เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 31 มี.ค. 2019 6:45 pm

อาคารเรียนหลังแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (วิทยาลัยครูเชียงใหม่) ขณะนั้นใช้ชื่อ "โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ" มีลักษณะเป็นเรือนไม้ไผ่ ถ่าย พ.ศ.๒๔๖๗ ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งสถาบัน

40329.jpg
40329.jpg (56.22 KiB) เปิดดู 5386 ครั้ง


40331.jpg
40331.jpg (18.95 KiB) เปิดดู 5386 ครั้ง


ดร. ริชาร์ดสัน เข้าเฝ้าเจ้าหลวงเเผ่นดินเย็น ณ คุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่

" เช้าวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๓๗๗ นายทหารจากราชสำนักเชียงใหม่ และคนกลุ่มหนึ่งถือถาดเงินมา สำหรับวางจดหมายของผู้ว่าราชการจังหวัดตะนาวศรี พร้อมนำทางข้าพเจ้าไปเข้าเฝ้าเจ้าหลวง (พระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๔ -ผู้แปล)

คณะผู้เดินนำหน้าและตามหลังมีจำนวน ๔๐ คน ล้วนนุ่งผ้านุ่งสีสันสดใสมาก ทหาร ๑๓ นายถือปืนคาบศิลา เมื่อมาถึง ข้าพเจ้าไม่เห็นปะรำต้อนรับ แต่เข้าไปในเรือน (หรือ คุ้ม) เจ้าราชบุตร (หนานธนัญไชย?) เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงและเจ้านายอื่นๆ เดินออกมารับ

พนักงานถือจดหมายของผู้ว่าราชการจังหวัดตะนาวศรีนำหน้า (ส่วนของถวายนั้นให้หยุดรออยู่ที่หน้าประตูเรือน ) ข้าพเจ้าโค้งคำนับแล้วไปนั่งทางขวามือของเจ้าหลวง

พระองค์ประทับบนยาซะปะหล่างหรือบัลลังก์ทอง สูง ๒.๕ หรือ ๓ ฟุต บรรดาเจ้านายคนอื่นนั่งบนพื้นปูพรมข้างหน้า อิงหมอนผาที่หน้าหมอนปักดิ้นเงินและดิ้นทอง เมื่อเรานั่งกันเรียบร้อยแล้ว คนก็ยกของถวายมาตั้งเบื้องหน้า

พระองค์ถามคำถามทั่วไป เกี่ยวกับกษัตริย์แห่งอังกฤษ ,ผู้สำเร็จราชการ ระยะเวลาในการเดินทาง และความยากลำบากต่างๆ จากนั้นกล่าวถึงโอรส และนัดดาของพระองค์ที่เสียชีวิตไปแล้วด้วยความอาลัย สุดท้ายจึงกล่าวถึงมิตรไมตรีที่มีต่อเรา

ที่จริงไม่มีสิ่งใดเป็นมิตรไมตรีและอบอุ่นเท่ากับการต้อนรับเราอีกแล้ว บรรยากาศดูจริงใจมาก ถึงแม้ประชวรก็ยังออกมาพบ พระองค์ผ่ายผอมและดูอ่อนเเอมาก

ข้าพเจ้านั่งหน้าประตูที่เข้าคุ้มชั้นใน ซึ่งบรรดาผู้หญิงและเด็ก ทยอยยกผลไม้มาเลี้ยง คราวนี้ไม่มีฟ้อนรำเหมือนเมื่อมาเยือนครั้งแรก แต่ช่างซอผู้ชาย ๑ คนและผู้หญิง ๒ คน ขับซออยู่ที่ห้องชั้นใน

บทซอพรรณนาถึงประวัติ ๗ พี่น้อง ซึ่งพี่ชายคนใหญ่ชื่อ กาวิละ เป็นผู้ฟื้นม่าน ขับไล่พม่าได้เมื่อ ๖๐ ปีก่อน จากนั้นจึงซอถึงการกวาดต้อนผู้คนมาจากเมืองเชียงแสน เชียงตุงและเมืองยอง

เสียงของช่างซอนั้นอ่อนหวานไพเราะกว่านักร้องทุกคนที่ได้ยินมาจากดินแดนตะวันตก ผ่านไป ๔๐ นาที พระองค์จึงลุกออกไป พระบาทบวม ขณะเดินเข้าประตูก็ซวนเซจวนล้ม เมื่อสนทนากับบรรดาเจ้านายสักครู่หนึ่ง จึงลากลับและตั้งใจไปพบเจ้าหอหน้าเมืองเชียงใหม่ ในเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจ

คุ้มหรือหอคำเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมือง มีรั้วเพนียดล้อมรอบและมีสวนหรือลานกว้างล้อมรอบอีกชั้น

ห้องโถงไม้ที่รับรองเรานั้น ยาว ๖๐ ฟุต กว้าง ๓๐ ฟุต เครื่องเรือนมีโคมจีนห้อยเพดานสามดวง เครื่องประดับจิปาถะจากจีน กระจกเงาจากอินเดีย และตะเกียงจีน บ้างเป็นแก้วและกระดาษ ภาพวาดพระเจดีย์แห่งย่างกุ้ง ภาพวาดเทพเจ้าจีน และภาพเหมือนบุคคลที่คล้ายคลึงกับเชื้อพระวงศ์อังกฤษ

ของประดับตกแต่งที่มีค่ามากที่สุดคือปืนคาบศิลาที่ข้าพเจ้าเห็นตั้งแต่ครั้งก่อน ดาบสั้นดาบยาวเหมือนของจีนหุ้มเงิน ส่วนเศวตฉัตรนั้นยังมิได้กางออก

บนพื้นหน้าบัลลังก์ลาดพรมและตั้งหมอนอิงสำหรับบรรดาเจ้านายน้อยใหญ่ ซึ่งเข้าเฝ้าได้ ด้วยท่าทีสง่างามสมชาย มากกว่าเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯ ฯลฯ

สุทธิศักดิ์ ถอดความ

Journal of the Asiatic Society of Bengal.1836
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 31 มี.ค. 2019 6:51 pm

ร้านขายของในเจียงใหม่ พ.ศ.๒๔๗๖ ร้านนี้ดูเหมือนขายของทางนาฏศิลป์เนาะ เหมือนจะเห็นหัวโขน ชฎา ในตู้มีหุ่นคนตัวเล็กๆด้วย
ภาพ : คุณประทีป สายทอง

40358.jpg
40358.jpg (52.21 KiB) เปิดดู 5386 ครั้ง


แจ่งหัวลิน เชียงใหม่ ไม่ทราบ พ.ศ.

40354.jpg
40354.jpg (50.59 KiB) เปิดดู 5386 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 11:42 am

เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่
62663.jpg
62663.jpg (111.59 KiB) เปิดดู 5053 ครั้ง


รถคลาสสิค ถนนในเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๖
ภาพ : dsinasia
ไฟล์แนป
62665.jpg
62665.jpg (25.29 KiB) เปิดดู 5053 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 11:50 am

วัดสวนดอก พ.ศ.๒๔๖๙
62669.jpg
62669.jpg (40.91 KiB) เปิดดู 5053 ครั้ง


ศาลากลางเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙
ไฟล์แนป
62672.jpg
62672.jpg (51.7 KiB) เปิดดู 5053 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 11:53 am

ถนนห้วยแก้ว พ.ศ. ๒๔๘๒
ภาพ : Kenneth E. Wells
62674.jpg
62674.jpg (57.45 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


หน้าร้านกิติพานิช แถวถนนเจริญเมืองใกล้สถานีรถไฟของ นาย ซิวจือ กิตติบุตร ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘
ตัว อาคารเป็นตึกแบบเฮือนแป หลังคาดินขอ ขายสินค้าน้ำมันยี่ห้อโมบิล หัวเทียน อะไหล่ยนต์ ร้านนี้ขยายกิจการออกมาจาก ร้านใหญ่ ที่ถนนท่าแพซึ่งดำเนินกิจการขายสินค้าทันสมัย นำเข้าจากต่างประเทศ เช่นเครื่องแก้วเจียระไน น้ำหอม ตะเกียงเจ้าพายุ มาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่๕ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๗

62677.jpg
62677.jpg (42.94 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 11:59 am

วัด ถ้ำตับเตา เมืองฝาง เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๗๐
ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ข้าราชการไทยขี่ม้าไปสำรวจ และ ถ่ายภาพ
62679.jpg
62679.jpg (50.67 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


“ถ้ำตับเตา” แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บริเวณโดยรอบถ้ำตับเตาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นานาพรรณ เป็นถ้ำหินปูนกว้างและสูงประมาณ ๖ เมตร เป็นวัดที่ร่มรื่นและยังคงความเป็นธรรมชาติ ถ้ำตับเตาเป็นถ้ำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดถ้ำตับเตา ถือเป็นศาสนสถานโบราณนานนับหลายร้อยปีมาแล้ว ตัวถ้ำเป็นแนวเขาหินปูนกั้นเขตอำเภอไชยปราการกับอำเภอเมืองเชียงดาว ถ้ำตับเตามีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กันภายในถ้ำ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ถ้ำตับเตานี้แยกออกเป็น ๒ ถ้ำ คือถ้าขึ้นทางขวาไปถ้ำมืด (ถ้ำปัญเจค) ซึ่งจะมืดสนิท มีไฟดวงเล็กๆ ส่องเป็นระยะๆ และ ทางซ้ายไป ถ้ำแจ้ง (ถ้ำผาขาว) เข้าไปนิดเดียว ข้างใน มีวิหารพระนอนองค์ใหญ่ กับพระพุทธรูปองค์ใหญ่ บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน ภายในบริเวณวัดยังมีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำอีกด้วย

วัดถ้ำตับเตาปรากฏพระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวกว่า ๙ เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนพอกด้วยยางไม้รักปิดทองแบบศิลปะอยุธยา ทั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นโดยสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อคราวท่านยกกองทัพมาเพื่อจะเข้าตีเมืองพม่าและตีเมืองตองอูในปี พ.ศ.๒๑๓๕ และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพหลวงไปทางเชียงดาวเข้าพักพลที่เมืองหาง ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทย ถ้ำตับเตาแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักกองทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ

วัดถ้ำตับเตาเป็นวัดที่ร้างมานานก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงค์ จะสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น ได้มีฝรั่งชาวนอร์เวย์ ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาเข้ามาพักที่เมืองฝาง เขาได้บันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามากกว่าร้อยปี มีองค์พระนอนที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่งๆ รอบๆ พระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั้งประนมมือประหนึ่งฟังคำสวดจากพระพุทธเจ้า

ถ้ำตับเตา ถือเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนในแอ่งที่ราบโหล่งเมืองไชยปราการ – ฝาง มีอายุเก่าแก่ โดยมีตำนานที่ผูกเรื่องราวพื้นบ้านเข้ากับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาว่า ในสมัยพุทธกาล ขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใกล้จะปรินิพพาน หลังจากทรงตรากตรำพระวรกายในการประกาศพระศาสนาในถิ่นฐานต่างๆ เมื่อจวนได้เวลาเสด็จดับขันธ์ปรินิพานตามคำทูลอาราธนาของพญามาร พระพุทธองค์ได้รับบิณฑบาตอาหารที่ประกอบด้วยสุกรมัทวะจากนายจุนนะ เป็นเนื้อหมู (เนื้อหมูเป็นโรค บางตำนานก็ว่าเป็นอาหารประกอบจากเห็ดที่งอกจากหลุมฝังศพซากหมูตายด้วยโรค) หลังจากรับบิณฑบาต พระพุทธองค์ก็ทรงประชวรและอาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ ขณะที่ทรงประชวรอยู่ก็ทรงประทับที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำนั้นคือถ้ำตับเตา

วัดถ้ำตับเตา เป็นชื่อที่เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ดับเต้า” ซึ่งหมายถึงการดับขี้เถ้า ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่า ทั้งนี้เมื่อเรียกกันนานๆ เข้าก็เลยเพี้ยนมาเป็นตับเตา ซึ่งคนในภูมิภาคอื่นไม่ทราบความหมายก็เลยเรียกว่า”ถ้ำตับเตา” ซึ่งมีความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง คือตับของสัตว์ชนิดหนึ่ง

เจ้าอาวาสจึงสันนิษฐานว่าด้วยเหตุผลที่พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้เก่าแก่โบราณ ซึ่งคนโบราณแต่ละถิ่นแคว้นจะมีลักษณะศิลปะการก่อสร้างเป็นของตนเอง ถ้าสร้างโดยช่างฝีมือล้านนาไทยคงจะต้องมีลักษณะศิลปะแบบล้านนา สร้างแล้วก็คงมอบให้เจ้าเมืองฝางเป็นผู้ดูแล

วัดถ้ำตับเตาเป็นวัดที่ร้างมานานก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงศ์จะสั่งให้บูรณะปฎิสังขรณ์สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น ได้มีฝรั่งชาวนอรเวย์ ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาไทยเข้ามาพักที่เมืองฝาง เขาได้บันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามามากกว่าร้อยปี มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระนอน ก่อด้วยอิฐโบกปูนทาด้วยยางไม้และปิดทอง ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่งๆ รอบๆพระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั่งประนมมือประหนึ่งฟังคำสวดจากพระพุทธเจ้า

ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเตา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเตานี้แยกออกเป็น ๒ ถ้ำ คือถ้ำแจ้ง และถ้ำมืด (ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค) บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน
ถ้ำผ้าขาวมีบันไดขึ้นไปบริเวณถ้ำกว้างประมาณ ๑๐ วา มีแสงสว่างจากช่องโหว่บนเขาส่องลงมา มีพระพุทธรูปก่อปูนขนาดใหญ่ อยู่บนแท่นกับพระพุทธรูปนอน พระอรหันต์ล้อมรอบแสดงถึงตอนพระพุทธเจ้าประชวร อีกถ้ำหนึ่งอยู่ห่างจากถ้ำผ้าขาวราว ๔๕ เมตร เรียกถ้ำปัจเจค ปากถ้ำลึกประมาณ ๕ วา มีบันไดพาดเป็นบางแห่ง ในถ้ำทางคดเคี้ยวบางตอนเป็นช่องแคบ ถ้ำลึกมากต้องหาเทียนไขหรือตะเกียงเจ้าพายุเข้าไป

สุดปลายถ้ำมีพระพุทธรูปและเจดีย์นอกจากนี้มีรูปปูนปั้นเป็นเด็กหญิงแถวหนึ่ง เด็กชายแถวหนึ่งปราศจากเครื่องแต่งกาย ผู้ใดต้องการมีบุตรหญิงหรือบุตรชายก็ให้หาธูปเทียนสักการบูชา พระพุทธรูปอธิษฐานขอเอาตามความปรารถนา มีผู้เล่าว่าผู้ไปขอแล้วมักสมปรารถนาเสมอ ตำนานของถ้ำมีจารึกอยู่บนศิลา ๓ แผ่นว่า พระอรหันต์เดินทางมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่นี้ แล้วเข้าสู่นิพานตรงปากถ้ำ เทพยดาจึงทำพิธีศพจนเป็นเหตุให้ไหม้ลึกลงไปในดินด้านยาว ๑,๐๐๐ วา ด้านกว้าง ๑๐๐ วา พญานาคขึ้นมาพ่นน้ำดับ จึงปรากฏมีขี้เถ้าเต็มถ้ำ เดิมเรียกว่า “ถ้ำตับเต้า” (ถ้ำทับเถ้า) เลยเพี้ยนมาเป็นถ้ำตับเตาภายหลัง ถ้ำนี้คนไทยใหญ่มักเดินทางมานมัสการเสมอเมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้วถือเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์

อีกนัยหนึ่ง มีผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า ชื่อเดิมของถ้ำตับเตา คือ “ทับเถ้า”มาจากเรื่องเล่าที่ว่า พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มานิพพานที่ถ้ำนี้ จึงได้นำเอาอัฐิหรือเถ้ามากอบกันขึ้นเป็นพระเจดีย์ และตั้งชื่อว่า “พระเจดีย์นิ่ม” ซึ่งอยู่ในถ้ำมืด และจารึก ปี พ.ศ. ๑๔๖๓ ไว้ที่ฐานพระเจดีย์ ถ้ำนี้ต้องใช้เวลาเดินประมาณ ๑ ชั่วโมง จะเที่ยวชมอย่างทั่วถึง

จากหนังสือประวัติวัดถ้ำตับเตา เรียบเรียงโดยอาจารย์อินทร์ศวร แย้มแสง ได้ให้ความหมายของคำว่า “ตับเตา” ว่าอาจเพี้ยนมาจากคำว่า ดับเถ้า (อ่าน ดับ – เต้า) ภาษาเหนือหมายถึงดับขี้เถ้าที่เกิดมาจากการเผาไหม้ของป่าไม้ และภายหลังเพี้ยนมาเป็น “ตับเตา”

ที่ตั้งถ้ำตับเตา
บ้านตับเตา ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ณ ภูเขาทางทิศตะวันตก หมู่ที่ ๑๓ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตร ที่ ๑๒๐ และ ๑๒๑ แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ ๓ กิโลเมตร


ถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาวในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ในเดือน เมษายน ถ่ายโดยคณะทัศนาจร จาก กรุงเทพฯ
ภาพ - ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
62696.jpg
62696.jpg (79.94 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


ประวัติ ถ้ำเชียงดาว
ตำนานเจ้าหลวงคำแดงและถ้ำเชียงดาว
เรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาเป็นอมตะคู่กับดอยหลวงเชียงดาว คงจะไม่มีสิ่งใดเทียบเทียม “ตำนานเจ้าหลวงคำแดง” และ “ตำนานถ้ำเชียงดาว” ซึ่งร้อยเรียงผสมผสานกับความเชื่อของคนท้องถิ่นได้อย่างลงตัว

ตำนานเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำแดงถูกถ่ายทอดออกมาหลายเรื่องราวด้วยกัน แม้จะมีความต่างในรายละเอียด ทว่าหากพิจารณาให้ถึงแก่นแล้ว เจ้าหลวงคำแดงก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งขุนเขา เป็นเจ้าแห่งผีทั้งหลาย เป็นที่เคารพ สักการะ ของชาวเหนือ อย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และถ้ำเชียงดาวซึ่งเชื่อกันว่า เป็นเมืองเทวาของเจ้าหลวงคำแดง ตั้งอยู่ด้านหน้าของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นขุนเขาที่ชาวเชียงใหม่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของผีเมืองเชียงใหม่ทุกองค์ตั้งแต่ก่อนพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ผีเมืองเชียงใหม่มีเจ้าหลวงคำแดงเป็นประธานใหญ่กว่าผีเมืองทั้งหมด

มีเรื่องเล่าว่าทุกวันพระผีทุกผีในเมืองเชียงใหม่จะต้องไปร่วมเฝ้าและประชุมที่ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งในถ้ำเชียงดาวจะมีห้องโถงขนาดใหญ่ที่เชื่อว่าเป็นห้องประชุม ในวันนั้นผีจะไม่เข้ามาหลอกหลอนชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ผีเมืองที่ดอยหลวงเชียงดาวได้เก็บข้าวจากชาวนาทุกคนที่วางไว้เซ่นไหว้พระแม่โพสพและเป็นค่าน้ำหัวนา ซึ่งจะนำข้าวไปวางไว้ที่หัวนาก่อนที่ชาวนาจะนำข้าวมาใส่ในยุ้งฉาง ข้าวเหล่านี้ผีดอยจะนำมากิน แล้วจะเหลือเพียงเปลือกหรือแกลบไว้ซึ่งจะเก็บเปลือกข้าวหรือแกลบไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งทางทิศใต้ไม่ไกลจากดอยหลวงเชียงดาวชื่อว่า “ถ้ำแกลบ”ความศักดิ์สิทธิ์ของดอยหลวงมิเพียงแต่ชาวบ้านจะเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว พระสงฆ์ในเขตล้านนาก็ได้แต่งและคัดลอกคัมภีร์ใบลานชื่อ ตำนานถ้ำเชียงดาวไว้หลายสำนวน ทั้งที่พบในเชียงใหม่และเมืองอื่นๆที่ห่างไกลออกไป เช่น ที่เมืองน่าน เป็นต้น
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 12:04 pm

เจ้าหญิงศิริประกาย ณ เชียงใหม่ - สมรสกับเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ และเป็นเจ้าแม่ในเจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่
62681.jpg
62681.jpg (94.72 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง

เจ้าหญิงศิริประกาย ณ เชียงใหม่ - สมรสกับเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ (เจ้าแม่ของเจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่)
เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ เป็นธิดาในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ กับหม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาคือ เจ้าพงษ์อินทร์ และเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ และมีเจ้าพี่ต่างมารดาอีกสามคน

๑.เจ้าศิริประกายสมรสกับเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีบุตร-ธิดา ๓ คน คือ

๒.เจ้าพงษ์กาวิล ณ เชียงใหม่ สมรสกับงามวิไล (สกุลเดิม สุกัณศีล) และสมรสอีกครั้งกับ บุญประกอบ (สกุลเดิม ส่วยสุวรรณ)

๓.เจ้าศิริกาวิล สิงหรา ณ อยุธยา

เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ สมรสและหย่ากับพลตำรวจโท ทิพย์ อัศวรักษ์ มีบุตรหนึ่งคน

เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ เสียชีวิตในวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ และจัดพิธีศพ ณ คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว

ข้อมูล : เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่,รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ

คนเชียงใหม่ในฤดูหนาว พ.ศ.๒๕๑๐
ไฟล์แนป
62746.jpg
62746.jpg (51.98 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 1:05 pm

พระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ถ่ายในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๘
ถ่ายภาพโดยชุดคณะทัวร์สงกรานต์ กรุงเทพ-เชียงใหม่ ทางรถยนต์
ภาพ : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
62683.jpg
62683.jpg (68.87 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร (ประจำปีชวด)
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนน เชียงใหม่ – ฮอด หมู่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ บริเวณที่ตั้ง บนเนินดินสูง ประมาณ ๑๐ เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่
ในพระวิหารหลวงของวัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวล ดุจสีดอกบวบ หรือ สีดอกพิกุลแห้ง ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๘ จนถึงปัจจุบัน

พระบรมธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ ๕ ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง ๔ เมตร สูง ๘ เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระษาดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๐

พระอุโบสถ
ลักษณะทรงไทยหน้าบันลงปิดทองสวยงาม สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) เดิมภายในพระอุโบสถมีประพุทธรูปสามองค์สร้างด้วยไม้แกะสลัก พระประธานในพระอุโบสถเป็นปางถวายเนตร ซึ่งแตกต่างจากพระอุโบสถในล้านนาทั่วไป บริเวณประตูทางเข้าพระอุโบสถได้ฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ตามประเพณีของล้านนา จึงไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีขึ้นไปยังพระอุโบสถ ภายในมีรูปวาดฝาผนังแสดงตำนานพระธาตุศรีจอมทอง และรูปเทวดาในชั้นต่างๆ

หอพระไตรปิฎก
สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้สำหรับเก็บพระไตรปิฎกมาบรูณะใหม่ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๔ แล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๕๓๖ สมัยพระครูสุวิทยธรรม

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระเจดีย์บริวาร (พระธาตุน้อย)
ไม่มีระบุว่าได้สร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าอายุประมาณ ๓๐๐ ปี ได้รับการบอกเล่าว่าสร้างโดยชาวพม่า เมื่อครั้งปกครองนครเชียงใหม่ ศิลปะเป็นแบบมอญ-พม่า สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นคู่กับพระเจดีย์องค์ใหญ่ ให้เกิดการสมดุลกัน ภายในบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย แต่ไม่ได้บรรจุพระธาตุไว้ภายใน

พระวิหารจัตุรมุข
ตามประวัติเล่าว่าพระวิหารถูกสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๐ ภายในพระวิหารมีมณฑปปราสาทเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยพระบรมธาตุถูกนำเข้าไว้ในโกศทองคำตั้งไว้ภายในปราสาท มีหลวงพ่อเพชรเป็นพระประธานในพระวิหาร (จำลองจากองค์จริงที่วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร) และมีโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูปเงินทองคำของคลังข้างที่ซึ่งประทานโดยเจ้าดารารัศมีพระราชชายาใน รัชกาลที่ ๕ เช่น ตลับฝังเพชร งาช้างเงิน)

ประเพณีสำคัญ
– สรงน้ำพระบรมธาตุ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ
– แห่ไม้ค้ำโพธิ์ วันสงกรานต์
– คติของชาวล้านนามีความเชื่อว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิด (ปีชวด)

กิจกรรม
– พิธีทำบุญถวายภัตตาหาร,ฟังเทศน์ทุกวันพระ (วันธัมมัสสวนะ)
– ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน(สติปัฎฐาน ๔) ตลอดทั้งปี

ที่ตั้งและการเดินทาง
จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้ถนนหลวงหมายเลข ๑๐๘ มุ่งหน้าสู่อำเภอจอมทอง เส้นทางเดียวกับไปดอยอินทนนท์ครับ แต่พอถึงแยกดอยอินทนนท์ไม่ต้องเลี้ยวครับ เลยไปอีกนิดหน่อยวัดอยู่ซ้ายมือ สรุปง่ายๆ ก็คือ จากตัวเชียงใหม่ มาตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ตรงมาอีก ๕๘ กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารอยู่ซ้ายมือ


ตลาด อ.เชียงดาวในปีพ.ศ.๒๔๙๘ ในยามเช้าของเดือนเมษายน ถ่ายโดยคณะทัศนาจรถ้ำเชียงดาว ขณะแวะทานอาหารเช้า
ภาพชุดคณะทัวร์สงกรานต์ กรุงเทพ-เชียงใหม่ ทางรถยนต์
ภาพ : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
62701.jpg
62701.jpg (38 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 1:13 pm

เรือหางแมงป่อง ของอาจารย์เคนเน็ต อี.แวลส์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒
ท่านรับหน้าที่ต่อจากพ่อครูแฮรีส ภายหลังจากที่ท่านกลับไปพำนักที่สหรัฐอเมริกาเป็นการถาวร ในภาพคือท่าจอดเรือแม่น้ำปิง พ.ศ. ๒๔๗๕อคาดว่าคงเป็นบริเวณกาดต้นลำไย ไกลออกไปเป็นสะพานนวรัฐ และโบสถ์คริสตจักร์ที่ ๑
ภาพ : Kenneth E. Wells
62703.jpg
62703.jpg (50.66 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


กำแพงเมืองฝาง
เมืองฝางในอดีตมีชื่อว่า “เวียงฝาง” อยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ ๘๓ ไมล์ สูงเหนือระดับน้ำทะเล ๑,๖๒๑ ฟุต ช่วงที่ข้าพไปเยือนนั้น มีจำนวนประชากรประมาณ ๒๕๐ หลังคาเรือน
62707.jpg
62707.jpg (67.73 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


ศาลาที่พักของเราหลังคารั่ว จึงไปขอเจ้าเมืองมาซ่อมให้ แต่ท่านไม่อยู่ ดังนั้นน้องชายของท่านจึงรีบมาดูหลังคาและซ่อมให้อย่างรวดเร็ว น้องชายเจ้าเมืองเล่าว่า เมืองฝางร้างไปประมาณ ๒๐๐ ปี (ด้วยถูกพม่าทำลาย) และในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ เจ้าหลวงมีโองการให้เจ้าราชสัมพันธวงศ์ซึ่งเป็นญาติกับเจ้าทิพย์เกสรพระชายา ฟื้นฟูเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีประกาศดังนี้

“ประกาศจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดยโองการจากเจ้าหลวง เจ้าอุปราชและวังหน้า ให้รับรู้ทั่วกันว่า ในวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ ศักราช ๑๒๔๒ เมืองเชียงแสน ได้รับการฟื้นฟูจนเป็นบ้านเป็นเมืองดังเดิมแล้วแต่เมืองฝางยังคงรกร้าง อีกทั้งยังมีที่ทางกว้างใหญ่สำหรับผู้คนมาตั้งหลักแหล่งหาที่ทำกิน แต่การที่จะฟื้นเมืองฝาง โดยใช้วิธีเดียวกับการฟื้นเมืองเชียงแสนนั้นไม่เห็นควร เพราะพวกเราควรฟื้นฟูบ้านเมืองเอง ไม่ต้องใช้ลูกหลานเชลยสงคราม( เชียงแสนเป็นเพียงเขตการปกครองหนึ่งไม่ใช่เมือง เพิ่งฟื้นขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๒๔)

ดังนั้น จึงมีโองการให้ผู้ที่ต้องการหาที่ทำกินแห่งใหม่ขึ้นไปยังเมืองฝางได้ทันที หากคนเหล่านั้นสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายคนใด จงอย่าขัดขวางการย้ายถิ่นฐานโดยเด็ดขาด เพราะเขาเหล่านั้นทำเพื่อบ้านเมือง ประกาศนี้ไม่รวมถึงทาส ข้าวัด ทหารองครักษ์ของเจ้าชีวิต ทหารรักษาเมืองเชียงใหม่ นักโทษและผู้คุม โดยเฉพาะพวกเงี้ยวโกหล่าน (เงี้ยวหรือไทใหญ่ที่เข้าร่วมกับเจ้าฟ้าโกหล่านเข้าตีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถูกคุมขังและอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่) พวกเงี้ยวโกหล่าน (เงี้ยวเมืองหมอกใหม่) ทุกชนชั้นถูกจำกัดบริเวณ ห้ามเดินทางออกนอกถิ่นที่อยู่อาศัยเด็ดขาด แต่เงี้ยวจากเมืองปุ และเมืองสาดในสมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์ไม่ถูกกักบริเวณแต่อย่างใด

เมื่อฟื้นเมืองฝางขึ้นมาแล้ว ชาวเมืองทำมาหากินได้ตามใจใฝ่มัก เว้นแต่ต้นผึ้ง(รังผึ้ง)และป่าไม้(ไม้สักและไม้มีค่าอื่นๆ )เท่านั้นที่เป็นของหลวง หากเจอต้นผึ้งในป่าให้แบ่งกันกับเจ้านาย(หลวง) ต้องการย้ายไปเมืองฝางให้มาขึ้นบัญชี และห้ามใครขัดขวางจนกระทั่งได้ชายฉกรรจ์ครบ ๑,๐๐๐ คน (ไพร่ชายที่มีอายุระหว่าง ๒๐ ถึง ๖๐ ปี) หากเกินกว่านั้นจึงยับยั้งได้

ประกาศนี้มีขึ้นในวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๔ ศักราช ๑๒๔๒ ท้าวธนัญชัยเป็นผู้สนองโองการ"

เมื่อข้าพเจ้าไปถึงเมืองฝาง ท้าวผู้นี้ได้เลื่อนเป็นพญาไชยมีหน้าที่ดูแลปกครองเมืองฝาง เมื่อถามพญา ว่าเมืองฝางมีประชากรเท่าใด ท่านตอบว่าไม่ทราบจำนวนที่แท้จริง เพราะไม่ได้นับจำนวนผู้หญิงและเด็ก แต่มีชายฉกรรจ์ ๖๓๐ คนอยู่ในทะเบียน ในตัวเมืองฝางมีประชากร ๒๕๐ หลังคาเรือน และทั่วทั้งเมืองมีประชากรทั้งสิ้น ๔๑๑ หลังคาเรือน แต่ละหลังคาเรือนมีคนประมาณ ๗ ถึง ๘ คน คำนวณแล้วคงมีจำนวนประชากรประมาณ ๓,๐๐๐ คน

พญาบอกต่อว่ายังมีพวกเงี้ยวเข้ามาตั้งหลักแหล่งเหนือน้ำแม่แตงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๓ และเมื่อปีที่แล้วก็มีเงี้ยวมาตั้งบ้านเรือนบริเวณลุ่มน้ำแม่ฝาง แต่ถูกชาวเชียงใหม่ ขับไล่ออกจากเมืองฝางไปแล้ว อีกทั้งยังขับไล่ให้ออกจากเมืองยองและเมืองงามด้วย ทั้งที่ ๒ เมืองนี้ขึ้นต่อเมืองสาดในรัฐฉาน ไม่เคยขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่เลย พญาคงพูดเกินจริงไปหรือเป็นเพราะว่าชาวเชียงใหม่ในช่วงนั้นชิงชังพวกเงี้ยวก็เป็นไปได้

ตามข้อมูลที่มีอยู่ เมืองฝางค่อนข้างอุดมสมบูรณ์เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายเท่า บริเวณลุ่มน้ำมีน้ำท่วมบ้าง แต่ลำเหมืองช่วยระบายน้ำไปยังไร่นาที่อยู่ติดกับภูเขาจึงทำให้ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว และปีไหนที่น้ำเอ่อท่วมทุ่งนานั้นแสดงว่าเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรง

พญาบอกว่าในเมืองฝาง มีซากเมืองโบราณ ๓ แห่ง คือ เวียงฝาง เวียงสบโท และเวียงปรา ในเมืองฝางนั้นมีซากโบราณสถานอยู่มากมายหลายแห่ง สันนิษฐานว่าในสมัยก่อนคงเป็นเมืองใหญ่ ผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

มิสเตอร์อาเชอร์ ได้เดินทางผ่านเมืองฝางเพื่อไปเมืองเชียงแสนใน พ.ศ. ๒๔๓๐ มีความคิดเห็นเรื่องเมืองฝางเหมือนกับพญาดังนี้

“ จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ในอดีตเมืองฝางคงมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เพราะมีซากวัดร้างจำนวนมากตลอดทั้งสองฝั่งน้ำแม่กก อีกทั้งบ้านเมืองก็อุดมสมบูรณ์เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากจนถึงปัจจุบัน แต่บริเวณลุ่มน้ำเกิดน้ำท่วมบ่อยจึงเพาะปลูกไม่ได้ผล ซึ่งเป็นปัญหาหลักของบริเวณลุ่มน้ำ แต่เมืองฝางส่วนใหญ่เพาะปลูกได้ผลดีจนสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาใหม่ได้

ในเมืองฝางมีวัดร้าง ๓๒๐ แห่ง และมีพระพุทธรูปอยู่มากมาย ไม่มีใครกล้าไปแตะต้อง ข้าพเจ้าขอประณามอดีตกงสุลอังกฤษ (!) นักเดินทางผู้ไร้ยางอาย ซึ่งชาวบ้านบอกว่าได้ฉกฉวยพระพุทธรูปโบราณจากวัดร้างไปเป็นจำนวนมาก และรวมถึงนักเดินทางชาวยุโรป มิสเตอร์ คาร์ล บอคที่เดินทางมาเมืองฝางหลายปีก่อนแล้วฉกเอาพระพุทธรูปกลับไปจำนวนหนึ่งด้วย”

สุทธิศักดิ์ ถอดความ
A thousand miles on an elephant in the Shan states
by Holt S. Hallett
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 1:19 pm

ถนนท่าแพ
ช่วงเมื่อกว่า ๘๐ ปีที่แล้ว(ประมาณพ.ศ.๒๔๘๐) บนถนนสายต่าง ๆ ของเชียงใหม่ ผู้คนจะนิยมเดินทางด้วยการเดิน ส่วนการใช้รถจักรยาน หรือ รถถีบจะมีน้อยมากนอกเสียจากคนมีเงินมีฐานะจะนิยมใช้รถจักรยานเท่านั้น ส่วนรถยนต์แทบไม่มีให้เห็นเลย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเจ้านาย คหบดี ดังนั้นสมัยก่อนหากใครมีรถจักรยานปั่นโชว์ก็นับเป็นเรื่องเท่อย่าบอกใคร…

62719.jpg
62719.jpg (50.69 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


เชียงใหม่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ หากย้อนไปในอดีตเมื่อราว ๕๐ – ๖๐ ปีก่อน ถนนท่าแพ นับว่าเป็นถนนสายการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ตลอดสองข้างทางจะร้านค้าของชาวจีนตั้งเรียงราย จนกระทั่งปัจจุบันร้านค้าเหล่านั้นก็ยังคงเปิดดำเนินการอยู่

ในสมัยก่อนร้านค้าสองฟากถนนท่าแพตั้งแต่บริเวณสี่แยกอุปคุตเรื่อยไปจนถึงบริเวณวัดแสนฝาง ส่วนมากจะเป็นร้านค้าของพ่อค้าชาวพม่าและชาวตองสู เวลานั้นพ่อค้าชาวจีนยังมีน้อย ส่วนคนไทยหรือคนพื้นเมืองแทบไม่มีเลย พ่อค้าชาวพม่าและตองสูเหล่านี้ มักจะนิยมเดินทางค้าขายไปมาระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองมะละแหม่งของพม่า โดยใช้ช้างหรือวัวต่าง ม้าต่างบรรทุกสินค้าผ่านเข้าออกที่ด่านอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นำสินค้าจากเชียงใหม่ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าของพม่า จากนั้นก็จะนำมาจำหน่ายที่ร้านค้าบริเวณถนนท่าแพ

ถนนท่าแพเชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถนนต้าแป” เป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีตปัจจุบัน ถนนท่าแพยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของถนนสายการยุคโบราณเสมอมา ในสมัยก่อนร้านค้าสองฟากถนนเป็นของชาวพม่า ซึ่งเปิดขายสินค้าจำพวกเสื้อผ้า โดยทางร้านจะนำเสื้อผ้าออกมาแขวนห้อยอยู่หน้าร้านเป็นแถว บริเวณสองข้างทางของถนนท่าแพจะนิยมขายเสื้อผ้าซึ่งเป็นร้านค้าของชาวพม่า ถนนสายนี้เคยมีโรงหนังมีชื่อของเชียงใหม่ชื่อ “โรงหนังตงเฮง” ต่อมาก็ได้กลายเป็นโรงยาฝิ่น มีลูกค้าระดับเถ้าแก่ เจ้าสัว อาเสี่ย อาแป๊ะ แม้กระทั่งกุลี จับกัง เข้าไปสูบฝิ่นในโรงฝิ่นแห่งนี้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้มีการเลิกสูบฝิ่นทั่วประเทศ โรงฝิ่นแห่งนี้จึงได้เลิกกิจการ

หลังจากนั้นมาถนนท่าแพก็มีความเจริญขึ้นตามลำดับ ร้านค้าที่เคยเป็นโรงไม้ชั้นเดียวก็เปลี่ยนมาสร้างด้วยอาคารพาณิชย์ ๒ ชั้น และมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งร้านค้าจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น จนชื่อเสียงของถนนท่าแพกลายเป็นถนนสายการค้าที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ แต่เมื่อเมืองเชียงใหม่มีเจริญมากยิ่งขึ้น ย่านการค้าของเชียงใหม่จึงกระจายออกไปอยู่ทั่วเมือง ความสำคัญของถนนท่าแพก็ลดลง อย่างไรก็ตามแม้ว่าถนนเศรษฐกิจและการค้าของเชียงใหม่จะมีมากขึ้น แต่เสน่ห์ของถนนท่าแพ ในความทรงจำของคนยุคก่อน ก็คือ ถนนแห่งการค้าสายแรก ในยุครุ่งเรืองของเชียงใหม่

ผู้เขียน จักรพงษ์ คำบุญเรือง หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 1:51 pm

วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่
ถ่ายราว พ.ศ.๒๔๐๘-๒๔๐๙

62730.jpg
62730.jpg (68.43 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


ในสมัยพระมหาเทวีจิระประภา ประมาณ พ.ศ.๒๐๘๘ ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า ๔๐๐ ปี กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๒๓ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่๗ ได้รื้อพระวิหารหลังเก่า และสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้สักทั้งหลัง
ภาพ : Disapong

62728.jpg
62728.jpg (77.02 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 เม.ย. 2019 2:03 pm

ถนนราชดำเนิน อันแสนสงบในอดีตตรงไปเห็นวัดพระสิงห์วรวิหาร จ.เชียงใหม่
ภาพ : Disapong Netlomvong
62771.jpg
62771.jpg (69.93 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง


เชียงใหม่ ใน ปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณสี่แยกสมเพชร ที่เลี้ยวขวาจะไปตลาดวโรรส(สี่แยกโรงเรียนสอนทำผมอำไพในอดีต)เลี้ยวซ้ายจะไปสี่แยกยุพราช ในสารคดี ขณะประธานาธิบดีเยอรมัน เฮนดริก ลุบเก้ เยือนอย่างเป็นทางการ

62768.jpg
62768.jpg (119.96 KiB) เปิดดู 4986 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot], Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน

cron