เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 25 มิ.ย. 2019 7:59 pm

แม่อุ๊ยสา เทพวรรณ กับ แม่อุ๊ยบัวผัน เทพวรรณ ในประเพณีครัวทาน ปอยหลวง วัดหลวง ลำพูน พ.ศ.๒๔๖๐
ภาพ :มงคลรัฐ โอจรัสพร เอื้อเฟื้อภาพถ่าย

111104.jpg
111104.jpg (75.16 KiB) เปิดดู 5514 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พุธ 26 มิ.ย. 2019 9:36 pm

สันคือ ลำพูน.jpg
สันคือ ลำพูน.jpg (50.65 KiB) เปิดดู 5423 ครั้ง

เล่นสงกรานต์กันที่สันคือ ลำพูน
ภาพ : Naren Punyapu

ตำราดูลักษณะผู้หญิงล้านนาโบราณ

4908642640_resize.jpg
4908642640_resize.jpg (64.74 KiB) เปิดดู 5502 ครั้ง


กล่าวถึงลักษณะผู้หญิงก่อนแล

- ญิงใดคอเป็นป่านป้อง ดี เท่าดูแควนผัวสะน่อยแล
(หญิงใดมีลำคอเป็นปล้อง เป็นลักษณะที่ดี แต่มักดูถูกสามีบ้างเล็กน้อย)

- ญิงใดหน้าผากเป็นสุนักข์นั้น รอมเข้าของดี
(หญิงใดมีหน้าผากคล้ายหน้าผากสุนัข เป็นคนเก็บหอมรอมริบสมบัติข้าวของดีแล)

ญิงใดไฝยังคาง ดี มียังคอกล้ำซ้าย ดีนัก
(หญิงใดมีไฝที่คาง หรือมีใฝที่ลำคอด้านซ้าย ดียิ่งนักแล)

ญิงใดจารจาดั่งนกแขกเต้า มีสมบัติแล
(หญิงใดพูดจาคล้ายนกแขกเต้า เป็นคนมั่งมีทรัพย์สมบัติ)

- ญิงใด แม่ใหญ่ แอวกลม แม่นเกิดในกระกูลผู้น้อย ก็ยังจักได้เป็นใหญ่ เมียนายช้างแล
(หญิงใดมีมารดารูปร่างสูงใหญ่ เอวกลม ถึงจะเกิดในตระกูลผู้น้อยต้อยต่ำ ก็จะได้เป็นใหญ่ ได้เป็นภรรยานายช้างในวัง)

ญิงใดผมรีรุง เส้นแลบเกลี้ยง เป็นเมียผู้ใด รักนักแล
(หญิงใดเส้นผมเล็ก เกลี้ยงเกลา เป็นภรรยาผู้ใด สามีรักมากนักแล)

- ญิงใดมีลายมือขอดดังหอยสังข์แลกลีบดอกบัว ผู้ญิงก็ดี ผู้ชายก็ดี จักได้เป็นใหญ่ สองพัน ประหมานเช่น ผู้นั้นรักชู้กว่าผัวแล
(หญิงและชายใดมีลายมือคลายหอยสังข์ และกลีบบัว จะได้ดีมีศักดิ์ใหญ่ แต่จะรักชู้มากกว่าภรรยา / สามีของตน)

ญิงใดผมลงหน้าผาก แพ้ผัว
(หญิงใดมีผมปรกหน้าผาก จะแพ้ผัว คือสามีจะตายไปก่อน)

- ญิงใดย่างไปสูงต่ำ คันอยู่เรือนใด วายเรือนนั้นแล
(หญิงใดเวลาเดินไป ก้าวเท้าสูงและต่ำ ถ้าอยู่บ้านเรือนไหน ก็วอดวายที่นั่น)

ญิงใดมีขนแก่แข็งดังผู้ชาย แม่นลูกท้าวพระยา ก็จักได้ขอท่านกินแล ผัวมี ๓ คน จิ่งจักหมั้นแล
(หญิงใดมีขนตามร่างกาย แก่และแข็งคล้ายขนของผู้ชาย ถึงจะเป็นลูกท้าวพระยาก็จะต้องขอผู้อื่นกิน ต่อเมื่อมีสามี ๓ คนจึงจะมั่นคง)

- ญิงใดใคร่หัวเสียงดังบ่ม่วน ลักขณะผู้ถ่อย
(หญิงใดเวลาหัวเราะมีเสียงดัง แต่ไม่ไพเราะ เป็นลักษณะของผู้ถ่อย)

- ญิงใดฟันหน้าซี่หน้อย ลักขณะผู้ถ่อย
(หญิงใดมีฟันหน้าซี่เล็ก เป็นลักษณะของผู้ถ่อย)

- ญิงใดแย้มแล้วจิ่งเจียรจา เพิงใจคนทั้งหลายนักแล
(หญิงใดยิ้มแล้วจึงค่อยพูด เป็นที่ถูกใจคนทั้งหลายยิ่งนัก)

ญิงใดย่างไปหัวคลอน มักมีชู้ ย่อมหื้อผัวเข้าอำนาจแล
(หญิงใดเวลาเดิน ศีรษะส่ายไปมา มักมีชู้ และบังคับให้สามีอยู่ใต้อำนาจ)

- ญิงใดย่างไป ลากตีนซ้ายก่อน ดี มีสมบัติแล
(หญิงใดเวลาเดิน ลากเท้าซ้ายไปก่อน เป็นคนมีทรัพย์สมบัติ)

- ญิงใด ( ย่างไป) ลากตีนขวาก่อน ลักขณะผีเสื้อแล
(หญิงใดเวลาเดิน ลากเท้าขวาไปก่อน เป็นลักษณะของผีเสื้อ คือผีจำพวกหนึ่ง)

- ญิงใดริมปากบาง ผัวรักนักแล
(หญิงใดริมฝีปากบาง สามีรักมากนักแล)

- ญิงใดดำแดง ใหญ่ ผู้นั้นผัวรักนัก
(หญิงใดรูปร่างดำแดง สูงใหญ่ ผู้นั้นสามีรักมากนักแล)

- ญิงใดหัวใหญ่ ผู้นั้นมีจิตใจซื่อแก่ผัวตนนักแล
(หญิงใดศีรษะใหญ่ ผู้นั้นเป็นคนมีจิตใจซื่อสัตย์ต่อสามีของตนมากนัก)

- ญิงใด หน้าใหญ่ แลตัวหน้อย ผู้นั้นบ่รู้เหล้นชู้จากผัวแล
(หญิงใดใบหน้าใหญ่ แต่ร่างกายเล็ก ผู้นั้น ไม่มีชู้)

- ญิงใดหัวดังหัวช้าง ผู้นั้นมีศรีนักแล
(หญิงใดมีศีรษะคล้ายหัวช้าง ผู้นั้นเป็นคนมีสง่าราศีมาก)

- ญิงใดฝ่าตีน ฝ่ามือแดง ผู้นั้นควรค่าร้อยคำ
(หญิงใดฝ่าเท้าและฝ่ามือแดง ผู้นั้นมีค่าหนึ่งร้อยทองคำ)

- ญิงใดเมื่อลุกไปไหน ไปอื่น จิ่งไปจารจาดั่งอั้น ดีนักแล
(หญิงใดเมื่อลุกไปที่อื่นก่อน แล้วจึงกลับมาเจรจา เป็นลักษณะที่ดีมากนัก)

- ญิงใดผมรีดั่งอั้น คันว่าไครหลังยังเที่ยงเกล้า แรงหลายนัก ผัวรักแล
(หญิงใดเส้นผมเล็ก เมื่อยาวถึงหลังจึงเกล้ามวย เป็นคนแข็งแรง สามีรักมากนัก)

- ญิงใดอกใหญ่ ท้องน้อย มีลูกมักตายแล
(หญิงใดหน้าอกใหญ่ แต่ท้องเล็ก มีลูกแล้วลูกมักเสียชีวิต)

- ญิงใดฝ่าตีนใหญ่ แดง ผัวมักตายก่อน
(หญิงใดฝ่าเท้าใหญ่ และมีสีแดง สามีมักตายก่อน)

- ญิงใดฝ่าตีนหน้อย บ่มักแอ่วเรือนท่านแล
(หญิงใดฝ่าเท้าเล็ก เป็นคนไม่ชอบไปเที่ยวบ้านคนอื่น)

- ญิงใดตาหน้อย มักเหิงผัวนักแล
(หญิงใดตาเล็ก มักหึงหวงสามีมากนัก)

- ญิงใดริมปากเส้า เลี้ยงลูกมักตาย
(หญิงใดริมฝีปากดำคล้ำ เลี้ยงลูกไม่ดี ลูกมักตาย)

- ญิงใดมีปานในหูแลหน้า เทียรย่อมเป็นที่ปูชา
(หญิงใดมีปานในหูและใบหน้า ย่อมเป็นที่เคารพบูชาของสามี)

- ญิงใดริมปากเบื้องบนเป็นดั่งก้อนเลือด ผู้นั้นทุกข์นักแล
(หญิงใดริมฝีปากบนมีสีแดงคล้ายก้อนเลือด ผู้นั้นทุกข์ยากลำบากมากนัก)

- ญิงใดอกใหญ่นัก มันมักเหล้นชู้จากผัวแล
(หญิงใดหน้าอกใหญ่ มักคบชู้สู่ชาย)

- ญิงใดพีท้องน้อย ผู้นั้นมักถ่อย
(หญิงใดท้องน้อยสวด ผู้นั้นมักเป็นคนถ่อย)

- ญิงใดก้มหน้าแล้วจิ่งเจรจา มันบ่รักผัวเท่ารักชู้แล
(หญิงใดก้มหน้าก่อน แล้วจึงเจรจา เป็นคนรักชู้มากกว่าสามี)

- ญิงใดขนรีหนา มันมักฆ่าผัวเสียแล
(หญิงใดมีขนยาวหนา มักฆ่าสามีของตนแล)

- ญิงใดเสียงดั่งกา มีหัวเข่าดั่งกา คอก็ยาว ริมปากก็ใหญ่ มหาโทษแล
(หญิงใดคอยาว ริมฝีปากใหญ่ มีเสียงและหัวเข่าคล้ายอีกา เป็นลักษณะที่ให้โทษแล)

- ญิงใดแค่งใหญ่ บ่เป็นร้าง ก็หม้ายแล
(หญิงใดมีแข้งใหญ่ หากไม่เป็นแม่ร้าง ก็เป็นแม่ม่าย)

- ญิงใดขนโยนีดำรี ผู้นั้นรักผัวนักแล
(หญิงใดมีขนโยนีสีดำ และยาวรี ผู้นั้นสามีรักมากนัก)

- ญิงใดปลายมือเถียวชะหลอ ผู้นั้นเป็นนางพระยาแล (หญิงใดมีปลายมือเรียวเล็ก ผู้นั้นเป็นนางพระยา)

- ญิงใดฝ่ามือกลม จารจาเสียงอ่อน รักผัวนักแล
(หญิงใดฝ่ามือกลม เวลาเจรจามีเสียงอ่อนหวาน สามีรักมากนัก)

- ญิงใดไป ลากตีนขวา ลุกผีเสื้อมาเกิดแล
(หญิงใด เวลาเดิน ลากเท้าขวา ตายจากผีเสื้อ (ผีชนิดหนึ่ง) มาเกิดเป็นคน)

- ญิงใดขาน้อย มันมักเอาลึงค์ได้นัก
(หญิงใดมีขาเล็ก เป็นคนชอบมีเพศสัมพันธ์ มักมากในกาม)

ญิงใดขาแดง คิงแดง ผู้นั้นเยียะดีนักแล
(หญิงใดมีขาแดง รูปร่างแดง เหมาะแก่การมีเพศสัมพันธ์ด้วย)

- ญิงใดขาว ใหญ่ เยียะบ่ดี
(หญิงใดผิวขาว รูปร่างใหญ่ ไม่เหมาะแก่การมีเพศสัมพันธ์ด้วย)

- ญิงใดต่ำ แอวกลม เยียะดีนักแล
(หญิงใดรูปร่างเตี้ย เอวกลม เหมาะแก่การมีเพศสัมพันธ์ด้วย)

- ญิงใดเมื่อลึงค์เข้าโยนี เยียะดั่งจักขาดใจตายนั้น บ่ดี
(หญิงใดเวลามีเพศสัมพันธ์ ทำกริยาคล้ายกับจะขาดใจตายนั้น ไม่ดี)

- ญิงใดมีหมอยแต่รูอันนั้น แพ้ผัวนักแล
(หญิงใดมีขนเพชรเฉพาะบริเวณรู แพ้ผัว คือสามีตายก่อน)

- ญิงใดบ่มีหมอยสักเส้น ผู้นั้นทุกข์นัก แต่น้อยเถิงเถ้า
(หญิงใดไม่มีขนเพชรแม้แต่เส้นเดียว เป็นคนทุกข์ยากตั้งแต่เล็กจนถึงชรา)

ญิงใดลุกเป็นลม อย่าเอาเป็นเมีย บ่ดี ยินเหม็นสาบ เป็นดั่งกา บ่ดี ลักขณะผู้ถ่อย
(หญิงใดลุกนั่งรวดเร็วปานลม ไม่ควรเอาเป็นเมีย ร่างกายเหม็นสาบ เป็นลักษณะผู้ถ่อย)

ญิงใดเจียรจาเสียงน้อยใหญ่ ผู้นั้นมักเล่าขวัญผัวนัก
(หญิงใดเจรจาเสียงน้อยเสียงใหญ่ ผู้นั้นมักเล่าขวัญนินทาสามี)

ต้นฉบับเป็นเอกสารใบลานของวัดหนองสร้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งสถาบันวิจัยสังคมยืมมาถ่าย ไมโครฟิล์มเก็บไว้ในคลังข้อมูลของงานวิจัยล้านนาคดีศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 15 ก.ค. 2019 5:57 pm

ฟิล์มภาพกู่เจดีย์ที่คุณลุงบุญเสริม สาตราภัย ได้มอบให้คุณนเรนทร์ ปัญญาฟู ในภาพยังไม่มีวิหารที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง จึงสันนิษฐานได้ว่าภาพเหล่านี้น่าจะถ่ายขึ้นก่อน พ.ศ.๒๔๗๙ เนื่องจากครูบาศรีวิชัยสร้างวิหารวัดจามเทวีในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ประเด็นที่น่าสนใจคือลุงบุญเสริมเกิดปี พ.ศ.๒๔๗๒ เริ่มเรียนถ่ายภาพตอนอายุ ๑๒ ปี บันทึกภาพจริงจังเมื่ออายุ ๒๐ ปี แล้วภาพนี้ใครถ่าย ?
ภาพ : Naren Punyapu
55719451_2123837941029623_1603442300984229888_n.jpg
55719451_2123837941029623_1603442300984229888_n.jpg (43.91 KiB) เปิดดู 5423 ครั้ง


ภัตตาคารบุญยิ่ง จังหวัดลำพูน (ไม่ทราบปี พ.ศ.)
ภาพ : อาจารย์ จุลพงษ์ ขันติพงศ์
ภาพภัตตาคารบุญยิ่ง.jpg
ภาพภัตตาคารบุญยิ่ง.jpg (127.79 KiB) เปิดดู 5423 ครั้ง


โรงภาพยนตร์หริภุญชัยรามาหรือเปลี่ยนเป็นลำพูนรามา
ภาพ : อาจารย์จุลพงศ์ ขันติพงศ์
โรงภาพยนตร์หริภุญชัยรามาหรือเปลี่ยนเป็นลำพูนรามา.jpg
โรงภาพยนตร์หริภุญชัยรามาหรือเปลี่ยนเป็นลำพูนรามา.jpg (45.99 KiB) เปิดดู 5423 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 15 ก.ค. 2019 6:03 pm

ภาพถ่ายเทศมนตรีและคณะข้าราชการเทศบาลเมืองลำพูนถ่ายรูปร่วมกันด้านหน้าโรงมหรสพของเทศบาล ในวันเปิดป้ายโรงมหรสพวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔
ภาพถ่ายและข้อมูล : มิ้น ตลาดสุขใจ
โรงมหรสพลำพูน.jpg
โรงมหรสพลำพูน.jpg (65.03 KiB) เปิดดู 5423 ครั้ง


ลำพูน.jpg
ลำพูน.jpg (60.09 KiB) เปิดดู 5423 ครั้ง


สี่แยกลี้ คนชอบไปถ่ายรูปเช็กอินกันมาตั้งแต่สมัยคุณแม่ยังสาว
ภาพ : Naren Punyapu
สี่แยกลี้.jpg
สี่แยกลี้.jpg (49.3 KiB) เปิดดู 5423 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 9:51 am

สมัยสาวๆของ ป้าอ๋อม สมพร สุชัยบุญศิริ อดีตช่างฟ้อนบ้านสันดอนรอม จังหวัดลำพูน วัย ๗๑ ปี
ภาพ : Naren Punyapu
122848.jpg
122848.jpg (30.11 KiB) เปิดดู 5231 ครั้ง


122850.jpg
122850.jpg (100.89 KiB) เปิดดู 5231 ครั้ง


ช่างฟ้อนลำพูน
122849.jpg
122849.jpg (44.69 KiB) เปิดดู 5231 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:02 am

122856.jpg
122856.jpg (75.29 KiB) เปิดดู 5231 ครั้ง


สะพานท่าสิงห์ ลำพูน

122855.jpg
122855.jpg (76.46 KiB) เปิดดู 5231 ครั้ง


122857.jpg
122857.jpg (54.83 KiB) เปิดดู 5231 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:08 am

ภาพจากนิทรรศการภาพเก่าของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
โดย ชานนท์ ปัญจะศรี นเรนทร์ ปัญญาภู และสุวิภา จำปาวัลย์ ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสนเมืองมา ซึ่งสนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ได้สืบค้น แลกเปลี่ยน รวบรวมภาพถ่ายเมืองเชียงคำเอาไว้ นี่คือภาพของอาจารย์ไมเคิล มอร์แมน สำเนาภาพทั้งหมดมาจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ภาพถ่ายประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐
ภาพ : Naren Punyapu
122862.jpg
122862.jpg (54.57 KiB) เปิดดู 5166 ครั้ง


122863.jpg
122863.jpg (61.35 KiB) เปิดดู 5166 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:10 am

เชียงคำในอดีต ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐
น่าจะเป็นสระน้ำใน ร.๑๗ พัน ๔ เพราะมักจะมีผู้คนลงไปจับปลากัน
122865.jpg
122865.jpg (57.31 KiB) เปิดดู 5166 ครั้ง


ภาพ : Naren Punyapu

122866.jpg
122866.jpg (51.22 KiB) เปิดดู 5166 ครั้ง


โรงทอผ้าแม่เขียว ตำบลเวียงยอง อำเมือง ลำพูน
ไฟล์แนป
122871.jpg
122871.jpg (58.75 KiB) เปิดดู 5166 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 16 ก.ค. 2019 10:24 am

วิถีชีวิตชาวเจียงคำ จังหวัดพะเยา พ.ศ.๒๕๐๐

122868.jpg
122868.jpg (50.16 KiB) เปิดดู 5166 ครั้ง


ภาพ : Naren Punyapu

ประกวดนางสาวลำพูน พ.ศ.๒๕๑๗
122894.jpg
122894.jpg (57.89 KiB) เปิดดู 5166 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 18 ก.ค. 2019 6:29 am

วัดวังสิงห์คำ ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง เชียงใหม่

f.jpg
f.jpg (114.54 KiB) เปิดดู 5161 ครั้ง


ในอดีตนั้นฝั่งตะวันออกลำน้ำปิงจะมีวัดร้างวังสิงห์คำ โรงเรียนชายวังสิงห์คำ และท่าน้ำวังสิงห์คำ(ใกล้ๆวัดศรีโขง) ในฝั่งตะวันตกก็มีการใช้ชื่อ วังสิงห์คำ เช่นเดียวกัน "วัดวังสิงห์คำ" ตำบลป่าแดด นั่นเอง


วัดวังสิงห์คำนี้แต่เดิมตั้งอยู่ ณ ที่ดินแปลงที่โรงเรียนวัดวังสิงห์คำตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่เนื่องจากว่า อยู่ห่างไกลจากถนนและแม่น้ำ ไม่สะดวกแก่การคมนาคม ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นส่วนมาก ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ย้ายวัดมาสร้าง ณ ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยมี ท้าวคำวงศ์ษา เป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างวัดที่ใช้ชื่อว่า วัดวังสิงห์คำ


ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา แต่เดิมริมฝั่งน้ำบริเวณตรงที่ต้นจามจุรีมีพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ได้แสดงอภินิหาร ติดเบ็ด ติดอวน ติดแหของชาวบ้านเมื่อมาถึงท่าน้ำหน้าวัดอยู่บ่อยครั้ง ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัด พอตกกลางคืนพระพุทธรูปองค์ก็แสดงอภินิหารกลับลงไปในแม่น้ำปิงตามเดิม และได้แสดงอภินิหารติดเบ็ด ติดอวนของชาวประมงสลับไปมา ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ได้สาปสูญไป เข้าใจว่าคงจะประดิษฐานอยู่ในแม่น้ำปิงดังเดิม

ขอบคุณเจ้าของภาพ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

หนังสือพิมพ์สิริกิตติศัพท์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเชียงใหม่ จัดพิมพ์โดยคณะอเมริกัน เพรสไบทีเรียน มิชชั่น มิชชั่นลาว สถานีเชียงใหม่ ตามหน้าปกบรรยายว่า:

Sirikittisap คือรวมข่าวแลเรื่องต่างๆ (Lao Christian Newspaper and Sunday School Lessons)

126120_resize.jpg
126120_resize.jpg (140.94 KiB) เปิดดู 5150 ครั้ง


กำหนดออก- รายเดือน (ที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพมีตั้งแต่ปี 1906-1926)

ผู้จัดพิมพ์ - American Presbyterian Mission Press หรือโรงพิมพ์วังสิงห์คำ โดยมีบรรณาธิการหลายท่าน แต่ที่ปรากฏมากที่สุดคือนาง Laura B. McKean (ภรรยา นพ.แมคเคน)

ประวัติ - พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1903 เป็นภาษาล้านนาเขียนโดยมิชชันนารีและครูชาวล้านนา ต่อมาจึงมีผู้เขียนจากส่วนกลางมาร่วมด้วย และเริ่มมีเนื้อหาภาษาสยามมาแทรก (พบเป็นครั้งแรกในฉบับเดือนมกราคม 1917) เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการรวมประเทศเข้าส่วนกลาง
เนื้อหา - เป็นหนังสือรวมข่าวจากคริสตจักร ข่าวทั่วไปทั้งในประเทศ (เช่น ข่าวการสร้างทางรถไฟสายเหนือ) และข่าวต่างประเทศ (เช่น ข่าวสงครามโลกครั้งที่ 1 และในฉบับตามรูปเป็นรายงานการสำรวจขั้วโลกใต้) มีบทความที่ให้ความรู้ในด้านต่างๆ คำสอนทั้งของคริสตศาสนาและคำสอนแบบล้านนา มีนิทานและบทกวี มึภาพประกอบบ้างเล็กน้อย (คงจะพิมพ์ยาก) ท้ายเล่มเป็นบทเรียนรวีวารศึกษา สัปดาห์ละ 1 บทเรียน (เรื่องซกูลซะบาโต หรือ Sabbath School) มีขนาดประมาณ 36-44 หน้า

ผู้เขียนบทความ- นางแมคเคน บรรณาธิการ ครูคำอ้าย ไชยวัณณ์ ครูสีโหม้ วิชัย (สองท่านนี้เป็นครูโรงเรียนฝึกหัดพระคัมภีร์และเป็นผู้เตรียมบทเรียนรวีวารศึกษาด้วย)


ภายหลังมีผู้เขียนจากส่วนกลางมาร่วมเขียน เข่น อ.บุญมาก กิตติสาร ศ.เปลื้อง สุทธิคำ (ต่อมาเป็นประธานสภาคริสตจักรในสยามคนแรก) เป็นต้น

อนึ่ง ได้เกริ่นเรื่องการใช้ภาษาสยามในหนังสิอพิมพ์ล้านนานี้มาบ้างจึงขอเพิ่มเติมว่า หลังจากรัฐบาลสยามตั้งมณฑลลาวเฉียงในปี 1893 (2436) ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในล้านนามาตามลำดับ โดยในปี 1904 มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการศึกษา มณฑลพายัพ พอถึงปี 1906 รร. ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยเริ่มใช้หลักสูตรกระทรวงธรรมการและในปี 1912 มีการยกเลิกการเรียนภาษาล้านนาในโรงเรียนนี้ พอถึงปี 1918 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ และที่สำคัญคือในปี 1921 รัฐบาลตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ มีข้อหนึ่งคือผู้บริหารและเจ้าของโรงเรียนต้องมีสัญชาติไทยและจบชั้นมัธยมศึกษาบริบูรณ์เท่านั้น ทำให้โรงเรียนของคณะมิชชั่นในชนบทต้องพากันปิดไป (ที่จริงรัฐบาลออกมาเพื่อบังคับโรงเรียนจีน) และในปี 1936 มีการยกเลิกการใช้ภาษาล้านนาในโรงเรียนในภาคเหนือ

ขอเท้าความถึงประวัติหนังสือพิมพ์ในภาคเหนือเล็กน้อย คือเมื่อโรงพิมพ์อุปโยคินตั้งในปี ๒๔๖๗ และโรงพิมพ์อุปติพงศ์ตั้งในปี ๒๔๖๘ แล้ว หนังสือพิมพ์ดัดจริตที่อ้างว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในภาคเหนือ จะตีพิมพ์ในปี ๒๔๕๓ ได้อย่างไร

(อ้างอิงจาก บุญเสริม สาตราภัย, ผู้รวบรวม. "หนังสิอพิมพ์ในเชียงใหม่สมัยก่อน" ไทยนิวส์, 4-11 พฤศจิกายน 2520/ Herbert R. Swanson. This Seed: Missionary Printing and Literature as Agents of Change in Northern Siam 1892-1926,[1988]/Vachara Sindhuprama. "Modern Education and Socio-Cultural Change in Northern Thailand" [Ph.D Dissertation, University of Hawaii, 1988]/ ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. คริสเตียนกับการจัดการศึกษาในประเทศไทย, ไม่ทราบปีพิมพ์)
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 27 ก.ค. 2019 4:04 pm

ตำนานดอยจอมหด – เรื่องเล่าจากดอยหลวง สายสัมพันธ์แห่งความเชื่อ “อารักษ์แห่งเมือง”
ชาวล้านนามีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่า เจ้าหลวงคำแดง อารักษ์ผู้เป็นใหญ่แห่งล้านนาสถิตอยู่ที่ดอยหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในทุกๆวันพระ อารักษ์เมือง เชนเมือง จึงมีการชุมนุมและถือศีลกันที่ดอยหลวง ซึ่งอารักษ์เมือง เชนเมือง ที่สถิตอยู่แห่งอื่นก็จะมาร่วมชุมนุมโดยพร้อมเพรียงกัน ดังเรื่องเล่าที่กล่าวอ้างถึง นายเส็ด พรานล่าเนื้อ ที่หายไปหลังจากเดินทางไปยังดอยหลวง

0-20-800x445_resize.jpg
0-20-800x445_resize.jpg (34.35 KiB) เปิดดู 5129 ครั้ง

(ดอยหลวงเชียงดาว-ขอบคุณภาพจากอินเทอรืเน็ต)

มักมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนหายหลังเข้าไปในดอยหลวงเชียงดาว บริเวณถ้ำหลวงซึ่งอยู่เชิงดอย เรื่องเล่าที่เชื่อมโยงถึงดอยจอมหด ได้แก่ เรื่องของ นายเส็ดชาวบ้านแม่ก๊ะ อำเภอเชียงดาว ที่ได้หายไปในถ้ำทำนองเดียวกัน เขาหายตัวไปนาน ๓ - ๔ เดือน ถึงแม้จะมีคนออกไปค้นหาเท่าใดก็ไม่พบ จนต้องไปพึ่งหมอไสยศาสตร์ให้ทำพิธีร้องเรียกให้กลับมา หลังทำพิธีเมื่อเทพเจ้าภายในถ้ำเชียงดาวทราบว่าพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และลูกเมียของนายเส็ดได้ทำพิธีเรียกร้องให้กลับบ้าน เทพเจ้าจึงปล่อยตัวเขา แต่ว่ามีข้อแม้ว่านายเส็ดจะต้องเดินทางไปเชิญเทพเจ้าทั้งหลายที่สถิต ณ ที่ดอยจอมหด อำเภอพร้าว ให้ร่วมมาชุมนุมกับเทพเจ้าที่ดอยหลวงเชียงดาวและดอยนางเสียก่อน

ไม่เพียงเรื่องเล่าเรื่องคนหายเท่านั้นที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างดอยจอมหดและดอยหลวง คนทั่วไปยังมีความเชื่อว่า เมื่อเข้าไปในถ้ำหลวงเชียงดาวแล้วจะสามารถเดินทะลุมาถึงดอยจอมหดอำเภอพร้าวได้อีกด้วย ความเชื่อเหล่านี้อาจจะเป็นเพราะตำนานที่เล่าสืบทอดกันมาก็เป็นได้

128760_resize.jpg
128760_resize.jpg (42.35 KiB) เปิดดู 5129 ครั้ง

(ดอยจอมหดอำเภอพร้าว-ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก)

ตำนาน ที่มาของชื่อดอยจอมหดและดอยสลุง
มีความเชื่อว่า บนดอยสลุง หรือดอยหลวงเชียงดาว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่ เมื่อพระอินทร์และเทวดาต้องการปู่จา (บูชา) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะเอารางรินมาพาดจากดอยจอมหดไปยังดอยสลุง แล้วนำน้ำทิพย์รด(หด)ลงไปบนรางรินนั้น นี่คือที่มาของชื่อดอยจอมหด อำเภอพร้าว และดอยสลุง อำเภอเชียงดาว
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 04 ส.ค. 2019 4:46 pm

สืบเนื่องจากที่กล่าวถึงวัดสังเวชและวัดร่ำเปิงในที่มาของพล็อตนิยาย "ตราบสิ้นอสงไขย" ก็เลยอยากให้ทราบประวัติกัน มาค่ะ จะเล่าให้ฟัง

วัดสังเวชเป็นวัดที่พระเจ้ายอดเชียงราย หรือพระญายอดเชียงราย กษัตริย์เชียงใหม่ ราชวงศ์มังราย องค์ที่๑๐ ได้มีรับสั่งให้ประหารบุคคลที่ใส่ร้าย ว่าท้าวบุญเรืองพระราชบิดาของพระองค์วางแผนแย่งชิงราชบัลลังก์พระเจ้าติโลกราช(ท้าวบุญเรืองเป็นโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้าติโลกราช) ทำให้ท้าวบุญเรืองต้องโทษประหาร ต่อมาเมื่อพระเจ้ายอดเชียงรายขึ้นนั่งแท่นแก้วเสวยเมืองจึงรับสั่งให้ประหารผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใส่ร้ายพระราชบิดา แต่ต่อมาพระองค์ทรงเกิดความสลดพระทัยเกรงว่าจะเป็นการสร้างเวรกรรมต่อกัน จึงได้สร้างวัดสังเวชขึ้น ในปี พ.ศ.๒๐๓๕

10391498_1066854276699941_5004556497367768689_n.jpg
10391498_1066854276699941_5004556497367768689_n.jpg (114.5 KiB) เปิดดู 5080 ครั้ง


พระราชประวัติพระญายอดเชียงราย

พระญายอดเชียงราย มีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระเมืองยอด(ท้าวยอดเมือง) ทรงเป็นกษัตริย์ล้านนาลำดับที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์มังรายทรงเป็นโอรสของท้าวบุญเรือง เจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองประสูติที่เชียงราย และในฐานะที่เป็นหลานของพระเจ้าติโลกราชจึงได้ครองเมืองแช่สัก ท้าวยอดเมืองเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกสงครามของพระเจ้าติโลกราช ครั้นถึงปลายรัชสมัยของพระอัยกา ท้าวบุญเรืองพระบิดาต้องอาญาถูกเนรเทศไปอยู่เมืองน้อยและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา เพราะเหตุถูกท้าวหอมุก พระสนมเอกของพระเจ้าติโลกราชทูลยุยงใส่ร้ายท้าวบุญเรือง ท้าวยอดเมืองในฐานะโอรสของท้าวบุญเรืองจึงได้รับสิทธิในการสืบราชสมบัติแทนพระบิดา ครั้นพระเจ้าติโลกราชสิ้นพระชนม์ ท้าวยอดเมืองจึงได้ขึ้นครองราชย์ในล้านนาต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระญายอดเชียงรายขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๓๒ พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ ๘ ปี (คัมภีร์ชินกาลมาลีเรียกพระนามว่า ชังรายัคคราชา) ทรงจัดพิธีถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าติโลกราช ผู้เป็นพระอัยกา ณ วัดมหาโพธาราม แล้วก่อสถูปใหญ่บรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุไว้ในวัดนั้น ใน พ.ศ. ๒๐๓๕ ทรงสร้างวัดตโปทาราม และโปรดให้ชำระขัณฑสีมาที่เกาะดอนแท่น

ในรัชกาลนี้ปรากฏเหตุพระแก้วขาว พระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ หอพระแก้วหายไป จึงทรงให้สืบได้ความว่าพระภิกษุชาวอยุธยาทำอุบายลอบนำไปยังอยุธยา หลังจากส่งสาส์นและเครื่องบรรณาการไปยังพระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้า พระญายอดเชียงรายจึงยกทัพหลวงไปกรุงศรีอยุธยา ตั้งทัพเพื่อทวงเอาพระแก้วขาว เวลาล่วงไป ๑ เดือนจึงได้พระแก้วขาวคืนมา ในช่วงดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง โดยหลักฐานของจีนทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระญายอดเชียงรายทรงตอบสนองความต้องการของจีนหรือกรมการเมืองของยูนนานมาก จนไม่สนใจความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่นคือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงพระญายอดเชียงรายไม่รักเจ้าแก้ว(รัตนราชกุมาร) ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดจากพระเทวีชื่อ ปงน้อย (ปร่งน้อย หรือโป่งน้อย) แต่กลับเอาใจใส่ลูกฮ่อ ซึ่งเลี้ยงเป็นลูกและให้ไปครองเมืองพร้าว ทั้งยังมีการกล่าวถึงเจ้าแก้วที่ถูกบังคับให้ไหว้ลูกฮ่ออีกด้วย เนื่องจากการที่พระองค์สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนางเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรับฟังขุนนาง ซึ่งขุนนางเหล่านั้นต่างเชื่อถือโชคลางและเห็นว่าวิปริตต่างๆ เกิดจากการปฏิบัติที่มิได้เป็นไปตามขัติยประเพณีจารีต ท้าวคลองพญา หมู่อำมาตย์ราชวงศานุวงศ์สมณพราหมณาจารย์และราษฏรพากันเดือดร้อน ท้ายที่สุดพระองค์ก็ถูกขุนนางปลดออกจากราชสมบัติ แล้วถูกเนรเทศไปอยู่เมืองชวาดเมืองน้อย(เมืองซะมาดในเขตแม่ฮ่องสอน) ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๓๘ จากนั้นก็ยกเจ้ารัตนราชกุมาร ชนมายุ ๑๔ พรรษา ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดกับนางโป่งน้อยขึ้นครองราชย์แทนต่อมาขณะที่มีการยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์ ก็พบว่านางโป่งน้อย มีอำนาจสูงมาก เนื่องจากมีบทบาทในการปกครองร่วมกับพระโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า "พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ “พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง”ขณะเดียวกันบทบาทของขุนนางได้เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ ส่วนกษัตริย์กลับถูกลิดรอนอำนาจ ส่วนพระญายอดเชียงราย เมื่อถูกปลดและเนรเทศไปอยู่เมืองชวาดเมืองน้อย (เขตตำบลแม่ขะจาน เวียงป่าเป้า) อยู่ต่อมาอีก ๑๑ ปี ชนมายุได้ ๕๑ พรรษาจึงสิ้นพระชนม์ในปีขาล พ.ศ.๒๐๔๙

(ใกล้ๆวัดร่ำเปิงมีวัดโป่งน้อย ชื่อเดียวกับพระนางโป่งน้อยด้วย)

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
เมื่อพระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคต ราษฎรได้พร้อมใจกันอันเชิญพระเจ้ายอดเชียงรายขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่พระองค์ทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วจึงทรงดำเนินการสอบสวนหาผู้ที่เป็นต้นเหตุยุแหย่ให้ท้าวศรีบุญเรืองพระบิดาต้องสิ้นพระชนม์ จนทำให้พระมารดาของพระองค์ตรอมพระทัยถึงกับสติวิปลาส พระองค์ทรงกำหนดโทษ ให้ประหารชีวิตแก่ผู้ที่เป็นต้นเหตุ แต่ด้วยพระองค์ทรงเป็นผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ภายหลังที่ได้สั่งให้สำเร็จโทษผู้กระทำผิดไปแล้ว ก็ทรงเกรงจะเป็นเวรกรรม จึงทรงดำริที่จะหาทางผ่อนคลายมิให้เป็นบาปกันต่อกันสืบต่อไป ครั้งนั้นมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาจากต่างเมืองได้ปักกลดอยู่ที่เชิงดอยสุเทพที่ตั้งวัดร่ำเปิงเวลานี้ ได้ทูลพระเจ้ายอดเชียงรายว่า ณ ต้นมะเดื่อไม่ห่างจากที่ท่านปักกลดอยู่เท่าใดนักได้มีรัศมีพวยพุ่งขึ้นในยามราตรี สันนิษฐานว่าจะมีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระเจ้ายอดเชียงรายจึงทรงช้างพระที่นั่งอธิษฐานเสี่ยงทายว่า ถ้ามีพระบรมธาตุประดิษฐานอยู่จริง และพระองค์จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป แล้วก็ขอให้ช้างพระที่นั่งไปหยุด ณ ที่แห่งนั้น ทรงอธิษฐานแล้วก็ทรงช้างเสด็จไป ช้างนั้นก็ได้พาพระองค์มาหยุดอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ พระองค์จึงได้ขุดรอบๆ ต้นมะเดื่อนั้น ก็ทรงพบพระบรมธาตุเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในผอบดินแบบเชียงแสน พระองค์จึงทรงทำพิธีสมโภ และอธิษฐานขอเห็นอภินิหารของพระบรมธาตุนั้น จากนั้นจึงบรรจุลงในผอบทอง แล้วนำไป บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณนั้น และจารึกประวัติการสร้างวัดลงในศิลาจารึก แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “วันศุกร์ขึ้นสามค่ำเดือนเจ็ด ปีชวด พุทธศักราชสองพันสามสิบหาปี เวลา ๐๘.๒๐ น. ได้ฤกษ์ภรณี (ดาวงอนไถ) ได้โยคมหาอุจจ์” โดยมีพระนางอะตะปาเทวี ซึ่งเป็นพระมเหสี ดำเนินการสร้างแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งที่เป็นพระมหาเถระและผู้สร้างฝ่ายอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นประธาน และพระพุทธรูปตามซุ้มที่พระธาตุเจดีย์กับได้สร้างพระไตรปิฏกและพระราชทานทรัพย์ (นา) เงิน (เบี้ย) เป็นจำนวนมหาศาล

วัดร่ำเปิง_resize.jpg
วัดร่ำเปิง_resize.jpg (154.81 KiB) เปิดดู 5080 ครั้ง


สำหรับชื่อวัดร่ำเปิงนั้น ตามข้อความของอาจารย์มุกดา อัยยเสน ที่อ้างถึงคำปรากฏของพระเจ้ายอดเชียงราย ว่า “ ในขณะที่สร้างวัดพระองค์ทรงรำพึงถึงพระราชบิดา และพระราชมารดาอยากจะให้ทั้งสองพระองค์มีพระชนม์อยู่จะได้ร่วมทำบุญในครั้งนี้ด้วย และเพื่อให้เป็นที่บูชาคุณของทั้งสองพระองค์พระเจ้ายอดเชียงราย จึงทรงตกลงพระทัยให้ชื่อวัดที่สถาปนาขึ้นใหม่นี้ว้า “วัดร่ำเปิง” ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ และตรงกับคำว่า”รำพึง ในภาษากลางอันมีความหมายว่า “คร่ำคราญ ระลึกถึง คนึงหา”
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 68 ท่าน

cron