เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 12:08 pm

ต้นยางนาหมายเลขที่ ๑ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และพระบรมราชินี่นาถเคยเสด็จมาร่วมฉายพระรูป ณ บริเวณแดนเมืองเขตรอยต่อของจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน จุดสิ้นสุดบ้านหลังสุดท้ายบนถนนสายต้นขี้เหล็กของจังหวัดลำพูน และเป็นจุดเริ่มต้นของถนนสายต้นยางนา ณ บ้านเลขที่ ๑ ของบ้านปากกอง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าภาพนี้ พ.ศ.๒๕๐๑
60354934_2220169508060838_1651623501808795648_n.jpg
60354934_2220169508060838_1651623501808795648_n.jpg (62.06 KiB) เปิดดู 5140 ครั้ง


ลัดดาแลนด์ ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๓๐
ลัดดาแลนด์.jpg
ลัดดาแลนด์.jpg (56.8 KiB) เปิดดู 5140 ครั้ง


ลัดดาแลนด์.jpg
ลัดดาแลนด์.jpg (81.81 KiB) เปิดดู 5058 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 12 พ.ค. 2019 12:10 pm

เวียงท่ากาน
602458_389763147770478_83337490_n_resize.jpg
602458_389763147770478_83337490_n_resize.jpg (85.8 KiB) เปิดดู 5140 ครั้ง


ประวัติความเป็นมา


จากหลักฐานทางด้านตำนานปรากฏชื่อว่า เมืองตระการ สันนิษฐานว่า น่าจะได้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ สมัยพระเจ้าอาทิตยราชครองเมืองหริภุญไชย จากพงศาวดารโยนกได้กล่าวว่าเมืองนี้ในสมัยพญามังรายมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ มีชื่อว่า พันนาทะการ สมัยพระเจ้าติโลกราชได้ยกทัพไปตีเมืองเงี้ยวก็ยังได้นำเชลยเงี้ยวไปไว้ที่พันนาทะการในปี พ.ศ. ๒๐๖๐ สมัยพระเมืองแก้วมีไทถิ่นต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์ก็ให้ไปตั้งบ้านเรือนที่เวียงพันนาทะการอีก จนในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองของพม่าตีได้เชียงใหม่และล้านนาไว้ในอำนาจให้พระเจ้าเมกุฏิครองเมืองเชียงใหม่ เวียงนี้ก็คงอยู่ในอำนาจของพม่าด้วย และภายหลังเจ้าองค์นกแข็งเมือง ปกครองตนเองและมีการต่อสู้กันจนเชียงใหม่ร้างไปในระยะปี ๒๓๑๘-๒๓๓๙ ประมาณ ๒๐ ปีเศษ พันนาทะการก็อาจจะร้างไปด้วย จนสมัยพระเจ้ากาวิละตีเชียงใหม่คืนมาได้ และได้ปราบปรามเมืองอื่น ๆ ก็ให้เมืองนี้เป็นที่อยู่ของชาวไทลื้อเมืองยอง ซึ่งให้อยู่ทั้งที่พันนาทะการและเมืองลำพูน



ลักษณะทั่วไป


เวียงท่ากาน มีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๔๖๐ x ๗๔๐ เมตร ความกว้างของคูน้ำประมาณ ๘ เมตร สภาพคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นเขตเมืองนั้นยังมีสภาพตื้นเขิน เหลือสภาพแนวคูน้ำคันดินให้เห็น ๓ ด้าน บริเวณรอบเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงกว่าที่นาโดยรอบ

หลักฐานที่พบ


๑. เจดีย์ทรงมณฑป ฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบหก ก่ออิฐก่อดินฉาบปูน กว้างประมาณ ๓.๕ เมตร ส่วนยอดเจดีย์พัง ความสูงของเจดีย์ที่เหลือประมาณ ๓ เมตร ตัวเจดีย์ถูกลักลอบขุดเป็นโพรง


๒. เป็นโบราณสถาน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ห่างประมาณ ๒๐ เมตร ขนาดประมาณ๖.๘ x ๘ เมตร พื้นที่เนินปกคลุมด้วยต้นไม้และวัชพืช พบแนวอิฐส่วนฐานวางตัวตามทิศตะวันออก - ตะวันตก ยาวประมาณ ๔ เมตร สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร


๓. ศิลปวัตถุที่พบตามบริเวณเจดีย์ ส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์ดินเผา ที่เรียกชื่อว่า พระแผง(หรือกำแพงห้าร้อย) พระสาม พระสิบสอง พระบัวเข็ม พระคง พระเลี่ยงหลวง พระสามใบโพธิ์ พระร่มโพธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีรูปลักษณะศิลปกรรมของสมัยหริภุญไชย นอกจากนี้ก็พบมูยาสูบ(กล้องยาสูบ) ตุ้มตาชั่งสัมฤทธิ์ ตุ้มแห ชามเวียงกาหลง คอสิงห์ดินเผา ศิลปวัตถุที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ โถลายครามจีนสมัยปลายราชวงศ์หยวน ขนาดสูงประมาณ ๓๘ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตรงกลางโถประมาณ ๓๒ เซนติเมตร เส้นรอบวงประมาณ ๑๐๖เซนติเมตร มีหูเล็ก ๆ เป็นรูปมังกร

เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน


จากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ เชียงใหม่ - จอมทอง เลยอำเภอสันป่าตองไปประมาณ ๗ กิโลเมตร ถึงบ้านทุ่งเสี้ยว เลี้ยวซ้ายข้างป้อมตำรวจเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตรผ่านบ้านต้นกอกจึงถึงบ้านท่ากาน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน

ข้อมูล ประเพณีไทยดอทคอม



คูเมืองเชียงใหม่
550407_383402368406556_1191810282_n.jpg
550407_383402368406556_1191810282_n.jpg (34.58 KiB) เปิดดู 5140 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 20 พ.ค. 2019 10:31 am

วิหารวัดเกตการาม พ.ศ.๒๔๔๑
ภาพ : เสถียร ณ วงศ์รักษ์
วัดเกตการาม๒๔๔๑.jpg
วัดเกตการาม๒๔๔๑.jpg (22.48 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง


วัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘
ภาพ : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
พระธาตุศรีจอมทอง๒๔๙๘.jpg
พระธาตุศรีจอมทอง๒๔๙๘.jpg (27.48 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง


วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเจียงใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๗
ภาพ : วารสาร คนเมือง กรกฎาคม ๒๔๙๗

เจดีย์หลวง2497.jpg
เจดีย์หลวง2497.jpg (42.92 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 20 พ.ค. 2019 10:34 am

สถานีรถไฟจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๐๓

สถานีรถไฟจังหวัดเจียงใหม่ ๒๕๐๓.jpg
สถานีรถไฟจังหวัดเจียงใหม่ ๒๕๐๓.jpg (25.25 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง


ประเพณีใส่ขันดอกอินทขีล วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเจียงใหม่ ก่อน พ.ศ.๒๕๐๐
ภาพ : Naret Boontiang
อินทขิล2500.jpg
อินทขิล2500.jpg (27.2 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง

ภาพเก่าของวิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเจียงใหม่ ซึ่งภายในวิหารประดิษฐานเสาอินทขีล ตรงกลางด้านซ้ายมีไม้หมายเมือง "ต้นยางนา" สูงตระหง่าน ปัจจุบันต้นยางนามีอายุมากกว่าสองร้อยปีแล้ว
รูปเก่าของวิหารจตุรมุขวัดเจดีย์หลวง.jpg
รูปเก่าของวิหารจตุรมุขวัดเจดีย์หลวง.jpg (34.19 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 20 พ.ค. 2019 10:40 am

ภาพที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพก่อนสงครามโลกครั้งที่๒)
ภาพ : นายเอ็ม ทานาคา
ภาพที่ทำการ ไปรษณีย์โทรเลขเชียงใหม่ M TANAKA.jpg
ภาพที่ทำการ ไปรษณีย์โทรเลขเชียงใหม่ M TANAKA.jpg (25.6 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง


ที่ทำการโทรเลข ของจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๕
ภาพ : บุญเสริม ศาตราภัย
ที่ทำการโทรเลข ของจังหวัดเชียงใหม่ 2495 บุญเสริม.jpg
ที่ทำการโทรเลข ของจังหวัดเชียงใหม่ 2495 บุญเสริม.jpg (94.56 KiB) เปิดดู 5111 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 22 พ.ค. 2019 7:23 pm

ภาพประชาชนรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงนำพระเจ้าเฟเดอริค กษัตริย์กรุงเดนมาร์ค และพระราชินี เสด็จผ่านน้ำพุช้างเผือก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕
ที่มา : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
86122.jpg
86122.jpg (17.38 KiB) เปิดดู 5102 ครั้ง


อาคารผู้ป่วยหลังแรกของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่(สวนดอก) สร้างเสร็จและเปิดให้บริการ พ.ศ.๒๔๘๔ ภาพนี้น่าจะถ่ายช่วงพ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๑๒ ปัจจุบันคืออาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู จาก...หนังสือ "๕๐ ปี สวนดอก บอกผ่านภาพ"
86131.jpg
86131.jpg (26.97 KiB) เปิดดู 5102 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 22 พ.ค. 2019 7:28 pm

ป้อมกำแพงดินด้านหลังโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเจียงใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖

86124.jpg
86124.jpg (53.33 KiB) เปิดดู 5433 ครั้ง


หากเดินเข้าไปในบริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน จะเห็นภาพของต้นไม้ คูน้ำ กำแพงเมืองและถนนที่ทอดยาวโอบล้อมเมืองไว้ เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสบายตาและสงบร่มรื่นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นภาพที่แตกต่างจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่อายุ ๗๐ – ๘๐ ปี ที่เล่าว่าเมื่อตอนที่ยังเป็นเด็ก บริเวณกำแพงเมืองมีสภาพทรุดโทรม บางส่วนมีหญ้ารกปกคลุม และบางส่วนพังทลาย ถนนริมกำแพงเมืองด้านในเป็นเพียงทางเดินแคบๆ ส่วนถนนริมคูเมืองด้านนอกแคบมากขนาดคนเดินสวนกันได้เท่านั้น เกวียนไม่สามารถเดินผ่านได้ ผู้คนมักไม่กล้าเดินผ่านเพราะเปลี่ยวมาก มีหลักฐานว่าตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ เป็นต้นมาทางเทศบาลได้เริ่มบูรณะประตูเมืองและแจ่งเมืองให้ดูเป็นระเบียบดังที่เห็นในปัจจุบัน

ในปัจจุบันกำแพงเมืองเชียงใหม่มี ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐมีขนาดกว้าง ๙๐๐ วา ยาว ๑,๐๐๐ วา อีกส่วนเป็นกำแพงดินที่โอบล้อมเมืองตั้งแต่บริเวณถนนท่าแพใกล้วัดบุพพารามทอดยาวไปจนถึงโรงพยาบาลสวนปรุง

ในบริเวณมุมกำแพงเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคนเมืองเรียกว่า แจ่ง แต่ละแจ่งมีชื่อเรียกดังนี้ คือ แจ่งหัวรินที่ถนนห้วยแก้วตรงกันข้ามกับโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม แจ่งศรีภูมิตรงข้ามวัดชัยศรีภูมิ วัดนี้เดิมชื่อวัดพันตาเกิ๋น เนื่องจากมีเรื่องเล่าว่าคูเมืองตรงนี้ลึกมาก ต้องใช้บันไดไม้ไผ่ยาวถึง ๑,๐๐๐ ข้อ จึงจะสามารถหยั่งถึงพื้นได้ คนเมืองเรียกบันไดไม้ไผ่ว่าเกิ๋น จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดพันตาเกิ๋น แจ่งขะต๊ำ ใกล้ๆ กับวัดพวกช้าง ขะต๊ำ” หมายถึงเครื่องมือจับปลาประเภทหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้ปลาชุกชุม ผู้คนมักจะมาดักปลาโดยใช้ ขะต๊ำ” ในบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่าแจ่งขะต๊ำ แจ่งกู่เฮืองตรงกันข้ามโรงพยาบาลสวนปรุง

กำแพงเมืองแต่ละด้านจากแจ่งสู่แจ่ง เจาะช่องประตูเป็นทางเข้าออกเมืองดังนี้ จากแจ่งหัวรินถึงแจ่งศรีภูมิมีประตูช้างเผือก จากแจ่งศรีภูมิถึงแจ่งขะต๊ำมีสองประตูคือ ประตูช้างม่อยและประตูท่าแพ จากแจ่งขะต๊ำถึงแจ่งกู่เฮือง มีสองประตูคือ ประตูเชียงใหม่และประตูสวนปรุง และจากแจ่งกู่เฮืองถึงแจ่งหัวรินมีประตูสวนดอก บริเวณประตูทั้ง ๖ ประตู มีจารึกลงยันต์และคาถาบนศิลาจารึกติดไว้ที่ทางเข้าออกประตู แต่ที่ประตูช้างม่อยหายไป ในขณะที่บางแห่งได้ทำคัดลอกขึ้นใหม่ เช่นที่ประตูสวนปรุงและประตูสวนดอก เป็นต้น
ทั้งด้านในและด้านนอกกำแพงเมืองแต่ละด้านมีถนนวิ่งผ่านโดยรอบ แต่ละถนนมีชื่อต่างกันดังนี้ จากแจ่งหัวรินถึงแจ่งศรีภูมิด้านในกำแพงเมือง เป็นถนนศรีภูมิ ด้านนอกเป็นถนนมณีนพรัตน์ จากแจ่งศรีภูมิถึงแจ่งขะต๊ำด้านในกำแพงเมือง เป็นถนนมูลเมือง ด้านนอกจากแจ่งศรีภูมิถึงประตูท่าแพ เป็นถนนชัยภูมิ จากประตูท่าแพถึงแจ่งขะต๊ำเป็นถนนคชสาร จากแจ่งขะต๊ำถึงแจ่งกู่เฮืองด้านในกำแพงเมือง เป็นถนนบำรุงบุรี ด้านนอกจากแจ่งขะต๊ำถึงประตูเชียงใหม่เป็นถนนราชเชียงแสน จากประตูเชียงใหม่ถึงแจ่งกู่เฮืองเป็นถนนช่างหล่อ และจากแจ่งกู่เฮืองถึงแจ่งหัวรินด้านในเป็นถนนอารักษ์ ด้านนอกเป็นถนนบุญเรืองฤทธิ์

ปรากฏหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า กำแพงเมือง คูเมือง และประตูเมือง สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ แต่มีการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายสมัย

เมื่อพญามังรายโปรดให้สร้างเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา พระองค์โปรดให้สร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๐๐ วา ยาว ๑,๐๐๐ วา และโปรดให้ขุดคูรอบเวียง เข้าใจว่ากำแพงเมืองในสมัยนี้ยังเป็นกำแพงที่ทำด้วยดิน เนื่องจากการสร้างกำแพงด้วยอิฐนั้นมีหลักฐานว่า สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว ที่พระองค์โปรดให้ ปั้นดินจักก่อเมฆเวียงเชียงใหม่ และ ในสมัยพระเจ้ากาวิละ เมื่อพระองค์กลับมาซ่อมแซมเมืองเชียงใหม่ ทรงโปรดให้...สร้างรั้วแปลงเวียงก่อเมกปราการ กำแพงเชิงเทิน หอป้อมบานประตูหื้อแน่นหนา มั่นคง ขุดร่องคือเอาน้ำเข้า เพื่อให้เป็นที่ขามแข็งทนทานแก่ข้าศึก...

สำหรับประตูเมืองเชียงใหม่นั้น เมื่อแรกสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายทรงมีดำริที่จะ ... แปงประตูห้าแห่ง... ซึ่งไม่พบหลักฐานว่าในสมัยพระองค์ได้มีการสร้างประตูเสร็จทั้งห้าแห่งหรือไม่ เนื่องจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เชียงใหม่มีประตูเมือง ๖ประตู ซึ่งประตู ๒ แห่งได้สร้างในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนและพระเจ้าติโลกราชตามลำดับ

ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนโปรดให้สร้างประตูสวนแหเพื่อให้ความสะดวกแก่พระราชมารดาในการเสด็จไปควบคุมการก่อสร้างองค์เจดีย์หลวง ซึ่งในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมาเจดีย์องค์นี้สร้างยังไม่แล้วเสร็จ ที่ต้องเจาะประตูเพิ่มเพราะพระราชมารดาประทับอยู่ที่บ้านสวนแหด้านนอกกำแพงเมือง ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่สวนปรุงในปัจจุบัน

ในสมัยพระเจ้าติโลกราชเมื่อพระองค์โปรดให้สร้างที่ประทับแห่งใหม่ ในบริเวณใกล้กับแจ่งศรีภูมิ จึงโปรดให้สร้างประตูศรีภูมิขึ้นอีกหนึ่งประตู เพื่อความสะดวกในการเดินทาง

คนโบราณเชื่อว่าบริเวณประตูและแจ่งต่างๆ เป็นที่อยู่ของเทวดาอารักษ์ที่คอยดูแลรักษาเมืองและผู้คนให้มีความสุขและให้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ เทวดาอารักษ์เหล่านี้เปรียบเสมือนศรีและขวัญของเมือง ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาผีและอารักษ์เมืองทุกปี และในทางกลับกันหากต้องการทำลายเมือง วิธีหนึ่งคือการทำลายศรีและขวัญเมือง ด้วยการทำขึดบริเวณประตูเมือง ซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของเทวดาอารักษ์เมือง เหมือนเช่นในสมัยพระเจ้าติโลกราช ทางอาณาจักรอยุธยาได้ส่งคนมาทำลายศรีและขวัญเมืองด้วยการทำคุณไสยนำไหใส่ยา (ของที่ไม่เป็นมงคล) ไปฝังไว้กลางเมืองและบริเวณประตูเมืองทั้งหกแห่ง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายภายในเมือง จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าติโลกราชทรงทราบและโปรดให้แก้อาถรรพ์นำไหออกไปเผา ทำให้เชียงใหม่หมดเคราะห์ร้าย และค่อยๆ ดีตามลำดับ

อาจารย์มณี พยอมยงค์กล่าวถึง เทวดาอารักษ์ที่สิงสถิตย์อยู่ที่ประตูเมืองไว้ดังนี้ เทวบุตร สุรักขิโต รักษาประตูช้างเผือกและประตูท่าแพตะวันออก เทวบุตรไชยภุมโม รักษาประตูเชียงใหม่และประตูเมืองด้านใต้ เทวบุตรสุรขาโต รักษาประตูสวนดอกด้านทิศตะวันตก เทวบุตรคันธรักขิโตรักษาประตูช้างเผือกด้านทิศเหนือ

สำหรับบริเวณแจ่งต่างๆ มีศาลประจำแจ่ง ซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของผีอารักษ์เมือง ศาลประจำแจ่งที่สำคัญที่สุดคือ ศาลประจำแจ่งศรีภูมิ เพราะเป็นบริเวณที่ทำพิธีเซ่นหรือเลี้ยง ผีเจ้าหลวงคำแดง ซึ่งเป็นอารักษ์เมืองที่มีอิทธิพลสูงสุด สูงกว่าผีตนใดในเชียงใน มีสถานะเป็นผีเจ้านาย โดยปกติผีเจ้าหลวงคำแดงจะสถิตย์อยู่ที่ดอยเชียงดาว

ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย



แจ่งหัวลิน เชียงใหม่ (สมัยนั้นยังสะกดว่า "หัวริน") ปกคลุมด้วยวัชพืช ประมาณ พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๕
จาก...วารสาร โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ฉบับประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
86520.jpg
86520.jpg (38.66 KiB) เปิดดู 5433 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 22 พ.ค. 2019 7:34 pm

ภาพเก่าแก่ของสถูปวัดเจ็ดยอด มหาโพธาราม จังหวัดเจียงใหม่ ไม่รู้ พ.ศ.
ที่มา : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
86126.jpg
86126.jpg (37.89 KiB) เปิดดู 5433 ครั้ง


ภาพวัดเจ็ดยอด จังหวัดเจียงใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ที่มีข้าราชการจากบางกอกมาสำรวจและถ่ายภาพไว้ กองดินสูงจนถึงองค์เทวดาสูงกว่า ๒ เมตร
ภาพ : สุรเจตน์ เนื่องอัมพร
86128.jpg
86128.jpg (60.21 KiB) เปิดดู 5433 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 22 พ.ค. 2019 7:37 pm

บันไดทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ถ่ายวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๙๘ โดยนักท่องเที่ยวจากเมืองกรุง
ที่มา : ห้องวิจัยประวัติศาสตร์
12เม.ย.2498.jpg
12เม.ย.2498.jpg (42.55 KiB) เปิดดู 5383 ครั้ง


หอสมุดมิสชั่น Chiangmai Community Library ห้องสมุดแห่งแรกของเชียงใหม่ ในโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
ผู้ก่อตั้งคือพ่อครูวิลเลียม แฮริส อดีตครูใหญ่และปูชนียบุคคลคนสำคัญของโรงเรียนปรินส์ฯ อาคารหอสมุดแห่งนี้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว คงสร้างขึ้นเมื่อ กว่า ๑๐๐ ปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็ทรุดโทรมตามกาลเวลา และถูกรื้อในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่นาน
จาก...หนังสือ " The Prince Royal's '35 "
86181.jpg
86181.jpg (35.44 KiB) เปิดดู 5383 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 30 พ.ค. 2019 6:00 am

แผนกทะเบียนยานพาหนะ สภ.อ.เมือง เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๒ มองเห็นเจดีย์หลวงอยู่ด้านซ้ายมือของภาพ
ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
91596.jpg
91596.jpg (15.43 KiB) เปิดดู 5357 ครั้ง


วิถีล้านนา บ้านเรือนราษฎรในชนบทของล้านนา เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว (ราวๆ ๒๔๔๐ - ๒๔๖๐)
ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
91598.jpg
91598.jpg (22.62 KiB) เปิดดู 5357 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 30 พ.ค. 2019 6:05 am

สนานกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่ ถนนเจริญประเทศ น่าจะถ่ายช่วงพ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๗๐ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้คือที่ตั้งของโรงแรมอนันตรา เชียงใหม่ รีสอร์ท แอนด์ สปา
ขอบคุณเจ้าของภาพ
91600.jpg
91600.jpg (16.48 KiB) เปิดดู 5357 ครั้ง


สำนักงานเทศบาลนครเจียงใหม่ ในขณะที่กำลังก่อสร้าง พ.ศ.๒๔๙๘
ภาพ : เชียงใหม่ในอดีต
91602.jpg
91602.jpg (31.42 KiB) เปิดดู 5357 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เชียงใหม่ในอดีต..ภาพเก่าเล่าความหลัง โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 30 พ.ค. 2019 6:07 am

ภาพถ่ายทางอากาศสำนักงานแขวงการทางจังหวัดเจียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๖
ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย
91604.jpg
91604.jpg (24.99 KiB) เปิดดู 5357 ครั้ง


ตำรวจจราจรเชียงใหม่ ยุคก่อน พ.ศ.๒๕๐๐
ภาพ : หนังสือ "เชียงใหม่๒๕๑๐" ของ พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
91606.jpg
91606.jpg (29.33 KiB) เปิดดู 5357 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน

cron