังทลาย
2) การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยทฤษฎีแกล้งดิน
3) การอนุรักษ์ดินโดยหญ้าแฝก
4) การห่มดิน

2.1 แบบจำลองการฟื้นฟูบำรุงดินที่มีสภาพขาดความสมบูรณ์ ดินปนทราย และปัญหาการชะล้างพังทลาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ที่มีสภาพปัญหาต่างกันตามภูมิสังคม ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาดูงานและนำความรู้ไปปรับใช้ตามสภาพปัญหาพื้นที่

2.2 การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวด้วย “ทฤษฎีแกล้งดิน”
ดินเปรี้ยวหรือดินพรุ เป็นสภาพธรรมชาติของดินที่เกิดจากอินทรียวัตถุสะสมจำนวนมาก เป็นเวลานานจนแปรสภาพเป็นดินอินทรีย์ที่มีความเป็นกรดกำมะถันสูง เมื่อดินแห้งกรดกำมะถันจะทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำให้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเกษตรได้ผลน้อยไม่คุ้มทุน พบมากในภาคตะวันออกและภาคใต้ และบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ “แกล้งดิน” โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการแกล้งดิน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการแกล้งดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไปเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรต์ (Pyrite หรือ FeS2) ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (O2) ในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถัน (sulphuric Acid) ออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น “แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด” จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ
1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรต์อยู่ เพื่อไม่ให้สารไพไรต์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ (Oxidization)

2. การปรับปรุงดินมี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม ได้แก่ ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือในฤดูแห้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาว มิใช่กระทำเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก เมื่อดินคลายความเปรี้ยวลงแล้วจะมีค่า pH เพิ่มขึ้น อีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินัมที่เป็นพิษก็เจือจางลงจนทำให้พืชสามารถ เจริญเติบโตได้ดี ถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตช่วย ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี ถ้าหากใช้ปุ๋ยในโตรเจนและฟอสเฟตช่วยก็สามารถทำการเกษตรได้ ใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (mar) สำหรับภาคกลาง หรือปูนฝุ่น ( lime dust ) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่แล้วไถแปรหรือพลิกกลบคืน ข้อควรจำคือ ไม่มีสูตรตายตัว โดยปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในความเป็นกรดของดิน การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมา ในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน โดยเริ่มจากหว่านปูนให้ทั่วพื้นที่ ใช้ปูน 1-2 ตันต่อไร่ แล้วไถกลบ จากนั้นใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดออกจากหน้าดิน และควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มากเพื่อป้องกันไม่ให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เพราะจะทำดินกลายเป็นกรด

3. การปรับสภาพพื้นที่มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
การปรับผิวหน้าดิน โดยการทำให้ผิวหน้าดินลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออกไปสู่คลองระบายน้ำได้หรือ ถ้าเป็นการทำนาก็จัดตกแต่งแปลงนาและคันนา ให้สามารถเก็บกักน้ำและสามารถระบายน้ำออกได้ถ้าต้องการ
การยกร่องปลูกพืช วิธีนี้ใช้สำหรับพื้นที่ที่จะทำการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น แต่วิธีนี้จำเป็นจะต้องมีแหล่งน้ำชลประทาน เพราะจะต้องขังน้ำไว้ในร่องเพื่อใช้ถ่ายเทเปลี่ยน เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด ในการขุดร่องนี้ เกษตรกรจะต้องทราบว่าในพื้นที่นั้นมีดินชั้นเลนซึ่งเป็นดินที่มีสารประกอบไพไรต์มากอยู่ลึกในระดับใด เพราะเมื่อขุดร่องจะให้ลึกเพียงระดับดินเลนนั้น โดยทั่วไปจะลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ขั้นตอนการปรับปรุงดินเพื่อทำการเกษตรประเภทต่างๆ
ขั้นตอนการขุดร่องสวน วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกพืชล้มลุก
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกไม้ผล2.3 การอนุรักษ์ดินด้วยหญ้าแฝก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 ทรงตรัสว่าหญ้าแฝกเป็นหญ้าของไทยสามารถใช้อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดี ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ในขณะนั้นยังไม่มีใครรู้จักหญ้าแฝก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระองค์แรกที่ทำการทดลองเลี้ยงและปลูกหญ้าแฝกเป็นจำนวน 1 ล้านถุงแรกที่ดอยตุง หลายหน่วยงานพยายามค้นหาหญ้าแฝกตามสถานที่ต่างๆ แต่ก็ล้มเหลว จนต้องเชิญ ดร.เต็ม สมิตินันท์ ปรมาจารย์ทางด้านพฤกษศาสตร์ ท่านก็ไปช่วยหาหญ้าแฝกทั่วประเทศ ในที่สุดก็เจอหญ้าแฝกที่เพชรบุรี เป็นหญ้าแฝกที่มีกอใหญ่มาก จากนั้นก็เริ่มรวบรวมหญ้าแฝก กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานแรกที่ทำการรวบรวมหญ้าแฝก โดยรวบรวมมาจากหลายจังหวัด ขณะนี้สามารถรวบรวมสายพันธุ์ของหญ้าแฝกได้กว่า 100 สายพันธุ์ ถ้าพบที่สงขลาเรียกว่าสายพันธุ์สงขลา พบที่กำแพงเพชรเรียกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร พบที่อุดรก็เรียดว่าสายพันธุ์อุดร จากการสำรวจพบว่ามีกระจายอยู่ทั่วประเทศ กรมพัฒนาที่ดินได้นำเอาหญ้าแฝกมาป้องกันการชะล้างพังทลายหน้าดินตามลำคลอง อ่างเก็บน้ำ หญ้าแฝกช่วยกรองทำให้น้ำใส

(ที่มา :จากการบรรยาย ดร.วีระชัย ณ นคร 27 สิงหาคม 2553 ในการเสวนา “เกษตรยั่งยืน ฟื้นฟูภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” ในงาน ทักษิณวิชาการ-เกษตรแฟร์ ครั้งที่ 6 และงานนิทรรศการปิดทองหลังพระฯ)ประโยชน์ของหญ้าแฝก

หญ้าแฝกมีรากยาวที่สุดในบรรดาพืชตระกูลหญ้าทั้งหมด ดินที่แข็งมากก็ทำให้ร่วนซุยด้วยหญ้าแฝก ภายใน 6-8 เดือน หญ้าแฝกจะหยั่งรากลึกชอนไชให้ดินเกิดรูพรุนทำให้ดินใช้ประโยชน์ได้ และสามารถฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพให้ใช้ประโยชน์ได้ภายใน 1 – 2 ปี

ประโยชน์ของหญ้าแฝกมีดังนี้
1) ปรับปรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดิน
2) ป้องกันการชะล้างพังทะลายของดินในพื้นที่เปิดใหม่ลาดชันหรือในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก
3) ช่วยป้องกันการสูญเสียหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตะกอนดินที่ถูกน้ำกัดเซาะและพัดพามา โดย จะถูกกอหญ้าแฝกดักไว้เมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ ปีจะกลายเป็นขั้นบันไดดินตามธรรมชาติ
4) ช่วยลดความรุนแรงและความเร็วของน้ำไหลบ่าเมื่อน้ำไหลมาปะทะแนวกอแฝก แล้วน้ำจะซึมลงสู่ดิน น้ำบางส่วนจะไหลผ่านแนวกอแฝกอย่างช้า ๆ
5) ช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงตามแนวตลิ่ง ฝายกั้นน้ำ ทางระบายน้ำ คลองส่งน้ำ ริมถนนสูง
6) ใช้เป็นวัสดุคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นและควบคุมวัชพืช
7) สามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดี
8) สามารถนำรากหญ้าแฝกหอมมาสกัดเพื่อทำน้ำหอม และเครื่องหอม ได้แก่ ใช้อบเสื้อผ้า ทำสบู่ผสมกับสีผึ้ง และดินสอพอง
9) สามารถนำไปทำเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและเครื่องปั้นดินเผา
10) นำใบใช้ทำตับหญ้ามุงหลังคา ใช้ทำเครื่องประดับ เครื่องใช้ เช่น กระเป๋า พัด ไม้แขวนเสือ ส่วนรากใช้ทำน้ำมันหอม สบู่ ยาสมุนไพรรักษาโรคบางชนิด เช่น รากบดละเอียดผสมน้ำแก้ไข้ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี รากต้มดื่มช่วยละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
11) เพื่อการฟื้นฟูสภาพดินในพื้นที่ที่เป็นดินเกลือ มีการทดลองปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ดินเค็มเพื่อดูดเกลือ และปลูกด้านข้างของลำคลองที่เป็นดินเกลือ พบว่าหญ้าแฝกสามารถเติบโตได้”หญ้าแฝกเป็นพืชที่ระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพงช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาและทดลองปลูกในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวางโดยพิจารณาจากลักษณะของภูมิประเทศ คือ บนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นของดินไว้ด้วย บนพื้นที่ราบให้ปลูกหญ้าแฝกรอบแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่เพื่อที่รากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก – ลักษณะของหญ้าแฝก
– การขยายพันธุ์หญ้าแฝก
– การดูแลรักษาหญ้าแฝก
– รูปแบบการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม
– การปลูกหญ้าแฝกตามหลักวิชาการ

2.4 การห่มดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการดูแลและรักษาดินอีกทางหนึ่ง นั่นคือ “การห่มดิน” เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี อันจะส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ ทั้งนี้การห่มดินมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดินหรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่, การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน นอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้ว การห่มดินยังจะช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้/พืชหลักอีกด้วยกรณีตัวอย่างการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้

จ่าเอกเขียน สร้อยสม นายจันทร์ ชาญแท้
นายสมโชค สำราญ
นายสำรอง แตงพลับ
นายอนิรุทธิ์ ศรีสุรินทร์
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
กรมพัฒนาที่ดิน ดร.พิสุทธิ์ วิจารณ์สรณ์ โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ
ดร.วีระชัย ณ นคร มูลนิธิชัยพัฒนา
ดร.อุทัย จารณศรี โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
นายเจษฎา สาระ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี
นายเกริกเกียรติ ทินนา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จ.เชียงใหม่
-.-.-.-.-.-.-.–.-.-.–.-.-.–.-.-.-.–.-.-.-.-.-.–.-.-.–.-.-.-.-..–.-..-.-.–.-.-.
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
๙๘๙ อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น ๒๖ ปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐
ที่มา http://www.kasedtakon.com/
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 4:58 pm

ไพรีทรัม มหัศจรรย์แห่งดอกไม้กำจัดแมลง และการปลูกดอกบัว

ไพรีทรัม มหัศจรรย์แห่งดอกไม้กำจัดแมลง

daisy%2001.jpg
daisy%2001.jpg (111.27 KiB) เปิดดู 18360 ครั้ง



หากพูดถึงพืช หรือสมุนไพรจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงหรือยุงได้นั้น เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึงพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่ตามริมรั้วบ้าน ซึ่งใช้ใบเป็นตัวกำจัดแมลงกันอย่างแน่นอน แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ดอกไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็นต้นเล็กๆ บางชนิดที่ดูภายนอกสวยงามน่าสัมผัส อย่าง “ดอกไพรีทรัม” ก็สามารถนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงและสามารถจัดการกับเจ้าแมลงร้ายได้อย่างอยู่หมัดเช่นกัน

ดอกไพรีทรัมเป็นดอกไม้ในสกุล Chrysanthemumซึ่งมีต้นกำเนิดจากภเขาชายฝั่งทะเลอะเดรียติก ในประเทศโครเอเชีย และประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาดอกไพรีทรัมเป็นดอกไม้ทรงพุ่มเตี้ยที่มีลักษณะสวยงาม กลีบดอกมีสีขาวละมุนซึ่งกระจายรายล้อมเกสรสีเหลือง หากมองอย่างผิวเผินผู้คนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นดอกเดซี่หรือดอกเบญจมาศ แต่ดอกไพรีทรัมนั้นมีความโดดเด่นและความพิเศษที่เหนือกว่า เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่สามารถนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงได้ อีกทั้งยังได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) และองค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ว่าเป็นดอกไม้ที่มีสารสกัดในการฆ่าแมลงที่ปลอดภัยกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงมากที่สุดอีกด้วย

สารสกัดจากดอกไพรีทรัมที่ถูกนำมาใช้ในการกำจัดแมลงนั้นเรียกว่า “สารไพรีทรินส์” (Pyrethrins)เป็นสารที่ได้จากการนำเอาดอกไพรีทรัมสดไปตากแห้งก่อนจะนำไปเข้าโรงสกัด โดยความน่าสนใจของสารไพรีทรินส์คือ เมื่อนำมาใช้ในการกำจัดแมลง สารชนิดนี้จะส่งผลต่อระบบประสาทของแมลงโดยตรง โดยจะออกฤทธิ์เข้าไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางของแมลงทันที ทำให้ระบบประสาทของแมลงล้มเหลว หลังจากนั้นแมลงจะสลบอย่างรวดเร็วภายใน ๒-๓ นาที กระทั่งตายในที่สุด

นอกจากนี้ เมื่อมนุษย์นำสารไพรีทรินส์มาใช้งานในครัวเรือน ก็ยังสามารถมั่นใจได้ว่าสารชนิดนี้จะไม่เป็นอันตรายหรือตกค้างสะสมอยู่ในร่างกายของตนเองและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากว่าในตับของมนุษย์ รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลือดอุ่นจะมีแอมไซส์ที่สามารถย่อยสลายสารไพรีทรินส์ได้เอง อีกทั้งสารชนิดนี้ก็ยังสามารย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติอีกด้วย

ทั้งนี้ สารไพรีทรินส์ยังสามารถออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีกับแมลงหลายชนิด ทั้งแมลงชนิดบินและชนิดคลาน ไม่ว่าจะเป็นยุง ที่สารไพรีทรินส์จะเข้าไปส่งผลต่อระบบประสาทและทำให้มันหยุดพฤติกรรมการกินเลือดเป็นอาหาร รวมไปถึง แมลงวัน แมลงสาบ เพลี้ยอ่อน ไร เรือด แมลงหวี่ ตั๊กแตน หมัดกระโดด หนอนเจาะมะเขือ หนอนผีเสื้อกะหล่ำ อีกด้วย

สำหรับในปัจจุบัน ดอกไพรีทรัมถือเป็นพืชที่หลายๆ ประเทศให้ความต้องการและถูกนำมาสกัดเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงจำนวนมาก จึงนับได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ๆ สำหรับประชาชนที่จะเลือกหาผลิตภัณฑ์มาใช้ป้องกันและกำจัดแมลง โดยเฉพาะกับแมลงที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกอย่างยุง ซึ่งหากได้ผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด รวมถึงมีส่วนผสมของธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดีย

การปลูกดอกบัวและวิธีการดูแลรักษาบัว

สัตตบงกชหรือบัวหลวงป้อมแดง.jpg
สัตตบงกชหรือบัวหลวงป้อมแดง.jpg (79.62 KiB) เปิดดู 18360 ครั้ง


หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษา

บัวทุกชนิด (หรือต้นไม้ทุกชนิด) ปลูกไม่ยาก สำหรับบัว การดูแลรักษาถ้าปลูกเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านเพียงไม่กี่ต้น เช่น ปลูกภาชนะจำกัดเป็นอ่าง ๆ หรือบ่อเล็ก ๆ ในสวนหย่อมไม่ยากเลย งานเบามาก เด็ก สตรี และคนชราก็ทำเองได้แต่ ถ้าปลูกในบ่อพลาสติกหรือบ่อดินขนาดใหญ่มีบัวเป็นสิบ ๆ ต้น งานดูแลรักษาไม่หนักแต่ใช้เวลามาก

หลักเกณฑ์และวิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่

1. ป้องกันน้ำเสีย
โดยเฉพาะการปลูกในภาชนะจำกัดและขนาดเล็กปริมาณน้ำน้อยบัวก็เหมือนกับปลา ต้องการอากาศหายใจในน้ำถ้าน้ำเสีย อ๊อกซิเย่นไม่มีจะพาลตายได้ง่าย เด็ดใบแก่ดอกโรยทิ้งเสียก่อนจะเน่าในภาชนะหรือบ่อที่ปลูกถ้าไม่จำเป็นไม่ควร แก้ไข โดยการถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำใหม่บ่อย ๆ เพราะจะต้องทำให้บัวต้องปรับตัวเองตามจะเจริญเติบโตช้าแต่ถ้าจำเป็นด้วยเหตุ เช่น มีสัตว์ตายอยู่ใต้ดินปลูก ได้แก่ กิ้งกือ ไส้เดือน หรือคางคกลงไปปล้ำกัดกันตายหรือออกไข่-ออกลูกจนน้ำเน่าเสีย หรือ อินทรีย์วัตถุที่ติดมากับดินปลูกยังเน่าเปื่อยไม่หมดทำให้น้ำเน่า ถ่ายน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วยังไม่หายต้องเปลี่ยนดินปลูกใหม่

2. ปราบตะไคร่น้ำ-สาหร่าย
ตะไคร่ น้ำที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยคลุกที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ สาหร่ายอาจติดมากับดินปลูกเก็บทิ้ง ถ้าปลูกไม่กี่ต้น ถ้าปลูกมากแต่ปลูกในภาชนะจำกัดใช้ด่างทับทิมละลายน้ำในภาชนะปลูกเป็นสีบาน เย็นเข้มทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งเก็บตะไคร่สาหร่ายที่ตายออกเติมน้ำใหม่ตามเดิม

3. เก็บคราบน้ำมัน
ไขมัน จากกระดูกป่นหรืออินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยไม่หมดและการปลูกที่อัดดินไม่ แน่น ดินกลบกลบดินผสมเบื้องล่าง ไม่สมบูรณ์ ไขมันจะละลายเป็นฝ้า ถ้าปลูกในอ่างหรือในภาชนะจำกัดใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปะลอยบนผิวน้ำจะช่วยซับ คราบน้ำมันออกถ้าปลูกในบ่อที่มีท่อน้ำล้น ปล่อยน้ำดันให้น้ำผิวหน้าไหลล้นออกทางท่อระบายน้ำ

4. ต้นและรากลอย
เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่สนใจเลิกปลูกบัวไปหลายราย โดยเฉพาะอุบลชาติ เช่น เมื่อปลูกใหม่ ๆ ถ้ากดอัดดินทับไม่แน่น ต้นเหง้าลอย รากดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นไม่ได้สังเกตได้ง่ายที่สุด ไม่โตสักที ใบเล็กลงและใบเหลือง แก่เร็ว แก้โดย การปลูกใหม่ และหาไม้ไผ่อ่อนพับครึ่งคล้ายปากเคียเสียงคร่อนต้นที่ปลูกกันไม่ให้ลอย (ชาวสวนปลูกบัวเรียกตะเกียบ) สำหรับต้นแก่ที่ปลูกไว้นานแล้ว โดยเฉพาะในภาชนะที่จำกัดอุบลชาติประเภทยืนต้นเจริญทางนอนจนไปชนอีกผนังของ อ่างหรือบ่อในหลายกรณีจะหักขึ้นบนเจริญขึ้นไปจนรากลอยตัดเหง้าที่ไม่ต้องการ ทิ้ง ปลูกใหม่

5. ที่ปลูกร้อนเกินไป
บัวทุกชนิดต้องการแดดเต็มที่ จะมีปัญหาถ้าที่ปลูกบัวตื้นน้ำน้อยแดดเผาน้ำจนร้อน สังเกตง่าย ๆ ขนาดน้ำอุ่นพอที่จะอาบได้ สบาย ๆ ก็ถือว่าร้อนแล้วสำหรับบัว บัวต้องการแดดเต็มที่วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ขยับที่ปลูกเสียใหม่ถ้าปลูกในภาชนะ ที่เคลื่อนย้ายได้หรือเปลี่ยนภาชนะที่ปลูกให้น้ำลึกขึ้น หรือถ้าเปลี่ยนอะไรไม่ได้และที่ปลูกได้แดดทั้งวัน ใช้มุ้งลวดหรือ มุ้งพลาสติกกันด้านบนเพื่อลดความเข้ม-ร้อนของแสง

6. ดินจืด
มี 2 สาเหตุ คือ ขาดปุ๋ย หรือขาดดิน (ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด) สังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าบัวใบเล็กลง เหลืองแก่เร็ว ถ้าปลูกใน บ่อดินที่เหลือเฟือก็คือขาดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตรกลาง ๆ ทั่วไป เช่น 10-10-10, 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือปุ๋ยสำหรับบัว โดยเฉพาะถ้าปลูกในภาชนะจำกัดที่สามารถอัดปุ๋ยได้ในการจุ่มมือครั้งเดียว จะใช้ปุ๋ยห่อกระดาษอ่อนที่ใช้เข้าห้องน้ำหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์อัดฝังโคนต้นบัวเลย แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการฝังปุ๋ยทำปุ๋ย ลูกกอนำโดยปั้นดินหุ้มปุ๋ยผึ่งแห้งเตรียมไว้ จะใช้เมื่อไรก็ฝังโคนต้นสำหรับปริมาณใช้เท่าไรขึ้นอยู่กับการสังเกตและศึกษา เองของผู้ปลูก เพราะภาชนะปลูกเล็ก-ใหญ่ ต่างกันปริมาณน้ำปลูกมากน้อยต่างกัน ปลูกในบ่อดิน บ่อคอนกรีต พันธุ์ชนิดบัว ฯลฯ จึงไม่สามารถกำหนดเป็นเกณฑ ์ตายตัวได้ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด อีกสาเหตุคือขาดดิน บัวจะออกรากขยายเหง้า ฯลฯ ดันดินพ้นภาชนะละลายไปอยู่กั น้ำจนในที่สุดแทบจะไม่มีดินเหลืออยู่เลย ราก-เหง้าอัดภาชนะเต็มไปหมด แก้โดยรื้อเปลี่ยนดินปลูกใหม่

7. โรค-แมลงศัตรู ที่พบเป็นประจำ คือ โรคใบจุดและรากเน่าโรคใบจุดไม่ร้ายแรง เพราะใบบัวมีพื้นที่ปรุงอาหารมากเด็ดใบเป็นโรคทำลาย ทิ้งไป โรครากเน่ามีบ้างร้ายแรงกับบัวกระด้งและอุบลชาติ ประเภทล้มลุกบางพันธุ์ ยังไม่ทราบวิธีแก้ นอกจากนั้น คือ เก็บดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไปปลูกบัวชนิดอื่น หรืออุบลชาติประเภทอื่นแทน แมลงที่สำคัญกินบัว ทุกชนิดคือ เพลี้ยและหนอนบัวหลวงเดือดร้อนมากที่สุด เพราะชูใบขึ้นมาให้เพลี้ยเกาะกินบัวชนิดอื่นถูกทำลายบ้างแต่ ใบลอยน้ำฝนตกน้ำกระเพื่อมก็ช่วยซัดเอาเพลี้ยหลุดลอยไปได้บ้าง (ปกติผู้ปลูกเป็นการค้าจะพ่นน้ำให้ลอยหลุดไป) ป้องกันโดยเด็ดใบที่มีเพลี้ยและหนอนท้ง-ทำลายหนอนพับหนอนพับใบเป็นศัตรูที่ สำคัญของอุบลชาติ เช่นผีเสื้อ กลางคืนจะมาวางไข่บนใบเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงใบจนโตแล้ว กัดใบพับทับตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ฯลฯ ป้องกันกำจัดโดยการบี้ทำลาย บัวหลวงมีศัตรูหนอนมากที่สุดนอกเหนือจากเพลี้ยไฟซึ่งเก่ากินใต้ใบ หนอนกระทู้หนอนชอนใบ โดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบ โกร๋นทั้งต้นซึ่งจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนและในฤดูหนาวซึ่ง เป็นระยะที่บัวชงักการเจริญเติบโตด้วย กสิกรที่ปลูกบัวหลวงเป็นการค้ามักจะตัดใบทิ้ง-ทำลายหมด(ให้หมดเชื้อของหนอน) รอให้ใบแตกใหม่-ออกดอกใหม่ แมลงที่กล่าวทั้งหมดสามารถปราบและควบคุมได้พอสมควรโดยใช้ยาอะโซดริน 60 ผสมน้ำอัตราส่วนน้ำยา 1:100 (1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้เป็นฝอยให้จับหน้าของใบบัวบาง ๆ ใบจะดูดน้ำยาเข้าไว้ เมื่อแมลงและหนอนมาดูดกินน้ำเลี้ยงของใบจะกินยาเข้าไปด้วยและตาย ฉีดพ่นทุก ๆ สัปดาห์จนกว่าจะหมดศัตรูฉีดบาง ๆ จะไม่เป็นอันตรายทั้งกับคนและปลาที่เลี้ยง

8. หอย
ส่วนใหญ่ได้แก่ หอยขมและหอยคันเป็นทั้งมิตรและศัตรู หอยโข่งเป็นศัตรูที่จงใจ แต่หอยขมเป็นศัตรูที่ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจ บ้างคือเมื่อตอนเป็นต้นอ่อนจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากรากและใบอ่อนที่เกิดใหม่ ๆ ใต้น้ำ โดยเฉพาะอุบลชาติบัวหลวงไม่ค่อย เดือดร้อนเพราะมีสารที่เรียกว่า ดิวติน เคลือบอยู่ และก้านใบก้านดอกมีหนามเล็ก ๆ (บัวกระด้งหนามเต็มต้นไม่เดือนร้อน เลย) หอยขมและหอยโข่งเมื่อโตขึ้นจะเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบเกาะดูดน้ำ เลี้ยงจากไข่-ตัวหนอน และน้ำเลี้ยง ใบกินระหว่างเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบ ถ้าน้ำกระเพื่อมกระเทือนจะหุบก้าน ปล่อยตัวหลุดจากก้านบัวเมื่อก้านหุบ ก็เลยเหมือนมีดตัดก้านบัวที่ยังอ่อน ๆ ขาดไปด้วยเป็นปัญหาใหญ่ของการปลูกในบ่อดินป้องกันกำจัดโดยการเก็บทิ้งและ ปลูกอุบลชาติเผื่อไว้มาก ๆ จะได้แบ่งเบาการทำลายลงไปได้บ้าง ถ้าปลูกในภาชนะจำกัดเก็บทิ้งง่ายหอยจะเป็นตัวบอกว่า น้ำเสียหรือยังถ้าน้ำเสียหอยจะลอยมาเกาะตามผนังภาชนะ ณ จุดผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจแสดงว่าอ๊อกซิเย่นในน้ำไม่มี น้ำเสียแล้วควรรีบแก้ไข

9. วัชพืช
เป็นปัญหาที่ใหญ่ของการปลูกบัวใน บ่อดิน หญ้ามิใช่วัชพืชหลักเพราะเมื่อถอนทิ้งไปแล้วก็หมดไปโดยเฉพาะน้ำมากและ ลึกพอควรที่เป็นปัญหาหลักคือสาหร่ายมี 2-3 ชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายวุ้น สาหร่ายไปและสาหร่ายฝอย สาหร่ายหางกระรอกปราบยากที่สุดเพราะเปาะเมื่อถูกถอนมันจะขาดส่วนที่ขาดจะลอย และไปขยายพันธุ์ต่อที่อื่น สาหร่าย วุ้นยากเป็นที่ 2 เพราะลื่นและหลุดขาดออกจากกันง่ายเช่นเดียวกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายเส้น หรือสาหร่ายฝอย เก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอนหรือเก็บได้ทั้งกระจุกแต่จะร้ายที่สุด เพราะมักจะไปพันบัวเสียจนยอดบัวเจริญ ขึ้นมาได้ ลูกบัวและก้านบัวต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดจากอุบลชาติประเภทล้มลุกทั้งพวกบานกลางวันและบานกลางคืน คือบัวผัน บัวเผื่อน และบัวสายเป็นปัญหามากที่สุดและไม่รู้จักจบสำหรับการปลูกในบ่อดินที่ปลูก อุบลชาติประเภทนี้ ต้อง เก็บกันเป็นประจำทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพราะนอกจากจะทำให้บ่อบัวรกไม่สวยงามแล้ว ยังแย่งแร่ธาตุอาหารจากบัวที่ปลูก อีกด้วย วิธีแก้คือต้องขยันหมั่นเก็บดอกแก่ทิ้งก่อนติดเมล็ดถ้าปลูกบ่อใหม่และคิดว่า จะเก็บไม่ทัน และปลูกหลายบ่อแนะนำ ให้แยกปลูกอุบลชาติประเภทยืนต้นไว้บ่อหนึ่ง ล้มลุกอีกบ่อหนึ่ง เก็บลูกบัววัชพืชเฉพาะบ่อปลูกประเภทล้มลุกบ่อเดียว

10. ฟักตัวในฤดูหนาว
อุบลชาติประเภทยืนต้นหรือบัวฝรั่งหลายพันธุ์ และอุบลชาติประเภทล้มลุกบานกลางวัน หรือบัวผัน บัวเผื่อนที่นำมาจาก ต่างประเทศบางพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตผลิตใบหนา ก้านใบสั้น จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวแก้โดยเพิ่มความร้อนและ แสงให้ หรือโดยการลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน (ประมาณกลางเดือนตุลาคม) โดย ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกอ่างปลูกให้อยู่ใกล้ผิวหน้าของน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว

11. ปลูกบัวพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับสถานที่และภาชนะที่ปลูก
เป็นหัวใจของการดูและรักษาเพราะถ้าชนิดพันธุ์ไม่เหมาะสมแก่สถานที่ที่จะดูแล รักษาอย่างไรก็ไม่โต ในปัจจุบันพันธุ์ ที่มีจำหน่ายผู้ขายและผู้ปลูกควรรู้จักพันธุ์ว่าชนิดใดชอบน้ำตื้นน้ำลึก ที่ปลูกควรกว้างหรือแคบแค่ไหนผู้ผลิตพันธุ์ออกมา จำหน่ายจะต้องบอกได้ว่าบัวพันธุ์นั้น ๆ ต้องการที่ปลูกอย่างไร

12. อย่าให้อดอาหารและอย่าให้กินจนเป็นโรคท้องมาร
ใส่ปุ๋ยบำรุงตามความจำเป็นถ้าใส่มากเกินไปน้ำจะเขียว ปุ๋ยสูตรสมดุล10-10-10, 12-12-12, 15-15-15 หรือ 16-16-16 ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น หรือปั้นเอาดินเหนียวหุ้มปริมาณเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตของผู้ปลูก เพราะผู้ปลูกแต่ละ รายปลูกในภาชนะขนาดแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตถ้าน้ำเขียว ตะไคร่ สาหร่ายขึ้นเร็วแสดงว่าให้ปุ๋ย มากเกินไปควรลดปริมาณหรือความถี่ในการให้ปุ๋ยลง

13. เลี้ยงปลาที่ไม่กินพืช
เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือปลากัด เพราะจะช่วยกินลูกน้ำ

14. อย่าให้บัวขยายพันธุ์จนแน่นในภาชนะเดียวกัน
บัว ฝรั่งจะแตกต่าง บัวสาย บัวหลวง จะแตกไหลไปขึ้นต้นใหม่ บัวผันหรือบัวสายเกิดเมล็ดงอกเป็นต้นใหม่แน่นภาชนะ ให้เอาออกเพราะหากแน่นมากไปต้นจะไม่ออกดอก

15. อย่าปลูกบัวหลายพันธุ์ในภาชนะเดียวกัน
ต้นจากพันธุ์ที่แข็งแรงโตเร็วจะเบียดต้นอ่อนแอจนตายไปในที่สุด

16. บัวฝรั่ง บัวหลวง เจริญตามแนวนอน
ถ้าพุ่งชนภาชนะเมื่อไรจะชงักการเจริญเติบโต หักเหง้าหรือไหลให้ยอดหันกลับทางกลางอ่างหรือบ่อ

17. ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว
เพราะ จะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ครึ่งหนึ่งจะเป็นการดี

18. เปลี่ยนดินปลูกใหม่
ควรเปลี่ยนเมื่อรากแน่นภาชนะที่ปลูกและถ้าปลูกในภาชนะที่จำกัดหรือถ้าปลูกในบ่อและนาน ๆ หลาย ๆ ปี ก็น่าต้องเปลี่ยน หน้าดินเหมือนกัน

ที่มา https://victorybenz.wordpress.com
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » จันทร์ 05 ธ.ค. 2016 5:02 pm

ปลูกผักเลี้ยงปลา ไม่พึ่งพาสารเคมี แบบ Aquaponics ชุดสาธิตการปลูกผักเลี้ยงปลาแบบ Aquaponics ไม่พึ่งพาสารเคมี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้

DSC587-800x600.jpg
DSC587-800x600.jpg (52.12 KiB) เปิดดู 18360 ครั้ง


ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.เชียงราย (พืชสวน) นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปลูกผักไร้ดิน โดยไม่ต้องใช้สารละลายธาตุอาหาร พร้อมกับเลี้ยงปลา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ว่าที่ ร.ต.ดร.สมสวย ปัญญาสิทธิ์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 6 จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.เชียงราย(พืชสวน) ได้ดำเนินการศึกษาทดลองการปลูกผักไร้ดิน โดยไม่ต้องใช้สาร ละลายธาตุอาหารร่วมกับการเลี้ยงปลา เพื่อลดต้นทุนและได้ผลสำเร็จ เกษตรกรสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก

โดยนายสมถวิล ขัดสาร ผอ.ศูนย์ฯ ให้รายละเอียดว่า การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ นั้นหลายคนคิดว่าได้ผักออแกนนิกส์/ปลอดสาร ซึ่งในความจริงแล้วไม่ได้ปลอดสาร เนื่องด้วยสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นปุ๋ยเคมี ที่ถูกนำมาผสมดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมในการปลูก โดยไม่ต้องใช้ดินและไม่ทำอันตรายกับระบบรากของพืช ปัจจุบันได้มีระบบใหม่ในการผลิตอาหารปลูกผักอย่างยั่งยืน เรียกว่าระบบ Aquaponics แนวคิดของระบบนี้ก็คล้ายกับการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์โดยทั่วไป เพียงแต่สารอาหารที่ส่งให้พืชนั้น นำมาจากของเสียจากระบบการเลี้ยงปลา ซึ่งสามารถอธิบายโดย วัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen Cycle) ในระบบได้ดังนี้

1. ปลาขับของเสีย เช่น ขี้ปลา เมือกปลา หรืออาหารที่เหลือในตู้ปลาเป็นต้น ของเสียเหล่านี้ จะถูกย่อยสลายจนเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียซึ่งมีพิษต่อปลา

2. จากนั้นแบคทีเรีย (Nitrosomonas Bacteria) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่ม Aerobic Bacteria ที่มีอยู่ทั่วไปในระบบ ก็จะทำการย่อยสลายแอมโมเนีย ให้เป็นไนไตรท์ ซึ่งตัวไนไตรท์เองนั้น มีพิษกับปลาต้องถูกขจัดออกไป


3. หลังจากนั้นแบคทีเรีย (Nitrobacter Bacteria) ซึ่งเป็นแบคที่เรียในกลุ่ม Aerobic Bacteria เช่นกัน จะทำการย่อยสลายไนไตรท์ให้เป็นไนเตรท ซึ่งไม่มีพิษทางตรงกับปลา และพืชเองก็สามารถนำไปใช้เป็นสารอาหารได้เลยเช่นกัน แต่ผลเสียทางอ้อมในกรณีที่ไนเตรทในระบบมากเกินไป จะทำให้ค่า ph ของน้ำเปลี่ยนเป็นกรด ทำให้แบคที่เรีย Nitrosomonas Bacteria และ Nitrobacter Bacteria มีจำนวนที่ลดลง เป็นผลทำให้การย่อยสลายของเสียต่างๆหยุดลงได้ แต่หลังจากที่ได้ไนเตรทจากระบบเลี้ยงปลาแล้ว ไนเตรทจะถูกส่งผ่านไปยังระบบการปลูกผัก และผักก็จะดูดซึมไนเตรทออกไปก็เหมือนกับได้ถูกกรอง บำบัดให้น้ำกลับมาสะอาดเหมาะกับการเลี้ยงปลาอีกครั้ง ถือเป็นการเกื้อกูลกันได้เป็นอย่างดี ได้ทั้งปลูกผักและเลี้ยงปลา ไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.เชียงราย(พืชสวน) ได้สร้างชุดสาธิตการเลี้ยงปลาและปลูกผัก Aquaponics แบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น สามารถลดต้นทุนและเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ลักษณะโครงสร้างโดยใช้ไม้ไผ่ ทั้ง 3 ชั้น

DSC901-800x594.jpg
DSC901-800x594.jpg (59.29 KiB) เปิดดู 18360 ครั้ง


ขั้นตอนการปลูกผักไร้ดินและเลี้ยงปลา แบบเศรษฐกิจพอเพียง (Aquaponics)

1. ทำชั้นไม้ไผ่
– หาไม้ไผ่วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นทำโครงแบบราง/กล่อง/ชั้นลิ้นชัก ขนาด 60 X 120 ซม. (วัดขอบด้านในให้ได้ขนาด 1 แผ่นโฟม ทำเป็น 3 ชั้น) โดย- ชั้นที่ 1 เลี้ยงปลา – ชั้นที่ 2 ปลูกผัก – ชั้นที่ 3 กรองน้ำ

ชั้นที่ 1 สำหรับเลี้ยงปลา/เมื่อประกอบราง/กล่อง/ชั้นลิ้นชักเรียบร้อย ใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดวางด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ส่วนพื้นใช้แผ่นโฟมขนาดความหนา 0.50 นิ้ว รองพื้น เพื่อกันกระแทกกันพลาสติกรั่วแล้วปูพลาสติกลง เตรียมน้ำพร้อมที่ปล่อยปลา

ชั้นที่ 2 สำหรับปลูกผัก/ใช้แผ่นพลาสติกปูพื้นเหมือนชั้นแรก แล้วเตรียมแผ่นโฟมเจาะรูพร้อมปลูกผัก

ชั้นที่ 3 สำหรับกรองน้า โดยใช้ไม้ไผ่ทำโครงขนาด 60X40 ซม.

วิธีการทำที่กรองน้ำ-/เตรียมถังพลาสติกสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 35 ซม. ยาว 45 ซม. สูง 40 ซม. 1 ใบ

– กั้นกึ่งกลางของถัง โดยใช้เหล็กหรือไม้เป็นโครงสี่เหลี่ยม แล้วเย็บตาข่ายยึด เพื่อกั้นช่องกรองน้ำและช่องน้ำที่ผ่านการกรอง – ใช้สว่านเจาะรูระบายน้ำในช่องน้ำที่ผ่านการกรอง 2 รู รูที่ 1 อยู่สูงจากพื้น 25 ซม. (ต่อเข้าแปลงผัก) รูที่ 2 อยู่สูงจากพื้น 30 ซม. (เอาไว้ระบายน้ำทิ้งเมื่อน้ำระบายไม่ทัน)และในช่องกรองน้ำอีก 1 รู อยู่ติดกันพื้นกล่อง (เอาไว้ระบายน้ำเสียในบ่อกรองน้ำทิ้ง) – ประกอบเกลียวนอกและเกลียวในให้ครบทั้ง 3 รู โดยตัดยางในรถจักรยาน ยนต์ รองเอาไว้เพื่อไม่ให้น้ำรั่วไหล – ใส่วาล์วสวมปิดรูระบายน้ำทิ้งช่องกรองน้ำ- ใส่ใบโอบอล หินภูเขาไฟและแผ่นใยแก้วให้เต็มช่องกรองน้ำ- ติดตั้งถังกรองน้ำไว้บนชั้นที่ 3 ที่เตรียมไว้

– ต่อระบบน้ำล้นในบ่อกรองน้ำเพื่อระบายน้ำทิ้ง เมื่อน้ำระบายไม่ทันให้ลงบ่อปลา – ต่อระบบปั๊มน้ำ โดยสูบน้ำในบ่อปลาแล้ววางท่อให้น้ำไหลไปลงช่องกรองน้ำ- ระหว่างการเลี้ยงปลาเปลี่ยนถ่ายน้ำในถังกรองน้ำสัปดาห์ละครั้ง และเติมน้ำเพิ่มในส่วนที่เปลี่ยน
ผักปลอดสารพิษ ปลูกประมาณ 1 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้

2. แปลงผัก (ใช้สำหรับปลูกผัก 60 หลุม)
2.1 เตรียมเพาะเมล็ดผักในแผ่นฟองน้ำ (ชนิดผักแล้วแต่ชอบ)
2.2 กล้าผักอายุได้ 7 – 10 วัน นำลงปลูกในแผ่นโฟมปลูกที่เตรียมไว้ (ชั้นที่ 2)
2.3 การดูแลผัก ถ้าผัก (บางชนิด) ต้องการธาตุอาหารสูงควรให้ปุ๋ยทางใบเสริม โดยเน้นปุ๋ยชีวภาพสเปรย์ช่วยได้
2.4 สามารถปลูกผักได้ 3-4 ครั้ง ต่อการเลี้ยงปลา 1 ครั้ง

3. เลี้ยงปลา
3.1 เตรียมน้ำ โดยการเติมน้ำให้สูงประมาณ 80 ซม. ก่อนปล่อยปลา 3 – 5 วัน
3.2 จัดหาพันธุ์ปลา เช่น ปลาดุก ปลาดุกลูกผสม ปลาหมอ
3.3 ให้อาหารปลา โดยใช้อาหารเม็ดลอยน้ำ ตามอายุของปลา 2 มื้อ/วัน ใช้เวลา 3 – 4 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตบริโภคหรือจาหน่ายได้

ประมาณการค่าวัสดุอุปกรณ์ชุดราง ขนาด 60 X 120 ซม.
1. ไม้ไผ่ตง 2 ลำๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 80 บาท
2. ไม้ไผ่รวก 4 ลำๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 80 บาท
3. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด 5 แผ่นๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 255 บาท
4. พลาสติกดำอย่างหนา 3.50 เมตรๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 210 บาท(หน้ากว้าง 3.5 เมตร)
5. แผ่นโฟมรองพื้น 0.50 นิ้ว 1 แผ่น 35 บาท
6. แผ่นโฟมปลูกผัก 1 แผ่น 45 บาท (หนา 1 นิ้ว )
7. ฟองเพาะเมล็ด 1 แผ่น 13 บาท
8. เมล็ดพันธุ์ผัก 1 ซอง 20 บาท
9. ถังกรองน้ำพลาสติก 1 ถัง 120 บาท (ขนาด 30 X 45 ซม. )
10. ใบโอบอล 50 บาท
11. หินภูเขาไฟ 1 กก. 30 บาท
12. ใยสังเคราะห์กรองน้ำ 1 แผ่น 60 บาท
13. พันธุ์ปลาดุก 20 ตัวๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 20 บาท(ขนาด 3 – 5 นิ้ว)
14. อาหารปลา เฉลี่ยเดือนละ 200 บาท
15. ท่อ PVC ขนาด 4 หุน 1 เส้น 50 บาท
16. ข้องอ 4 หุน 5 ตัวๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 25 บาท
17. ข้องอ 6 หุน 4 ตัวๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน 24 บาท
18. สามทาง 4 หุน 1 ตัวๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 5 บาท
19. เกลียวนอก 6 หุน 1 ตัวๆ ละ 8 บาท
20. เกลียวใน 6 หุน 1 ตัวๆ ละ 8 บาท
21. วาล์ว ปิด – เปิด 4 หุน 1 ตัวๆ ละ 25 บาท
22. ปั๊มน้ำตู้ปลา ขนาด AP 2500 1 ตัว 250 บาท
23.
รวมทั้งสิ้น 1,649บาท

เกษตรกรและผู้ที่สนใจ การปลูกผักเลี้ยงปลาแบบ Aquaponics ไม่พึ่งพาสารเคมี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.เชียงราย(พืชสวน) โทร.053-170104
***กุณฑล เทพจิตรา*** สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จ.เชียงใหม่ / ข้อมูล
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 12 ธ.ค. 2016 7:12 pm

วิธีการปลูกพันธุ์มันเทศ

muntesscom4.jpg
muntesscom4.jpg (42.15 KiB) เปิดดู 18332 ครั้ง


ฤดูการปลูก : มันเทศปลูกได้ทุกฤดูกาลตลอดทั้งปี แต่โดยทั่วไปนิยมปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาว ฤดูฝน ควรปลูกช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ฤดูหนาว ควรปลูกช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม ฤดูร้อน นิยมปลูกหลังนา ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ในแหล่งที่มีการชลประทานดี สามารถปลูกได้ 3-4 ครั้งต่อปี

การเตรียมแปลง : ควรไถดะ ตากดิน 7-10 วัน แล้วจึงไถแปรหรือไถพรวนยกแปลงปลูกมันเทศให้สูงขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม สูง 45-60 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 100 เซนติเมตร

ระยะปลูก : ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร , ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร

การคัดเลือกท่อนพันธุ์ การปลูกมันเทศควรใช้เถาช่วงยอด ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มันเทศจะมีการลงหัว ได้ดีกว่าส่วนอื่น

การดูแลรักษา : มันเทศเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่มากเหมือนพืชผัก แต่เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง หัวมีคุณภาพดีควรดูแลรักษา ดังนี้
การปลูกซ่อม : ควรทำการปลูกซ่อมหลังจากปลูกมันเทศแล้ว ประมาณ 15 วัน

การให้น้ำ : ในฤดูฝน หลังฝนตก ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ จะให้น้ำเฉพาะระยะปลูกใหม่ๆ เพื่อให้มันเทศตั้งตัวได้ ในฤดูหนาวและฤดูแล้ง หลังจากให้น้ำจนมันเทศเจริญเติบโตทางส่วนยอดดีแล้ว ควรให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง ขึ้นกับสภาพ ดิน แสงแดด ความร้อน และกระแสลม การใส่ปุ๋ย ควรเป็นปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 80-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยรองก้นหลุมก่อนปลูก และหลังจากปลูก 45 วัน ปุ๋ยคอกที่เหมาะสม ควรเป็นมูลวัว มูลควาย ไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย มูลเป็ด มูลไก่ จะทำให้มันเทศมีการเจริญเติบโตทางยอดมากงามแต่ใบไม่มีการลงหัว

การตลบเถา : มันเทศจะมีการแตกรากใหม่ที่ส่วนข้อ หากปล่อยไว้อาจเจริญเป็นหัวมันเทศเล็กๆ จะมีผลให้หัวที่โคนต้นมีขนาดเล็กลง ดังนั้นหลังปลูก 1-2 เดือน และทุกๆ เดือนควรตลบเถามันเทศขึ้นหลังแปลง

การป้องกัดกำจัดโรคและแมลง : โรคที่สำคัญ คือ โรคใบจุด หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมี ควรใช้ไดโฟลาแทน หรือแมนโคเซ็บ ฉีดพ่นทุก 5-7 วันต่อครั้ง โรคหัวเน่า ป้องกันโดยระมัดระวังอย่าให้หัวมันเทศเป็นแผลขณะขุด ขนส่ง แมลงที่สำคัญ คือ ด้วงงวงมันเทศ หนอนเจาะเถามันเทศ หนอนชอนใบ และเพลี้ยอ่อน ป้องกันโดยใช้สารคาร์โบซัลแฟน เช่น พอสซ์ อัตรา 60 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร จุ่มยอดมันเทศ ก่อนปลูกนาน 5-10 นาที และฉีดพ่นทุก 15-20 วันหากพบ การระบาดรุนแรง หรือใช้สารโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบเพลี้ยอ่อนระบาด
การเก็บเกี่ยว
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » พุธ 14 ธ.ค. 2016 10:45 pm

จัดการเพลี้ยมะม่วง

มหัศจรรย์มะม่วง-3-ยุค2-800x600.jpg
มหัศจรรย์มะม่วง-3-ยุค2-800x600.jpg (131.29 KiB) เปิดดู 17671 ครั้ง


กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงให้ระวังการระบาดของเพลี้ยจักจั่น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ระยะที่มะม่วงกำลังแทงช่อดอก ต้องระวัง โดยเพลี้ยจักจั่นจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระบาดตลอดปี พบมากและทำความเสียหายในช่วงมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจนถึงระยะดอกตูม และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นปริมาณสูงสุดเมื่อดอกใกล้บาน ช่วงธันวาคมถึงมกราคม

สำหรับวิธีป้องกันกำจัด คือสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วงมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจนกระทั่งติดผล อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ผีเสื้อตัวเบียน แมลงวันตาโต แตนเบียนมวนตาโต เชื้อรา บิวเวอร์เรีย ระยะดอกมะม่วงกำลังบาน การพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น แต่ควรปรับหัวฉีดอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป

ระยะใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 – 150 ส่วน หรือจะใช้สารเคมีกำจัดแมลงคาร์บาริล (เซฟวิน 85) อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150-200 ส่วน หรือจะใช้สารเคมีกำจัดแมลงคาร์บาริล (เซฟวิน 85) อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ในสวนที่มีการระบาดรุนแรงควรเปลี่ยนไปพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง หรือสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิต จะช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นลง

ที่มา เชียงใหม่นิวส์
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » เสาร์ 31 ธ.ค. 2016 7:07 pm

โรคของปลาและวิธีการรักษาปลา

fish25.jpg
fish25.jpg (236.53 KiB) เปิดดู 17647 ครั้ง


โรคของปลาเกิดขึ้นได้ทั้งในแหล่งนํ้าธรรมชาติและปลาที่เลี้ยงในบ่อ การเกิดโรคและพยาธิย่อมมีสาเหตุมาจากปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัย เมื่อปลาที่เลี้ยงเป็นโรคและพยาธิแล้วถ้าคุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมโทรมมากขึ้น อาการของโรคก็เพิ่มทวียิ่งขึ้นและถึงตายในที่สุด
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลา ถ้าคุณสมบัติของน้ำเสื่อมโทรมลงอันเกิดจากการขาดออกซิเจน มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 20 ppm. แก๊สแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์สูง เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาเกิดความเครียดและถึงตายในที่สุดได้ ดังนั้นการป้องกันโรคและพยาธิจึงทำได้ง่ายโดยรักษาคุณสมบัติของน้ำในบ่อที่เลี้ยงปลาให้มีสภาพดีอยู่เสมอ การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาปลาในระดับความเข้มข้นที่สามารถทำลายโรคและพยาธิให้ตายได้ ย่อมมีผลกระทบต่อปลาไม่มากก็น้อย จึงควรนำมาใช้เป็นวิธีสุดท้าย

การป้องกันโรค
เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่านลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายในน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้

โรคจุดขาว
อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนัง การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ

โรคจากเห็บระฆัง
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะแพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง

โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่ สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก

การป้องกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง
2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

โรคจากเชื้อรา
อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา

การป้องกันและรักษา
1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง
2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง บ้านเพียงพอ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน

cron