ภาพกิจกรรมงานวันเกี่ยวข้าวหอมมะลิ และของดีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่๒๕๖๑

- 46446013_2178700395495657_8501721358219083776_n.jpg (114.57 KiB) เปิดดู 796 ครั้ง
#น้อมรำลึกถึงองค์ปราชญ์มหาราชของแผ่นดิน ย้อนไปเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ร.๑๐)เพื่อทรงเยี่ยมสมาชิกสหกรณ์นิคมพร้าว และราษฎรอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พระองค์ทรงมีกระแสพระราชดำรัส ทรงแนะนำให้สมาชิกนิคมปลูกข้าวไร่ เนื่องจากในอำเภอพร้าวมีชาวชนเผ่าต่าง ๆ มากถึง ๕ เผ่าประกอบด้วย กะเหรี่ยง ลีซอ มูเซอ ม้ง และอีก้อ ซึ่งมีความรู้และถนัดในการปลูกข้าวไร่ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่ให้มีแหล่งน้ำเพียงพอจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำนาปลูกข้าว และเป็นการลดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยเช่นก่อนหน้านี้ ให้ร่วมกันผลิตร่วมกันขายเพื่อประโยชน์จะได้ตกแก่ราษฎรอย่างเต็มที่ ภายใต้การบริหาร จัดการโดยสหกรณ์ อันจะยังผลให้ราษฎรเหล่านี้ไม่เร่ร่อนย้ายถิ่นบุกรุกป่าเพื่อหาพื้นที่ทำกินอีกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำพระราชดำริมาดำเนินการและรัฐบาลในขณะนั้นได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ทุกคนจึงตั้งใจที่จะฟันฝ่าทุกอย่างเพื่อที่จะตามรอยพระองค์ท่าน โดยเฉพาะการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และจะเป็นคนดีของชาติที่จะร่วมกันนำพาปวงประชาชาวอำเภอพร้าวไปสู่ความกินดีอยู่ดีตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านสืบไป
ในปัจจุบันการเกษตรในอำเภอพร้าวได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ มีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ อย่างแพร่หลาย เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่เหมาะสมในการปลูก รวมทั้งเกษตรกรก็ได้พัฒนาการผลิตข้าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตข้าวขาวมะลิ๑๐๕ ของพร้าวคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะข้าวมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษกับมีคุณภาพในการหุงต้มที่ดี
นายนิกร ทะกลกิจ ประธานสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เผยว่า สถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำในช่วงนี้ไม่ส่งผล กระทบกับการรับซื้อข้าวจากสมาชิกของสหกรณ์เนื่องจากทางสหกรณ์การเกษตรพร้าว ได้ส่งเสริมสมาชิกกว่า ๕๐๐ ครัวเรือนปลูกข้าวหอมมะลิ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ ไร่ คาดว่ารับซื้อข้าวจากสมาชิกกิโลกรัมละ ๑๐ -๑๓ บาท หรือ ๑๐,๐๐๐ -๑๓,๐๐๐ บาท/ตัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความชื้นเป็นหลักคาดว่า จะใช้เงิน ๔๐-๕๐ ล้านบาท ซึ่งราคาซื้อข้าวดังกล่าว เกษตรกรสามารถอยู่ได้ ถ้าราคาต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท/ตัน เกษตรกรขาดทุนเนื่องจากมีต้นทุน ๘,๐๐๐ -๙,๐๐๐ บาท/ตัน (ให้สัมภาษณ์ในช่วงราคาข้าวตกต่ำทั่วประเทศ ในปี ๒๕๑๖ มีเพียงสหกรณ์การเกษตรอำเภอพร้าวที่ยังรับซื้อข้าวจากเกษตรกรได้ในราคาที่สมดุล)