เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงใหม่

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 04 มี.ค. 2017 10:14 pm

#ประวัติชุมชนตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ชุมชนตำบลโหล่งขอด ชื่อของตำบลเกี่ยวกับตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดชาวพื้นเมืองแถบนี้ ทรงรับบิณฑบาตได้ภัตตาหารมากจนสายสลกบาตรขาด ต้องผูกเป็นปม (ภาษาถิ่นว่าขอดเป็นปม) ประกอบด้วยชุมชน ๙ หมู่บ้าน บ้านทุ่งแดง แถบนี้เคยมีวัวแดงอยู่มาก เรียกว่า “ทุ่งวัวแดง” แต่ต่อมาป่าไม้ถูกทำลายน้ำที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ก็แห้งขอด วัวแดงหายไป เหลือไว้แต่ดินแห้งสีแดง จึงเรียกเป็น “ทุ่งแดง” มีศาสนสถาน ๒ แห่ง คือวัดทุ่งแดง และวัดเจติยบรรพต สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต พบซากโบราณสถานที่เชื่อว่าเป็นวัดร้าง ๓ แห่ง คือ วัดห้วยบ้านเก่า วัดห้วยเปียง และวัดสันป่ายาง ชาวบ้านทุ่งแดงเคยเข้าไปทำกิน ปลูกข้าวและพืชสวนที่ห้วยปุยหลายครอบครัว ปัจจุบันเขตห้วยปุยยังเป็นที่ทำกิน แต่ไม่มีผู้คนเข้าไปพักอาศัย

บ้านป่าแต้ง ตั้งเป็นชุมชนในเวลาใกล้เคียงกับบ้านทุ่งแดง คนกลุ่มแรกอพยพมาจากอำเภอสันกำแพง (ค้าขาย หรือมาทำป่าไม้) พบซากโบราณสถาน ๓ แห่ง คือ วัดดงมะไฟ วัดขุมเงินขุมคำและวัดร้างไม่ทราบชื่อ บ้านนาเม็ง ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๙ สันนิษฐานว่าใช้ชื่อชุมชนเดิมของคนที่อพยพมาจากบ้านนาเม็ง อำเภอสันทราย มีวัดนาเม็งเป็นศาสนสถานบ้านแม่บอน มีอายุกว่าร้อยปี ตั้งชื่อตามชื่อลำห้วยแม่บอน วัดดงมะไฟเป็นศาสนสถาน พบซากโบราณสถานเชื่อว่าเป็นวัดร้างจำนวน ๓ แห่ง คือ วัดดงแสนตอง วัดห้วยบ้านเก่า วัดร้างไม่ทราบชื่อ อีกแห่งหนึ่งมีชื่อเรียกว่าแท่นฤาษี ไม่ปรากฏหลักฐานหรือคำบอกเล่าว่าเป็นวัดร้างแต่อย่างใด

บ้านป่าห้า ตั้งเป็นชุมชนราว พ.ศ. ๒๔๐๐ มีศาสนสถานคือ วัดป่าห้า มีปูชนียสถานตั้งอยู่บนเขาท้ายหมู่บ้านชื่อ “พระธาตุม่วงเนิ้ง”

บ้านหลวง มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี เป็นชุมชนใหญ่มาก จึงได้ชื่อว่า“บ้านหลวง” มีวัดบ้านหลวงเป็นศาสนสถาน ในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียงพบซากโบราณสถานที่เชื่อว่าเป็นวัดร้างมาก่อนจำนวนกว่า ๑๑ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านหลวง(ร้าง) วัดพระธาตุดอยเวียง วัดก๊างบอกไฟ นาวัดห่าง ปางปุย ดงผีฮ้าย ทุ่งเก๊าลาน หนองฆ้องคำ ห้วยตองหนาม ห้วยเขียะและดงปูแกง สันนิษฐานได้ว่าบริเวณบ้านหลวงนี้เคยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และอาจเป็นที่ตั้งของเวียงหรือเมืองใดเมืองหนึ่งในอดีต

บ้านแม่สาย หรือแม่สายป่าเหมี้ยง ตั้งขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๗๖ สภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีธรรมชาติที่สวยงาม อาทิ น้ำตกตาดเหมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเหมี้ยง(เก็บใบชามานึ่ง) จึงทำให้ได้ชื่อ บ้านป่าเหมี้ยง พบซากโบราณสถานที่เป็นสถานที่พำนักปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตและหลวงปู่แหวนสุจิณโณ บ้านฮ่างต่ำ ตั้งขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๙๗ พบซากโบราณสถาน ๔ แห่ง คือ วัดดอยสามเหลี่ยมวัดห้วยไคร้ (๒ วัด) วัดประตูโขง(ร้าง)
บ้านแม่สายนาเลา เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๖ มีศาสนสถานชื่อ พระธาตุขันติธรรม พบซากโบราณสถาน ๔ แห่งคือ วัดขั้นไดหิน พระธาตุห้วยกุ๊ก วัดห่างนาเลา และป่าช้าลัวะคำขวัญประจำตำบล “ พระธาตุม่วงเนิ้งถิ่นธรรม ดอยหลวงสูงล้ำเด่นสง่ารักษ์ประเพณีไทยล้านนา ลำน้ำขอดล้นค่าเกษตรกรรม ”

ที่มาจาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองพร้าวผ่านกระบวนการศึกษาวัดร้างอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดย มนัส ตันสุภายน และคณะ


#ประวัติชุมชนตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ตำบลแม่ปั๋งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ประกอบด้วย ๑๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านห้วยงู ตั้งเมื่อราว ๑๐๐ปีก่อน คนย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ พบโบราณสถานแห่งหนึ่งเรียกว่าสันเวียงหรือ วังฆ้อง เนื่องจากมีคนได้ยินเสียงแห่ฆ้องกลองมาจากในถ้ำโดยเฉพาะคืนวันเพ็ญวันสำคัญทางศาสน คนรุ่นปู่อายุ ๗๕ ปีเล่าสืบกันมาว่า ในถ้ำมีเครื่องใช้เครื่องครัวสามารถหยิบยืมมาใช้ในงานประเพณีของชาวบ้านได้ ต่อมาภายหลังเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เกิดน้ำท่วมสูงถึงปากถ้ำ หินทรายทับถมหน้าถ้ำจนไม่สามารถเข้าไปได้อีก นอกจากนี้ยังพบซากโบราณสถานซึ่งเชื่อว่าเคยเป็นวัดร้างมาก่อนอีก ๔ แห่ง คือ ที่ห้วยเกี๋ยงซาง ๒ แห่ง ธาตุห้วยกะเราะมอ วัดน้ำบ่อลึก

บ้านประดู่ อายุประมาณร้อยปี ชาวบ้านสืบเชื้อสายมาจากไทลื้อ พ่อหลวงตุ้ย (ไม่ทราบนามสกุล)เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

บ้านแม่แพง เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ตั้งปัจจุบัน เป็นคนเชื้อสายชาวไทยลื้อ ย้ายถิ่นฐานมาทำกินจากบ้านช่อแล อำเภอแม่แตงมีพ่อแก่ผัด วิกัน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก แต่เนื่องจากบ้านแม่แพงเดิมตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม เป็นเขตน้ำท่วมของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ทางราชการโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดสรรที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้ราษฎรใหม่ในรูปนิคมสหกรณ์แบ่งออกเป็น ๓ แปลงใหญ่คือบ้าน แม่แพง บ้านผาแดง และบ้านโป่งบัวบาน

บ้านสบปั๋ง เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมสันนิษฐานว่ามีผู้คนมาตั้งรกรากอยู่แถบนี้ก่อนสร้างเมืองพร้าว ผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยลื้อ มีวัดพระเจ้าตนหลวงเป็นศาสนสถานประจำหมู่บ้าน วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปศิลปะผสมล้านนากับสุโขทัย ถูกทิ้งร้างตั้งอยู่กลางป่าได้รับการบูรณะและขึ้นทะเบียนเป็นวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระเจ้านั่งช้าง ที่บนยอดเขาใกล้หมู่บ้านมีเจดีย์องค์หนึ่งเรียกว่า“ พระธาตุกาหลง ”

บ้านแม่ปั๋ง เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมมีอายุกว่าร้อยปี สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยลื้อ บุคคลสำคัญของหมู่บ้าน ได้แก่พ่อท้าวพระยาจักรเป็นผู้นำคนแรก ผู้นำชุมชนที่ได้รับเลือกเป็นกำนันตำบลแม่ปั๋ง คือ พ่อแคว่นสุยะ ประเรืองไร และพ่อกำนันประวัติ คำเมรุ พบซากโบราณสถานซึ่งเชื่อว่าเป็นวัดร้างมาก่อน คือ ซากโบสถ์เก่าของวัดแม่ปั๋ง และวัดแม่ปั๋ง(ร้าง)อีกแห่งหนึ่ง อยู่ไม่ไกลจากวัดแม่ปั๋ง ปัจจุบัน

บ้านทุ่งบวกข้าว เดิมเป็นหมู่บ้านเดียวกับบ้านแม่ปั๋ง แต่ไม่มีหลักฐานหรือพยานบุคคลยืนยันว่าตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อใด สันนิษฐานจากคำบอกเล่าและสำเนียงการพูดมีความเป็นได้ว่าสืบเชื้อสายมาจากไทลื้อเช่นเดียวกัน พบซากโบราณสถานที่เชื่อว่าน่าจะเคยเป็นวัดร้าง คือ พระธาตุดอยนะโม (เดิมเรียกน้ำมัว) วัดห้วยพระเจ้า และทุ่งเงี้ยว

บ้านขุนปั๋ง ตั้งเป็นชุมชนราว พ.ศ.๒๔๗๔ เป็นชุมชนชาวบ้านที่ปลูกเหมี้ยง มีลักษณะทางธรรมชาติเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

บ้านห้วยทราย เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมมีอายุประมาณหนึ่งร้อยปีประวัติที่มาของหมู่บ้านไม่ปรากฏชัดเจน ทราบเพียงว่าชาวบ้านอพยพมาจากบนดอยและมาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ พ่อหลวงปั๋น ตันกุณะ พบโบราณสถาน ๒ แห่ง คือวัดห้วยทราย(ร้าง)และดงเจ้านาย

บ้านม่อนหินไหล เป็นหมู่บ้านดั้งเดิม มีอายุประมาณร้อยปี ตั้งอยู่บนภูเขาสูง การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านต้องผ่านภูเขาสูง ซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “ม่อน” ที่มีความชันมาก แม้ลูกหินยังไม่สามารถจะเกาะตัวอยู่ได้อย่างสนิทจะเลื่อนไหลลงสู่พื้น ด้านล่างเคยเป็นพื้นที่ปลูกและเก็บใบเหมี้ยงขายเช่นเดียวกับขุนปั๋ง เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตอุทยานศรีล้านนาและสามารถเดินทางผ่านป่าเขาไปสู่อำเภอเชียงดาวและอำเภอแม่แตงได้ เป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

บ้านศรีประดู่ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งใหม่จากการจัดสรรที่ทำกินในรูปแบบนิคมสหกรณ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่มาจากบ้านประดู่ และบ้านห้วยทราย รวมทั้งเกษตรกรจากที่อื่นๆประกาศเป็นหมู่บ้านทางราชการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ กรมส่งเสริมสหกรณ์อนุญาตให้ใช้พื้นที่๘๐ กว่าไร่สร้างวัด “วัดป่าสหธรรมิการาม”

บ้านโป่ง หรือบ้านโป่งบัวบาน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ ในเขตนิคมสหกรณ์พร้าว ราษฎรส่วนใหญ่มาจากบ้านแม่แพงและที่อื่น ๆ ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินสร้างวัดประจำหมู่บ้าน ไม่พบซากโบราณสถานใดๆ

บ้านผาแดง เป็นหมู่บ้านตั้งใหม่คล้ายกับบ้านโป่งบัวบาน ราษฎรส่วนใหญ่มาจากบ้านแม่แพง(เดิม) ที่อยู่ใกล้กับเขตน้ำท่วมเหนือเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล พบวัดร้าง ๑ แห่ง เรียกว่าวัดผาแดงได้บูรณะพัฒนาเพื่อยกเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา

บ้านเฉลิมราช เดิมเป็นหย่อมบ้านของบ้านห้วยทราย เดิมเรียกกันว่าบ้านแม่สูน ซึ่งเป็นชื่อของลำห้วย ได้รับการประกาศตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ มีวัดร้างแห่ง ๑ ชื่อวัดสันกำแพงหรือสันกำแพงงาม ปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะพัฒนาเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาตามกฎมหาเถรสมาคมแล้ว
บ้านสันติสุขเดิมเป็นหมู่บ้านเดียวกันกับบ้านแม่ปั๋ง ประกาศเป็นหมู่บ้านเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙ เป็นที่ตั้งของวัดดอยแม่ปั๋ง ศาสนสถานซึ่งเคยเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ บริเวณบนดอยแม่ปั๋งมีลักษณะเป็นคันดิน คล้ายคูเมืองหรือเวียงเก่า คนรุ่นอายุเกิน ๗๐ ปีเล่าว่าสถานที่แห่งนี้เรียกม่อนเวียง สันนิษฐานว่าเป็นเวียงเก่าของเจ้าผู้ครองเมืองพร้าวยุคใดยุคหนึ่งหรืออาจเป็นที่ตั้งทัพ ปัจจุบันยังพอจะมองเห็นร่องรอยของคันดินได้บางส่วน คำขวัญประจำตำบล“ ดอยแม่ปั๋งล้ำค่า งามสง่าประเพณี กินอยู่ดีเกษตรกรรม สวยล้ำน้ำตกม่อนหินไหล น้ำใจมากล้นคนมีอารยธรรม ”


ที่มาข้อมูลรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองพร้าวผ่านกระบวนการศึกษาวัดร้างอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดย มนัส ตันสุภายน และคณะ
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 14 ส.ค. 2017 7:19 am

ตุ๊ พระหน้อย วัดขามสุ่มเวียง พ.ศ.๒๕๐๙

20728159_1764107463660728_1330705661290970076_n.jpg
20728159_1764107463660728_1330705661290970076_n.jpg (97.4 KiB) เปิดดู 10870 ครั้ง


ภาพ : kanphicha weschakij
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฟ้า » จันทร์ 14 ส.ค. 2017 7:21 am

พ.ศ. ๒๕๐๙ พ่อครูอินปัน เวชกิจ มัดมือนาค พ่อจรัญ เวชกิจ
นาคคู่กัน คือลุง หนัม ศิริศักดิ์ พานิชกุล แม่บัวคำ พานิชกุล กำลังมืดมือ
ด้านหลังคือหมอขวัญ จื้อ พ่อหนานมอย จิตเมตตา

20708199_1764114466993361_7438307950844161413_n.jpg
20708199_1764114466993361_7438307950844161413_n.jpg (71.52 KiB) เปิดดู 10870 ครั้ง


ภาพ : kanphicha weschakij
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 7:40 am

พระเจ้าล้านทอง และวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

20181019_122613_resize.jpg
20181019_122613_resize.jpg (177.93 KiB) เปิดดู 9694 ครั้ง



เมื่อเดินทางจากอำเภอพร้าวไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔ กิโลเมตร ไม่นานนักก็จะพบทางแยกไปยังหมู่บ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ ซึ่งก็คือทางไปวัดพระเจ้าล้านทองนั่นเองวัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว เนื่องจากสันนิษฐานว่าที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองพร้าววังหินหรือเวียงหวายแต่เดิมนั่นเองซึ่งในปัจจุบันยังคงมีคูเมืองหลงเหลือ ให้เห็นอยู่โดยรอบวัด และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองพร้าว อันได้แก่ “ พระเจ้าล้านทอง ”

พระเจ้าล้านทอง ( พระเจ้าล้านตอง ) ถูกขนานนามว่า " พระเจ้าหลวง " เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพร้าววังหินมาช้านานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก ๑๘๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๗๔ เซนติเมตรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๒ ตอนที่ ๒ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

20181019_121723_resize.jpg
20181019_121723_resize.jpg (157.9 KiB) เปิดดู 9694 ครั้ง


วัดพระเจ้าล้านทองเป็นวัดแห่งประวัติศาสตร์ ว่ากันว่าในอดีตนั้น นอกจากวัดแห่งนี้จะเป็นเมืองเก่าแก่แล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพผ่านเมืองพร้าวนั้น พระองค์ได้ ทรงหยุดทัพ ณ วัดพระเจ้าล้านทองแห่งนี้อีกด้วย วัดพระเจ้าล้านทองนั้นไม่มีพระสงฆ์จำวัดอยู่เลย มีเพียงคำร่ำลือถึงอาถรรพ์ต่างๆ ซึ่งชาวเมืองพร้าวเชื่อกันว่า พระสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการจริงๆเท่านั้น จึงจะจำพรรษาอยู่

ณ วัดเก่าแก่แห่งนี้ได้ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ของทุกปีนั้น ทางวัดจะมีประเพณีทำบุญเป็นประจำทุกปีนับว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่ยังทรงคุณค่าในสายตาของชาวเมืองพร้าวเสมอมา และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล


ประวัติพระเจ้าล้านทอง


20181019_122047_resize.jpg
20181019_122047_resize.jpg (162.31 KiB) เปิดดู 9694 ครั้ง


ตามหนังสือเวียงพร้าววังหิน

" พระเจ้าล้านทองวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช ๘๘๘ และเป็นพระพุทธรูปที่ซึ่งมีความสำคัญทางจิตใจอย่างมาก ต่อคนเมืองพร้าว และทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือของทุกปี ทางวัดจะมีการจัด ให้มีการสรงน้ำพระขึ้น


ตามหนังสือคนดีเมืองเหนือ

" พ่อท้าวเกษกุมารได้ครองเมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ ทรงมีพระนามในการขึ้นครองราชย์ว่าพระเมืองเกษเกล้า พระองค์ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมืองพร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๙ เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้


ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า ๒

"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความจารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่านผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได ๒๐๖๙ วัสสาแล…๘๘๘ ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าววังหิน ตามข้อมูลจากหนังสือดัง กล่าวสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้น จากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่า หลังจากเวียงพร้าววังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี ๒๑๐๑ ผู้คนหนีออกจากเมืองหมด ปล่อยให้องค์พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง ๓๔๙ ปีจนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีดาบสนุ่งขาว ห่มขาวเป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยังท่านดาบสองค์นี้ชอบกินข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ปลาร้าเป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน ส่วนท่านกาเลยังยังท่านไม่กลัว เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บนฐานอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่เผาเศษไม้ใบไม้แห้งกรอบ องค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยังจึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหาได้ในบริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธามีความคิดที่จะบูรณะ

บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรเข้าไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า ใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฟั่นเฟือน พูดจาไม่รู้เรื่อง เดือดร้อนถึงหมอผีต้องทำบนบานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสันขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทอง สาเหตุที่ชาวบ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพอุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ท่านครูบาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบาเป็นอย่างมาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุขทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ ๘๐ % เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๓๓๓ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีการซ่อมแซมวิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีพล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ ๑ ล้านบาทเศษ

นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าววังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้เป็นเดชเป็นศรีแก่เมืองพร้าวสืบไป

20181019_121527_resize.jpg
20181019_121527_resize.jpg (139.05 KiB) เปิดดู 9694 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 10:43 am

พระธาตุ ดอยนะโม บ้านทุ่งบวกข้าว ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว

77456.jpg
77456.jpg (100.17 KiB) เปิดดู 8437 ครั้ง


พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุดอยนะโม (น้ำมัว) ประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลวงปู่มั่นเคยมาพักบำเพ็ญสมณธรรมที่ดอยนะโม ซึ่งต่อมามีหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่พร ได้มาพักอยู่วัดพระธาตุดอยนะโมแห่งนี้

เมืองพร้าว

77458.jpg
77458.jpg (30.95 KiB) เปิดดู 8437 ครั้ง


77459.jpg
77459.jpg (26.7 KiB) เปิดดู 8437 ครั้ง



ภาพ : Thiraphat Yawicha
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 10:46 am

ถนนสายพร้าว-ไชยปราการ

77464.jpg
77464.jpg (73.94 KiB) เปิดดู 8437 ครั้ง


77463.jpg
77463.jpg (52.88 KiB) เปิดดู 8437 ครั้ง


77465.jpg
77465.jpg (49.52 KiB) เปิดดู 8437 ครั้ง


ภาพ : Thiraphat Yawichai
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 10:48 am

เมืองพร้าว

77466.jpg
77466.jpg (32.64 KiB) เปิดดู 8437 ครั้ง


ภาพ : Thiraphat Yawichai
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 12:17 pm

กู่เวียงยิง
522223_393825334030926_1568291474_n_resize.jpg
522223_393825334030926_1568291474_n_resize.jpg (56.58 KiB) เปิดดู 8436 ครั้ง


ในหลวง ร.๙ เสด็จดอยจอมหด ภาพในบ้านชาวลีซอ
บ้านลีซอ ดอยจอมหด ๒๕๑๓.jpg
บ้านลีซอ ดอยจอมหด ๒๕๑๓.jpg (38.67 KiB) เปิดดู 8436 ครั้ง

เมื่อในหลวง ร.๙ ทรงประทับที่บ้านท้ายดอยจอมหด อ.พร้าว “ทรงจิบเหล้าที่ชาวบ้านต้มเอง”
เป็นที่ทราบกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ นั้นทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกแห่งหนในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละครั้งล้วนเป็นถิ่นทุรกันดารทั้งสิ้น...เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๓ วันนั้นท่านทรงเสด็จไปหมู่บ้านท้ายดอยจอมหด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้านลีซอกราบทูลชวนให้ไปแอ่วบ้านเฮา พระองค์ก็ทรงเสด็จตามเขาเข้าไปในบ้านซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และมุงหญ้าแห้ง เขาเอาที่นอนมาปูสำหรับเป็นที่ประทับ แล้วรินเหล้าทำเองใส่ถ้วยที่มีคราบดำๆ จับ
ทางผู้ติดตามรู้สึกเป็นห่วง เพราะปกติจะไม่ทรงใช้ถ้วยมีคราบ จึงกระซิบกราบทูลว่า ควรจะทรงทำท่าเสวย แล้วส่งถ้วยมาพระราชทานผู้ติดตามจัดการเอง
แต่พระองค์ก็มิได้ใส่พระทัย ทรงกระดกกรึ๊บเดียวเกลี้ยงถ้วย ตอนหลังทรงรับสั่งว่า "ไม่เป็นไร แอลกอฮอล์เข้มข้นเชื้อโรคตายหมด"
#คิดถึงคนบนฟ้าจัง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 26 พ.ค. 2019 1:18 pm

เพลงใบบุญเมืองพร้าว




บทเพลงแนะนำเมืองพร้าว อดีต "เวียงพร้าววังหิน" เมืองเก่าอันมีอดีตแสนยาวนาน เมืองพร้าววังหินเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๒๔ โดย "พระญามังราย"(พญามังราย) ณ ตำบลแจ้สัก หรือเดิมเรียกว่า เวียงหวาย พื้นที่เมืองพร้าวก่อนยุคพญามังรายเคยเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้วมาตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันเมืองพร้าวยังคงเป็นเมืองแห่งความสงบร่มเย็น ผู้คนใช้ชีวิตตามวิถีล้านนา ยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี และธรรมชาติเอาไว้ได้อย่างน่าทึ่ง
ขับร้อง : สรรชัย ฉิมพะวงศ์
คำร้อง ทำนอง : อ้ายสรรชัย ฉิมพะวงศ์
วีดีโอ : Thongin Wongrak

ดอยจอมหดไม่เหงาเมื่อมีเมฆบางเบาโอบกอดให้อุ่นใจ
147147_resize.jpg
147147_resize.jpg (46.06 KiB) เปิดดู 5871 ครั้ง

ภาพ : Thiraphat Yawichai
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 ม.ค. 2020 6:22 pm

เวียงพร้าว
26821.jpg
26821.jpg (44 KiB) เปิดดู 5682 ครั้ง

หลังจากเดินผ่านที่ราบ ๓ไมล์ เราก็เข้าประตูทางทิศเหนือของเวียงพร้าว อยู่ไกลจากเมืองเชียงใหม่ ๔๔ไมล์ สูงเหนือระดับน้ำทะเล ๑๔๒๖ ฟุต เมืองเพิ่งสร้างรั้วระเนียดบนเนินดินล้อมรอบ ขุดคูกว้าง ๑๐ ฟุต ลีก ๑ ฟุต

เมื่อเดินไปตามถนนในตัวเมือง เราจึงพักที่ศาลา ที่อยู่ตรงกันข้ามกับศาลยุติธรรม

เมื่อรู้ข่าว น้องชายเจ้าเมือง ซึ่งปลูกเรือนหลังใหม่อยู่พอดี ส่งคนมาขอยืมเข็มทิศทันที เพื่อเอาไปวัดว่า ทิศเหนือเเละทิศใต้ที่เขากำหนดเองนั้น ถูกต้องหรือไม่

เมื่อไปถึง ข้าพเจ้าพบว่า เสาเรือนตั้งคลาดเคลื่อนจากเส้นแนวแรงเหนือใต้ของแม่เหล็ก ๕ องศา เช่นเดียวกับทิศทางการตัดถนนเส้นหลักในตัวเมือง ตัวเมืองวางแผนผังดี ถนนกว้างขวาง ทุกแห่งดูสะอาดเรียบร้อย

เจ้าเมืองมาพบในตอนค่ำ ท่านบอกว่า พระเจ้าเมืองเชียงใหม่ทรงตั้งเวียงพร้าว ให้เป็น “เมือง” ในพ.ศ. ๒๔๑๓

ก่อนหน้านั้น เป็นหมู่บ้านที่ขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑- ๑๒ เจ้าฟ้าโกหล่านแห่งเมืองเงี้ยวมาโจมตีเมือง เผาหมู่บ้าน ๖ แห่ง และในพ.ศ. ๒๔๑๕ เข้ามาเผาหมู่บ้าน อีก ๒ แห่ง

ตามคำบอกเล่าของเจ้าเมือง เมืองมีเรือนของชาวล้านนา ๙๐๐ หลัง ในรั้วระเนียด มี ๒๐๐ หลัง นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านชาวลัวะเชียงตุง ๒ แห่ง เเละกะเหรี่ยงอีก ๓ แห่ง

ถึงแม้ไม่นานมานี้ ชาวเมืองหลายร้อยหลังคาเรือนอพยพไปเมืองฝาง ท่านก็ยังเหลือชายฉกรรจ์ ๑๐๐๐ คน ในตัวเมืองเเละรอบนอก มีวัด ๔ แห่ง พระสงฆ์ ๘ รูป

เมื่อถามว่า เหตุใดชาวเมืองจึงอพยพไปเมืองฝาง ท่านเริ่มตื่นตัว แล้วบอกว่า ระยะหลังเจ้านายเมืองเชียงใหม่ผูกขาดการค้าเหล้า หมู ใบยาสูบ อีกทั้งเก็บภาษีครั่งอย่างไม่สมเหตุสมผล ชาวบ้านจึงเลิกไปเก็บครั่งตั้งเเต่นั้น ไร่ฝ้ายก็มีน้อย เพราะเมืองเชียงใหม่เรียกเก็บภาษีฝ้ายด้วย

ข้าพเจ้าถามเรื่องผูกขาดการค้า เจ้าเมืองตอบว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทุกตำบล ยินยอมขายเหล้า แก่พ่อค้าผู้ผูกขาดในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะบวกราคาเพิ่มเป็น ๓๐ เท่า

ชาวเมืองไม่มีสิทธิต้มเหล้าขาย หรือแม้เเต่ดื่มเอง ส่วนหมู เมื่อฆ่าหมู ๑ ตัว ต้องจ่ายภาษี ๑ รูปีสำหรับเลี้ยงผี เเละ ๑.๕ รูปีสำหรับบริโภคตามปกติ เงินหนึ่งในสิบส่วน ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษี สำหรับใบยาสูบ ชาวเมืองต้องเสียภาษี หนึ่งในสี่ส่วนจากยอดขาย ซึ่งอย่างหลัง หากข้อมูลไม่ผิดพลาด ก็ถือว่า เป็นการเก็บภาษีที่แพงมากจริงๆ นอกเหนือจากนี้ ชาวเมืองไม่บ่นอะไร

การเก็บภาษีในล้านนา ผ่อนปรนกว่าสยามมาก ดังนั้น ผู้คนจึงมีชีวิตที่ดีกว่าด้วย

การเดินทางจากเวียงพร้าว ไปเมืองเชียงดาวใช้เวลา ๑ วัน ไปบ้านหนองกวาง ริมฝั่งแม่ลาวใช้เวลาเดินทาง ๓ วัน ทิวเขาที่ขวางกั้นเส้นทางหลังนั้น ท่านบอกว่า ข้ามได้ง่าย เพราะสูงเท่ากับทิวเขาที่อยู่ระหว่างเมืองฝางกับเวียงพร้าว

เมืองโบราณที่ชื่อ เวียงหวาย ตั้งอยู่ ๘ ไมล์ไปทางทิศตะวันตกของเวียงพร้าว ฯ

ภาพ เจ้าขัตติยะ โอรสพระเจ้าอินทวิชยานนท์

ที่มา บันทึกของ Hallett, Holt Samuel [โฮลต์ ซามูเอล ฮาลเล็ตต์]
เสียชีวิตเมื่อ: ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๔, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
สุทธิศักดิ์ ถอดความ
หนานชิโร่ เเต้มสี
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เล่าเรื่องเมืองพร้าว เมืองเก่าเมืองพร้าววังหิน จ.เชียงให

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 ก.พ. 2020 2:57 pm

กู่เวียงยิง บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
872509.jpg
872509.jpg (103.4 KiB) เปิดดู 5560 ครั้ง

หลังจากที่พระญามังรายได้ส่งขุนฟ้าไปเมืองหริภุญชัยแล้ว จึงรับสั่ง ให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่าขุนเครื่อง ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษาให้ไป ครองเมืองเชียงราย ส่วนพระญามังรายครองราชย์สมบัติ ณ เมืองฝาง ฝ่ายขุนเครื่อง ราชโอรส เสด็จไปครองเมืองเชียงรายได้ไม่นานนักอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีชื่อว่าขุนใสเวียง ได้กราบทูลยุยงให้คิดกบฎต่อพระบิดา โดยให้ชิงเอาราชสมบัติเมืองเชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมือง

ฝ่ายพระญามังรายทรงทราบ จึงปรารภว่าขุนเครื่องผู้มีบุญน้อยจะมาคิดแย่งราชสมบัติกูผู้เป็นพ่อเช่นนี้ จักละไว้มิได้ จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัยผู้หนึ่ง ไปเชิญขุนเครื่องผู้โอรสให้มาเฝ้าที่เมืองฝาง ในขณะที่ราชโอรสเดินทางจากเมืองเชียงราย จะมาเฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระญามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ ทำให้ขุนเครืองสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งในเขตอำเภอพร้าว

บริเวณนั้นพระญามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรสและทรงให้สถาปนา บริเวณ ที่ขุนเครื่องถูกปลงพระชนม์นั้นเป็นอารามเรียกว่า วัดเวียงยิง มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเชียงยิง หรือวัดกู่ยิง(วัดสันป่าเหียง) ครั้นแล้วก็โปรดให้อัญเชิญพระศพไปฌาปนกิจเสียที่เมืองเชียงราย

วัดเวียงยิง ตั้งอยู่บริเวณสันป่าเหียง และทำการสร้างวัดบริเวณพระธาตุกู่เวียงยิง ด้วยลักษณะที่ตั้งอยู่สูงเกินไป ประกอบกับได้เกิดฟ้าผ่าบนยอดฉัตรพระธาตุบ่อยครั้งจนเป็นเหตุให้ยอดฉัตรเจดีย์พังทลายลงมา จนชาวบ้านต่างเรียกขานว่า “ธาตุกุด” ต่อมาได้เกิดปัญหาภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำเพราะลักษณะการตั้งวัดอยู่ในที่สูง ชาวบ้านและเจ้าอาวาสจึงได้ย้ายวัดลงมาตั้ง บริเวณที่แห่งใหม่ ลงมาอีก ประมาณ ๑๐๐ เมตร หรือวัดทุ่งน้อยในปัจจุบัน นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุกู่เวียงยิงจึงถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ถูกปกคลุมด้วยวัชพืช ในวัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ ๒ องค์มีลักษณะสวยงามมาก ขณะนี้เก็บไว้ที่ วัดป่าลัน ตำบลบ้านโป่ง และที่วัดหนองอ้อ ตำบลเวียง เรียกว่า พระฝนแสนห่า
2358999.jpg
2358999.jpg (94.11 KiB) เปิดดู 5560 ครั้ง


ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ อาจารย์อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว นักประวัติศาสตร์ และกรมศิลปากรเข้าไปตรวจสอบ และขุดค้นเพิ่มเติม พบว่านอกจากองค์เจดีย์แล้ว ยังพบซากฐานอุโบสถ ซากวิหาร และประตูวัดทั้งสี่ด้าน น่าสนใจว่า ฐานอุโบสถและวิหารดังกล่าวตอนนี้ยังมีอยู่ไหม

ข้อมูล : ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว , เวียงพร้าววังหิน
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน

cron