"เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

"เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 8:27 am

นอกจากเมืองต่างๆในดินแดนล้านนาแล้วพญามังรายได้สร้างเมืองอื่นๆอีกด้วย อาทิ เชียงตุง หรือ เจียงตุ๋ง และเมืองนาย ขอเล่าประวัติพอสังเขป ดังนี้

พญามังรายมหาราชทรงสร้างเมืองเชียงตุงแล้วจึงรับสั่งให้ขุนนางเป็นผู้ปกครอง เมืองเชียงตุงเป็นเมืองหน้าด่านติดต่อกับเมืองเชียงรุ่ง แห่งมณฑลยูนนาน ของจีน ต่อมาเมื่อพญามังรายสวรรคต พญาไชยครามพระราชโอรสทรงขึ้นครองราชย์แทน พระองค์จึงทรงรับสั่งให้เจ้าน้ำท่วมพระราชโอรสขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงตุง (เจ้าน้ำท่วมทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของเชียงตุง) ถัดมาเจ้าชายน้ำน่านพระอนุชาของเจ้าน้ำท่วมก็ได้ครองเมืองสืบต่อมา

พญามังรายมหาราชทรงสร้างเมืองนายเมื่อประมาณปีพ.ศ.๑๘๒๘ แล้วรับสั่งให้ขุนนางปกครองเมือง เมืองนายเป็นเมืองที่เชื่อมต่อกับเมืองสีป้อ และเมืองแสนหวี ต่อมาพญามังรายจึงทรงรับสั่งให้ ขุนเครือ พระราชโอรสมาปกครองเมืองนาย จึงถือได้ว่าขุนเครือจึงทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของเมืองนาย เจ้าแม่กุ หรือพระเมกุ กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองเชียงใหม่ ก็เคยเป็นเจ้าเมืองเมืองนายเช่นเดียวกัน

ในกระทู้นี้จะเป็นการรวบรวมภาพของเจ้านายเชียงตุงนะคะ ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการเกริ่นนำว่าเหตุใดจึงสนใจข้อมูลของเชียงตุง

ฟ้อนนกงานปอย.jpg
ฟ้อนนกงานปอย.jpg (97.51 KiB) เปิดดู 19181 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:49 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 8:31 am

มหาเทวีสุวรรณา มารดาเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง

มหาเทวีสุวรรณา มารดาเจ้าก้อนแก้ว.jpg
มหาเทวีสุวรรณา มารดาเจ้าก้อนแก้ว.jpg (60.01 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


เจ้านางทิพย์ธิดา หรือ เจ้านางติ๊บสีลา พี่สาวเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง

เจ้านางติ๊บสีลา.jpg
เจ้านางติ๊บสีลา.jpg (86.33 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ อังคาร 14 มี.ค. 2017 8:36 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 8:35 am

เจ้าแว่นทิพย์ พี่สาวเจ้าติ๊บสีลา และเจ้าก้อนแก้วอินแถลง

เจ้าแว่นทิพย์พี่สาวเจ้าติ๊บสีลา.jpg
เจ้าแว่นทิพย์พี่สาวเจ้าติ๊บสีลา.jpg (72.94 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงและราชวงศ์
ไฟล์แนป
เจ้ารัตนก้อนแก้วอินแถลงและราชวงศ์.jpg
เจ้ารัตนก้อนแก้วอินแถลงและราชวงศ์.jpg (74.66 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 8:40 am

"เจ้านางแว่นทิพย์" เจ้าหญิงแสนหวี ในโลกแห่งความเป็นจริง

เจ้าแว่นทิพย์แสนหวี.jpg
เจ้าแว่นทิพย์แสนหวี.jpg (31.46 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


หลังจาก เจ้านางแว่นทิพย์ ต้องออกจากโรงเรียนคอนแวนต์ ที่ กะลอว์ อย่างอาลัย และ ไม่ทันได้ตั้งตัว เพราะถูกเรียกตัวจากหอเชียงตุง ให้ไปเป็นชายารองของ เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวี เวลานั้นเจ้านางแว่นทิพย์ อายุเพียง ๑๖ ปีและ กำลังตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือเพื่อที่จะสอบในระดับ ๗ เมื่อมีข่าวสารที่ไม่คาดฝัน เจ้าแว่นทิพย์เศร้าเสียใจมาก เพราะเจ้านางไม่สนใจ ที่จะแต่งงาน กับเจ้าห่มฟ้า เพราะเจ้าห่มฟ้านั้นมีมหาเทวี และบุตรถึงสองคน และอายุก็แก่กว่าเจ้านางมาก

งานแต่งงาน ถูกจัดขึ้นอย่างสุดอลังการสามวันสามคืน สมเกียรติเจ้าฟ้าเฒ่าที่ หอคำหลวงเชียงตุง จากนั้น เจ้านางแว่นทิพย์ ก็ต้องเดินทางไปพำนัก ที่เมืองแสนหวี ของ พระสวามี เมื่อไม่ได้ไปโรงเรียน เจ้านางแว่นทิพย์ จึงใช้เวลาทั้งหมดที่แสนหวี ไปกับการอ่านหนังสือไปเที่ยวตลาด เที่ยวงานปอย หรือไม่ก็ต้อนรับแขกที่สนิทสนม เมื่อมีพิธีกั่นต๊อคารวะเจ้าฟ้าแสนหวี บรรดาผู้ดูแลหมู่บ้านพร้อมครอบครัวจะมาร่วมพิธีในตัวเมือง บางครั้งเจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษก็มาร่วมพิธีคารวะ ในหอหลวงเมืองแสนหวีด้วย พวกเขาไม่ต้องนั่งคุกเข่าเหมือนผู้เฒ่าผู้แก่แสนหวี แต่นั่งสังเกตการณ์บน เก้าอี้ ที่ตั้งเป็นแถวอยู่บนพื้นลดระดับด้านขวามือของ เจ้าฟ้า พวกกะลาอังกฤษ เข้ามายืนค้ำศีรษะเจ้าฟ้า และไม่ถอดรองเท้า เมื่อเข้าในท้องพระโรงอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าฟ้าไม่อยากให้ชาวอังกฤษ เห็นว่าตนเองล้าสมัยจึงไม่แยแส และยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งสื่อให้เห็นถึง กาารศึกษาที่ดี และ มีโลกทัศน์กว้าง

ถนนสายเมืองจีน ตัดผ่าน แสนหวี จึงมีนักเดินทางมากมายแวะมาดื่มน้ำชา หรือ รับประทานอาหารกลางวันที่หอหลวงอยู่เสมอ เจ้าแว่นทิพย์ ต้อนรับอาคันตุกะเหล่านั้นในนามชาวแสนหวี ได้อย่างดีเยี่ยมเจ้าฟ้าแสนหวี แต่งงาน กับ เจ้าแว่นทิพย์ แห่งเชียงตุงเพราะว่าเธอทันสมัย พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ฉาดฉานส่วนมหาเทวีนั้นมักโอ้อวดเรื่องที่นางเคยไปลอนดอนสมัยเป็นเด็กด้วยความภูมิใจ แต่เมื่อถูกเชิญ มาพบแขกต่างชาติมหาเทวีกลับหลบหายไปในกลุ่มสาวใช้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าแสนหวีแต่งงานกับหญิงสาวที่มีการศึกษาและทันสมัย

เจ้าแว่นทิพย์ทำความคุ้นเคยกับชีวิตในแสนหวีอย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม แสนหวี เป็นเมืองที่น่าเบื่อ เมื่อเทียบกับ เชียงตุง บ้านเกิดที่เจ้านางจากมา เชียงตุงเป็นเมืองที่ใหญ่ และร่ำรวยที่สุดในฉาน มีพื้นที่ ๒๐,๐๐๐ ตร. ไมล์ ยื่นยาวไปจรดพรมแดนประเทศไทย ลาว และจีน ตัวเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ภายใต้กำแพง ที่ล้อมรอบอย่างแน่นหนา และ มีคูเมือง เป็นปราการชั้นนอก เมืองล้อมรอบด้วย ทิวเขาสลับซับซ้อน สิ่งก่อสร้างภายในเมือง มักจะประดับประดาไปด้วยนกยูง และ สิงห์

เชียงตุง ตั้งอยู่ริมฝั่งทางด้านทิศตะวันออก ของแม่น้ำสาละวิน เหมือนกับ โกก้าง เจ้าฟ้าเชียงตุงปฎิเสธกฏหมายค้าฝิ่นของอังกฤษ หากปราศจากฝิ่นแล้วเชียงตุงจะไม่สามารถจ่ายค่าบรรณาการ แก่อังกฤษที่กำหนดไว้ปีละ ๓๐,๐๐๐ รูปีได้เลย

เจ้าฟ้าเชียงตุง มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจนสามารถสร้างหอหลวง สถาปัตยกรรมอินเดียอันสง่างาม ยิ่งใหญ่ที่สุดในฉานได้ ไม่น่าแปลกใจเลย ที่เจ้าแว่นทิพย์ เริ่มเบื่อหน่ายเมืองที่มีเพียง ถนนลูกรังเพียงเส้นเดียว เจ้าแว่นทิพย์จึงพาญาติผู้น้องมาอยู่ด้วยเพื่อเยียวยาจิตใจ รวมทั้งเด็กชายตัวเล็กแสนซุกซนที่เล่นกับเจ้าได้ ตลอดเวลา แต่เมื่อถึงช่วงเปิดเรียนเด็กๆทุกคนก็ไปโรงเรียน และ ละทิ้งเจ้าอยู่เบื้องหลัง ที่เมืองแสนหวี อันเงียบเหงาตามลำพัง เจ้าคิดถึง โรงเรียน เเต่เจ้าแว่นทิพย์ไม่เคยเบื่อหน่ายชีวิต รอบหอแสนหวีเจ้าแว่นทิพย์มีสนามเทนนิส ม้า ที่ฝึกฝนมาอย่างดี รถพร้อมคนขับ และ เบี้ยเลี้ยง บางครั้งเธอก็นั่งรถไปในป่า เพื่อเยี่ยมช้าง ที่เป็นของขวัญวันแต่งงานจาก เชียงตุง ช้างตัวใหญ่มาก จึงไม่สามารถเลี้ยงไว้ที่หอได้ บางโอกาสพวกเขาก็ขับรถไปเยี่ยมเยียนเมืองใกล้ๆเช่น สีป่อ และ พักผ่อนยามบ่าย ริมสระน้ำคอนกรีตท่ามกลางสวนกุหลาบสวยงาม บางคราวก็ไปเยี่ยมเจ้าฟ้าเมืองไหญ่ที่ยังพำนักอยู่ในหอไม้สักเก่าแก่ และ มืดสลัว พร้อมด้วยชายาหลายองค์ บรรยากาศราวกับย้อนกลับไปในอดีตอันไกลโพ้นทีเดียว

วันเวลาผ่านไปอย่างเรียบง่าย และ สงบสุข ถึงกระนั้นเจ้าตระหนักว่า โลกกำลังสั่นไหวด้วยพายุลูกใหม่ที่โหมกระหน่ำอยู่เบื้องหลังแสนหวี โชคดีที่รัฐฉานยังคงพึ่งพาตนเองได้ ความอุดมสมบูรณ์ปกป้องชาวไต ให้พ้นจากความอดอยาก แม้แต่หลังเหตุการณ์ตลาดข้าวโลกล่มสลายก็ตาม ในที่ราบลุ่มพม่าข้าวส่วนใหญ่ส่งออกสู่ตลาดโลกจึงทำให้ในตลาดท้องถิ่น ขาดแคลนข้าวและราคาก็ขึ้นฮวบฮาบตามตลาดสากล แต่ที่แสนหวีทุกคนกินข้าวที่ปลูกเองพวกเขาไม่เดือดร้อน หรือ ขาดแคลนอะไรเลย

มีอาคันตุกะทั้งที่คุ้นเคยและแปลกหน้ามานั่งบนโซฟาในห้องรับแขก ที่แขวนโคมระย้าอยู่ไม่ขาดสายเจ้าฟ้า และบรรดาสหายต่างถกกันเรื่องทิศทางของการปกครองตนเอง ประเด็นแรก ขณะนี้ราคาสินค้าทั่วโลกตกต่ำซึ่งหมายความว่า เมืองในอาณานิคมอังกฤษคงสามารถจ่ายเงินให้กับอังกฤษ ได้อีกไม่นาน ประเด็นที่สอง ไม่มีการแข่งขันทางการค้า กับ ฝรั่งเศสอีกแล้ว ประเด็นที่สาม อังกฤษตกอยู่ภายใต้แรงกดดันเรื่องสิทธิมนุษยชน เมื่อกองกำลังอาณานิคมถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมทำสงครามโลกครั้งที่ ๑ อำนาจแห่ง ลอนดอน ก็ง่อนแง่นเต็มที พวกเขาคาดเดาว่า สงครามโลกครั้งที่ ๒ จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และแหล่งทรัพยากรของมหาอำนาจทั้งหลายก็คือเมืองอาณานิคมนี่เอง เจ้ายิ้ม และ ฟังเรื่องราวที่ล้อมรอบตัวเจ้าอย่างเกียจคร้าน เหมือนดังพัดลมเพดานที่กำลังหมุนอย่าง เชื่องช้า

วันหนึ่งมีชายแปลกหน้าชาวไต วัยกลางคนมาที่ห้องรับแขกบุคลิกของเขาเข้มแข็งแบบทหาร ถึงไม่บอกก็รู้ได้ว่าชายผู้นี้คือเจ้าฟ้าหยองห้วย เจ้ายังจำความประทับใจ หอหยองห้วย ในขณะไปทัศนศึกษาที่หนองอินเลได้ดี เจ้าได้ยินมาว่า เจ้าส่วยไต้ก์ผู้นี้ได้มรดกเป็นหอหลวงหยองห้วยอย่างไม่คาดฝันจากลุงของเขาที่เสียชีวิตไป อดีตเจ้าฟ้าลุงของเขา เคยให้ ฮิลเดอบราหนด์ยืมเรือหงสาทองคำ ล่องหนองอินเลใน ปี ๑๘๙๐

ก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ นั้นราชสำนักหยองห้วย ใกล้ชิดกับราชสำนักมัณฑะเลย์มาก อดีตเจ้าฟ้าองค์นี้เป็นบุตรบุญธรรม ของ พระเจ้าสีป่อเมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าสีป่อ บรรดาเจ้าฟ้า เริ่มทำสงครามรบพุ่งกันเอง ทำให้อังกฤษฉวยโอกาสเข้าครอบครอง รัฐฉานอังกฤษสนับสนุน เจ้าฟ้าหยองห้วย ทำสงครามเพื่อต่อต้าน และ รุกรานศัตรูซึ่งแลกกับสัมปทาน และ ผลประโยชน์อีกมากมาย อังกฤษปกครองเมืองหยองห้วย จากเมืองตองจีที่อยู่เหนือขึ้นไป
ในปี ๑๙๑๗ มีชาวบ้านพบกาเผือกในบริเวณหนองน้ำที่เชิงเขา ชาวบ้านนำกาเผือกไปถวายแด่เจ้าฟ้าที่หอ เจ้าฟ้าแต่งตั้งชายผู้นั้นเป็น ผู้พิทักษ์กาเผือก อดีตเจ้าฟ้าหลวงหยองห้วยตั้งใจจะกอบกูความรุ่งโรจน์ให้กลับคืนมาหลังจากที่หอเก่าถูกเผาจนสิ้นซาก

เจ้าฟ้าว่าจ้างช่างฝีมือชั้นเยี่ยมมาสร้างหอใหม่ที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างใหม่และเก่า ไว้ด้วยกัน ชั้นล่างของหอก่ออิฐถือปูนสีแดงชั้นบน เป็นอาคารไม้ตามจารีตโบราณมีสามหลังเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ยังสั่งให้ก่อสร้างกรงนกกาเผือกขนาดใหญ่ไว้ที่ สวน ด้วย หอหลวงขนาดใหญ่นี้ ใช้เวลาก่อสร้างแรมปี แต่เจ้าฟ้าก็สิ้นใจ ไปก่อนที่จะยกปราสาท ๗ ชั้นอันเป็นสัญลักษณ์กษัตริย์ ตามแบบมัณฑะเลย์เหนือหอหลวงหลังใหม่เจ้าฟ้าจากไป ละทิ้งภาระกิจสำคัญอยู่เบื้องหลัง ท่านยังไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาทเลย ในปี ๑๙๒๗ อังกฤษ ถือโอกาสเข้าควบคุมสถานการณ์ และ ประกาศการเสียชีวิตของเจ้าฟ้าให้สาธารณชนได้รับทราบ และแจ้งว่าก่อนที่เจ้าฟ้าจะสิ้นใจท่านได้เอ่ยชื่อหลานชายห่างๆ คนหนึ่งซึ่งรับราชการทหารในกองพลตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า เเละ ประจำการอยู่ที่ตองจี

ที่มา - จากเรื่อง เศวตฉัตร -ซึ่ง-จายเคอเเสง , เพจ รักเชียงตุง

เจ้านาง สุคันธา ธิดา เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง อภิเษกกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ณ หอคำเชียงตุง

68226-attachment.jpg
68226-attachment.jpg (115.57 KiB) เปิดดู 19179 ครั้ง


เจ้าสุคันธาตอนชรา ท่านพิราลัยเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๖ อายุ ๙๓ ปี

68227-attachment.jpg
68227-attachment.jpg (88.54 KiB) เปิดดู 19179 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:22 am, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 8:43 am

เจ้าสายเมือง เจ้าจายหลวง(ยืนด้านหลังซ้ายมือ)แห่งเมืองเชียงตุง ถ่ายรูปหมู่ร่วมกับ เจ้าจ่าแสง(ยืนขวาสุดใส่แว่น) เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายแห่งเมืองสีป้อ และมหาเทวีแห่งเมืองสีป้อ อิงเง เซอร์เจน (นั่งอยู่ด้านหน้าซ้ายมือคนที่ ๒ ) ซึ่งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง สิ้นแสงฉาน Twilight Over Burma


เจ้าสายเมืองเจ้าจายหลวง.jpg
เจ้าสายเมืองเจ้าจายหลวง.jpg (55.81 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


ที่มาข้อมูล : รักเชียงตุง

เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงในเทศกาลบอลลูน ที่ประตูเชียงตุง หรือ หนองผา ปี พ.ศ. ๒๔๖๓

เจ้าแก้วอินแถลงในเทศกาลบอลลูนที่ประตูหนองผาปี2463.jpg
เจ้าแก้วอินแถลงในเทศกาลบอลลูนที่ประตูหนองผาปี2463.jpg (108.28 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย pasasiam เมื่อ อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:23 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:04 am

สิ้นเชียงตุง

68240-attachment (1).jpg
68240-attachment (1).jpg (162.55 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


เจ้าก้อนแก้วอินแถลง ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าฟ้าหลวงเชียงตุง เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ สิ้นพระชนม์เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๗๘ พระชนมายุ ๖๐ ชันษา ตรงกับสมัย รัชกาลที่ ๕ – ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสมัยพระเจ้าอินทวิไชยานนท์, เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์,เจ้าแก้วนวรัฐแห่งนครเชียงใหม่ ธิดาของท่าน คือ เจ้าสุคันธา อภิเษกกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นราชบุตรพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ณ หอคำเชียงตุง

เจ้าก้อนแก้วอินแถลง ให้สร้างหอหลวงเชียงตุงเมื่อปี ๒๔๔๙ ด้านหน้าเป็นอาคารคอนกรีต ศิลปะอังกฤษผสมอินเดียด้านหลังเป็นหลังคาศิลปะไทเขิน นอกจากหอหลวงแล้วยังมีอาคารบริวารอีกหลายหลัง ต่อมาเจ้าก๋องไต (กองไท) ราชบุตรเจ้าก้อนแก้วฯ ขึ้นครองราชย์เมื่อ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๐ แต่ถูกคนร้ายใช้ปืนพกยิงสิ้นพระชนม์ที่หน้าหอหลวงเชียงตุง เวลานั้นเจ้าจายหลวง (เจ้าชายหลวง) ราชบุตรเจ้าก๋องไตซึ่งเป็นหลานเจ้าก้อนแก้วฯ ไปศึกษายังต่างประเทศตลอดจนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ เชียงตุงจึงมีผู้สำเร็จราชการอยู่ระยะหนึ่ง

เจ้าจายหลวงกลับมาเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุง เมื่อ ๑๒ เมษายน ๒๔๘๙ ท่านอภิเษกสมรสกับเจ้านางจันแก้วมหาเทวี จนในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๐๕ นายพลเนวินปฏิวัติและจับเจ้าจายหลวงไปขังที่กรุงย่างกุ้ง ๖ ปี หลังจากนั้นให้อยู่ในกรุงย่างกุ้ง จนสิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๐ พระชนมายุ ๗๒ ชันษา ท่านเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุงองค์สุดท้าย

หลังจากนั้นต่อมารัฐบาลทหารพม่าก็ขับไล่เชื้อสายเจ้าฟ้าและบริวารให้ออกไปอยู่ที่อื่น และยึดหอหลวงเชียงตุงกับอาคารอื่น ๆ เป็นสถานที่ราชการของพม่า กลางปี ๒๕๓๔ รัฐบาลทหารพม่าอ้างว่าต้องการใช้พื้นที่หอหลวงเชียงตุงเป็นที่สร้างโรงแรมเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการสร้างความเจริญและสร้างรายได้ให้แก่เชียงตุง

รัฐบาลทหารพม่าเริ่มทุบทำลายหอหลวงเชียงตุงและอาคารบริวารตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ โดยไม่ยอมฟังเสียงคัดค้านจากคณะสงฆ์ไทเขิน ไทใหญ่และชาวเชียงตุง แม้จะมีที่ว่างในเชียงตุงอีกมากมายพอที่จะให้สร้างโรงแรมได้ก็ตาม การรื้อทำลายใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน ประมาณ ต้นปี ๒๕๓๕ รัฐบาลทหารพม่าได้สร้างโรงแรมเชียงตุง(Kyainge Tong Hotel) ขึ้น ต่อมาในปีประมาณปี ๒๕๔๐ รัฐบาลทหารพม่าจึงได้สร้างโรงแรมนิวเชียงตุง(Kyainge Tong New Hotel) ขึ้นบนตำแหน่งเดิมของหอหลวงเชียงตุง

68249-attachment.jpg
68249-attachment.jpg (97.23 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


กู่หรือสุสานเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงมีชายคนหนึ่งเฝ้ากู่อยู่ เขาบอกว่า ชื่อ เจ้าอู่เมือง มีหน้าที่ดูแลกู่หรือสุสานในฐานะลูกหลานเจ้าฟ้า ทุกวันท่านจะปั่นจักรยานคู่ชีพพร้อมมีดดาบอย่างกับนักรบโบราณ ท่านเล่าว่าเคยตามเจ้าพรหมลือกับเจ้าแม่ทิพวรรณมาอาศัยอยู่ที่คุ้มกลางเวียงเชียงใหม่ จึงได้เรียนหนังสือไทยพออ่านออกเขียนได้ หลังมีเกิดรัฐประหารในพม่าจึงจากออกจากคุ้มกลางเวียงกลับมาอยู่กองกำลังของขุนส่าตามตะเข็บชายแดนแถวดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง เมื่อขุนส่าวางอาวุธต่อรัฐบาลทหารพม่าจึงกลับมาอยู่ที่เมืองเชียงตุง ทุกวันนี้ดำรงชีพอยู่ได้จากดอกเบี้ยเงินฝากเล็กน้อยที่นำไปฝากกับธนาคารซึ่งเป็นเงินที่เก็บไว้ตอนทำงานให้กับกองกำลังขุนส่า กู่บรรจุ อัฐิของเจ้าฟ้าเชียงตุงซึ่งตั้งเรียงรายจำนวน ๙ กู่ กู่บรรจุอัฐิเฉพาะเจ้าฟ้าที่เป็นผู้ชายเท่านั้น

องค์องค์ที่ ๑ เป็นของเจ้ามหาขนาน

องค์ที่ ๒ เป็นของเจ้ามหาพรหม ราชบุตรของเจ้ามหาขนาน

องค์ที่ ๓ เป็นของเจ้าน้อยแก้ว

องค์ที่ ๔ เป็นของเจ้าฟ้าเจียงแข็งหรือเจ้ากองไต ราชบุตรเจ้ามหาขนาน

องค์ที่ ๔ เป็นของเจ้ากองคำฟู ราชบุตรเจ้ากองไต

องค์ที่ ๖ เป็นของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง น้องเจ้ากองคำฟู เป็นกู่ที่สร้างขึ้นได้สวยงามซึ่งสร้างโดยช่างชาวอินเดีย

องค์ที่ ๗ เป็นของเจ้ากองไต ราชบุตรเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง

องค์ที่ ๘ เจ้าพรหมลือ น้องเจ้ากองไต

องค์ที่ ๙ องค์สุดท้ายเป็นของเจ้าจายหลวง ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าลำดับที่ ๔๘

ที่มา บล็อก khurtai ,ล็อกอิน pestle Mtai
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:07 am

เจ้านางแห่งเชียงตุง

เจ้านาง.jpg
เจ้านาง.jpg (54.45 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


390042_283136998394007_179065024_n.jpg
390042_283136998394007_179065024_n.jpg (65.85 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:09 am

แม่เจ้าสุวรรณา พระมารดาเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ติดกันทางซ้ายมือของเจ้าแม่สุวรรณา คือ

แม่เจ้าสุวรรณา พระมารดาเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้ว(ตรงกลาง) ติดกันทางซ้ายมือเจ้านางบัวสวรรค์.jpg
แม่เจ้าสุวรรณา พระมารดาเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้ว(ตรงกลาง) ติดกันทางซ้ายมือเจ้านางบัวสวรรค์.jpg (85.3 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง
เจ้านางบัวสวรรค์

เจ้านางจ่ายุ้นท์มหาเทวีเจ้ากองไตแม่เจ้าจายหลวงทรงเล่น ซ็องก็อก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง

เจ้านางจ่ายุ้นท์มหาเทวีเจ้ากองไตแม่เจ้าจายหลวง.jpg
เจ้านางจ่ายุ้นท์มหาเทวีเจ้ากองไตแม่เจ้าจายหลวง.jpg (49.86 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:12 am

งานภิเษกเจ้าห่มฟ้าแห่งแสนหวีและเจ้านางแว่นทิพย์

งานภิเษกเจ้าห่มฟ้าแห่งแสนหวีและเจ้านางแว่นทิพย์.jpg
งานภิเษกเจ้าห่มฟ้าแห่งแสนหวีและเจ้านางแว่นทิพย์.jpg (103.17 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


งานแห่ลูกแก้ว (ส่างลอง) ของเจ้าจายหลวง ปี พ.ศ. ๒๔๓๐

เจ้าจายหลวงแห่ลูกแก้วปี2430.jpg
เจ้าจายหลวงแห่ลูกแก้วปี2430.jpg (61.17 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย pasasiam » อังคาร 14 มี.ค. 2017 9:14 am

เจ้าฟ้ากองไต

เจ้าฟ้ากองไต.jpg
เจ้าฟ้ากองไต.jpg (132.15 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


เจ้าจายหลวง
เจ้าจายหลวงเจ้าฟ้าองค์สุดท้าย.jpg
เจ้าจายหลวงเจ้าฟ้าองค์สุดท้าย.jpg (31.86 KiB) เปิดดู 19180 ครั้ง


จากข้อมูลประวัติศาสตร์ทำให้ทราบว่า หลังจากอาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ใน พ.ศ.๒๑๐๑ เชื้อพระวงศ์ล้านนาราชวงศ์มังรายได้ทรงลี้ภัยไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงตุง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าล้านนาและเชียงตุงนั้นมีความสัมพันธ์กันเสมือนบ้านพี่เมืองน้อง จวบจนมาถึงสมัย “เจ้าจายหลวง” เจ้าเมืองเชียงตุงองค์สุดท้าย

เจ้าจายหลวง ประสูติในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชบุตรในเจ้าฟ้ากองไท เจ้าฟ้าแห่งเชียงตุง (ราชบุตรในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง) ส่วนพระมารดาคือเจ้านางจ่ายุ้นท์ เจ้าจายหลวงมีพี่น้องด้วยกัน ๕ พระองค์ ส่วนพระมหาเทวีของพระองค์คือเจ้านางจันแก้วมหาเทวี มีพระทายาทด้วยกัน ๒ องค์ ส่วนเจ้าพ่อคือเจ้าฟ้ากองไท ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ตั้งแต่เจ้าจายหลวงยังพระเยาว์อยู่ เมืองเชียงตุงจึงมีผู้สำเร็จราชการแทน โดยเจ้าจายหลวงได้ไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ปีต่อมาจึงได้บวชเป็นเจ้าส่างที่วัดหัวข่วงเป็นเวลา ๑๕ วัน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๙๐ เจ้าจายหลวงไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย

ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เจ้าจายหลวงได้ราชาภิเษกเป็นเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้สละพระยศเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงตามข้อตกลงของพม่า โดยเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ นายพลเนวิน ได้ยึดอำนาจการปกครองพม่า และได้ดำเนินนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะการยกเลิกระบอบเจ้าฟ้า โดยเจ้าจายหลวงได้ถูกคุมองค์ไปคุมขัง ณ กรุงย่างกุ้ง เป็นเวลา ๖ ปี และหลังจากนั้นมา ทางการพม่าก็ให้เจ้าจายหลวงประทับอยู่ในกรุงย่างกุ้งต่อมา จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และได้รับการถวายพระเพลิงพระศพที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยพระอัฐิของท่านได้นำมาบรรจุภายในกู่เจ้าฟ้าเชียงตุง

ย้อนไปในสมัยที่เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ขึ้นเป็นเจ้าเชียงตุง พระองค์ได้ส่งโอรส ๒ พระองค์ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ โดยโอรสองค์โตของพระองค์ถือกำเนิดจากหญิงสามัญชน ส่วนองค์รองเกิดจากมเหสี ทั้งสองคนได้ศึกษาเล่าเรียนตามปกติ จนวันหนึ่ง เชียงตุงเกิดระส่ำระส่ายทางการเมือง เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงจึงเรียกโอรสทั้งสองกลับมา.. โอรสองค์โตชื่อเจ้ากองไท องค์รองชื่อเจ้าพรหมลือ.. เจ้ากองไท ไปสมัครเป็นทหารอังกฤษ.. เจ้าพรหมลือไปรับตำแหน่งสำคัญอื่นอยู่ (เจ้าเมืองเหล็ก..ตำแหน่งเจ้าหัวเมือง).. เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงทรงไม่พอพระทัยมากที่เจ้ากองไทไปเข้ากับทหารอังกฤษ.. จึงเรียกตัวกับมาเป็นเจ้าแกมเมือง (เจ้าแกมเมืองคือตำแหน่งรัชทายาท) พอเจ้าเชียงตุงสิ้น เจ้ากองไทจึงได้เป็นเจ้าเมือง.. สร้างความงุนงงว่าเหตุใดจึงไม่ตั้งเจ้าพรหมลือขึ้นเป็นเจ้าเมือง (เนื่องจากเจ้าพรหมลือถือกำเนิดจากมเหสี) .. เจ้ากองไทครองราชย์อยู่ได้ไม่นานพระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์.. ทหารอังกฤษจับตัวคนร้ายได้..เมื่อสอบสวนมีการซัดทอดไปยังเจ้าพรหมลือ.. แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดบ่งบอกว่าเจ้าพรหมลือเป็นผู้บงการจริง..และไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าพระองค์ทรงกระทำจริงหรือถูกใส่ร้าย แต่หลังจากนั้นเจ้าพรหมลือก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากเจ้ากองไทโดยการสืบสันตติวงศ์ แต่เจ้าเชียงตุงลำดับถัดมา ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าเชียงตุงองค์สุดท้ายคือ "เจ้าจายหลวง" (หรือเจ้าขุนศึก) เจ้าจายหลวงซึ่งเป็นโอรสของเจ้ากองไท

เจ้าจายหลวงไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย .. แล้วจึงเสด็จกลับมาเป็นเจ้าเชียงตุง เมื่อเมืองเชียงตุงระส่ำระส่ายอีกครั้ง (ตรงกับราวๆสมัยรัชกาลที่ ๗) เนื่องจากขณะนั้นพม่าสมัยนายพลเนวินมีอำนาจมาก พระองค์ทรงขอลี้ภัย ขอสัญชาติมาเป็นคนไทย แต่ไม่สำเร็จ พม่าจึงสั่งกักบริเวณพระองค์ให้อยู่ภายในย่างกุ้ง เจ้าจายหลวงมีโอรสธิดา ๒ พระองค์ องค์โตเป็นผู้หญิง ปัจจุบันเป็นแพทย์อยู่ในสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย องค์สุดท้องเป็นชาย และมีลูกชายฝาแฝดสองคน.. ชื่อเขมเทพ กับ เขมธรรม ซึ่งต่อมาได้มีการขอสัญชาติไทย และใช้นามสกุลนามสกุล ขุนศึกเม็งราย เพราะเจ้าจายหลวงต้องการให้ลูกหลานรู้ว่า มาจากราชวงศ์มังราย แห่งล้านนา

เพิ่มเติมจากแอดมิน เจ้านายในวงศ์เชียงตุง จะใช้นามสกุล ขุนศึกเม็งราย , มังราย ,ณ เชียงตุง

เรียบเรียงข้อมูล จากประวัติศาสตร์ชาติไทยก่อนและหลัง๒๔๕๗
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 9:56 pm

วัดราชฐานหลวงหัวข่วง กลางเมืองเชียงตุง พ.ศ. ๒๔๗๘
ภาพ : เคนท์เนท อี. เวลล์
62724.jpg
62724.jpg (32.44 KiB) เปิดดู 11615 ครั้ง


เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง
25596.jpg
25596.jpg (48.02 KiB) เปิดดู 11684 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: "เชียงตุง" บ้านพี่เมืองน้อง

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » อังคาร 17 พ.ย. 2020 10:57 am

เเพทย์หญิง เจ้านางเขมรัศมี ขุนศึก-เม็งราย เป็นเจ้าหญิงที่งดงามดุจนางฟ้าสมกับเป็นเจ้าหญิงเเห่งเขมรัฐเชียงตุง
151100.jpg
151100.jpg (82.55 KiB) เปิดดู 10597 ครั้ง

เจ้านางเขมรัศมี ขุนศึก-เม็งราย เป็นพระธิดาใน เจ้าขุนศึก ขุนศึก-เม็งราย กับ หม่อมธาดา ขุนศึก-เม็งราย มีน้องสาว ๑ ท่าน น้องชาย ๑ ท่าน คือ

•เจ้านางเขมวดี ขุนศึก-เม็งราย

•เจ้าชายเขมรัฐ ขุนศึก-เม็งราย

เจ้าขุนศึก เป็นพระราชโอรสใน เจ้าฟ้ารัตนก้อนเเก้วอินเเถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง กับ เจ้าหม่อมจามฟอง เจ้าขุนศึก เป็นน้องชาย ของ เจ้าฟ้ากองไต เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง เป็นพี่ชายของเจ้านางบัวสวรรค์ ที่คนไทยรู้จักกัน

หม่อมธาดา ขุนศึก-เม็งราย เป็นธิดาของแม่บัวจันทร์และนายดาบแดง พัฒนถาบุตร(หม่องพะอู) คหบดีบ้านวัวลาย จ.เชียงใหม่ เชื้อสายพม่า หม่อมธาดา เป็นพี่สาว ของ นายปรีดา พัฒนถาบุตร อดีต รัฐมนตรีหลายสมัยของไทย

ปัจจุบัน เเพทย์หญิงเจ้านางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย ดำนงตำเเหน่งประธานเครือข่ายชมรมเบาหวานและอุปนายก คนที่๒ พร้อมคณะสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ขอบคุณภาพจาก หนังสือ เจ้านาง เเละเพจ รักเชียงตุง
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am


ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน

cron