เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

เรื่องราวของอาณาจักรล้านนา

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » ศุกร์ 25 ต.ค. 2019 5:29 pm

การเลื่อยไม้ในอดีต ไม่ทราบ พ.ศ.
12026.jpg
12026.jpg (76.94 KiB) เปิดดู 6644 ครั้ง


วิถีชีวิตเก่าๆ
12044.jpg
12044.jpg (54.54 KiB) เปิดดู 6644 ครั้ง


ในยุคที่ยังเต็มไปด้วยล้อเกวียน
12054.jpg
12054.jpg (50.38 KiB) เปิดดู 6644 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » ศุกร์ 01 พ.ย. 2019 10:31 am

ภาพประตูมหาวัน จังหวัดลำพูน ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐
ถ่ายภาพโดยมิชชันนารี
141160.jpg
141160.jpg (28.18 KiB) เปิดดู 6612 ครั้ง


มองความเป็นล้านนาผ่านคำบอกเล่าและข้อมูลเก่า “ลิลเลียน เจ.เคอร์ทิส” (Lillian J. Curtis) หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันเคยกล่าวถึงภาพรวมของแม่ญิงล้านนาว่า “มีความขยันพากเพียร ฉลาดมากกว่าผู้ชาย เธอสามารถควบคุมสามีและมีสิทธิที่จะขับไล่สามีได้ตามใจชอบ ผู้หญิงคนเมืองมีความมั่นคงด้านกฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจมากกว่าผู้หญิงชาวสยาม” ข้อมูล : เพ็ญสุภา สุขคตะ มติชนสุดสัปดาห์

วิถีล้านนานั้น คนล้านนามีคนเป็นทาสน้อยมาก และทาสไม่ได้ถูกกดขี่ข่มเหง คนทั่วไปจะเป็นชนชั้นไพร่ (ชาวเมืองทั่วไป) ในส่วนของขุนนางในราชสำนักหากทำความผิดจะต้องโทษหนักกว่าประชาชนธรรมดาเนื่องจากได้รับสิทธิ์และศักดิ์มากกว่าคนทั่วไป เพราะทำงานให้แผ่นดิน จึงต้องวางตนเป็นแบบอย่าง และหากทำผิดอาจจะมีผลกระทบต่อบ้านเมืองได้ ด้วยโครงสร้างสังคมเช่นนี้จึงทำให้วิถีชีวิตชาวล้านนานั้นร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
ภาพ : สมภพ แสงพรหม
สมภพ แสงพรหม 1.jpg
สมภพ แสงพรหม 1.jpg (470.72 KiB) เปิดดู 6612 ครั้ง


การเต้นแม้ว ในงานพิธียกฉัตรขึ้นยอดพระธาตุ หน้าพระธาตุเจดีย์ ในงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ฉลองพระธาตุ วัดห้วยเกี๋ยง หมู่ ๘ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘


ที่มา : Narin Sroymano
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พุธ 06 พ.ย. 2019 6:09 am

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา (มหาพรหม ณ น่าน)เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย พ.ศ.๒๔๓๐
2430.jpg
2430.jpg (21.65 KiB) เปิดดู 6566 ครั้ง


ล่องแพแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย พ.ศ.๒๕๑๐
2510.jpg
2510.jpg (17.72 KiB) เปิดดู 6566 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » อาทิตย์ 10 พ.ย. 2019 7:59 pm

วัดภูมินทร์ ตั้งอยู่ใกล้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน เป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ อุโบสถและวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน
มีประตูไม้ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งแกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมาตามพงศาวดารเมืองน่าน วัดภูมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช๒๓๑๙ โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้นหลังจากขึ้นครองนครน่านได้ ๖ ปี ปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ"วัดพรหมมินทร์" ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้าง แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดังกล่าว ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย คือเป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข(กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถจตุรมุขของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ๔ องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้านและความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
23479.jpg
23479.jpg (24.37 KiB) เปิดดู 6529 ครั้ง


ปราสาทนกหัสดีลิงค์
23481.jpg
23481.jpg (40.5 KiB) เปิดดู 6529 ครั้ง

เป็นเครื่องประกอบพิธีส่งสการเก่าแก่ของคนล้านนา สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเชียงรุ้งแห่งสิบสองปันนา เป็นการยกย่องพระเถระผู้มีความเคารพ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพิธีกรรมปลงศพด้วยนกหัสดีลิงค์เริ่มขึ้นบนแผ่นดินล้านนาตั้งแต่ยุคใด และมีความเก่าแก่ไปถึงยุคหริภุญไชยหรือทวารวดีหรือไม่ ทราบแต่ว่าเริ่มมีแล้วแน่ๆ ในยุคล้านนาตอนปลาย

หนังสือ “พงศาวดารโยนก” กล่าวถึงการสร้างพิมานบุษบกบนหลังนกหัสดีลิงค์ในงานถวายพระเพลิงศพนางพระญาวิสุทธิเทวี กษัตรีย์แห่งราชวงศ์มังรายผู้ครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้าย ราวปี พ.ศ.๒๑๒๑ ซึ่งเป็นยุคที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว ถือว่าเป็นหลักฐานที่เป็นรูปธรรมชิ้นแรกที่กล่าวถึงนกหัสดีลิงค์ในล้านนา

“จุลศักราช ๙๔๐ ปีขาล สัมฤทธิศก เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ…..นางพระญาวิสุทธิเทวี….ตนนั่งเมืองนครพิงค์…ถึงสวรรคต พระญาแสนหลวงจึงแต่งการพระศพ….ทำเป็นวิมานบุษบกตั้งอยู่บนหลัง….นกหัสดินทร์ตัวใหญ่….แล้วฉุดลากไปด้วยแรงช้างคชสาร……ชาวบ้าน ชาวเมืองเดินตามไป…..เจาะกำแพงเมืองออกไปทางทุ่งวัดโลกโมฬี….และทำการถวายพระเพลิง ณ ที่นั้น…..เผาทั้งรูปปนกหัสฯ และวิมานบุษบกนั้นด้วย….. “

ด้วยเหตุที่พระนางวิสุทธิเทวีปกครองล้านนาภายใต้การบังคับบัญชาของพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า ทำให้นักวิชาการบางท่านเห็นว่าประเพณีนี้อาจถูกนำมาสถาปนาในล้านนาโดยพม่าหรือไม่ เมื่อศึกษาให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกชั้นพบว่าพม่ารับวัฒนธรรมส่วนใหญ่มาจากชาวมอญอีกทีหนึ่ง แต่ที่น่าสงสัยก็คือในปัจจุบันทั้งชาวมอญ (หงสาวดี) และชาวพม่าในเมืองสำคัญๆ กลับไม่ปรากฏว่ามีพิธีการทำศพด้วยนกหัสดีลิงค์อีกต่อไป (อาจถูกตัดตอนไปแล้วในยุคล่าอาณานิคม) ยกเว้นแต่คำบอกเล่าของปราชญ์ชาวมอญบ้านเกาะเกร็ดนนทบุรี ที่บอกว่าคนเฒ่าคนแก่เคยเล่าถึงพิธีลากปราสาทศพนกหัสดีลิงค์เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันพิธีนี้ก็ยกเลิกไปแล้วเช่นกัน

เมื่อเปรียบเทียบกับทางกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ๔๐๐ ปีก่อนได้พบคำว่า เมรุเผาศพ ขึ้น (เมรุแทนสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ) ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง ราว พ.ศ.๒๑๘๑ ว่ามีการสร้างวิมานขนาดใหญ่กลางนคราเพื่อเป็นที่ถวายพระเพลิงศพกษัตริย์เป็นการเฉพาะ อันเป็นรูปแบบที่จำลองมาจากปราสาทหินนครวัด ซึ่งทางกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับทางขอมมากกว่ามอญ จึงไม่ปรากฏเรื่องราวของนกหัสดีลิงค์

นกสักกะไดลิงค์จากเชียงรุ้งสู่ทุ่งศรีเมือง

พิธีส่งสการศพด้วยนกหัสดีลิงค์ในล้านนามีธรรมเนียมสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าวิสุทธิเทวี เคียงคู่ขนานกับรัฐหลายรัฐในสายตระกูล “ล้านนา-ล้านช้าง” อาทิ รัฐฉาน และเชียงตุงในพม่า เมืองหลวงพระบาง เมืองจำปาสัก ในลาว ข้อสำคัญยังพบพิธีกรรมนี้ที่อำเภอทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีเจ้านายสืบเชื้อสายมาจากเมืองเชียงรุ้ง (เชียงรุ่ง) ในสิบสองปันนา

ตำนานการทำศพด้วยนกสักกะไดลิงค์ฉบับทุ่งศรีเมืองกล่าวว่า

“มีนครหนึ่งชื่อนครเชียงรุ้งตักศิลา พระเจ้าแผ่นดินถึงแก่สวรรคต พระมเหสีนำพระบรมศพแห่แหนไปถวายพระเพลิงนอกเมือง นกสักกะไดลิงค์ บินจากป่าหิมพานต์มาเห็นเข้าจึงได้โฉบลงแย่งพระศพ พระมเหสีให้หาคนที่จะสู้นกแย่งเอาพระศพคืน ในที่สุดมีหญิงสาวผู้หนึ่งชื่อ เจ้านางสีดา เป็นบุตรีของมหาราชครู อาสาต่อสู้นก เจ้านางสีดามีวิชายิงศรเป็นเยี่ยม ได้ใช้ศรยิงถูกนกใหญ่ตกลงมาถึงแก่ความตาย พระมเหสีจึงให้ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของกษัตริย์พร้อมนกใหญ่ จนกลายเป็นธรรมเนียมสำหรับเจ้านายเชื้อสายจำปาสักว่า เมื่อถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ให้ทำพระเมรุรูปนกสักกะไดลิงค์ประกอบหอแก้วแล้วเชิญศพขึ้นตั้ง ชักลากออกไปบำเพ็ญพระกุศลครบถ้วน ๓ วันจึงเผา ก่อนเผาต้องมีพิธีฆ่านก แล้วเผาทั้งศพทั้งนก”

พิธีปลงศพด้วยนกสักกะไดลิงค์ที่อุบลราชธานีในอดีตนั้นมีความหรูหราอลังการมาก นั่นคือต้องชักลากปราสาทศพออกไปบำเพ็ญกุศลกลางท้องทุ่งศรีเมืองเป็นเวลา ๓ ถึง ๕ วันจึงจะเผา เจ้าภาพต้องจัดโรงทานไว้ตลอดงานสำหรับคนที่มาร่วมงานพิธีฆ่านก ผู้ฆ่าต้องเป็นนางทรงที่สืบสกุลจากเจ้านางสีดา ซึ่งมีการสืบทอดเชื้อสายกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ก่อนมีพิธีฆ่านก เจ้าภาพจะจัดพิธีทอดผ้าบังสุกุลตามพุทธศาสนาเสียก่อน หลังจากเผานกและเมรุแล้ว คืนนั้นจะมีมหรสพสมโภชอัฐิไปด้วย รุ่งเช้าเก็บอัฐิและอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย แล้วนำอัฐิไปก่อธาตุบรรจุต่อไป


เมื่อกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ปกครองเมืองอุบลได้มาร่วมงานประเพณีนี้ เห็นว่าเป็นการแข่งบารมีกับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามที่มีการเผาพระบรมศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกประเพณีการเผาศพเจ้านายที่ทุ่งศรีเมืองเสีย จากนั้นแนวความคิดรวมศูนย์อำนาจดังกล่าวได้แพร่หลายนำไปใช้เป็นแบบอย่าง ในการออกคำสั่งให้ยกเลิกพิธีปลงศพเจ้านายด้วยนกหัสดีลิงค์บนแผ่นดินล้านนาทั่วทุกเมืองอีกเช่นกัน

ด้วยเหตุผลที่ว่าอาณาจักรล้านนาและล้านช้างฟากตะวันตกของแม่น้ำโขงถูกรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรสยามแล้ว ดังนั้นจึงมีพระมหากษัตริย์ได้เพียงหนึ่งเดียว ทางรัฐบาลสยามเกรงว่าหากปล่อยให้มีพิธีถวายพระเพลิงศพเจ้านายบนปราสาทนกหัสดีลิงค์ซึ่งมีความสง่างาม ยิ่งใหญ่สมฐานะบารมีต่อไปเรื่อยๆ จะเป็นการแข่งขันกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงของกษัตริย์ราชวงศ์จักรี


การเมืองเรื่องปราสาทศพนกหัสดีลิงค์

แม้กระนั้นชาวล้านนาและชาวอุบลยังขออนุโลมให้ได้จัดพิธีดังกล่าวสำหรับพิธีศพของพระเถระชั้นผู้ใหญ่บ้าง เพื่อมิให้ประเพณีนี้สูญหายไป เฉพาะการลากจูงศพนั้น ต้องใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านแบบโบราณ ด้านล่างของปราสาทไม่มีล้อและกลไกขับเคลื่อน แต่ใช้ต้นมะพร้าวสองต้นเป็นส่วนฐานลากแทนล้อรถ ต้องใช้แรงงานคนในการบังคับการเลี้ยว และใช้ไม้พลองในการงัดต้นมะพร้าว ให้ไปตามทิศทางที่จะเลี้ยวด้วยความยากลำบากยิ่ง แต่การลากจูงสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของวิถีชาวบ้านอย่างแท้จริง

ภาพของประชาชนนับหมื่นที่แห่เข้าร่วมขบวนลากจูงปราสาทศพนกหัสดีลิงค์ของพระเถระผู้ใหญ่ จากวัดเคลื่อนไปตามท้องถนนสู่เมรุเผาศพในแผ่นดินล้านนานั้นกว่าจะมีให้เห็นประปรายสักครั้งจึงยากแสนเข็ญ เหตุเพราะภาครัฐและการเมืองได้เข้ามาอุปถัมภ์การจัดพิธีกรรมนี้ เพื่อจะได้กลั่นกรองพิจารณาเห็นชอบอนุญาตให้จัดได้เฉพาะพระเถระที่ทรงคุณธรรมเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความรู้ในพระปริยัติแตกฉานเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ตนบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา แต่ถูกสยามมองว่าเป็น “กบฏผีบุญ” ทั้งหลาย เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย จะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดพิธีศพด้วยปราสาทนกหัสดีลิงค์ แม้รัฐบาลจะมีส่วนช่วยให้พิธีกรรมส่งสการศพด้วยนกหัสดีลิงค์นี้ยังดำรงอยู่ หากแต่ในแง่หนึ่งนั้นก็สะท้อนให้เห็นว่า ภาคการเมืองได้พยายามใช้พิธีกรรมนี้เป็นเวทีการกดข่มและขีดวงล้อมกรอบทางประเพณีของคนในท้องถิ่นไว้ด้วยเช่นกัน


ปัจจุบันไม่มี “เจ้านาย” องค์ไหนของทางล้านนาและเมืองอุบลราชธานีมีสิทธิ์ได้รับเกียรติอันสูงส่ง ในการปลงศพด้วยปราสาทนกหัสดีลิงค์อีกต่อไปแล้ว แต่หากไม่ช่วยกันรักษา “พื้นที่” อนุรักษ์พิธีกรรมนี้ไว้เมื่อพระสงฆ์ผู้หลักผู้ใหญ่ถึงแก่มรณภาพ คนในท้องถิ่นก็จะขาดสำนึกทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ในแง่ของการผลิตซ้ำอุดมการณ์ความเชื่อที่ว่าพวกตนต่างสืบเชื้อสายมาจากกลุ่ม “ล้านนา-ล้านช้าง”

เพ็บสุภา สุขคตะ.เปิดตำนาน-ความหมาย ‘ปราสาทนกหัสดีลิงค์’ ปลงศพเจ้า เผาศพพระ ในวัฒนธรรมล้านนา-ล้านช้าง.มติชน

ว่าวลม
ว่าวลม.jpg
ว่าวลม.jpg (56.71 KiB) เปิดดู 6529 ครั้ง

ในประเพณียี่เป็ง มีการจุดโคม (ปกติคนเหนือจะเรียกว่าว่าวลม หรือบางท้องถิ่นเรียก ว่าวฮม และว่าวไฟ) ประกอบด้วย “โคมลอย” จุดตอนกลางวัน และ ปล่อย “โคมไฟ” ตอนกลางคืน เพื่อคารวะต่อพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ การจุดโคมไฟและโคมลอยจะเกิดขึ้นโดยประชาชนรวมตัวกันนำกระดาษสีอะไรก็แล้วแต่เอาไปรวมกันที่วัด แล้วก็ไปช่วยกันต้มแป้งเปียกเพื่อใช้เหมือนกาวติดกระดาษ ได้โคมกระดาษลูกกลมๆ โตๆ สูง ๖ ฟุต มีรูข้างล่าง เพื่อใช้จุดไฟอัดควันเข้าไป ระหว่างช่วยกันทำคนในชุมชนก็ได้พูดคุยกันไป เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน และยังประหยัดไม่ต้องซื้อหา

ส่วนกาลเทศะในการจุด “โคมลอย” นั้นจะจุดตอนเช้าก่อนหรือหลังจากพระฉันเพล ส่วนแต่ละวัดจะทำได้กี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธาของแต่ละวัด โดยทั่วไปจะจุดโคมลอยประมาณ ๖ ลูก และอีก ๖ ลูก จะไว้จุดกลางคืน เป็น “โคมไฟ”

ลูกที่จุดกลางวันจะมีแต่ควันอย่างเดียว ส่วนลูกที่จุดกลางคืนจะใช้ “ไต้” แขวนด้านล่าง เมื่อลอยขึ้นฟ้าจะมีแสงสว่างด้วย ซึ่ง “โคมไฟ” นี้จะมีการจุดช่วงหัวค่ำ คือจุดก่อนจะมีการเทศน์มหาชาติที่จะเริ่มประมาณหนึ่งทุ่ม จนไปถึงสิบโมงเช้า

ประเด็นหลักหัวใจของล้านนาในอดีตเป็นเรื่องชุมชน และวัดทำโคมเพื่อถวายพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี ไม่ได้ผลิตจากโรงงาน วัสดุในการทำโคมก็เป็นชนิดเดียวกับที่ทำตุง โคมไฟในสมัยก่อนมีลูกใหญ่มีกำลังแรงลอยไปไกล ไฟทำจาก “ไต้” พอลอยลับตาคนก็ดับแล้ว ไม่ใช่ร่วงลงมาดับบนพื้น

โคมอย่างที่เราเห็น แต่แตกต่างจากประเพณีโบราณ เพราะตัวโคมทำจากกระดาษก็มีลักษณะเหนียวเหมือนเคลือบพลาสติก ส่วนไฟก็ทำจากกระดาษชำระชุบขี้ผึ้ง ซึ่งจะเผาไหม้นานมากไฟไม่ได้ดับบนอากาศ เป็นโคมเล็กๆ จากต้นทุน ๖ บาท แล้วนำมาขาย ๓ ลูก ๑๐๐ บาท หรือลูกละ ๖๐ บาท วิธีการผลิตและวิธีใช้ แบบทุนนิยม ผลิตจำนวนเยอะๆ ซื้อมาจุดได้ง่ายๆ ไม่ต้องเกิดจากความร่วมมือของชุมชน

(เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ของดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการด้านท้องถิ่น และล้านนาศึกษา)
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » เสาร์ 16 พ.ย. 2019 8:50 am

หอธรรมหอไตรเก็บคัมภีร์โบราณ วัดประตูป่า ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ไม่ทราบปีที่ถ่าย
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
28268.jpg
28268.jpg (50.28 KiB) เปิดดู 6507 ครั้ง


รถม้าที่จังหวัดลำปาง พ.ศ.๒๔๕๕
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
28270.jpg
28270.jpg (55.19 KiB) เปิดดู 6507 ครั้ง



สี่แยกวัดมุงเมือง จังหวัดเชียงราย หรือที่เรียกกันว่า กาดหลวงเจียงฮาย ถ่ายเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ ช่างภาพถ่ายภาพโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วัดมุมเมืองอยู่ทางด้านขวา
ภาพ : วารสารล้อล้านนา
29178.jpg
29178.jpg (36.87 KiB) เปิดดู 6497 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย admin » พุธ 20 พ.ย. 2019 4:58 am

ภาพถ่ายในปี พ.ศ.๒๔๗๙ เหตุการณ์ที่ชาวเหนือมารอรับครูบาศรีวิชัยอย่างมืดฟ้ามัวดิน
39927.jpg
39927.jpg (61.13 KiB) เปิดดู 6410 ครั้ง

ภาพนี้คนเฒ่าคนแก่ทุกคนยืนยันชัดเจน ทั้งลูกหลานของหลวงอนุสารสุนทรและทายาทของหลวงศรีประกาศ ระบุว่าเป็นภาพถ่ายที่สถานีรถไฟลำพูน ในคราวที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยพ้นจากคดีต้องอธิกรณ์ ครั้งที่ ๖ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย

วันนั้น คนลงนอนให้ท่านเหยียบหลังต่อเนื่องเป็นสายไม่ขาด จากสถานีรถไฟยาวมาถึงวัดเชียงยืน เพียงแต่ชาวบ้านอาจไม่แม่นยำ จำปีศักราชไม่ได้ว่าครั้งไหนเป็นครั้งไหน เพราะครั้ง พ.ศ.๒๔๖๓ตอนลงรถไฟที่สบตุ๋ย จังหวัดลำปางนั้นเป็นที่รู้จักกันมากกว่า

ในตำนานค่าวซอ และใบลานทุกฉบับกล่าวตรงกันว่า ช่วงที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยพ้นจากมลทินปี พ.ศ.๒๔๖๓ นั้น ท่านนั่งรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟลำปาง บริเวณสบตุ๋ย มีชาวลำปางมารอรับกว่าแปดพันคน

การต้องอธิกรณ์ครั้งสุดท้ายหรือครั้งที่ ๖ เว้นช่วงไปอีกนานถึง ๑๖ ปี คือ พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านถูกดำเนินคดีอีกครั้งหลังจากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพเสร็จใหม่ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๘ คดีนี้ยืดเยื้อนานยาว กว่าจะได้รับอิสรภาพก็คาบเกี่ยวกับปี พ.ศ.๒๔๗๙

ครั้งหลังนี้ ชาวเชียงใหม่เมื่อทราบวันเวลาว่าท่านจะกลับ ก็เฝ้ารอรับท่านลงที่สถานีรถไฟแถวสันป่าข่อย แต่ท่านเลือกที่จะลงลำพูนแทน ซึ่งครั้งนั้น เจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ รู้สึกเป็นมิตรกับท่านมากขึ้นกว่าการต้องอธิกรณ์ครั้ง พ.ศ.๒๔๖๓ (ครั้งนั้น เจ้าหลวงมีส่วนทำให้ท่านต้องถูกย้ายจากสถานที่กักตัวเมืองลำพูนไปอยู่วัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ กระทั่งไปกักตัววัดเบญฯในที่สุด โดยไม่ได้ปกป้องอะไรท่านเลย ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหลวงจะมาร่วมรอรับท่านหลังกลับคืนสู่อิสรภาพ หากเป็นช่วงปี พ.ศ.๒๔๖๓)

หมายเหตุ : ทางรถไฟสร้างต่อจากลำพูนถึงเชียงใหม่เสร็จในพ.ศ.๒๔๖๔

วัดกู่เต้า จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๒
ภาพ : Nheurfarr Punyadee
30650.jpg
30650.jpg (39.31 KiB) เปิดดู 6489 ครั้ง


พ่อค้าหมูน้อยชาวพื้นเมืองที่จังหวัดแพร่ ในอดีต ไม่ทราบปีที่ถ่าย
#ภาพเก่าเล่าอดีต
33136.jpg
33136.jpg (50.17 KiB) เปิดดู 6434 ครั้ง
ภาษาสยาม "งดงามความเป็นไทย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 309
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:28 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 01 ธ.ค. 2019 5:15 pm

เจดีย์เชียงยัน เมืองลำพูน
39919.jpg
39919.jpg (64.96 KiB) เปิดดู 7485 ครั้ง

มีเจดีย์องค์หนึ่งถ้าไม่ตั้งใจไปชมจริงๆจะไม่ได้เห็นเพราะเป็นจุดลับตา เจดีย์องค์นี้มีชื่อเรียกกันว่าเจดีย์เชียงยัน ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาสด้านทิศเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐทรงปราสาท ๕ ยอด
นักประวัติศาสตร์ นักศิลปศาสตร์หลายท่านกำหนดอายุของเจดีย์องค์นี้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับองค์เจดีย์นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นงานซ่อมในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ และน่าจะเกิดขึ้นพร้อมกับการปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุหริภุญชัยไม่ยุคใดก็ยุคหนึ่ง เพราะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน

เจดีย์เชียงยัน ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๒ เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๘๔

ในภาพเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ผู้ตรวจราชการมณฑลพิษณุโลกและมณฑลพายัพถ่ายรูปได้ยืนใกล้ๆกับเจดีย์เชียงยัน (ถ่ายไว้ปี พ.ศ.๒๔๕๙ หรือเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว)

สำเนาภาพจากหอจดหมายแห่งชาติ,หมายเหตุหริภุญไชย

ภาพถ่ายบริเวณหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย ในปีพุทธศักราช๒๔๙๖
แสดงถึงความสมบูรณ์ของแม่น้ำกวง แต่ในปัจจุบันสภาพนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว
#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
39960.jpg
39960.jpg (14.74 KiB) เปิดดู 7485 ครั้ง


คนไพคา
39973.jpg
39973.jpg (73.26 KiB) เปิดดู 7485 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » พฤหัสฯ. 05 ธ.ค. 2019 12:52 pm

พระเจ้าต๋นหลวง ที่วัดศรีโคมคำ เมืองพะเยา เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖
#ร้อยเรื่องเมืองพะเยา
42794.jpg
42794.jpg (47.43 KiB) เปิดดู 7462 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 08 ธ.ค. 2019 1:44 pm

ภาพถ่ายทางอากาศวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
1147.jpg
1147.jpg (28.88 KiB) เปิดดู 7374 ครั้ง

ภาพปี พ.ศ.๒๔๕๘ พระวิหารหลวงของวัดพระธาตุเจ้าหริภุญชัยถูกพายุใหญ่พัดพังลงจนแทบไม่เหลือซากเดิม ในภาพจะเห็นองค์พระประธานนั้นพระเศียรตกลงมากองอยู่เบื้องหน้าอเนจอนาถใจอย่างเหลือเกิน(ข้อมูลจากหนังสือสภาเปรียญจังหวัดลำพูน)
1141.jpg
1141.jpg (58.16 KiB) เปิดดู 7374 ครั้ง

เศียรพระพุทธรูปดินเผา ศิลปหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ (ข้อมูลจากหนังสือสภาเปรียญจังหวัดลำพูน)
ไฟล์แนป
1151.jpg
1151.jpg (49.21 KiB) เปิดดู 7374 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 10 ธ.ค. 2019 12:36 pm

แม่พระรอดหรือพระพุทธสิกขีปฏิมา เป็นพุทธรูปศิลปศิลาที่พระนางจามเทวีได้ทรงอาราธนามาจากเมืองละโว้ ปัจจุปันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดมหาวันลำพูน พุทธศิลปะเป็นศิลปทราวดี สังเกตจากการวางพระหัตถ์ และพระบาททั้งสองซึ่งแบะออก ภาพนี้ถ่ายโดยกรมศิลปากรขณะที่ยังไม่ได้ปิดทองทั้งองค์เหมือนในปัจจุบัน
ภาพ : หนังสือสภาปรียญจังหวัดลำพูน
2413.jpg
2413.jpg (83.17 KiB) เปิดดู 7354 ครั้ง

เมื่อครั้งสามเณรชัยลังกา(ชื่อครูบาวงษ์เมื่อเป็นเณรที่ครูบาชัยลังก๋าตั้งให้)ได้มาถึงดินแดนห้วยต้มข้าวหรือบ้านห้วยต้มปัจจุบันนี้ ได้ถามผู้เป็นอาจารย์ว่า "รอยพระพุทธบาทนี้ผู้ใดจะได้มาบูรณะครับครูบา"
ครูบาชัยลังก๋าตอบด้วยความเมตตาว่า "มันไม่ใช่หน้าที่ของตุ๊ลุงแต่จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง"
ณ วันนี้ท่านสร้างไม่เพียงแต่ศาสนสถาน ที่เด่นชัดคือ ท่านสร้างคุณธรรมความดี คือนักบุญ ลูกหลานครูบาชัยวงศา(พระน้อยเมืองตื๋น)
6722.jpg
6722.jpg (91.33 KiB) เปิดดู 7299 ครั้ง

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์สุดท้าย (พ.ศ.๒๔๕๔-๒๔๘๖)
2526.jpg
2526.jpg (42.38 KiB) เปิดดู 7354 ครั้ง

มุมหนึ่ง น่าจะเป็นจังหวัดลำปาง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 05 ม.ค. 2020 9:17 pm

สมัยปี พ.ศ.๒๕๐๗ -๒๕๐๘ สาวๆห้วยสัก อำเภอเมือง เชียงราย แก๊งนางฟ้าวัดศรีศักดาราม พากันทำผมทรงสูง [ทรงอาภัสรา หงสกุล นางสาวไทย คนที่ ๑๔ และนางงามจักรวาลคนแรกของไทย] กันแต่หัววัน กลางคืนก็ไม่ได้หลับไม่ได้นอนกัน กลัวผมจะเสียทรง ต้องนั่งเอาหลังพิงฝากันทั้งคืน เช้ามืดต้องรีบนั่งรถไปในเมือง เพื่อไปร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเทโวกันในตัวเมืองเชียงราย
ภาพ : 'คม ชาครีย์
cr4.jpg
cr4.jpg (118.78 KiB) เปิดดู 7240 ครั้ง

สาวช่างฟ้อนวัดศรีศักดาราม ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง เชียงราย
ช่างฟ้อน.jpg
ช่างฟ้อน.jpg (127.26 KiB) เปิดดู 7240 ครั้ง

cr.jpg
cr.jpg (113.36 KiB) เปิดดู 7240 ครั้ง

cr1.jpg
cr1.jpg (105.74 KiB) เปิดดู 7240 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: เกร็ดล้านนาและภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย น้ำฟ้า

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 05 ม.ค. 2020 9:23 pm

ประตูทางเข้าวัดศรีศักดาราม ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง เชียงราย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓
cr5.jpg
cr5.jpg (39.48 KiB) เปิดดู 7240 ครั้ง

ขบวนแห่สมณศักดิ์-พัดยศ ของ “พระครูสุวรรณวรศีล” [คำอ้าย คันธวังโส] อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีศักดาราม และเจ้าคณะตำบลห้วยสัก วิ่งจากในเมืองมาตามถนนเชียงราย-เทิง และมาถึงวัดตรง กม.๑๕ ครั้งที่ถนนเส้นนี้ยังเป็นถนนลูกรัง และเริ่มลาดยางตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๖ เป็นต้นมา
cr3.jpg
cr3.jpg (84.14 KiB) เปิดดู 7240 ครั้ง

วัดศรีศักดาราม ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง เชียงราย
วัดศรีศักดาราม.jpg
วัดศรีศักดาราม.jpg (125.16 KiB) เปิดดู 7240 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง ร้อยเรื่องเมืองล้านนา

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน

cron