ประวัติพระพิจารณ์พาณิชย์ จากหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเปิดป้ายตึกพิจารณ์พาณิชย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร วันอังคาร ที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐
ซึ่งเป็นข้อมูลมาจากหนังสือที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพพระพิจารณ์พาณิชย์

- messageImage_1671774836370_2.jpg (29.97 KiB) เปิดดู 1966 ครั้ง
พระพิจารณ์พาณิชย์ ม.ป.ช. ม.ว.ม.
พระพิจารณ์พาณิชย์ (พิจารณ์ ปัณยวณิช) เป็นบุตรนายชม และนางนกแก้ว ปัณยวณิช เกิดที่ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓
พ.ศ.๒๔๔๒ เข้าศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เมื่อโรงเรียนตั้งอยู่ตำบลสำเหร่ แล้วย้ายมาอยู่ที่ถนนประมวญ เป็นเวลา ๘ ปี เรียนจบหลักสูตรไทยและอังกฤษของโรงเรียน ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อพ.ศ. ๒๔๕๐ และเป็นครูโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยรวม ๓ ปี ถึงพ.ศ.๒๔๕๓
พระพิจารณ์พาณิชย์ สมรสกับนางยิ้ม ปัณยวณิช และมีบุตรธิดารวม ๗ คน คือ
๑.พลตำรวจตรี สุนิต ปัณยวณิช
๒.นางวรี วงศ์ทิพย์ มีบุตรชื่อ นายเสาวรส วงศ์ทิพย์,นายฉัตรณรงค์ วงศ์ทิพย์(ปัณยวณิช) และนายพงษ์ทัต วงศ์ทิพย์
๓.นางสาวนิธิ ปัณยวณิช (ถึงแก่กรรม)
๔.นางภัทรา รัตนสาสน์ สมรสกับนายจำรัส รัตนสาสน์ มีบุตรธิดาชื่อ นางสาวภาวิณี รัตสาสน์,นายพิทยา รัตนสาสน์,นางกานดา อยู่น้อย และนายวีระเดช รัตนสาสน์
๕.นางธนา ดุลยจินดา มีบุตรธิดาชื่อแพทย์หญิงไธวดี ดุลยจินดา,นายธาดา ดุลยจินดา,นายธานี ดุลยจินดา,นางสาวมณฑาทิพย์ ดุลยจินดา และนายธานินทร์ ดุลยจินดา
๖.นายหริ ปัณยวณิช สมรสกับนาง สุชาดา (ณ ระนอง) ปัณยวณิช มีบุตรชื่อนายกิตติ ปัณยวณิช และเด็กชาย จิตติน ปัณยวณิช (ณ ระนอง)
๗.นางสาว พิดดี ปัณยวณิช
การรับราชการ
๑๕ เมษายน ๒๔๕๔ – ๑๖ มกราคม ๒๔๕๘ ครูประจำชั้นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบรมราชชูปถัมภ์(ตั้งอยู่ริมประตูพิมานไชยศรีในพระบรมมหาราชวัง) สังกัดกรมมหาดเล็ก
๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ – ๓๑ ธันวาคม ๒๔๖๐ ผู้ช่วยนายเวรชั้น๑ สังกัดกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระมหาคลังสมบัติ โดยพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยาการณ์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดงานสหกรณ์ในประเทศไทยได้ทรงขอโอนมาจากกรมมหาดเล็ก
๑ มกราคม ๒๔๖๐ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔ นายเวรกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑ ธันวาคม ๒๔๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๔๗๑ นายเวรชั้น ๑ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑ เมษายน ๒๔๗๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๔๗๔ เจ้ากรมชั้น ๒ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑ เมษายน ๒๔๗๕ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ผู้ช่วยนายทะเบียนสหกรณ์ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ
๑ มิถุนายน ๒๔๗๗ – ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ ผู้ช่วยอธิบดีกรมสหกรณ์ ทบวงเกษตราธิการ กระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในระยะนี้ กรมสหกรณ์เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ
๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ – ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๘๕ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตร
๑๖ พฤษภาคม ๒๔๘๕ – ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๒ อธิบดีกรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตร
๑ มกราคม ๒๔๙๓ ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุ รวมรับราชการติดต่อกันเป็นเวลา ๓๘ ปี เศษ
การไปราชการต่างประเทศ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๕ โดยเสด็จพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงไปดูงานสหกรณ์ ณ ประเทศพม่า และประเทศอินเดีย ในตำแหน่งเจ้าพนักงานสหกรณ์ และเลขานุการในพระองค์ เป็นเวลา ๖ เดือน
การปฏิบัติราชการพิเศษ
ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๐ - พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชนชาติศัตรู เนื่องจากประเทศไทยประกาศสงคราม กับ ประเทศเยอรมนีและออสเตรีย ใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระราชวงศ์เธอกรมหมี่นพิทยาลงกรณ ทรงมีหนังสือลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ ทูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังสมบัติว่า ปัญหาจุกจิกในงานของผู้พิทักษ์ทรัพย์มีเป็นมากนักล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายและหนังสือสัญญาทั้งนั้น แต่ไม่เคยมีปัญหารายใดเลย ไม่ว่าเกี่ยวกับของเล็กน้อยหรือของใหญ่ หรือเรื่องทำใหม่ประการใด ซึ่งเมื่อผู้พิทักษ์ทรัพย์ศัตรูค้นสอบในเรื่องแล้วจะชี้แจงไม่ได้ สุดแต่ว่าทรัพย์มาถึงมือผู้พิทักษ์ทรัพย์แล้วเป็นทราบเรื่องได้ทั้งนั้น การที่ทำได้เช่นนี้ เป็นด้วยความภักดีต่องานของเจ้าพนักงานซึ่งทำงานติดต่อตลอดมาตั้งแต่ต้นจนปลาย งานพิทักษ์ทรัพย์ศัตรูนี้ย่อมนับเป็นส่วนหนึ่งแห่งราชการสงครามทั่วทุกประเทศ ในประเทศเรานี้ ผู้ได้รับราชการสงครามได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบกันทุกแผนกเว้นแค่ในแผนกพิทักษ์ทรัพย์ศัตรูเท่านั้น ในครั้งนี้อันเป็นเวลาที่จะปิดสำนักงาน หม่อมฉันจึงเห็นสมควรทูลเสนอ ความชอบข้าราชการซึ่งได้พากเพียรสนองพระเดชพระคุณมา จนราชการสำเร็จลุล่วงไป ผู้ที่รับราชการแผนกนี้ตั้งแต่วันประกาศสงครามมาจนราชการเสร็จสิ้นไป มี ๔ คน ซึ่งมี พระพิจารณ์พาณิชย์ ด้วยคนหนึ่งจึงขอทูลเสนอความชอบซึ่งควรได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบ แล้วแต่พระมหากรุณา
ราชการอื่นๆ
๑ ตุลาคม ๒๔๘๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๐๖ ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะสหกรณ์ คณบดี คณะสหกรร์และเศรษฐศาสตร์ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งคณบดีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล สาขาเกษตรศาสตร์ ด้วย
๑ ตุลาคม ๒๕๐๖ ขอลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ และตำแหน่งกรรมการสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีภาระหน้าที่การงานที่จะต้องปฎิบัติทางด้านอื่นอยู่เป็นอันมาก
ต่อมา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหนังสือลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ แจ้งว่า ได้พิจารณาเห็นว่า พระพิจารณ์พาณิชย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างยิ่งในทางสหกรณ์ ในฐานะที่พระพิจารณ์พาณิชย์เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ที่ประชุมคณบดีเห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะขอพระราชทานปริญญาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่พระพิจารณ์พาณิชย์ คณะอาจารย์และนิสิตของคณะฯ จะยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ถ้าพระพิจารณ์พาณิชย์จะรับพระราชทานตามข้อเสนอของทางมหาวิทยาลัย
พระพิจารณ์พาณิชย์มีหนังสือลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ แจ้งว่า ได้ทราบแล้วด้วยความยินดี และขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างสูงในการให้เกียรติแก่พระพิจารณ์พาณิชย์ในครั้งนี้ แต่ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรที่จะขอให้รอไว้ก่อน และขอให้เรียนที่ประชุมคณบดีทราบด้วย
รับพระราชทานยศ
๒๑ เมษายน ๒๔๕๕ รองเสวกตรี
๘ มีนาคม ๒๔๕๗ รองเสวกโท
๘ ธันวาคม ๒๔๕๙ รองอำมาตย์โท
๑๘ มกราคม ๒๔๖๒ รองอำมาตย์เอก
๑๓ มกราคม ๒๔๖๔ อำมาตย์ตรี
๑ มกราคม ๒๔๖๖ อำมาตย์โท
รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๙ ขุนพิจารณ์พาณิชย์
๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๒ หลวงพิจารณ์พาณิชย์
๑ มกราคม ๒๔๖๗ พระพิจารณ์พาณิชย์
เครื่องราชอิสยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
๓ ธันวาคม ๒๔๕๔ เหรียญเงินบรมราชาภิเษก
๑ มกราคม ๒๔๕๘ เบจมาภรณ์มงกุฎไทย(วิจิตราภรณ์)
๔ ธันวาคม ๒๔๖๖ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ จุรถาภรณ์มงกุฎไทย
๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ ตริตราภรณ์มงกุฎไทย
๒๐ กันยายน ๒๔๘๐ ตริตราภรณ์ช้างเผือก
๒๐ กันยายน ๒๔๘๐ จักรพรรดิมาลา
๑๙ กันยายน ๒๔๘๕ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
๔ ธันวาคม ๒๔๙๑ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
๔ ธันวาคม ๒๔๙๒ ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย
๕ ธันวาคม ๒๔๙๗ ประถมมาภรณ์ช้างเผือก
๕ ธันวาคม ๒๕๐๑ มหาวิชิรมงกุฏไทย
๕ ธันวาคม ๒๕๐๖ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
งานอิ่นๆ
๑ มกราคม ๒๔๙๓ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๙ กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการสหกรณ์
๒๔๘๓ – ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ ประธานกรรมการร้านค้าสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด
๒๔๙๒ – ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ กรรมการจัดการพิทยาลงกรณ มูลนิธิ โดยเป้นผู้ริเริ่มจัดตั้งพิทยาลงกรณมูลนิธิ ขึ้น
๒๔๙๑ – ๒๕๐๙ กรรมการธนาคารมณฑล จำกัด
๒๔๘๙ – ๒๕๐๙ กรรมการบริษัทข้าวไทยจำกัด
พระพิจารณ์พาณิชย์ เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง เคยเป็นนักฟุตบอลฝีเท้าดีของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระหว่างรับราชการเป็นอธิบดีกรมสหกรณ์ได้เคยวิ่งเร็วชนะเลิศในบรรดาข้าราชการสูงอายุ พระพิจารณ์พาณิชย์ไม่ค่อยได้เจ็บไข้ ปฎิบัติงานต่างๆ ได้ด้วยดีตลอดมา ในบั้นปลายชีวิต ในราวต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๑ สุขภาพเริ่มทรุดโทรมลงตามวัย แพทย์ได้ทำการตรวจรักษาเกี่ยวกับโรคหัวใจและยังคงรักษาตัวอยู่ที่บ้าน จนกระทั่งแพทย์แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๑ วันรุ่งขึ้นที่ ๒๔ มิถุนายน ยังสนทนากับผู้ที่มาเยี่ยมเยียนได้อย่างดี หลังจากนั้นก็มีอาการมากชึ้น แต่ยังคงมีสติดีตลอดเวลา เนื่องจากระบบหายใจเกี่ยวกับปอดไม่ดีขึ้นจึงได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ เวลา ๐๓.๒๐น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี ๑ เดือนเศษ
“….กล่าวทางด้านมหาวิทยาลัย ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนิสิตย่อมเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยอาจารย์จะต้องเรียนรู้ในนิสัยใจคอ ชีวิตความเป็นอยู่และพยายามช่วยเหลือขัดเกลาความประพฤติของนิสิตให้เป็นไปในทางที่ดีงาม ตลอดจนคอยระวังดูผลการศึกษาของเค้าด้วย เมื่อเห็นสมควรจะช่วยเหลือส่งเสริมหรือแก้ไขอย่างไร ก็พึงทำให้สมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา ควรอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ ได้แก่ ๑.คำแนะนำดี ๒.ให้เรียนดี ๓.บอกศิลปะให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง ๔.ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๕.ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย(คือศิษย์จะไปไหนในทิศไหนก็ไม่อดอยาก)....”
พระพิจารณ์พาณิชย์