เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

ทำสวนผสมผสานทั้งปลูกพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 26 พ.ค. 2018 2:48 pm

การปลูกผักหวานป่าให้ได้ผล



อีกเทคนิค...


" เทคนิคปลูกต้นผักหวานป่า แบบสวนเกษตรอินทรีย์บ้านสันคู " มีดังนี้...


1. เลือกใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ดมาปลูก จะให้ผลผลิตดีและอายุยืนกว่า แบบกิ่งตอน

2. ปลูกพืชพี่เลี้ยงไว้ก่อนที่จะปลูกต้นผักหวานป่า เช่น ต้นมะขามเทศ,ชะอม,,โสน,กระถิน,ต้นแค ฯลฯ พืชที่กล่าวมานี้จัดเป็นพืชตระกูลถั่วทั้งหมด เลือกปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือจะหลายอย่างก็ได้... สำหรับเราเลือกใช้ต้นแค ซึ่งปลูกไปพร้อมๆกับต้นผักหวาน และต้นมะขามเทศ (ต้นมะขามเทศนี่ ปลูกล่วงหน้ามาก่อนนานแล้ว) เป็นพืชพี่เลี้ยง

3.เลือกทิศทางที่จะปลูกให้เหมาะสมตามสภาพของแสงแดด ต้นผักหวานป่านั้นไม่ชอบแดด ชอบอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ มีแสงรำไร

4.ระยะห่าง ระหว่างต้นและระหว่างแถว ~ 2 x 2 เมตร

5.ขุดหลุมปลูก กว้าง และ ลึก เท่ากับขนาดของถุงต้นพันธ์ุ แล้วผสมปุ๋ยคอก( 2-3 กำมือ/ต้น) กับดิน ใส่รองก้นหลุมไว้

6.เตรียมนำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูก โดย ใช้กรรไกรตัดโดยรอบก้นถุง แล้วค่อยๆแกะถุงพลาสติกด้านล่างออกเท่านั้นตรงนี้ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษเพราะปลายของรากแก้วจะมาขดตัวอยู่ในซอกมุมของถุง ถ้ารากแก้วหักหรือขาดโอกาสที่ต้นผักหวานป่าจะตายมีสูง แต่ถ้าเกิดพลาดทำรากขาดไปบ้าง ก็ปลูกไปเถอะ..เผื่อรอด ! ..ค่อยๆหย่อนต้นพันธุ์ลงหลุมโดยที่ไม่เอาถุงดำออก คือ ปลูกไปทั้งถุงนั่นแหละ มันอาจจะดูแปลกๆสักหน่อย แต่ตรงนี้นี่แหละที่เป็นเทคนิค...ที่ทำให้ต้นผักหวานของเรา รอดตายมาได้เกือบทุกต้น...

7.หาเศษใบไม้แห้ง หรือฟางข้าวมาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หลังจากนั้นต้องหาวัสดุอะไรก็ได้เช่น ตะเข่ง,ตะกร้า,แสลน มาคลุมไว้ เพื่อช่วยบังแสงในช่วงบ่าย ต้นผักหวานจะไม่เหี่ยวเฉาเลยแม้แดดจะร้อนมากเพียงใด ของเราใช้ตะกร้าพลาสติก ควรครอบไว้จนกว่าต้นผักหวานจะมีอายุได้อย่างน้อย 6 เดือนก็เอาออกได้.... หรือจะเจาะรูก้นตะกร้าแบบนี้ก็ได้เพื่อเป็นการปกป้องลมและแสงแดดได้อีกระดับหนึ่ง เพราะ ต้นผ้กหวานอายุ 6เดือนนั้นยังไม่แข็งแรงมากนัก

8.ให้น้ำ 1 ครั้ง /สัปดาห์ หรือ ดูตามสภาพอากาศ ,ส่วนปุ๋ยคอกให้เดือนละ 1 ครั้ง -ทางดิน และให้น้ำขี้หมู 1 ครั้ง/สป.-ทางใบ ด้วยจะดีมาก

ob_a0413c_img-0847-color_resize.jpg
ob_a0413c_img-0847-color_resize.jpg (425.13 KiB) เปิดดู 13342 ครั้ง


จากผลการทดลองปลูกผักหวานป่าของเราพบว่า ....

1) ต้นผักหวานที่่ตายไป 8 ต้นนั้นเกิดจากรากหักตอนแกะถุงปลูก... ข้อเสนอแนะ ควรซื้อต้นพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่านี้มาปลูกคือเริ่มมีใบ 3-4 ใบก็พอเพราะรากแก้วยังไม่ยาวมากเหมือนต้นที่โตๆ ทำให้เวลาแกะถุงปลูกรากไม่ขาด

2) ต้นผักหวานเจริญเติบโตช้ามากในช่วงแรก เพราะเนื่องจากความเข้าใจผิดคิดว่าต้นผักหวานป่า ไม่ชอบน้ำ ชอบแบบแล้งๆไม่จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ก็ได้... ข้อเสนอแนะ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ต้นผักหวานป่านั้น ถึงแม้จะทนแล้งได้ดี แต่ถ้าเราดูแลเหมือนปลูกพืชทั่วๆไป แค่นี้ต้นผักหวานก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่านี้แน่นอน


ทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคการปลูกและการดูแลผักหวานป่าแบบที่ไม่ยากเลย...สำหรับวิธีการปลูกแบบนี้ได้รับการชี้แนะมาจากคุณลุงคนขายต้นพันธุ์ผักหวานป่า ทางสวนเกษตรอินทรีย์บ้านสันคูต้องขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ...

ที่มา สวนเกษตรอินทรีย์บ้านสันคู
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย ภาษาสยาม » ศุกร์ 05 ต.ค. 2018 11:32 am

วิธีบังคับมะพร้าวธรรมดาให้เป็นมะพร้าวกะทิ

1342008564.jpg
1342008564.jpg (34.16 KiB) เปิดดู 11598 ครั้ง


หลายคนคงอาจจะรู้จัก และเคยรับประทานกันมาบ้าง โดยมะพร้าวกะทินั้นเกิดจากการผสมเกสรด้วยฝีมือมนุษย์ เป็นการบังคับทำให้มะพร้าวธรรมดาเป็นมะพร้าวกะทิ ซึ่งมีหลากหลายทางด้วยกัน เกษตรกรหรือนักวิจัยจะมีแบบฉบับของแต่ละคน แต่วันนี้ขอหยิบวิธีการทำมะพร้าวธรรมดา ให้กลายเป็นมะพร้าวกะทิมาให้ทดลองทำกันดู



ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว ๑ จั่นคือ ๑ ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้น หรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้ จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออกโดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ ๘๐-๙๐ % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราวมะพร้าวในทะลายอื่นๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว ๓๐ ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลาย ตรงข้ามกับหน่อให้กะลามะพร้าวขาด จนเห็นเนื้อสีขาว และจาวสีเหลืองภายในกะลามะพร้าว จากนั้นก็คว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็ม ให้แน่นพอประมาณสามารถนำไปปลูกได้ มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ ๕๐% หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้ โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิ มาเพาะ แล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ได้ถึง 80-90% เลยทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าเราจะใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลางติดผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่าฟังดูถ้าไม่ได้ยินเสียงน้ำในผลดังกระฉอกมาเลย นั่นหมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น “ มะพร้าวกะทิ ” อย่างแน่นอนไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลา ทำหรือฝึกบ่อยๆ เราจึงจะชำนาญ ช่วงแรกๆ อาจมีผิดบ้างเป็นธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีแบบนี้เหมือนกัน


วิธีการผ่ารับประทาน


คนเฒ่าคนแก่ก็บอกเคล็ดลับว่า ถ้าต้องการให้เนื้อในของ “ มะพร้าวกะทิ ” ฟู หรือเหนียวแน่นอร่อย ต้องนวดก่อน โดยเอาผลที่ปอกเปลือกแล้วกระแทกกับพื้นปูนเบาๆ รอบๆ ผลให้ทั่ว กะเวลาจนแน่ใจว่าพอแล้วจึงนำผลไปผ่าครึ่ง เราก็จะพบว่าเนื้อในมะพร้าวจะฟูเป็นสีขาวคล้ายปุยฝ้าย ใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย รสชาติหวานมันหอมอร่อยมาก


ขอบคุณข้อมูลจาก tidface.com
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » ศุกร์ 24 พ.ค. 2019 2:54 pm

วิธีปักชำต้นไม้ให้ได้ผล

koh100326-013-696x464.jpg
koh100326-013-696x464.jpg (61.03 KiB) เปิดดู 6388 ครั้ง


วิธี ” ปักชำ ” ต้นไม้สามารถทำได้กับต้นไม้หลายชนิด บางชนิดเหมาะสำหรับเพาะเมล็ด บางอย่างสามารถแยกกอ นำหัวไหล หรือรากสะสมอาหารใต้ดินออกมาปลูก บางชนิดก็เหมาะสำหรับตอนกิ่ง รวมถึงการปักชำต้นไม้


เราเลือกวิธี ปักชำ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ในการเพิ่มจำนวนต้นไม้ โดยมีคำแนะนำดีๆ จากคนใกล้ตัว คุณอุไร จิรมงคลการบรรณาธิการหนังสือเล่ม สำนักพิมพ์บ้านและสวน ซึ่งนอกจากจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับพรรณไม้ไว้มากมายแล้ว ยังเป็นนักสะสมต้นไม้ตัวยง ใครเคยลองปักชำแล้วไม่ได้ผล ต้องลองอ่านดู รับรองว่า ต่อไปนี้จะปลูกต้นอะไรก็ง่ายนิดเดียว


ปักชำต้นไม้คืออะไร
การปักชำคือ การนำส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ กิ่ง ใบ รากมาปลูกในสภาพที่เหมาะสม เพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นเกิดรากและแตกต้นใหม่ขึ้นมาแต่ที่นิยมและพบเห็นได้ทั่วไปคือการนำกิ่งหรือท่อนพันธุ์มาปักชำ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ต้นใหม่จำนวนมากๆ ในคราวเดียวกัน

การปักชำให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความยากง่ายในการออกรากของกิ่งหรือท่อนพันธุ์นั้นๆ ช่วงเวลาในการปักชำ เช่น ปักชำในเวลาเช้าหรือเย็นจะช่วยลดปัญหาการคายน้ำได้ ความอ่อนแก่ของกิ่งพันธุ์ สภาพแวดล้อมทั้งเรื่องของความชื้นและแสง ชนิดของกิ่งที่นำมาปักชำ เช่น ถ้าเป็นกิ่งที่มีดอกและผลติดอยู่ จะออกรากยากกว่ากิ่งที่มีแต่ใบเพียงอย่างเดียวเนื่องจากอาหารสะสมส่วนหนึ่งถูกใช้ไปกับการออกดอกและผลแล้วนั่นเอง

ปักชำ พืชที่ปักชำได้ผล
ไม้ประดับส่วนใหญ่สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำได้



ต้นอะไรปักชำได้บ้าง
ไม้ประดับส่วนใหญ่สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำได้เกือบทั้งสิ้น ที่นิยมได้แก่ ไฮเดรนเยีย โกสน เล็บมือนาง เทียนทองมะลิ โมก ชบา พู่เรือหงส์ เปเปอโรเมีย ไผ่ฟิลิปปินส์ด่างพุดพิชญา เล็บครุฑ โฮย่า ลั่นทม ใบเงิน ใบทอง ใบนากฯลฯ ข้อดีของการปักชำก็คือ ได้พืชต้นใหม่ที่ตรงตามพันธุ์เดิมไม่ค่อยมีการกลายพันธุ์ และยังเหมาะกับต้นไม้ที่ไม่ติดเมล็ดหรือติดเมล็ดยาก เช่น เข็ม ชบา มะลิ แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกันคือ พืชที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว จึงมีโอกาสโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะกรณีที่เป็นต้นไม้ใหญ่

วิธีเลือกและเตรียมกิ่งปักชำ
ควรเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ลักษณะของกิ่งชนิดนี้ให้สังเกตว่ามีเปลือกสีน้ำตาลปนเขียว (กิ่งอ่อนเกินไปมักจะเน่าง่าย ส่วนกิ่งแก่เกินไปก็จะออกรากยาก)

วิธีเลือกและเตรียมกิ่งปักชำ

1. ตัดกิ่งให้มีความยาวประมาณ 3 – 6 นิ้ว โดยตัดใต้ข้อ เพราะบริเวณนั้นจะมีอาหารสะสมและมีฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้แตกตาใหม่ ตัดเฉียงประมาณ 45 องศา(เพื่อเพิ่มพื้นที่การแตกรากได้มากขึ้น)


2. ควรตัดให้มีใบติดอยู่ ถ้าใบมีขนาดใหญ่หรือจำนวนมากเกินไป ลิดใบออกให้เหลือครึ่งหนึ่ง หรือเหลือใบที่ปลายยอดสัก 3 – 4 ใบ จากนั้นตัดใบออก หรือ ของใบ และลิดใบล่างออกให้หมด เพื่อลดการคายน้ำ



3. โดยปกติรากของกิ่งชำจะออกตามบาดแผล แต่หากต้นไม้ที่ต้องการปักชำเป็นไม้ที่เนื้อค่อนข้างแข็ง(สังเกตว่าสามารถลอกเปลือกได้)ให้กรีดเป็นรอยแผลตรงๆ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร 3 – 4 รอย เพื่อเพิ่มพื้นที่การแตกรากให้มากขึ้น หรือหากพืชชนิดนั้นออกรากยาก ควรนำไปจุ่มฮอร์โมนเร่งราก(โดยใช้ในอัตราตามที่ระบุในฉลาก)หรือใช้สารป้องกันเชื้อราร่วมด้วย


4. ปักชำลงในวัสดุลึกประมาณ ของความยาวกิ่งวัสดุปักชำที่นิยมใช้ ได้แก่ ขี้เถ้า แกลบ (ควรแช่น้ำก่อนประมาณ 3 วัน เพื่อลดความเป็นด่างยกเว้นขี้เถ้าแกลบที่เก่าแล้ว) ข้อดีคือมีความร่วนซุยสูง พืชจึงแตกรากได้ดีทั้งยังไม่เกาะตัวกับรากต้นไม้ จึงทำให้ย้ายปลูกง่ายโดยที่รากไม่ขาด หากไม่มีอาจใช้ดินร่วนทั่วไปผสมกับขุยมะพร้าว และทรายหยาบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 หลังปักชำเสร็จแล้วควรรดน้ำตามทันทีซึ่งอาจใช้สารป้องกันเชื้อรารดในขั้นตอนนี้ก็ได้เช่นกัน



5. กรณีที่ ปักชำ ปริมาณมากๆ ควรคลุมกระบะเพาะชำด้วยพลาสติกใส เพื่อเก็บรักษาความชื้น ขณะเดียวกัน ยังให้แสงส่องผ่านลงไปได้ แต่กรณีที่มีจำนวนไม่มากนัก สามารถนำใส่ถุงพลาสติก หรือใช้ขวดพลาสติก ครอบแก้วทรงระฆังครอบเพื่อควบคุมไม่ให้ความชื้นออกมาจนกว่าจะแตกใบใหม่


6. หากปักชำใส่กระบะหรือกระถางที่เคลื่อนย้ายง่าย ควรนำไปวางในบริเวณที่มีแสงส่องถึงเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต โดยที่สภาพอากาศบริเวณนั้นควรได้รับความชื้นและอุณหภูมิเหมาะสม วิธีวัดคือ ให้ลองลงนั่งดูถ้ารู้สึกว่าเย็นสบาย ตรงนั้นคือที่ที่เหมาะสำหรับวางต้นไม้ปักชำ หรือวางบนพื้นอิฐมอญเย็นๆ ชื้นๆ ก็ได้


พืชที่มีใบบางหรือไม้อวบน้ำบางชนิดไม่จำเป็นต้องเด็ดใบออก เช่น พวงแสด ฤๅษีผสม กุหลาบหิน

พืชที่มียาง เช่น ลั่นทม โป๊ยเซียน ไม่ควรตัดแล้วนำมาปักชำทันที เพราะมีโอกาสเน่าง่าย หลังจากตัดกิ่งแล้วควรวางผึ่งลมในที่ร่มให้ยางแห้งและแผลปิดก่อนประมาณ 3 – 5 วัน จึงนำไปปักชำ

เราสามารถดัดแปลงตู้ปลาใบเก่าให้เป็นโรงเรือนเพาะชำขนาดย่อมได้ โดยวางต้นไม้ในตู้ปลาหล่อน้ำที่ด้านล่างเล็กน้อยและปิดตู้ทับอีกชั้น

บางครั้งอาจมีกรณีปักชำไปแล้วแตกใบใหม่ แต่ยังออกรากไม่ได้ เช่น กุหลาบ เพราะต้นไม้ยังใช้อาหารสะสมจากกิ่งอยู่ ดังนั้นอาจลองดึงโคนต้นเบาๆหากมีแรงตึงมือแปลว่าต้นไม้เริ่มแตกรากแล้ว

ที่มา บ้านและสวน
ไฟล์แนป
koh100326-007.jpg
koh100326-007.jpg (32.3 KiB) เปิดดู 6388 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย บ้านเพียงพอ เมื่อ ศุกร์ 24 พ.ค. 2019 3:01 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย บ้านเพียงพอ » ศุกร์ 24 พ.ค. 2019 2:57 pm

นอกจากกิ่งแล้ว ชิ้นส่วนอื่นของพืช เช่น ใบและราก ก็สามารถนำมาปักชำได้

koh100326-016-696x492.jpg
koh100326-016-696x492.jpg (36.08 KiB) เปิดดู 6388 ครั้ง


นอกจากการปักชำกิ่งซึ่งเป็นที่นิยมและทำได้ง่ายที่สุดแล้ว เรายังสามารถนำชิ้นส่วนอื่น เช่น ใบและราก มาปักชำได้เช่นกัน พืชที่ใช้ใบปักชำได้มักมีใบอวบหนา ผิวใบเป็นมัน ลักษณะการตัดชำใบมักขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของใบชนิดนั้นๆ เช่น ลิ้นมังกร ให้ตัดใบตามยาวเป็นชิ้นสั้นๆ ประมาณ 2 – 3 นิ้ว


ส่วนพืชที่มีแผ่นใบกว้าง เช่น บีโกเนีย ใช้วิธีตัดใบเป็นส่วนๆโดยมีเส้นใบติดมาด้วย พืชต้นใหม่จะเกิดบริเวณรอยตัดนั้น

สำหรับพืชที่มีก้านใบยาว ควรตัดชำใบให้มีก้านติด เช่นแอฟริกันไวโอเลต และยังมีพืชบางชนิดที่ออกรากได้บริเวณขอบใบเช่น คว่ำตายหงายเป็น เพียงแค่จัดวางใบแก่ลงบนวัสดุที่มีความชื้นระยะหนึ่งก็จะแตกรากและเกิดต้นใหม่ได้

ส่วนการปักชำราก พืชที่สามารถตัดชำราก ได้แก่ แคแสดสาเก ทับทิม มะไฟ ฝรั่ง โดยตัดรากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 เซนติเมตรเป็นท่อนๆ นำมาปักชำลงในวัสดุปลูกลักษณะตั้งตรงหรือวางนอนก็ได้

นอกจากนี้ที่พบเห็นบ่อยๆ คือ ปีบ รากแขนงที่อยู่ใกล้ผิวดินจะแตกออกมาเป็นพืชต้นใหม่ขนาดเล็กมากมาย เราสามารถตัดเป็นท่อนๆ และนำไปปลูกได้เช่นกัน

ที่มา บ้านและสวน
โลกใบเก่าเหงาเหมือนเคย
ภาพประจำตัวสมาชิก
บ้านเพียงพอ
นักเขียน VIP
นักเขียน VIP
 
โพสต์: 136
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 20 ก.ค. 2008 8:47 am

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 26 พ.ค. 2019 1:53 pm

วิธีจัดการต้นไผ่ให้ออกหน่อนอกฤดู โดยภูมิปัญญาชาวบ้านที่เหมาะแก่เกษตรกรที่ปลูกไผ่หวานเพื่อทานหรือขายหน่อไม้ ด้วยวิธีการบังคับให้หน่อไม้ออกในช่วงที่เราต้องการเช่นช่วงฤดูแล้งชึ่งเป็นช่วงที่หน่อไม้ทั่วไปจะไม่ค่อยมี ในขณะที่ตลาดผู้บริโภคต้องการหน่อไม้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าใครสามารถผลิตหน่อให้ออกนอกฤดูได้ก็จะสร้างรายได้ไม่น้อยเลยที่เดียว โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกๆปีเป็นช่วงที่เหมาะแก่การบังคับให้ไผ่ออกหน่อ ซึ่งท่านสามารถติดตามรายละเอียดได้ในคลิปนี้ที่พ่อครูวิจิตร เมืองใจ อดีตข้าราชการเออรี่ที่หันมาสนใจในการเกษตรแบบพอเพียงด้วยการพึ่งตนเองลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นอันตราย จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรผสมผสานที่น่าติดตามผลงาน



125988741.jpg
125988741.jpg (178.95 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 26 พ.ค. 2019 2:03 pm

การทำห่มดิน เลี้ยงดิน ดูแลดินแล้วให้ดินเลี้ยงพืช

การห่มดิน คือ เป็นการป้องกันการระเหยของความชื้นที่อยู่ในดิน โดยหลักการคือ นำวัสดุต่างๆมาปกคลุมไว้ที่หน้าดินเพื่อกักเก็บความชื้นไว้ในดิน

0904.jpg
0904.jpg (87.72 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง



วิธีการห่มดิน

๑. ห่มดินใหม่ก่อนเริ่มทำการเพาะปลูก ก่อนเริ่มการเพาะปลูก ให้ทำการ ไถกลบหน้าดินใหม่แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว หรือ ใบไม้ ให้หนาอย่างน้อย ๑ ฟุต ทั้งแปลง หลังจากนั้น โรยปุ๋ยคอก แล้วราดรดด้วยน้ำหมัก EM


๒. ห่มดินรอบโคนต้นไม้ใหญ่ประเภทไม้ยืนต้น โดยเว้นให้ห่างจากโคนต้นไม้ ๑ คืบ ห่มหนา ๑-๒ คืบ ทำเป็นวงเหมือนโดนัท โรยด้วยปุยคอก บางๆ และ รดด้วยน้ำ EM


ข้อดีของการห่มดิน

7361.jpg
7361.jpg (77.72 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง


– หลังจากทำการห่มดิน จะทำให้ในดินมีความชื้น และ มืด เกิดการทับถมของดิน ซึ่งจะช่วยให้จุลินทรีย์ที่ดีสำหรับพืชในดินขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ จะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์

– การห่มดิน เป็นวิธีการป้องกันหญ้า ที่ขึ้นในพื้นที่เราได้ด้วย เพราะหญ้าโดนคลุมไว้ ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้

– การห่มดิน เป็นการปรับปรุงดินก่อนการเพาะปลูก จะทำให้ดินมีความชื้น มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

– การห่มดิน เป็นการใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัด เรียบง่าย แต่ได้ผล

Cr. ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Organic Farm , รักบ้านเกิด

เรียบเรียงโดย : วิชาชีวิต
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 26 พ.ค. 2019 2:37 pm

การบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดู เพื่อผลผลิตในฤดูแล้ง

นายวโรชา จันทโชติ เจ้าของสวนวโรชาพันธุ์มะนาวลูกดก บอกว่า จะบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูได้ ตามหลักการที่เคยใช้กันมา มีอยู่ ๒ วิธี

6(980).jpg
6(980).jpg (42.91 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง


วิธีแรกถ้าจะให้มะนาวออกลูกมาขายช่วงเดือนเมษายน ที่มะนาว แพง ให้นับถอยหลังไป ๖ เดือน ช่วง ก.ย.- ต.ค. ต้องบำรุงต้นมะนาวเพื่อสะสมอาหารและสะสมตาดอกให้เต็มที่ ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร ๘-๒๔-๒๔ หว่านไปรอบๆ ทรงพุ่ม รอจนกระทั่งมะนาวแก่จัดหรือเข้าสู่ช่วงก้านแก่ สังเกตได้จากใบจะมีสีเขียวเข้ม แสดงว่ามีความพร้อมที่จะเปิดตาดอกแล้ว


ถ้าปล่อยไว้ ลูกจะออกมาให้เก็บขายได้ในช่วงต้นปี มะนาวราคาถูก...เราไม่เอา

“แต่ถ้าจะบังคับให้ออกเดือนเมษา ต้องแกล้งมะนาวไม่ให้ออกดอก ให้ปุ๋ยเคมีเร่งใบ สูตร ๒๑-๐-๐ ขนาด ๔ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ สูตร ๔๖-๐-๐ ขนาด ๕ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกโชก รอจนต้นทิ้งใบแล้วแตกตาใบใหม่ มียอดอ่อนโผล่ขึ้นมา จากนั้นกิ่งก้านใบใหม่ก็จะแตกดอกออกช่อรอการติดผล และเก็บไปขายในฤดูมะนาวแพงพอดิบพอดี”


ส่วนวิธีที่ ๒ วโรชา บอกว่า เป็นการงดให้น้ำ ๑๐๐% ต้องวางแผนก่อน ๖ เดือน โดยไม่ต้องใช้เคมีมาฉีดพ่น

แต่ในช่วง ๒ เดือนแรก (ต.ค.-พ.ย.) ต้องบำรุงต้นมะนาวใส่ปุ๋ยให้เต็มที่ ย่างเข้าเดือนที่ ๓ (ธ.ค) จึงงดน้ำ ๘-๑๐ วัน จนเห็นใบและก้านเหี่ยว หลุดร่วงหมดต้นถึงจะเริ่มให้น้ำอีกครั้ง จากนั้นต้นมะนาวจะแตกตาใหม่แบบเดียวกับวิธีแรก และให้ลูกในอีก ๓ เดือนต่อมา

แต่การบังคับให้ออกนอกฤดู ไม่ควรทำทุกปีให้ทำปีเว้นปี เพื่อต้นจะได้พักผ่อนบ้าง หากบังคับเกินไปต้นมะนาวจะมีอายุสั้นลงหรือแคระแกร็นให้ผลผลิตน้อยลง...


ไชยรัตน์ ส้มฉุน



ขั้นตอนการบังคับต้นมะนาว ในวงบ่อซีเมนต์ให้ออกนอกฤดู

มะนาววงบ่อซีเมนต์_resize.JPG
มะนาววงบ่อซีเมนต์_resize.JPG (52.16 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง


ต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่จะบังคับให้ออกนอกฤดูควรจะมีอายุเฉลี่ยอย่างน้อย ๘ เดือนถึง ๑ ปี ก่อนที่จะเริ่มอดน้ำ จะต้องปลิดผลมะนาวที่ติดอยู่บนต้นทิ้งให้หมดอย่าเสียดาย เพื่อให้ต้นไม่ต้องมีภาระเลี้ยงผล จะเริ่มอดน้ำในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม

ใช้ผ้าพลาสติกที่กันฝนได้ หรือพลาสติกคลุมแปลงผักที่มีความยาวประมาณ ๓ เมตร และกว้าง ๑ เมตร มาคลุมรอบวงบ่อโดยให้ชายของพลาสติกด้านหนึ่งมัดติดกับโคนต้นมะนาวให้สูงราว ๒๐ เซนติเมตร จากพื้นดินขึ้นมา สำหรับชายพลาสติกจะสังเกตเห็นใบมะนาวมีอาการเหี่ยว ดูใบสลดหรืออาจจะพบใบร่วงบ้าง เมื่อครบ ๑๐ -๑๕ วัน แล้วให้แกะผ้าพลาสติกที่คลุมปากวงบ่อออกและให้น้ำแก่ต้นมะนาวตามปกติ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๒-๒๔-๑๒ ต้นละ ๑ ช้อนแกง ถ้าต้นมะนาวได้รับอาหารเต็มที่และมีความสมบูรณ์หลังจากให้น้ำและปุ๋ยไปเป็นเวลาประมาณ ๒ สัปดาห์ ต้นมะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อนพร้อมดอก ในช่วงที่มะนาวแตกใบอ่อนพร้อมการออกดอกจะต้องมีการฉีดพ่นสารปราบศัตรูพืชเพื่อป้องกันหนอนชอนใบ และที่สำคัญคือเพลี้ยไฟให้ได้ โดยใช้ยาโปรวาโด ดังที่กล่าวมาในข้างต้น หลังจากที่มะนาวเริ่มติดผลอ่อนและเลี้ยงผลไปแก่และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จะตรงกับช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวฤดูแล้งที่มีราคาแพงที่สุดพอดี



ข้อปฏิบัติดูแลปลูกมะนาวนอกฤดู

รักษาต้นมะนาวในบ่อซีเมนต์ปลูกมะนาวนอกฤดู

รายละเอียดปลีกย่อยในการดูแลรักษาต้นมะนาวในบ่อซีเมนต์ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น การค้ำกิ่ง เนื่องจากการปลูกมะนาวในวงบ่อเป็นการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด ช่วงที่ต้นมะนาวติดผลเป็นจำนวนมากอาจจะพบปัญหาการโค่นล้มของต้นหรือกิ่งฉีกหักได้ง่าย ผู้ปลูกจะต้องเตรียมการในเรื่องของการค้ำกิ่งหรืออาจจะทำเป็นคอกสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมหรืออาจจะใช้ไม้ง่ามค้ำรอบๆ ต้น

เมื่อผลมะนาวในบ่อซีเมนต์เริ่มแก่และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ควรจะรีบเก็บจำหน่าย ไม่ควรปล่อยให้ทิ้งไว้บนต้นนานๆ เนื่องจากเมื่อต้นมะนาวเลี้ยงลูกในปริมาณมากจะต้องใช้อาหารมากเช่นกัน ต้นมะนาวอาจจะทรุดโทรมได้ง่าย ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นและการบังคับให้ออกฤดูแล้งในปีถัดไป การตัดแต่งกิ่ง หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะนาวฤดูแล้งออกจากต้นหมดแล้ว เกษตรกรจะต้องตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งกระโดงและกิ่งที่ซ้อน ตัดแต่งให้เหลือแต่กิ่งหลักๆ เอาไว้ รวมถึงตัดแต่งกิ่งชายล่างๆ ของทรงพุ่มออกเพื่อไม่ให้พุ่มถึงพื้น

หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตมะนาวหมดต้นแล้ว จะต้องใส่วัสดุปลูกเพิ่มลงไปโดยใช้ดินร่วน ๑ ส่วน ผสมกับปุ๋ยหมัก ๑ ส่วน หรือใช้ดินร่วน ๒ ส่วน ผสมกับปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว ๑ ส่วน นำมาใส่เพิ่มลงในวงบ่อให้เต็มปากบ่อมีลักษณะพูนเป็นหลังเต่า หลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร ๑๖-๑๖-๑๖, ๑๙-๑๙-๑๙ อัตรา ๑ - ๑.๕ ช้อน (ช้อนแกง) ต่อต้น รดน้ำครั้งละ ๕-๑๐นาที เพื่อเร่งการแตกใบอ่อน ดูแลให้ต้นมะนาวมีความแข็งแรงและสมบูรณ์เพื่อเตรียมในการบังคับให้ต้นออกนอกฤดูในปีถัดไป


จากความสำเร็จของการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ของ คุณสุธน กล่ำบุตร ได้สรุปถึงข้อดี ๓ ประการ ของการปลูกมะนาวในรูปแบบนี้คือ สามารถบังคับให้ออกดอกได้ตามที่เราต้องการเกือบ ๑๐๐% หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามีความแน่นอนว่าวิธีการอื่นๆ การปลูกมะนาววิธีนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีเนื้อที่น้อย หรือคนที่สนใจที่จะทำเป็นอาชีพเสริม ปลูกบนดาดฟ้าก็ได้ ท้ายสุดจากการคำนวณถึงต้นทุนในการผลิตจะสูงในครั้งแรกเพียงครั้งเดียวคือ การจัดซื้อวงบ่อ แต่ต้นทุนในการใช้สารปราบศัตรูพืช ปุ๋ยและฮอร์โมนน้อยกว่าการปลูกในสภาพสวนหรือสภาพไร่


เกร็ดเล็กๆการปลูกมะนาวนอกฤดู

-ใช้ขี้เ​ถ้ากลบ​ที่โคนต้น ​ใช้ปุ๋ยหมักทำเอง

-รดน้ำเยอะๆ มันชอบน้ำ น้ำ​เป็นตัวทำให้มันสร้างผล สร้าง​ที่กักเก็บน้ำ

-ใช้น้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก​ที่ซักผ้าแล้ว​ก็​ได้ ผสม​กับยาฉุน (​เอาสบู่ถูตัว​ที่เหลือๆ ตีให้​เป็นฟองหรือพอให้น้ำมีสีออกขาวๆ หน่อย​ น้ำสบู่นี้​จะ​ใช้แทนสารจับใบ ทำให้ยา​ที่เราฉีดพ่น​ไปไม่ถูกน้ำฝนชะหาย​ไปหมด) ฉีดพ่นไล่แมลงแทนการ​ใช้สารเคมี หรือ​ถ้ามีหัวหนอนตายหยากก็​เอามาทุบๆ คั้นน้ำผสมลง​ไปด้วย เท่านี้แมลงก็ไม่มากวนแล้ว​ค่ะ

แต่​จะปลูกยังไงให้ติดลูกเนี่ย อาจ​ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีบ้างนะคะ เลือกตัว​ที่มีสูตรค่าตัวหลังสูง เช่น ๑๒-๑๒-๒๔ หรือ ๑๒-๒๔-๒๔ ให้อาทิตย์ละครั้งสลับ​กับปุ๋ยอินทรีย์

- การปลูกมะนาวของแม่เผื่อนนั้น เริ่มจากการเตรียมกล้ามะนาวก็เอาเมล็ดที่เหลือจากใช้สอยมาเพาะในถุงพลาสติกให้โตก่อน แล้วขุดหลุมใหญ่ๆ เอาเศษใบไม้ใบหญ้า ๑ สุ่มไก่ ใส่ลงไปแล้วเผาทิ้งที่ก้นหลุม ต่อมาใส่ปุ๋ย ๑ ถัง ลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน

จากนั้นเป็นขั้นตอนของการดูแลรักษา โดยเอาเศษใบไม้มากองไว้ที่โคนต้นให้รอบ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอีก ปล่อยให้พืชเจริญเติบโตและหาอาหารกินเอง พืชจึงจะแข็งแรง ส่วนน้ำก็รดเฉพาะช่วงหน้าแล้งมาก ๆ เท่านั้น ที่สำคัญไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลง แม่เผื่อนใช้ยาสูบไปแช่น้ำ กรองเอาแต่น้ำยาสูบมารดต้นอ่อน พ้นช่วงนี้ไปก็ไม่ต้องดูแลเท่าไร

และถ้าอยากให้มะนาวโตไว แม่เผื่อนบอกเคล็ดลับว่าต้องปลูกมะนาวควบคู่ไปกับต้นหม่อน เวลาหม่อนโตสูงขึ้นจะบังแสงต้นมะนาว ธรรมชาติพืชจะสูงขึ้นแย่งแสงแดดกัน ต้นมะนาวก็ต้องรีบโตตาม จะได้รับแสงแดด ต้นมะนาวจะโตไว แต่มะนาวก็มีข้อห้ามเด็ดขาดเรื่องการพรวนดินไต้ต้นเราะรากมะนาวจะแผ่กว้าง รวมทั้งมีรากฝอยมาก ถ้าพรวนดินจะทำให้รากขาด ต้นมะนาวจะไม่ค่อยสมบูรณ์ โตช้า ช่วงนี้ถ้ามีกิ่งตายต้องรีบตัดทิ้ง เพื่อไม่ให้มันลามไปที่กิ่งอื่น ปีไหนที่น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ มะนาวจะติดลูกดกมาก จนหลายคนต้องทึ่งและนึกเอ็นดูที่มันติดผลมากมายขนาดนั้น

แม่เผื่อน ยังค้นพบและมีข้อสังเกตว่า ก่อนที่มะนาวจะออกผล ถ้าใบมันเริ่มร่วงหมดต้นแสดงว่ามันกำลังจะผลิดอก แต่ถ้าเกิดตรงข้ามใบมะนาวยังอยู่เต็มต้น แสดงว่ามะนาวจะยังไม่ออกดอก ทีนี้ถ้าออกดอกแล้ว ฝนยังไม่ตกตามมันก็จะไม่ติดผล ถ้าจะให้มันติดผลดี ฝนต้องตกหลังจากมะนาวออกดอกแล้ว เพื่อช่วยผสมเกสร ถ้ามะนาวติดผลแล้วหลังจากนั้นก็ไม่ต้องดูแลมาก ถ้าน้ำดี ฝนตกตามฤดูกาล มะนาวก็จะมีน้ำมาก แต่ถ้าฝนน้อย ผิดฤดูกาล ก็จะเป็นมะนาวหน้าแล้ง แทบไม่มีน้ำ

ขอขอบคุณ บทความดีๆมีประโยชน์จาก เครือวัลย์ บุญเงิน

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 26 พ.ค. 2019 2:57 pm

แนวทางการทำ “หลุมพอเพียง” ปลูกทุกอย่างในหลุมเดียว


1725.jpg
1725.jpg (78.67 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง



หลุมพอเพียง เป็นแนวคิดในการปลูกต้นไม้หลายชนิดรวมกันหนึ่งหลุม ให้ต้นไม้แต่ละชนิดช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยข้อดีของกันและกัน เช่น ต้นไม้ใหญ่ เป็นร่มเงาให้ต้นไม้เล็ก พืชเลื้อยคลุมหน้าดินลดการระเหยของน้ำในหน้าดิน ช่วยให้พืชในหลุมทนแล้งได้ดี หรือ พืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์แสบร้อน ช่วยขับไล่ศัตรูพืชที่จะบุกรุกเข้ามาในแปลงผัก



หลุมที่ว่านี้ไม่ได้สภาพเป็นหลุมลึก ๆ แต่เป็นการปลูกพืชรวมกันเป็นกลุ่มในลักษณะหลุมตื้นๆ ขนาดของหลุมที่ได้รับความนิยมในการทำคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ เมตร เริ่มจากเตรียมพื้นที่ตามขนาดที่กำหนด แล้วก็ปลูกหญ้าแฝกเป็นรูปวงกลมหรือเป็นล็อกสี่เหลี่ยม จากนั้นปลูกไม้ในหลุมนี้ ลงได้ถึง ๔ – ๕ ประเภทในหลุมเดียว เพื่อลดภาระการรดน้ำ ปลูกซ้ำ และเกื้อต่อการกำจัดศัตรูพืชเพราะให้ทุกอย่างเกื้อกูลอันเอง



จะทำวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ ระยะห่างระหว่างหลุม ๔ x ๔ เมตร ถ้ามีพื้นที่ ๑ ไร่ จะได้ ๑๐๐ หลุม หรือถ้าไม่มีที่เป็นผืนก็สร้างหลุมไว้ตามหัวไร่ปลายนา มุมบ้าน หลังครัว ขอบบ่อน้ำ ริมทางเดิน ได้หมด

136635.jpg
136635.jpg (59.56 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง


ตัวอย่างหลุมพอเพียงซึ่งมีชื่อว่า “หลุมส้มตำ” หลุมส้มตำ ประกอบด้วย ต้นกล้วย มะละกอ มะเขือ มะนาว พริก ที่ตั้งชื่อว่าหลุมส้มตำเนื่องจากพืชที่ปลูกนี้เป็นส่วนประกอบของส้มตำอาหารยอดนิยมของคนไทยนั่นเอง ซึ่งพืชจำพวกนี้เมื่อปลูกหลุมเดียวกันจะช่วยเกื้อกูลกันในด้านต่างๆมากมาย


สำหรับไม้ที่แนะนำให้ปลูกรวมลงในหลุมพอเพียง ได้แก่

๑.ไม้พี่เลี้ยง เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาและเก็บความชื้นได้ดีในหน้าแล้ง ในหลุมส้มตำนี้จะมีไม้พี่เลี้ยงคือกล้วยนั่นเอง ควรจะปลูกไม้พี่เลี้ยงในทิศตะวันตกเพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดดจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี ก็ตัดทิ้ง ปล่อยหน่อใหม่ให้ทำงาน

๒.ไม้ฉลาด เป็นไม้ข้ามปีหรือเรียกง่ายๆคือ เป็นพืชที่เอาตัวรอดได้ดี เก็บผลผลิตได้นาน ในหลุมส้มตำจะมีไม้ฉลาดคือมะละกอนั่นเอง พืชที่ถือเป็นไม้ฉลาดก็มีให้เลือกปลูกมากมาย อาทิ ชะอม ผักหวาน ผักเม็ก เป็นต้น ซึ่งผักพวกนี้จะสามารถเก็บกินได้ตั้งแต่ ๑ เดือนขึ้นไป

๓.ไม้รายวัน เป็นพืชล้มลุก ปลูกแล้วมีอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไม่เท่าไหร่ก็หมดอายุแล้ว ในหลุมส้มตำจะมีไม้รายวันคือพริกและมะเขือนั่นเอง พืชที่ถือเป็นไม้รายวันก็มีให้เลือกปลูกมากมาย อาทิ กะเพรา โหระพา แตงไทย แตงกวา คะน้า เป็นต้น เก็บกินได้ตั้งแต่อายุ ๑๕ วัน

๔.ไม้บำนาญ เป็นพืชไม้ยืนต้น ใช้เวลาปลูก ๒ – ๔ ปี เมื่อให้ผลผลิตแล้วก็สามารถเก็บกิน เก็บขายได้เรื่อย ๆ ในหลุมส้มตำจะมีไม้รายวันคือมะนาวนั่นเอง พืชที่ถือเป็นไม้บำนาญก็มีให้เลือกปลูกมากมาย อาทิ ขนุน มะม่วง กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา เป็นต้น โดยในหลุมหนึ่งควรเลือกปลูกแค่ประเภทเดียว

๕.ไม้มรดก เป็นกลุ่มไม้ใช้สอยที่อายุยืน ใช้เวลาปลูกนาน เก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน ตัดขาย ก็ได้เงินก้อนใหญ่หรือจะเอาไว้ซ่อมแซมบ้านก็ได้ เช่น ประดู่ สักทอง ยางนา สะเดา พะยูง ชิงชัน ไม้พวกนี้เป็นไม้ใหญ่ ปลูกฝั่งตรงข้ามกับต้นกล้วย

4434.jpg
4434.jpg (88.44 KiB) เปิดดู 6244 ครั้ง


ประโยชน์ และ ข้อดี ของหลุมพอเพียง

– ลดภาระการให้ปุ๋ยและน้ำ ช่วยให้ประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และ เวลา ในการดูแล

– สามารถใช้พื้นที่การเกษตรที่คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด

– มีผลผลิตทางด้านการเกษตรตลอดทั้งปี เพราะ มีตั้งแต่ไม้รายวัน ไม้บำนาญ ยัน ไม้มรดก ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลติได้เรื่อยๆ

– สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง และ ครอบครัว ได้แบบยั่งยืนในระยะยาว



ข้อแนะนำ : ควรปลูกหญ้าแฝกล้อมหลุมพอเพียงไว้ด้วยเพราะรากหญ้าแฝกจะเป็นร่างแหในแนวดิ่งช่วยยึดดินให้คงรูปเปรียบเสมือนกระถางธรรมชาติ เพราะปมรากแฝกจะ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยดูดซับน้ำในดินไว้ แทนที่จะซึมหายลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว

Cr. ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพดีๆจาก : postnoname , สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.ราชสาส์น , เว็ปไซต์รักบ้านเกิด
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 23 มิ.ย. 2019 1:52 pm

วิธีปลูกกล้วยน้ำว้าและการขยายพันธุ์แบบมืออาชีพ
-กำหนดระยะและขนาดหลุมปลูก โดยระยะที่เหมาะสมคือ 4x4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซ็นติเมตร เพราะรัศมีของรากกล้วยจะหากินไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร การขุดหลุมขนาดนี้จะทำให้รากกล้วยหากินได้ไกลขึ้น

109692.jpg
109692.jpg (21.54 KiB) เปิดดู 6143 ครั้ง


และความลึกของหลุมจะแก้ปัญหาการขึ้นโคนหรือโคนลอย โดยการปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ 4-5 ปี เลยทีเดียว ถ้าขุดหลุมขนาดเล็กและตื้นกว่านี้

จะให้ผลผลิตแค่ปีสองปีก็ต้องรื้อปลูกใหม่แล้ว ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตร

แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน

109695.jpg
109695.jpg (14.23 KiB) เปิดดู 6143 ครั้ง


การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยคอก ให้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราการใส่ปุ๋ย 3 – 5 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง หรือ ปุ๋ยเคมี อัตราการใส่ปุ๋ย 100 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่ปุ๋ยหลังปลูก 1 เดือน และครั้งที่ 2 ในเดือนที่ 5 หลังปลูก

หรือในช่วงก่อนกล้วยใกล้ออกปลี 2-3 เดือน - การให้ปุ๋ยเคมีทางรากควรใช้สูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ -ในช่วง 6 เดือนหลังปลูกให้ปาดหน่อที่โผล่ออกมาทิ้งไป

พอหลังจากอายุ 6 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 1 พอหน่อที่ 1 อายุ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 2 หลังจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 3 และ 4, 5 ตาม โดยหน่อที่ขึ้นมาในช่วงที่ไม่ได้กำหนดให้ปาดทิ้งทั้งหมด ปรากฏว่า เมื่อจะไว้หน่อที่ 5 ต้นแม่ก็สามารถเก็บเกี่ยวเครือกล้วยได้แล้ว

ฉะนั้นจะกลายว่ากอนั้นมีต้นกล้วย 4 ต้น ที่อายุห่างกัน 3 เดือน โดยมีหน่อที่ 1 ที่อายุห่าง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อใช้ระบบนี้ต่อไปหลายๆ ปีจะทำให้กล้วยน้ำว้าในแปลงมีอายุห่าง 3 เดือน”

สาเหตุที่ไว้หน่อทุก 3 เดือน

มีเหตุผลว่า ด้วยการออกผลผลิตของกล้วยน้ำว้าในแปลงนั้นจะออกไม่พร้อมกัน ถึงแม้ไว้ใกล้เคียงกัน จะมีการกระจายตัวในการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน

โดยจากข้อมูลที่ศึกษาจากการปลูกกล้วยน้ำว้าด้วยหน่อพบว่า จะมีช่วงแรกที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ช่วงกลางๆ จะเก็บได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วงปลายเก็บได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์

109696.jpg
109696.jpg (16.21 KiB) เปิดดู 6143 ครั้ง


ทีนี้ถ้าค่อยๆ ปลูกหรือไว้หน่อไป กล้วยที่ออกผลในช่วงปลาย 25 เปอร์เซ็นต์ จะไปรวมกับ 25 เปอร์เซ็นต์ของช่วงแรกในอีกแปลงหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเป็น 50 เปอร์เซ็นต์

เพราะฉะนั้นทั้งปีด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถมีผลผลิตกล้วยน้ำว้าจำหน่ายให้กับพ่อค้าได้ตลอดทั้งปีและสามารถต่อรองราคากับพ่อค้าได้ โดยไม่ต้องถูกกดราคาเพราะจำเป็นต้องตัดขายทั้งแปลง”

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 23 มิ.ย. 2019 10:03 pm

วิธีขยายพันธุ์ดอกสร้อยฟ้าที่ได้ผล
สร้อยฟ้าเป็นไม้เลื้อย ควรลากเถากลางอ่อนกลางแก่มาใกล้ๆดิน แล้วเอามีดควั่นให้เป็นแผลเล็กน้อย แล้วเอาดินกลบตรงที่ทำแผลไว้ รดน้ำตามปรกติ รอให้รากงอกยาวพอสมควรก็ตัดออกมาปลูก

J10805639-7.jpg
J10805639-7.jpg (111.32 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง


ภาพ : honeybfit


วิธีขยายพันธุ์ดอกนีออน
maxresdefault_resize.jpg
maxresdefault_resize.jpg (80.31 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง


ทำได้ด้วยการปักชำจากลำต้น กิ่ง ยอด หรือการตอนกิ่ง ต้นนีอออน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดี ต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง ชอบแสงแดดจัดแบบเต็มวัน หากปลูกในที่ร่มจะทำให้มีดอกน้อยและใบมีสีเขียวเข้ม แต่ถ้าปลูกกลางแจ้งจะให้ดอกได้ดก ส่วนใบจะมีสีเขียวอมเทา หากมีการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มอยู่อย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้กิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่มีความแข็งแรงกว่าเดิม และติดดอกมากกว่ากิ่งเก่า ก่อนปลูกควรผสมปุ๋ยคอกเข้ากับดินปลูกเสียก่อน หลังการปลูกให้รดน้ำพอชุ่มอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้น เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ใส่ปุ๋ยพรวนดินบำรุงต้นให้เจริญเติบโตตามความเหมาะสม

วิธิขยายพันธุ์ดอกโมก
1360566561-image-o_resize.jpg
1360566561-image-o_resize.jpg (168.14 KiB) เปิดดู 6141 ครั้ง


วิธีชำในน้ำ
ต้นโมกนั้นขยายพันธุ์ง่ายมาก และเจริญเติบโตเร็ว การขยายพันธุ์ต้นโมกด้วยการชำโดยการแช่น้ำอย่างเดียว เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ยุ่งยาก สำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ก็สามารถทำเองได้อย่างง่ายดาย เพราะต้นโมกเป็นไม้ที่ออกรากง่ายและชอบน้ำมาก


อุปกรณ์ที่ใช้
1. กิ่งโมก ใช้กิ่งแก่ขนาดเท่าธูป หรือใหญ่กว่า
2. มีดคัตเตอร์
3. ขวดเปล่า
4. น้ำ
5. สำลี
* น้ำยาเร่งราก จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้

ขั้นตอน
1. เลือกกิ่งพันธุ์โมกที่จะชำ โดยเลือกกิ่งไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป เลือกกิ่งตรงๆ (กิ่งขนาดเท่าดินสอ) ส่วนกิ่งที่ขนาดเล็กเกินไปจะไม่ค่อยติด
2. ตัดใบด้านล่างๆ ออก และเหลือด้านบนไว้นิดหน่อย
3. ใช้มีดตัดโคนกิ่งเฉียงเป็นรูปปากฉลาม บริเวณใต้ตา
4. ใช้มีดกรีดเบาๆ บนเปลือกกิ่งเป็นแนวตรงจากโคน (จากรอยเฉียงปากฉลาม) ขึ้นมาตามกิ่งยาวประมาณ 1 cm 3-4 รอยรอบกิ่ง
5. ใส่น้ำลงในขวดสัก 2 ใน 3 หรือต่ำกว่าคอขวด ถ้าใช้น้ำยาเร่งรากก็ให้ผสมใส่ลงไปด้วยเลย
6. นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้แช่ลงในขวด โดยให้โคนกิ่งอยู่ประมาณกลางขวด หรือสูงกว่า (ใส่กิ่งลงไปลึกๆ หรือติดก้นขวดไม่ดี)
7. นำสำลีอุดปากขวด และยึดไม่ให้กิ่งจมน้ำหรือขยับได้
8. ทิ้งไว้ในที่ร่มๆ มีแสงสว่าง (ที่ไม่ใช่แสงแดด) อากาศเย็นๆ ประมาณ 15 วันก็จะเห็นราก (ส่วนกิ่งที่ไม่ขึ้นจะเหี่ยวและใบร่วงไปตั้งแต่ 7 วันแรก)
9. ทิ้งไว้อีก 15 วัน ให้รากเยอะ และแข็งแรงขึ้น ก็นำลงปลูกได้

แนะนำให้ปลูกสัก 2-3 กิ่งไว้ด้วยกันจะได้พุ่มสวยๆ
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 18 ก.ย. 2019 6:03 am

#วิธีเพาะเห็ดโคนทำได้ ไม่ต้องเผาป่า

161112_resize.jpg
161112_resize.jpg (91.3 KiB) เปิดดู 5941 ครั้ง


หัวหน้าหน่วยควบคุมไฟป่าที่ดอยสะเก็ด แนะวิธีเพาะเห็ดโคน หรือเห็ดปลวก ที่เข้าใจผิดมาตลอดว่าเพาะไม่ได้ ต้องใช้วิธีเผาป่า แต่ทำได้ง่ายๆ แค่ขุดหลุม หาเศษพืชมากอง ปิดด้วยดินจอมปลวก รดน้ำแล้วรอเวลา

ได้รับการเปิดเผยจาก นายกิติศักดิ์ ปานะโปย หัวหน้าหน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าเชียงใหม่ และหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม.๙ (ดอยสะเก็ด) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ว่า เพื่อนได้แนะนำวิธีเพาะเห็ดปลวก หรือเห็ดโคน มี ๔ ข้อ ดังนี้

๑. ให้ขุดหลุมลึก ๔๐ ซม. กว้าง ยาว ตามความพอใจ

๒. หาเศษไม้ธรรมชาติ ที่ยังไม่ผ่านการ อบ/แช่น้ำยา หรือสารเคมีทุกชนิด ถ้าได้ขี้เลื่อยก็จะดีมากๆ

๓. เมื่อใส่เศษวัสดุดังกล่าวเต็มหลุมแล้ว ให้ฝังกลบด้วยดิน ซึ่งขุดมาจากจอมปลวกจนเต็ม เหนือปากหลุม ๒๐ ซม.

๔. รดน้ำให้ชุ่มทุกๆ ๗ วัน หน้าฝนไม่ต้องรดน้ำ ใช้เวลา ๘ - ๑๕ วัน ต่อเดือน ก็จะได้ดอกเห็ดโคนตามต้องการ เป็นการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการจุดไฟเผาป่าได้ เพราะชาวบ้านเข้าใจผิดมาตลอดว่าต้องเผาป่าจึงจะได้เห็ด

“คำแนะนำ ในการเพาะเห็ดโคนเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว ข้อที่ควรระวังคือ ไม่ควรทำหลุมใกล้บ้าน เพราะปลวกจะเข้าบ้าน ก่อให้เกิดความเสียหาย จะได้ไม่คุ้มเสีย"

ที่มา : ไร่วิบูลย์เพ็ง

ศาสตร์พระราชาสู่โคก หนอง นา โมเดล
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เทคนิคต่างๆในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 02 ธ.ค. 2019 10:41 pm

เคล็ดลับการปักชำกิ่งแขนงต้นไผ่
40625_resize.jpg
40625_resize.jpg (91.58 KiB) เปิดดู 5672 ครั้ง

เลือกกิ่งแขนงไผ่ที่สมบูรณ์ อายุไม่เกิน ๑ ปี สังเกตกิ่งแขนงจะไม่อ่อนและแก่เกินไป มีปมรากขนาดเม็ดสาคู ตัดแต่งกิ่งแขนงยาวไม่เกิน ๗๐ เซนติเมตร หรือยาว ๒ - ๓ ปล้อง โดยตัดให้ชิดข้อ จากนั้นนำไปแช่น้ำ ๑ ชั่วโมง แล้วนำไปบ่มในถัง ๒๐๐ ลิตร พร้อมใส่น้ำลงในถัง ๑ แก้ว เพื่อให้ความชื้น และปิดฝาคลุมด้วยพลาสติกใส ถัง ๒๐๐ ลิตร จะบรรจุได้ประมาณ ๑๐๐ กิ่ง สำหรับการบ่มกิ่งแขนงเป็นการกระตุ้นให้เกิดราก จะใช้เวลาการบ่ม ประมาณ ๓ - ๕ วัน แต่ไม่เกิน ๗ วัน สังเกตสภาพตารากจะเปล่ง ก็จะนำไปปักชำในถุงดำ โดยผสมดิน : แกลบดิบ : ปุ๋ยคอก อัตราส่วน ๑ : ๑ : ๑ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่มหรือโรงเรือนพรางแสงด้วยซาแรน ทิ้งไว้ประมาณ ๒ เดือน รากจะเดินเต็มถุงก็สามารถนำไปปลูกลงแปลงได้
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง บ้านเพียงพอ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน

cron