การย่อความ |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2008 เวลา 23:39 น. |
การย่อความคือการเก็บเนื้อความที่สำคัญของเรื่องมาเรียบเรียงใหม่ โดยตัดพลความที่ไม่สำคัญออกไป
หลักเกณฑ์การย่อความ - อ่านข้อความที่จะย่อให้ละเอียด - แยกข้อความเป็นตอนๆพยายามอ่านให้เข้าใจ แล้วจับใจความสำคัญแต่ละตอน - นำใจความสำคัญแต่ละตอนมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นสำนวนของผู้ย่อเอง - เปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่ ๑ ๒ เป็น ๓ - ถ้าเป็นคำราชาศัพท์ให้คงราชาศัพท์นั้นไว้ - ถ้าเป็นร้อยกรองให้ถอดความเป็นร้อยแก้ว ใจความที่ย่อแล้วควรเขียนติดต่อกันไป ไม่ต้องย่อหน้าตามเดิม และลำดับเรื่องสามารถเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
แบบขึ้นต้นย่อความ ๑. ย่อความเรียงร้อยแก้วธรรมดา ย่อเรื่อง.................................................ของ........................................ จากหนังสือ.............................................หน้า....................ความว่า........................ ๒. ย่อจดหมาย จดหมายของ............................................ถึง............................................ ลงวันที่................เดือน...............................พ.ศ...............ความว่า........................... ๓. ย่อคำประกาศ แถลงการณื คำสั่ง ระเบียบ คำประกาศของ...........................................เรื่อง.......................................... ลงวันที่...............................................................ความว่า........................................ ๔. ย่อคำปราศรัย สุนทรพจน์ พระราชดำรัส ย่อคำปราศรัยของ.....................................แก่.............................................. เนื่องใน..................................................ทาง ( สถานที่ สื่อ ).................................... ณ วันที่............................................... ความว่า....................................................... ๕. ย่อปาฐกถา คำบรรยาย คำสอน คำบรรยายของ........................................เรื่อง.......................................... แก่.....................................ที่.......................ณ วันที่......................................... เวลา..................................ความว่า..................................................................... ๖. ย่อคำประพันธ์ คำประพันธ์ประเภท....................................เรื่อง......................................... ของ..........................................ตอน..............................ความว่า.........................
|