เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » พุธ 06 เม.ย. 2016 6:00 pm

สะพานนวรัฐ พ.ศ ๒๕๑๐
957518-img.rrkhh5.14.jpg
957518-img.rrkhh5.14.jpg (103.97 KiB) เปิดดู 12363 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » พุธ 06 เม.ย. 2016 6:20 pm

2503.jpg
2503.jpg (33.47 KiB) เปิดดู 12362 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » พุธ 06 เม.ย. 2016 6:23 pm

คนถือป้าย คุณเล็กไพลิน ชุ่มศิริ รองนางสาวถิ่นไทยงาม ๒๕๐๕ ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ขวาสุดถือขันเงิน คุณรุ่งทิพย์ ภิญโญ นางสาวเชียงใหม่๒๕๐๙, รองนางสาวไทยอันดับหนึ่งปี ๒๕๑๐ คุณอภัณตรี ประยุทธเสนี เป็น นางสาวไทยปีนั้น ทั้งขบวนในภาพเป็นชาวสันกำแพง ที่มาร่วมงานรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการเชียงใหม่ ในวันสงกรานต์

ภาพ : อ้ายบอมเวียงโกศัย

12923213_1059298014117435_7670922670155090240_n.jpg
12923213_1059298014117435_7670922670155090240_n.jpg (75.92 KiB) เปิดดู 12362 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 11 ก.ค. 2016 6:29 pm

วันนี้มาแนวลี้ลับกับ ๕ ตำนานสยองขวัญ มหาลัยเชียงใหม่

untitled.png
untitled.png (103.49 KiB) เปิดดู 12310 ครั้ง


หอสามหญิง…อาคารรูปแปดเหลี่ยม!

หากสังเกตดีๆจาก Google Map !! เพื่อนๆจะเห็นหอสามหญิงเด่นเป็นสง่าในทุ่งหญ้าสีเขียว . . .ลักษณะหอนั้นเป็นรูปทรง ๘ เหลี่ยมคล้ายๆกับกระจกยันต์ที่ชาวจีน นิยมติดไว้หน้าบ้านเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจ เพราะหอสามหญิงถูกสร้างให้เป็นรูปเเปดเหลี่ยม เพื่อเเก้เคล็ด จากหอสองหญิงซึ่งอยู่ตรงข้างๆ โดยหอสองหญิงนั้นก็เป็นรูปสายฟ้าฟาด เชื่อกันว่า เมื่อสายฟ้าจากหอสองหญิงเกิดผ่าลงมายังหอสามหญิงเเล้ว ยันต์เเปดเหลี่ยมนี้ก็จะสะท้อนสายฟ้าฟาดกลับไปนั่นเอง หึหึ มีเรื่องเล่าว่าเมื่อเวลากลางดึก. . นักศึกษาที่พักในหอสามหญิงมองออกนอกหน้าต่างไปทางฝั่งตรงข้ามนั่นก็คือหอ สองหญิง ก็จะเห็นเงาตะคุ่มรูปร่างสูงๆก็เริ่มปรากฏขึ้นมา แน่นอนเมื่อขยี้ตาและโฟกัสชัดเจนแล้ว มันคือเปรตตต!!!!!ที่ยืนคร่อมอยู่ระหว่างหอนั้นแบบจริงจัง

เปรตวงเวียนหอนาฬิกา

หอนาฬิกาเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวม.ช. มันตั้งตระหง่านโดดเด่นตรงสี่แยกคณะวิศวกรรมศาสตร์ แม้หอนาฬิกานี้จะทาสีใหม่แล้ว ทว่า เรื่องราวลี้ลับเก่าๆก็ยังคงถูกเล่าขานเรื่อยมา…ว่ากันว่าบริเวณกลางวงเวียนนี้..มีเปรตตนหนึ่งอาศัยอยู่ เเละเมื่อพูดเรื่องเปรต…ก็หนีไม่พ้นการ ‘ลองของ’ ของเหล่านักศึกษา เชื่อกันว่าหากอยากพบเปรตตนนี้ จะต้องรอจนเสียงนาฬิกาตีครบ ๑๒ ครั้ง นั่นก็คือเวลาเที่ยงคืนนั้นเอง จากนั้น ให้ขับรถทวนเข็มนาฬิกาทั้งสิ้นสามรอบ!! ว่ากันว่า เมื่อขับวนรอบแรกๆนั้น จะรู้สึกคล้ายมีลมเย็นหวิวๆผิดปกติ ทันใดนั้นเมื่อขับวนจะครบรอบที่สามเราก็ต้องหักหลบเสาต้นหนึ่ง ที่จู่ๆก็มาตั้งกลางถนนที่มาจากไหนไม่รู้!! เเละนั่นก็คือ…ผีเปรตที่มาปรากฏตัวให้เห็นเด่นชัดกลางถนน หากผีเปรตยังไม่มาที่ถนนอีก ก็อย่าเพิ่งน้อยใจไป…ให้ลองแหงนหน้ามองขึ้นไปข้างบนหอนาฬิกา …เเล้วเพื่อนๆจะพบกับเปรตที่นั่งแกว่งขาห้อยลงมาและแสร้งยิ้มอย่างมีความสุขที่มีคนอุตส่าห์ลองของเข้ามาแวะทักทายกันซะถึงที่ !!!

วิญญาณสาวในห้องสีชมพู

หอสีชมพู เป็นอีกตำนานสุดสยองของหอหญิงที่เกิดจากคดีการทำแท้งของนักศึกษาคนหนึ่ง ที่พลาดพลั้งไปมีอะไรกับผู้ชายแล้วเกิดตั้งท้องขึ้นมา รู้อีกทีก็ปาเข้าเดือนที่ ๔ แล้ว แต่ไม่อยากให้พ่อแม่และเพื่อนๆรู้เพราะกลัวเสียอนาคต รวมถึงตัวเองก็ไม่มีเงิน เเละแฟนก็ไม่รับผิดชอบ เธอจึงตัดสินใจทำแท้งด้วยตัวเองในคืนหนึ่ง…ว่ากันว่าเลือดของเธอ สาดกระเด็นไปตามผนังห้อง สุดท้ายเธอตกเลือดตายคาห้องพัก!! เพื่อนที่เข้ามาเห็นถึงกับช็อกแล้วย้ายหนีไป ผู้ดูแลหอพักอยู่ในตอนนั้นได้สั่งช่างให้เข้ามาทาสีขาวทับรอยเลือด แต่พอเช้ารุ่ง รอยเลือดสีจางๆนั้นก็ได้โผล่มาให้เห็นอีก ทางหอพักจึงตัดสินใจนำสีชมพูไปทาทั่วทั้งห้องแทน จนกลายเป็นชื่อเรียกห้องสีชมพูตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันห้องนี้ เป็นห้องที่ปิดตายมีเพียงซอกประตูเท่านั้นที่พอส่องเข้าไปข้างในได้ เล่ากันว่า เคยมีคนอยากรู้อยากเห็นว่าทำไมห้องนั้นถึงปิดล็อก จึงลองสอดสายตามองเข้าไป…เเละก็ได้พบกับหญิงสาวที่ร้องไห้อยู่บนเตียงคนเดียว !! ว่ากันว่าจนถึงทุกวันนี้ ยังคงมีคนได้ยินเสียงเปิดปิดประตูจากห้องนั้นและได้ยินเสียงอาบน้ำในห้องน้ำรวม แต่เมื่อเข้าไปอาบน้ำต่อกลับไม่พบร่องรอยของน้ำในห้องน้ำห้องไหนเลย สร้างความตื่นกลัวขนหัวลุกของชาวหอนั้นอย่างสุดๆ
จนถึงทุกวันนี้ ห้องนั้นก็ยังคงปิดตาย…สร้างบรรยากาศเย็นเยียบ จนใครๆ…ก็หวาดกลัวที่จะเยื้องกรายผ่านไป

ขบวนเจ้านาง…วงเวียนมนุษย์

ในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลเข้าพรรษา ชาวหอในต่างเก็บข้าวของเพื่อกลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัว…ห้องหลายๆห้องปิดล็อก โถงทางเดินมืดสนิท เเละห้องน้ำเงียบเชียบวังเวง… เหลือนักศึกษาไม่กี่คนที่ติดงาน หรือจำเป็นต้องอยู่อ่านหนังสือต่อเพราะยังสอบไม่ครบทุกวิชา เเละในช่วงวันหยุดนั้นเอง…ชาวหอในต่างรู้กันดีว่ามันเป็นคืนต้องห้าม ที่ทุกคนไม่ควรย่างก้าวออกจากหอพักเด็ดขาด!! นี่ไม่ใช่ระเบียบหอพัก แต่มันคือคืนปล่อยผีนั่นเอง บรรดาผีต่างๆจะออกมาเดินในค่ำคืนนั้นเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าพวกเขา…เดินขบวนแห่เทียนพรรษาใหญ่โต … เหล่าผีจะค่อยปรากฏเลือนรางตั้งแต่กลางวงเวียนมนุษย์ ระหว่างนั้นก็จะมีการร้องรำครื้นเครงกันทั้งขบวนแห่ ล้วนเเต่งกายงดงาม…เหล่าหญิงสาวสวมชุดล้านนาออกมาฟ้อนรำกรีดกรายสวยงาม แต่พวกเขา…กลับไม่มีหัว…ขบวนอันน่าสะพรึงกลัวนั้น จะไปสิ้นสุดที่หอ ๘ เหลี่ยม บ้างก็ว่าเป็นขบวนเหล่านี้เป็นขบวนของเจ้านางฝ่ายเหนือท่านหนึ่งที่เคยถูกตัดสินโทษ ตัดศีรษะตรงหอเเปดเหลี่ยม…หากใครสงสัยว่ามีผีประเภทไหนออกมาเดินขบวนกันบ้าง ก็คงไม่พลาดที่จะไปแอบส่องตามพุ่มหญ้าในช่วงคืนก่อนเข้าพรรษาของทุกปี ซึ่งรับรองได้เลยว่า เด็ดจริง

ป๊อกป๊อก ครืด

ตำนานสยองขวัญของชาวมอชอที่ดังกระฉ่อนไปทั่วประเทศ จนผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องมหา’ลัยสยองขวัญจับไปยำอยู่ในภาพยนตร์สั้นซะ ป๊อก ป๊อก ครืด ถูกเล่าต่อกันมายาวนานส่งผลให้ข้อมูลผิดเพี้ยนไปมาก จนไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดที่หอพักแห่งใดกันแน่ ทีมงานมอโพลได้ออกไปขุดค้นเรื่อง ได้ความว่า ป๊อก ป๊อก ครืด เป็นเรื่องราวของรูมเมทหญิงสองคน ในช่วงสอบซัมเมอร์ เมื่อตกหัวค่ำเพื่อนคนหนึ่งเกิดไม่สบายขึ้นมา เพื่อนอีกคนหวังดี จึงอาสาจะออกไปซื้ออาหารมาดูเเล เมื่อเวลาผ่านไป… เพื่อนที่รออยู่ในห้องตื่นและลุกขึ้นมาอ่านหนังสือในอาการสลึมสลือ …ฝนเริ่มตกลงมาโปรยปราย รูมเมทที่ออกไปซื้ออาหารยังไม่กลับมา ทันใดนั้นเธอก็ได้ยินเสียง ป๊อก…ป๊อก..…ป๊อก ครืดดดด มา จากทางบันได เสียงนั้นเหมือนกับคนกำลังแบกของหนักๆแล้วลากเข้ามาเรื่อยๆ จนมาถึงหน้าห้องพักของเธอ และมีเสียง ป๊อกๆ ๆ เคาะประตูตามมา เธอจึงเดินกล้าๆกลัวๆไปเปิดประตู ก็พบเพียงถุงราดหน้าแขวนอยู่ที่ประตูและเห็นรอยน้ำเป็นทางจากบันไดมาที่ห้อง เธอได้เเต่มองถุงราดหน้าอย่างประหลาดใจ นึกสงสัยว่าเหตุใดเพื่อนจึงยังไม่กลับมา…ครุ่นคิดอยู่เช่นนั้นทั้งคืน ก็ผล็อยหลับไปด้วยพิษไข้ที่ยังไม่หายดี จนกระทั่งรุ่งเช้า ก็มีคนมาเคาะประตูบอกว่า “รูมเมทของเธอเสียชีวิตแล้ว!!” บ้างก็ว่าถูกข่มขืน บ้างก็ว่าก็ถูกรถชน แต่ที่แน่ๆแขนขาทั้งสองข้างขาดออกจากกันจากอุบัติเหตุข้างต้น…เชื่อกันว่าเสียงประหลาดเมื่อคืนนั้น เป็นเพราะความหวังดีของเพื่อน ที่พยายามพยุงตัวเองทั้งที่แขนขาใช้การไม่ได้ เพียรใช้ส่วนหัวที่ค่อยๆลากตัวเข้ามา


Credit:http://morpoll.nmmass.com/?p=522
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย pasasiam » เสาร์ 19 พ.ย. 2016 7:17 am

AAkr1bW.jpg
AAkr1bW.jpg (61.83 KiB) เปิดดู 12203 ครั้ง


เปิดภาพสถานที่พบ ”พระแก้วมรกต” หลังฟ้าผ่าเจดีย์ที่เชียงราย ร.๔ ทรงเล่าเหตุการณ์ ๖๐๐ ปีก่อน
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เป็นพระพุทธรูปสำคัญของไทย มีเรื่องเล่าถึงการพบพระพุทธรูปดังกล่าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชนิพนธ์ไว้ มีเนื้อหาโดยสรุปว่า เมื่อเกิดฟ้าผ่าที่เมืองเชียงราย เจดีย์องค์หนึ่งถูกฟ้าผ่าจนพังทลาย ชาวเมืองจึงพบพระพุทธรูปปิดทองคำทั่วทั้งพระองค์ ต่อมา เกิดมีการกะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก กระทั่งเผยออกมาเป็นแก้วสีเขียวงดงาม จึงทราบว่า เป็นพระพุทธรูปแก้วบริสุทธิ์

ข้อความตอนหนึ่ง มีดังนี้


“พระแก้วมรกตองค์นี้อยู่ในพระสถูปใหญ่เก่าองค์หนึ่ง ณ เมืองเชียงราย ครั้นพระสถูปเจดีย์นั้นต้องอสนีบาตพังลงมาแล้ว ชาวเมืองเชียงรายได้เห็นเป็นองค์พระพุทธรูปปิดทองคำทึบทั่วทั้งองค์ ก็สำคัญว่าพระพุทธรูปศิลาสามัญ จึงเชิญไปไว้ในวิหารที่ไว้พระพุทธรูปในวัดแห่งหนึ่ง แต่นั้นไป ๒ เดือน ๓ เดือน ปูนที่ลงรักปิดทองหุ้มทั่วพระองค์นั้น กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เจ้าอธิการในอารามนั้นได้เห็นเป็นแก้วสีเขียวงาม จึงแกะต่อออกไปทั้งพระองค์ คนทั้งปวงจึงได้เห็น และทราบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วแท่งทึบทั้งแท่งบริสุทธิ์ดีไม่บุบสลาย คนชาวเชียงรายและเมืองลาวอื่นๆ ก็ตื่นกันไปบูชานมัสการมากมาย”

ที่มา : มติชน


AAkqrxn.jpg
AAkqrxn.jpg (41.85 KiB) เปิดดู 12203 ครั้ง
pasasiam
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:59 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 10 ก.ค. 2017 4:42 pm

เชียงใหม่ยกยอพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๖

ยกยออนุสวรีย์สามกษัติรย์ 23 กันยา 2526.jpg
ยกยออนุสวรีย์สามกษัติรย์ 23 กันยา 2526.jpg (15.02 KiB) เปิดดู 11931 ครั้ง


พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ หรือที่มักเรียกกันว่า อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย ๓ พระองค์ ผู้สร้างเวียงเชียงใหม่ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ตั้งอยู่กลางเวียงเชียงใหม่ บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (อดีตศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ) ด้านหน้าติดกับถนนพระปกเกล้า ซึ่งบริเวณนี้เอง ถือเป็นศูนย์กลางของตัวเมืองเชียงใหม่ หน้าอนุสาวรีย์มีลานกว้างขนาดใหญ่ เรียกว่า “ข่วงสามกษัตริย์” หรือ “ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์” ด้านตรงข้ามของอนุสาวรีย์ ยังเป็นที่ตั้งของอาคารศาลแขวงเชียงใหม่เดิม ซึ่งมีสถาปัตยกรรมตะวันตกที่งดงาม

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบและทำการปั้นหล่อ โดย อาจารย์ไข่มุกด์ ชูโต ประติมากรหญิงคนแรกของประเทศไทย ออกแบบเครื่องทรงโดย อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำมีความสูง ๒.๗๐ เมตร จากพระบาทถึงพระเศียรไม่รวมยอดมงกุฎ โดยนายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นมีแนวคิดในการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ จึงได้ระดมนักประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ร่วมแสดงความคิดเห็น

122172.jpg
122172.jpg (76.83 KiB) เปิดดู 5720 ครั้ง


เดิมทีต้องการจะสร้างอนุสาวรีย์พญามังรายเพียงองค์เดียวในฐานะผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ แต่ในที่สุดได้มีมติ คือพญามังราย, พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง ทั้งสามเป็นพระสหายกัน ในการร่วมวางแผนสร้างนครเชียงใหม่

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ใช้เวลาประมาณ ๑๐ เดือนในการออกแบบและทำการปั้นหล่อ ได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จากกรุงเทพมหานครขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖

122174.jpg
122174.jpg (54.07 KiB) เปิดดู 5720 ครั้ง


พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและพื้นที่ทางประวัติศาสาตร์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่

เรียบเรียง : http://www.chiangmainews.co.th
ข้อมูล : เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่
ที่มาภาพ : Go to Sukhawadee by Manop Suwanpinta – สู่แดนสุขาวดี ,พระมิ่งขวัญ โดย มานพ สุวรรณปินฑะ


122173.jpg
122173.jpg (83.9 KiB) เปิดดู 5720 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย Namfar » จันทร์ 20 พ.ย. 2017 7:52 pm

รถสาย ท่าตอน-เชียงใหม่ ถ่ายใกล้ๆปากทางปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว
มีผู้ให้ข้อมูลว่าบรรยากาศในภาพน่าจะเป็นช่วงประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๓๐
23755084_391779524588913_1843603382801471026_n.jpg
23755084_391779524588913_1843603382801471026_n.jpg (87.42 KiB) เปิดดู 6986 ครั้ง
Namfar
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 499
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 20 พ.ย. 2013 5:56 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฟ้า » ศุกร์ 30 มี.ค. 2018 4:30 pm

ดอยสุเทพสำคัญอย่างไร เหตุใดคนเชียงใหม่จึงต้องปกป้อง

1493530154-doysutap-o.jpg
1493530154-doysutap-o.jpg (88.8 KiB) เปิดดู 6919 ครั้ง


เมื่อเอ่ยถึงเมืองเชียงใหม่ เอกลักษณ์ที่คนมักจะนึกถึงอันดับต้นๆคือ “ดอยสุเทพ” ภูเขาสูงที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเมืองเชียงใหม่ บนดอยสุเทพมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายจึงเป็นที่รู้จักของคนไทยและต่างประเทศ แต่ความผูกพันของคนเชียงใหม่ และชาวล้านนาในอดีต ต่อดอยสุเทพไม่ได้มีแค่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ดอยสุเทพคือจุดเริ่มต้นของหลายตำนาน หลายความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนล้านนา



๑.ก่อนจะรวมตัวกันเป็นล้านนา ดินแดนแถบนี้มีเมืองใหญ่อันเข้มแข็งเมืองหนึ่ง คือ เมืองหริภุญชัย ซึ่งผู้สร้างเมืองแห่งนี้คือ พระฤาษีวาสุเทพ หรือสุเทวฤาษี ตามตำนานในพระราชประวัติพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์ ยังระบุว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้พบ "หญิงวี" หรือพระนางจามเทวีในดอกบัว ท่านใช้วีรองรับเด็กคนนั้นขึ้นมาชุบเลี้ยง ‘พระฤาษีวาสุเทพ (สุเทวฤาษี) ซึ่งจำศีลภาวนาอยู่ ณ ดอยสุเทพ ได้ธุดงค์มาพบเข้าก็ทราบว่าทารกคนนี้คงไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีมาเกิดเป็นแน่ ท่านจึงใช้พัด (วี) ยื่นไปในสระน้ำนั้นพร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า หากทารกนี้มีบุญจริงก็ให้พัดของเรารับร่างน้อยนั้นเข้าฝั่งมาได้เถิด และสิ้นคำอธิษฐาน ร่างของทารกน้อยก็ลอยขึ้นฝั่งได้พร้อมกับพัดที่ใช้รองรับ ดังนั้นท่านฤาษีวาสุเทพจึงได้นำทารกน้อยนี้ไปเลี้ยงดูโดยตั้งชื่อว่า “หญิงวี” ฤาษีวาสุเทพได้เลี้ยงดูหญิงวีจนกระทั่งอายุได้ ๑๓ ขวบ จึงได้ต่อแพยนต์จัดส่งพระนางไปตามนิมิต โดยให้นั่งไปบนแพยนต์ มีวานรติดตามไปดูแล ๓๕ ตัว แพยนต์ซึ่งพระฤาษีเสกด้วยเวทย์มนต์คาถาก็นำพาหญิงวีไปตามลำน้ำใหญ่ จนกระทั่งถึงวัดเชิงท่าตลาดเมืองละโว้(ลพบุรี) แพยนต์ของหญิงวีก็ลอยเป็นวงกลมอยู่ที่ท่าน้ำนั้น ประชาชนพลเมืองต่างช่วยกันชักลากขึ้นฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จึงพากันไปทูลกษัตริย์เมืองละโว้ เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวจึงเสด็จมาทอดพระเนตร พร้อมกับรับหญิงวีเป็นธิดาบุญธรรม ต่อจากนั้นก็ได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองและเจิมพระขวัญแต่งตั้งให้หญิงวีที่มากับสายน้ำนี้เป็นพระราชธิดา และทรงมีรับสั่งให้ปุโรหิตจารึกพระนามลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า

“เจ้าหญิงจามเทวีศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัติยนารี รัตนกัญญาละโว้บุรีราไชศวรรย์”

เป็น รัชทายาทแห่งนครละโว้ในดิถีอาทิตยวาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พ.ศ. ๑๑๙๐ ต่อมาเจ้าหญิงจามเทวีฯ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายรามแห่งกรุงละโว้ และได้ครองราชย์ร่วมกัน ก่อนจะเสด็จมาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย’

1493530405-di8e5baik5-o.jpg
1493530405-di8e5baik5-o.jpg (56.3 KiB) เปิดดู 6919 ครั้ง


๒. เมื่อครั้งที่ พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาได้สร้างเมืองเชียงใหม่นั้น ทรงเลือกบริเวณเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันเนื่องจากเป็นชัยภูมิที่ดี ประกอบด้วย ชัยมงคล ๗ ประการ คือ
๑. มีกวางเผือกสองตัวแม่ลูกมาอาศัยอยู่ในที่นั้นและมีคนเคารพสักการะบูชา
๒. มีฟาน (เก้ง) เผือกสองตัวแม่ลูกมาอาศัยอยู่และได้ต่อสู้กับฝูงสุนัขไล่เนื้อ
๓. เห็นหนูเผือกพร้อมด้วยบริวารอีก ๔ ตัว วิ่งเข้าไปในรูใต้ต้นไม้มิโครธ
๔. พื้นที่สูงทางทิศตะวันตกเอียงลาดเทไปทางทิศตะวันออก
๕. มีน้ำตกไหลจากดอยสุเทพโอบล้อมตัวเมืองไว้
๖. มีหนองน้ำไหลอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง
๗. มีแม่น้ำระมิงค์ (แม่น้ำปิง) ซึ้งต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ

ดังปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ดังนี้

“ ...อันแต่ก่อนเราได้ยินสืบมาว่ากวางเผือกสองตัวแม่ลูกลุกแต่ป่าใหญ่หนเหนือมาอยู่ชัยภูมิที่นี้ คนทั้งหลายย่อมกระทำบุชาเป็นชัยมงคลปฐมก่อนแลอันหนึ่งว่าฟานเผือกสองตัวแม่ลูกมาอยู่ชัยภูมิที่นี้รบหมา หมาทั้งหลายพ่ายหนีบ่อาจจัดตั้งได้สักตัว เป็นชัยมงคลถ้วนสอง อันหนึ่งเล่าเราทั้งหลายได้หันหนูเผือกกับบริวาร ๔ ตัว ออกมาแต่ชัยภูมิที่นี้ เป็นชัยภูมิถ้านสาม อันหนึ่งภูมิฐานที่เราจัดตั้งเวียงนี้ สูงวันตกหลิ่งมาออก เป็นชัยภูมิถ้วนสี่ อันหนึ่งอยู่ที่นี้ หันน้ำตกแต่อุชอปัตตาดอยสุเทพ มาเป็นแม่น้ำไหลขึ้นหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออกแล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมือง อันเป็นชัยมงคลถ้วนห้า แม่น้ำนี้ไหลแต่ดอยมาที่ขุนน้ำ ได้ชื่อว่าแม่ข่า ไหลเมื่อวันออกแล้วไหลไปใต้เทียบข้างแม่น้ำปิง ได้ชื่อว่าแม่โถต่อเท่าบัดนี้แล อันหนึ่งหนองใหญ่มีวันออกเฉียงเหนือแห่งชัยภูมิ ได้ชื่อว่าอิสาเนราชบุรี ว่าหนองใหญ่หนอิสานท้าวพระยาต่างประเทศจักมาบูชาสักการะมากนัก เป็นชัยมงคลถ้วนหกแล อันหนึ่งน้ำระมิงคืไหลมาแต่อ่างสรงอันพระพุทธเจ้า เมื่อยังทรมาน ได้มาอาบในดอยอ่างสรง ไหลมาออกเป็นขุนน้ำแม่ระมิงค์ ภายวันออกเวียง เป็นชัยมงคลถ้วนเจ็ดแล...”

๓. พญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง ๑๓ ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก ๘ ศอก กว้าง ๖ วา ๓ ศอก หาแท่นหินใหญ่ ๖ แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง ๕ วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น

๔.ชื่อเดิมของดอยสุเทพ คือ อุฉุปัพฉบรรพต หรือ ดอยอ้อยช้าง เป็นดอยต้นน้ำที่ส่งมายังรางลินของเวียงเจ็ดลิน น้ำนี้ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการสรงมุรธาภิเษก เสด็จขึ้นครองเมืองของกษัตริย์ล้านนามาแต่ครั้งอดีต

๕. บริเวณเชิงดอยสุเทพมีรูปปั้นครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ ได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา หมายถึงนักบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัยได้รับคำเรียกร้องจากศรัทธาประชาชน ให้ช่วยดำริและจัดการเรื่องนี้ จึงเริ่มลงมือสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ การสร้างถนนสายนี้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากวันหนึ่งๆ จะมีผู้คนช่วยทำงานประมาณวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมายมหาศาลทีเดียว การสร้างทางสายนี้ใช้เวลา ๕ เดือน กับ ๒๒ วัน จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้รถขึ้นลงได้ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘

๖.พระธาตุดอยสุเทพ ถือเป็นเขาพระสุเมรุของล้านนา แฝงความคิดเป็นฮินดูอยู่ในพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นหมุดหมายไว้สำหรับนักเดินทางสังเกตได้ว่าถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว

๗.เป็นหนึ่งในเจดีย์ประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะแม การนับถือเจดีย์ประจำปีเกิดเป็นวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาที่เผยแพร่มายังกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างน้อยที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่คตินี้เริ่มแผ่เข้ามา

๘.นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะมีพิธีรับน้อง "ประเพณีลูกช้างขึ้นดอยนำน้องใหม่ไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ" โดยเจตนารมณ์ของประเพณีนี้ เพื่อระลึกถึงการจาริกแสวงบุญตามรอยครูบาศรีวิชัยที่ได้นำเหล่าพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาแผ้วถางทำทางขี้นพระธาตุดอยสุเทพ ดังนั้นการตามรอยเส้นทางนี้จึงเป็นเส้นทางมหามงคลที่นักศึกษาทุกคณะได้เจริญตามรอยในทุกๆปี

ที่มาของข้อมูล ตำนานเมืองเชียงใหม่ ,ประวัติศาสตร์ล้านนา,วิกิพีเดีย

ชาวล้านนา ถือว่า “ดอยสุเทพ” เป็นดอยอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคนมาอย่างยาวนาน บรรพบุรุษ ปู่ย่าตาทวดของเราเคยช่วยกันสร้าง ช่วยกันบูรณะ เคยกราบไหว้ เคยเดินขึ้นดอยกันด้วยหัวใจเปี่ยมด้วยความศรัทธา นี่คือความรู้สึกของคนล้านนาต่อดอยสุเทพ จงรักษาสิ่งดีงามนี้เอาไว้เถิด วัฒนธรรม ความเชื่อ และวิถีชีวิตดั้งเดิมคือสิ่งยึดเหนี่ยวคุณธรรมความดีให้อยู่กับเราตราบนานเท่านาน เราจึงต้องช่วยกันปกป้องรักษา ดังเช่นที่บรรพบุรุษของเราเคยทำกันมา เพื่อให้สิ่งดีงาม และดอยอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้คงอยู่ต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลาน

1493530011-1825429316-o.jpg
1493530011-1825429316-o.jpg (38.9 KiB) เปิดดู 6919 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย ภาษาสยาม » พุธ 29 ส.ค. 2018 6:52 pm

#กำแพงและประตูเมืองเชียงใหม่

4216905248924.jpg
4216905248924.jpg (136.42 KiB) เปิดดู 6606 ครั้ง


เดิมทีเมืองเชียงใหม่โบราณมีกำแพงเมืองก่ออิฐ ป้อม และประตูเมืองชั้นใน ๕ ประตู ในราว พ.ศ. ๒๔๖๐ คนเมืองเชียงใหม่เริ่มมีรถยนต์ขับ และความเจริญเติบโตของบ้านเมืองมีมากขึ้น กำแพงเมืองจึงถูกกระทรวงธรรมการสมัยนั้นทำลายลง โดยจัดประมูลขายอิฐ กำแพงเมืองถูกรื้อถอนลงเหลือแต่แจ่ง ๔ แจ่ง และประตูเมืองก็ถูกรื้อลงหมดเพื่อขยายถนนกว้างสำหรับรถยนต์วิ่งได้สะดวก ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๙๐ เทศบาลเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น ได้ออกแบบ(ออกแบบใหม่ ไม่มีหลักฐานและรูปแบบโบราณเลย) และสร้างประตูเมืองขึ้นใหม่เพื่อให้บ้านเมืองสวยงาม(นายช่าง ทองหยด จิตตะวีระ ผู้ออกแบบ)คือ ประตูเมือง ๔ ประตูทุกวันนี้ ยกเว้นประตูท่าแพ สรุปแล้วประตูเมืองเชียงใหม่ที่เห็นทุกวันนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ไม่ใช่โบราณสถานทั้งสิ้น
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:34 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25598.jpg
25598.jpg (31.7 KiB) เปิดดู 6140 ครั้ง


25599.jpg
25599.jpg (42.57 KiB) เปิดดู 6140 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:35 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25600.jpg
25600.jpg (44.32 KiB) เปิดดู 6140 ครั้ง


25601.jpg
25601.jpg (43.06 KiB) เปิดดู 6140 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 16 ก.พ. 2019 8:37 pm

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๓
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

25602.jpg
25602.jpg (44.99 KiB) เปิดดู 6140 ครั้ง


25603.jpg
25603.jpg (55.09 KiB) เปิดดู 6140 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน

cron