เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 15 พ.ค. 2017 2:51 pm

ร.ต.ต.นคร ไชยศิลป์ ตำรวจ ๕ แผ่นดิน

BBzZ7sl.jpg
BBzZ7sl.jpg (49.79 KiB) เปิดดู 9965 ครั้ง


ณ ชุมชนวัดเกต จังหวัดเชียงใหม่ มีอดีตตำรวจอายุยืนนับ ๑๐๐ ปี อยู่มา ๕ แผ่นดินอาศัยอยู่ โดยท่านเป็นที่เคารพของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ในวันสำคัญต่างๆชาวบ้านมักจะไปขอพรและขอเคล็ดลับการมีอายุยืนจากอดีตตำรวจท่านนี้อยู่ตลอด ท่านคือ ร.ต.ต.นคร ไชยศิลป์ อายุ ๑๐๐ ปี กับ ๕ เดือน (เกิดปี พ.ศ.๒๔๖๐) ร.ต.ต.นคร นั้นเป็นตำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ จนเกษียณอายุราชการได้รับเกียรติคุณจากกรมตำรวจเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๐ ซึ่งแม้เวลาจากการเกษียณอายุราชการผ่านมา ๔๐ ปี ร.ต.ต.นคร ยังมีสุขภาพแข็งแรง เป็นนายตำรวจที่อายุยืนที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งยังคงเก็บของที่ระลึกในอดีตไว้ เช่น หมวกที่เคยสวมใส่ในอดีต กระบี่พระราชทาน และเคยได้รับเครื่องราชจักมาลา เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๗ จากในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งตอนนั้นได้ยศสิบตำรวจเอกนคร ไชยศิลป์ จากคำบอกเล่า ร.ต.ต.นคร เป็นคนอารมณ์ดี แม้ปัจจุบันร่างกายจะแก่ชรา เดินไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น แต่ก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใดๆให้กังวลใจ ลูกหลานคอยดูแลใกล้ชิด โดยมีเคล็ดลับในการดำรงชีวิตที่ยืนยาวคือ กินน้ำพริกกับผักทุกวัน และดื่มเบียร์เพียงวันละนิด
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 16 พ.ค. 2017 6:13 am

วัดเก่าแก่ที่ปัจจุบันจมอยู่ใต้เขื่อนภูมิพล

วัดเก่าแก่ปัจจุบันจมเขื่อนภูมิพล.jpg
วัดเก่าแก่ปัจจุบันจมเขื่อนภูมิพล.jpg (86.15 KiB) เปิดดู 10055 ครั้ง


วัดจมเขื่อนภูมิพล บุญเสริมถ่าย.jpg
วัดจมเขื่อนภูมิพล บุญเสริมถ่าย.jpg (115.36 KiB) เปิดดู 10055 ครั้ง


ภาพ : บุญเสริม ศาสตราภัย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 28 พ.ค. 2017 9:35 am

ตำนานเสาอินทขิล

Image.jpg
Image.jpg (39.52 KiB) เปิดดู 11823 ครั้ง


เสาอินทขิลมีความสำคัญต่อชาวล้านนามาแต่โบราณ ชาวเมืองจะมีการสักการบูชาเสาอินทขิลอันเป็นหลักบ้านหลักเมืองเพื่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นเป็นประจำทุกปี ในด้านความเป็นมาของเสาอินทขิลนี้เท่าที่ปรากฏในหนังสือตำนานสุวรรณ คำแดง (พระมหาหมื่น วัดเจดีย์หลวง) แปลจากอักษรพื้นเมือง มีความดังนี้

ในกาลก่อนโน้นบริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่นี้ เป็นที่ตั้งของพวกลัวะ และลัวะที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ถูกผีรบกวนต่าง ๆ นานา เป็นที่เดือดร้อนทั่วบ้านทั่วเมือง พระอินทร์ทรงเล็งเห็นความเดือดร้อนของพลเมือง ก็คิดจะช่วยเหลือโดยบอกให้ชาวเมืองถือศีลรักษาสัตย์บ้านเมืองจึงจะรอดปลอดภัยจากอันตราย ชาวเมืองก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม เมื่อพระอินทร์ทรงเห็นว่าประชาชนมีสัตย์ดี ก็บันดาลให้บ่อเงินบ่อททองและบ่อแก้วขึ้นภายในเมือง และให้ชาวเมืองอธิบานเอาตามปรารถนา ในสมัยนั้นชาวเมืองชาวเมืองมีอยู่ ๙ ตระกูล คงจะเป็นตระกูลใหญ่ทำนองเดียวกับพวกแปะแช่ของพวกจีน พวกลัวะ ๙ ตระกูล นั้นแบ่งพวกออกเป็นหมู่ ๆ ละ ๓ ตระกลู ค่อยอยู่เฝ้ารักษาบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้วนั้น พวกลัวะทั้ง ๙ ตระกูลนี้เองทำให้เมืองนี้ได้ชื่อว่า "เมืองนพบุรี” ต่อมาพวกลัวะ ๙ ตระกูลนั้นได้สร้างเวียงสวนดอกขึ้น และอาศัยอยู่ภายในเมืองนั้นด้วยความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลานาน บรรดาลัวะทั้งหลายต่างก็มีความสุขกายสบายใจ เพราะมีของทิพย์เกิดขึ้นในเมืองตน ไม่ต้องทำมาหากินก็มีใช้ ขุดเอาแก้ว เงิน ทอง จากบ่อไปขายก็พอกิน ต่อจากนั้น ข่าวความอุดมสมบูรณ์ของเมืองนพบุรีที่มีบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ของทิพย์เกิดขึ้นในเมืองก็เป็นที่เลื่องลือทั่วไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกล พวกหัวเมืองต่าง ๆ ที่ได้ข่าวก็จัดแต่งรี้พลเป็นกองศึก ยกมาชิงเอาบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้ว พวกชาวเมืองได้ทราบข่าวศึก ดังนั้นก็มีความตกใจและหวาดหวั่นในการศึก จึงนำความไปให้แก่ฤๅษีที่มาจำศีลภาวนาอยู่บริเวณนั้นให้ช่วยเหลือ ฤๅษีจึงเอาความนั้นไปกราบทูลให้พระอินทร์ พระอินทร์ทรงทราบจึงเรียกกุมภกัณฑ์มา ๒ ตน แล้วให้ไปขุดเอาอินทขิลแหลมกลางใส่สาแหรกเหล็ก ให้ยักษ์ ๒ ตนหาบลงไปฝังที่เมืองนพบุรี

เสาอินทขิลดังกล่าวมีฤทธิ์มาก ด้วยอิทธิอำนาจของเสาอินทขิลนี้เองบันดาลให้พวกข้าศึกที่ยกกองทัพมาชิงเอาเมืองนพบุรีนั้นกลายร่างเป็นพ่อค้ากันหมด และเมื่อพวกพ่อค้าเหล่านี้เข้าไปในเมืองพวกลัวะ ชาวเมืองก็ถามว่าท่านมีประสงค์ต้องการสิ่งใด หรือ พวกค้าก็ตอบว่า พวกเรามีความต้องการอยากได้แก้ว เงิน ทองในเมืองของท่าน พวกชาวเมืองก็ตอบว่า พวกท่านอยากได้สิ่งใดก็อธิษฐานเอาตามปรารถนาเถิด ขอแต่ให้ท่านรักษาความสัตย์ขอสิ่งใดจงเอาสิ่งนั้น อย่าได้ละโมบไปในสิ่งอื่นด้วยก็แล้วกัน พวกพ่อค้าได้ยินดังนั้นก็มีความดีใจ ต่างก็สัจจาธิษฐานบูชาขอแก้ว เงิน ทอง ตามความปรารถนา พวกพ่อค้าเหล่านี้ได้มาอธิษฐานขออยู่ทุกปี บางคนก็ทำพิธีขอเอาตามพิธีการของพวกลัวะ บางคนก็ถือวิสาสะหยิบเอาไปเสียเฉย ๆ ไม่ปฏิบัติบูชา มิหนำซ้ำยังเอาท่อนไม้ ก้อนอิฐ ก้อนดิน และอาจมีของโสโครกขว้างทิ้งบริเวณนั้น และไม่ทำพลีกรรมบวงสรวงยักษ์กุมภัณฑ์สองตนซึ่งเฝ้าอยู่นั้น กุมภัณฑ์สองตนเห็นว่าคนพวกนั้นไม่มีความนับถือตนก็โมโห จึงพากันหามเอาเสาอินทขิลกลับขึ้นไปบนสวรรค์เสีย นับแต่นั้นมาบ่อเงิน บ่อทองและบ่อแก้ว ก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ไป พวกคนนั้นจะไปขอสิ่งใดก็ไม่ได้ พวกพ่อค้าเหล่านั้นจึงขาดลาภ และต่างก็พากันกลับไปยังบ้านเกิดของตนเสีย

วันหนึ่งลัวะผู้เฒ่าซึ่งเคยไปสักการะบูชาเสาอินทขิลเสมอได้เอาดอกไม้ธูปเทียนจะไปบูชาเสาอินทขิล ก็ปรากฏว่ายักษ์สองตนนั้นหามกลับไปบนสวรรค์เสียแล้ว ลัวะผู้เฒ่ามีความเสียใจมากจึงร้องไห้ และละจากเพศคฤหัสถ์ไปถือเพศเป็นชีปะขาวบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ใต้ต้นยาง(เข้าใจว่าคงไม่ใช้ต้นยางปัจจุบัน) เป็นเวลานานถึง ๒ ปี ก็มีพระเถระเจ้าองค์หนึ่งจาริกมาแต่ป่าหิมพานต์ ทำนายว่าต่อไปบ้านเมืองนี้จะถึงกาลวิบัติ พวกลัวะได้ยินดังนั้นก็มีความกลัวเกรงเป็นอันมาก จึงขอร้องให้พระเถระองค์นั้นช่วยเหลือให้พ้นภัยพิบัติ พระเถระเจ้าก็รับปากว่าจะช่วยเหลือและได้ขึ้นไปขอความช่วยเหลือจากพระอินทร์ พระอินทร์ทรงบอกว่าให้ชาวเมืองหล่ออ่างขาง (กระทะใหญ่) หนา ๘ นิ้วมือขวาง กว้าง ๘ ศอก ขุดหลุมอีก ๘ ศอก แล้วให้ปั้นรูปสัตว์ทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้อย่างละ ๑ คู่ ปั้นรูปคนทั้งหลายให้ครบ ร้อยเอ็ดเจ็ดภาษา เป็นรูปช้าง ๑ คู่ ม้า ๑ คู่ แล้วเอารูปปั้นเหล่านี้ใส่ลงในกระทะเอาฝังในหลุมนั้น แล้วก็เอาดินถมไว้แล้วก่อสร้างเสาอินทขิลไว้เบื้องบน และให้ทำพิธีสักการะให้เหมือนกับเสาอินทขิลจริง ๆ เถิด บ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติ

พระเถระก็นำความมาแจ้งแก่ชาวเมืองได้ทราบ ดังนั้นจึงปฏิบัติตามคำของพระอินทร์ทุกประการ และได้ทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาเสาอินทขิลและรูปกุมภกัณฑ์ที่สร้างเทียมไว้นั้นแทนเสาจริง ๆ มิได้ขาด บ้านเมืองก็รอดพ้นจากภัยพิบัติตามที่พระเถระได้ทำนายไว้ และเจริญรุ่งเรือวงสืบมา จึงมีประเพณีสักการบูชาเสาอินทขิลมาตราบกระทั่งทุกวันนี้

ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงให้สร้างกุมภกัณฑ์และฤๅษีไว้พร้อมกับเสาอินทขิลนั้นด้วย เพื่อจะให้พวกประชาชนชาวเมืองได้สักการบูชาสืบต่อไป

ครูบาเถิ้ม เจ้าอาวาสวัดแสนฝางซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงทางไสยศาสตร์ครั้งนั้นเห็นว่ากุมภกัณฑ์เฮี้ยนนัก จึงทำพิธีไสยศาสตร์ตัดศีรษะกุมภกัณฑ์ออกเสีย แล้วต่อใหม่เพื่อให้ความขลังลดลง นับแต่นั้นมากุมภกัณฑ์ก็เลยลดความเฮี้ยนลงมาจนกระทั่งปัจจุบัน
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » ศุกร์ 02 มิ.ย. 2017 9:55 pm

เฮือนพญาป๋งลังก๋าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓

เรือนพญาป๋งลังก๋าสร้าง2439.jpg
เรือนพญาป๋งลังก๋าสร้าง2439.jpg (133.43 KiB) เปิดดู 11811 ครั้ง


“เรือนพญาปงลังกา” ตั้งตามชื่อของผู้เป็นต้นตระกูล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ โดย พ่อน้อยถาและแม่หน้อย ซึ่งเป็นลูกเขยและลูกสาวของ พญาปงลังกา ต่อมาเรือนหลังนี้กลายเป็นมรดกตกทอดไปยัง แม่อุ๊ยคำใส ถาวร ลูกสาวพ่อน้อยถาและแม่หน้อย จนถึงรุ่นหลานในยุคปัจจุบัน คือ คุณจรัส มณีสอน ทายาทรุ่นโหลนของพญาปงลังกา เรือนหลังนี้สร้างเมื่อ แม่อุ๊ยคำใส ถาวร อายุประมาณ ๓ ขวบ เมื่อเวลาผ่านไปความทรุดโทรมของสภาพเรือนก็เพิ่มมากขึ้น คุณพูนสวัสดิ์ ทองประดี และคุณจรัส มณีสอน ทราบว่าสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์เรือนโบราณ จึงตัดสินใจมอบเรือนหลังนี้ให้ โดยมีมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเรือน จากบ้านเลขที่ ๗๖๙ หมู่ ๔ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำมาปลูกสร้างใหม่ตามแบบพิธีกรรมทางล้านนา เพื่อความเป็นสิริมงคล ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นเรือนที่สร้างจากไม้เนื้อแข็งทั้งหลังมุงหลังคาด้วย “ดินขอ” มีขนาดใหญ่ปานกลาง ถือเป็นเรือนของผู้มีฐานะ รูปแบบของเรือนคลี่คลายมาจากเรือนกาแลดั้งเดิม แต่ลักษณะการจัดพื้นที่ใช้สอยยังคงไม่แตกต่างไปจากเรือนรุ่นก่อนมากนัก โดยสร้างเป็นเรือนขนาดสองจั่วยกพื้นสูง เรือนใหญ่เป็น “เฮือนนอน” และมี “เติ๋น” เป็นพื้นที่โล่งกว้างเปิดฝาผนังด้านเดียวอยู่ด้านหน้าเรือน สำหรับนั่งทำงาน รับรองรับแขกและใช้พักผ่อนในเวลากลางวัน ส่วนเรือนเล็กทางด้านตะวันออกคือ “เฮือนไฟ” หรือห้องครัว มีประตูด้านหน้าออกไปยังชานระเบียงขนาดเล็ก ที่เชื่อมกับบันไดทางขึ้นเรือน
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 18 มิ.ย. 2017 1:00 pm

พระบรมราชานุสาวรีย์ "พญามังราย" ประดิษฐานอยู่บริเวณห้าแยก จังหวัดเชียงราย ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพระนาม หลายคนคงจะขานพระนามว่า "พ่อขุนเม็งราย" แม้แต่สถานที่ในจังหวัดเชียงราย หรือชื่ออำเภอยังใช้คำว่า เม็งราย ทำให้หลายคนเชื่อว่านั่นคือพระนามของพระองค์ แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปั๊บสา ใบลาน จารึกของวัดต่างๆในล้านนา ล้วนจารึกพระนามของพระองค์ว่า พญามังราย (พระญามังราย) ทั้งสิ้น สาเหตุที่คนในยุคประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้วเรียกขานพระนามว่า "พ่อขุนเม็งราย" เป็นเพราะราวๆ พ.ศ. ๒๔๔๙ พระยาประชากิจกรจักร ข้าราชการจากสยามได้เขียนหนังสือ พงศาวดารโยนก ขึ้นเผยแพร่ หนังสือเล่มนั้นเขียนพระนามพระองค์ว่า "พ่อขุนเม็งราย" หลังจากนั้นได้รวมล้านนาให้เป็นหนึ่งเดียวกับสยาม และใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน จากที่คนล้านนาได้เรียนตัวเมืองจึงค่อยๆเลือนหายไป คนไม่รู้ตัวเมือง อ่าน-เขียนเรียนภาษาไทยอย่างเดียว ทำให้ไม่รู้ว่าในจารึก ปั๊บสา ใบลาน เขียนถึงพระนามว่า "พญามังราย" มาแต่เดิม ชื่ออำเภอ และสถานที่หลายแห่งในจังหวัดเชียงรายจึงเป็นชื่อ "พ่อขุนเม็งราย" มาตั้งแต่บัดนั้น

311591_434242223283594_743922997_n.jpg
311591_434242223283594_743922997_n.jpg (78.34 KiB) เปิดดู 11704 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » เสาร์ 15 ก.ค. 2017 6:19 am

02.jpg
02.jpg (19.68 KiB) เปิดดู 11657 ครั้ง


สาวเครือฟ้า มาจากเรื่องจริงหรือไม่...
สาวเครือฟ้าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้น โดยที่มาจากละครอุปรากร เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย และอุปรากรเรื่องนี้ก็มีที่มาจากนวนิยายฝรั่งเรื่องหนึ่งอีกต่อหนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนำมาดัดแปลงให้เข้ากับเนื้อเรื่องอย่างไทย ลักษณะการแต่งเป็นบทละครร้องสลับการพูด คือมีทั้งการร้องและพูดสลับกันไป โดยมีการร้องเป็นหลัก
เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวความรักระหว่างร้อยตรีพร้อม นายทหารหนุ่มชาวกรุงเทพฯที่ไปพบรักกับเครือฟ้า สาวเชียงใหม่เมื่อครั้งที่ย้ายไปรับราชการที่เชียงใหม่ แต่เมื่อร้อยตรีพร้อมถูกย้ายกลับไปอยู่กรุงเทพฯก็ปรากฏว่าเขาได้พบรักใหม่ เพราะผู้ใหญ่บังคับให้แต่งงานกับสาวกรุงเทพฯ สาวเครือฟ้าเสียใจมากจึงใช้มีดแทงตนเองตาย
บทละครร้องสาวเครือฟ้าได้นำมาใช้ในครั้งที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงสร้างกู่เจ้านายวัดสวนดอก และรื้อย้ายอัฐิจากข่วงพระเมรุ (บริเวณกาดหลวง) มาไว้ แล้วทรงโปรดให้จัดงานเฉลิมฉลอง ๕ วัน ๕ คืน และเป็นครั้งแรกที่มีการนำศิลปะการแสดงจากเมืองหลวงมาเผยแพร่ยังเชียงใหม่ด้วย
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อังคาร 18 ก.ค. 2017 5:17 am

"ตำนานล้านนา” ความเชื่อและที่มาของส้มป่อย

190517-attachment.jpg
190517-attachment.jpg (72.75 KiB) เปิดดู 11649 ครั้ง


ชาวเหนือ คนเมืองล้านนาเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ส้มป่อย ฝักของส้มป่อยที่ใช้ขัดไล่เสนียดจัญไร เราเรียกกันว่า น้ำสุคันโธทกะ เป็นน้ำขมิ้นส้มป่อย มีการใส่ดอกมะลิ ดอกคำฝอย และดอกสารภีลงไปด้วย จึงเรียกว่า น้ำสุคันธะ แปลว่าน้ำอบน้ำหอม มีสีเหลืองอ่อนเนื่องจากใส่ขมิ้น ส้มป่อยฝักแห้ง และดอกคำฝอย…

ส้มป่อยที่ดี คือ ส้มป่อยเดือน ๕ คือเก็บในเดือน ๕ เมือง หมายถึงปฏิทินล้านนา เดือนห้า และยิ่งเก็บในเดือน ๕ เป็ง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ฝักส้มป่อยแห้งคาต้นจะยิ่งดีที่สุด นั่นก็คือวันมาฆบูชา ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วันที่พระจันทร์เสวยมาฆะฤกษ์นั่นเอง แล้วยิ่งเป็นส้มป่อยเจ็ดข้อหรือ ๗ เมล็ด ยิ่งดีเข้าไปอีก ในการปรุงก็เอามาลนไฟย่างไฟพอหอมก็หักแช่น้ำ ผู้ใดได้สระดำเป็นศรีสิริมงคล ถ้าคุณมนต์อาคม จ่ามนต์ พระยามนต์เสื่อมเนื่องจากลอดราวผ้าถุง ตกไปในที่ต่ำ ย่ำไปในที่สูง ถูกถ่มน้ำลายคายน้ำหมากใส่ ลอดใต้ลานบวบห้างลานแตง ลอดเครือฝักแฝง ลอดใต้ต้นกล้วยงำเครือ ก็เอาน้ำส้มป่อยเดือนห้านี้ชุบล้าง คุณมนต์อาคมที่เสื่อมไปจักเริ่มฟื้นฟูกลับคืนมาเร็วขึ้น

ทำไมต้องเจาะจงว่า ส้มป่อยเจ็ดข้อเจ็ดเมล็ด จากชาดกเรื่อง "ปุณณนาคกุมาร" โดยครั้งที่ปุณณนาคกุมารอยากกลายเป็นมนุษย์ ปุณณนาคกุมารเข้ากราบทูลพระบิดาเพื่อขออนุญาตทิ้ง สภาวะอันเป็นนาคให้กลายเป็นมนุษย์ พระบิดาทรงอนุญาต และได้ประทานขันทองคำให้ ๑ ใบ แล้วให้หาส้มป่อยให้ได้ฝัก ที่มี ๗ ข้อ จำนวน ๗ ฝัก เอาแช่ในขันที่มีน้ำจาก ๗ แม่น้ำ และ ๗ บ่อ นำไปที่ฝั่งแม่น้ำใหญ่ เสกคาถา ๗ บท จำนวน ๗ คาบ ถอดคราบออก และอาบน้ำมนต์พร้อมสระเกล้าดำหัว จากนั้นเอาคราบนาคนั้นใส่ในขันทองคำไหลลงน้ำเสียจึงจะเป็นคนโดยสมบูรณ์

ตำนานว่าไว้ส้มป่อย ปู่ส้มป่อยย่าส้มป่อยแต่เดิมอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า เพราะโลกมนุษย์มีแต่โรคภัยไข้เจ็บทั้งเสนียดจัญไร ภูตผีปิศาจ ปู่ส้มป่อยย่าส้มป่อย จึงลงมาจุติขับไล่ภูตผีปิศาจ โดยครั้งลงเป็นต้นพุ่ม ปลายต้นชี้ไปถึงเมืองนาค ทำให้นาคกลายเป็นคน ออกฝักให้คนนำไปทำน้ำสระเกล้าดำหัว สาดซัดไล่ภูตผีปิศาจสิ่งเสนียดจัญไร

ครั้งในรามายะณะ ตอนกำเนิดทรพี โดยล้านนาเรารับเอาคัมภีร์พรหมจักรชาดก เรื่อง "อุสสาบารส"

ครั้งหนึ่ง มีควายชื่อทรพี คิดอยากเอาชนะพ่อ จึงท้าชนทรพาผู้พ่อ ทั้งสอง ต่อสู้กันจนเวลาล่วงเลย ฝ่ายทรพีเพลี่ยงพล้ำถูก ทรพาไล่ขวิดจนถอยร่น ไปไกล ขณะนั้นเองทรพี ได้ถอยไปชนต้นส้มป่อยที่กำลังออกฝักอยู่ ด้วยกำลังที่ชน อย่างแรงทำให้ฝักส้มป่อยหล่นลงมาถูกหัวทรพี ทันใดนั้น กำลังที่เคยอ่อนล้าหมดแรง เกิดฮึกเหิมเพิ่มขึ้น ได้ทีทรพี จึงถาโถมเข้าชนทรพาอย่างเมามัน ผู้เป็นพ่อเสียที หมด แรงถอยไปชนต้นมะขามป้อม ลูกมะขามป้อมหล่นถูกหัว เรี่ยวแรงที่อ่อนล้ายิ่งหมดไป จึงถูกทรพี ผู้เป็นลูกฆ่าตาย ในที่สุด เรื่องนี้อาจเป็นต้นเหตุหนึ่งของความเชื่อในอนุภาพ ของน้ำส้มป่อย

อตี่เต๋ก๋าเล ในอดีตก๋าลนานมาแล้ว ยังมีพระญาความตั๋วหนึ่ง ชื่อ “ควายทรพา” ซึ่งเป๋นใหญ่กว่าควายตัวหลาย ได้หมื่นตั๋ว มีนางควายเป๋นเมียได้พันนาง ควายทรพาเป๋นควายผู้มีฤทธิ์เดชบารมี อำนาจยิ่งใหญ่มากนัก แม้คนและเทวดาก็กลัวเกรง อาศัยอยู่ในป่าใหญ่ปกครองหมู่ควายตังหลายมาเป๋นเวลานาน

ครั้งหนึ่ง มีเทวดาได้ทำนายไว้ว่า ภายภาคหน้า พระญาควายทรพาจะถูกลูกของต๋นซึ่งเป๋น ควายตั๋วปู้ฆ่าต๋าย ตั้งแต่นั้นมา เมื่อควายตั๋วเมียบริวารของต๋น ตั๋วใดคลอดลูกออกมาเป๋นตั๋วปู้ พระญาควายทรพา ก็จะขวิดต๋ายหมดทุกตั๋วควายตั๋วเมียทุกตั๋วก็มีความเศร้าโศกเสียใจ๋ยิ่งนัก ที่ต้องสูญเสียลูกของต๋นไปแต่จ๋ำใจ๋ต้องทำต๋ามคำสั่ง ของพระญา ควายทรพา เพราะเกรงกลั๋วอำนาจ

แต่แล้วครั้งหนึ่ง มีแม่ควายซึ่งกำลังตั้งท้องแก่ตั๋วหนึ่ง บ่ต้องก๋ารที่จะหื้อ พระญาควายทรพาฆ่าลูกของต๋น จึงแอบ หนีจากฝูงไปซ่อนตั๋วอยู่ในถ้ำ จ๋นคลอดลูกออกมาเป๋นความตั๋วปู้ มีรูปร่างกำยำแข็งแรง ร่างใหญ่ยิ่งนัก นางควายจึงตั้ง ชื่อหื้อลูกว่า “ทรพี” ด้วยความรักลูก แม่ควายจึงได้เลี้ยงดูทะนุถนอมลูกน้อยจนเติบใหญ่

ทุกวันนางควายจะสั่งสอนหื้อทรพีควายน้อย ลูกขนตนอย่าได้เหลือกำออกจากถ้ำเป๋นอันขาดหื้ออาศัยอยู่แต่ในถ้ำ เท่านั้น เมื่อทรพีเติบใหญ่ก็อยากออกไปหากิ๋นใจ๊ชีวิตอยู่ข้างนอกถ้ำพ่อง จึงรบเร้าดื้อดึงที่จะออกจากถ้ำหื้อได้ แม่ควายกลั๋วลูกจะมีอันตรายจนถึงแก่ชีวิต จึงตัดสินใจ๋เล่าความจริงจ๋นหมดจ๋นเสี้ยงหื่อลูกฟังว่าทรพาผู้เป๋นป้อจะขวิด ลูกควายตั๋วปู้ทั้งหมดต๋าย ทรพีได้ฟังคำแม่เล่าจึงสงสารแม่และโกรธแคว้นความทรพาผู้เป๋นป้อ จึงพยายามออกกำลัง บำรุงร่างก๋ายของต๋นหื้อแข็งแรงเพื่อที่จะปกป้องตั๋วเก่าและผู้เป๋นแม่หื้อปลอดภัย โดยก๋ารฝึกฝนหัดขวิดต้นไม้และหินผา ทุกวัน ๆ และหมั่นไปวัดรอยเท้าของทรพาผู้เป็นพ่ออยู่เสมอ

ในที่สุดความทรพีก็ตัดสินใจ๋ไปพบพระญาควายทรพาผู้เป๋นป้อ เพราะร่างกายมันแข็งแรงพอและมีรอยเท้า ที่เท่ากับผู้เป็นป้อแล้ว มันตรงเข้าไปถามว่า ท่านคือทรพาแม่นก่อ เมื่อทรพาตอบรับ ทรพีก็บอกว่ามีนคือลูกของทรพา ที่เกิดจากแม่ควาย ซึ่งหลบหนีไปคลอดลูกอยู่ในถ้า ทรพาเมื่อทราบเช่นนั้นก็ตกใจ๋มาก เป๋นติ๋นสั้นมือสั้น เนื่องจากกลั๋วตายเป๋นดั่งคำ ทำนายทางทักที่ว่า มันจะต้องต๋ายเพราะลูกของมันเอง จึงได้ตรงเข้าไปไล่ขวิดหวังจะฆ่าลูกหื้อต๋าย

ในขณะที่ พระญาควายทรพาเป๋นผู้มีเต๋จ๊ะ ฤทธิ์เดชและอำนาจทรพีผู้เป๋นลูกก็มีความกำยำและแข็งแรงด้วยวัย หนุ่ม ตังสองป้อลูกต่อสู้ไล่ขวิดกั๋นบ่มีไผแป้ไผ่ก๊าน สู้กั๋นเป๋นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ระหว่างที่พระญาควานตังสองไล่ขวิดกั๋นนั้นบังเอิญทรพาผู้เป๋นป้อ ได้เอาหลังไปจนยังต้นบ่ขามป้อม ทำหื้อหน่วยบ่ขามป้อมตกลงมาถูกตั๋วของทรพา จ๋นทำหื้อฤทธิ์เดชอำนาจ เสื่อมลงไปทันทีอย่างงน่าประหลาด ทรพากลั๋วจะพ่ายแพ้แก่ทรพีจึงพยายามอึดใจ๋กระหน่ำ ไล่ขวิด ทรพีอย่างสุดแรง ดันร่างทรพีลูกของต๋น ทรุดลงไปอิงต้นส้มป่อยทำหื้อน้ำค้างจากใบส้มป่อยหล่นลงมาใส่หัว ของทรพี จ๋นเกิดพละกำลังขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ จึงลูกขึ้นดันทรพาผู้เป๋นป้อไปสุดกำลัง

เมื่อทรพาทรุดลงไป ทรพีผู้เป๋นลูกได้ทีจึงเอาเขาขวิดป้อ เลือดพุ่ง ไส้ทะลัก จ๋นถึงแก่ความต๋ายลงทันที คนตังหลายจึงกล่าวถึงทรพีว่าเป๋นลูกที่อกตัญญูคือฆ่าป้อของต๋นจึงเปรียบและตราหน่าว่าเป๋นลูกทรพีก็เนื่อมาจากสาเหตุอันนี้

นับตั้งแต่นั้นมา ชาวล้านนาก็หันว่าส้มป่อยเป๋นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงนิยมเอาส้มป่อยมาใจ๊ในพิธีกรรม เพื่อหื้อเกิด ความศักดิ์สิทธิ์ขลัง และใจ๊อาบน้ำ พรมน้ำมนต์เพื่อหื้อเกิดพลัง และความเป๋นศิริมังคะละ (สิริมงคล) ต่อต๋นเอง อันเป๋นคติสืบทอดกั๋นมา ดังนี้แลฯ

ที่มา https://todaynewsth.com/
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » อาทิตย์ 30 ก.ค. 2017 7:47 am

ทักษาเมืองเชียงใหม่เมื่อครั้งสร้างเมืองสมัยพญามังราย

1364715786.jpg
1364715786.jpg (123.35 KiB) เปิดดู 11611 ครั้ง


แนวคิดและความเชื่อของคนโบราณ ว่า เมืองนั้นก็มีชีวิตเช่นเดียวกับคน การสร้างเมืองขึ้นมาก็เหมือนกับการให้ชีวิตเมือง ต้องมีส่วนต่างๆ เหมือนคน มีหัว มีสะดือ มีส่วนต่างๆ อยู่ตามทิศต่างๆ และดวงเมือง ก็เหมือนดวงคนมีทิศของดวงต่างๆ ไม่เหมือนกัน เมื่อใดเกิดสิ่งไม่ดี หรือภัยพิบัติ ขึ้นกับเมือง ก็ต้องมีการสืบชะตาเมือง ทิศอุดร ถือว่าสำคัญที่สุด เปรียบดังเป็นส่วนหัว ประตูเมืองด้านนี้จึงเรียกว่า ประตูหัวเวียง

พญามังรายสร้าง วัดเชียงมั่น เป็นวัดแรก เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่อันมีความหมายว่ามั่นคง อยู่ในพระนครชั้นใน และสร้างวัดเชียงยืน หมายถึงยั่งยืน อยู่นอกกำแพงเมืองเป็นพระอารามหลวงนามมงคลมีฐานะเป็นเดชเมืองเชียงใหม่ตามคัมภีร์มหาทักษา

ทักษา หมายถึง ชื่อเรียกกลุ่มดาวอัฐเคราะห์ หรือดาวทั้งแปด คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ ที่จัดเข้าระเบียบเป็น บริวาร อายุ เดช ศรี มูล อุตสาหะ มนตรี และ กาลกิณี เวียนขวา (ทักษิณาวรรต) ไปตามทิศทั้ง ๘ คือ บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ และ อุดร

ทักษาเมืองเชียงใหม่นั้นกำหนดตามทิศต่างๆ ดังนี้
เกตุเมือง - วัดสะดือเมือง (วัดอินทขิล) อยู่กลางเมือง
บริวารเมือง - ประตูสวนดอก
อายุเมือง - แจ่งหัวลิน
เดชเมือง - ประตูช้างเผือก
ศรีเมือง - แจ่งศรีภูมิ
มูลเมือง - ประตูท่าแพ
อุตสาหะเมือง - แจ่งขะต้ำ
มนตรีเมือง - ประตูเชียงใหม่
กาลกิณีเมือง – แจ่งกู่เฮือง

ทักษาเมืองเชียงใหม่เปลี่ยนในสมัยพระเจ้าติโลกราช

1364713216.jpg
1364713216.jpg (149.88 KiB) เปิดดู 11611 ครั้ง


ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ร่วมสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาณาจักรล้านนากับอาณาจักรอยุธยาได้ทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงเมืองเชลียง ศรีสัชนาลัย ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระเถระมังหลุงหล้าง ชาวพุกามมาทำลายล้างเมืองเชียงใหม่ โดยพระเถระมังลุงหลวงออกอุบายลวงพระเจ้าติโลกราชว่า ถ้าหากพระองค์มีพระประสงค์จะมีพระบรมเดชานุภาพปราบไปทั้งชมพูทวีป พระองค์ควรตัดต้นไม้ศรีเมืองและสร้างพระราชฐานบริเวณศรีเมืองนั้นแจ่งศรีภูมิ

พระเจ้าติโลกราชทรงทำตามคำยุตัดต้นไม้นิโครธ (ต้นไทร) อันเป็นไม้ศรีเมืองทิ้ง และทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพวกผาสี (ชาวจีนอิสลาม) มาทำคุณไสยฝังไหยาสิ่งอัปมงคลต่างๆ ภายในทักษาเมืองเชียงใหม่ ก็เกิดอาเพทเหตุอุบาทว์ต่างๆ นานากับเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าติโลกราชทรงทราบความจริงจึงทำการฆ่าพระเถระมังหลุงหล้างและพวกผาสีทิ้งแล้วให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ทำพิธีแก้ " ขึด " โดยการย้ายและสร้างศูนย์กลางเมืองมาที่ใหม่คือ พระธาตุเจดีย์หลวงเปลี่ยนฐานะจากกู่ (สถูป) บรรจุอัฐิพระเจ้ากือนา มาเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสถาปนาวัดเจดีย์หลวงเป็นเกตุเมือง ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่องค์พระเจดีย์ ให้หมื่นด้ามพร้าคต (สีหโคตเสนาบดี) เสริมสร้างความใหญ่โตและแข็งแรงให้แก่องค์พระเจดีย์ พร้อมทั้งสถาปนาวัด ๘ วัด ซ้อนทักษาเมืองเดิมที่ถูกทำลายไป (โดยเฉพาะศรีเมือง)

วัดทักษาเมืองทั้ง ๘ ทิศของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย
ศูนย์กลางเมือง หรือเกตุเมือง - วัดเจดีย์หลวง (โชติการาม)
มูลเมือง - วัดบุพพาราม (อารามทิศตะวันออก)
อุตสาหะเมือง – วัดชัยมงคล
มนตรีเมือง – วัดนันทาราม
กาลกิณีเมือง - วัดร่ำเปิง (ตโปธาราม)
บริวารเมือง - วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก)
อายุเมือง - วัดเจ็ดยอด (โพธารามมหาวิหาร)
เดชเมือง - วัดเชียงยืน (ทีฆวัสสาราม)
ศรีเมือง – วัดชัยศรีภูมิ
ข้อมูลจากประวัติศาสตร์ล้านนา,ตำนานเมืองเชียงใหม่
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 10 ก.ย. 2017 9:28 pm

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เชียงใหม่
ตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้าด้านที่ตัดกับถนนราชดำเนิน ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เจ้าบุรีรัตน์เป็นตำแหน่งทางราชการ คุ้มเจ้าบุรีรัตน์หลังนี้คาดว่าสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๓๖ ปัจจุบันตกเป็นของตระกูลกิติบุตรและทิพย์มณฑล ซึ่งมอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดตั้งเป็นศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล จัดการ และดำเนินงาน ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อเก็บข้อมูล และค้นคว้า วิจัย อันนำไปสู่แนวทางในการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง รูปแบบทางสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างลักษณะพื้นถิ่นและตะวันตก และเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่สร้างในเชียงใหม่ยุคแรก เป็นเรือนสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้บันไดอยู่ด้านนอก เสาชั้นล่างก่ออิฐหนาเป็นรูปโค้ง ฉาบปูนเป็นระเบียงโดยรอบ ชั้นบนเป็นพื้นไม้สักมีระเบียงโดยรอบ ปัจจุบันตัวอาคารยังอยู่ในสภาพดี แสดงถึงวิทยาการก่อสร้างที่แข็งแรงคงทนในอดีต เปิดให้ชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๓๐ น. สอบถามรายละเอียดที่โทร. ๐๕๓ ๒๗๗๘๕๕

K11713374-33.jpg
K11713374-33.jpg (114.66 KiB) เปิดดู 11508 ครั้ง


ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๘ เป็นคณะที่ ๑๗ ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๓ โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา ๒๕๔๒ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม
จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค
ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานชุมชนและวัฒนธรรม ของคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ ๑๑๐ ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากครอบครัวคุณเรียงพันธ์ ทิพย์มณฑล และครอบครัว อาจารย์จุลทรรศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔
อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่๓) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๓๖ ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๘๙
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๐ นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพย์มณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือ คุณเรียงพันธ์ ทิพย์มณฑล (บุตรีนางบัวผัน และเป็นพี่สาวอาจารย์จุลทรรศน์ กิติบุตร)
วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ตระกูลกิติบุตรและทิพย์มณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 10 ก.ย. 2017 9:33 pm

ห้างนาเจ้าหลวง

K11713374-39.jpg
K11713374-39.jpg (63.45 KiB) เปิดดู 11508 ครั้ง


ห้างนาเจ้าหลวง ได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์โดย พล.อ.ต.เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ผู้มีศักดิ์เป็นหลานเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ว่าอาคารทรงแปดเหลี่ยมเป็นของเจ้าปู่ ที่ชาวบ้านจะเรียกขานกันติดปากว่า “ห้างเจ้า” ได้ก่อสร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ.๒๔๗๒ สมัยก่อนแถวนี้เป็นป่าไม้สัก เจ้าปู่เอาช้างใช้งานมาไว้ที่ห้างนานี้
เจ้าปู่มีห้างนาคล้ายๆกันอย่างนี้ ๔ หลังในลำพูน หลังใหญ่ที่สุดที่อำเภอแม่ทาถูกรื้อไปแล้ว อีกที่จะเหมือนที่นี่อยู่ที่อำเภอป่าซางถูกรื้อไปแล้วเช่นกัน และที่บ้านริมปิงหลังใหญ่คนละรูปทรง ยังมีสภาพดีอยู่สวยกว่าที่นี่ แต่เจ้าพี่ลูกเจ้าป้าได้ยกให้ผู้ใหญ่บ้านที่เคยเฝ้าไป
ห้างนา แห่งนี้ในอดีตตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมดเกือบ ๕๐๐ ไร่ โดยมีอาณาบริเวณทิศเหนือติดกับเขตบ้านหนองสี่แจ่ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้ติดถนนสายป่าเห็ว-ริมปิง ทิศตะวันตกติดเขตของตำบลหนองช้างคืน มีผนังกลางเป็นเขตแนว ทิศตะวันออกติดเขตหลังวัดก่อม่วง มีลำเหมืองลึกเป็นแนวกั้นโดยสร้างสะพานข้ามลำน้ำที่เรียกว่า “ขัวมุง” เพราะหลังคามุงด้วยสังกะสี ด้านหลังห้างเจ้าเป็นทุ่งนาสุดลูกตา มีหนองน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ,ผักตบชวา และปลานานาชนิด โดยเฉพาะปลากระดี่ ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หนองเจ้า” อยู่มุมตรงทิศตะวันตกเฉียงเหนือจรดเขตติดต่อกับบ้านหัวฝาย ตำบลหนองช้างคืน มีลำน้ำเหมืองลึกเป็นสายน้ำหล่อเลี้ยง ดังนั้นในฤดูน้ำหลาก ปลาจะออกมาจากหนองเจ้าลงมาสู่เหมืองลึกเป็นฝูงใหญ่ ชาวบ้านได้จับปลาเป็นอาหารมาตลอดชั่วอายุคน ฟากด้านเหนือขึ้นไปจะมีหนองน้ำใหญ่ที่เรียกกันว่าเป็น หนองหลวง ที่มีความกว้างและลึกมากสมชื่อหนองหลวง มีพันธุ์ธัญญาหาร และปลานานาชนิด อุดมสมบูรณ์มาก โดยมีลำน้ำเหมืองที่เรียกกันกว่า”เหมืองเก้าศอก”เป็นสายน้ำหล่อเลี้ยง
อาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลของห้างเจ้าตอนนั้นปลูกต้นจามจุรี(ต้นฉำฉา) และต้นตาลแสดงเป็นอาณาเขต บนผนังกั้นน้ำเหมืองเก้าศอกจรดบ้านหนองสี่แจ่งด้านตะวันตก ปลูกบนสันเหมืองน้ำท่อลานเป็นแนวยาวตลอดจรดบ้านหัวฝาย มีผนังกลางเป็นแนวกั้นน้ำ ส่วนบริเวณห้างเจ้า มีอาคารทรงแปดเหลี่ยม และอาคารหลังเล็กอีก ๒ หลัง และมียุ้งข้าว(หลองข้าว)ใต้ถุนสูงอีกหนึ่งหลังใหญ่ เป็นที่เก็บข้าวเวลาเจ้าหลวงออกมาผ่าข้าว(แบ่งข้าว) อยู่ในบริเวณเดียวกัน และมีคูน้ำล้อมรอบ มีต้นไม้ผล เช่นชมพู่มะเมี่ยว ต้นมะม่วง ต้นงิ้วหลวง ปลูกไว้เต็ม
ห้างนาเจ้าหลวงแห่งนี้ ปัจจุบัน พล.อ.ต.เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ใช้เป็นที่พำนัก หลังจากเกษียณราชการ มีเนื้อที่เหลืออยู่ประมาณ ๘๖ ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕๑ หมู่ ๕ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ภาพ : ชาละวัน
บทความ : วชิระ เรืองพรวิสุทธิ์



คุ้มเจ้าบุ ทาปลูก (ณ ลำปาง) บ้านป่ากล้วย

K11713374-34.jpg
K11713374-34.jpg (150.09 KiB) เปิดดู 11508 ครั้ง


เจ้าแม่บุ ทาปลูก (ณ ลำปาง) เจ้านายฝ่ายเหนือตระกูล ณ ลำปาง เป็นนัดดาของเจ้าหลวงนรนันท์ชัยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๙ คุ้มเจ้าแม่บุ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
แก้ไขล่าสุดโดย Namfar เมื่อ อาทิตย์ 10 ก.ย. 2017 9:39 pm, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » อาทิตย์ 10 ก.ย. 2017 9:36 pm

คุ้มหลวงลำพูน

K11713374-38.jpg
K11713374-38.jpg (32.1 KiB) เปิดดู 11508 ครั้ง


สร้างขึ้นบนที่ดินกลางเมืองลำพูน แทนคุ้มเก่าที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังที่รื้อออกไป ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด แต่มีบันทึกว่าทำบุญขึ้นบ้านใหม่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ตัวคุ้มตั้งอยู่ในพื้นที่สี่ไร่เศษ มีกำแพงก่ออิฐถือปูนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ตัวอาคารสร้างด้วยคอนกรีต และไม้สักสองชั้นรูปทรงอย่างยุโรป หลังคาทรงปั้นหยา ด้านหน้าซ้ายขวาเป็นหลังคารูปโดมทั้งสองข้าง บนจั่วหลังคาด้านหน้ามีอักษรย่อ จค. ซึ่งหมายถึงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าของผู้สร้างอาคารหลังนี้ แต่เดิมประตูทางเข้าออกของกำแพงคุ้มแห่งนี้ อยู่ทางด้านทิศเหนือ ประตูเป็นสองชั้นไม้สัก ใช้เป็นที่เทียบขึ้น - ลง ช้างพาหนะ ที่ใกล้เสาประตูรั้วในสมัยก่อน ปัจจุบันประตูด้านนี้ถูกปิดไป (ตึกแถวย่านศูนย์การค้าแจ่มฟ้าสร้างปิดไว้)
(ภาพนี้บันทึกเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๕ หลังจากได้รับการบูรณะทาสีใหม่ปี ๒๕๔๔)คุ้มหลวงลำพูนแห่งนี้เป็นมรดกตกทอดอยู่ในความดูแลของ ตระกูลเจ้า ณ ลำพูนชั้นหลาน ยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม แต่ยินดีให้ นักวิชาการหรือสื่อมวลชน ที่สนใจบันทึกเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์เท่านั้น
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 23 ธ.ค. 2017 4:42 pm

ย้อนประวัติศาสตร์…กำแพงและประตูเมืองเชียงใหม่

DSC_2298.jpg
DSC_2298.jpg (746.9 KiB) เปิดดู 11182 ครั้ง


จังหวัดเชียงใหม่ยังคงเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยก็ว่าได้ ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกำแพงและประตูเมืองหลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะมีการบูรณะซ่อมแซมมาบ้างแล้วก็ตาม แนวกำแพงและประตูเมืองที่เห็นในปัจจุบันยังคงมีเค้าโครงของแนวกำแพงสมัยโบราณอยู่ โดยเฉพาะก้อนอิฐซึ่งมีลักษณะใหญ่กว่าปกติ สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้ากาวิละที่เข้ามาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่หลังจากที่ร้างมานานกว่า ๒๐๐ ปี

กำแพงเมืองและประตูเมืองเชียงใหม่มีความสำคัญ ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่พิเศษ ในอดีตเมื่อพระมหากษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองจะต้องเข้าเมืองที่ประตูทางทิศเหนือซึ่งถือเป็นเดชเมือง ในการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ขึ้นแต่เดิมนั้น พงศาวดารโยนกกล่าวไว้ว่า เมื่อพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นแล้ว ได้ทรงขุดคูเมืองทั้งสี่ด้านนำเอาดินขึ้นมาถมเป็นแนวกำแพง โดยเริ่มขุดที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือคือแจ่งศรีภูมิอันเป็นทิศมงคลก่อน แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินพังทลาย ข้างบนกำแพงปูอิฐตลอดแนวทำเสมาไว้บนกำแพงทั้งสี่ด้านและประตูเมืองอีกทั้งสี่แห่ง คือประตูหัวเวียง(ช้างเผือก) ,ประตูท้ายเวียง(เชียงใหม่) ,ประตูท่าแพและประตูสวนดอก

กำแพงเมืองเชียงใหม่มีสองชั้น คือ กำแพงชั้นในรูปสี่เหลี่ยมและกำแพงชั้นนอกหรือกำแพงดิน กำแพงทั้งสองชั้นสร้างขึ้นไม่พร้อมกันและมีความสำคัญไม่เท่ากัน กำแพงชั้นในสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระยามังราย เมื่อครั้งสถาปนาเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ ส่วนกำแพงชั้นนอกสันนิษฐานว่าสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒

ในรายงานการวิจัยเรื่อง “ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน” โดยสรัสวดี อ๋องสกุล กล่าวถึงความสำคัญของกำแพงเมืองทั้งสองว่า กำแพงเมืองชั้นในมีความสำคัญกว่ากำแพงเมืองชั้นนอก ซึ่งพิจารณาจากการใช้สอยพื้นที่พบว่า ภายในกำแพงเมืองชั้นในถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการปกครองเพราะเป็นที่อยู่ของกษัตริย์และเจ้านาย รวมทั้งเป็นที่ตั้งของวัดสำคัญหลายแห่ง เช่น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง วัดเชียงมั่น ด้านถนนภายในกำแพงเมืองมีลักษณะตัดตรงเป็นเรขาคณิต เมื่อเปรียบเทียบกันกำแพงเมืองชั้นนอกแล้วพบว่า กำแพงชั้นนอกเป็นที่อยู่ของช่างและพ่อค้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย อาทิ ชาวเขิน มอญ พม่า ไทใหญ่และไทยวน ส่วนบริเวณกำแพงเมืองชั้นในจะกำหนดให้เฉพาะชาวไทยวน หรือ คนเมืองอยู่เท่านั้น

บริเวณกำแพงเมืองชั้นใน ประกอบด้วยประตูเมือง ๕ ประตู ได้แก่ ประตูหัวเวียง หรือ ประตูช้างเผือก อยู่ทางทิศเหนือของเมืองถือว่าเป็นประตูมงคล ในพิธีราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่จะเสด็จเข้ามาที่ประตูนี้ ประตูหัวเวียงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ประตูช้างเผือกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เมื่อพญาแสนเมืองมาได้สร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก ๒ เชือกเป็นอนุสรณ์แก่มหาดเล็ก ๒ คนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากภัยสงคราม แต่เดิมรูปปั้นช้างเผือกทั้ง ๒ เชือกอยู่ริมถนนโชตนาด้านละเชือก สำหรับรูปปั้นช้างเผือกที่ตั้งในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ

ประตูเชียงเรือก ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ คาดว่ามีประชากรหนาแน่น ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงสมัยพญาแก้วเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงเรือกมีคนจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๑๖ – ๒๔๔๐) ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็นประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก ซึ่งอยู่บนถนนสายเดียวกัน ชื่อประตูท่าแพ หมายถึงประตูชั้นนอกตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดแสนฝาง ต่อมาบ้านเรือนขยายตัวประตูท่าแพชั้นนอกได้สลายไปเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า ประตูท่าแพ สำหรับประตูท่าแพในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๒๙ โดยอาศัยภาพถ่ายเก่าประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕

ประตูเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ในอดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูน ในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๘๐๔ – ๒๑๐๑) ทั้งเชียงใหม่ กุมกามและลำพูนตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำปิงเช่นเดียวกัน การเดินทางจึงไม่ต้องข้ามแม่น้ำปิง

ประตูแสนปุง ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับประตูเชียงใหม่ คือเฉพาะกำแพงเมืองด้านใต้เท่านั้นที่มีสองประตู ประตูนี้สันนิษฐานอาจเจาะภายหลังคือไม่ได้สร้างพร้อมกับสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการเจาะประตูนี้ หลักฐานตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูแสนปุงครั้งแรกสมัยมหาเทวีจิรประภา พ.ศ.๒๐๘๘ “…ชาวใต้มาปล่นเอาปะตูแสนปุง บ่ได้…” สันนิษฐานที่ชื่อ แส
นปุง เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัยอยู่ และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและพื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณีจึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นทางออกไปสุสาน

ประตูสวนดอก ตั้งอยู่ทิศตะวันตกประตูด้านนี้เป็นทางออกไปสู่อุทยานของกษัตริย์ สมัยพญากือนา พ.ศ.๑๙๑๔ ได้สร้างวัดบนพื้นที่อุทยานจึงเรียก วัดสวนดอก และในช่วงนั้นพญากือนาคงสร้างเวียงสวนดอกด้วย

นอกจากกำแพงเมืองชั้นในแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีกำแพงเมืองชั้นนอกรูปพระจันทร์เสี้ยว หรือที่รู้จักชื่อ กำแพงดิน โอบล้อมไว้ เริ่มตั้งแต่แจ่งศรีภูมิด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเลียบตามลำน้ำแม่ข่าลงมาด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ มาบรรจบกับกำแพงเมืองชั้นในที่แจ่งกูเฮือง บริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านนอกมีประตูเมืองสำคัญอยู่ ๕ ประตู คือ ประตูช้างม่อย อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ในอดีตถนนช้างม่อยเก่าเป็นเส้นทางโบราณผ่านหมู่บ้านเชียงเรือกไปวัดหนองหล่มแล้วไปสิ้นสุดที่ประตูช้างม่อย ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูช้างม่อยว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๘ เมื่อบ้านเมืองขยายตัวทางราชการได้ตัดถนนช้างม่อยใหม่ขึ้น โดยเจาะกำแพงชั้นในให้ถนนราชวิถีจากในเวียงตัดตรงสู่ถนนช้างม่อยใหม่แล้วไปออกแม่น้ำปิง ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกประตูชั้นในที่เจาะใหม่ว่า ประตูช้างม่อย เพื่อแทนที่ประตูเดิมซึ่งถูกรื้อทิ้งไปในปี พ.ศ.๒๕๑๑

ประตูท่าแพ อยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองบริเวณหน้าวัดแสนฝาง ที่ชื่อท่าแพ เพราะเป็นทางออกสู่ท่าน้ำแม่ปิง ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เรียกชื่อประตูนี้ว่า ประตูท่าแพชั้นนอก เพราะความเจริญเติบโตของเมืองชื่อของประตูท่าแพชั้นนอกจึงค่อย ๆ หายไป ประตูท่าแพจึงเหลือเพียงประตูเดียว

ประตูหล่ายแคง หรือประตูระแกง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง ประตูนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓ เมื่อกองทัพธนบุรียกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ที่ชื่อหล่ายแคง เพราะบริเวณริมคูเมืองมีลักษณะลาดเท ในสมัยต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น ประตูระแกง

ประตูขัวก่อม อยู่ทางทิศใต้ ปรากฏในหลักฐานโคลงมังทรารบเชียงใหม่ว่าสร้างขึ้นอย่างน้อยในปี พ.ศ.๒๑๕๘

ประตูไหยา หรือ หายยา อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูไหยาเป็นครั้งแรกว่า “พ.ศ.๒๒๗๐ เมื่อเทพสิงห์ยึดเมืองเชียงใหม่จากพม่าได้บุกเข้ามาทางประตูไหยา แต่ด้วยที่ตั้งของประตูไหยาอยู่ในทิศเดียวกับประตูแสนปุง เป็นตำแหน่งกาลกิณีเมือง จึงใช้เป็นทางเคลื่อนศพมาฌาปนกิจที่สุสานหายยามาตั้งแต่โบราณ

สำหรับสาเหตุที่ต้องสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอกชึ้นเพื่อป้องกันกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา ที่มักจะยกทัพมาคุกคามเมืองเชียงใหม่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่ปลายรัชสมัยของราชวงศ์มังรายมาแล้ว ปัจจุบันแนวกำแพงและประตูเมืองทั้งด้านในและด้านนอกยังปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่ในบางช่วง ส่วนบริเวณแนวกำแพงเมืองด้านนอกนั้นถูกบุกรุกจากชาวบ้านเข้าไปสร้างบ้านเรือน จนทำให้แนวกำแพงดินพังทลายลง

จักรพงษ์ คำบุญเรือง นสพ.เชียงใหม่นิวส์
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron