คุณสมบัติของเสียงพยัญชนะ |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2008 เวลา 00:09 น. |
เสียงของพยัญชนะมีคุณสมบัติอยู่ ๔ อย่าง โดยจับคู่กันได้สองคู่ คือ โฆษะ - อโฆษะ ธนิต - สิถิล ๑. เสียงโฆษะ หรือเสียงก้อง เป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นสะบัดของเส้นเสียง เสียงโฆะของไทย ได้แก่ /บ/ /ด/ /ม/ /น/ /ง/ /ร/ /ล/ /ว/ /ย/ ๒. เสียงอโฆษะ หรือเสียงไม่ก้อง เป็นเสียงที่พุ่งจากหลอดลมไม่กระทบริมสองข้างของเส่นเสียง เส้นเสียงจึงไม่สะบัด ได้แก่ /ป/ /พ/ /ต/ /จ/ /ช/ /ก / /ค/ /ท/ /ฟ/ /ซ/ /ฮ/ ๓. เสียงธนิต ได้แก่เสียงอโฆษะชนิดหนึ่งซึ่งขณะออกเสียงจะมีกระแสลมพุ่งออกมา ได้แก่ /พ/ /ท/ /ช/ /ค/ ๔. เสียงสิถิล คือ เสียงอโฆษะชนิดหนึ่งโดยขณะออกเสียงจะไม่มีลมพุ่งออกมาด้วย ได้แก่ /ป/ /ต/ /จ/ /ก/
ที่มา หนังสือหลักภาษา ไวยากรณ์ไทย |
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 02 ตุลาคม 2008 เวลา 23:13 น. |