อดีตกาลล้านนา

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 มิ.ย. 2019 6:42 pm

รถแห่ป้ายหนังโฮงหนังตงซัน ตั้งอยู่ในกาดสันป่าข่อย ่เชียงใหม่ สมัยนั้นใช้ล้อวัวแห่ป้ายโฆษณาหนัง บริเวณที่ล้อวัวผ่านเรือนไม้ด้านหลังหลังใหญ่ คือ โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ตรงข้ามสถานีรถไฟ
110531.jpg
110531.jpg (34.65 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง


วัดพระสิงห์วรวิหาร เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๗๘
110533.jpg
110533.jpg (39.6 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 มิ.ย. 2019 6:48 pm

บันทึกของเจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี
ข้าพเจ้าผู้ได้ประทานชื่อจาก พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นเจ้าย่าน้อยของข้าพเจ้า (คือเป็นน้องสาวของ เจ้าปู่) ว่า “วงศ์จันทร์” ข้าพเจ้าเป็นบุตรีของ เจ้าราชบุตร (วงษ์ต วัน ณ เชียงใหม่) กับ เจ้าจันทร เจ้าพ่อเป็นโอรสของ เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ กับ แม่เจ้าจามรี ท.จ.

110535.jpg
110535.jpg (55.02 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง


ผู้สงสัยอยู่ว่าเหตุใดเจ้าปู่จึงเป็นเจ้าผู้ครองนครแทนที่จะเป็น ลูกของเจ้าอินทวโรรส เพราะเจ้าอินทวโรรสเป็นพี่ของเจ้าปู ลูกของ เจ้าอินทวโรรสจึงน่าจะได้เป็นเจ้าผู้ครองนครสืบต่อ มีเสียงลือว่าเจ้าปู่แย่งตําแหน่งเจ้าผู้ครองนครมาเป็นของตัวเอง ความเป็นจริงนั้น เมื่อ พระเจ้าอินทวิชยานนท์พิลาลัย จึงได้แต่งตั้ง เจ้าอินทวโรรส เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ แลทรงตั้งเจ้าปู่เป็นเจ้าอุปราช เมื่อเจ้า สมควรที่จะบันทึกไว้เพราะ อินทวโรรสพิลาลัยก็ทรงตั้งเจ้าปู่เป็นเจ้าผู้ครองนคร จะให้เจ้าราชวงศ์ลูกชายเจ้าอินทวโรรสข้ามเจ้าอุปราชไปเป็นเจ้าผู้ครองนครนั้น ตําแหน่งอาวุโสไม่ถึงคั่นแลสมัยนั้นไม่ถือสืบสายตรง น้องได้รับต่อจากพี่เป็นส่วนมาก ดูในพงศาวดารโยนก หรือประวัติเจ้าเจ็ดตนจะโลดโผน ข้าพเจ้าได้เริ่มต้น รู้ได้แจ่มแจ้ง สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระราชอํานาจเด็ดขาด เขียน ณ วันที่ 5 มกราคม แต่พระองค์เดียว ถ้าขึ้นไปแย่งชิงบ้านเมืองสมัยนั้นจะถึงแก่ชีวิตก็ได้ ดีไม่ดีจะถูกกล่าวหาว่าเป็นขบถ เมื่อเจ้าปู่จะลงมารับแต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครฯ ท่านพระราชชายาได้มีจดหมายถึงเจ้าปู่ว่า มีความยินดีที่เจ้าปู่จะได้เป็นเจ้าผู้ครองนครแลได้เย็บเสื้อครุยเตรียมไว้ให้แล้วเจ้าปู่ได้รับการแต่งตั้งและมีนามว่า “เจ้าแก้วนวรัฐ ประพัทอินนั้นทพงศ์ ดํารงนพีสีนครเขตต์ ทสลักษณ์เกษตรอุดม บรมราชสวามิภักดิ์บริรักษ์ปัจฉิมมานุทิศสุจริตธรรมธาดา มหาโยนาคราชวงศาธิบดี” เป็นลําดับไป เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ พวกหลานปูหลานตา เรียกเจ้าปู่-เจ้าย่า ว่า เจ้าพ่อหลวง เจ้าแม่หลวง คนพื้นเมืองเรียกท่านว่า พ่อเจ้า แม่เจ้า เวลาจะ พูดกับท่านใช้คําแทนชื่อตัวว่า ข้าบาทเจ้า ใช้คําแทนชื่อท่านว่า ฝ่า บาท ตอบรับคําว่า บาทเจ้า มีเรื่องจะพูดหรือบอกอะไรกับท่านใช้ คําว่า ไหว้สา และไหว้สาอีกคําหนึ่งใช้กับคํากราบถวายบังคมทูล

เจ้าปู่ (เจ้าแก้วนวรัฐ) เจ้าย่า (แม่เจ้าจามรี) เป็นคนขยัน เจ้าปู่ชอบทําการช่างไม้ เช่นกรงขาโต๊ะ ทําโต๊ะ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โต๊ะประดับงาช้าง ข้าพเจ้าได้มาตัวหนึ่งยังอยู่จนทุกวันนี้ ทํา มีด ด้ามมีด ใช้ไม้ลาย ไม้แดง ไม้มะเกลือ แจกพวกแลคนสนิท ทําของใช้ในครัว เขียงมีที่รองเขียง เรียกว่า เขียงกัวะ เหมือนกับถาดไม้มีตัวเขียงอยู่กลางถาดสําหรับนั่นของ เพื่อไม่ให้ ของที่นั่นตกลงกับพื้น มีถาดรับไว้ ที่ปิ้งปลา กระจ่า ทําด้วยกะ ลามะพร้าวไว้เป็นมัด ๆ ท่านจะตื่นลุกขึ้นแต่ตี ๕ ทั้งสองท่านเข้า ครัวทํากับข้าว ท่านต้องดูแลคนทํากับข้าวว่าทําอะไรบ้าง ท่านทํากับ ข้าวเก่งทั้งเจ้าปู่เจ้าย่า ส่วนเจ้าย่าพอตกเย็นก็ให้ร้อยดอกไม้เอาไป ขายที่ตลาดเป็นถาด ๆ ขายหมดทุกวัน ผู้หญิงสมัยนั้นไว้ผมยาว เกล้าผมมวยเสียบดอกไม้ตามฤดูกาล เงินที่ขายได้ใส่หีบไว้สําหรับซื้อของใส่บาตร เจ้าปู่ไม่ชอบให้ลูกหลาน สํารวยเป็นคนเหยาะแหยะเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ท่านหัดให้อดทนต่อความลําบาก

ที่มา หนังสืองานศพเจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี

เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๔
110538.jpg
110538.jpg (41.09 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 มิ.ย. 2019 6:50 pm

วัดพระธาตุดอยสุเทพ ช่วง พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๑๐
110541.jpg
110541.jpg (56.71 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง


วีดเกตุการาม ไม่ทราบ พ.ศ.
FB_IMG_1556964139845.jpg
FB_IMG_1556964139845.jpg (140.27 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 มิ.ย. 2019 6:56 pm

FB_IMG_1559261712476.jpg
FB_IMG_1559261712476.jpg (31.38 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง
ไฟล์แนป
cm-047-1_resize.jpg
cm-047-1_resize.jpg (120.53 KiB) เปิดดู 5893 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 25 มิ.ย. 2019 8:08 pm

สวนกุหลาบ ในตำหนักม่อนจ๊อกป๊อกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี บนดอยสุเทพ พ.ศ.๒๔๖๔ สาวน้อยในภาพคือ หม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์(คนสวมหมวก)เเละหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อก เป็นพระตำหนักไม้สักโปร่งขนาดใหญ่บนดอยสุเทพ เป็นที่ทรงเพาะพันธุ์ปลูกกุหลาบจุฬาลงกรณ์ และเป็นที่ออกประทับรับรองพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชจักรีวงศ์หลายพระองค์ ภายหลัง พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้ถวายที่ดินและพระตำหนักแก่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

ภาพ : Nheurfarr Punyadee
111106.jpg
111106.jpg (43.78 KiB) เปิดดู 5878 ครั้ง


ขบวนแห่พระศพแม่เจ้าจามรี มเหสีในเจ้าแก้วนวรัฐ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๓ เคลื่อนศพจากคุ้มหลวงริมแม่น้ำปิงไปวัดสวนดอก
ที่มา : หนังสือ "สมุดภาพ กรมหมื่นพิทยลาภฯ ตอนตรวจราชการกระทรวงธรรมการ"
111108.jpg
111108.jpg (32.87 KiB) เปิดดู 5878 ครั้ง


วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๑
ที่มา : เชียงใหม่ในอดีต
111110.jpg
111110.jpg (21.93 KiB) เปิดดู 5878 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 29 มิ.ย. 2019 6:30 am

#ขะอูบหรือผอบที่ฐานพระเจดีย์วัดพระสิงห์วรวิหาร

ขะอูบ.jpg
ขะอูบ.jpg (41.86 KiB) เปิดดู 5863 ครั้ง


วัดพระสิงห์คงจะร้างมาแล้วหลายครั้งด้วยกันและในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ก็ยังคงสภาพเป็นวัดร้างอยู่อีก ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ หรือองค์สุดท้าย ทรงอาราธนาครูบาศรีวิชัยหรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปางมาช่วยสร้างวัดพระสิงห์ขึ้นใหม่ เนื่องจากกุฎิสงฆ์และวิหารที่พระเจ้ากาวิละสร้างขึ้นไว้ผุพังไปหมดแล้ว พระศรีวิชัยท่านรื้อพระเจดีย์ยอดหักท่ามกลางลานวัดลงเสียเพื่อสร้างพระวิหารขึ้น ณ ที่นั้น

ในการขุดที่ฐานพระเจดีย์ได้พบผอบทองคำขนาดเขื่อง เส้นผ่าศูนย์กลางที่ปากผอบ ๗ นิ้ว ๘ กระเบียด สูง ๑๔ นิ้ว น้ำหนักทองคำ ๑๒๒.๕ บาท มีกระดูกบรรจุอยู่ภายใน เข้าใจว่าเป็นพระอัฐิของพระเจ้าคำฟู กษัตริย์ลานนาไทยลำดับที่ ๖ ผู้เป็นพระชนกของพระเจ้าผายูผู้ทรงสร้างวัดพระสิงห์ก็เป็นได้ นอกจากผอบยังขุดพบแผ่นทองคำอีก ๔๗๗ แผ่น แต่ละแผ่นล้วนมีจารึกด้วยอักษรลานนา ทองคำแผ่นเหล่านี้ชั่งน้ำหนักรวมกันได้ ๓๖๐ บาท สิ่งของมีค่าเหล่านี้พระศรีวิชัยได้มอบให้ทางบ้านเมืองเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นและศึกษา แต่อย่างไรก็ตามสมบัติล้ำค่าเหล่านี้ ได้หายไปในระหว่างสงครามโลกครั้งหลัง เมื่อนครเชียงใหม่ถูกโจมตีทางอากาศและมีการย้ายที่ทำการจากศาลากลางไปตั้งที่วัดข่วงสิงห์

ครูบาศรีวิชัยสร้างวัดพระสิงห์ขึ้นใหม่ดังที่เห็นอยู่ในบัดนี้ แล้วอาราธนาเจ้าอาวาสจังหวัดมาจำพรรษาอยู่ประจำ วัดนี้จึงกลับเจริญรุ่งเรืองและมีสภาพเป็นพระอารามหลวงอยู่ในปัจจุบัน

ที่มาของเรื่อง : หนังสือ นำชมโบราณวัตถุสถานในจังหวัดเชียงใหม่ โดย รองอำมาตย์โท ชุ่ม ณ บางช้าง

ภาพ : หนังสือล้อล้านนา

การค้นพบได้พบกู่อัฐิพญาคำฟู ข้างในมีขะอูบหรือผอบบรรจุอัฐิซ้อนกัน ๓ ใบ เป็นทอง ทองเหลือง และเงิน และสูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือที่เรียกกันสงครามมหาเอเชียบูรพา หลายท่านคงไม่รู้จักเจ้าของอัฐิดังกล่าว “พญาคำฟู” มาจะเล่าให้ฟัง

422793_335011553217554_1255574997_n.jpg
422793_335011553217554_1255574997_n.jpg (16.13 KiB) เปิดดู 5863 ครั้ง


พญาคำฟู หรือที่เรียกกันว่า เจ้าคำฟู หรือท้าวคำฟู เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๗๗ - ๑๘๗๙ รวมระยะเวลาการครองราชย์ ๒ ปี
พญาคำฟูเป็นพระราชโอรสในพญาแสนภู ตามตำนานสิบห้าราชวงศ์กล่าวไว้ว่า "เจ้าพระญาแสนภูก็แต่งลูกตน เจ้าพ่อท้าวคำฟู อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าก็ไปส่งสะกานเจ้าพระญาไชยสงครามพ่อในเมืองเชียงราย ได้ ๑ เดือนบัวระมวลชุอัน ท้าวก็ลวดอยู่เสวยเมืองเชียงรายหั้นแล แล้วก็แต่งหื้ออภิเษกพ่อท้าวคำฟู ลูกตนอายุได้ ๒๖ ปี หื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ในปีเปิกสี ศักราชได้ ๖๙๐ ตัวปีหั้นแล"

สรุปคือพญาคำฟู เป็นหลานของขุนคราม หรือพญาไชยสงคราม โอรสพระองค์ที่ ๒ ในพญามังราย (ขุนเครื่อง ขุนคราม และขุนเครือ)

หลังจากเจ้าคำฟูได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ พญาแสนภูก็ทรงย้ายเมืองหลวงจากเชียงใหม่ไปไว้ที่เชียงแสน ภายหลังพญาแสนภูเสด็จสวรรคต เจ้าคำฟูจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ล้านนาระหว่าง พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙ พญาคำฟูได้พัฒนา ปกครองนครเชียงใหม่ให้เกิดความผาสุก ร่มเย็น ในรัชสมัยของพระองค์แม้จะเป็นเวลาเพียง ๒ ปี แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เชียงใหม่มีความเจริญรุ่งเรือง สงบสุข ไม่มีศึกสงคราม ในยุคสมัยของพญาคำฟูนี้พระองค์ทรงร่วมมือกับพญาผานองเจ้าเมืองปัวเข้าตีเมืองพะเยา และสามารถที่จะผนวกเอารัฐพะเยาที่เป็นอิสระอยู่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาได้ หลังจากพญาคำฟูเสด็จสวรรคตพระราชโอรสในพญาคำฟูขึ้นครองราชย์ต่อ ออกพระนาม พญาผายู

พญาคำฟูสวรรคตจากการถูกเงือกหรือจระเข้กัด ถือเป็นการตายร้าย จึงได้รับการบูชาเป็นผีอารักษ์ปกป้องเมืองเชียงใหม่



การที่ทรงสิ้นพระชนม์เพราะจระเข้กัดตายนั้น ตามตำนานเล่าว่า เป็นเพราะพญาคำฟูเสียสัตย์สาบาน กษัตริย์ราชวงศ์มังรายที่สวรรคตยังแม่น้ำคำเพราะเงือก(จระเข้)ขบ เรื่องนี้ปรากฏในพงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้บันทึกตรงกันว่าพญาคำฟู กษัตริย์ราชวงศ์มังรายรัชกาลที่๖ ได้กระทำผิดสาบานที่ได้ให้ไว้กับสหายเศรษฐีชื่อ งัวหง ว่าจะไม่คิดร้ายต่อกัน แต่พญาคำฟูกลับเสียสัตย์ลักลอบกระทำมิจฉาจารกับภรรยาของงัวหง การกระทำครั้งนั้นเป็นเหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในสังคมสมัยนั้นเชื่อเรื่องลี้ลับมาก ดังปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า....

“พญาได้เห็นภรรยาของสหายนั้นทรงรูปลักษณะงามท่วงทีดี ก็มีใจปฏิพัทธ์จึงลอบลักสมัครสังวาสกระทำมิจฉาจารด้วยนางผู้เป็นภรรยาของสหายนั้น ด้วยเหตุพญาได้เสียสัตย์สาบานดังนี้ อยู่มาได้เจ็ดวัน พญาคำฟู ลงอาบน้ำดำเศียรในลำน้ำแม่คำ เงือกใหญ่ตัวหนึ่งออกมาจากเงื้อมผามาขบคาบสรีระพญาคำฟู พญาคำฟูก็ถึงกาลกิริยาในแม่น้ำนั้น ต่อครบเจ็ดวันศพพญาคำฟูจึงลอยขึ้นมา คนทังหลายจึงรู้ว่าพญาคำฟูสิ้นชีพวายชนม์แล้ว”

กู่อัฐิของพญาคำฟู เป็นกู่เล็ก ๆ ลักษณะเป็นทรงกลมเส้นรอบวงประมาณเมตรครึ่งด้านบนเป็นแผ่นศิลาทรงกลมปิดไว้ อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถทางทิศเหนือเยื้องขวา ไปประมาณ ๑๐ เมตร คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าพระธาตุหลวง เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู ในปี ๒๔๖๙ ครูบาศรีวิชัย มาแผ้วถางบูรณะวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ได้พบกู่อัฐิค้นพบข้างในมีผอบบรรจุอัฐิซ้อนกัน ๓ ใบ ชั้นนอกทำด้วยทองเหลืองหนัก ๒๕๔ บาท ๓ สลึง สูง ๒๓ นิ้ว ชั้นกลางทำด้วยเงินหนัก ๑๘๕ บาท ๒ สลึง สูง ๑๘ นิ้ว ชั้นในสุด ทำด้วยทองคำหนัก ๑๒๒ บาท ๒ สลึง สูง ๑๔ นิ้ว และยังพบแผ่นทองจารึกเรื่องราวต่าง ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอัฐิของพญาคำฟูผู้สร้างวัด ทางราชการได้นำไปเก็บไว้ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ชั่วคราว ซึ่งตั้งอยู่ที่ข่วงสิงห์ และขณะนั้นเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ผอบทั้ง ๓ ใบ และจารึกตลอดถึงเครื่องราชูปโภคเหล่านั้นได้สูญหายไปในขณะเกิดสงครามซึ่งประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔

ที่มา : รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สมหมาย เปรมจิตต์. (๒๕๔๐). ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ . เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, หน้า ๔๘.
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 06 ก.ค. 2019 4:57 pm

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดอันมีพระธาตุจำประจำปีมะโรง ตามคติล้านนา ภาพเก่าไม่ทราบ พ.ศ.ที่ถ่าย

DSC_07479.jpg
DSC_07479.jpg (81.22 KiB) เปิดดู 6615 ครั้ง


พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่องค์ที่ ๕ ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๘๘ โดยก่อสร้างเจดีย์สูง ๒๓ วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก ๒ ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย มาประดิษฐาน

ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระสิงห์สกุล ช่างเชียงแสน ศิลปะล้านนา ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเชียงราย ขณะนั้นเชียงรายกับเชียงใหม่เป็นคู่สงครามกัน เชียงใหม่เป็นฝ่ายชนะ พญาแสนเมือง (พ.ศ.๑๙๓๑ -๑๙๕๔ ) เสด็จกลับนครเมืองเชียงใหม่ จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มายังเมืองเชียงใหม่โดยล่องเรือมาตามลำน้ำปิง เรืออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเทียบท่าฝั่งนครเชียงใหม่ ที่ท่าวังสิงห์คำ ขณะเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบกปรากฎรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง ๒,๐๐๐ วา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั่นได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้งนั้นว่า “วัดฟ้าฮ่าม” ซึ่งหมายถึงฟ้าปรากฏรัศมีอร่าม

เดิมทีพญาแสนเมืองตั้งพระทัยจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดบุปฝาราม (วัดสวนดอก) ซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออกไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไปถึงวัดลีเชียงพระก็เกิดติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พญาแสนเมืองมาถือเป็นศุภมิตรจึงโปรดให้สร้างมณฑปขึ้นวัดลีเชียงและ ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้น ซึ่งต่อมานิยมเรียกวัดนี้ว่า “วัดพระสิงห์” ตามนามของพระพุทธรูป กระทั่ง พ.ศ.๒๔๘๓ จึงได้รับการสถาปนานายกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร และได้รับนามใหม่ว่าวัดพระสิงห์วรมหาวิหารมาจนถึงปัจจุบัน โดยกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญระดับชาติ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และประกาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒

วัดพระสิงห์มีศาสนสถานสำคัญ อาทิ

วิหารลายคำ
วิหารลายคำ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก วิหารลายคำนี้มีลวดลายปูนปั้นที่สวยงามปราณีตบรรจงมาก แสดงให้เห็นฝีมือของช่างในยุคนั้นว่าเจริญถึงที่สุด ตัววิหารลายคำสร้างตามแบบศิลปกรรมของภาคเหนือ มีรูปปั้นพญานาค ๒ ตัวอยู่บันไดหน้า และใกล้ๆ พญานาค มีรูปปั้นสิงห์ ๒ ตัว บริเวณภายในประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” วิหารแห่งนี้ได้รับการยกย่องว่า เป็นวิหารสถาปัตยกรรมล้านนาบริสุทธิ์ ที่มีรูปแบบความเป็นพื้นเมืองอันงดงามสมบูรณ์แบบมากที่สุดแห่งหนึ่ง

คำว่า “ลายคำ” คือการปิดทองล่องชาดทำลวดลายเป็นภาพวิมาน เมฆ มังกร ตรงพื้นที่ด้านหลังองค์พระประธาน และเสา โดยใช้ทองมากเป็นพิเศษ เมื่อสะท้อนแสงจะทำให้วิหารดูเป็นสีทองอร่ามไปทั้งหลัง

ประวัติการก่อสร้างวิหารลายคำไม่ปรากฏเอกสารอย่างแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาเมืองแก้ว ยุคล้านนารุ่งเรือง และได้รับการบูรณะอีกหลายครั้ง รวมทั้งการบูรณะของครูบาศรีวิชัยด้วย

ผนังภายในของวิหาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนสีแสดงเรื่องราวตามปัญญาสชาดก เรื่องสังข์ทอง ในผนังด้านขวา และเรื่องสุวรรณหงส์ในผนังด้านซ้าย โดยทั้งสองเรื่องมีคำว่า ทอง เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของวิหารที่มีคำว่า คำ

ตามหลักฐานบันทึกไว้ว่า สีที่ใช้ในจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำเป็นวรรณสีเย็นที่มีสีน้ำเงินครามและสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มื สีแดง สีเขียว สีน้ำตาบ สีดำ และสีทอง ซึ่งใช้เขียนส่วนที่เป็นโลหะปิดด้วยทองคำเปลวตัดด้วยสีแดงและ ดำ เช่น เชิงหลังคาและยอดปราสาท สิ่งของเครื่องใช้ เช่น อาวุธ เครื่องประดับ จิตรกรรมฝาผนังที่งดงามประดับตลอดทั้งอาคาร แบ่งเป็น ๒ส่วน ดังนี้

๑. ภาพลายทองล่องชาด เทคนิคฉลุกระดาษบนเสาและผนังด้านหลังพระประธาน เป็นงานแบบลวดลายเกือบทั้งหมด ลายทองบนผนังด้านหลังพระประธาน จุดเด่นคือมีการใช้ทองมากเป็นพิเศษ ทำให้พระพุทธรูปดูเด่นเป็นสง่า

๒. จิตรกรรมภาพเขียนสี เป็นภาพเล่าเรื่อง ตลอดผนังด้านข้าง ทิศเหนือเขียนเรื่องสังข์ทอง ทิศใต้เขียนเรื่องสุวรรณหงส์

สันนิษฐานว่าช่างที่เขียนภาพเป็นชาวจีน ชื่อ เจ๊กเส่ง

ส่วนภาพผู้คนที่ปรากฏอยู่ในงานจิตรกรรมนี้มี บ่งบอกถึงลักษณะและขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตของคนล้านนา ทั้งการนุ่งผ้าของสตรี หรือการแต่งกายของบุรุษที่มีการสักลาย การนุ่งผ้าเตี่ยวมีผ้าสะพายพาดบ่า

ภาพจิตรกรรมดังกล่าว ถูกเขียนขึ้นเมื่อคราวที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามในสมัยพญาสุลวฤๅชัยสงคราม (หนานทิพช้าง) ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย ได้กล่าวถึงภาพจิตรกรรม ในวิหารลายคำ เอาไว้ว่า “จิตรกรรมในภาคเหนือ นิยมเขียนภาพชีวิตประจำวัน เป็นภาพเหมือนชีวิตจริงถ้ามองดูภาพที่งดงามเรื่องสังข์ทองในวิหารลายคำ พระพุทธสิหิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เราจะรู้สึกคล้ายกับว่า เราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงตามความเป็นอยู่เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน”

ศิลปกรรมของวิหารลายคำส่วนอื่นๆ ที่ปรากฏ ได้แก่ ลายคำประดับผนังท้ายวิหาร รูปหงส์ คันทวยเป็นลายเมฆไหล ซึ่งเป็นลวดลายในศิลปะจีน อันเป็นศิลปะพระราชนิยมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รวมทั้งงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีลักษณะอิทธิพลจากยุครัตนโกสินทร์ผสมผสานกับท้องถิ่นล้านนา และศิลปะตะวันตก

รูปทรงของวิหารลายคำที่ปรากฏในปัจจุบัน แตกต่างจากอดีตที่ปรากฎในภาพถ่ายเก่า ซึ่งถ่ายไว้ก่อน แต่ยังโครงสร้างเป็นวิหารที่มีหลังคาลดชั้นของสันหลังคาลงทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง และผืนหลังคาจะซ้อนลงด้านข้าง ๑ ตับ ตามแบบแผนของวิหารล้านนาในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงและวังโดยทั่วไป

ถึงแม้ว่าตัววิหารลายคำจะผ่านการบูรณะหลายครั้ง แต่ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำของวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ซึ่งถือกันว่า เป็นงานฝีมือของช่างชั้นครู ยังคงได้รับการอนุรักษ์ ดูแลอย่างดีมาจนถึงปัจจุบัน

หอไตร
หอไตรวัดพระสิงห์ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ.๒๐๔๐ เคยได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (พ.ศ.๒๓๙๗ - ๒๔๑๓) และเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ ปี พ.ศ.๒๔๖๙

ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ มุงหลังคากระเบื้องดินเผา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บันไดทางขึ้นด้านหน้าเป็นรูปมกรคายสิงห์ บนแท่นข้างละตัว มีบันไดอยู่สองช่วง ช่วงบนเป็น มกรคายสิงห์ ช่วงล่างจะเป็นมกรคายนาค ซุ้มประตูทางเข้าในส่วนหน้าบันเป็นบุษบกซ้อนกัน ๕ ชั้น แกะสลักลวดลายปูนปั้น รูปเทวดาและเทพพนม จำนวน ๑๖ องค์ สัตว์หิมพานต์ อาทิ สิงห์ ช้าง กิเลน ปลา กวาง นกยูง คชสีห์ เหมราช และ นรสิงห์ เป็นต้น ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทาสีแดง มีปูนปั้น ประดับเป็นรูปดอกไม้ ๘ กลีบ และ มีบราลีทำเป็นรูปหงส์อยู่บนสันหลังคา

หอไตร เป็นอาคารที่ใช้สำหรับเก็บรักษาพระธรรม คัมภีร์ และหนังสือใบลานต่างๆ ในพระพุทธศาสนา หรือเรียกว่า หอพระไตรปิฏก

วัดพระสิงห์เป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่ช่วงต้นราชวงศ์มังราย ควรช่วยกันรักษาให้คงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม และความเป็นพุทธ สืบไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน


ภาพคูเมืองเชียงใหม่ บริเวณด้านหน้าร้านหนังสือดวงกมล ในปัจจุบัน ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖
ภาพ : Nheurfarr Punyadee

ดวงกมล2516.jpg
ดวงกมล2516.jpg (47.65 KiB) เปิดดู 6596 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 ก.ค. 2019 9:45 pm

วัดสันติธรรม จังหวัดเจียงใหม่ เมื่อแรกสร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๙๒
ภาพ : หนังสือ ร้อยตระกูลที่ถนนช้างม่อย ของ พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
วัดสันติธรรม.jpg
วัดสันติธรรม.jpg (10.4 KiB) เปิดดู 6596 ครั้ง


คูเมืองเชียงใหม่ ในพ.ศ.๒๔๘๐ ด้านทิศเหนือ มุมกล้องถ่ายจากแจ่งศรีภูมิไปทางทิศตะวันตก ขณะนั้นกำแพงเมืองยังไม่ได้รื้อ ตามแนวกำแพงมีต้นไม้และวัชพืชปกคลุมตลอด ในคูเมืองมีผักตบชวากำลังออกดอก ทางขวามือเห็นถนนมณีนพรัตน์ที่ยังเป็นลูกรัง
จากหนังสือ ลานนาไทยในอดีต ของคุณลุงบุญเสริม สาตราภัย
คูเมืองเชียงใหม่2480.jpg
คูเมืองเชียงใหม่2480.jpg (11.53 KiB) เปิดดู 6596 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 13 ก.ค. 2019 9:49 pm

รูปปั้นช้างมงคลที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเจียงใหม่ ปัจจุบันได้รับการสร้างใหม่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด ภาพถ่ายโดยนักสำรวจชาวเยอรมัน ซึ่งเดินทางขึ้นมาสำรวจ สภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนภาคเหนือประมาณเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ – ๒๔๕๐
จากหนังสือ เชียงใหม่เชียงเก่า
ช้างมงคล.jpg
ช้างมงคล.jpg (13.64 KiB) เปิดดู 6528 ครั้ง


กู่พญาสามฝั่งแกน ในวัดป่าแดงเชียงใหม่ ภาพนี้ถ่ายราวๆ พ.ศ.๒๔๔๕ –๒๔๗๐ เชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพญาสามฝั่งแกนและพระมเหสีของพระองค์ พระญาสามฝั่งแกนเป็นกษัตริย์ล้านนา ราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๘ ผู้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช
ภาพ :วารสารล้อล้านนา
วัดป่าแดง.jpg
วัดป่าแดง.jpg (80.74 KiB) เปิดดู 6528 ครั้ง



แม่ค้าเดินกลับจากตลาดบนถนนลูกรัง ในจังหวัดพะเยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑
ภาพโดย ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น
พะเยา2481.jpg
พะเยา2481.jpg (76.84 KiB) เปิดดู 6528 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 15 ก.ค. 2019 4:30 pm

กำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอก
เมื่อ พ.ศ.๒๕๖๑ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างก้อนอิฐที่ก่ออยู่แนวกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอก(กำแพงดิน) ไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (TL) พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ หรือราว ๗๐๐-๘๐๐ ปีมาแล้ว
ที่มา Archaeology 7 Chiang Mai
122177.jpg
122177.jpg (119.64 KiB) เปิดดู 6526 ครั้ง


75168_resize.jpg
75168_resize.jpg (151.84 KiB) เปิดดู 6526 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 15 ก.ค. 2019 4:47 pm

ภูษา..ผ้าของ พลตรีเจ้าแก้วนวรัตน์ ผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย

122180.jpg
122180.jpg (68.17 KiB) เปิดดู 6526 ครั้ง


ชุดแรกเป็นผ้าเยียรบับ คำว่า เยียรบับ นั้นสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ซาระ+บัฟ จากภาษาเปอร์เซีย โดยคำว่า ซาระ แปลว่าทอง บัฟแปลว่าทอ โดยรวมแล้วมีความหมายว่าผ้าที่ทอจากทองจะเห็นว่าเสื้อเยียรบับของพลตรีเจ้าแก้วนวรัตน์นั้นมีความวิจิตรงดงามมาก ส่วนชุดที่สองเป็นเสื้อคลุมปักดิ้นเงินดิ้นทองสวยงามมากอย่างยากจะหาช่างฝีมือสมัยใหม่ที่จะทำออกมาสวยงามขนาดนี้ได้
ที่มา : เรื่องเล่าล้านนา
122181.jpg
122181.jpg (91.97 KiB) เปิดดู 6526 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อดีตกาลล้านนา

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 15 ก.ค. 2019 4:53 pm

การศึกษาแหล่งถลุงเหล็กโบราณบ้านแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ร่องรอยโลหกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนล้านนา

122182.jpg
122182.jpg (114.87 KiB) เปิดดู 6526 ครั้ง


ตามที่ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้สำรวจพบร่องรอยแหล่งถลุงเหล็กโบราณในพื้นที่อำเภอลี้ไม่ต่ำกว่า ๓๐ แหล่ง และมีแนวโน้มว่าจะมีการค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างถ่านภายในก้อน Slag จากแหล่งถลุงเหล็กโบราณสิบดร ไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี Accelerator mass spectrometry (AMS) dating พบว่ากิจกรรมการถลุงเหล็กที่แหล่งสิบดร มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในช่วงราว ๒,๕๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งถือเป็นค่าอายุแหล่งถลุงโบราณที่มีความเก่าแก่มากที่สุดในดินแดนล้านนานั้น เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มแหล่งถลุงเหล็กโบราณในพื้นที่อำเภอลี้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ จึงได้กำหนดแผนงานขุดค้นศึกษาทางโบราณคดี แหล่งถลุงเหล็กโบราณในพื้นที่บ้านแม่ลาน ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาอายุสมัยของเตาถลุงเหล็กโบราณ ๒) ศึกษากรรมวิธี เทคนิค และรูปแบบเตาถลุงเหล็กโบราณ และ ๓) ตีความถึงระดับการผลิตของแหล่งถลุงเหล็กโบราณ

จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานที่สำคัญดังนี้

๑) ฐานเตาถลุงเหล็กโบราณ พบในบริบทดั้งเดิม (in situ) ปรากฏลักษณะเป็นผนังเตาถลุง วัสดุดินเหนียวปั้นเผาไฟ ตั้งแต่ส่วนฐานที่มีช่องระบายตะกรัน จนถึงส่วนช่องเติมอากาศ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๙๐ เซนติเมตร

๒) ก้อนแร่เหล็กวัตถุดิบ (iron ore) เป็นแร่เหล็กชนิด Magnetite ที่ผ่านกระบวนการย่อยให้มีขนาด ๒-๓ เซนติเมตร

๓) ตะกรันจากการถลุงเหล็ก มีทั้งรูปแบบก้อน slag ขนาดใหญ่ที่ค้างอยู่ภายในเตา และรูปแบบน้ำตาเทียนที่ถูกเจาะระบายออกมานอกเตา

๔) ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthen Ware) เนื้อหยาบ ซึ่งมักพบในแหล่งโบราณโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์

การวิเคราะห์หลักฐานเบื้องต้น มีข้อสันนิษฐาน ดังนี้

๑) ประเด็นอายุสมัย จากโบราณวัตถุร่วมที่พบ สันนิษฐานว่าแหล่งถลุงเหล็กโบราณแห่งนี้ น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ไม่ต่ำกว่า ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) แต่ทั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บตัวอย่างถ่านตกค้างอยู่ภายในก้อนตะกรัน ที่พบจากการขุดค้น เพื่อส่งไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี Accelerator mass spectrometry (AMS) dating เพื่อให้ได้คำตอบเกี่ยวกับอายุสมัยของแหล่งที่ชัดเจนต่อไป

๒) ประเด็นกรรมวิธี เทคนิค และรูปแบบเตาถลุงเหล็กโบราณ พบว่าเป็นการถลุงเหล็กตามกระบวนการทางตรง (Direct Iron Smelting Process) คือ การถลุงโดยใช้ถ่านและอากาศเติมความร้อนให้กับแร่เหล็ก ทำให้ธาตุเหล็กแยกจากธาตุอื่นๆ และจับตัวเป็นกลุ่มก้อนเหล็ก (Iron Bloom) บริเวณก้นเตาถลุง โดยรูปแบบสันนิษฐานของเตาถลุงมีลักษณะ เป็นเตาถลุงรูปแบบทรงกระบอกตรงมีผนังสูง (Shaft Furnace) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๙๐ เซนติเมตร


๓) ประเด็นการตีความถึงระดับการผลิต จากการขุดค้น พบร่องรอยของเตาถลุงเหล็กขนาดใหญ่ทับซ้อนอยู่ในหลุมขุดค้นไม่ต่ำกว่า ๘ เตา โดยเตาถลุงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๗๐ - ๙๐ เซนติเมตร เบื้องต้นจึงสันนิษนิษฐานว่าการถลุงเหล็กในพื้นที่ดังกล่าว น่าจะสร้างผลผลิตเป็นเหล็กในปริมาณค่อนข้างมากเพื่อแลกเปลี่ยนกับดินแเนภายนอก แต่อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อคำอธิบายที่ชัดเจนต่อไป

การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นค้นพบและสร้างองค์ความรู้ครั้งสำคัญ เกี่ยวกับพัฒนาทางวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย จากยุคสมัยโลหะสู่สมัยการสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนล้านนา ทั้งนี้ทีมงานกลุ่มโบราณคดี จะมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียด เพื่อสร้างความกระจ่างต่อไปในอนาคต

ผู้ศึกษา นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ

ที่มา : Archaeology 7 Chiang Mai
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน

cron