เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง
สองคำนี้ แปลว่า น้ำค้างแข็งเหมือนกัน ที่ต้องใช้ให้แตกต่างกันเพราะ คำว่าแม่คะนิ้งเป็นภาษาอีสาน ดังนั้นถ้าเกิดน้ำค้างแข็งที่ภูกระดึงใช้แม่คะนิ้งได้ ส่วนดอยอินทนนท์ต้องใช้คำว่า "เหมยขาบ" เหมยขาบ เป็นภาษาเหนือ เหมย แปลว่า น้ำค้าง คนเหนือมักจะเรียกว่าน้ำเหมย ส่วนคำว่า ขาบ นี่จะประมาณว่าสงบ นิ่ง เรามักจะใช้กับคำว่า "ขาบหลับ" หมายถึงพยายามนอนหลับ มีอีกคำคือเป็นส่วนขยายคำกริยา ได้แก่ แข็งตาบขาบ การใช้คำว่าขาบกับน้ำค้างคงจะมาจากนัยยะอันใดอันหนึ่ง ซึ่งคนทางภาคเหนือใช้กันมานานแล้ว
ทวนนะ "แม่คะนิ้ง" ภาษาอีสาน ใช้กับน้ำค้างแข็งภาคอีสาน ถ้าเป็นทางภาคเหนือใช้ "เหมยขาบ" ซึ่งแปลว่าน้ำค้างแข็งเหมือนกัน การใช้ให้ถูกถือเป็นการให้เกียรติท้องถิ่นนั้นๆด้วยค่ะ
ภาพ : Oussanee Poolcharoen